มีระดับสมาธิแค่ไหน ถึงเพียงพอต่อการบรรลุธรรม สิ้นอาสวะ

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย siratsapon, 25 ธันวาคม 2009.

  1. ธรรมะสวนัง

    ธรรมะสวนัง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    1,305
    ค่าพลัง:
    +1,255
    มรรค ๔
    ณ ตรงนี้ หมายถึง
    โสดามรรค สกิทาคามรรค อนาคามรรค อรหัตตมรรค
    ก็คือ ตอนกำลังปฏิบัติเพื่อความเป็นพระโสดา พระสกิทาคามี พระอนาคามี พระอรหันต์

    ถ้าปฏิบัติได้แล้วในลำดับนั้่นๆ ก็เรียก ผล ๔
    ผล ๔ คือ โสดาผล สกิทาคาผล อนาคาผล อรหัตตผล


    และพระสูตรนี้ต้องการชี้ให้เห็นว่า
    ในการปฏิบัตินั้น สมถะและวิปัสสนาจะต้องเกิดควบคู่กันไป ไม่ใช่อย่างใดอย่างหนึ่ง
    และต่างเป็นปัจจัยกลับมาเกื้อหนุนกันเองไปมา จนมรรคสมังคีในแต่ละรอบ


    วิธีปฏิบัติ ก็เริ่มต้นด้วย นั่งคู้บัลลังก์ ตั้งกายตรง ดำรงสติเฉพาะหน้า
    เธอมีสติหายใจเข้า...หายใจออก...ฯลฯ

    ก็คือ ปฏิบัติอานาปานสติกรรมฐาน นั่นแหละ เป็นพื้นฐาน

    ความเพียรมีผล ความพยายามมีผลค่ะ...สวัสดีปีใหม่ ๒๕๕๓ ทุกๆท่านค่ะ

    [​IMG]
     
  2. zeedhama

    zeedhama Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 สิงหาคม 2009
    โพสต์:
    32
    ค่าพลัง:
    +48
    เอามาฝากเนื่องในวันปีใหม่...หลวงพ่อฤาษีสอนอานาฯ

    อันดับแรกองค์สมเด็จสวัสดิโสภาคทรงแนะนำ ให้นักเจริญกรรมฐาน ทรงอานาปานุสสติกรรมฐานเป็นปรกติ ทั้งนี้เราจะเห็นได้ว่าในมหาสติปัฏฐานสูตร พระพุทธเจ้าทรงหยิบเอาอานาปานุสสติกรรมฐานขึ้นมาก่อน ถ้าอานาปานุสสติกรรมฐานไม่ดีแล้ว องค์สมเด็จพระชินวรก็ไม่นำยกขึ้นมาให้ปฏิบัติก่อนเป็นอันดับต้นของกรรมฐานอื่นๆ...ฯลฯ...

    สำหรับอานาปานุสสติกรรมฐาน ผมขอแนะนำให้ทุกท่านใช้ทุกอิริยาบถที่ทรงอยู่ จำไว้ให้ดีด้วยนะ ถ้าว่าท่านใช้ทุกอิริยาบถที่ทรงอยู่ล่ะก็ อารมณ์จิตมันเลี้ยวเข้าไปหาความเลวไม่ได้

    จะมีเวลาว่างเพื่อสร้างความเลวตรงไหน จะกินอยู่ก็ดี จะเดินอยู่ก็ดี จะนั่งอยู่ จะนอนอยู่ จะทำการงานอยู่ จะพูดจาปราศรัยก็ดี ให้เอาใจของทุกท่านกำหนดจับอานาปานุสสติกรรมฐานไว้เป็นปรกติ จำได้ไหม

    และก็ลองคิดดูสิว่า ถ้าเราเอาจิตไปจับอานาปานุสสติกรรมฐานไว้เป็นปรกติ จิตมันไม่มีเวลาว่างจากการกำหนดรู้ลมหายใจเข้าหายใจออก แล้วจิตดวงนี้มันจะเอาอารมณ์เลวมาจากไหน อกุศลกรรมใดๆ มิให้มาเข้าแทรกจิตได้

    โปรดจำไว้ด้วยว่า การกำหนดจิตรู้ลมหายใจเข้าลมหายใจออก จงทำเป็นปรกติ นี่ผมไม่ได้บอกว่าให้ท่านเลือกเวลาทำ ขณะใดที่ใจของท่านยังตื่นอยู่แม้ตาจะหลับ แต่ว่าใจยังตื่นอยู่ ให้เอาจิตกำหนดรู้ลมหายใจเข้าออกไว้เสมอ เวลาหายใจเข้ารู้อยู่ว่าหายใจเข้า เวลาหายใจออกรู้อยู่ว่าหายใจออก

    ในด้านของมหาสติปัฏฐานสูตรเท่านี้ก็พอ รู้ไว้เสมอแม้แต่เวลาที่เราจะพูดจะคุยกัน จิตใจก็ต้องกำหนดรู้ลมหายใจเข้าออกไว้ด้วย

    บางท่านคิดว่าจะเครียดเกินไป แต่อย่าลืมว่าผมทำมาแล้ว มันไม่ใช่ของหนักของคนที่มีความประสงค์ดีกับตัว ระยะเวลาใหม่ๆ ก็จะลืมบ้าง ถ้าเราตั้งใจไว้ ทรงสติสัมปชัญญะไว้ว่าเราจะกำหนดรู้ลมหายใจเข้าหายใจออก เมื่อหายใจเข้ารู้อยู่ว่าหายใจเข้า หายใจออกรู้อยู่ว่าหายใจออก หายใจเข้ายาวหรือสั้น หายใจออกยาวหรือสั้นก็รู้อยู่

    ถ้าหากว่าจิตรู้สึกว่าจะว่างไปนิดหนึ่ง ถ้าเราจะกำหนดรู้เฉพาะลมหายใจเข้าหายใจออก รู้สึกว่าจะว่างๆไปสำหรับท่านที่ต้องการภาวนา

