พระสมเด็จ 2408

ในห้อง 'งานบุญอื่นๆ' ตั้งกระทู้โดย guawn, 22 มกราคม 2008.

  1. guawn

    guawn เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    10,642
    ค่าพลัง:
    +42,113
    วันนี้ผมได้จัดส่งพระสมเด็จ 2408 ให้แก่

    คุณ kwok RC 7307 3897 8
     
  2. guawn

    guawn เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    10,642
    ค่าพลัง:
    +42,113
    รายชื่อผู้สั่งจอง

    คุณ drmetta 1 ชุด
    คุณ kwok 1 ชุด (โอนแล้ว,ส่งแล้ว)
    คุณ เทพารักษ์ 1 ชุด
    คุณ Kritr 1 ชุด

    คงเหลือ 3 ชุด
    <!-- / message --><!-- sig -->
     
  3. guawn

    guawn เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    10,642
    ค่าพลัง:
    +42,113
    คุณ kwok ได้โอนเงินทำบุญ 5,600 บาทบูชาชุดพระสมเด็จ 2408 ฝีพระหัตถ์สมเด็จพระปิ่นเกล้า แล้ว
    ยอดรวมบูรณะอุโบสถ 6,458 บาท
    ยอดรวมร่วมสร้างพระแจก 83,023.05 บาท (งบประมาณ 210,000 บาท)

    ยอดรวมช่วยค่าจัดส่ง 800 บาท<!-- / message --><!-- sig -->

    <!-- / message --><!-- sig -->
     
  4. guawn

    guawn เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    10,642
    ค่าพลัง:
    +42,113
    มีแบบไม่ครบชุดให้บูชา
    [​IMG][​IMG][​IMG]
    [​IMG][​IMG][​IMG]
    [​IMG]
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 26 มกราคม 2008
  5. kwok

    kwok เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 มีนาคม 2006
    โพสต์:
    563
    ค่าพลัง:
    +4,239
    ผมได้รับพระแล้วครับ
    โมทนาบุญครับ
     
  6. guawn

    guawn เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    10,642
    ค่าพลัง:
    +42,113
    ขออนุโมทนาบุญด้วยครับ
     
  7. TSAR

    TSAR เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    96
    ค่าพลัง:
    +472
    แล้วแต่จะจัดให้นะครับ แต่รู้สึกชอบองค์จัง ขออนุญาตโอนเงินวันจันทร์ที่ 28 นี้นะครับ
     
  8. :::เพชร:::

    :::เพชร::: เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    8,584
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +36,137
    รีบบูชากันไปนะครับ ของดีแบบนี้ หากรู้ประวัติการสร้างจะยิ่งรัก และหวงแหน พระพิมพ์ฝีพระหัตถ์นี้ไม่ธรรมดาครับ ไม่จำเป็นต้องมีครบทุกพิมพ์
     
  9. :::เพชร:::

    :::เพชร::: เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    8,584
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +36,137
    อ้างอิง:
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=6 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD class=alt2 style="BORDER-RIGHT: 1px inset; BORDER-TOP: 1px inset; BORDER-LEFT: 1px inset; BORDER-BOTTOM: 1px inset">ข้อความดั้งเดิมโดยคุณ :::เพชร::: [​IMG]
    ขอยืมภาพพระพิมพ์ต้นแบบพระประจำวันล้อม กรุพระแก้ววังหน้าจากกระทู้คุณกวงมาเปรียบเทียบกับพระพิมพ์นี้ของหลวงพ่อจ้อย วัดหนองน้ำเขียว จ.ชลบุรี
    <!-- / message --><!-- attachments -->





    <FIELDSET class=fieldset><LEGEND>รูปขนาดเล็ก</LEGEND>[​IMG]






    </FIELDSET><LEGEND></LEGEND>[​IMG]

    </TD></TR></TBODY></TABLE>

    เมื่อคืนผมลองดูพระพิมพ์ไปเรื่อยๆ จนพบพระพิมพ์หนึ่งซึ่งเก็บไว้ตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๔๒ ของวัดแห่งหนึ่งย่านบางขุนพรหมก็ได้สร้างพระพิมพ์ในลักษณะของการนำพระพิมพ์ฝีพระหัตถ์ของสมด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว ๑ ใน ๘ พิมพ์พิเศษมาเป็นองค์ต้นแบบ

    ผมเข้าใจว่า หากเราพบ ๑ ที่... ๒ ที่ ที่นำองค์ต้นแบบจากกรุพระแก้ววังหน้ามาในการจัดสร้างพระพิมพ์ขึ้นนั้น สามารถตั้งข้อสมมุติฐานได้หลายสาเหตุคือ

    - เป็นการจัดสร้างหลังปีพ.ศ. ๒๕๒๕

    - การสร้างพระจากองค์ต้นแบบของหลายๆวัดนี้ ต้องมีผู้ที่ได้รับพระจากกรุพระแก้ววังหน้าไปเป็นองค์ต้นแบบอย่างแน่นอน

    - พระพิมพ์ของกรุวังหน้านี้น่าจะกระจายไปในวงกว้าง เพียงแต่ไม่มีผู้ใดกล่าวขานกันมากนัก อาจจะเนื่องจากติดปัญหาด้านการเผยแพร่ในช่วงเวลานั้น (อายุความ ๒๐ ปี ซึ่งหมดอายุความปี พ.ศ. ๒๕๔๕) การจัดสร้างในระหว่างนี้จึงไม่สามารถจะเปิดเผยที่มาที่ไปของการจัดสร้างได้ว่า นำแบบมาจากไหน หรือเป็นการรู้กันเฉพาะวงในมากกว่า

    เพื่อนๆลองวิเคราะห์ดูความเป็นได้ของการนำองค์ต้นแบบจากกรุพระแก้ววังหน้าพิมพ์ต่างๆกันนะครับ ไม่แน่ว่านานๆไปเราจะพบพระพิมพ์นั้นพิมพ์นี้ของวัดต่างๆไปซ้ำกับของกรุพระแก้ววังหน้ามากกว่าวัด ๒ แห่งนี้ ผมคิดว่าประเด็นนี้มีเบื้องหลังของการจัดสร้างอย่างแน่นอน อย่าบอกนะครับว่า คิดขึ้นมาเอง เป็นไปไม่ได้หรอกครับที่จะเหมือนกันรายละเอียดขนาดนั้น ทั้งขนาด และพิมพ์ทรง ช่วงเวลาห่างกันอย่างน้อยก็ ๑๐๐ ปี (หากนับที่ปีพ.ศ. ๒๔๕๑) อย่างน้อยก็เป็นร่องรอยทางประวัติสาสตร์การสร้างพระ ไม่แน่นะครับว่า องค์ท้าวจตุคามรามเทพพิมพ์ที่สร้างกันปีพ.ศ. ๒๕๓๐ อาจจะนำมาจากองค์ต้นแบบจากกรุพระแก้ววังหน้าก็เป็นได้ นี่คือการมองปัจจุบัน แล้วย้อนทบทวนอดีตที่ผ่านมา...

