สติปัฏฐานสี่ตามแนววิชชาธรรมกาย

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย นโมพุทธายะ๕, 21 สิงหาคม 2014.

สถานะของกระทู้:
กระทู้ถูกปิด ไม่สามารถโพสต์ตอบกลับได้
  1. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,220
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,106
    ค่าพลัง:
    +70,443
    18740153_694847717383070_363061909071289486_n.jpg



    ข้อความบางส่วนจากธรรมบรรยายเรื่อง
    "หลักสมถวิปัสสนา ๒/๒"
    โดย พระเทพญาณมงคล
    เจ้าอาวาสวัดหลวงพ่อสดธรรมกายาราม
    อ.ดำเนินสะดวก จ.ราชบุรี

    ติดตามรับฟังได้ตามลิ้งก์
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  2. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,220
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,106
    ค่าพลัง:
    +70,443
    ?temp_hash=74d4a0c7486d13981f489ce2ac5fcee0.jpg






    เอาบารมีนั่นแหละคืบหนึ่งเต็มส่วน เอามากลั่นเป็นอุปบารมีได้นิ้วเดียว


    แล้วเอาอุปบารมีนั่นแหละคืบหนึ่ง กลมรอบตัว เอามากลั่นเป็นปรมัตถบารมีได้นิ้วเดียว


    บารมีก็ดี อุปบารมีก็ดี ปรมัตถบารมีก็ดี
    วัดผ่าเส้นศูนย์กลาง กลมรอบตัวทุกบารมีไป มีทั้ง ๓๐ ทัศ จึงจะได้ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า...

    (พระธรรมเทศนา เรื่อง ของที่ได้โดยยาก โดยพระเดชพระคุณ หลวงพ่อวัดปากน้ำ พระมงคลเทพทุนี "สด จนฺทสโร" ๗ พฤศจิกายน ๒๔๙๗)
    — ที่ วัดป่าวิสุทธิคุณ อ.ชะอำ จ.เพชรบุรี
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  3. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,220
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,106
    ค่าพลัง:
    +70,443
    18839301_1685097748170397_8181470503503444280_n.jpg

    ดวงวิญญาณไม่อาจจะเห็นอริยสัจได้

    ต่อเมื่อใดไปถึงกายธรรมเข้า

    ดวงวิญญาณจะขยายส่วนออกไปเป็นดวงญาณ

    หน้าตักธรรมกายโตเท่าไหน ก็กว้างแค่นั้น...

    ...ดวงญาณนั้นแหละสำหรับรู้ล่ะ

    นั้นแหละ สมฺมปฺปญฺาย ปสฺสติ เห็นตามปัญญาอันชอบ

    เห็นชัดๆ ทีเดียว ดวงญาณของธรรมกายขยายออกไป

    ดังนั้นเมื่อเข้าถึงธรรมกายแล้ว ธรรมกายจะเห็นทุกขสัจ สมุทัยสัจ นิโรธสัจ มรรคสัจ” ...

    (พระธรรมเทศนา เรื่อง เขมาเขมสรณาคมน์ แสดงโดยพระเดชพระคุณ หลวงพ่อวัดปากน้ำ พระมงคลเทพมุนี "สด จนฺทสโร" เมื่อวันที่ ๓ กุมภาพันธ์ ๒๔๙๗)
    — ที่ วัดป่าวิสุทธิคุณ อ.ชะอำ จ.เพชรบุรี
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  4. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,220
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,106
    ค่าพลัง:
    +70,443
    18767456_696001213934387_3003960639832821248_n.jpg

    จากหนังสือ นิตยสารธรรมกาย
    เรื่อง "เวทนานุปัสสนาสติปัฏฐาน"
    ปีที่ ๔ ฉบับที่ ๒ เมษายน-มิถุนายน ๒๕๓๒ หน้า ๒๐-๒๑

    โดย พระราชพรหมเถร (วีระ คณุตฺตโม)
    วัดปากน้ำภาษีเจริญ

    *คัดลอกมาบางส่วน

    ..........

    ส่วนผู้ที่ยังไม่ถึงธรรมกาย ก็ให้พยายามกำหนดบริกรรมนิมิต และบริกรรมภาวนาคู่กันไปเสมอ คือ พยายามตรึกนึกให้เห็นดวงแก้วกลมใส หรือพระพุทธรูปขาวใส เกตุดอกบัวตูมขึ้นที่ศูนย์กลางกายฐานที่ ๗ ตรงที่สุดลมหายใจเข้าออก เหนือระดับสะดือสองนิ้วมือ แล้วให้ใจหยุดอยู่กลางดวงใสหรือกลางพระพุทธรูปขาวใสนั้น มีที่หมายเป็นจุดเล็กใสเท่าปลายเข็ม กำหนดนึกให้เห็นใสละเอียดอยู่เสมอ พร้อมกับนึกในใจ เพื่อประคองนิมิตนั้นไว้เรื่อยว่า "สัมมาอะระหัง ๆ ๆ" ก็พอใช้ได้เหมือนกัน

    เมื่อจิตสงบระงับ จากนิวรณ์ธรรม ด้วยสมถภาวนาดังนี้แล้ว ก็จงพิจารณาให้เห็นสภาวะจริงของเวทนา ตามธรรมชาติที่เป็นจริงต่อไปอีกว่า #เวทนานั้นเกิดแต่จิต ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของใจ อันมีอวิชชา คือความไม่รู้สภาวะจริงของธรรมชาติตามที่เป็นจริงนั้นเอง ทำหน้าที่ปรุงแต่งอารมณ์ ที่เรียกว่า #จิตสังขาร อันเป็นเหตุให้เกิดการรับรู้อารมณ์ จากภายนอกที่สัมผัสกับทวารต่าง ๆ ทางตา หู จมูก ลิ้น กาย และทางใจ แล้วจิตนั้นเอง ก็เสวยอารมณ์สุขทุกข์ หรืออทุกขมสุขเวทนา แล้วแต่กรณี

    เมื่อพิจารณาถึงเหตุที่เกิดเวทนาทั้งหลาย นับตั้งแต่อวิชชาเองก็ไม่เที่ยง มีการเกิดขึ้น แล้วก็ดับไปพร้อมกับจิต ซึ่งก็ไม่เที่ยงอีกเช่นเดียวกัน ทั้งอวิชชาและจิต จึงต่างก็หามีตัวตนที่แท้จริงไม่ ต่างก็เป็นอนัตตา ด้วยกันทั้งสิ้น นี้ข้อหนึ่ง
    อาการปรุงแต่งอารมณ์ของจิต ที่เรียกว่า สังขาร นั้นอีกเล่า ก็ไม่เที่ยง มีเปลี่ยนแปลงแปรผันอยู่เสมอ วันนี้ เห็นบุคคลรูปร่างอย่างนี้ แต่งกาย และมีกิริยาอาการอย่างนี้ว่า น่ารัก น่าพอใจ แต่พอภายหลัง กลับไม่ชอบ ไม่ยินดี หรือเห็นขัดหูขัดตาไปก็มี หรือกลับเป็นอย่างอื่นดีกว่าก็มี หรือเมื่อก่อนเคยไม่ชอบรสสะเดา หรือมะระ เพราะว่ามีรสขม ต่อเมื่อภายหลังกลับชอบรสขม ๆ ของสะเดาะหรือมะระ ก็มี ดังนี้เป็นต้น
    มันไม่เที่ยงอย่างนี้ หากยึดถือก็เป็นทุกข์ เพราะไม่มีแก่นสารตัวตนให้ยึดถือได้ อาการปรุงแต่งอารมณ์ของจิต จึงเป็นอนัตตาอีกด้วย นี้ก็อีกข้อหนึ่ง

    ทวารต่าง ๆ หรือ อายตนะภายใน ได้แก่ ตา หู จมูก ลิ้น กาย และใจ กับตัวสิ่งที่จะก่อให้เกิดอารมณ์ คือ อายตนะภายนอกเอง ได้แก่ รูป เสียง กลิ่น รส สิ่งสัมผัสทางกาย และ ธัมมารมณ์ อันเกิดกับใจเอง ก็ไม่เที่ยงอีกเหมือนกัน รวมตลอดทั้งสิ่งที่จะก่อให้เกิดอารมณ์จากภายนอกในรูปอื่น ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง โลกธรรม ๘ ประการ ได้แก่ ลาภ-ความเสื่อมลาภ , เกียรติยศ-ความเสื่อมยศ , คำสรรเสริญ ยกย่อง-คำนินทา , ความสุข-ความทุกข์ ไม่ว่าจะเจือด้วยกามคุณ หรืออามิส หรือไม่ก็ตาม เป็นต้นว่า การเกิด แก่ เจ็บไข้ หรือความตาย หรือการได้กำเนิด และเสวยวิบากกรรมจากผลบุญ-ผลบาป ในภพ หรือในภูมิใหม่ใด ๆ ก็ตาม ก็ล้วนแต่ไม่เที่ยงทั้งสิ้น มีเปลี่ยนแปลงแปรผัน ตามเหตุปัจจัยอยู่เสมอ มีเปลี่ยนแปลงแปรผัน ตามเหตุปัจจัยอยู่เสมอ ผู้ใดยึดถือก็เป็นทุกข์ เพราะต่างก็ไม่มีแก่นสารตัวตน ให้ยึดถือได้ตลอดไป มีเกิดขึ้นแล้วก็เสื่อมสลายดับสิ้นไปเป็นธรรมดา นี้เป็น อนัตตา อีกข้อหนึ่ง