    แม้ท่านผู้เจริญวิปัสสนาญาณก้าวไปสู่ระยะไกล เขาก็ไม่ทิ้งลมหายใจเข้าหายใจออก การเจริญพระกรรมฐานตั้งแต่เริ่มต้นจนกระทั่งจบความเป็นอรหันต์ และก็ทรงความเป็นพระอรหันต์แล้ว เขาก็ไม่ทิ้งลมหายใจเข้าหายใจออก

    แม้แต่องค์สมเด็จสัมมาสัมพุทธเจ้าเองก็ทรงตรัสกับพระสารีบุตรว่า สารีปุตตะ ดูก่อน สารีบุตร เราเองก็เป็นผู้มากไปด้วยอานาปานุสสติกรรมฐาน คำว่ามากก็หมายความว่า พระพุทธเจ้าทรงกำหนดรู้ลมหายใจเข้าออกเป็นปรกติ

    ทั้งนี้เพราะอะไร เพราะว่าอานาปานุสสติกรรรมฐานและการกำหนดรู้ลมหายใจเข้าออกนี่เป็นกรรมฐานระงับกายสังขาร คือเป็นกรรมฐานคลายอารมณ์เครียดของจิตใจ และก็เป็นกรรมฐานคลายอารมณ์เครียดทางด้านร่างกาย มีทุกขเวทนาเป็นต้น

    เราทรงฌานในอานาปานุสสติกรรมฐานได้ ก็คล้ายๆคนฉีดมอร์ฟีน ซึ่งเป็นยาระงับปวด ยาระงับเวทนา อานาปานุสสติกรรมฐานจงทำให้มาก จงอย่าละ

    อ่านต่อ หลวงพ่อฤาษีสอนอานาปานุสสติกรรมฐาน
     
  3. 1000lert

    1000lert เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 พฤศจิกายน 2009
    โพสต์:
    75
    ค่าพลัง:
    +143
    ปฐมฌาณนี่ยังละวิตก วิจารณ์ไม่ได้นะจ้ะ

    แต่อัปปนาสมาธินี่ จะรู้อยู่ตลอดเวลา
    ไม่ได้ยินเสียงอะไรทั้งหมด ตัวเองนั่งอยู่ไหนยังไม่รู้เลยนะจ้ะ
    ละวิตก วิจารณ์ หมดแล้วนะจ้ะ
    รู้อยู่อย่างเดียวนะจ้ะ สติกับจิตเป็นอันเดียวกันจ้ะ

    ย้อนกลับไปอ่านที่ผมโพสต์
    แล้วเปรียบเทียบ อัปปนาสมาธิ กับ ปฐมฌาณ ให้ดีนะจ้ะ
     
  4. Ukie

    Ukie เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 พฤศจิกายน 2009
    โพสต์:
    232
    ค่าพลัง:
    +594
    รบกวนถามผู้รู้

    พระโสดาบัน ที่ท่านละสังโยชน์ได้ 3 ข้อ อยากทราบว่า ท่านได้ฌาณ หรือญาณ ระดับไหน ขอโทษด้วยนะคะ ถ้าใช้คำไม่ถูกต้อง อนุโมทนาค่ะ
     
  5. Phanudet

    Phanudet เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    8,434
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +15,647
    เอาโซดาบาน ตอบก่อน....เดี๋ยวโสดาบันมาตอบต่อไป...

    จริงๆแล้ว ญาณ ก็ไปดูในสามข้อนั่นหละครับ....ถ้าเป็นในเรื่องของ อภิญญา...ก็แล้วแต่วาสนาบารมีของแต่ละท่านที่สร้างมา....

    ส่วน ฌาณ แล้วแต่วาสนาบารมีของแต่ละท่านเหมือนกันครับ.....

    ไม่สำคัญว่าจะได้เท่าไรครับ......แต่ไอ่สามตัวนั่น....ต้องเต็มร้อย...
     
  6. Bull_psi

    Bull_psi เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 ธันวาคม 2008
    โพสต์:
    889
    ค่าพลัง:
    +1,445
    ปฎิบัติวิปัสสนากรรมฐานเพื่อเกิดปัญญาเป็นเครื่องพ้นทุกข์
    บรรลุโสดาบันมีอะไรบอกไหม ไม่มีหรอก แต่กำลังใจจะชั่วไม่มีเลย ทำชั่วไม่ได้แล้ว
    เพราะตัดสักกายทิฎฐิตัวเดียว เห็นเป็นสมมติไปหมด
    ไม่รู้จะทำชั่วทำไม ทำไปแล้วไม่สบายใจ รุ่มร้อน พลังงานด้านลบ(ดูใจตัวเอง)
    ที่ไม่สบายใจก็เพราะจิตเดิมแท้ที่ยังไม่หลงไปกับกิเลสหน่ะ
    ไม่ได้อยากจะทำชั่วหรอก
    ไม่งั้นคำสอนเริ่มแรกของพระศาสดา
    จะให้ละเว้นความชั่ว ละทางอกุศลก่อนหรือครับ
    ก็เพื่อให้จิตบริสุทธิ์ขึ้นเรื่อยๆไงครับ
    ทีนี้ ไม่เข้าใจก็ฝึกเพิ่มกำลังก่อน ฝึกฌานก่อน แต่ยังชั่วได้อยู่(ประมาท ไม่วิปัสสนา)
    พระเทวทัตท่านยังเป็นปุถุชน ท่านบรรลุอภิญญา5
    พอกำลังจิตเยอะ มีตาทิพย์ มีญาณทิพย์หลงตน(มานะ ถือตัว)ว่าเป็นผู้วิเศษไปอีก
    ทีนี้หลงกิเลสเอาฤทธิ์ไปทำชั่ว ผลกรรมหนักกว่าคนธรรมดาแล้วนะ

    ควรจะไตร่ตรองก่อนจะเชื่อนะครับ นี่คือความเข้าใจของผมเองจากการฝึกตน
    เรียนรู้ธรรมชาติ
     
  7. เสขะ บุคคล

    เสขะ บุคคล เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    1,240
    กระทู้เรื่องเด่น:
    54
    ค่าพลัง:
    +4,023
    ที่ว่าพระโสดาบัน มีอะไรบอกไหม ไม่มีหรอก