    รอชมกันครับว่าวัดไหนที่นำพระพิมพ์ฝีพระหัถต์ ๒๔๐๘ ของสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว ๑ ใน ๘ พิมพ์นี้ไปสร้างเป็นพระพิมพ์..

    ลองทายกันเล่นๆก็ได้ครับว่า องค์ต้นแบบ ๑ ใน ๘ พิมพ์พิเศษนี้ที่นำไปจัดสร้างพระพิมพ์นั้นคือพิมพ์ใด? และวัดนั้นคือวัดอะไร?
    นับจากซ้ายไปขวา และจากบนลงล่าง
    ๑ ๒ ๓
    ๔ ๕ ๖
    ๗ ๘

    หากทายถูกทั้ง ๒ คำถาม ผมจะมอบพระพิมพ์ของวัด......พิมพ์ที่ทำจากองค์ต้นแบบนี้มอบให้เป็นที่ระลึก เพื่อสามารถนำไปเปรียบเทียบกับองค์ต้นแบบ ๑ ใน ๘ พิมพ์พิเศษ อ้างอิงทางประวัติศาสตร์ได้ว่าพิมพ์ไหนเกิดก่อนเกิดหลังครับ ก็ดีนะครับ ..

    ส่ง PM เข้ามาที่ผมได้เลยครับ และหมดเวลาทายกันพรุ่งนี้เที่ยงครับ..เฉลยกันตอนเที่ยง ๕ นาที พี่ๆน้องๆร่วมสนุกกันครับ...<!-- / message --><!-- attachments -->

    <FIELDSET class=fieldset><LEGEND>รูปขนาดเล็ก</LEGEND>[​IMG] [​IMG] [​IMG]

    [​IMG] [​IMG] [​IMG]

    [​IMG] [​IMG]

    </FIELDSET>
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 24 มกราคม 2008
  10. :::เพชร:::

    :::เพชร::: เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    8,584
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +36,137
    ผมเฉลยเลยดีกว่าครับ ไม่รอถึงเที่ยงแล้ว ได้เกณฑ์ "เพชรฤกษ์" พอดี เป็นฤกษ์ที่เหมาะในเรื่องวิทยาคมของขลังและคุณไสย ก่อนเวลา ๑๑.๐๕ น. มาดูอีกที ":::เพชร:::ฤกษ์"จริงๆ...

    มีผู้ตอบเข้ามา ๓ ท่านคือ

    ๑) คุณนายสติ
    ๒) คุณnongnooo
    ๓) คุณตั้งจิต

    คำตอบของคุณนายสติ คือ

    1 หมายเลข 3
    2 วัดอินทรวิหาร บางขุนพรหม นำไปสร้าง
    .........................................................................

    คำตอบของคุณnongnooo คือ

    1 หมายเลข 6
    2 วัดอินทรวิหาร บางขุนพรหม นำไปสร้าง
    <TABLE cellPadding=2 border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle>[​IMG][​IMG]</TD><TD vAlign=top align=middle>[​IMG][​IMG]</TD><TD vAlign=top align=middle>[​IMG][​IMG]</TD><TD vAlign=top align=middle></TD><TD vAlign=top align=middle></TD></TR><TR><TD vAlign=top align=middle>พิมพ์แซยิด แขนกลม</TD><TD vAlign=top align=middle>พิมพ์แซยิด แขนหักศอก</TD><TD vAlign=top align=middle>พิมพ์ 7 ชั้น หูติ่ง</TD></TR></TBODY></TABLE>
    .........................................................................

    คำตอบของคุณตั้งจิต คือ

    1 หมายเลข 6
    2 วัดสุทัศน์ นำไปสร้าง

    เฉลย
    คำตอบที่ถูกต้องคือ
    1 หมายเลข ๓
    2 วัดอินทรวิหาร บางขุนพรหม นำไปสร้าง




    <!-- / message --><!-- attachments -->
    <FIELDSET class=fieldset><LEGEND>รูปขนาดเล็ก</LEGEND>[​IMG] [​IMG] [​IMG]

    </FIELDSET>
     
  11. :::เพชร:::

    :::เพชร::: เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    8,584
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +36,137
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width=600 border=0><TBODY><TR><TD align=middle><TABLE cellPadding=2 border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle>[​IMG][​IMG]</TD><TD vAlign=top align=middle>[​IMG][​IMG]</TD><TD vAlign=top align=middle>[​IMG][​IMG]</TD><TD vAlign=top align=middle></TD><TD vAlign=top align=middle></TD></TR><TR><TD vAlign=top align=middle>พิมพ์แซยิด แขนกลม</TD><TD vAlign=top align=middle>พิมพ์แซยิด แขนหักศอก</TD><TD vAlign=top align=middle>พิมพ์ 7 ชั้น หูติ่ง</TD><TD vAlign=top align=middle></TD><TD vAlign=top align=middle></TD></TR><TR><TD vAlign=top align=middle>[​IMG][​IMG]</TD><TD vAlign=top align=middle></TD><TD vAlign=bottom align=middle>[​IMG][​IMG]</TD><TD vAlign=top align=middle></TD><TD vAlign=top align=middle></TD></TR><TR><TD vAlign=top align=middle>พิมพ์พระสังกัจจายน์</TD><TD vAlign=top align=middle></TD><TD vAlign=top align=middle>พิมพ์ไสยาสน์</TD><TD vAlign=top align=middle></TD><TD vAlign=top align=middle></TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR><TR><TD bgColor=#400000>..พระเครื่องเอกของวัดอินทรวิหาร</TD></TR><TR><TD>หลักการดูพระหลวงปู่ภู</TD></TR><TR><TD>
    1. เป็นพระเครื่องของหลวงปู่ภู ท่านเจ้าอาวาส วัด อินทรวิหาร ปี พ.ศ. 2435
    2. เป็นพระเนื้อผงขาวผสมปูน พระเครื่องรุ่นแรกๆ ของท่านเนื้อค่อนข้างหยาบเล็กน้อย ด้วยมีส่วนผสมผงวิเศษมากมีความแน่นและแห้งจัด สีจะออกเหลืองหม่นๆ กับมีความนุ่มคล้ายพระสมเด็จบางขุนพรหม กรุเก่า
      พระหลวงปู่ภู รุ่นหลัง เนื้อมักจะละเอียดแน่นและแก่ปูน ส่วนผสมผงวิเศษน้อย สีค่อนข้างขาว
    3. พระเครื่องหลวงปู่ภู สร้างไว้จำนวนมาก และมากหลากพิมพ์ มีทั้งพิมพ์สมเด็จแบบต่างๆ แบบสามเหลี่ยม สี่เหลี่ยม ห้าเหลี่ยม และ ปิดตา (ภควัม)
    </TD></TR></TBODY></TABLE>

    http://www.thaiamulet.com/amulet/phuphoo/phuphoo_t.htm<!-- / message --><!-- sig -->
     
