สติปัฏฐานสี่ตามแนววิชชาธรรมกาย

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย นโมพุทธายะ๕, 21 สิงหาคม 2014.

สถานะของกระทู้:
กระทู้ถูกปิด ไม่สามารถโพสต์ตอบกลับได้
  1. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,234
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,107
    ค่าพลัง:
    +70,445
    คุณธรรมของหลวงปู่วัดปากน้ำ พระมงคลเทพมุนี (สด จนฺทสโร)

    คุณความดี ๑๐ ข้อนี้ ต้องปฏิบัติให้แก่กล้าถึงขั้นเป็นบารมี เป็นอุปบารมี ปรมัตถบารมี การปฏิบัติที่จะเข้าไปรู้ไปเห็นการเวียนว่ายตายเกิดอยู่ในสังสารจักร เป็นความทุกข์ ทุกข์อย่างไร เห็นแจ้งชัดแล้ว อะไรเป็นเหตุแห่งความทุกข์ต้องมาเวียนว่ายตายเกิด ก็เห็นแจ้งได้ ตรงนี้ ด้วยการที่ได้ทั้งเห็นและทั้งรู้ ไม่ใช่เดา ตรงนี้เป็นเรื่องสำคัญ ไม่ใช่เดา

    แม้การเจริญวิชชาที่ ๓ ชื่อว่า อาสวักขยญาณ ญาณหยั่งรู้อาสวะกิเลสที่หมักดองอยู่ในจิตสันดาน แล้วตกตะกอนนอนเนื่องเป็นอนุสัยอยู่ในจิตสันดานนั้น ถ้าปฏิบัติถูกวิธี ผู้ที่ปฏิบัติถูกวิธีท่านหนึ่ง เป็นครูของหลวงป๋า คือพระเดชพระคุณหลวงพ่อวัดปากน้ำ พระมงคลเทพมุนี (สด จนฺทสโร) ผู้ปฏิบัติตามแนวสติปัฏฐาน ๔ ถึงธรรมกาย ถึงพระนิพพานของพระพุทธเจ้า

    เมื่อได้ถึงธรรมกายแล้วมันพ้นจาก ละเอียดบริสุทธิ์จากทิพย์จักษุ จากสมันตจักษุ เข้าถึงพุทธจักษุ คือญาณรัตนของธรรมกาย ที่ช่วยให้เจริญวิชาที่ ๑ ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ ระลึกชาติได้ โอ้! สัตว์เวียนว่ายตายเกิดอยู่ในสังสารจักร มีอย่างนี้ๆๆๆ ไปนรก ไปสวรรค์ ไปเป็นเปรต สัตว์นรก อสุรกาย สัตว์เดรัจฉาน มากต่อมาก หมู หมา กา ไก่ รอบตัวเรา ไปจากมนุษย์ทั้งนั้น แล้วเปรตก็มี สัตว์นรกก็มี และนรกก็มีหลาย ขุมใหญ่ ขุมเล็ก และที่ไอ้มันสุดโหดที่สุดก็คือโลกันตนรก อยู่นอกจักรวาล โน่น ไปอยู่ตามขอบระหว่างขอบจักรวาล ซึ่งมีอยู่ทั่วแสนโกฏิจักรวาล อนันตจักรวาล ไม่มีประมาณ นั้นสำหรับเป็นที่เกิดเป็นที่อยู่ของพวกมิจฉาทิฏฐิ ทำผิดโดยความหลงผิด แล้วไม่รู้ตัวเองว่าผิด เพราะไม่รู้สภาวะธรรมและอริยสัจธรรมตามความเป็นจริง

    มันเป็นเรื่องละเอียดอ่อน เรื่องเหลือเชื่อ ว่าพระพุทธเจ้าทรงเห็นแจ้งอย่างไร ทรงเห็นแจ้งโลกหมด ทั่วแสนโกฏิจักรวาล อนันจักรวาล ไม่มีประมาณ เรียกว่าตรัสรู้พระอริยสัจธรรม ด้วยการเห็นว่าความทุกข์ของสัตว์โลกมีอย่างนี้จริง เห็นหมดเลย อะไรเป็นเหตุแห่งความทุกข์ต้องไปเกิดอย่างนั้น รู้-เห็น รวมไปถึงกิเลสเหตุแห่งทุกข์ที่ตกตะกอนนอนเนื่องอยู่ในจิตสันดาน หมักหมมอยู่ในจิตสันดาน เป็นอาสวะ เป็นอนุสัย เห็นนะ ถ้าในวิชชาธรรมกายบอกได้เลย เห็นอยู่ในธาตุธรรมเห็นจำคิดรู้ของทุกกาย สุดกายหยาบกายละเอียด ที่เปลี่ยนแปลงไปตามเหตุปัจจัย ตามหลักปฏิจจสมุปบาทธรรม ที่นักปริยัติก็รู้ปริยัติ แต่ถ้าปฏิบัติตามแนวสติปัฏฐาน ๔ ถึงธรรมกาย ถึงพระนิพพานของพระพุทธเจ้า เห็นได้เลย เห็นได้เลย แล้วกลายเป็นตัววิชชาไปเลยด้วย เหมือนมีกล้องไมโครสโคป เทเลสโคป คอยส่องดูเหตุปัจจัยแห่งความทุกข์ ชัดเจน

    ผู้ปฏิบัติ แม้ประสบผลสำเร็จเพียงแค่เศษธุลีของหลวงพ่อวัดปากน้ำ ก็เข้าใจเรื่องนี้ได้แล้ว แต่ผู้ไม่ปฏิบัติ ผู้ไม่รู้ไม่เห็น ไม่มีทาง ไม่มีทาง รู้เพียงหลักปริยัติ เหมือนรู้ตำราว่าเขาทำแกงโน่น ขนมนี่ ทำอย่างนั้นๆ แต่ไม่เคยทำเอง ก็ได้แต่รู้ ได้แต่พูดได้จ๋อยๆๆๆๆ แต่ทำไม่ได้ และก็ไม่ได้ทำ นี่มันอยู่ตรงนี้ นี่พูดในระดับผู้รู้ปริยัติ

    ผู้ปฏิบัติเนี่ย ที่พูดนี่แจ้งโลกหรือยัง ยัง แจ้งนิดเดียว เหมือนกับมีเทียนริบหรี่ โอ้!! ได้เห็นเท่านี้ โอโห!! มันอย่างนี้เชียวเหรอเนี่ย เศษธุลีของหลวงพ่อวัดปากน้ำ ภูมิธรรมที่ปฏิบัติได้เศษธุลีของหลวงพ่อวัดปากน้ำ และ/หรือระดับบูรพาจารย์ ก็ยังนึกว่าโอ้โหขนาดนี้เชียวหรอเนี่ย แล้วที่ท่านรู้อย่างนั้นน่ะมันแค่ไหน รู้ไปถึงทั่วทั้งจักรวาล ทั้งกามภพ รูปภพ อรูปภพ ตลอด รู้ไปถึงพระนิพพาน อ้าว!! ไปเห็นสภาวะที่บรรลุคุณธรรมที่บริสุทธิ์ เป็นธรรมที่ทรงไว้ซึ่งคุณธรรมของพระอริยสงฆ์พระอริยเจ้า พระพุทธเจ้าท่านตรัสเรียกว่าธรรมกาย

    #เพราะฉะนั้นในยุคนี้ อาตมากล้าพูดว่า ผู้ที่ศึกษาสัมมาปฏิบัติได้เข้าถึงคุณธรรม คือ ธรรมเป็นที่ประชุม ที่รวมของคุณธรรมพระอริยสงฆ์พระอริยเจ้านั้น มีมากอยู่ มี และที่เข้าไปรู้ไปเห็นสภาวะธรรม และอริยสัจธรรมตามความเป็นจริง ด้วยวิชชา มีวิชชา ๓ วิชชา ๘ อภิญญา ๖ เป็นต้น อย่างใดอย่างหนึ่ง หรือหลายอย่าง ก็มี

    #แต่ที่แน่ๆ #หลวงพ่อวัดปากน้ำ #พระมงคลเทพมุนี (สด จนฺทสโร) ผู้ปฏิบัติถึงธรรมกาย ถึงพระนิพพานของพระพุทธเจ้า ผู้ได้เข้าถึงได้รู้ได้เห็นเหตุปัจจัยแห่งความทุกข์ และได้เข้าถึงคุณธรรมที่นำไปสู่ความเจริญสันติสุขตลอดไป ถ้าอย่างนั้นจะมีผู้ถามว่า หลวงพ่อวัดปากน้ำบรรลุคุณธรรมเป็นพระอรหันต์แล้วซิ ?? อย่าเพิ่งไปคิดตรงนี้ เพราะท่านไม่ได้พูด เราเป็นลูกศิษย์ก็แค่คาดคะเน แต่เท่าที่คาดคะเนจากที่ได้ยินได้ฟัง ได้พอมีประสบการณ์บ้าง ท่านยังเป็นผู้บำเพ็ญบารมีที่ได้รับพุทธพยากรณ์แล้ว เที่ยงต่อพระนิพพานแล้ว

    วิชชาช่วยให้เห็นแจ้งรู้แจ้งสภาวะธรรมและอริยสัจธรรมตามความเป็นจริงของหลวงพ่อ ท่านเจริญขึ้นมาก พอที่จะแนะนำสั่งสอนศิษยานุศิษย์ ให้ปฏิบัติเพื่อความเข้าถึงรู้เห็นและเป็นคุณธรรมนั้น และเจริญต่อไปให้ถึงมรรคผลนิพพานได้ ท่านก็เข้าถึงสภาวะธรรมอันนี้ และกำลังบำเพ็ญต่อไป

    แม้การบำเพ็ญบารมี โดยฐานะความเป็นพระมหาโพธิสัตว์เจ้า ผู้ได้รับพุทธพยากรณ์แล้วนี่ ก็ยังมีหลายระดับ ก็เชื่อว่าหรือเข้าใจว่า คุณธรรมของหลวงพ่อท่านอยู่ในระดับสูง เพราะเราปฏิบัติได้เพียงเศษธุลีของท่าน ก็ยังเข้าใจธรรมะได้อย่างนี้ และเชื่อมั่นว่าไม่ผิดที่พูดไปเนี่ย