    ขออนุญาติค้าน


    เห็นว่าพระโสดาบันต้องรู้ชัดในตัวเองว่า กายนี้ไม่ใช่เรา ทุกข์ก็ไม่ใช่เรา จิตมีสภาวะรู้อยู่ เห็นในสภาวะที่ไม่ใช่ตัวไม่ใช่ตน รู้ในตัวเองตลอดสายของการเกิดแจ้งในปัญญา มีทิฐิที่เห็นจากความเป็นจริงที่ประจักษ์ใจ "กายกองนึง ทกข์กองนึง จิตตั้งมั่นรู้ไม่มีตัวไม่มีตนบัญญัติใดๆ"

    ยอมรับและรู้ถึงพระธรรมที่พระพุทธเจ้าทรงสอนว่าชี้ลงมาที่ ขันธ์5 ไม่ใช่เรา เราไม่ใช่ขันธ์5 ไม่มีเราในขันธ์5 ขันธ์5ไม่มีในรา รู้ว่าทางเดินเพื่อความพ้นจากอะไรเพื่ออะไรกิเลสเป็นอย่างไร อุปทานหน้าตาเป็นอย่างไร แต่ยังไม่สามารถละอุปทานได้ "ธรรมะพระพุทธเจ้าเป็นเช่นนี้เองเหรอ"

    ไม่มีเจตนาที่จะเบียนเบียนตัวเองและผู้อื่นอีกต่อไป เพื่อความเป็นปรกติของใจ เพราะเชื่อและเคารพพระพุทธเจ้าสุดใจ ไม่เชื่อในคำสอนที่แตกต่างจากสิ่งที่ประจักษ์กับใจ เชื่อว่ามรรคแปดเป็นทางเดินไปสู่ความหลุดพ้นจากอุปทานขันธ์5 ได้จริง "พระพุทธเจ้าตรัสไว้จริงสอนไว้จริงถ้าปฏิบัติตามย่อมได้ผลจริง"

    ที่กล่าวออกมามิใช่ว่ากระผมเป็นโสดาบัน แต่จากที่เคยได้ยินได้ฟังมาน่าจะเป็นเช่นนั้น
    "ถ้าผิดพลาดประการใดก็ขออภัยด้วย"
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 1 มกราคม 2010
  8. Bull_psi

    Bull_psi เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 ธันวาคม 2008
    โพสต์:
    889
    ค่าพลัง:
    +1,445
    อนุโมทนา สาธุ คุณเสขะ บุคคล นะครับ
    ที่ว่าไม่มี คือ ไม่มีรูปธรรมให้จับต้องหน่ะครับ

    ลองสังเกตุดูความรู้สึก ที่พัฒนาขึ้น
    0.ทำชั่ว เพราะไม่รู้ว่า กุศล อกุศล อะไรทำแล้วเห็นว่าดีทางรูปธรรมก็เอา ทางใจไม่สน
    1.ไม่ทำชั่ว เพราะคำสอนทำไปจะผิดศีล (ก็ดี ไม่ชั่วแต่ปัญญายังไม่มีเลย)
    2.ไม่ทำชั่ว เพราะกลัวบาป เพราะเห็นภัยว่ามีนรก สวรรค์ (กลัวผลของกรรม มีปัญญาละ)
    3.ไม่ทำชั่ว เพราะรู้ว่าเป็นสมมติ ไม่ใช่ของเราทั้งสิ้น
    (มีความรู้สึกเต็มที่ ของการเห็นความจริง ตามปัจจัย
    กินไข่เจียว ไม่ต่างจากกินปลาเก๋าราดพริก กินเพียงดับทุกขเวทนา
    ทำงานให้ได้เงินด้วยสุจริต และใช้เงินเพียงเงินสุจริตนั้นเพราะเห็นว่าทุจริต โลภไปก็เท่านั้น
    ทำถูกใจสบาย(อันที่จริงมีพลังงานที่มองไม่เห็น ))
     
  9. Bull_psi

    Bull_psi เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 ธันวาคม 2008
    โพสต์:
    889
    ค่าพลัง:
    +1,445
    สังเกตุดูว่า1-3 นี้ไม่ทำชั่ว แต่กำลังใจจะต่างกันอยู่
    1.เมื่อไม่มีปัญญา ก็เหมือนกับห้ามเด็กเล่นกับไฟ เด็กยังไม่รู้เหตุผลว่าห้ามทำไม
    2.เด็กรู้เหตุผลว่าร้อน และอาจเกิดเพลิงไหม้แต่ยังไม่เห็นเพลิงไหม้บ้านก็อาจจะ ไม่กลัว ก็มันอยากเล่นอ่ะ
    3.มีปัญญารู้แล้วว่าเล่นไปก็สนุกประเดี๋ยวประด๋าว ไม่มีอะไรนี่นา ไม่เล่นละ
    รอดูแม่ใช้ไฟนี้หุงข้าวอย่างถูกต้องมีผู้ใหญ่ดูแล ไม่ฝ่าฝืนข้อห้ามแม่ดีกว่า

    การมีข้อ3แล้วจึงไม่มีการทำชั่วอีกอย่างแน่นอน ไม่มีการตกอบายภูมิ
    จึงเป็นพระโสดาบันตกกระแสธรรม มุ่งสู่พระนิพพานอย่างนี้ครับ
    เชื่ออย่างมีเหตุผล ศรัทธาพระศาสดาอย่างมีปัญญา
     
  10. เสขะ บุคคล

    เสขะ บุคคล เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    1,240
    กระทู้เรื่องเด่น:
    54
    ค่าพลัง:
    +4,023
    ลองดูนะครับ ทิฐิส่วนตัวเห็นว่าถ้ายังไม่เห็นถึงสภาวะ ของกาย ของทุกข์ และสภาวะจิตที่ไม่มีความเป็นตัวเป็นตน มีสภาพของมันอยู่เช่นไรแล้ว ว่าความเป็นจริงของกาย และ ทุกข์ และ จิต คิดว่ายังไม่เห็นธรรม
    เห็นความเป็นจริงของแต่ละอย่าง เรียกได้ว่าเห็นสายน้ำว่ามีอยู่จริง เรียกได้ว่าเห็นว่ามีสายน้ำย่อมมีปลายสายน้ำนี้ และตกกระแสน้ำแห่งธรรมที่จะไหลลงไปสู่ปลายทางที่ใด ธรรมะต้องประจักษ์ชัดแจ้งกับหัวใจใครพูดอย่างไรก็ไม่เชื่อ