    *****************************************************************************
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุด: 4 มิถุนายน 2017
  5. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,220
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,106
    ค่าพลัง:
    +70,443
    นิยายธรรมะเรื่อง “เส้นทางนักบวช” โดย หลวงตาอู๋
    ตอนที่ 7 ในวันสบายๆ

    ตอนที่หลวงตาแก้วจำวัดอยู่ที่วัดเดิมคือวัดบูรพารามนั้นท่านเป็นพระรูปร่างอ้วนท้วน แต่เมื่อท่านตั้งใจมาฝึกปฏิบัติธรรมที่วัดวังแก้ววิเศษแล้วท่านก็เริ่มลดการฉันอาหารลง โดยท่านพยายามทำตามคำสอนของพระพุทธเจ้าที่ตรัสสอนว่า “ควรรู้จักประมาณในอาหาร” ท่านจึงค่อยๆ ลดจำนวนอาหารที่ฉันในแต่ละวันลงทีละนิด ทำให้น้ำหนักของท่านลดลงจาก 75 กิโล เหลือเพียง 65 กิโลเท่านั้น การฉันอาหารให้น้อยลงก็มีผลทำให้ท่านทำสมาธิได้ดีขึ้นโดยเฉพาะในช่วงบ่าย เพราะไม่ค่อยง่วง เดิมท่านจะต้องงีบนอนในช่วงบ่ายแต่ตอนนี้แทบจะไม่ต้องนอนเลยทำให้ท่านมีเวลานั่งสมาธิได้มากขึ้น

    ยกเว้นบางวันที่มีขนม “ส่วยทมิน” ซึ่งเป็นขนมโปรดของท่าน ท่านก็จะฉันมากหน่อย และเนื่องจากขนมส่วยทมินทำมาจากข้าวเหนียวใส่กะทิและน้ำตาล จึงทำให้ท่านง่วงมากกว่าฉันอาหารอย่างอื่น เวลานั่งสมาธิถ้าตั้งสติไม่ดีพอก็จะหลับในสมาธิอย่างไม่รู้ตัว การหลับในสมาธิมันจะไม่หลับสนิทแต่จะเป็นการหลับในพวังค์ คือเราสามารถได้ยินเสียงภายนอกได้ลางๆ ถ้าเอาจิตไปจับใจความก็จะรู้เรื่อง ตัวจะโอนเอนไปมาแต่เราไม่รู้ตัวว่าตัวโอนไปเอนมา คนภายนอกมองดูเราแล้วเขาจะบอกว่าเราหลับเพราะนั่งไม่ตรง แต่เราก็จะเถียงกลับไปว่าไม่ได้หลับเพราะเรายังรู้เรื่องยังได้ยินเสียงต่างๆ ก็เหมือนกับคนที่นอนกรน ใครมาบอกว่าเรานอนกรนเราก็จะเถียงกลับไปว่าเราไม่ได้กรน (เพราะเราหลับไปเลยไม่ได้ยิน)

    เมื่อใดก็ตามที่ดวงแก้วหายไปก็แสดงว่าเราเริ่มจะขาดสติหรือเริ่มจะหลับ หลวงตาแก้วท่านก็เลยหาวิธีไม่ให้ง่วง ปกติท่านก็จะกำหนดให้กายละเอียดของท่านเข้าไปนั่งเล่นในดวงแก้ว แต่เมื่อทำไปหลายครั้งท่านก็อยากลองวิธีใหม่ๆ ดูบ้าง วันนี้ท่านก็เลยอธิษฐานซ้อนท่านบรมครูสว่าง โอภาสรังษีขึ้นมาที่ศูนย์กลางดวงแก้วซะเลย ครั้งนี้เป็นครั้งแรกที่นึกซ้อนท่านบรมครูสว่างขึ้นมา (ไม่มีใครสอน ท่านนึกวิธีนี้ขึ้นมาเอง) คนอื่นอย่างเก่งอาจจะซ้อนแค่องค์เดียว แต่หลวงตาแก้วท่านยังกำหนดซ้อนหลวงปู่เทพโลกอุดรขึ้นมาอีก 1 องค์หนึ่งด้วย ซ้อนขึ้นมาทีเดียว 2 องค์เลย 555 เพราะในชีวิตนี้หลวงตาแก้วท่านเคารพนับถือเป็นที่สุดอยู่เพียง 2 องค์นี้เท่านั้น ในจิตนั้นท่านเห็นชัดเลยว่าท่านทั้ง 2 องค์ผุดซ้อนขึ้นมาอยู่ในดวงแก้ว เพราะเมื่อสมาธิเราดีขึ้นการกำหนดเห็นจะชัดเหมือนกับตาเห็นเลย ที่สำคัญท่านเห็นว่าหลวงปู่ทั้ง 2 ท่านอมยิ้มให้หลวงตาแก้วด้วย ไม่รู้ว่าทำไมท่านถึงยิ้มให้ ท่านคงจะบอกว่าไอ้หลวงตาแก่ๆ องค์นี้มันชอบทำอะไรพิศดารไม่เหมือนใครนั่นเอง เมื่อซ้อนท่านขึ้นมาแล้วก็เกิดปัญหาซิครับ

    พอท่านทั้ง 2 ขึ้นมาแล้วหลวงตาแก้วก็เกิดอาการขนลุกขนชัน เกิดปีติขึ้นมาอย่างแรง อาการซาบซ่านแผ่ออกมาจากกลางท้องพุ่งขึ้นไปที่ศีรษะจนสุดบนกระหม่อม วิ่งกระจายไปที่แขนและขาจนสุดปลายแขนและปลายขา ตัวซ่าตัวชาอย่างแรง ที่สำคัญคืออาการปีตินี้มันไม่ยอมหยุด ขณะนั้นท่านนั่งอยู่กับพระอีกหลายท่านที่มาร่วมสวดทำวัตรเย็นด้วยกัน เมื่อนั่งสมาธิกันเสร็จแล้วลุกเดินออกมาจากโบสถ์อาการปีติก็ยังเกิดไม่ยอมหยุด เวลาผ่านไปนับชั่วโมงเมื่อท่านกลับมานั่งสมาธิที่ในกุฏิของท่านอาการปีตินี้ก็ยังเกิดอยู่เลย นี่คงจะเป็นผลมาจากการซ้อนหลวงปู่บรมครูทั้ง 2 ท่านเข้ามาที่ศูนย์กลางดวงแก้วเป็นแน่แท้ หลวงตาแก้วทราบขึ้นมาทันทีว่านี่แสดงถึงอานุภาพบุญบารมีอันแก่กล้าของท่านบรมครูสว่างและของหลวงปู่เทพโลกอุดรแน่ๆ เพราะหลวงตาแก้วกำหนดซ้อนท่านขึ้นมาทั้ง 2 องค์ ปีติก็เลยเกิดขึ้นมาแรงเป็น 2 เท่าหรือมากกว่าเป็นทับทวี นอกจากหายง่วงแล้วยังรู้สึกสดชื่นมีกำลังแปลกๆ เกิดขึ้นมาอีกด้วย....

    ปล. หลวงตาแก้วไม่ใช่ตาอู๋นะครับเป็นคนละคนกันอยู่กันคนละประเทศ อายุและรูปร่างหน้าตาก็ไม่เหมือนกัน นิยายเรื่องนี้สมมติแต่งขึ้นมาเอง ตัวละครทุกตัวและสถานที่ต่างๆ ไม่มีตัวตนอยู่จริงและไม่มีความเกี่ยวข้องกับวัดใดๆ หรือพระภิกษุองค์ไหนในประเทศไทยเลย เป็นเพียงการจินตนาการขึ้นมาและผูกเรื่องราวที่เกิดขึ้นในประเทศทิเบติราชให้อ่านกันเพื่อความบันเทิง โดยมีการแทรกข้อคิดและความรู้ทางธรรมะไว้ ผู้แต่งจะค่อยๆ ทยอยเขียนเรื่องตอนต่างๆ แบบค่อยเป็นค่อยไป เพื่อนำท่านผู้อ่านให้ร่วมเดินทางและมีประสบการณ์ไปพร้อมกันบน “เส้นทางนักบวช” นี้



    18836065_1593484000685802_2449024818558512440_n.jpg
     
  6. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,220
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,106
    ค่าพลัง:
    +70,443
    18814220_696921637175678_39600745240311083_n.jpg

    ข้อความบางส่วนจากการตอบปัญหาธรรมเรื่อง
    "ครูอาจารย์ห้ามศิษย์ของตนมิให้อ่านหนังสือของสำนักอื่น มีผลดีผลเสียอย่างไร"

    โดย พระเทพญาณมงคล
    เจ้าอาวาสวัดหลวงพ่อสดธรรมกายาราม
    อ.ดำเนินสะดวก จ.ราชบุรี

    ติดตามอ่านได้ตามลิ้งก์
    http://www.dhammakaya.org/ตอบปัญหาธรรม/ครูอาจารย์ห้ามศิษย์ของตนมิให้อ่านหนังสือของสำนักอื่น-มีผลดีผลเสียอย่างไร

    ********************************************************************



     
  7. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,220
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,106
    ค่าพลัง:
    +70,443
    18839235_697495327118309_6937094503747100319_n.jpg


    จากหนังสือ นิตยสารธรรมกาย
    เรื่อง "ฉันทะเป็นอิทธิบาท (ฉนฺทิทฺธิปาท) วิริยะเป็นอิทธิบาท (วิริยิทฺธิปาท)"
    ปีที่ ๗ ฉบับที่ ๑ มกราคม-มีนาคม ๒๕๓๕ หน้า ๔๐