    นี่แหละ เรื่องราวทั้งหลาย ที่พวกเราต้องมาศึกษาสัมมาปฏิบัติด้วยความเพียร เพ่งเผากิเลส เพียรยังบุญกุศลให้เกิด เพียรเพ่งเผากิเลสให้หมดไปจากความเป็นอนุสัยอาสวะ และกิเลสหยาบ กิเลสกลาง กิเลสละเอียด เพียรยังบุญกุศลให้เกิดขึ้นในจิตสันดาน เป็นบารมี เป็นอุปบารมี ปรมัตถบารมี ทั้ง ๑๐ ประการ ที่กล่าวมาแล้ว จากประสบการณ์ของการศึกษาสัมมาปฏิบัติอย่างนี้ ช่วยให้เราสามารถเห็นแจ้งรู้แจ้งสภาวะธรรม และอริยสัจธรรมตามความเป็นจริงตามสมควรแก่ภูมิธรรมที่ปฏิบัติได้ เป็นเครื่องส่องทางชีวิตให้ดำเนินยิ่งขึ้นไป จนกว่าจะกำจัดกิเลสเหตุแห่งทุกข์ได้โดยหมดสิ้น โดยเด็ดขาด เป็นสมุจเฉทปหาน จึงจะก้าวล่วงข้ามโคตรปุถุชน เข้าสู่ความเป็นพระอริยะบุคคล ด้วยอาการอย่างนี้

    นี่แหละ ญาติโยมทั้งหลาย ที่ตั้งใจพูดมานี่ เป็นการทบทวนการศึกษาสัมมาปฏิบัติเบื้องต้น ว่าเราควรจะรู้อะไร นี้คือความรู้ที่เราควรจะรู้ นี้เป็นวิชาที่เราควรจะปฏิบัติเข้าถึงรู้เห็นและเป็น และเจริญขึ้นในจิตสันดานของเราก่อนแตกกายทำลายขันธ์ ผู้ประมาทช่วยอะไรไม่ได้ ตัวใครตัวมัน นี่แหละทั้งหมดที่อาตมาได้กล่าวมา และเป็นโครงสร้างของพระพุทธศาสนาทั้งหมดด้วย

    เมื่อทุกท่านเข้าใจดีแล้ว อาตมาภาพขออำนาจคุณพระศรีรัตนตรัย ได้โปรดดลบันดาลประทานพร ให้ญาติโยมสาธุชนและผู้ฟังทุกท่าน จงเจริญรุ่งเรืองในพระธรรมของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า และกิจการงานโดยชอบ มีอายุมั่นขวัญยืน ปราศจากความทุกข์โศกโรคภัย สัพพะอันตรายและอุปัทวันตรายทั้งปวง จงถึงความเจริญสันติสุข สมบูรณ์บริบูรณ์ด้วยมนุษย์สมบัติ ถึงสวรรค์สมบัติ และพระนิพพานสมบัติ ที่สิ้นสุดแห่งทุกข์ และเป็นบรมสุขอย่างถาวรตลอดไป ทุกท่านเทอญ นิพพานะ ปัจจะโย โหตุ

    รับฟังธรรมะเต็มเรื่องได้ที่ลิ้งค์นี้


    ______________
    เทศนาธรรมจาก

    พระเทพญาณมงคล
    หลวงตาเสริมชัย ชยมงฺคโล
    วัดหลวงพ่อสดธรรมกายาราม
    อ.ดำเนินสะดวก
    จ.ราชบุรี
    ______________
    ขอบพระคุณที่มาของธรรมะ
    จากเพจอมตวัชรวจีหลวงป๋า


    22406375_1524623784281824_1063130257415170975_n.jpg
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  2. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,234
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,107
    ค่าพลัง:
    +70,445




    ภาวนาได้ทุกอริยาบถ ทุกขณะที่นึกได้ ทุกลมหายใจ

    ไม่ต้องตั้งท่ามาก นึกถึงศูนย์กลางกายให้ชิน


    ..เหตุปัจจัยถึงพร้อม เมื่อไร ก็เมื่อนั้น...
     
  3. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,234
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,107
    ค่าพลัง:
    +70,445
    คำว่า “หยุด” ที่หลวงพ่อสด ท่านกล่าวไว้ว่า จะไปทางนี้ต้อง “หยุด” ถ้าไม่หยุดก็ไปไม่ได้ และหยุดอย่างเดียวเท่านั้น สำเร็จ หรือเป็นตัวสำเร็จ อยากกราบถามหลวงพ่อค่ะว่า ในการ “หยุด” นี้ เอาอะไรเป็นเกณฑ์วัด เป็นเรื่องของกายหรือเรื่องของใจคะ ?

    ตอบ:

    คำว่า “หยุด” ณ ที่นี้หลวงพ่อ (หลวงพ่อวัดปากน้ำหรือหลวงปู่สด) ท่านหมายถึงหยุดทำชั่วทางกาย ทางวาจา ทางใจ กล่าวอีกนัยหนึ่ง คือ หยุดกายทุจริต วจีทุจริต มโนทุจริต ด้วยการปฏิบัติไตรสิกขา คือ อธิศีลสิกขา(ศีลยิ่ง) อธิจิตสิกขา(จิตยิ่ง) อธิปัญญาสิกขา(ปัญญายิ่ง)

    ในการ “หยุด” ทางใจ นั้นเริ่มด้วยการอบรมใจให้สงบ ให้หยุด ให้นิ่ง เป็นสมาธิแนบแน่นมั่งคง ณ ศูนย์กลางกายเหนือระดับสะดือ 2 นิ้วมือ อันเป็นที่ตั้งกำเนิดธาตุธรรมเดิม ด้วยอุบายวิธี 3 อย่างประกอบกัน คือ

    1. อาโลกกสิณ โดยการเพ่งดวงแก้วกลมใส (นึกให้เห็นด้วยใจ เพื่อรวมใจคือความเห็นด้วยใจ ความจำ ความคิด ความรู้ ให้อยู่กับดวงแก้ว และให้รวมหยุดเป็นจุดเดียวกัน)
    2. พุทธานุสสติ ด้วยการให้กำหนดบริกรรมภาวนาว่า “สัมมาอะระหังๆๆ” เพื่อประคองใจให้หยุดให้นิ่งอยู่ตรงกลางและให้น้อมพระพุทธคุณ คือพระปัญญาคุณและพระวิสุทธิคุณจาก คำว่า “สัมมาอะระหัง” มาสู่ใจเรา
    3. อานาปานสติ สังเกตลมหายใจเข้าออกที่ผ่านและกระทบดวงแก้ว ตรงศูนย์กลางกาย แต่ไม่ต้องตามลม
    เมื่อใจถือเอาปฏิภาคนิมิตได้และหยุดนิ่งตรงศูนย์กลางเหนือระดับสะดือ 2 นิ้วมือ อันเป็นที่ตั้งกำเนิดธาตุธรรมเดิมและเป็นที่ตั้งกายในกาย เวทนาในเวทนา จิตในจิต และธรรมในธรรม เป็น ณ ภายใน ละเอียดเข้าไปๆ จนสุดละเอียดนั้นแล้ว จิตดวงเดิมจะละปฏิภาคนิมิตและตกศูนย์ไปยังศูนย์กลางกายฐานที่ 6 ถ่ายทอดกรรมเดิมที่เป็นสมาธิ เป็นจิตดวงใหม่ คือ เห็น-จำ-คิด-รู้ อันตั้งอยู่ท่ามกลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์ ที่ผ่องใสบริสุทธิ์จากกิเลสนิวรณ์ ลอยเด่นขึ้นมาพร้อมกับดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์ตรงศูนย์กลางกายฐานที่ 7 ใสสว่างยิ่งนัก เป็นทางให้เข้าถึงกายในกาย เวทนาในเวทนา จิตในจิต และธรรมในธรรมที่ละเอียดและบริสุทธิ์ผ่องใสยิ่งขึ้นไปทุกที จนถึงธรรมกายอันเป็นกายที่พ้นโลก และเป็นธรรมที่บริสุทธิ์ผ่องใส รัศมีสว่าง

    นั่นก็คือ ใจยิ่งหยุดยิ่งนิ่งยิ่งไม่สังขาร คือ ไม่ปรุงแต่ง อีกนัยหนึ่ง คือ “หยุดมโนสังขาร” จิตใจก็ยิ่งถึงและเป็นธรรมที่บริสุทธิ์ผ่องใส นั่นเอง นี่เรียกว่า “ใจหยุดในหยุดกลางของหยุด ดับหยาบไปหาละเอียด จนสุดละเอียด”

    เมื่อถามว่า “มีอะไรเป็นเครื่องวัด ?” ก็ตอบว่า มีการเข้าถึงรู้-เห็นและเป็น กายในกาย (รวมเวทนาในเวทนา จิตในจิต) และธรรมในธรรม เริ่มตั้งแต่ดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายที่ใสแจ่มอยู่ ณ ภายใน ละเอียดเข้าไป ๆ จนสุดละเอียด ถึงธรรมกายและเป็นธรรมกาย ที่บริสุทธิ์ผ่องใสยิ่ง ๆ ขึ้นไป จนสุดละเอียดนั่นเอง เป็นทางให้ถึงมรรค ผล นิพพาน

    เพราะเหตุนั้น หลวงพ่อท่านจึงกล่าวว่า “หยุด นั่นแหละ เป็นตัวสำเร็จ” คือ เป็นทางให้ถึงมรรค ผล นิพพาน ที่สิ้นสุดแห่งทุกข์ทั้งปวง และที่เป็นบรมสุข
     
  4. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,234
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,107
    ค่าพลัง:
    +70,445
    ผู้ถึงธรรมกาย ลักษณะเหมือนเข้าฌานไหม ถ้าไม่ได้นั่งสมาธิ ยังคงธรรมกายไว้ได้ไหม ?