    เคยได้ยินได้ฟังเค้าพูดๆกันมานะครับ ยังไงก็ลองนำไปพิจารณาเล่นๆดู
    ผิดถูกอย่างไรก็ขออภัยด้วย
     
  11. วิศว

    วิศว เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 มิถุนายน 2009
    โพสต์:
    2,349
    ค่าพลัง:
    +5,104
    หลักของใจที่มีหลักเหตุผลตรงต่อธรรม

    ปราศจากอคติเอนเอียงในตัวบุคคล

    แม้คำกล่าวนั้นจะกล่าวจากบุคคลเช่นใด จิตใจมิได้เพ่งเล็งที่ตัวบุคคล

    หากคำกล่าวนั้นถูกต้องตรงต่อธรรมย่อมมิขัดแย้งแต่ประการใด

    ย่อมยินดีและปรารถนาดีต่อบุคคลนั้น

    ด้วยอนุโมทนาจากใจจริง
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 1 มกราคม 2010
  12. kananun

    kananun เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 พฤษภาคม 2006
    โพสต์:
    10,282
    ค่าพลัง:
    +114,775
    สัมมาสมาธิิ

    คือสมาธิที่เจริญไป น้อมไปเพื่อการละวาง ปล่อยคลายจากกิเลส ตัณหา อุปทาน ทั้งปวง เป็นไปเพื่อมรรคผลนิพพาน

    ไม่ใช่หมายถึงระดับของสมาธิ

    ต่อให้ได้ อรูปสมาบัติแปด แต่หากนำสมาธิไปทำร้าย หรือเพื่อเพิ่มพูนกิเลส ก็นับเป็นมิจฉาสมาธิ

    เพราะสัมมาสมาธิ นั้น จัดในหมวด มรรคมีองค์แปด อัน น้อมไปเพื่อ มรรคผลพระนิพพาน

    ลำพังตัวฌาน ตัวสมาธิ เป็นเครื่องมือ เป็น กำลังเพื่อใช้ในการตัดกิเลส ดังนั้นจึงมีความจำเป็นต้องปฏิบัติให้ได้ แต่อย่าติด อย่าหลง
     
  13. ธรรมะสวนัง

    ธรรมะสวนัง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    1,305
    ค่าพลัง:
    +1,255
    อนุโมทนาค่ะ อ.คณานันท์ _/l\_

    สัมมาสมาธิ จิตตั้งมั่นชอบ
    เพราะสามารถปล่อยวางอารมณ์และอาการของจิตที่เนื่องด้วยอารมณ์ออกไปได้
    ตามลำดับชั้น จากฌาน ๑ ๒ ๓ ๔ และสงบถึงขีดสุดที่ฌาน ๔

    ดังนั้น ฌาน ๑ ๒ ๓ ๔ ในสัมมาสมาธิ
    จึงน่าจะหมายถึง ลำดับชั้นของความสงบของจิตจากน้อยไปมาก
    โดยจิตจะสงบถึงขีดสุดที่ฌาน ๔ (จิตมีสติบริสุทธิ์วางเฉยต่ออารมณ์)

    ความสามารถของจิตในการปล่อยวางอารมณ์และอาการของจิตที่เนื่องด้วยอารมณ์ ก็คือ ปัญญา
    ซึ่งพลังปัญญาจะเพิ่มระดับขึ้นตามกำลังความสงบของจิตที่เพิ่มขึ้นในแต่ละขั้น
    จึงเป็นไปเพื่อถอดถอนกิเลส เพื่อความหลุดพ้นทุกข์

    ดังนั้น สัมมาสมาธิจึงต่างจากรูปฌานและอรูปฌาน
    ซึ่งจิตยึดรูปหรืออรูปเป็นอารมณ์จนแนบแน่นในอารมณ์นั้นๆ
    จิตจึงไม่มีพลังปัญญาในการปล่อยวางอารมณ์และอาการของจิตที่เนื่องด้วยอารมณ์
    เป็นไปเพื่อความสุข แต่ไม่เป็นไปเพื่อถอดถอนกิเลส ไม่เป็นไปเพื่อความหลุดพ้นทุกข์

    (smile)
     
  14. pantham phuakph

    pantham phuakph เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 มีนาคม 2006
    โพสต์:
    186
    ค่าพลัง:
    +444
    [FONT=&quot]อรรถกถายุคนัทธสูตรที่ ๑๐[/FONT]
    [FONT=&quot]พึงทราบวินิจฉัยใน[/FONT][FONT=&quot]ยุคนัทธสูตรที่ ๑๐[/FONT] [FONT=&quot]ดังต่อไปนี้ :-[/FONT]

    [FONT=&quot]บทว่า[/FONT] [FONT=&quot]สมถปุพฺพงฺคมํ[/FONT] [FONT=&quot]ได้แก่ ทำสมถะไปเบื้องหน้า คือให้เป็นปุเรจาริก.[/FONT]
    [FONT=&quot]บทว่า[/FONT] [FONT=&quot]มคฺโค สญฺชายติ[/FONT] [FONT=&quot]ได้แก่ โลกุตรมรรคที่ ๑ ย่อมเกิดขึ้น.[/FONT]
    [FONT=&quot]บทว่า[/FONT] [FONT=&quot]โส ตํ มคฺคํ[/FONT] [FONT=&quot]ความว่า ชื่อว่าอาเสวนะเป็นต้น ไม่มีแก่มรรคอันเป็นไปในขณะจิตเดียว. แต่เมื่อยังมรรคที่ ๒ ให้เกิดขึ้น[/FONT] [FONT=&quot]ท่านกล่าวว่า เธอส้องเสพเจริญทำให้มากซึ่งมรรคนั้นนั่นแล.[/FONT]