    โดย พระเทพญาณมงคล
    เจ้าอาวาสวัดหลวงพ่อสดธรรมกายาราม
    อ.ดำเนินสะดวก จ.ราชบุรี

    ***คัดลอกมาบางส่วน
    .............

    เมื่อบุคคล ได้เรียนรู้ในเหตุที่พึงต้องปฏิบัติธรรม ว่า "อวิชชา" เป็นรากเหง้าแห่งกิเลส ตัณหา อุปาทาน อันเป็นเหตุแห่งทุกข์ทั้งหลาย จึงเป็นสิ่งที่ผู้มีปัญญาพึงศึกษา และปฏิบัติธรรม เพื่อกำจัดเหตุ และต้นเหตุเหล่านั้น เพื่อความดับทุกข์อันถาวร โดยการเจริญพระอริยมรรคมีองค์ ๘ หรือจะกล่าวโดยย่อ ก็ได้แก่ การรักษาศีล และปฏิบัติพระกัมมัฏฐาน เพื่อความเจริญสมาธิ และปัญญา ให้รู้แจ้ง เห็นจริง ในพระอริยสัจทั้ง ๔ ดังนีแล้ว ย่อมมีใจรัก (ฉันทะ) ที่จะศึกษา และปฏิบัติธรรมให้ยิ่ง ๆ ขึ้นไป และลงมือปฏิบัติ เพื่อให้เห็น และบรรลุผลตามที่มุ่งหมายไว้

    เริ่มตั้งแต่เพียรพยายาม (วิริยะ) รักษาศีล ตั้งแต่น้อยข้อไปหามาก อย่างเช่น ตั้งแต่ศีล ๕ ซึ่งเป็นศีลของฆราวาส สูงขึ้นไปเป็นศีล ๘ ของอุบาสก อุบาสิกา ศีล ๑๐ ของสามเณร และศีล ๒๒๗ ของพระสงฆ์ ด้วยใจจดจ่อ (จิตตะ) ในการรักษาศีลให้บริสุทธิ์ สมบูรณ์อยู่เสมอ และด้วยความพินิจพิจารณาในเหตุ และสังเกตในผล (วิมังสา) ของการรักษาศีลให้บริสุทธิ์สมบูรณ์ยิ่ง ๆ ขึ้นไป
    จากศีลในขั้นหยาบ (หีนศีล) ซึ่งประกอบด้วยภูมิปัญญาอันต่ำ ไม่เข้าใจในเหตุ และผล ที่ตนพึงรักษาโดยแจ่มแจ้ง เพราะยังประกอบด้วยอาสวกิเลสที่หนาแน่นอยู่ เช่น การรักษาศีลด้วยความปรารถนาในลาภ ยศ สรรเสริญ สุข หรือสมบัติในภพ ไปสู่การรักษาศีลในขั้นกลาง ๆ (มัชฌิมศีล) อันประกอบด้วยภูมิปัญญาปานกลาง มีความเข้าใจในเหตุ และผลที่บุคคลพึงต้องรักษาให้บริสุทธิ์สมบูรณ์อยู่เสมอ รู้อานิสงส์ของการรักษาศีล และโทษของการประพฤติผิดศีลแจ่มแจ้งยิ่งขึ้นพอประมาณ มุ่งรักษาศีลเพื่อให้เป็นบุญ ซึ่งผู้รักษาแม้จะยังมีอาสวกิเลสอยู่ แต่ก็เบาบางลงเรื่อย ๆ มิใช่รักษาเพื่อลาภสักการะ หรือเพื่อข่มผู้อื่น ฯลฯ เหล่านี้เป็นต้น แล้วเพียรพยายามรักษาศีลที่สูงยิ่ง ๆ ขึ้นไป ถึงการรักษาศีลที่ละเอียดประณีต (ปณีตศีล) อันประกอบด้วย ปัญญาอันอุดมเข้าใจในอานิสงส์ของการรักษาศีล และโทษของการผิดศีลโดยแจ่มแจ้ง มุ่งรักษาศีลเพื่อเป็นเครื่องละบาปอกุศล เหล่านี้จัดเป็น โลกุตตรศีล หรือ อริยกันตศีล ซึ่งเป็นศีลของพระอริยเจ้า ตั้งแต่พระโสดาบันบุคคลขึ้นไป และโดยที่ท่านมีอาสวกิเลสอันเบาบางลงเรื่อย ๆ มากแล้ว จึงเรียกว่า วิสุทธิศีล อันเป็นปัจจัยต่อความบริสุทธิ์แห่งจิต (วิสุทธิจิต) และความบริสุทธิ์แห่งปัญญา (วิสุทธิปัญญา) ด้วยความรู้แจ้ง เห็นจริง คือ "ความตรัสรู้ในพระอริยสัจ" นั่นเอง

    ................
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  8. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,220
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,106
    ค่าพลัง:
    +70,443
  9. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,220
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,106
    ค่าพลัง:
    +70,443
    18952739_1731272220235771_7481846670839786607_n.jpg
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  10. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,220
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,106
    ค่าพลัง:
    +70,443
    19059296_701496616718180_2361572205144951267_n.jpg

    พระธรรมเทศนา “การแสดงศีล (สีลุทเทส)"
    โดย พระมงคลเทพมุนี (สด จนฺทสโร)
    เมื่อ ๓ พฤศจิกายน ๒๔๙๗


    *คัดลอกเนื้อความมาบางส่วน
    ติดตามอ่านเนื้อหาเต็มตามลิ้งก์
    http://www.dhammakaya.org/ธรรมะ/พระธรรมเทศนา-โดย-พระมงคลเทพมุนี/การแสดงศีล-สีลุทเทส

    .......

    ณ บัดนี้ อาตมภาพจักได้แสดงใน สีลุทเทส แสดงเรื่อง ศีลเป็นเหตุ มีสมาธิเป็น อานิสงส์ สมาธิเป็นต้นเหตุ มีปัญญาเป็นอานิสงส์ ปัญญาเป็นต้นเหตุ อบรมจิตให้หลุดพ้น จากอาสวะทั้งหลาย
    ในข้อนั้นท่านทั้งหลายพึงกระทำโดยความไม่ประมาทเถิดประเสริฐนัก ที่เกิดมาเป็นมนุษย์พบพุทธศาสนา สมเด็จพระบรมศาสดาทรงวางตำรับตำราไว้เป็นแบบแผน แน่นหนา ทรงตรัสเทศนาโปรดเวไนยสรรพสัตว์อยู่ ๔๕ พรรษา เมื่อรวบรวมธรรมวินัย ไตรปิฎกของพระบรมศาสดาแล้ว ก็คงเป็น ๓ คือ วินัยปิฎก สุตตันตปิฎก ปรมัตถปิฎก เรื่องนี้พระเถรานุเถระ มีพระมหาอริยกัสสปะเป็นประธาน ได้สังคายนาร้อยกรอง ทรงพระธรรมวินัยเป็นหลักฐานเรียกว่า พระวินัย พระสูตร พระปรมัตถ์

    พระวินัย จัดเป็น ศีล ศีลมากนัก เป็น อปริยนฺตปาริสุทฺธิสีล ศีลของพระภิกษุไม่มี ที่สุดทีเดียว ศีลของอุบาสกอุบาสิกา มี ๕ มี ๘ มี ๑๐ ตามหน้าที่ สามเณรมี ๑๐

    ส่วนพระสูตรก็ตรัสเทศนามากอีกเหมือนกัน เรียกว่า พระสุตตันตปิฎก ยกเป็น พระสุตตันตปิฎกนั้น ถึง ๒๑,๐๐๐ พระธรรมขันธ์ ถ้าจะสรุปเข้าแล้ว ถ้าจะสรุปรวบรวมเข้า ก็เป็น สมาธิ สมาธิจัดเป็นภูมิไปมาก มีมากอีกเหมือนกัน แต่ว่า ว่าสั้นๆ แล้วก็สมาธิ

    พระปรมัตถปิฎก ๔๒,๐๐๐ พระธรรมขันธ์ ถ้าย่นลงเป็นสั้น ๆ แล้ว ก็คือ ปัญญา ปัญญาก็แยกออกมากอีกเหมือนกัน

    เพราะฉะนั้น ศีล สมาธิ ปัญญา นี่แหละ เป็นหลักเป็นประธานของพระพุทธศาสนา ผู้ปฏิบัติควรศึกษาเสียให้รู้ศีลชัด รู้ศีลแล้ว ให้รู้จักสมาธิชัด ให้รู้จักปัญญาเสียให้ชัด

    ..........
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  11. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,220
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,106
    ค่าพลัง:
    +70,443
    19114036_702006170000558_863126800153258576_n.jpg

    จากหนังสือ นิตยสารธรรมกาย
    เรื่อง "การปฏิบัติธรรม เพื่อให้รู้แจ้งสังขาร และวิสังขาร"
    ปีที่ ๗ ฉบับที่ ๑ มกราคม-มีนาคม ๒๕๓๕ หน้า ๑๔-๑๕

    โดย พระเทพญาณมงคล
    เจ้าอาวาสวัดหลวงพ่อสดธรรมกายาราม
    อ.ดำเนินสะดวก จ.ราชบุรี

    คัดลอกมาบางส่วน*

    .............

    สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ได้ทรงแสดงธรรมเอาไว้ ซึ่งเราก็พอจะทราบกันโดยทั้่วไปว่า ขึ้นชื่อว่า สิ่งที่ประกอบด้วยปัจจัยปรุงแต่ง ทั้งปวงในโลกนี้ คำว่า "สังขาร" นั้นหมายถึง ความปรุงแต่ง เช่น สังขารร่างกาย และจิตใจของเรา ตัวเราทั้งหมดนี่ ได้รับการปรุงแต่งให้พอเหมาะกับสภาวะที่จะมีชีวิต ทรงและดำรงอยู่ได้ ตั้งแต่เกิดขึ้นมา ปรุงแต่งกันมาตั้งแต่เกิดจนตั้งอยู่ แต่ก็ต้องเปลี่ยนแปลงไปตามเหตุตามปัจจัยนี้ เป็นอนิจจัง ไม่เที่ยง สิ่งปรุงแต่ง หรือเครื่องปรุงแต่งทั้งหลาย ที่มีมากมาย หลายอย่างในร่างกายของเรา ในจิตใจของเรา
    เช่น ประกอบด้วยธาตุ ทั้งน้ำ ดิน ไฟ ลม อากาศ
    ธาตุน้ำ คือ ส่วนที่เป็นของเหลว
    ธาตุดิน คือ ส่วนที่เป็นของแข็ง
    ธาตุไฟ เป็นอุณหภูมิ
    ธาตุลม เป็นลมปราณที่ปรนเปรออยู่ในร่างกาย
    อากาศธาตุ ก็เป็นช่องว่างในทุกส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย

    นี่แหละ ธาตุละเอียดที่ควบคุม ธาตุหยาบ อันได้แก่ อาการ ๓๒ หรือ อวัยวะต่าง ๆ ของร่างกาย เหล่านี้ ให้อยู่ในสภาวะพอเหมาะ นี่ในส่วนของสังขารร่างกาย ทั้งหลาย เป็ฯความปรุงแต่งทางร่างกายธาตุ(ละเอียดและหยาบ) เหล่านี้ ย่อมวิปริต แปรปรวน ไปตามเหตุ ตามปัจจัย ตามกาลเวลา ตามอุณหภูมิร้อนจัด หนาวจัด ก็เปลี่ยนแปลงไป ถ้าทนอยู่ในสภาพเดิมไม่ได้ ก็แตกสลาย คือตาย

    นอกนั้น ก็ยังมีอีกส่วนอื่น ๆ เช่น ธรรมชาติที่เรียกว่า "ใจ" ธรรมชาติที่เสวยอารมณ์สุข ทุกข์ ไม่สุข ไม่ทุกข์ ธรรมชาติที่จดจำเรื่องราวต่าง ๆ ธรรมชาติที่คิดไปในเรื่องต่าง ๆ และธรรมชาติที่รู้ อารมณ์ต่าง ๆ เห็น จำ คิด รู้ ทั้งหมดนั่น เป็นส่วนของใจ ทั้ง ๒ อย่างนี้ อย่างแรกเรียกว่า "รูปขันธ์" อีก ๔ อย่างนี้ เรียกว่า "นามขันธ์"
    รูปขันธ์ ๑ และนามขันธ์ ๔ รวมเรียกว่า “เบญจขันธ์” นี้ ยังถูกปรุงแต่งขึ้นมาจากกรรม กรรมดี กรรมชั่ว ที่สัตว์โลกได้ประพฤติปฏิบัติสืบต่อ ๆ มา เวียนว่ายตายเกิดอยู่ในสังสารจักร ภพน้อยภพใหญ่ ไปสวรรค์บ้าง นรกบ้าง เป็นสัตว์เดรัจฉานบ้าง เป็นมนุษย์บ้าง อยู่นี่แหละ ไปตามกรรม ถ่ายทอดกรรม และผลของกรรม เป็นธาตุสำเร็จไปสู่ธาตุธรรม ที่จะสืบต่อ ต่อ ๆ ไป ไม่มีที่สิ้นสุด และประการสำคัญที่สุด ก็คือว่า กิเลสเป็นเหตุนำ เหตุหนุน ให้คิดผิด รู้ผิด ทำผิด นี่แหละทำให้เกิดผลกรรมวนเวียน ต่อไปไม่มีที่สิ้นสุด ผลของกรรมอย่างนี้ ไม่ได้เกิดเฉพาะข้ามภพ ข้ามชาติ เกิดในปัจจุบัน เป็นปัจจุบันธรรมเรื่อยไป ปรุงแต่งชีวิตของคน หรือสัตว์โลกให้ดี ให้ชั่ว ให้ทุกข์ ให้สุข ไปตลอด
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  12. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,220
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,106
    ค่าพลัง:
    +70,443
    22813_938617256183008_8946613041648242679_n.jpg






    “หลวงพ่อสด วัดปากน้ำ โปรดขอทานชรา”

    ในสมัยที่ หลวงพ่อสด จนทฺสโร หรือ พระมงคลเทพมุนี หลวงพ่อวัดปากน้ำ ภาษีเจริญ มีชื่อเสียงและกิตติคุณไพศาลยิ่ง ด้วยเป็นผู้ค้นพบวิชาพระธรรมกาย และได้เผยแผ่วิชานี้

    จนมีพระภิกษุ สามเณร อุบาสก อุบาสิกา พากันมาขอเรียนวิชาธรรมกายปราบมารนี้ จนแน่นขนัดบริเวณวัดทุกเมื่อเชื่อวัน

    อีกทั้งมีศิษย์ที่เป็นโยมอุปฐากวัด ทั้งที่เป็นข้าราชการระดับสูง ทั้งขุนทหาร ตำรวจ และข้าราชการศาลยุติธรรม เจ้าสัว มหาเศรษฐี ตลอดจนผู้มีหน้า มีตาในวงสังคมชั้นสูงอีกจำนวนมาก มากราบฝากตัวเป็นศิษย์

    วัดปากน้ำ ณ เวลานั้น จึงคราคร่ำ แน่นเนืองไปด้วยผู้คน ราวกับวัดมีงานรื่นเริงอยู่ตลอดเวลา

    วันหนึ่ง เมื่อหลวงพ่อวัดปากน้ำ ฉันเพลเสร็จ และบอกกรรมฐานให้กับผู้ต้องการขึ้นวิชาธรรมกายปราบมาร เป็นที่เรียบร้อยแล้ว

    ก็ถึงเวลาที่ท่านรับแขก คือสงเคราะห์ญาติโยม เมื่อหลวงพ่อท่านนั่งอยู่ ณ ที่ใด ที่นั้นย่อมเต็มไปด้วยผู้คน ทั้งที่เป็นโยมวัด โยมอุปฐาก แขกผู้มาเยือน ตลอดจนชาวบ้าน พากันเบียดเสียดเพื่อรอชมบารมีท่านไม่ห่างตา

    ที่เชิงบันไดขึ้นศาลาใหญ่ ที่หลวงพ่อวัดปากน้ำนั่งรับแขกอยู่นั้น มีชายชราผู้หนึ่งเนื้อตัวสกปรกมอมแมม ผมเผ้ารุงรัง ใส่หมวกผ้าใบเก่า

    เสื้อผ้าล้วนแล้วแต่ นุ่งห่มด้วยเสื้อผ้าขาดๆ ปะปุรอบตัวปากแดงด้วยเลอะคราบหมาก ลักษณะท่าทาง เสื้อผ้า เหมือนขอทานไม่มีผิดเพี้ยน

    กำลังแหวกคน ขอทางเพื่อขึ้นไปกราบหลวงพ่อวัดปากน้ำ เมื่อชายขอทานเดินผ่านหน้าใคร หญิงชาย คนชรา รวมทั้งเด็กเล็ก เด็กโต ต่างพากันรีบหลีกเป็นช่องให้ เพราะรังเกียจ และกลัวความสกปรก จะมาพาลติดตัว

    แต่แปลก ที่ชายชราขอทานผู้นี้ กลับไม่มีกลิ่นตัว เหม็นสาบ เหม็นสางเลยแม้แต่น้อย

    ใบหน้าชายชราอิ่มเอิบ ยิ้มย่องผ่องใส แววตาฉายแววประหลาดลึกซึ้ง ชายหนุ่มหลายคน ที่ทำหน้าที่ดูแลความเรียบร้อย รีบกางมือห้ามไม่ให้ขึ้นไปบนศาลา

    “คนบ้า ไปเสียให้พ้น ๆ” บ้างก็ว่า

    “ถ้าปล่อยให้เข้าพบหลวงพ่อ แล้วเกิดคุ้มคลั่ง จะว่า อย่างไร ไม่น่าไว้ใจ”

    แต่ชายชรา กลับแสดงอาการนอบน้อมยกมือไหว้ ขอเข้าพบหลวงพ่อวัดปากน้ำ หลายคนชี้ชวนกันดู พลางพูดว่า ดูซิ บารมีของหลวงพ่อวัดปากน้ำนี่ท่านดีจริง

    แม้แต่คนบ้าก็ยังดั้นด้นมากราบท่านเลย คนแก่หลายคนสงสาร ขอให้เจ้าหน้าที่วัด ช่วยหลีกทางให้ชายขอทานนี้ ได้พบหลวงพ่อวัดปากน้ำสมดังความตั้งใจด้วย

    สายตาของทุกคู่ บนศาลาการเปรียญ วัดปากน้ำ ภาษีเจริญวันนั้น พากันจ้องมองชายขอทานคนนี้ เป็นตาเดียว มีแต่หลวงพ่อสด วัดปากน้ำ เท่านั้นที่ยิ้มที่มุมปาก

    เมื่อชายขอทานชรา มาอยู่ตรงหน้าหลวงพ่อสด วัดปากน้ำแล้วก็ก้มลงกราบงาม ๆ 3 ที พอเงยหน้าขึ้น ก็บอกกับหลวงพ่อว่า

    “ผมชื่ออิน จะมาขอเรียนวิชาธรรมกายด้วยคน”