    ผู้ถึงธรรมกายแล้วมีลักษณะเหมือนเข้าฌานหรือไม่ เวลาปกติไม่ได้นั่งสมาธิ สภาพจิต ยังคงสภาพของธรรมกายไว้ได้ตลอดไปหรือ ?
    --------------------------------------------------------------------------------

    ตอบ:


    การที่เราจะเข้าถึงความบริสุทธิ์ จะต้องประกอบด้วย ศีล สมาธิ ปัญญา เพราะฉะนั้นระดับสมาธิก็ขึ้นสูงไปเป็นลำดับ เหมือนกับท่านจะส่งดาวเทียมออกนอกโลก ท่านต้องใช้ “ฐาน” ไม่มีฐาน ยิงไม่ได้ ไม่ทะยานขึ้น ฐานนั้นอุปมาดัง “ศีล” ต้องมีท่อนเชื้อเพลิง ที่จะจุดเพื่อให้เกิดพลังผลักดัน เพื่อจะผลักดันจรวดให้พ้นออกนอกโลก อาจจะ 2-3 ท่อน แล้วแต่พลังของเชื้อเพลิงนั้น นี้อุปมาดั่ง “สมาธิ” และส่วนตัว “ปัญญา” จะเกิดขึ้น ก็อุปมาดั่งว่า เมื่อพ้นแนวดึงดูดของโลก ตัวจรวดจะหลุด เหลือแต่ตัวดาวเทียม เหมือนกับว่า “สมาธิ” ส่งให้เกิด และส่วนตัว “ปัญญา” จะเกิดขึ้นก็อุปมาดั่งว่า เมื่อพ้นแนวดึงดูดของโลก ตัวจรวดจะหลุดเหลือแต่ตัวดาวเทียม เหมือนกับว่า “สมาธิ” ส่งให้เกิด “ปัญญา” ปัญญาส่งให้ดับกิเลสและเข้าถึงธรรมกาย อันเป็นธาตุล้วนธรรมล้วน เพราะฉะนั้นทั้งศีล สมาธิ ปัญญา วิมุตติ วิมุตติญาณทัสสนะ ก็จะเป็นไปโดยอัตโนมัติ เป็นขันธ์ 5 มีศีลขันธ์ สมาธิขันธ์ ปัญญาขันธ์ วิมุตติขันธ์ วิมุตติญาณทัสสนะขันธ์ ตั้งแต่หยาบไปจนสุดละเอียดเป็นไปด้วยศีล สมาธิ ปัญญา ฯลฯ โดยตลอด เพราะฉะนั้น ต้องอาศัยสมาธิเพื่อเป็นแรงขับดัน กล่าวคือ เพื่อชำระกิเลสนิวรณ์ออกจากใจ เพื่อให้ใจหยุดนิ่ง เข้าถึงธาตุล้วนธรรมล้วน คือ “ธรรมกาย” ให้ถึงให้ได้เสียก่อน เมื่อถึงธรรมกายแล้ว ขึ้นอยู่ที่ธาตุธรรมของแต่ละคน คนที่ธาตุธรรมแก่กล้ามากขึ้น ก็จะเห็นธรรมกายสว่างโพลง อยู่ได้มาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ที่ชำระกิเลสได้มาก ยิ่งเข้าเขตความเป็นพระอริยบุคคลเพียงไร ธรรมกายนั้นย่อมสว่างโพลงตลอดเวลาเพียงนั้น แม้จะเดิน จะยืน จะนอน จะลืมตา หลับตา ก็ย่อมจะเห็นอยู่

    เพราะฉะนั้นสมาธิเบื้องต้น จึงเป็นเสมือนพลังของจรวดที่จะผลักดันหัวจรวด ซึ่งมีดาวเทียมให้หลุดออกไปนอกแรงดึงดูดของโลก เมื่อพ้นแนวแรงดึงดูดของโลกแล้วก็จะลอยได้ พ้นโลกได้ เหมือนกับคนที่ก้าวข้ามโคตรปุถุชนได้แล้ว ธรรมกายจะสว่างโพลงตลอด จะยืน นอน นั่ง เดิน ทุกอิริยาบถ แต่ญาณ (ความเบิกบาน) ของธรรมกายจะไม่เท่ากัน ของพระโสดาบันนั้น ประมาณ 5 วาขึ้นไป สกิทาคามี 10 วาขึ้นไป อนาคามี 15 วาขึ้นไป พระอรหัต 20 วาขึ้นไป ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าก็ใหญ่โตขึ้นไปตามลำดับ

    ทีนี้ แม้ผู้ที่จะเป็นโคตรภูบุคคลก็ดี หรืออาจจะก้าวเข้าสู่ความเป็นอริยบุคคลก็ดี ก็ย่อมเห็นธรรมกาย ยืน เดิน นั่ง นอน ก็เห็น หรือผู้ที่ธาตุธรรมแก่ ถึงแม้จะยังไม่ถึง แต่ใกล้ความเป็นพระอริยบุคคล ก็ย่อมเห็นได้มากได้บ่อย เพราะฉะนั้น ใครที่จรดใจอยู่ที่ศูนย์กลางกำเนิดธาตุธรรมเดิม ดับหยาบไปหาละเอียดไปเสมอ มากเพียงไร ธาตุธรรมของท่านผู้นั้นก็แก่กล้ามากเพียงนั้น เมื่อเป็นเช่นนี้ เดิน ยืน นั่ง นอน ท่านก็จะเห็นอยู่ เรียกว่า มีนิพพานคือความสงบระงับจากกิเลส ตัณหา อุปาทาน (ความยึดติดในขันธ์ 5) ในอารมณ์ แต่ว่าท่านจะถอนออกมาครึ่งหนึ่ง หรือกว่าครึ่งก็แล้วแต่ ถ้าอยู่ในธรรมกายที่ละเอียดๆ ดับหยาบไปหาละเอียด ใจจรดอยู่ที่สุดละเอียดอยู่เสมอ สติก็ครบบริบูรณ์ยิ่งขึ้นตามส่วน ใจก็จะไม่ไปรับอารมณ์อื่นให้เกิดตัณหาอุปาทานได้มาก

    เพราะฉะนั้นเรื่องธรรมกายจึงเป็นที่เข้าใจว่า ถึง ธรรมกายแล้วมีหยาบ-ละเอียด มีอ่อน มีแก่ ตามธาตุธรรม ถ้าใครทำดับหยาบไปหาละเอียดได้เรื่อยตลอดเวลา จิตจรดที่ก้อนธาตุก้อนธรรมอยู่เรื่อย อย่างหลวงพ่อวัดปากน้ำ หลวงพ่อพระภาวนาโกศลเถรท่านเล่าให้ฟังว่า หลวงพ่อวัดปากน้ำ จิตท่านจรดอยู่ที่สุดละเอียดในอายตนะนิพพานเป็นตลอดเวลา อยู่ที่ธาตุล้วนธรรมล้วนที่สุดละเอียดของนิพพาน แม้ขณะพูดหลวงพ่อฯ ก็ทำวิชชาอยู่ เท่าที่อาตมาทราบหลวงพ่อพระภาวนาฯ ก็เป็นเช่นนั้นมาก จิตท่านในส่วนละเอียดบริสุทธิ์มาก

    เพราะฉะนั้นคงจะเข้าใจขึ้น อยู่ที่ธาตุธรรมของแต่ละบุคคล บางคนอยู่ในระดับโคตรภูมาก ธาตุธรรมยังอ่อนอยู่ ก็ต้องทำ (ภาวนา) ต่อให้สุดละเอียดยิ่งๆ ขึ้นไป เพราะฉะนั้นพวกที่ธาตุธรรมอ่อนก็มักจะหลุดๆ ติดๆ ที่ธรรมกาย ซึ่งเป็นธาตุล้วนธรรมล้วนนั้น เห็นๆ หายๆ ก็ต้องทำไปเรื่อยๆ จนกว่าธาตุธรรมจะแก่กล้า แล้วจะเห็นและเป็นถี่ขึ้น จนถึงตลอดเวลาเอง คงจะเข้าใจได้ว่า ในสมัยพุทธกาลพอพระพุทธเจ้าท่านแสดงนิดเดียว ผู้ฟังส่งใจไปตามธรรมนั้น ก็บรรลุแล้วนั้นแหละธาตุธรรมเขาแก่กล้ามาก
     
  5. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,234
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,107
    ค่าพลัง:
    +70,445
     
  6. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,234
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,107
    ค่าพลัง:
    +70,445
    ?temp_hash=81a2f1ac997c304f2ae26434ef16e771.jpg




    อุบัติขึ้นของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้ามี ๒ ประการ คือ ด้วยรูปกายอุบัติ และธรรมกายอุบัติ มีปรากฏในคัมภีร์สารัตถทีปนี วินัยฎีกา ภาค ๑ หน้า ๓๒๖ ว่า


    “ปฐมํ ลุมฺพินีวเน ทุติยํ โพธิมณฺเฑติ ลุมฺพินีวเน รูปกาเยน ชาโต โพธิมณฺเฑ ธมฺมกาเยน” แปลความว่า ข้อว่า ปฐมํ ลุมฺพินีวเน ทุติยํ โพธิมณฺเฑ ได้แก่ สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าประสูติด้วยรูปกาย ณ ลุมพินีวัน ทรงเกิดด้วยธรรมกาย ณ ควงไม้โพธิ์


    สมเด็จพระสังฆราช (สา ปุสฺสเทว) ได้ทรงนิพนธ์ความอุบัติขึ้นของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ด้วยรูปกายอุบัติ และธรรมกายอุบัติ ไว้ในหนังสือปฐมสมโพธิ ทรงชำระโดยสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส จัดพิมพ์โดยมหามกุฏราชวิทยาลัย หน้า ๑๐ ว่า