    [FONT=&quot]บทว่า[/FONT] [FONT=&quot]วิปสฺสนา ปุพฺพงฺคมํ[/FONT] [FONT=&quot]ได้แก่ ทำวิปัสสนาไปเบื้องหน้า คือให้เป็นปุเรจาริก.[/FONT]
    [FONT=&quot]บทว่า[/FONT] [FONT=&quot]สมถํ ภาเวติ[/FONT] [FONT=&quot]ความว่า โดยปกติผู้ได้วิปัสสนาตั้งอยู่ในวิปัสสนา ย่อมยังสมาธิให้เกิดขึ้น.[/FONT]
    <o></o>

    [FONT=&quot]บทว่า[/FONT] [FONT=&quot]ยุคนทฺธํ ภาเวติ[/FONT] [FONT=&quot]ได้แก่ เจริญทำให้เป็นคู่ติดกันไป.[/FONT]
    [FONT=&quot]ในข้อนั้น ภิกษุไม่สามารถจะใช้จิตดวงนั้นเข้าสมาบัติแล้วใช้จิตดวงนั้นนั่นแลพิจารณาสังขารได้.[/FONT] [FONT=&quot]แต่ภิกษุนี้เข้าสมาบัติเพียงใดย่อมพิจารณาสังขารเพียงนั้น พิจารณาสังขารเพียงใดย่อมเข้าถึงสมาบัติเพียงนั้น.[/FONT]
    [FONT=&quot]ถามว่า อย่างไร.[/FONT]
    [FONT=&quot]ตอบว่า ภิกษุเข้าปฐมฌาน ครั้นออกจากปฐมฌานแล้ว[/FONT] [FONT=&quot]พิจารณาสังขารทั้งหลาย[/FONT] [FONT=&quot]ครั้นพิจารณาสังขารทั้งหลายแล้ว เข้าทุติยฌาน ฯลฯ[/FONT] [FONT=&quot]เนวสัญญานาสัญญายตนสมาบัติ[/FONT] [FONT=&quot]ครั้นออกจากเนวสัญญานาสัญญายตนสมาบัติแล้ว พิจารณาสังขารทั้งหลาย[/FONT] [FONT=&quot]ด้วยอาการอย่างนี้ ภิกษุนี้ชื่อว่าเจริญปฐมวิปัสสนาให้เป็นคู่ติดกันไป.[/FONT]

    [FONT=&quot]บทว่า[/FONT] [FONT=&quot]ธมฺมุทฺธจฺจวิคฺคหิตํ[/FONT] [FONT=&quot]ความว่า อันอุทธัจจะได้แก่วิปัสสนูปกิเลส ๑๐ ในธรรมคือสมถะและวิปัสสนาจับแล้ว คือจับดีแล้ว.[/FONT]
    [FONT=&quot]ด้วยบทว่า[/FONT] [FONT=&quot]โหติ โส อาวุโส สมโย[/FONT] [FONT=&quot]นี้ท่านกล่าวถึงกาลที่ได้สัปปายะ ๗.[/FONT]
    [FONT=&quot]บทว่า[/FONT] [FONT=&quot]ยนฺตํ จิตฺตํ[/FONT] [FONT=&quot]ได้แก่ จิตที่ก้าวลงสู่วิถีแห่งวิปัสสนาในสมัยใดเป็นไปแล้ว.[/FONT]
    [FONT=&quot]บทว่า[/FONT] [FONT=&quot]อชฺฌตฺตํเยว สนฺติฏฐติ[/FONT] [FONT=&quot]ความว่า จิตก้าวลงสู่วิถีแห่งวิปัสสนาแล้วหยุดอยู่ในอารมณ์อันได้แก่ อารมณ์ภายในนั้นนั่นเอง.[/FONT]
    [FONT=&quot]บทว่า[/FONT] [FONT=&quot]สนฺนิสีทติ[/FONT] [FONT=&quot]ได้แก่ นิ่งโดยชอบด้วยอำนาจของอารมณ์.[/FONT]
    [FONT=&quot]บทว่า[/FONT] [FONT=&quot]โอโกทิ โหติ[/FONT] [FONT=&quot]ได้แก่ จิตมีอารมณ์เป็นหนึ่ง.[/FONT]
    [FONT=&quot]บทว่า[/FONT] [FONT=&quot]สมาธิยติ[/FONT] [FONT=&quot]ได้แก่ จิตตั้งไว้โดยชอบ คือตั้งไว้ดีแล้ว.[/FONT]
    [FONT=&quot]คำที่เหลือในสูตรนี้มีเนื้อความง่ายทั้งนั้น.[/FONT]
    [FONT=&quot]จบอรรถกถายุคนัทธสูตรที่ ๑๐[/FONT]
    <o>
    </o><o></o>[FONT=&quot]ที่มา[/FONT]����ûԮ������� �� - ����ص�ѹ��Ԯ������� ��


    <o>ผมนำอรรถกถาของ มรรค ๔ มาให้ดูกัน โปรดสังเกตตัวหนังสือสีแดง</o>

    <o>ว่าเป็นสมาบัติ ๘ หรือ ณาน ๔

    สัมมาสมาธิ หมายถึง ฌาน ๔ หรือเปล่า ???

    </o>
    <o>
    ยิ่งอ่านยิ่งสงสัย ความหมายของสัมมาสมาธิ ถ้าหมายถึง ฌาน ๔

    ถามว่า ในฌานต่างๆมีไตรลักษณ์ให้ดู หรือเปล่า

    ทำไมไม่บอกว่า หมายถึง การเข้าการออกจากฌาน



    </o><o>ขออภัยพี่ๆด้วย มิได้คิดจะโต้แย้งใคร แค่</o>ลังเล<o>สงสัยเท่านั้น

    ขอให้เป็นแค่การแสดงความเห็น ที่ไม่ได้ต้องการข้อสรุปที่จริงจัง
    </o>
    อนุโมทนากับทุกท่านครับ
     
  15. Phanudet

    Phanudet เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    8,434
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +15,647
    มีอรรถกถาของพระสูตรที่กล่าวไปใหม....เข้าไปอ่านที่แหล่งอ้างอิง.....มันเป็นคนละจุดกัน......ในแหล่งอ้างอิงที่กล่าว....กล่าวถึง ฌาณ ๔ ....
     