  12. :::เพชร:::

    :::เพชร::: เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    8,584
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +36,137
    สิ่งที่ผมได้พบคือ หากพระเครื่องหลวงปู่ภู วัดอินทรวิหาร มีการสร้างพิมพ์นี้ขึ้น และมีความคล้ายกันพิมพ์แซยิด หลวงปู่ภู ทั้งพิมพ์แขนกลม และพิมพ์แขนหักศอก ซึ่งก็เป็นไปได้ว่า ที่ในช่วงสมัยปี พ.ศ. ๒๔๓๐ เศษๆ (อาจจะก่อน หรือใกล้เคียงกับช่วงปีพ.ศ ๒๔๐๘-๒๔๓๕) จะต้องมีผู้ที่เคยได้รับพระพิมพ์นี้มาก่อน และนำพระพิมพ์สกุลวังหน้าซึ่งเป็นพระพิมพ์ฝีพระหัตถ์พระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว ๑ ใน ๘ พิมพ์พิเศษนี้ไปดำเนินการจัดสร้างพระพิมพ์หลวงปู่ภูขึ้น(หากตามประวัติการสร้างพระของวัดอินทรวิหารไม่เคยจัดสร้างพระพิมพ์นี้มาก่อนตั้งแต่สมัยหลวงปู่โต พรหมรังสี) ซึ่งวัดอินทรวิหารนี้ก็มีความสัมพันธ์กันกับหลวงปู่โต พรหมรังสี อย่างมากมาย และลึกซึ้งด้วย ผมมีความรู้สึกว่าพระพิมพ์ชุดพิเศษ ๘ พิมพ์ของวังหน้านี้หลวงปู่โต พรหมรังสีท่านเสกให้ด้วยซ้ำไป
    <!-- / message --><!-- sig -->
     
  13. :::เพชร:::

    :::เพชร::: เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    8,584
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +36,137
    <TABLE id=AutoNumber1 style="BORDER-COLLAPSE: collapse" borderColor=#111111 cellSpacing=0 cellPadding=0 width="98%" border=0><TBODY><TR><TD style="BORDER-RIGHT: #ffff99 2px solid; BORDER-TOP: #ffff99 2px solid; BORDER-LEFT: #ffff99 2px solid; BORDER-BOTTOM: #ffff99 2px solid" vAlign=top width="100%" bgColor=#ff9900>
    พระหลวงปู่ภู วัดอินทร์
    </TD></TR><TR><TD style="FONT-SIZE: 10pt; MARGIN-LEFT: 10px; COLOR: #000080; MARGIN-RIGHT: 10px" vAlign=top width="100%">
    [​IMG] [​IMG]
    ผู้สร้าง หลวงปู่ภู หรือ พระครูธรรมานุกูล แห่งวัดอินทรวิหาร ตำบลบางขุนพรหม กรุงเทพฯ
    ศิลปสกุลช่าง ช่างราษฎร์ ยุครัตนโกสินทร์ยุคหลัง
    อายุการสร้าง หลวงปู่ภู ท่านสร้างพระมาตลอด หากจะนับช่วงอายุที่แน่ชัด
    ในวงการพระจะนับจากรุ่นแซยิด ตอนท่านอายุครบ 100 ปี
    เมื่อ พ.ศ. 2470 ซึ่งมีอายุการสร้างพระโดยประมาณ 65 ปี ขึ้นไป
    องค์ประกอบพระ หลวงปู่ภู ท่านได้สร้างพระไว้หลายรุ่น โดยใช้หลักการเดียวกับพระสมเด็จพระพุฒาจารย์
    (โต พรหมรังสี) คือใช้ผงปูนผสม กับผงพุทธคุณ จากการสังเกตจะเห็นว่า พระช่วงแรก ๆ
    จะมีเนื้อค่อนข้างหยาบ (อาจจะมีส่วนผสมของผงพุทธคุณมากกว่า)
    ลักษณะวรรณะพระ ลักษณะโดยทั่วไปจะมีความแน่นและแห้งจัด สีจะออกเหลืองหม่น ๆ
    ลักษณะเนื้อพระจะคล้ายพระสมเด็จบางขุนพรหมกรุเก่า
    มากในบางองค์จะออกเป็นสีขาวนวล ๆ หรือสีออกเทา ก็มี
    พุทธลักษณะ พระหลวงปู่ภู เป็นพระที่สร้างไว้ จำนวนพิมพ์มากที่สุดประเภทหนึ่ง
    มีทั้งพิมพ์สมเด็จแบบต่าง ๆ พิมพ์ห้าเหลี่ยม พิมพ์สามเหลี่ยม
    แบบกลีบบัว แบบพระปิดทวาร แบบพระปิดตา แบบเล็บมือ รวมทั้งที่สร้างขึ้นแล้ว
    มีขนาดเล็ก ๆ อีกมากมายหลายพิมพ์ จนเรียกได้ว่าพระหลวงปู่ภู มีพุทธลักษณะ
    ทุกอิริยาบถทั้ง นั่ง ยืน นอน
    จำแนกพิมพ์ จากการที่พระหลวงปู่ภู เป็นพระที่มีการสร้างหลายแบบ ดังที่กล่าวมาแล้ว
    จึงทำให้ยากต่อการกำหนดพิมพ์ที่สร้างขึ้นมาให้แน่
    นอนลงตัวได้ คงจะพอจำแนกพิมพ์ที่เป็นที่นิยมเล่นหากันจริง ๆ เท่านั้น
    เพื่อเป็นสังเขปต่อการศึกษา จดจำ
    1. พระพิมพ์แซยิด แขนหักศอก
    2. พระพิมพ์แซยิด แขนกลม
    3. พระพิมพ์เจ็ดชั้นหูติ่ง แขนกลม
    4. พระพิมพ์แปดชั้น แขนหักศอก
    5. พระพิมพ์แปดชั้น แขนกลม
    6. พระพิมพ์สามชั้น ก้างปลา หูบายศรี
    7. พระพิมพ์สามชั้น ทรงเจดีย์
    8. พระพิมพ์ฐานคู่แขนกว้าง
    9. พระพิมพ์ฐานคู่ พิมพ์เล็ก
    10. พระพิมพ์ยืนอุ้มบาตรใหญ่
    11. พระพิมพ์ยืนอุ้มบาตรเล็ก
    12. พระพิมพ์ใสยาสน์
    13. พระพิมพ์ยืนลีลา
    14. พระพิมพ์สังกัจจายน์ห้าเหลี่ยม
    15. พระพิมพ์ปิดตาสองหน้า
    16. พระพิมพ์สมาธิห้าเหลี่ยม
    17. พระพิมพ์เจดีย์ซุ้มเรือนแก้ว
    18. พระพิมพ์จิ๋วต่าง ๆ เป็นต้น​
    </TD></TR></TBODY></TABLE>
    http://www.banphra.com/reviews/reviews01_007.htm
     