    “แม้องค์พระตถาคตอังคีรสศักยมุนีโคดมสัมมาสัมพุทธเจ้านี้ ซึ่งมีความปรากฏในโลกอันสัตว์ได้ด้วยยาก ดังนี้ พระองค์ได้อุบัติบังเกิดขึ้นแล้วในโลก ด้วยรูปกายอุบัติและธรรมกายอุบัติทั้ง ๒ ประการ พร้อมด้วยอัจฉริยอัพภูตธรรมตามธรรมดานิยมโดยพุทธธรรมดา

    ความบังเกิดด้วยรูปกายนั้น จัดเป็น ๒ คือ โอกกันติสมัยลงสู่พระครรภ์ และนิกขมนสมัยประสูติจากพระครรภ์

    ส่วนความบังเกิดด้วยธรรมกายนั้น คือ ตรัสรู้พระอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ”


    รูปกายของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้านั้น ประกอบพร้อมด้วยลักษณะมหาบุรุษ ๓๒ ประการ มีปรากฏในทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๑ ข้อ ๑๓๐ หน้า ๑๕๗-๑๕๙ ดังนี้

    ๑. มีพระบาทประดิษฐานเป็นอันดี (มีพระบาทเรียบเสมอ คือมีพระบาทเต็ม)

    ๒. ณ พื้นภายใต้ฝ่าพระบาท ๒ ของพระมหาบุรุษ มีจักรเกิดขึ้น มีซี่กำข้างละพัน มีกง มีดุม บริบูรณ์ด้วยอาการทั้งปวง

    ๓. มีส้นพระบาทยาว

    ๔. มีพระองคุลียาว

    ๕. มีฝ่าพระหัตถ์และฝ่าพระบาทอ่อนนุ่ม

    ๖. มีฝ่าพระหัตถ์และฝ่าพระบาทมีลายดุจตาข่าย

    ๗. มีพระบาทเหมือนสังข์คว่ำ

    ๘. มีพระชงฆ์รีเรียวดุจแข้งเนื้อทราย

    ๙. เสด็จสถิตยืนอยู่มิได้น้อมลง เอาฝ่าพระหัตถ์ทั้งสองลูบคลำได้ถึงพระชาณุทั้งสอง

    ๑๐. มีพระคุยหะ (อวัยวะเพศ) เร้นอยู่ในฝัก

    ๑๑. มีพระฉวีวรรณดุจวรรณะแห่งทองคำ คือ มีพระตจะ ประดุจหุ้มด้วยทอง

    ๑๒. มีพระฉวีละเอียด เพราะพระฉวีละเอียด ธุลีละอองจึงมิติดอยู่ในพระกายได้

    ๑๓. มีพระโลมชาติเส้นหนึ่งๆ เกิดในขุมละเส้นๆ

    ๑๔. มีพระโลมชาติมีปลายขึ้นช้อยขึ้นข้างบน มีสีเขียว มีสีเหมือนดอกอัญชัญ ขดเป็นกุณฑลทักษิณาวัฏ

    ๑๕. มีพระกายตรงเหมือนกายพรหม

    ๑๖. มีพระมังสะเต็มในที่ ๗ สถาน (คือ ที่หลังพระหัตถ์ทั้งสอง ที่หลังพระบาททั้งสอง ที่บนพระอังสาทั้งสอง ที่ลำพระศอ)

    ๑๗. มีกึ่งพระกายท่อนบนเหมือนกึ่งกายท่อนหน้าของสีหะ

    ๑๘. มีระหว่างพระอังสะเต็ม

    ๑๙. มีปริมณฑลดุจไม้นิโครธ วาของพระองค์เท่ากับพระกายของพระองค์ พระกายของพระองค์ก็เท่ากับวาของพระองค์

    ๒๐. มีลำพระศอกลมเท่ากัน

    ๒๑. มีปลายเส้นประสาทสำหรับนำรสอาหารอันดี

    ๒๒. มีพระหนุดุจคางราชสีห์

    ๒๓. มีพระทนต์ ๔๐ ซี่

    ๒๔. มีพระทนต์เรียบเสมอกัน

    ๒๕. มีพระทนต์ไม่ห่าง

    ๒๖. มีพระทาฐะ (เขี้ยว) ขาวงาม

    ๒๗. มีพระชิวหาใหญ่

    ๒๘. มีพระสุรเสียงดุจเสียงแห่งพรหม ตรัสมีสำเนียงดังนกกรวิก

    ๒๙. มีพระเนตรดำสนิท (ดำคม)

    ๓๐. มีดวงพระเนตรดุจตาแห่งโค

    ๓๑. มีพระอุณณาโลมบังเกิด ณ ระหว่างพระขนง มีสีขาวอ่อน ควรเปรียบด้วยนุ่น

    ๓๒. มีพระเศียรดุจประดับด้วยกรอบพระพักตร์
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  7. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,234
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,107
    ค่าพลัง:
    +70,445
    23167677_1869826133030890_4996200490322289506_n.jpg
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  8. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,234
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,107
    ค่าพลัง:
    +70,445
    สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระปัจเจกพุทธเจ้า และพระอรหันต์ขีณาสพ ล้วนเป็นธรรมกาย


    ๑. สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสว่า “ธรรมกาย” เป็นพระนามของพระองค์ มีปรากฏในอัคคัญญสูตร ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค (ที.ปา. ๑๑/๕๕/๙๒) ว่า


    ดูกรวาเสฏฐะและภารทวาชะ… เพราะคำว่า ธรรมกาย ก็ดี ว่า พรหมกาย ก็ดี ว่า ธรรมภูต ก็ดี ว่า พรหมภูต ก็ดี เป็นชื่อของตถาคต.

    ************************

    ๒. สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสว่า พระปัจเจกพุทธเจ้ามีธรรมกายมาก มีปรากฏในขุททกนิกาย อปทาน (ขุ.อป. ๓๒/๒/๒๑) ว่า


    นักปราชญ์เหล่าใด... มีธรรมใหญ่ มีธรรมกายมาก มีจิตเป็นอิสระ ข้ามห้วงทุกข์ทั้งปวงได้ มีใจเบิกบาน มีปกติเห็นประโยชน์อย่างยิ่ง อุปมาดังราชสีห์ อุปมาดังนอแรด ฉะนั้น.

    ************************

    ๓. พระอรหันต์ขีณาสพกล่าวว่า ท่านเป็นธรรมกาย ปรากฏในมหาปชาบดีโคตรมีเถริยาปทาน ว่าด้วยบุพจริยาของพระมหาปชาบดีโคตมีเถรี ขุททกนิกาย อปทาน (ขุ.อป. ๓๓/๑๕๗/๒๘๔) ว่า


    แปลความว่า : ข้าแต่พระสุคตเจ้า รูปกายของพระองค์นี้ อันหม่อมฉันทำให้เจริญเติบโต ธรรมกายอันน่า เพลิดเพลินของหม่อมฉัน อันพระองค์ทำให้เจริญเติบโตแล้ว.

    ************************

    ๔. สรภังคเถระได้กล่าวว่า สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ๗ พระองค์ เสด็จอุบัติโดยธรรมกาย มีปรากฏในสรภังคเถรคาถา ขุททกนิกาย เถรคาถา (ขุ.เถร. ๒๖/๓๖๕/๓๔๐-๓๔๑) ว่า


    เมื่อก่อน เราผู้ชื่อว่าสรภังคะไม่เคยได้เห็นโรคคืออุปาทานขันธ์ ๕ ครบบริบูรณ์ทั้งสิ้น โรคนั้น อันเราผู้ทำตามพระดำรัสของพระพุทธเจ้า ซึ่งเป็นเทพเจ้าผู้ยิ่งใหญ่ ได้เห็นแล้ว


    พระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระนามว่า พระวิปัสสี พระสิขี พระเวสสภู พระกกุสันโธ พระโกนาคม พระกัสสป ได้เสด็จไปแล้วโดยทางใดแล พระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระนามว่าโคดมก็ได้เสด็จไปแล้ว โดยทางนั้น


    พระพุทธเจ้า ๗ พระองค์นี้ทรงปราศจากตัณหา ไม่ทรงถือมั่น ทรงหยั่งถึงความสิ้นกิเลส เสด็จอุบัติแท้โดยธรรมกาย ผู้คงที่ ทรงเอ็นดูอนุเคราะห์สัตว์ทั้งหลาย ได้ทรงแสดงธรรม คือ อริยสัจ ๔ อันได้แก่ทุกข์ เหตุเกิดทุกข์ ความดับทุกข์ ทางเป็นที่สิ้นทุกข์ เป็นทางไม่เป็นไปแห่งทุกข์ อันไม่มีที่สุดในสงสาร เพราะกายนี้แตก และเพราะความสิ้นชีวิตนี้ การเกิดในภพใหม่อย่างอื่นมิได้มี เราเป็นผู้หลุดพ้นแล้วจากสรรพกิเลสและภพทั้งปวง.