  16. pantham phuakph

    pantham phuakph เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 มีนาคม 2006
    โพสต์:
    186
    ค่าพลัง:
    +444
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 2 มกราคม 2010
  17. Bull_psi

    Bull_psi เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 ธันวาคม 2008
    โพสต์:
    889
    ค่าพลัง:
    +1,445
    คือกิเลสนี่มิได้ถูกทำลายไปในการวิปัสสนาเพียงครั้งเดียว
    เราทำได้เพียงอริยมรรคมีองค์8 เพียรอยู่อย่างนี้
    เพียรพิจารณา ธาตุ4 ขันต์5 อายาตนะ6 -->ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ ไม่ควรยึดมั่น อย่างนี้เอง
    คำตอบคือ ทำจิตให้มีพลังที่ฌาน1 แล้วเพียรพิจารณา ที่ฌาน2 แล้วพิจารณา
    ที่กล่าวมาถึง8ก็เพราะ หากผู้ได้ทำได้ก็ใช้ฌานที่สูงที่สุดเท่าที่ทำได้ จิตก็มีกำลังสูง
    กิเลสก็ค่อยเบาบางไป ลักษณะค่อยเป็นค่อยไปจนสิ้นเอง
    ถามว่าเมื่อไหร่ -- คำตอบก็เมื่อไหร่ก็เมื่อนั้น

    ที่ฌาน4 เป็นสัมมา เพราะเพียงพอสำหรับระงับนิวรณ์แล้ว
    และเป็นลำดับการสอนที่ถ่ายทอดเข้าใจง่าย
    ใช้อาณาปานะ -- ฌาน4 ลมหายใจหายไป
    กสิณ -- ภาพกสิณฌาน4 เป็นเพชรระยิบระยับ

    ผมฝึกมาแล้วเข้าใจเอง ไม่ได้อ่านเจอที่ไหน
    จะเชื่อก็ฝึกก่อนค่อยเชื่อนะครับ ลองอ่านแล้วพิจารณาดูนะครับ
     
  18. ผู้เห็นภัย

    ผู้เห็นภัย เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 สิงหาคม 2009
    โพสต์:
    117
    ค่าพลัง:
    +476
    ผมว่านะ กังวลกันมากเกินไป คิดกันมากเกินไป ขอไห้มันได้จริง เสียก่อนเถอะ นะครับ จริงๆแล้ว อารมณ์อรูปฌาณ หรือสมาบัติแปดนี้นะ มีความสำคัญ มีความดี ถ้ารู้จักไช้

    รู้จักทำ พันปีที่หนึ่ง หรือสมัยที่พระพุทธเจ้า ยังทรงพระชนอยู่ พระพุทธองค์ ทรงตรัสไว้ว่า พระอรหันต์จะมากไปด้วย

    ปฏิสัมภิทาญาณ อย่างอื่นก็มีแต่น้อย คนสมัยนั้น กำลังด้านดีสูงมาก จิตใจเข้มแข็ง ในด้านดีมาก สมาบัติแปดมีกันเป็นปกติ อย่างพวกชฎิน ที่บูชาไฟ อิทิฤทธิ์ มีฤทธ์วิธีกันทั้งนั้น

    ห้าร้อยท่าน หกร้อยท่านอยู่ป่า ทรงสมาบัติแปด เป็นพวกโยคี บูชาไฟ พอรับคำสอนของพระองค์ท่าน

    ก็บรรลุเป็นพระอรหันต์พร้อมปฏิสัมภิทาญาณ นี่ก็สมาบัติแปด มีฤทธิ์ทุกองค์

    อารมณ์สมาบัติแปด จริงๆแล้ว ใกล้ๆ คล้ายๆ พระอรหันต์ เข้าไปแล้ว เพียงแต่ท่าน ยังไม่ตัดเท่านั้นเอง

    รูปฌาณ 4 อรูป 4 เท่ากับสมาบัติแปด บอกไห้ว่าไม่หมู และก็ไม่ไช่ของกล้วยๆ

    ไม่ง่าย เอาแค่ อรูปฌาณข้อที่1 อากาสานัญจายตนะ นึกถึงอากาศ ความว่างเป็นอารมณ์

    โลกนี้ มีแต่ความว่างเปล่า ว่าง แล้วทรงอยู่อย่างนั้น เป็นไงท่าน คล้าย อนัตตาไหม

    ครั้งหนึ่ง องค์สมเด็จพนะชินสีห์บรมศาสดา สัมมาสัมพุทธเจ้า ได้บรรลุธรรม ตรัสรู้ชอบโดยพระองค์เอง

    ณใต้ต้นศรีมหาโพธ์ ริมฝั่งแม่น้ำเนรัญชรา พระองค์ทรงคิดถึง

    ธรรมที่พระได้บรรลุนี้ บุคคลใดหนอที่เหมาะ

    จะสามารถรับรู้ และเข้าใจธรรมะ อันลึกซึ้งและก็ปราณีตเช่นนี้ได้

    ก็ได้ระลึกนึกถึง อาจาย์สองท่าน ว่าสามารถที่เข้าใจธรรมะ ที่พระองค์ได้ทรงตรัสรูชอบได้

    ด้วยพระองค์เอง ถ้าพระองค์ทรงเอาธรรมไปสอนะสอน หรือบอกแก่ อาจารย์ทั้งสอง ก็คือ ท่านอาฬารดาบถ และ ท่านอุทกดาบถ

    ผลก็คือ จะทำไห้อาจารย์ทั้งสอง บรรลุความเป็นพระอรหันต์ ใช้เวลา แค่เคี้ยวชานหมาก (พุทธพจน นะครับ)