    หลวงพ่อวัดปากน้ำ รินน้ำชาส่งให้ พร้อมกับบอกว่า

    “อินเอ๊ย จะมัวซ่อนร่างอยู่ทำไม จงทำร่างให้ปรากฏตามความจริง ให้ถูกต้องเสียเถิด คนเขาจะได้รู้ตามความเป็นจริงเสียที”

    ตาอิน อมยิ้ม สอบถามหลวงพ่อสด ถึงวิชาธรรมกาย ซึ่งท่านก็ตอบข้อสงสัยให้จนเสร็จสิ้น

    ถ้าใครเคยฝึกวิชาธรรมกายชั้นสูง ก็จะรู้ว่า คำถามของขอทานอิน กับคำตอบของหลวงพ่อสดนั้น ล้วนแล้วแต่เป็นข้ออรรถ ข้อธรรม ในวิปัสสนาชั้นสูงทั้งสิ้น

    แสดงให้เห็นถึงภูมิรู้ของผู้ถาม และแสดงให้เห็นภูมิธรรม ของผู้ตอบ อย่างชัดเจนที่สุดว่าต่างก็เป็น นักวิปัสสนาชั้นยอดด้วยกันทั้งคู่

    บ่ายคล้อย ตาอินเสร็จสิ้นคำถาม ได้กราบลาหลวงพ่อสด กลับบ้านที่พระประแดง

    ตอนนั้นศิษย์รุ่นเก่าที่เข้าถึงธรรมกายของหลวงพ่อสด พากันยกมือไหว้ คุณตาอินกันทุกคน

    และถ้าจะมีใครเดินตามขอทานอิน หรือตาอิน หรือคุณตาอิน ไปเพื่อซักถามประวัติ ความสนใจในวิปัสสนา และอภิญญาจิตของตาอินแล้ว ละก็เขาก็จะได้รู้ว่า ตาอินผู้นี้ อีกไม่ช้าไม่นาน ก็จะมีคนรู้จักในนาม

    หลวงพ่ออิน เทวดา หรือหลวงพ่ออิน ตาทิพย์ แห่งวัดใหม่ตาอินทร์ หรือวัดราษฎร์รังสรรค์ ต.บางกระเจ้า อ.พระปะแดง จังหวัดสมุทรปราการ

    ผู้ที่มรณภาพแล้ว ร่างกายไม่เน่าไม่เปื่อย และเป็นพระอภิญญาจารย์ ผู้มีฤทธิ์ ดุจพระอรหันต์ จี้กง นั่นเอง

    เรื่องเล่าชาวสยาม

    ****************************************



     
  13. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,220
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,106
    ค่าพลัง:
    +70,443
    19149292_1703205713026267_8318109133912153887_n.jpg
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  14. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,220
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,106
    ค่าพลัง:
    +70,443
    นิยายธรรมะเรื่อง “เส้นทางนักบวช” โดย หลวงตาอู๋
    ตอนที่ 8 เทคนิคการเพ่งลูกแก้ว

    การดำรงตนให้อยู่ในพระธรรมวินัยนั้นเป็นเรื่องที่สำคัญที่สุดของนักบวช โดยเฉพาะหากทำผิดในเรื่องของการอวดอุตตริมนุสสธรรมที่ไม่มีในตน ถือเป็นการโกหกโดยตรงมีโทษถึงปาราชิกคือต้องสึกจากการเป็นพระทีเดียว ทั้งนี้ก็เพื่อเป็นการป้องปรามไม่ให้ภิกษุหาเลี้ยงตัวเองด้วยการโกหกชาวบ้าน แต่พระธรรมวินัยข้อนี้ท่านก็ยังไม่เอาผิดแก่พระที่สำคัญผิดว่าตนได้บรรลุธรรมแล้ว ต่อมาภายหลังเมื่อทราบว่าตนยังไม่ได้บรรลุธรรมจริงท่านก็ไม่ถือว่าเป็นความผิด นอกจากนั้นท่านยังไม่เอาผิดแก่การพูดอวดอ้างที่ไม่มีเจตนาจะอวดอ้าง เช่น เพื่อการสอนธรรมะ หรือเพื่อสร้างศรัทธาแก่คนบางคนที่สอนได้ยาก เป็นต้น

    แต่สำหรับการอวดอุตตริมนุสสธรรมที่มีอยู่จริงในตนนั้น ถ้าพระภิกษุที่อวดนั้นแสดงแก่พระภิกษุด้วยกันเองก็ไม่ถือว่าเป็นอาบัติ แต่ถ้าไปอวดแก่อนุสัมปัน (ฆราวาส) ถือเป็นอาบัติปาจิตตีย์ ไม่ใช่อาบัติปาราชิก อาบัติปาจิตตีย์นี้ต้องแก้ด้วยการปลงอาบัติซึ่งพระท่านจะปลงอาบัติกันเป็นประจำอยู่แล้ว จะเห็นได้ว่าพระภิกษุผู้ที่มีคุณธรรมอยู่ในตนจริงหากท่านแสดงเพื่อการสอนแล้วก็จะไม่มีโทษ แต่ในโลกปัจจุบันมีผู้ที่คอยจับผิดกล่าวโทษพระอยู่มาก ซึ่งคนพวกนี้กลับจะได้รับโทษเพราะการกล่าวโทษพระมากกว่า เขาทำไปจะโดยเจตนาอย่างไรก็แล้วแต่ เขาก็จะต้องได้รับโทษในฐานะที่ล่วงเกินแก่พระที่ท่านมีคุณวิเศษอยู่จริง ดังนั้นเราจึงจะเห็นว่าพระอภิญญาเก่งๆ ท่านจึงต้องเข้าป่าหรือครองผ้าขาว เพื่อป้องกันคนพวกนี้ไม่ให้ไปอบายนั่นเอง (ท่านสงสาร) พวกเราจึงไม่ค่อยได้มีโอกาสได้ทำบุญกับพระอภิญญาเหล่านั้น

    หลวงตาแก้วท่านนั่งเพ่งลูกแก้วอยู่หลายปี จนท่านก็พอที่จะเห็นดวงแก้วได้ชัดบ้างไม่ชัดบ้าง เมื่อท่านหวนกลับไปพิจารณาดูว่ามันมีเหตุมีผลอะไรต่อการเพ่งลูกแก้วบ้าง ท่านก็นึกได้ว่าทุกครั้งที่ท่านสรงน้ำแล้วมานั่งสมาธิ ท่านก็จะเห็นดวงแก้วได้ชัดง่ายขึ้น เห็นได้นานขึ้น หรือทุกครั้งที่ท่านฉันกาแฟไปสัก 5 นาทีแล้วนั่งสมาธิเลย กาแฟก็จะมีผลให้ท่านเห็นดวงแก้วได้ดีขึ้น ทั้งนี้อาจจะเพราะกาแฟได้ไปทำให้ร่างกายและสมองสดชื่นไม่ง่วงนอน การง่วงนอนเป็นหนึ่งในนิวรณ์ 5 ที่เป็นอุปสรรคต่อการนั่งสมาธิ

    เทคนิคการเพ่งลูกแก้วนั้นต้องพยายามมองลูกแก้วให้นานๆ มองบ่อยๆ ช่วงที่เริ่มฝึกเราแทบจะต้องพกลูกแก้วติดตัวไว้เลย อยากดูเวลาไหนก็หยิบขึ้นมาดู บางคนดูแปล๊บเดียวแล้วก็หลับตาเลย แบบนั้นมันจะไปเห็นลูกแก้วได้อย่างไร เราจะต้องดูลูกแก้วจนภาพลูกแก้วนั้นติดตาก่อนแล้วจึงหลับตา พอหลับตาแล้วจะเห็นลูกแก้วปรากฏขึ้นมาในสมาธิระยะหนึ่งแล้วภาพลูกแก้วก็จะหายไป เราก็ลืมตาขึ้นมาดูใหม่ คราวนี้ดูไม่นานแล้วรีบหลับตาลงภาพลูกแก้วก็จะยังอยู่ ทำไปบ่อยๆ ภาพลูกแก้วนั้นก็จะปรากฏได้นานขึ้น ฝึกไปไม่นานหรอกครับเราก็จะเห็นดวงแก้วได้...แค่ 2-3 ปีเท่านั้น 555

    เมื่อหลวงตาแก้วเริ่มที่จะเห็นดวงแก้วได้ชัดขึ้นก็ไม่พ้นสายตาของท่านพระโพธิธรรมเจ้าสำนักวัดวังแก้ววิเศษ เพราะมีอยู่วันหนึ่งที่ท่านหลวงตาแก้วต้องไปทำธุระแถวๆ กุฏิของท่านเจ้าสำนัก แล้วท่านก็ได้พบกับท่านพระโพธิธรรมโดยบังเอิญ ท่านพระโพธิธรรมได้พูดกับท่านขึ้นมาว่า “เอ....เธอพอจะเห็นดวงแก้วแล้วใช่ไหม” หลวงตาแก้วได้ยินเข้าก็สะดุ้ง ไม่คิดว่าท่านพระโพธิธรรมท่านจะมารู้มาเห็นในสิ่งที่หลวงตาแก้วปฏิบัติอยู่ได้ หลวงตาแก้วก็ตอบท่านไปอย่างละล่ำละลักว่า “ครับ ก็พอจะเห็นๆ หายๆ ชัดบ้างไม่ชัดบ้างครับ” นี่ล่ะคือครูบาอาจารย์ของวิชชาดวงธรรมพ้นโลกที่แท้จริง หากไม่รู้ไม่เห็นจริงก็ยากที่จะทำให้ลูกศิษย์เชื่อถือและศรัทธาได้