    วัดป่าวิสุทธิคุณ อ.ชะอำ จ.เพชรบุรี



    [​IMG]
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  9. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,234
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,107
    ค่าพลัง:
    +70,445
    23622001_1884116864935150_7463315927907313867_n.jpg
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  10. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,234
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,107
    ค่าพลัง:
    +70,445
    •ระลึกถึงความบริสุทธิ์กาย วาจา ใจ อยู่เนืองๆ
    จึงจะเป็นที่ตั้งของสมาธิได้•


    เมื่อเห็นดวงปฐมมรรคแล้ว ก็หยุดบริกรรมภาวนา ทีนี้น้อมใจเบาๆ ไปจรดที่ศูนย์กลางดวงนี้อีก มีที่หมายเป็นจุดเล็กใสเท่าปลายเข็ม

    พอใจหยุดใจนิ่งได้ถูกส่วนเข้าเท่านั้นแหละ ดวงเดิมนี้ ก็จะว่างหายไป และมีดวงใหม่ผุดขึ้นมาแทนที่ ใสละเอียดยิ่งกว่าดวงเดิม ดวงนี้เป็นดวงศีลบริสุทธิ์ในกรรมฐาน

    โปรดเข้าใจด้วยว่า ความบริสุทธิ์กายและวาจา เป็นแต่เจตนาศีล ความบริสุทธิ์ใจเป็นเจตสิกศีล ความบริสุทธิ์ไตรทวารเหล่านี้ เป็นแต่อาการของศีลเท่านั้น ยังไม่เป็นที่ตั้งของสมาธิได้ ต้องเป็นศีลในกรรมฐาน คือ สีลานุสติ ระลึกถึงความบริสุทธิ์กาย วาจา ใจ อยู่เนืองๆ จึงจะเป็นที่ตั้งของสมาธิได้

    ระลึกที่ไหน?
    ก็ตรงศูนย์กลางกายหรือกำเนิดเดิมนั่นแหละ เมื่อใจกับกำเนิดเดิมประกอบกันถูกส่วนเข้า ก็เกิดเป็นศีลบริสุทธิ์ขึ้นมา ดังที่กล่าวมาแล้ว

    พระสงฆ์จะทรงศีลให้บริสุทธิ์ตั้ง 227 ข้อได้อย่างไรไหว มันสำคัญอยู่ที่ใจต่างหาก

    พระพุทธองค์ได้ตรัสไว้ว่า
    "มโนปุพฺพงฺคมา ธมฺมา มโนเสฏฺฐา มโนมยา"

    แปลเป็นใจความว่า
    "ธรรมทั้งหลาย มีใจเป็นหัวหน้า
    มีใจประเสริฐสุด สำเร็จมาจากใจ"

    เพราะฉะนั้น หากประคองใจให้บริสุทธิ์ รักษาดวงใสๆนั้นไว้อย่างเดียว ก็คุ้มได้หมด เพราะถ้าจิตใจใสบริสุทธิ์ และมีสมาธิตั้งมั่นเป็นเอกัคคตารมณ์ดีแล้ว นิวรณ์ธรรมทั้งหลาย ก็ไม่อาจเข้ามาครอบคลุมจิตใจได้ อกุศลเจตสิกทั้งหลาย ก็ไม่มีทางที่จะเข้าไปย้อม ไปเชิด หรือไปดลใจและกายวาจาให้เป็นไปตามอำนาจของมันได้ แล้วจะเป็นโทษได้อย่างไร จิตใจก็มีแต่ใสสะอาดบริสุทธิ์ ผุดผ่องเป็นกุศล เป็นฝ่ายดีตามลำดับชั้น คือกามาวจรจิต รูปาวจรจิต อรูปาวจรจิต และที่สุดจนถึงโลกุตตรจิต อันเป็นเรื่องที่ละเอียดอ่อน.

    ที่มา: หนังสือ พุทธภาวนาวิชชาธรรมกาย
    กรกฎาคม 2525

    " คำว่า ธรรมกาย ก็ดี ว่าพรหมกาย ก็ดี
    ว่า ธรรมภูต ก็ดี ว่าพรหมภูต ก็ดี
    เป็นชื่อของ ตถาคต "







    ?temp_hash=d0f60458bcd1a77a720b2ecf5f9db283.jpg
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  11. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,234
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,107
    ค่าพลัง:
    +70,445
    [​IMG]

    บัณฑิตพึงละธรรมดำแล้วเจริญธรรมขาว


    สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ตรัสสอนให้พุทธบริษัทศึกษาสัมมาปฏิบัติด้วยการละธรรมดำแล้วทำธรรมขาวให้เกิดและเจริญขึ้น มีปรากฏในขุททกนิกาย ธรรมบทคาถา บัณฑิตวรรค (๒๕/๑๖/๒๖) ว่า


    กณฺหํ ธมฺมํ วิปฺปหาย สุกฺกํ ภาเวถ ปณฺฑิโต ฯ

    แปลความว่า : บัณฑิตละธรรมดำแล้ว พึงเจริญธรรมขาว.

    **************

    พระเดชพระคุณ หลวงพ่อวัดปากน้ำ พระมงคลเทพมุนี (สด จนฺทสโร) ได้สอนการละธรรมดำและพึงเจริญธรรมขาวแก่ศิษยานุศิษย์ไว้ มีปรากฏในหนังสือวิชชามรรค ผล พิสดาร ภาค ๒ หน้า ๗๐ ว่า

    ... “กิเลสขอภาคดำ คือ อภิชฌา พยาบาท มิจฉาทิฏฐิ, โลภะ โทสะ โมหะ, ราคะ โทสะ โมหะ, กามราคานุสัย ปฏิฆานุสัย อวิชชานุสัย

    สมบัติของภาคขาว คือ ทาน ศีล ภาวนา, ศีล สมาธิ ปัญญา, อธิศีล อธิจิต อธิปัญญา, ปฐมมรรค มรรคจิต มรรคปัญญา, โคตรภู โสดา สกิทาคา อนาคา อรหัต ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า” ...



    และได้แสดงอย่างละเอียดไว้ในพระธรรมเทศนา เรื่อง “พระพุทธคุณ พระธรรมคุณ พระสังฆคุณ” เมื่อวันที่ ๒๗ พฤศจิกายน ๒๔๘๙ ว่า

    ... “การละกิเลสของพระองค์หลุดไปเป็นชั้นๆ ตั้งแต่กิเลสในกายมนุษย์ กายทิพย์ กายรูปพรหม กายอรูปพรหม เป็นลำดับไป กิเลสในกายมนุษย์ คือ อภิชฌา พยาบาท มิจฉาทิฏฐิ กิเลสในกายทิพย์ คือ โลภะ โมหะ โทสะ กิเลสในการรูปพรหม คือ ราคะ โทสะ โมหะ กิเลสในกายอรูปพรหม คือ กามราคานุสัย ปฏิฆานุสัย อวิชชานุสัย

    ต่อแต่นี้ไปจึงชักเข้าถึงกายหนึ่ง คือ กายธรรม หรือเรียกว่า ธรรมกาย เข้าชั้นโคตรภูจิต เรียกว่า โคตรภูบุคคล

    โคตรภูบุคคลนี้เดินสมาบัติ เพ่งอริยสัจ ๔ เป็นอนุโลม-ปฏิโลม จนหลุดพ้นจากกิเลสพวกสักกายทิฏฐิ วิจิกิจฉา สีลัพพตปรามาส แล้วตกศูนย์วับกลับเป็นพระโสดาบัน เป็นอันว่าพระโสดาบัน ละกิเลสได้ ๓ คือ สักกายทิฏฐิ วิจิกิจฉา สีลัพพตปรามาส

    แล้วกายโสดาบันนี้เดินสมาบัติ เพ่งอริยสัจ ๔ เป็นอนุโลม-ปฏิโลม ต่อไปถึงขีดสุด ละกิเลสได้อีก ๒ คือ กามราคะ พยาบาทชั้นหยาบ จึงเลื่อนชั้นขึ้นเป็นสกทาคามี

    กายพระสกทาคามีเดินสมาบัติ เพ่งอริยสัจ ๔ ทำนองเดียวกันนั้นต่อไปถึงขีดสุด ละกิเลสได้อีก ๒ คือ กามราคะ พยาบาทชั้นละเอียด จึงเลื่อนชั้นเป็นพระอนาคามี

    แล้วกายพระอนาคามีเดินสมาบัติ เพ่งอริยสัจ ๔ ทำนองเดียวกันนั้นต่อไปถึงขีดสุด ละกิเลสได้อีก ๕ คือ รูปราคะ อรูปราคะ มานะ อุทธัจจะ อวิชชา จึงเลื่อนขึ้นจากพระอนาคามีเป็นพระอรหันต์ จิตของพระองค์บริสุทธิ์ผุดผ่อง ปราศจากกิเลสทั้งมวล จึงได้พระเนมิตกนามว่า อรหํ” ...

    **************

    นอกจากนี้พระเดชพระคุณ พระเทพญาณมงคล วิ. (เสริชัย ชยมงฺคโล) ได้อธิบายวิธีการละธรรมดำและเจริญธรรมขาวไว้ในหนังสือสมถวิปัสสนาภาวนา ตามแนวสติปัฏฐาน ๔ ถึงธรรมกายและพระนิพพานของพระพุทธเจ้า โดยหลวงพ่อวัดปากน้ำ พระมงคลเทพมุนี (สด จนฺทสโร) ผู้ปฏิบัติและสั่งสอน หน้า ๑๙๙ และหน้า ๒๒๓-๒๒๕ ว่า

    ... “คุณเครื่องช่วยกำจัดกิเลสประจำกายสุดหยาบ-สุดละเอียด ดังต่อไปนี้

    ทานกุศล ศีลกุศล ภาวนากุศล คุณธรรมของกายมนุษย์ละเอียด เป็นคุณเครื่องเพ่งเผา/กำจัดอภิชฌา พยาบาท มิจฉาทิฏฐิ ในจิตใจของกายมนุษย์

    ศีล สมาธิ ปัญญา คุณธรรมของกายทิพย์ เป็นคุณเครื่องเพ่งเผา/กำจัดโลภะ โทสะ โมหะ ในจิตใจของกายทิพย์

    อธิศีล อธิจิต อธิปัญญา คุณธรรมของกายรูปพรหม เป็นคุณเครื่องเพ่งเผา/กำจัดราคะ ปฏิฆะ โมหะ ในจิตใจของกายรูปพรหม

    ปฐมมรรค มรรคจิต มรรคปัญญา คุณธรรมของกายอรูปพรหม เป็นคุณเครื่องเพ่งเผ่า/กำจัดกามราคานุสัย ปฏิฆานุสัย อวิชชานุสัย ในจิตใจของกายอรูปพรหม ...

    ... ธรรมกายโคตรภู พิจารณาอริยสัจ ๔ ณ ศูนย์กลางกายมนุษย์-มนุษย์ละเอียด ... แล้วธรรมกายพระโสดาปัตติมรรค ก็จะปรากฏขึ้นและละสัญโญชน์เบื้องต่ำ ๓ ประการ คือ สักกายทิฏฐิ วิจิกิจฉา และสีลัพพตปรามาส จะตกศูนย์ ปรากฏเป็นธรรมกายพระโสดาปัตติผล ...