  14. :::เพชร:::

    :::เพชร::: เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    8,584
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +36,137
    อ้างอิง:
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=6 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD class=alt2 style="BORDER-RIGHT: 1px inset; BORDER-TOP: 1px inset; BORDER-LEFT: 1px inset; BORDER-BOTTOM: 1px inset">ข้อความดั้งเดิมโดยคุณ ตั้งจิต [​IMG]
    โอ้โฮ พิมพ์นี้เลยนะครับ ว่าแต่ผมก็ตอบเกือบถูกนะครับ
    เพราะพิมพ์ที่ 6 ก็อยู่ใกล้กับพิมพ์ 3 วัดอินทร์ก็ไม่ห่างกับวัดสุทัศน์มากนัก(deejai) อืม...แจ่มจริงเรา
    </TD></TR></TBODY></TABLE>
    55555555 เอางั้นเลยนะคุณตั้งจิต .....อิอิ...

    งานนี้ผมตั้งใจจะมอบให้ทั้ง ๓ ท่านๆละองค์ครับ ถือว่าเป็นของที่ระลึกการร่วมบุญตามรอยพระสกุลวังหน้ากัน และเป็นการเปรียบเทียบกับประวัติศาสตร์

    ช่วงเวลานำเรื่อง บทชินบัญชรย่อมาลงในกระทู้"บทสวดมนต์ - พระคาถา" http://palungjit.org/showthread.php?t=110463

    ก็เป็นช่วงไล่ๆกัน เหมือน"ท่าน"จะสงเคราะห์ในกิจที่เป็นกุศลเลยนะครับ..


    สาธุ

    บทชินบัญชรย่อ

    ชิ นะ ปัญ ชะ ระ ปะ ริต ตัง

    มัง รัก ขะ ตุ สัพ พะ ทา

    (ขอพระคาถาชินบัญชรปริตร จงรักษาข้าพเจ้าตลอดกาลทุกเมื่อ)


    ต้นเดือนมิถุนายน พ.ศ. ๒๔๑๕ สมเด็จโตท่านไปดูการก่อสร้างหลวงพ่อโต ที่วัดอินทรวิหาร บางขุนพรหม แล้วเกิดอาพาธด้วยโรคชรา และถึงแก่มรณภาพ ณ เวลา ๒ ยาม วันเสาร์ แรม ๒ ค่ำ เดือน ๘ (ต้น)ปีวอก จ.ศ.๑๒๓๔ ตรงกับวันที่ ๒๒ มิถุนายน พ.ศ.๒๔๑๕

    หลังมรณภาพ
    คำเทศนาของเจ้าประคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี) ที่ได้โปรดชี้ธรรมไว้ในนิมิต หลังจากที่ล่วงลับไปแล้วเมื่อ ๑๐๐ กว่าปี อันเป็นปฐมเหตุที่ต้องสร้างความดีอย่างไม่มีที่สิ้นสุด

    "บุญเราไม่เคยสร้าง ใครที่ไหนจะมาช่วยเจ้า"

    ลูกเอ๋ย ก่อนจะเที่ยวไปขอบารมีหลวงพ่อองค์ใด เจ้าจะต้องมีทุนของตัวเองคือ บารมีของตนลงทุนไปก่อน เมื่อบารมีของเจ้าไม่พอ จึงค่อยขอยืมบารมีคนอื่นมาช่วย มิฉะนั้นเจ้าจะเอาตัวไม่รอด เพราะหนี้สินในบุญบารมีที่เที่ยวไปขอยืมมาจนพ้นตัว เมื่อทำบุญทำกุศลได้บารมีมา ก็ต้องเอาไปผ่อนใช้หนี้เขาจนหมดไม่มีอะไรเหลือติดตัว แล้วเจ้าจะมีอะไรไว้ในภพหน้า หมั่นสร้างบารมีไว้แล้วฟ้าดินจะช่วยเจ้าเอง

    จงจำไว้นะ เมื่อยังไม่ถึงเวลา เทพเจ้าองค์ใดจะคิดช่วยเจ้าไม่ได้
    ครั้นถึงเวลา ทั่วฟ้าจบดินก็ต้านเจ้าไม่อยู่ จงอย่าไปเร่งเทวดาฟ้าดิน
    เมื่อบุญเราไม่เคยสร้างไว้เลย จะมีใครที่ไหนมาช่วยเจ้า
     
  15. :::เพชร:::

    :::เพชร::: เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    8,584
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +36,137
    ความสัมพันธ์ หลวงปู่ภู กับท่านเจ้าประคุณสมเด็จ (โต)
    กล่าวว่าหลวงปู่ภู ในคราวที่ออกธุดงค์ ส่วนมากจะร่วมเดินธุดงค์รุกขมูลกับเจ้าประคุณสมเด็จโต และหลวงปู่ใหญ่ ซึ่งเป็นพี่ชายเสมอ ถึงแม้ว่าท่านอยู่ที่วัดอินทรฯ พอมีเวลาว่างท่านก็จะข้ามไปหาประสมเด็จฯ เสมอจนเป็นที่ไว้วางใจของสมเด็จโตตลอดมา เมื่อท่านเจ้าพระคุณสมเด็จได้มาสร้างพระศรีอริยเมตตไตรย์ (หลวงพ่อโต) ที่วัดอินทร์ฯ ท่านเจ้าพระคุณสมเด็จก็ได้มอบหมายให้หลวงปู่ดำเนินแทน มีอยู่คราวหนึ่ง ตอนที่ก่อสร้างพระเจดีย์ท่านเจ้าพระคุณสมเด็จ(โต) ท่านไปตรวจดูขณะที่เดินนำหน้าหลวงปู่ สมเด็จท่านได้ชี้ไปที่พระเจดีย์ซึ่งโบกปูนเสร็จใหม่ๆ สมเด็จท่านได้ชี้ไปที่ฐานล่างของพระเจดีย์ พร้อมกับพูดว่า