    ปล. หลวงตาแก้วไม่ใช่หลวงตาอู๋นะครับเป็นคนละคนกันอยู่กันคนละประเทศ อายุและรูปร่างหน้าตาก็ไม่เหมือนกัน นิยายเรื่องนี้สมมติแต่งขึ้นมาเอง ตัวละครทุกตัวและสถานที่ต่างๆ ไม่มีตัวตนอยู่จริงและไม่มีความเกี่ยวข้องกับวัดใดๆ หรือพระภิกษุองค์ไหนในประเทศไทยเลย เป็นเพียงการจินตนาการขึ้นมาและผูกเรื่องราวที่เกิดขึ้นในประเทศทิเบติราชให้อ่านกันเพื่อความบันเทิง โดยมีการแทรกข้อคิดและความรู้ทางธรรมะไว้ ผู้แต่งจะค่อยๆ ทยอยเขียนเรื่องตอนต่างๆ แบบค่อยเป็นค่อยไป เพื่อนำท่านผู้อ่านให้ร่วมเดินทางและมีประสบการณ์ไปพร้อมกันบน “เส้นทางนักบวช” นี้


    *******************************************

     
  15. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,220
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,106
    ค่าพลัง:
    +70,443
    19145702_702653263269182_6968765222297834337_n.jpg




    #โทษของการประพฤติผิดในกาม
    เราลองมาพิจารณาถึงโทษ ทุกข์ จากการหมกมุ่นอยู่ในกิเลสกาม จนถึงขั้นประพฤติผิดในกามดูบ้าง ก็จะเห็นว่า ได้รับผลตรงกันข้ามกับที่เป็นคุณจากการรักษาศีลนั่นเอง
    เป็นต้นว่า มันเป็นเหตุให้ได้คู่ครองที่ไม่ดี ไม่ซื่อสัตย์ หรือมีความรักที่ไม่มั่นคง ครอบครัวมักเดือดร้อน ไม่อบอุ่น เป็นทางให้เกิดการแตกแยก ขาดสันติสุข
    และ หากจะเจริญภาวนาก็เกิดสมาธิและปัญญาได้ยาก และประการที่สำคัญที่สุดก็คือ เป็นเหตุให้เกิดโทษ ทุกข์ ทั้งแก่ตนเองและผู้อื่น
    ที่ว่าจะเป็นเหตุให้เกิดโทษ ทุกข์ แก่ตนเองนั้น ผู้ที่ยังมีใจหมกมุ่นอยู่ในกิเลสมากๆ มักจะมองไม่เห็นความจริงข้อนี้ คือ จะเห็นแต่ความสุขจากการเสพกามเท่านั้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งในยุคปัจจุบัน ผู้ที่หลงจมอยู่ในกิเลสกาม จนถึงขั้นเห็นการประพฤติผิดในกามเป็นสิ่งธรรมดา จนหมดยางอาย และกล้าแสดงออกซึ่งกามารมณ์อย่างเปิดเผย มากขึ้นทุกทีด้วยอาการต่างๆ ก็จะยิ่งมองไม่เห็นโทษหรือทุกข์ ที่จะติดตามให้ผลแก่ตนเองเลย
    โทษหรือทุกข์ ที่พอจะสามารถมองเห็นได้ง่ายสักหน่อย สำหรับการประพฤติผิดในกามก็คือ การที่ต้องเสียเวลาและทรัพย์สินเงินทอง ไปในทางที่หาสารประโยชน์อันใดมิได้ เพียงเพื่อให้ได้บำบัดความใคร่เป็นการชั่วคราว แล้วก็เกิดตัณหาราคะต่อๆไปอีกไม่มีที่สิ้นสุด แทนที่จะใช้เวลาและทรัพย์สินเงินทองเหล่านั้น ไปในทางที่จะก่อให้เกิดประโยชน์อย่างแท้จริง แก่ตนเอง แก่ครอบครัว หรือแก่สังคม ประเทศชาติ
    ผู้ที่มีรายได้หรือทรัพย์สินน้อย ครอบครัวก็จะพลอยได้รับความกระทบกระเทือนฐานะทางเศรษฐกิจ จากพ่อบ้านหรือแม่เรือนที่ทุศีล
    ผู้ที่มีทรัพย์มาก ก็ไม่วายที่จะประสบความยุ่งยาก เดือดร้อน ในปัญหาต่างๆที่ตามมาไม่หยุดหย่อน เป็นต้นว่า การทะเลาะเบาะแว้ง หึงหวง ไม่ไว้วางใจซึ่งกันและกัน บ้างก็ประทุษร้ายกัน เป็นเหตุให้เกิดทุกข์ซับทุกซ้อนต่อๆไปอีก ดังท่านผู้ฟังจะได้ยินข่าวจากสื่อมวลชนอยู่เสมอๆ แปลว่า ถึงอย่างไรก็หาความสงบสุขที่แท้จริงไม่ได้ เข้าตำรา "รักสนุกก็ทุกข์สนัด(ถนัด)" นั้นแหละ
    นอกจากนี้ การประพฤติผิดในกาม ยังเป็นทางให้เสื่อมเสียเกียรติยศชื่อเสียง นับเป็นความอัปมงคลอย่างยิ่ง และถ้าจะสังเกตดูให้ดีจะเห็นว่า ฐานะทางด้านกิจการงานก็มักพลอยเสื่อมโทรม ไม่ก้าวหน้า เพราะความอัปมงคลดังกล่าวอีกด้วย
    โทษ ทุกข์ อีกประการหนึ่ง สำหรับผู้ที่ประกอบอกุศลกรรมข้อกาเมสุมิจฉาจารนี้ เป็นต้นว่า การฉุดคร่า อนาจารต่างๆ ล่อลวง ข่มขืน หรือล่วงประเวณี เหล่านี้ มักจะไม่พ้นเวรกรรมติดตามสนองแก่ตนเองและครอบครัว หรือบุตรภรรยาอันเป็นที่รักของตนเอง ในทำนองโรคติดต่ออีกด้วย
    และประการสำคัญที่สุด ของผู้ประพฤติผิดในกาม หรือหมกมุ่นอยู่แต่ในกิเลสกาม จนเกินขอบเขต ยอมเป็นเหตุให้จิตใจเศร้าหมองไม่ผ่องใส ด้วยกามกิเลสหรือตัณหาราคะ เมื่อกายเนื้อแตกทำลายไป จิตที่ทำหน้าที่สืบต่อ ก็จะพกเอาเวรกาเมสุมิจฉาจารนั้นติดไปด้วย เป็นผลให้ไปเกิดในทุคติภูมิ คือ ที่ไม่สบาย เช่น สัตว์นรก หรือ สัตว์ดิรัจฉาน เป็นต้น
    #ดังที่พระพุทธองค์ได้ตรัสไว้ว่า
    "จิตฺเต สงฺกิลิฏฺเฐ ทุคติ ปาฏิกงฺขา"
    แปลความว่า
    "เมื่อจิตเศร้าหมองแล้ว ย่อมมีทุคติเป็นที่หวัง"
    ซึ่งต่อไปนี้
    #จะขอยกตัวอย่างประสบการณ์จากการเจริญภาวนาธรรม สู่ท่านผู้ฟัง พอเป็นเครื่องประดับสติปัญญา ดังต่อไปนี้ คือ...
    ในหมู่ผู้ปฏิบัติภาวนาธรรมที่สูงๆ ที่มีอภิญญาหรือวิชชา ที่สามารถจะระลึกชาติของตนเองและผู้อื่นได้ และสามารถจะรู้จุติหรือกำเนิดของสัตว์ได้ เท่าที่ได้ยินได้ฟังมา ท่านเหล่านั้นมักจะตรวจพบด้วยญาณว่า ผู้ที่หมกมุ่นอยู่แต่ในกิเลสกาม หรือผิดศีลข้อกาเมสุมิจฉาจารนั้น เมื่อตายไป มักจะได้กำเนิดเป็นสัตว์นรก หรือสัตว์ดิรัจฉาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งคือ เป็นสุนัข มากต่อมาก เรียกว่าแทบทุกรายทีเดียว
    และกว่าจะพ้นเวรจากนรก หรือจากการที่ต้องเกิดเป็นสุนัข
    ก็กินเวลานาน หลายภพหลายชาติทีเดียว เมื่อพ้นเวรจากทุคตินี้แล้ว
    แม้ได้เกิดเป็นมนุษย์อีก ก็ยังไม่หมดเวรเสียทีเดียว
    ยังจะต้องมาเกิดเป็นหญิงโสเภณีอีกหลายภพหลายชาติ
    เมื่อระดับจิตสูงขึ้น พอจะพ้นเวรอย่างกลางๆนั้นแล้ว ยังจะต้องได้มาเกิดเป็นกระเทยอีกหลายชาติเหมือนกัน
    เมื่อระดับจิตสูงขึ้น พอจะพ้นเวรที่เบาบางนี้แล้ว จึงจะได้บังเกิดเป็นหญิงธรรมดา และเป็นเพศชายต่อไปอีกตามลำดับ
    และในระหว่างที่ยังได้รับผลกรรมจากเวรกาเมอยู่นั้น หากระดับจิตต่ำลงไปอีกในช่วงใด แทนที่จะได้พัฒนาสูงขึ้นมา ก็กลับตกต่ำลงไปอีก วนเวียนอยู่ในกิเลสวัฏฏ์ กรรมวัฏฏ์ และ วิบากวัฏฏ์ อยู่อย่างนั้นแหละ
    #บัณฑิตเขาจึงกลัว"#ความไม่รู้" หรือที่เรียกว่า"#อวิชชา"กันนัก และมุ่งเจริญภาวนาเพื่อให้เกิด"#วิชชา" และปัญญารู้แจ้ง ให้มากที่สุด
    ที่ได้ยกตัวอย่างมานี้ ท่านผู้ฟังไม่จำเป็นต้องเชื่อหรือไม่เชื่อในทันที ขอเพียงแต่ว่า หากท่านประสงค์จะทราบความจริงในข้อเหล่านี้ ก็จงตั้งใจปฏิบัติธรรม โดยการรักษาศีลให้บริสุทธิ์ หมั่นเจริญภาวนา ให้ใจหยุดใจนิ่งเป็นสมาธิแนบแน่นดี ด้วยวิธีการที่เหมาะสมแล้ว ก็จะสามารถรู้เห็นข้อเท็จจริงดังกล่าวนี้ ได้ด้วยตัวของท่านเอง
    นี่แหละท่านผู้ฟังทั้งหลาย ถ้าหากกระทำกาย-วาจา-ใจ ให้บริสุทธิ์ ด้วยการรักษาศีล เจริญสมาธิและปัญญา ตามวิธีที่ถูกต้องเป็นสัมมาทิฏฐิแล้ว ก็จะสามารถเห็นโทษภัยของกามกิเลสได้ชัดแจ้ง ตามระดับคุณธรรมที่ปฏิบัติได้
    ฉะนั้น จึงขอให้ท่านสาธุชนที่ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบอยู่แล้ว จงหมั่นรักษาความดีหรือบุญกุศลนั้นตลอดไป และขออนุโมทนาด้วย ส่วนท่านที่เผลอจิตเผลอใจไปแล้ว ก็ไม่สายที่จะกลับตัวกลับใจประพฤติดีประพฤติชอบ เป็นการตั้งต้นชีวิตใหม่ด้วยกายวาจาและใจ ที่ใสสะอาดบริสุทธิ์กว่าเก่า เมื่อหมั่นประกอบกรรมดี ด้วยการเจริญภาวนาและรักษาศีลมากๆเข้า จนบุญนำหน้าบาปอกุศลแล้ว กุศลกรรมก็จะให้ผลก่อน ก็จะได้รับผลเป็นความร่มเย็นเป็นสุข ด้วยความสงบต่อไป.
    _________________
    เทศนาธรรมจาก
    พระเทพญาณมงคล
    หลวงตาเสริมชัย ชยมงฺคโล
    วัดหลวงพ่อสดธรรมกายาราม
    อ.ดำเนินสะดวก
    จ.ราชบุรี