    เมื่อญาณรัตนะของธรรมกายพระโสดาปัตติผล พิจารณาอริยสัจ ๔ ณ ศูนย์กลางกายทิพย์-ทิพย์ละเอียด ให้เห็นแจ้งด้วยญาณ ๓ (สัจจญาณ กิจจญาณ กตญาณ) ธรรมกายพระโสดาปัตติผลจะตกศูนย์ แล้วธรรมกายพระสกิทาคามิมรรคจะปรากฏขึ้นละกิเลส เหลือโลภะ โทสะ และโมหะ ที่เบาบางลงมากแล้ว จะตกศูนย์ ปรากฏเป็นธรรมกายพระสกิทาคามิผล ...

    เมื่อญาณรัตนะของธรรมกายพระสกิทาคามิผลนั้น พิจารณาอริยสัจ ๔ ณ ศูนย์กลางกายรูปพรหม-รูปพรหมละเอียด ให้เห็นแจ้งด้วยญาณ ๓ (สัจจญาณ กิจจญาณ กตญาณ) ธรรมกายพระสกิทาคามิผลจะตกศูนย์ แล้วธรรมกายพระอนาคามิมรรคปรากฏขึ้นละสัญโญชน์เบื้องต่ำได้อีก ๒ คือ ปฏิฆะและกามราคะ แล้วจะตกศูนย์ และจะปรากฏธรรมกายพระอนาคามิผล ...

    เมื่อญาณรัตนะของธรรมกายพระอนาคามิผลนั้น พิจารณาอริยสัจ ๔ ในกายอรูปพรหม-อรูปพรหมละเอียด ให้เห็นแจ้งด้วยญาณ ๓ (สัจจญาณ กิจจญาณ กตญาณ) ธรรมกายพระอนาคามิผลจะตกศูนย์ แล้วธรรมกายพระอรหัตตมรรคปรากฏขึ้นละสัญโญชน์เบื้องสูงอีก ๕ ประการ ได้แก่ รูปราคะ อรูปราคะ มานะ อุทธัจจะ และอวิชชา ได้แล้ว จะตกศูนย์ ปรากฏเป็นธรรมกายพระอรหัตตผล” ...
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  12. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,234
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,107
    ค่าพลัง:
    +70,445
    ?temp_hash=ceba80ff615bd7b90340c09d95d15288.jpg








    อริยมรรคมีองค์ ๘ สงเคราะห์ลงในไตรสิกขา คือ ศีล สมาธิ (สมถะ) และปัญญา (วิปัสสนา)


    สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ทรงจำแนกรายละเอียดของอริยมรรคมีองค์ ๘ แต่ละข้อไว้ มีปรากฏในทีฆนิกาย มหาวรรค (ที.มหา. ๑๐/๒๙๙/๓๔๘-๓๕๐) ว่า

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจเป็นไฉน นี้คือมรรคมีองค์ ๘ อันประเสริฐ คือ สัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปปะ สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ สัมมาวายามะ สัมมาสติ สัมมาสมาธิ

    ก็ สัมมาทิฏฐิ เป็นไฉน ความรู้ในทุกข์ ความรู้ในทุกขสมุทัย ความรู้ในทุกขนิโรธ ความรู้ในทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา อันนี้เรียกว่า สัมมาทิฏฐิ

    สัมมาสังกัปปะ เป็นไฉน ความดำริในการออกจากกาม ความดำริในความไม่พยาบาท ความดำริในอันไม่เบียดเบียน อันนี้เรียกว่า สัมมาสังกัปปะ

    สัมมาวาจา เป็นไฉน การงดเว้นจากการพูดเท็จ งดเว้นจากการพูดส่อเสียด งดเว้นจากการพูดคำหยาบ งดเว้นจากการพูดเพ้อเจ้อ อันนี้เรียกว่า สัมมาวาจา

    สัมมากัมมันตะ เป็นไฉน การงดเว้นจากการฆ่าสัตว์ งดเว้นจากการถือเอาสิ่งของที่เขามิได้ให้ งดเว้นจากการประพฤติผิดในกาม อันนี้เรียกว่า สัมมากัมมันตะ

    สัมมาอาชีวะ เป็นไฉน อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ ละการเลี้ยงชีพที่ผิดเสีย สำเร็จการเลี้ยงชีพด้วยการเลี้ยงชีพที่ชอบ อันนี้เรียกว่า สัมมาอาชีวะ

    สัมมาวายามะ เป็นไฉน ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เกิดฉันทะพยายามปรารภความเพียร ประคองจิตไว้ ตั้งจิตไว้ เพื่อมิให้อกุศลธรรมอันลามกที่ยังไม่เกิดบังเกิดขึ้น เพื่อละอกุศลธรรมอันลามกที่บังเกิดขึ้นแล้ว เพื่อให้กุศลธรรมที่ยังไม่เกิดบังเกิดขึ้น เพื่อความตั้งอยู่ไม่เลือนหาย เจริญยิ่ง ไพบูลย์ มีขึ้น เต็มเปี่ยมแห่งกุศลธรรมที่บังเกิดขึ้นแล้ว อันนี้เรียกว่า สัมมาวายามะ

    สัมมาสติ เป็นไฉน ภิกษุในธรรมวินัยนี้ พิจารณาเห็นกายในกายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้ พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาอยู่ ฯลฯ พิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่ ฯลฯ พิจารณาเห็นธรรมในธรรมอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้ อันนี้เรียกว่า สัมมาสติ

    สัมมาสมาธิ เป็นไฉน ภิกษุในธรรมวินัยนี้ สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม บรรลุปฐมฌาน มีวิตก มีวิจาร มีปีติและสุขเกิดแต่วิเวกอยู่ เธอบรรลุทุติยฌาน มีความผ่องใสแห่งจิตในภายใน เป็นธรรมเอกผุดขึ้น เพราะวิตกวิจารสงบไป ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร มีปีติและสุขอันเกิดแต่สมาธิอยู่ เธอมีอุเบกขา มีสติ มีสัมปชัญญะ เสวยสุขด้วยกาย เพราะปีติสิ้นไป บรรลุตติยฌาน ที่พระอริยทั้งหลายสรรเสริญว่า ผู้ได้ฌานนี้ เป็นผู้มีอุเบกขา มีสติอยู่เป็นสุข เธอบรรลุจตุตถฌาน ไม่มีทุกข์ไม่มีสุข เพราะละสุขละทุกข์ และดับโสมนัสโทมนัสก่อนๆ ได้ มีอุเบกขาเป็นเหตุให้สติบริสุทธิ์อยู่ อันนี้เรียกว่า สัมมาสมาธิ

    **************

    การสงเคราะห์อริยมรรคมีองค์ ๘ ลงในไตรสิกขานั้น พระธรรมทินนาภิกษุณีได้สนทนาธรรมกับวิสาขอุบาสกเรื่องการสงเคราะห์อริยมรรคมีองค์ ๘ ในขันธ์ ๓ คือ ศีล สมาธิ ปัญญา มีปรากฏในมัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ (ม.มู. ๑๒/๕๐๘/๕๔๙) ว่า

    ดูกรวิสาขะผู้มีอายุ ขันธ์ ๓ พระผู้มีพระภาคเจ้าไม่ทรงสงเคราะห์ด้วยอริยมรรคมีองค์ ๘ ส่วนอริยมรรคมีองค์ ๘ พระผู้มีพระภาคทรงสงเคราะห์ด้วยขันธ์ ๓ คือ

    วาจาชอบ ๑ ทำการงานชอบ ๑ เลี้ยงชีวิตชอบ ๑ ทรงสงเคราะห์ด้วยศีลขันธ์

    ความเพียรชอบ ๑ ความระลึกชอบ ๑ ความตั้งจิตไว้ชอบ ๑ ทรงสงเคราะห์ด้วยสมาธิขันธ์

    ปัญญาอันเห็นชอบ ๑ ความดำริชอบ ๑ ทรงสงเคราะห์ด้วยปัญญาขันธ์

    **************

    จากการศึกษาข้อมูลข้างต้นนี้ สรุปได้ว่า อริยมรรคมีองค์ ๘ สามารถสงเคราะห์เข้าในไตรสิกขาได้ ดังนี้

    สัมมาทิฏฐิ คือ ความรู้ในอริยสัจ ๔ และสัมมาสังกัปปะ คือ กุศลวิตก ๓ สงเคราะห์เข้าในปัญญาสิกขา (หรือวิปัสสนา)

    สัมมาวาจา คือ วจีสุจริต ๔, สัมมากัมมันตะ คือ กายสุจริต ๓ และสัมมาอาชีวะ คือ การเลี้ยงชีพโดยชอบ สงเคราะห์เข้าในสีลสิกขา

    สัมมาวายามะ คือ ความเพียรชอบใน ๔ สถาน, สัมมาสติ คือ การเจริญสติปัฏฐาน ๔ และสัมมาสมาธิ คือ การเจริญรูปฌาน ๔ สงเคราะห์เข้าในจิตตสิกขา (หรือสมาธิ)
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  13. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,234
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,107
    ค่าพลัง:
    +70,445
    ผู้ตั้งใจปฏิบัติภาวนา พึงทราบว่า เมื่อเหตุปัจจัยประกอบพร้อม ก็เข้าถึงได้ เพราะฉะนั้น ท่านอย่าให้จิตใจไปยึดไปเกาะเรื่องภายนอก แล้วรวมใจลงหยุด ณ .ศูนย์กลางกายภายใน

    ให้รักษาใจเอาแต่เฉพาะปัจจุบันธรรมที่เราสามารถปฏิบัติได้ผลของเราเอง
    พิจจารณาประกอบเหตุในเหตุ ถึงต้นๆเหตุ ให้ได้ผล พิจารณาแก้ไขของเราเอง อย่าลังเลสงสัย เอาแต่ส่วนที่ตัวปฏิบัติเข้าถึง เรื่องอื่นวางให้หมด อย่าสนใจคนอื่น ทำอย่างไรใจของเราจึงจะหยุดจะนิ่ง ทำสมาธิให้เกิด ให้เห็นดวงใสแจ่ม บางทีเห็นไม่ชัดในเบื้องต้นก็ต้องอาศัยการนึกเห็นเข้าไปช่วย เพื่อให้ใจมารวมหยุดเป็นจุดเดียวกัน ณ.ศูนย์กลางกายฐานที่ 7 นั้น.