    "คุณภู จัดการเสีย"
    หลวงปู่รับคำพร้อมกับเดินไปตามช่าง ให้มาเอาปูนออก พอช่างเอาปูนออกภายในเป็นโพรงเล็กๆ มีคางคกอาศัยอยู่ในนั้นสิบกว่าตัวถ้าปล่อยทิ้งไว้ มีหวังคางคกตายหมด

    มีบางครั้งที่หลวงปู่ภู จะข้ามไปลงโบสถ์ทำวัตร ที่วัดระฆัง กับสมเด็จ(โต) เสมอ วันหนึ่งขณะที่ท่านเจ้าประคุณสมเด็จ ทำวัตรเสร็จได้เดินออกมาจากพระอุโบสถ โดยมีหลวงปู่ภูเดินตามหลัง พอเดินมาถึงตรงเจดีย์หน้าโบสถ์ซึ่งสร้างใหม่ท่านเจ้าประคุณสมเด็จได้หยุดตรงหน้าเจดีย์ พร้อมกับหันไปมองหน้าหลวงปู่ภู และหัวเราะ "ฮึๆ " ในลำคอ ด้วยญาณสมาบัติถึงกันหลวงปู่ตอบว่า
    "ครับ พระคุณท่าน อ้ายคางคกสองผัวเมีย มันกำลังจะหมดลม ใกล้จะสิ้นใจแล้วครับ"
    ท่านเจ้าประคุณสมเด็จฯ จึงพูดว่า
    "นั่นซิ"
    แล้วสั่งให้พระเณรนำจอบเสียมและชะแลง มาขุดเจาะช่องพระเจดีย์ ปรากฏว่าภายในช่องมีคางคกคู่หนึ่งจริงๆ นับว่าท่านเจ้าประคุณสมเด็จฯ และหลวงปู่ภูมีญาณวิเศษ คือการบำเพ็ญสมาธิ จนได้เกิดทิพย์จักษุญาณ "ตาทิพย์" สมกับคำพังเพยได้กล่าวไว้ ลูกไม้หล่นไม่ไกลต้น ฉันใด อาจารย์ดี ลูกศิษย์ย่อมจะดี

    กำหนดวันมรณภาพ
    โดยปกติทุกวันหลวงปู่จะถ่ายปัสสาวะลงในกระโถนเคลือบเล็กๆ แล้วส่งให้ลูกศิษย์ไปเทลงในกระโถนใหญ่ วันหนึ่งท่านได้ปฏิบัติดังนี้อีก พอลูกศิษย์นำไปเทแล้ว ท่านได้ถามว่า
    "มีฟองไหม"
    ศิษย์ก็ตอบว่า
    "ไม่มีฟอง"
    ท่านจึงพูดต่อไปว่า
    "นั่นแหละมึงจำเอาไว้ คนแก่เมื่อเยี่ยวหมดฟอง แล้วละก็ ไม่ช้าดอกมึง มรณสัญญาณมันมาแล้ว จะต้องลามึงไป"

    หลังจากที่ท่านได้พูดกับลูกศิษย์อยู่ไม่นาน ก่อนที่ท่านจะอาพาธหนักจนถึงมรณภาพ ซึ่งลูกศิษย์ได้บันทึกไว้ว่าในเดือน ๓ เป็นฤดูหนาว ปี พ.ศ. ๒๔๗๖ ท่านได้นั่งอยู่บนเตียงนับนิ้ว ๓ นิ้วแล้วพูดพึมพำ คล้ายกับพูดอยู่กับตัวเองว่า
    "วันเสาร์ ข้างขึ้น เดือน ๖ เวลา ๖ ทุ่มล่วงแล้ว"
    ท่านได้พูดอยู่อย่างนี้หลายครั้งหลายหนจนลูกศิษย์ที่นั่งอยู่ข้างๆ ได้สอบถามเป็นเชิงล้อเลียนท่านว่า
    "หลวงปู่จะทำอะไร จะทำบุญอายุครบ ๑๐๐ ปี อีกหนหนึ่งหรือครับ กระผมจะได้ไปเรียนขุนนางที่เขาเป็นศิษย์ให้ทราบ"
    พอพูดจบท่านก็ตอบสวนทันควันว่า
    "ไอ้โง่ ไอ้โง่"
    แล้วท่านก็นั่งนับนิ้วต่อไป พร้อมกับพูดซ้ำๆซากๆ อยู่อย่างนี้หลายครั้ง ศิษย์ที่นั่งอยู่ก็พูดล้อเลียนอีก ท่านก็ตอบอีกว่า
    "ไอ้โง่ ไอ้โง่ มรณสัญญาณ ของข้าฯ มาแล้ว จะต้องลามึงไป มึงอย่าเสียใจนะ"
    ไม่มีผู้ใดคาดหมายมาก่อนเลยว่าหลวงปู่จะมรณภาพ ถึงแม้ท่านจะไม่ค่อยแข็งแรง คล่องแคล่วเหมือนแต่ก่อน แต่ท่านก็มิได้มีอาการเจ็บป่วย อะไรมาก่อน

    จนถึงเดือน ๕ เวลาเช้า ในขณะที่ท่านกำลังฉันจังหันเช้าอยู่ ขณะที่หยิบช้อนขึ้นตักแกงพอยกขึ้นซดช้อนก็หลุดจากมือท่าน พร้อมกับนั้นท่านก็หงายหลังพิงหมอนอิง ปากท่านเบี้ยว นับแต่นั้นมาท่านก็ล้มเจ็บป่วยโดยโรคอัมพาต หลังจากท่านล้มป่วยมาจนถึงเดือน ๖ ตรงกับวันเสาร์ข้างขึ้น พระจันทร์เต็มดวง เวลาประมาณ ๑ นาฬิกา ๑๐ นาที ท่านก็มีอาการหอบและหูตึง ในขณะนั้นมีศิษย์ซึ่งเฝ้าพยาบาลอยู่หลายคน ต่างวิตกกันไปต่างๆ นานา ทันใดนั้นทุกคนก็สะดุ้งสุดตัวเมื่อได้ยินเสียงบนหลังคาสังกะสีของกุฏิที่ท่านนอนอยู่ดังสนั่นหวั่นไหว ราวกับลูกระเบิดจนกุฏิสั่นสะเทือนไปทั้งหลัง จากนั้นอีกประมาณ ๕ นาที หลวงปู่ก็สิ้นลมด้วยอาการอันสงบ มิได้มีเวทนาอันเป็นวิบากกรรมให้ปรากฏ
    นับเป็นสิ่งอัศจรรย์ที่วันมรณภาพของท่านตรงกับคำพูดของท่านได้บอกไว้ล่วงหน้าคือ "วันเสาร์ ข้างขึ้น เดือน ๖ เวลา ๖ นาฬิกาล่วงแล้ว" ซึ่งตรงกับจันทร์คติ เมื่อปีระกา วันเสาร์ขึ้น ๑๓ ค่ำเดือน ๖ เวลา ๑ นาฬิกา ๑๕ นาที ตรงกับ วันที่ ๖ พฤษภาคม ๒๔๗๖ นับทางสุริยคติรวมอายุได้ ๑๐๓ ปีเศษ หรือ ๑๐๔ ปีซึ่งตรงกับที่ท่านได้พูดไว้คราวที่นิมิตเห็นผู้มาถวายตราแผ่นดิน ๓ อัน ท่านบอกว่า จะมีอายุยืนถึง ๑๐๐ ปีเศษ