    ******************************************************


     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  16. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,220
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,106
    ค่าพลัง:
    +70,443
    19146129_702581853276323_353247491218031651_n.jpg

    จากหนังสือ "อานุภาพธรรมกาย"
    หน้า ๕๗-๕๘ (คัดลอกบางส่วน*)
    โดย พระเทพญาณมงคล (เสริมชัย ชยมงฺคโล)
    วัดหลวงพ่อสดธรรมกายาราม
    อ.ดำเนินสะดวก จ.ราชบุรี

    พิมพ์เพื่อถวายมุทิตาสักการะ
    เนื่องในวันพระราชทานสมณศักดิ์
    เป็นพระราชาคณะ ชั้นสามัญ ที่ พระภาวนาวิสุทธิคุณ
    เมื่อ ๕ ธันวาคม ๒๕๔๑

    ...........

    ...ธรรมชาติที่เกี่ยวกับตัวเราประกอบด้วย อย่างน้อยที่สุด ธรรมชาติสำคัญ ๓ ประการ คือ

    ฝ่ายหนึ่ง คือ กาย เรารู้กันในนามของ "รูปกาย" คือ ธรรมชาติฝ่ายรูป มองเห็นได้ด้วยตาเปล่า
    ธรรมชาติอีกฝ่ายหนึ่ง คือ ใจ เป็น "นามธรรม" คือ
    ธรรมชาติที่ เสวยอารมณ์ สุข ทุกข์ ไม่สุข ไม่ทุกข์ ๑
    ธรรมชาติที่ จดจำอารมณ์ หรือ เรื่องราวต่าง ๆ ๑
    ธรรมชาติที่ คิดไปสู่อารมณ์ต่าง ๆ หรือเรื่องต่าง ๆ ๑
    และธรรมชาติที่รับรู้อารมณ์ หรือเรื่องราวทุกสิ่งทุกอย่าง อีก ๑
    ธรรมชาติ ๔ อย่างนี้ รวมเรียกว่า "ใจ" รู้กันโดยทั่วไปว่าเป็น #นามธรรม

    ยังมีอีกธรรมชาติหนึ่งที่ปรากฏขึ้นในใจ แล้วดลจิต ดลใจ ให้ปฏิบัติตามอำนาจของมัน ทางกาย วาจา และใจ ธรรมชาตินั้นเป็นคุณความดี เรียกว่า "กุศลธรรม" หรือ ธรรมชาติฝ่ายบุญกุศล ธรรมชาติที่เป็นความชั่ว คือ ฝ่ายบาปอกุศลนั้น อีกอย่างหนึ่ง และธรรมชาติที่ไม่ดีไม่ชั่ว คือเป็นกลาง ๆ นั้น อย่างหนึ่ง ภาษาพระท่านเรียกว่า "กุสลาธัมมา" "อกุสลาธัมมา" และ "อัพยากตาธัมมา"
    ธรรมชาติทั้ง ๓ ประการนี้ คือ ฝ่ายรูป ฝ่ายจิตใจ ฝ่ายธรรมชาติ ที่ปรากฏขึ้นในใจ แล้วดลจิตใจให้ประพฤติปฏิบัติทางกาย วาจา ใจ เป็นความดี ความชั่ว หรือไม่ดีไม่ชั่ว กลาง ๆ มีอยู่ในตัวเรา ในใจเรา

    เพราะฉะนั้น พระพุทธเจ้าจึงสอน #ให้มีสติพิจารณากาย #ให้พิจารณาเวทนา-จิต นั้นฝ่ายใจ ธรรมชาติที่เกิดขึ้นในจิตใจนั้นแหละ ฝ่ายคุณธรรมดี ฝ่ายชั่ว ฝ่ายไม่ดี คือ บาปอกุศล และฝ่ายกลาง ๆ ในธรรมชาติ ๓ อย่างนี้ ...
     
  17. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,220
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,106
    ค่าพลัง:
    +70,443
    19225081_1706986719314833_7621390053773722335_n.jpg
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  18. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,220
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,106
    ค่าพลัง:
    +70,443
    19145885_1739272409435752_2921618485183893940_n-jpg.4188058.jpg




    ปกิณกะธรรม....พระราชพรหมเถร วัดปากน้ำ
    " ปัจจัยมาก ปัจจัยน้อย ไม่ใช่เครื่องวัดว่าได้บุญมาก บุญน้อย"

    นานมาแล้วมี ชายนักธุรกิจท่านหนึ่งมากราบหลวงพ่อ หลังจากสนทนาธรรมกันสักครู่ ก็หยิบซองปัจจัยถวายหลวงพ่อ
    หลวงพ่อท่านรับซองมาแล้วถามว่าเท่าไร ชายคนนั้นบอกว่า30,000.- หลวงพ่อท่านฟังแล้วบอกว่า ทำไมน้อยจัง!!!!
    ทุกคนที่ได้ยินก็งง เพราะจำนวนเงินที่ถวายก็ถือว่ามากพอสมควรเลย

    ต่อมามีชายอีกคนหนึ่งแต่งตัวแบบชาวบ้านมากราบหลวงพ่อ แล้วถวายซองปัจจัยกับท่าน ท่านถามว่าเท่าไร
    เขาบอกว่า300.- หลวงพ่อท่านกล่าวอนุโมทนา สาธุแล้วบอกว่าทำตั้งเยอะนะ

    น้อยหรือมาก ในความหมายของหลวงพ่อคือถวายด้วยความศรัทธาด้วยใจบริสุทธิ์ ดังนั้น ท่านใดมีปัจจัยทำบุญไม่มาก ก็อย่านึกน้อยใจครับ ว่าเราจะได้บุญน้อย ปัจจัยน้อย แต่
    ทรัพย์ได้มาด้วยความบริสุทธิ์เป็นวัตถุบริสุทธิ์.
    ผู้รับบริสุทธิ์เป็นผู้ทรงศีลทรงธรรม
    ผู้ให้บริสุทธิ์มีศีลธรรมประจำใจ มีเจตนาบริสุทธิ์
    ทานที่ถวายย่อมมีผลมาก
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  19. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,220
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,106
    ค่าพลัง:
    +70,443

    ไฟล์ที่แนบมา:

  20. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,220
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,106
    ค่าพลัง:
    +70,443
    19260710_704549669746208_4086378752992358380_n.jpg


    พระธรรมเทศนา “สังวรคาถา"
    โดย พระมงคลเทพมุนี (สด จนฺทสโร)
    เมื่อ ๓๐ กรกฎาคม ๒๔๙๗

    *คัดลอกเนื้อความมาบางส่วน
    ติดตามอ่านเนื้อหาเต็มตามลิ้งก์
    http://www.dhammakaya.org/ธรรมะ/พระธรรมเทศนา-โดย-พระมงคลเทพมุนี/สังวรคาถา

    ........