    แหลก ก็จะบรรลุ พระอรหันต์ พร้อมด้วยปฎิสัมภิทาญาณ เพราะอาศัยที่อาจารย์

    ทั้งสอง ทรงฌาณสมาบัติแปดเป็นอารมณ์อยู่แล้ว (แต่ไห้เผอิญว่า อาจารย์ทั้งสองตายแล้ว พระพุทธองค์ ทรงทราบด้วยพระญาณของพระองค์เอง จึงเปล่งวาจาอุทานว่า! ฉิบหายแล้วอาจาย์ ของเราทั้งสอง ความหมายก็คือ ท่านทั้งสองเข้าอรูปฌาณตาย ตายไปแล้ว ก็ไปเกิดที่พหรมโลก ที่ไม่มีอานยตนะ รับรู้ได้ เพราะท่านปฏิเสธรูป ก็ไปเป็นอรูปพหรม และถ้าหมดบุญ มาเกิดไหม่ ก็วนเวียนไม่จบ ไม่สิ้น ถ้าพลาด ก็ลงนรกได้ มาเกิดแล้วจะเจอศาสนาพุทธหรือเปล่า โอกาสเข้านิพพานลิบหรี่เต็มทน สาเหตุเป็นดังนี้ พระพุทธเจ้า จึงได้ เปล่งอุทานว่า อาจารย์ของเราฉิบหายจากความดีแล้วหนอ ความดีในที่นี้ก็คือขั้นนิพพาน ไม่ไช่ขั้นพหรม ที่พระองค์ได้ทรงค้นพบ) พระอรหันต์ที่ ทรงปฏิสัมภิทาญาณนี้

    นะครับ คลุม หรือเหนือกว่า พระอรหันต์ด้วยกันทั้งหมด ทั้งสี่เหล่า ผมหมายถึง คุณธรรมพิเศษ

    นะครับ ไม่ไช่กิเลส ถ้าการตัดกิเลส พระอรหันต์ทั้งสี่เหล่า เสมอกันครับ ก็คือกิเลสไม่เหลือซาก

    บอกแล้วไงว่า สมาบัติแปดน่ะ มันไม่ไช่ของ่ายเลย พูดถึงท่านที่ทำได้จริงๆ ไม่ไช่ตำรา

    คิดเอาเอง หรือ เชื่อว่าจะต้องเป็นอย่างนั้น อย่างนี้ ขอไห้มันได้จริงๆเถอะ อย่าไปกลัว ไปกังวลกันเลย อย่ากลัว เสียยังไม่ได้ อะไรเลย


    ใครก็ก็ตามที่ทรงสมาบัติแปดได้จริงๆ พระพุทธองค์ทรงตรัสไว้ชัด

    ถ้าท่านพวกนั้น หันมาจับอริยสัจสี่พิจรณา ในด้านวิปัสสนา แค่เคี้ยวหมากแหลก

    ท่านเหล่านั้น ก็จะบรรลุพระอรหันต์ พร้อมทั้งปฏิสัมภิทาญาณ เป็นไงครับ กำลังของฌาณสมาบัติ

    กำลังของฌาณสมาบัติ มันเหยียบกิเลสจนโงหัวไม่ขึ้นอยู่แล้ว

    และท่านที่จะบรรลุธรรม ที่จะได้เป็นพระอรหันต์ พร้อมปฏิสัมภิทาญาณ จะต้องมาจากท่าน

    ที่ได้ฌาณโลกีย์ สมาบัติแปด มาก่อนเท่านั้น อย่างอื่นหมดสิทธิ์ ไปค้นหาเอาในพระไตรปิฏก

    คุณธรรมพิเศษ โดยย่อ ของท่านที่ไดเปฏิสัมภิทาญาณ ก็คือ จะทรงพระไตรปิฏก

    โดยอัตโนมัติ พระธรรมคำสอนที่ยาว สามารถที่จะตัดไห้สั้น และกระฉับ และสามารถอธิบาย

    ไห้หมู่ชนเข้าใจได้โดยง่าย พระธรรมคำสอนที่สั้น ก็สามารถขายาความ ไห้ยาวออกไป

    อธิบาย ได้ละเอียด แจกแจงได้อย่างลึกซึ้ง คุณสมบัตินี้โดยย่อนะครับ มีอีกหลายข้อ ต้องไปศึกษาหาเอาเอง

    คนสมัยนี้ เข้าถึง หรือว่าทรง สมาบัติแปดได้ บอกได้คำเดียวว่ายาก

    เสียยิ่งกว่ายาก ถ้าอ่านหนังสือเอาและก็มีเยอะ รู้จากหนังสือและก็มีเยอะเช่นกัน และก็มาคุย มาพูดกัน


    ของจริงหายาก แล้วสมัยนี้

    แล้วอย่างงี้ รูปฌาณ 4 อรูปฌาณ 4 หรือสมาบัติแปด มันไช่ หรือไม่ไช่

    หรืคุณจะเถียงพระพุทธเจ้า อย่างอดีต ลองไปหาอ่านดู อยู่ในหมวดพุทธประวัติ มีอยู่จมเลย เยอะมาก พอพระพุทธเจ้าเทศคำสอนจบ
    ต่านคน ต่างบรรลุธรรมขั้น ขั้นนี้ ไปตามๆกัน บรรลุกันง่ายมาก บารมีเต็มเปี่ยมอยู่แล้ว แค่พระพุทธเจ้า มาสกิดนิดเดียว ก็บรรลุกันเป็นแถว สมัยก่อนสำนักอาจารย์ ฤษี ดาบท นักพรต นักบวช มีการเปิดสำนักสอน วิชาทางจิต หรือจิตศาตร์ กันเป็นแถว สมัยก่อนคนสนใจเรื่องสมาธิจิต
    มีกันเต็มเป็นหมด คนสมัยนั้น เรื่องฌาณสมัติแปด เป็นเรื่องธรรมดา ครั้งหนึ่ง พระพุทธองค์ได้ทรงตรัสว่า ต่อไปในภายภาคหน้า คนจะมีจิตทรามลง (ทรามในที่นี้ พระองค์หมายถึง โง่นะครับ) และถ้าคิดตามพุทธพจน คนสมัยก่อน ทรงฌาณสามบัติแปดกันเยอะมาก ก็ต้องเป็นเรื่องของคนฉลาดไช่ไหมครับ และก็ถามว่า สมาบัติแปด เป็นเรื่องของคนโง่ หรือคนฉลาด เพราะสมัยเรา คงหายากยิ่งกว่า อะไรเสียอีก
    คนที่จะได้ฌาณสมาบัติแปดจริงๆ
    คนที่เขาได้สมาบัติแปด การเห็น นรก สวรรค์ เป็นเรื่องๆเล็กๆ และคนที่เห็นได้ขนาดนั้น ใครจะอยากทำชั่ว ถ้ากฏของกรรม ไม่แรงจริง
    มันดันใจสิงใจ ไห้เห็นผิดเป็นชอบ ดูท่านเทวทัต ตอนแรก ก็ได้อภิญญาสมาบัติ เหาะได้ ตอนหลังจิตคิดประทุษร้าย ฌาณก็เสื่อมสลาย ไม่เหลืออะไรก็เป็นปุถุชนเดินดิน เพราะเป็นฌาณโลกีย์ เทวทัตระยะต้น ก็เป็นสัมมาทิฐิ ตอนหลังก็เป็นมิฉาทิฐิ ฌาณโลกีย์ มีขึ้น มีลง ไม่ไช่ฌาณโลกุตระ