    การสร้างพระเครื่อง-วัตถุมงคลต่างๆ
    ในสมัยที่ท่านมีชีวิตอยู่ได้จัดสร้างพระเครื่อง เนื้อผง ขึ้นหลายแบบพิมพ์ด้วยกัน ส่วนเหรียญก็มีเฉพาะแจกวันเกิด ส่วนตะกรุดผ้ายันต์อีกทั้งไม้เท้าพ่อครูก็ได้สร้างขึ้นแต่มีจำนวนไม่มากนัก กล่าวกันว่า ท่านได้สร้างพระเครื่องตอนมาอยู่ที่วัดอินทรวิหาร ในระยะหลังเท่านั้น ตอนสมัยหลวงปู่ใหญ่ยังมีชีวิตอยู่ ใครมาขอของขลังท่านจะไล่ให้ไปขอกับหลวงปู่ใหญ่ ซึ่งเป็นพระพี่ชายของท่าน ส่วนวัตถุมงคลที่หลวงปู่ใหญ่ได้สร้างไว้ เป็นแบบใดไม่ปรากฏหลักฐาน เข้าใจว่าคงมีไม่มากนัก
    จากหลักฐานการสร้างพระเครื่อง ของหลวงปู่ภู ได้จัดสร้างขึ้นหลังจากที่ท่านเจ้าประคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) วัดระฆัง และหลวงปู่ใหญ่ได้มรณภาพลงไปแล้วในปี พ.ศ. ๒๔๑๕ เนื่องจากท่านมีความสำนึกในจิตใจ จะไม่ทำอะไรแข่งกับผู้ที่ท่านเคารพนับถือ คือไม่แข่งกับครูบาอาจารย์นั่นเอง

    มูลเหตุที่ท่านสร้างพระเครื่อง เกี่ยวเนื่องจากท่านต้องรับภาระต่อจากท่านเจ้าประคุณสมเด็จ ดำเนินงานก่อสร้าง พระศรีอริยเมตไตรย์ (หลวงพ่อโต) ด้วยเหตุนี้ท่านจึงได้สร้างพระผงขึ้นเพื่อแจกให้กับผู้มีจิตศรัทธา สละเงินช่วยก่อสร้างพระโต โดยท่านมิได้กำหนดราคาค่างวดใดๆ ทั้งสิ้นสุดแท้แต่จะศรัทธาของสาธุชนที่มาทำบุญด้วย ท่านได้ปรารภกับศิษย์
    "กูไม่มีทางอื่นจะเลือก"
    เมื่อหลวงปู่สร้างพระออกแจกจ่ายเพื่อการกุศล ต่อมาได้มีพระภิกษุบางรูปที่อยู่ในวัด ได้สร้างพระเครื่องซึ่งให้ช่างแกะแม่พิมพ์ที่มีความละม้ายคล้ายกันกับหลวงปู่ นำออกแจกจ่ายบ้าง เมื่อท่านได้ทราบเรื่องนี้เข้า ท่านก็ได้ระงับการแจกพระของท่านเสีย โดยท่านนำพระทั้งหมดมาบรรจุใส่ในกระถางมังกร ท่านได้นำมาวางไว้ที่เหนือศีรษะที่ท่านจำวัตร พอเวลาสวดมนต์ตอนกลางคืนท่านก็เอามือจับปากกระถางมังกรปลุกเสกอยู่ทุกคืน ตอนที่มีพระภิกษุทำพระล้อแบบพิมพ์ของท่านออกแจกหาเงินเข้ากระเป๋า ท่านได้พูดกับลูกศิษย์ว่า
    "กูต้องเลิกทำละ ไม่ได้การ มันจะตกนรกกันเปล่าๆ ของไม่ได้เสก ไม่ได้ประสิทธิ์ กูไม่เล่นด้วย"
    นับแต่นั้นมาท่านก็ไม่ยอมสร้างอีกเลย มีอยู่วันหนึ่งลูกศิษย์ได้สอบถามท่านถึงเรื่องพระเครื่องที่เหลืออยู่ในกระถางมังกร ทำไมถึงไม่ยอมนำออกไปช่วยการกุศล จะเก็บไว้ทำไมท่านก็หัวเราะพร้อมกับพูดขึ้นว่า "กูเอาไว้หาเงินทำศพกูเอง ไอ้โง่"
    ตอนที่ลูกศิษย์สอบถามท่านขณะนั้นหลวงปู่อายุประมาณ ๑๐๒ ปีแล้ว

    .........................................................................

    ลองเทียบปีพ.ศ.กันนะครับ

    ปีที่พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัวสวรรคตคือ ๗ มกราคม ปีฉลู ๒๔๐๘
    "ข้อสำคัญอันหนึ่งในเรื่องประวัติสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ เมื่อตอนก่อนเป็นผู้สำเร็จราชการแผ่นดิน คือที่ท่านคิดอ่านยกกรมพระราชวังบวรวิชัยชาญขึ้นเป็นพระมหาอุปราช ดังปรากฏอยู่ในเรื่องจดหมายเหตุเมื่อพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวสวรรคต(ซึ่งพิมพ์ในงานสตมวารของสมเด็จกรมหลวงสงขลาฯ) นั้น มีหลักฐานปรากฏว่าท่านได้ตกลงใจมาแล้วหลายปี เห็นจะเป็นตั้งแต่พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัวสวรรคตเมื่อปีฉลู พ.ศ. 2408 และได้กราบบังคมทูลความคิดนั้นแก่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงทราบด้วย