    พระเทพญาณมงคล
    วัดหลวงพ่อสดธรรมกายาราม
    อ.ดำเนินสะดวก
    จ.ราชบุรี
     
  14. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,234
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,107
    ค่าพลัง:
    +70,445
    เจริญสมาบัติ เพื่อให้สภาวะจิตใจเหมาะสม แล้วพิจารณาอริยสัจจ์

    การปฏิบัติธรรม อย่าคิดว่าเป็นของทำได้ง่าย

    ต้องมีปณิธานมั่นคงและทำจริง ธรรมจะไม่ปรากฏแก่บุคคล

    เพียงแต่ใช้คำพูด เพียงคิดนึก
    -------------------------------------




    วิธีเดินสมาบัติในวิชชาธรรมกายอาจทำได้สองวิธีใหญ่


    วิธีแรกเป็นวิธีสำหรับผู้มีสมาธิแก่กล้า เมื่อได้ปฐมฌาน

    แล้ว ก็อธิษฐานจิตให้ได้ฌานที่ละเอียดกว่าขึ้นไป แล้วย้อนลง

    มา



    อีกวิธีหนึ่ง

    เริ่มด้วยการดูดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์ หรือ ปฐมมรรค
    ที่ศูนย์กลางกายมนุษย์ ให้เห็นเป็นดวงใส
    แล้วขยายให้กว้างออกไป วัดเส้นผ่าศูนย์กลางด้วยฌาน

    ได้ 2 วา หนา 1 คืบ วัดโดยรอบ 6 วา สัณฐานกลมใส
    ( ไม่ใช่มาตราวัดในมนุษยโลก )

    เหมือนกระจกส่องหน้า นี่เป็นปฐมฌาน



    แล้วธรรมกายนั่งบนนั้น ดังนี้เรียกว่าธรรมกายเข้าปฐมฌาน ล้วเอาตาธรรมกายที่

    นั่งบนฌานนั้น เพ่งดูดวงธรรมที่ศูนย์กลางกายทิพย์ ให้เห็นเป็น

    ดวงใส แล้วขยายส่วนให้เท่ากัน นี่เป็นทุติยฌาน เอา

    ธรรมกายน้อมเข้าฌานที่ได้จากศูนย์กลางกายรูปพรหม และ

    อรูปพรหม จะได้ตติยฌานและจตุตถฌานตามลำดับ แล้วเอา

    ธรรมกายเข้าฌาน คือ นั่งอยู่บนฌานนั้น เหล่านี้เป็นรูปฌาน

    ต่อจากนี้ไป ให้ใจธรรมกายน้อมไปในเหตุว่าง หรือ ตรงกลาง

    ของปฐมฌาน จะเห็นเป็นดวงใสเท่าจตุตถฌาน ธรรมกายก็นั่ง

    บนดวงนั้น เมื่อธรรมกายนั่งอยู่บนอากาสานัญจายตนฌานดัง

    นี้แล้ว ใจธรรมกายน้อมไปในรู้ ในเหตุว่างของ ทุติยฌาน

    อากาสานัญจายตนฌานก็จางหายไป เกิด วิญญาณัญจา

    ยตนฌาน ธรรมกายนั่งอยู่บนวิญญาณัญจายตนฌานนั้น ใจ

    ธรรมกายน้อมไปในรู้ละเอียด ในเหตุ ว่างของ ตติยฌาน วิญ

    ญาณัญจายตนฌานก็จางหายไป เกิดอากิญจัญญายตนฌาน

    ธรรมกายนิ่งอยู่บนอากิญจัญญายตนฌานนั้น ใจธรรมกายน้อม

    ไปใน รู้ก็ใช่ ไม่รู้ก็ใช่ ในเหตุว่างของจตุตถฌาน อา

    กิญจัญญายตฌานก็จางหายไป เกิดเนวสัญญานาสัญญายตน

    ฌานขึ้นมาแทน ขณะนี้ จะมีฌานรู้สึกว่าละเอียดจริง ประณีต

    จริง เอา ธรรมกายนั่งอยู่บนเนวสัญญานาสัญญายตนฌาน

    นั้น ถ้าเข้าฌานตั้งแต่ 1 ถึง 8 เรียกว่า อนุโลม การเดิน

    ฌานในวิชชาธรรมกาย กระทำได้ง่ายกว่าที่เข้าใจกันโดยทั่ว

    ไปมากนัก



    อันที่จริงนั้น เมื่อเห็นปฏิจจสมุปบาทธรรมแล้ว ย่อม

    ถือได้ว่า ได้เห็นอริยสัจ 4 ด้วย


    แต่ในด้านการปฏิบัติ เราจะต้องเดินฌานแทงตลอดอริยสัจ 4 ทุกระยะ
    มิฉะนั้นแล้ว วิปัสสนาญาณจะไม่เกิดขึ้น
    ดวงอริยสัจ 4 นี้ ซ้อนอยู่ที่ดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์นั้นเอง