    เพียงแต่ว่า อย่าไปติด อย่าไปยึด อย่างท่านที่ทรงฌาณโลกีย์สมาบัติแปด ความสนใจของท่านเหล่านั้น ก็คืออารมณ์ฌาณสมาบัติ สนใจก็เรื่องฌาณสมาบัติ

    แต่พระอริยเจ้า ที่ทรงฌาณสมาบัติแปดเช่นกัน แต่เป็นโลกุตระฌาณแล้ว ไม่เสื่อมแล้ว ฌาณไม่มีวันเสื่อม ความสนใจของท่านก็คือ อริยสัจสี่

    ต่างกันตรงนี้ แต่ถ้าเมื่อใด ท่านที่ทรงฌาณโลกีย์สมาบัติแปด หันมาสนใจ อริยสัจสี่ แค่ไช้เวลา เคี้ยวหมากแหลก ก็จะบรรลุธรรม

    ขั้นสูงสุด ในบวรพระศาสนา ก็คือเป็นพระอรหันต์นั่นเอง(ที่กล่าวมานี้ อยู่ในหมวดพุทธประวัติ มีอยู่ในหลักสูตร นักธรรมโทนะครับ หาอ่านเอาเองนะครับ) เป็นอย่างไงล่ะท่าน กำลังสมาธิ กำลังใจ ของท่านเหล่านั้น ที่ทรงฌาณสมาบัติแปด เข้มแข็ง และเด็ดขาด เด็ดเดี่ยวสักเพียงใด ในการบรรลุธรรม คิดดูกันเอาเองและกัน

    และก็มาดูสิ ผมๆ คุณๆ เราๆ ท่านๆ จะต้องใช้เวลากัน สักกี่มากน้อย ในการบรรลุธรรม ยี่สิบปีจะน้อยไปหรือเปล่า
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 5 มกราคม 2010
  19. ขันธ์

    ขันธ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 ตุลาคม 2006
    โพสต์:
    7,917
    ค่าพลัง:
    +9,181
    ก็ถ้า กำลังจิตกำลังใจดี ขนาดว่าเจริญ สมาบัติได้
    เพียงได้ฟังพระศาสดาบอกว่า สิ่งใดๆ ก็ตามเกิดแต่เหตุ เท่านี้จิตก็ย่อมไม่ติดกับสภาพใดๆ แล้ว เมื่อจิตนั้นไม่มีอวิชชาที่หลงติดกับสภาวะใดๆ ก็ย่อมเกิดญาณปล่อยคืนทั้งหมดได้ง่ายๆ

    ให้เข้า่ใจว่า มันเหมือนคนถือของอยู่ แล้ววางลงเท่านั้น แต่ทีนี้ การวางลงมันต้องมีสติเห็นว่าเราถือของอยู่ บางคนถือของกำไว้แน่น แต่ก็ไปคุยกับคนนั้นคนนี้ลืมตัวไปว่าถือของอยู่
    มนุษย์ สัตว์ทั้งหลาย ก็ถือของอยู่นั่นแหละ เพราะว่า มันมองไม่เห็นสิ่งที่ถืออยู่ จิตมันไปหลงกับภพต่างๆ ตลอดเวลา

    การจะมองเห็นว่าเราถืออะไร เรายึดตรงไหน ก็ต้องเจริญ ศีล สมาธิ ปัญญา และ มหาสติ เพื่อให้เห็นอายตนะ และ สังขารที่เรายึด

    ต้องใช้องค์สมาธิ ให้เพียงพอก่อน จิตจึงจะมีกำลังแหวกอวิชชาออกไปได้

    แล้ว พอถึงเวลา พร้อมใน ศีล สมาธิ ปัญญา จิตจะเดินออกได้แน่นอน

    ดังนั้น ต้องอบรมให้พร้อม
     
  20. ขันธ์

    ขันธ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 ตุลาคม 2006
    โพสต์:
    7,917
    ค่าพลัง:
    +9,181
    เรื่องละสังโยชน์ ยังไม่ต้องสงสัยว่า ได้ระดับไหน แต่ให้ฝึกทำสมาธิให้ดีก่อน
    ทำสมาธิดี แล้ว เจริญปัญญา ฝึกปล่อยวาง ฝืนกิเลส ขัดเกลาวิุถีชีวิต ใน กาย วาจา ใจ
    แล้วจะรู้เองว่า เราต้องการกำลังสมาธิแค่ไหน ยาวนานแค่ไหน นั่นเรียกว่า รู้ด้วยตนเองว่าเราต้องการอะไร ไม่ใช่ให้เขาหลอกเอาว่า เราต้องปฐมฌาณ เราก็ไม่รู้จัก

    แต่เราจะรู้จักสมาธิที่แท้จริง ด้วยการสังเกตุผลแห่งความอิ่มใจ เบาใจ สงบตั้งมั่น ตื่น เบิกบาน ฝึกให้ได้ผลแบบนั้น ส่วนมันจะเรียก ฌาณ อะไรก็ค่อยมาดูทีหลัง หลังจากที่เราทำมันได้ชำนาญแล้ว
     

แชร์หน้านี้

Loading...