    เรื่องนี้พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้ามีพระราชดำรัสเล่าว่าวันหนึ่งพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จออกประทับ ณ พระทวารหน้ามุขพระที่นั่งอนันตสมาคมอันเป็นที่รโหฐาน สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์เข้าเฝ้าฯส่วนพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จประทับคอยรับใช้อยู่เบื้องพระขนองของสมเด็จพระบรมชนกนาถ ได้ทรงสดับตรัสประภาษกับสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ด้วยเรื่องต่างๆมาจนถึงเรื่องวังหน้า สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์จะได้กราบทูลอธิบายว่ากระไรหาทรงได้ยินถนัดไม่ได้ยินแต่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวตรัสตอบว่า

    "ถ้าเช่นนั้นกั้นกำแพงแบ่งกันเสียที่ท้องสนามหลวงก็แล้วกัน"

    เข้าพระทัยว่าเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์คงกราบทูลอธิบายว่าเห็นจำเป็นจะต้องให้กรมพระราชวังบวรวิชัยชาญเป็นพระมหาอุปราช พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวไม่ทรงเห็นชอบด้วย แต่จะทรงโต้แย้งขัดขวางก็เห็นไม่เป็นประโยชน์ จึงมีพระราชดำรัสอย่างนั้น

    เรื่องที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวตรัสเล่านี้ ก็สมกับการที่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงยกย่องกรมหมื่นบวรวิชัยชาญในเวลาต่อมาเช่นโปรดฯให้ไปเยี่ยมตอบราชทูตฝรั่งเศส (ที่ปรากฏในหนังสือเรื่องพระราชประวัติพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเมื่อก่อนเสวยราชย์) และเล่ากันว่าเมื่อเสด็จออกรับเจ้าเมืองสิงคโปร์ที่พลับพลาหว้ากอ โปรดฯให้กรมหมื่นบวรวิชัยชาญ หมอบเฝ้าฯ ข้างที่ประทับฝ่ายหนึ่ง คู่กับพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว"


    ปีที่สมเด็จโต พรหมรังสี มรณภาพคือ เดือนมิถุนายน ๒๔๑๕

    "ต้นเดือนมิถุนายน พ.ศ. ๒๔๑๕ สมเด็จโตท่านไปดูการก่อสร้างหลวงพ่อโต ที่วัดอินทรวิหาร บางขุนพรหม แล้วเกิดอาพาธด้วยโรคชรา และถึงแก่มรณภาพ ณ เวลา ๒ ยาม วันเสาร์ แรม ๒ ค่ำ เดือน ๘ (ต้น)ปีวอก จ.ศ.๑๒๓๔ ตรงกับวันที่ ๒๒ มิถุนายน พ.ศ.๒๔๑๕"

    ปีที่กรมพระราชวังบวรวิชัยชาญสวรรคต คือ เดือนสิงหาคม ๒๔๒๘
    ในสมัยรัชกาลที่ 4 พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงไว้วางใจพระราชหฤทัยพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้ามาก โปรดเกล้าฯ สถาปนาเป็นพระมหากษัตริย์องค์ที่ 2 ทั้งสิ่งใดที่มีในพระบรมมหาราชวัง ก็โปรดเกล้าฯให้พระบวรราชวังมีด้วย

    อย่างไรก็ตาม ต่อมาเมื่อสมเด็จพระปิ่นเกล้าเสด็จสวรรคต พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพยายามลดบทบาทของวังหน้าลง ด้วยเกรงว่าเจ้าพระยามหาศรีสุริยวงศ์ ขุนนางผู้ใหญ่ผู้มีอำนาจมากจะชิงราชสมบัติ แต่เมื่อองค์รัชกาลที่ 4 สิ้นพระชนม์ เจ้าพระยามหาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุนนาค) ก็ขึ้นดำรงตำแหน่งเป็นผู้สำเร็จราชการ และตั้งกรมพระราชวังบวรวิชัยชาญ เป็นกรมพระราชวังบวรสถานมงคล หวังให้วังหน้ามีอำนาจกีดขวางวังหลวงฮ

    ในช่วงเวลานี้ วังหน้าและวังหลวงจึงขัดแย้งกันอีกครั้ง ด้วยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ทรงครองราชย์ในวัยเยาว์ เพียง 15 พรรษา เทียบกับกรมพระราชวังบวรวิชัยชาญ มีชนมายุถึง 31 พรรษา ทั้งมีฐานสนับสนุนทางการเมืองและการทหาร

    ต่อมารัฐบาลอังกฤษเดินแผนยุให้วังหน้าและวังหลังแตกแยกกันยิ่งขึ้น เพื่อจะเข้าปกครองโดยง่าย ความขัดแย้งจึงบานปลายเป็นวิกฤตทางการเมืองในปลายปี 2417-2418 ถึงขั้นจะดึงอังกฤษเข้ามาไกล่เกลี่ย แต่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าทรงชี้แจงว่าเป็นเรื่องขัดแย้งในตระกูล ทำให้อังกฤษต้องถอยฉาก

    ในที่สุดเมื่อองค์รัชกาลที่ 5 ทรงมีพระราชอำนาจในการบริหารราชการแผ่นดินอย่างสมบูรณ์แล้ว จึงทรงกำหนดขอบเขตอำนาจและทหารในสังกัดของกรมพระราชวังบวรวิชัยชาญเสียใหม่ ไม่ให้เกิน 200 นาย

    เมื่อกรมพระราชวังบวรวิชัยชาญทิวงคตในวันที่ 28 สิงหาคม พ.ศ. 2428 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงทรงประกาศยกเลิกตำแหน่งวังหน้าโดยเด็ดขาด และทรงตั้งตำแหน่งสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชสยามมกุฎราชกุมาร เป็นรัชทายาทครองราชสมบัติขึ้นแทน