    ผู้สำรวมได้-ไม่ได้ เป็นไฉน ผู้เห็นตามอารมณ์ที่งามอยู่ รูปก็น่าจะชอบใจ น่าปลื้มใจ น่าปีติ น่าเลื่อมใส ไปเพลินในรูปเสียแล้ว เสียงเป็นที่ชอบใจก็ชอบใจในเสียง เสียงอันน่า ปลื้มอกปลื้มใจ เบิกบานสำราญใจ ร่าเริงบันเทิงใจ ไปเพลินในเสียงเสียแล้ว กลิ่นหอม เป็นที่นิยมชมชอบประกอบด้วยความเอิบอาบ ปลื้มปีติ ปลาบปลื้มในใจด้วยกันทั้งนั้น เอ้า! ไปเพลินในกลิ่นเสียแล้ว รสเป็นที่ชอบใจ ปลื้มปีติในรสนั้น ชอบเพลิดเพลินในรสนั้น ๆ เอ้า! ไปเพลินในรสนั้น ๆ เสียแล้ว สัมผัสเป็นที่ชอบใจ ร่าเริงบันเทิงใจ ไม่อยากทิ้งไม่อยากขว้าง ไม่อยากห่างไป เหมือนนกกระเรียนตกเปือกตม เพลินอยู่ในสัมผัสนั้น ทิ้งสัมผัสไม่ได้ เพลิดเพลินในสัมผัสเสียแล้ว รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส นี่เรียกว่า โผฏฐัพพะ อารมณ์ที่เกิด กับใจ นอนครึ่งคืนค่อนคืนไม่หลับ เพลิดเพลินอารมณ์ที่ล่วงไปเสียแล้วคราวนั้นๆ เพลิด เพลินนึกถึงอารมณ์ก็เพลินไปในเรื่องอารมณ์นั้นๆ อารมณ์ในปัจจุบันละก้อ เพลิดเพลิน เหมือนกัน จะพบอารมณ์ต่อไปข้างหน้าเรื่อยทีเดียว จะพบอารมณ์ต่อไปข้างหน้า เพลิดเพลิน อีกเหมือนกัน ถ้าไปเพลิดเพลินอารมณ์ดังนั้น ได้ชื่อว่าสำรวมไม่ได้ เมื่อสำรวมไม่ได้เช่นนี้

    เรียกว่าเพลิดเพลินยินดีในอารมณ์ที่ชอบใจ หลงใหลในอารมณ์ที่ชอบใจ คลั่งไคล้ในอารมณ์ ที่ชอบใจ ร่าเริงบันเทิงใจในอารมณ์ที่ชอบใจ เมื่อสำรวมไม่ได้เช่นนี้ เมื่อเพลิดเพลินเสียดังนี้ ละก้อ อินฺทฺริเยสุ อสํวุโต มันก็ไม่ระวังตา ไม่ระวังหู ไม่ระวังจมูก ไม่ระวังลิ้น ไม่ระวังกาย ไม่ระวังใจ ไม่ระวังอินทรีย์ทั้ง 6 อินทรีย์ทั้ง 6 เป็นตัวศีลสำคัญของพระภิกษุสามเณรทีเดียว ถ้าทอดธุระเสียแล้วก็เหลวไหลทีเดียว ถ้าไม่ทอดธุระละก็ใช้ได้ โภชนมฺหิ อมตฺตญฺญุ ํ ไม่รู้จัก ประมาณในโภชนาหาร ไม่รู้จักบริโภคโภชนาหาร ถึงกับเป็นหนี้เป็นข้าเป็นบ่าวเขาเชียวหนา ไม่รู้จักบริโภคในโภชนาหารนะ คือไม่รู้จักประมาณใช้สอย หาเงินเท่าไรก็ใช้ไม่พอ หาเงิน เท่าไรก็หมด ใช้ไม่รู้จักประมาณ บริโภคก็ไม่รู้จักประมาณ ไม่รู้จักประมาณในวันนี้ พรุ่งนี้ต่อไป ก็ไม่รู้จักประมาณ ต้องกู้หนี้ยืมสินเขาบริโภคใช้สอยไป นี่เพราะไม่รู้จักประมาณในการใช้สอย ในการบริโภค นี่ก็ร้ายกาจนัก หรือบริโภคเข้าไปแล้ว ไฟธาตุย่อยอาหารไม่สำเร็จ เกิดโรคภัย ไข้เจ็บขึ้น ถึงแก่เป็นอันตรายแก่ชีวิตทีเดียว นี่ต้องคอยระแวดระวัง โภชนาอาหารต้องระวัง มากทีเดียว ถ้าระวังไม่มากก็ให้โทษแก่ตัวไม่ใช่น้อย กุสีตํ จมอยู่ด้วยอาการอันบัณฑิตพึง เกลียด กุสีตํ เขาแปลว่า คนเกียจคร้าน คนไม่มีศรัทธา มาอยู่วัดอยู่วาก็นอนอืด อยู่บ้านก็ นอนอืด ไม่มีศรัทธาไม่เชื่อมั่นเข้าไปในพระรัตนตรัย เป็นคนปราศจากความศรัทธา เป็นคน เกียจคร้านเช่นนี้แล้วละก็ บัณฑิตเกลียดนัก ท่านถึงได้แปลว่า กุสีตํ ผู้จมอยู่ด้วยอาการอัน บัณฑิตพึงเกลียด คนมีปัญญาเกลียดนักคนเกียจคร้าน แต่ชอบสรรเสริญนิยมคนขยัน คนหมั่น ขยัน คนเพียร คนมีศรัทธาเลื่อมใส นั่นเป็นที่ชอบของนักปราชญ์ราชบัณฑิตทั้งหลาย คนเกียจ คร้านเป็นไม่ชอบ หีนวีริยํ มีความเพียรเลว มีความเพียรเลวทำแต่ชั่วด้วยกาย ชั่วด้วยวาจา ชั่วด้วยใจต่างๆ ความเพียรใช้ไม่ได้ ถึงจะเพียรทำไปสักเท่าใด ก็ให้โทษแก่ตัว ไม่ได้ประโยชน์ แก่ตัว ในจำพวกเหล่านี้ได้ชื่อว่าไม่พ้นมาร มารย่อมรังควานได้ เป็นลูกมือของพญามาร มาร จะต้องการอย่างไรก็ได้สมความปรารถนาของมารทุกสิ่งทุกประการ จะให้ครองเรือนเสียตลอด ชาติ ไม่ขยันตัว จำศีลภาวนาได้ ก็ต้องเป็นไปตามอำนาจของมาร จะให้ไปดูมหรสพต่าง ๆ ตามใจมาร บังคับให้เป็นไปตามอัธยาศัยของมารแท้ ๆ เหตุนี้แหละ เหมือนต้นไม้ทุพพลภาพ อยู่เต็มทีแล้ว น้ำก็เซาะเข้าไปๆ ใกล้จะพังอยู่เต็มทีแล้ว ร่องแร่งอยู่เต็มทีแล้ว ลมพัดไม่สู้แรง นักหรอก กระพือมาพักหนึ่งค่อยๆ ก็เอนไปแล้ว นั่นฉันใด พวกที่ไม่สำรวมเห็นอารมณ์งาม ไม่รู้จักประมาณในการใช้สอย ไม่มีศรัทธา เป็นคนเกียจคร้าน พวกเหล่านี้เป็นลูกศิษย์ของ พญามารทั้งนั้น ไม่ใช่ลูกศิษย์ของพระ เป็นลูกศิษย์ของพญามาร มารจูงลากไปเสียตามความ ปรารถนา ฉันนั้น

    ส่วนลูกศิษย์ของพระอีกพวกหนึ่ง อสุภานุปสฺสึ วิหรนฺตํ เห็นตามอารมณ์ว่าไม่งามอยู่ รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ เห็นว่าไม่งาม รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ธรรมารมณ์ เหล่านั้นเห็นว่าไม่งาม ไม่งามทั้งนั้น รูปเมื่อมีแล้วก็หาไม่ เกิดแล้วดับไป แปรผันอยู่เนืองนิจ อัตรา แม้จะงามก็ทำกิริยาหลอกลวงทั้งนั้น ตัวจริงไม่มี ตัวจริงของรูปงามไม่มี เสียงไพเราะ ก็ไม่มี เสียงหลอกลวงทั้งนั้น เป็นเสียอย่างนี้ กลิ่นจริง ๆ ก็ไม่มี กลิ่นหอมหลอกลวงทั้งนั้น รสจริง ๆ ก็ไม่มี รสหลอกลวงทั้งนั้น สัมผัสก็ไม่มี สัมผัสหลอกลวงทั้งนั้น ธรรมารมณ์ก็ไม่มี หลอกลวงทั้งนั้น เมื่อเห็นไม่งามอยู่ดังนี้ละก็ อินฺทฺริเยสุ สํวุโต ก็สำรวมในอินทรีย์ทั้งหลาย ระวังตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ท่านยืนยันไว้ในท้ายบทนี้ว่าสำรวมนัยน์ตาได้ ยังประโยชน์ ให้สำเร็จ สำรวมหูได้ ยังประโยชน์ให้สำเร็จ สำรวมจมูกได้ ยังประโยชน์ให้สำเร็จ สำรวม ลิ้นได้ ยังประโยชน์ให้สำเร็จ สำรวมกายได้ ยังประโยชน์ให้สำเร็จ สำรวมใจได้ ก็ยังประโยชน์ ให้สำเร็จหนักขึ้นไป นี่เป็นข้อสำคัญ ต้องสำรวมระวังไว้ ถ้าสำรวมระวังไม่ได้มันก็ให้โทษ

    ........
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

สถานะของกระทู้:
กระทู้ถูกปิด ไม่สามารถโพสต์ตอบกลับได้

แชร์หน้านี้

Loading...