    ดวงอริยสัจชั้นแรกมี 4 ดวง เป็นดวงเกิด แก่ เจ็บ ตาย

    ซึ่งรวมเรียกว่าทุกข์ มีขนาดอย่างใหญ่เท่าดวงจันทร์ ขนาดเล็ก

    เท่าไข่แดงของไก่



    -ดวงเกิด มีสีขาวใส

    -ดวงแก่ มีสีดำแต่ไม่ใส ถ้าดวงยังเล็กก็เริ่มแก่ ถ้า

    ใหญ่ก็แก่มาก

    -ดวงเจ็บ สีดำเข้มยิ่งกว่าดวงแก่ ถ้าดวงเจ็บมาจรด

    เข้าในศูนย์กลางดวงแก่ ผู้นั้นจะเจ็บไข้ได้ป่วยทันที

    -ดวงตาย เป็นสีดำใสประดุจนิลทีเดียว ดวงตายนี้ถ้า

    มาจรดตรงกลางดวงเจ็บ แล้วมาจรดตรงหัวต่อของกายมนุษย์

    กับกายทิพย์ พอมาจรดเข้าเท่านั้น หัวต่อของกายมนุษย์กับ

    กายทิพย์ก็จะขาดจากกัน เมื่อใดกายมนุษย์ไม่ต่อเนื่องกับกาย

    ทิพย์ เมื่อนั้นกายมนุษย์ก็ตายทันที



    ดวงเกิด แก่ เจ็บ ตายของแต่ละคนไม่เท่ากัน

    อย่างเล็กขนาดไข่แดงของไก่ขนาดกลาง อย่างใหญ่เท่าดวง

    พระจันทร์ ทั้งนี้แล้วแต่ว่าเกิดมามีบุญบาปติดตัวมามากน้อย

    เท่าใด แก่เจ็บจวนจะตายเร็วช้ากว่ากันเท่าใด



    ดวงอริยสัจชั้นที่สองมี 3 ดวง รวมเรียกว่า ดวง

    สมุทัย มีขนาดอย่างใหญ่เท่าดวงจันทร์ อย่างเล็กเท่าเมล็ด

    โพธิ์เมล็ดไทร ดวงแรกสีดำเข้ม ดวงต่อไปมีความ

    ละเอียด และเข้มมากขึ้น ดวงทั้ง 3 ดวงนี้ คือ ดวงกาม

    ตัณหา ดวงภวตัณหา และดวงวิภวตัณหา



    ขั้นต่อไป เป็นดวงกลมใหญ่ มีขนาดเส้นผ่าศูนย์

    กลางวัดด้วยญาณได้ 5 วา มีสีขาวใสเรียกว่า ดวงนิโรธ

    เมื่อเข้าถึงดวงนิโรธ ความใสสว่างของนิโรธจะดับ ดวง

    สมุทัย ให้หายวับไป เสมือนแสงตะวัน ขจัดความมืดให้มลาย

    ไปฉะนั้น



    ขั้นต่อไป เป็น ดวงมรรค มีอยู่ 3 ดวง เป็นดวงศีล

    ดวงหนึ่ง สมาธิดวงหนึ่ง ปัญญาดวงหนึ่ง แต่ละดวงมีขนาด

    5 วา มีสัณฐานกลม ใสบริสุทธิ์ยิ่งนัก



    การแทงตลอดอริยสัจ ทำให้มีปัญญารู้ญาณ 3 ญาณ คือ



    มีปัญญารู้ว่า การเกิด แก่ เจ็บ ตายนี้ ไม่เที่ยง ไม่แน่

    นอนจริง รู้ว่าสมุทัยทำให้ทุกข์เกิดจริง นิโรธสามารถดับทุกข์

    ได้จริง มรรคเป็นทางหลุดพ้นได้จริง เรียกว่า สัจจญาณ



    มีปัญญารู้ว่า การเกิด แก่ เจ็บ ตาย นี้เป็นทุกข์จริง

    เป็นสิ่งควรรู้ รู้ว่าสมุทัยเป็นสิ่งควรละ รู้ว่านิโรธเป็นสิ่งที่ควร

    ทำให้แจ้ง และ รู้ว่ามรรคเป็นทางที่ควรเจริญ เรียกว่า กิจจญาณ



    มีปัญญารู้ว่า ได้รู้ทุกข์ชัดเจนแล้ว ละสมุทัยได้ขาด

    แล้ว สามารถทำนิโรธให้แจ้งได้แล้ว และสามารถทำมรรคให้

    เจริญได้แล้ว เรียกว่า กตญาณ



    สัจจญาณ กิจจญาณ และ กตญาณ ตามที่เขียน

    อย่างข้างบนนี้ เขียนเพื่อให้อ่านเข้าใจได้ง่าย ในด้านการ

    ปฏิบัติจริงๆ เมื่อปฏิบัติถึงดวงทุกข์ก็จะกำหนด รู้ทุกข์ทั้งในแง่

    สัจจญาณ กิจจญาณ และ กตญาณ เมื่อถึงสมุทัย นิโรธ

    มรรค ก็จะกำหนดรู้ได้เช่นเดียวกัน



    ญาณทั้งสามนี้เป็นปัญญาที่ผุดขึ้นมาเอง ในระหว่าง

    การปฏิบัติ ไม่ได้เป็นวิปัสสนึก เป็นปัญญาที่ทำให้รู้ว่าสัจ

    จธรรมนั้นมีจริง ถ้าเพียรปฏิบัติอย่างถูกทางไม่ท้อถอยก็จะพ้น

    จากทุกข์ได้ ญาณทั้งสามกลุ่มรวม 12 ญาณของอริยสัจ

    (4x3=12) ในตอนนี้ เปรียบเหมือนจอบเสียมที่นำมาใช้ใน

    การขุดพื้นดิน เพื่อกระแสธารปัญญาจะสามารถไหลไปสู่ นิพพิ

    ทาญาณ ที่นั้น ฐานทั้ง 12 ญาณของอริยสัจ จะวิวัฒนาการ

    เป็น ปฏิจจสมุปบาทธรรม 12 (โปรดดูปฏิสัมภิทามัคค์ มหา

    วรรคญาณกถา ข้อ 10 ถึงข้อ 29 ) ทำให้สามารถกำหนดรู้

    อนิจจัง และ สมุทัย ซึ่งเป็นต้นทางให้กำหนดรู้ อริยสัจ และ

    พระไตรลักษณ์ขั้นละเอียด ซึ่งเป็นธรรมาวุธ อันคมกล้า

    ประหารสังโยชน์พินาศไปในพริบตา



    ญาณทั้งสามกลุ่ม คือ สัจจญาณ กิจจญาณ และกตญาณ หรืออริยสัจ 12 นี้
    จะเห็นและกำหนดรู้ได้ ก็โดยการปฏิบัติทางเจโตสมาธิประการหนึ่ง หรือวิชชาธรรมกาย
    ประการหนึ่งเท่านั้น



    (ในพระไตรปิฎกมีระบุอย่างชัดแจ้งไว้ในธัมมจักกัปปวัตตนสูตร

    ปฐมเทศนา พระวินัยปิฎกข้อ 15 และ 16 ว่า เป็นญาณทัสสนะ มีรอบ 3 มีอาการ 12)



    ผู้ที่ปฏิบัติวิปัสสนาแบบไตรลักษณ์ ที่เคยปฏิบัติสมถะมาก่อน กำหนดรู้ญาณทั้งสามนี้ได้
    เมื่ออุทยัพพยญาณเกิด จะต้องแทงตลอดอริยสัจขั้นหยาบนี้ก่อน ภังคญาณจึงจะเกิด
    ตามมา
     
  15. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,234
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,107
    ค่าพลัง:
    +70,445
    ญาณ ๑๖ ญาณที่เกิดแก่ผู้บำเพ็ญวิปัสสนาจนถึงจุดหมาย คือมรรคผลนิพพาน ๑๖ อย่าง คือ
    ๑. นามรูปปริจเฉทญาณ ญาณกำหนดแยกนามรูป คือปัญญากำหนดรู้เข้าใจในนามและรูป
    ๒. (นามรูป) ปัจจัยปริคคหญาณ ญาณกำหนดจับปัจจัยแห่งนามรูป คือปัญญากำหนดรู้ทั้งในนามและรูปว่าล้วนเกิดแต่เหตุปัจจัย
    ๓. สัมมสนญาณ ญาณพิจารณานามรูปโดยไตรลักษณ์
    ๔. - ๑๒. ตรงกับวิปัสสนาญาณ ๙
    ๑๓. โคตรภูญาณ ญาณครอบโคตรคือหัวต่อที่ข้ามพ้นภาวะปุถุชน
    ๑๔. มรรคญาณ(มัคคญาณ) ญาณในอริยมรรค เช่น โสดาปัตติมรรค
    ๑๕. ผลญาณ ญาณในอริยผล เช่น โสดาปัตติผล เป็นพระโสดาบัน
    ๑๖. ปัจจเวกขณญาณ ญาณที่พิจารณาทบทวน
    ญาณ ๑๖ นี้เรียกเลียนคำบาลีว่า โสฬสญาณ หรือ เรียกกึ่งไทยว่า ญาณโสฬส
     
  16. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,234
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,107
    ค่าพลัง:
    +70,445
    พระสูตรทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค ในอัคคัญญสูตร (บาลีฉบับสยามรัฐเล่ม ๑๑ ข้อ ๕๕ หน้า ๙๑–๙๒



    ยสส โข ปนสส วาเสฏฐา ตถาคเต สทธา นิวิฎฐา มูลชาตา ปติฎฐิตา ทฬหา อสํหาริยา สมเณน วา พราหมเณน วา เทเวน วา มาเรน วา พรหมุนา วา เกนจิ วา โลกสมึ ตสเสตํ กลลํ วาจาย ภควโตมหิ ปุตโต โอรโส มุขโต ชาโต ธมมโช ธมมนิมมิโต ธมมทายาโทติ ฯ ตํ กิสส เหตุ ฯ ตถาคตสส เหตํ วาเสฎฐา อธิวจนํ ธมมกาโย อิติปิ พรหมกาโย อิติปิ ธมมภูโต อิติปิ พรหมภูโต อิติปิ พรหมภูโต อิติปิ ฯ



    ดูก่อนวาเสฏฐะและภารทวาชะ ก็ผู้ใดแล มีศรัทธาตั้งมั่น ในตถาคต เกิดขึ้นแล้ว แต่รากแก้ว คืออริยมรรค ประดิษฐานมั่นคง อันสมณพราหมณ์ เทวดา มาร พรหม หรือผู้หนึ่งผู้ใดในโลก ไม่พรากไปได้ ควรเรียกผู้นั้นว่าเป็นบุตร เป็นผู้เกิดแต่พระอุระ เกิดแต่พระโอษฐ์ของพระผู้มีพระภาคเจ้า เป็นผู้เกิดแต่พระธรรม เป็นผู้ที่พระธรรมเนรมิตขึ้น เป็นผู้รับมรดกพระธรรม ข้อนั้นเพราะเหตุใด ? เพราะคำว่า ธรรมกาย ก็ดี พรหมกาย ก็ดี ธรรมภูต ก็ดี ว่า พรหมภูต ก็ดี เป็นชื่อของตถาคต ฯ





    “กาย” แปลว่า เป็นที่รวม เป็นที่ประชุม บอกถึงลักษณะของสิ่งที่ประกอบ รวมกันเข้าเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันจนเป็นรูปลักษณ์ไม่แยกกัน เหมือนดังเช่นกายมนุษย์ เป็นที่รวมของมหาภูตรูป ๔ เป็นต้นผสมผสานกันจนเป็นรูปกายที่เราเห็นกันได้ด้วยตาเนื้อ แต่ว่าเป็นกายเกิดจากโลกิยธรรม คือมีมนุษยธรรมเป็นประธาน


    • คำว่า พรหมกาย แปลว่า เป็นผู้มีกายอันประเสริฐบริสุทธิ์ มิใช่หมายถึงกายของพระพรหม เพราะมุ่งหมายเฉพาะพระตถาคต

    • คำว่า ธรรมภูต แปลว่า ผู้มีธรรม หรือ เป็นธรรมเป็นๆ มิใช่เป็นธรรม (ตาย) ที่อยู่ในคัมภีร์ แต่ก็มิใช่เป็นธรรมที่มีชีวะ ตามความเข้าใจของวิสัยปุถุชน เพราะเป็นวิสัยของพระอริยเจ้าทั้งหลาย เป็นสิ่งที่ละเอียดไม่สามารถจับต้องด้วยมือหรือมองเห็นด้วยตาเนื้อได้

    • คำว่า พรหมภูต บอกถึงลักษณะสภาวะอันประเสริฐบริสุทธิ์

    นอกจากนี้ยังได้บอกถึงปฏิปทาของผู้ที่จะได้ชื่อว่า เป็นบุตร ฯลฯ เป็นผู้รับมรดกพระธรรม ของพระตถาคตที่ทรงพระนามว่า ธรรมกาย แล้วจะต้องเป็นผู้มีศรัทธาตั้งมั่น เกิดขึ้นแล้วแต่รากแก้ว คืออริยมรรค กล่าวคือ ดำเนินตามอริยมรรคมีองค์ ๘ แล้ว อันใครๆ ก็ตามไม่สามารถให้หวั่นไหวได้ ตามหลักพระพุทธศาสนาผู้ที่มีศรัทธาไม่หวั่นไหวที่เรียกว่า อจลศรัทธา อย่างต่ำก็ต้องเป็นพระโสดาบันขึ้นไปจึงจะรู้ชัดว่าธรรมกาย มิใช่เป็นเพียงชื่อดังอันธปุถุชนเข้าใจกัน แต่เป็นกายแท้จริงที่เกิดจากโลกุตรธรรมฯ
     
  17. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,234
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,107
    ค่าพลัง:
    +70,445




     
  18. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,234
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,107
    ค่าพลัง:
    +70,445
    a.jpg
     
  19. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,234
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,107
    ค่าพลัง:
    +70,445
    ?temp_hash=a1ebca45ceaedf5b7b478686cdeeeaa7.jpg
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  20. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,234
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,107
    ค่าพลัง:
    +70,445

    ไฟล์ที่แนบมา:

สถานะของกระทู้:
กระทู้ถูกปิด ไม่สามารถโพสต์ตอบกลับได้

แชร์หน้านี้

Loading...