    ปีที่หลวงปู่ภูมรณภาพคือ เดือนพฤษภาคม ๒๔๗๖
    จนถึงเดือน ๕ เวลาเช้า ในขณะที่ท่านกำลังฉันจังหันเช้าอยู่ ขณะที่หยิบช้อนขึ้นตักแกงพอยกขึ้นซดช้อนก็หลุดจากมือท่าน พร้อมกับนั้นท่านก็หงายหลังพิงหมอนอิง ปากท่านเบี้ยว นับแต่นั้นมาท่านก็ล้มเจ็บป่วยโดยโรคอัมพาต หลังจากท่านล้มป่วยมาจนถึงเดือน ๖ ตรงกับวันเสาร์ข้างขึ้น พระจันทร์เต็มดวง เวลาประมาณ ๑ นาฬิกา ๑๐ นาที ท่านก็มีอาการหอบและหูตึง ในขณะนั้นมีศิษย์ซึ่งเฝ้าพยาบาลอยู่หลายคน ต่างวิตกกันไปต่างๆ นานา ทันใดนั้นทุกคนก็สะดุ้งสุดตัวเมื่อได้ยินเสียงบนหลังคาสังกะสีของกุฏิที่ท่านนอนอยู่ดังสนั่นหวั่นไหว ราวกับลูกระเบิดจนกุฏิสั่นสะเทือนไปทั้งหลัง จากนั้นอีกประมาณ ๕ นาที หลวงปู่ก็สิ้นลมด้วยอาการอันสงบ มิได้มีเวทนาอันเป็นวิบากกรรมให้ปรากฏ
    นับเป็นสิ่งอัศจรรย์ที่วันมรณภาพของท่านตรงกับคำพูดของท่านได้บอกไว้ล่วงหน้าคือ "วันเสาร์ ข้างขึ้น เดือน ๖ เวลา ๖ นาฬิกาล่วงแล้ว" ซึ่งตรงกับจันทร์คติ เมื่อปีระกา วันเสาร์ขึ้น ๑๓ ค่ำเดือน ๖ เวลา ๑ นาฬิกา ๑๕ นาที ตรงกับ วันที่ ๖ พฤษภาคม ๒๔๗๖ นับทางสุริยคติรวมอายุได้ ๑๐๓ ปีเศษ หรือ ๑๐๔ ปีซึ่งตรงกับที่ท่านได้พูดไว้คราวที่นิมิตเห็นผู้มาถวายตราแผ่นดิน ๓ อัน ท่านบอกว่า จะมีอายุยืนถึง ๑๐๐ ปีเศษ"

    ณ ปีที่สมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัวสวรรคต คือ ปีพ.ศ. ๒๔๐๘ พระพิมพ์ฝีพระหัตถ์น่าที่จะสร้างไว้ก่อนปีพ.ศ. ๒๔๐๘ เล็กน้อย การจารึกปีพ.ศ. ๒๔๐๘ ไว้ใต้ฐานพระพิมพ์จึงเป็นการระบุถึงการระลึกถึงปีที่พระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จสวรรคต (แนวคิดการสร้างพระเครื่องของปัจจุบันจึงต่างจากสมัยโบราณมากคือปัจจุบันสร้างปีไหนก็ระบุปีนั้น จุดนี้หากคนรุ่นหลังไม่เข้าใจ จะเชื่อตามที่เห็น พระเครื่องสมัยรัชกาลที่ ๕ ที่ติดพลอยมากมาย ระบุปีพ.ศ. ๒๔๑๑ แต่พระพักตร์พระองค์ท่านมีพระมัสสุ (หนวด) ซึ่งปีนั้นเป็นปีที่พระองค์ท่านมีพระชนม์พรรษาได้ ๑๕ พรรษาเท่านั้น แท้จริงคือการสร้างเพื่อเฉลิมฉลองระลึกถึงปีที่พระองค์ท่านเสด็จขึ้นครองราชย์ครบ ๔๐ ปีนั่นเอง) ซึ่งเวลานั้น
    หลวงปู่โตมีอายุ ๗๗ ปี
    หลวงปู่ภู มีอายุ ๓๖ ปี
    กรมพระราชวังบวรวิชัยชาญ มีพระชนมายุ ๒๘ พรรษา

    พระพิมพ์ฝีพระหัตถ์ปีพ.ศ. ๒๔๐๘ จึงน่าจะทันสมเด็จโตเสก อย่างน้อย ๒ พระราชพิธีหลวงใหญ่ๆ คือ ๒๔๐๘ และ ๒๔๑๑ ด้วยซ้ำไป

    ณ ปีที่สมเด็จโตมรณภาพคือ ปีพ.ศ. ๒๔๑๕ ซึ่งเวลานั้น
    หลวงปู่ภู มีอายุ ๔๓ ปี
    กรมพระราชวังบวรวิชัยชาญ มีพระชนมายุ ๓๕ พรรษา

    ตั้งแต่หลังจากปีที่สมเด็จโตท่านมรณภาพคือ ปีพ.ศ. ๒๔๑๕ นั้น สมเด็จโตได้มอบหมายการสร้างพระศรีอริยเมตไตรย์ที่วัดอินทรวิหารให้ท่านดำเนินการต่อ ซึ่งจุดเวลานี้ เป็นช่วงเวลาที่ท่านเริ่มสร้างพระเครื่องตามบันทึกนี้ครับ..

    การสร้างพระเครื่อง-วัตถุมงคลต่างๆของหลวงปู่ภู
    ในสมัยที่ท่านมีชีวิตอยู่ได้จัดสร้างพระเครื่อง เนื้อผง ขึ้นหลายแบบพิมพ์ด้วยกัน ส่วนเหรียญก็มีเฉพาะแจกวันเกิด ส่วนตะกรุดผ้ายันต์อีกทั้งไม้เท้าพ่อครูก็ได้สร้างขึ้นแต่มีจำนวนไม่มากนัก
    กล่าวกันว่า ท่านได้สร้างพระเครื่องตอนมาอยู่ที่วัดอินทรวิหาร ในระยะหลังเท่านั้น ตอนสมัยหลวงปู่ใหญ่ยังมีชีวิตอยู่ ใครมาขอของขลังท่านจะไล่ให้ไปขอกับหลวงปู่ใหญ่ ซึ่งเป็นพระพี่ชายของท่าน ส่วนวัตถุมงคลที่หลวงปู่ใหญ่ได้สร้างไว้ เป็นแบบใดไม่ปรากฏหลักฐาน เข้าใจว่าคงมีไม่มากนัก
    จากหลักฐานการสร้างพระเครื่อง ของหลวงปู่ภู ได้จัดสร้างขึ้นหลังจากที่ท่านเจ้าประคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) วัดระฆัง และหลวงปู่ใหญ่ได้มรณภาพลงไปแล้วในปี พ.ศ. ๒๔๑๕ เนื่องจากท่านมีความสำนึกในจิตใจ จะไม่ทำอะไรแข่งกับผู้ที่ท่านเคารพนับถือ คือไม่แข่งกับครูบาอาจารย์นั่นเอง
    มูลเหตุที่ท่านสร้างพระเครื่อง เกี่ยวเนื่องจากท่านต้องรับภาระต่อจากท่านเจ้าประคุณสมเด็จ ดำเนินงานก่อสร้าง พระศรีอริยเมตไตรย์ (หลวงพ่อโต) ด้วยเหตุนี้ท่านจึงได้สร้างพระผงขึ้นเพื่อแจกให้กับผู้มีจิตศรัทธา สละเงินช่วยก่อสร้างพระโต โดยท่านมิได้กำหนดราคาค่างวดใดๆ ทั้งสิ้นสุดแท้แต่จะศรัทธาของสาธุชนที่มาทำบุญด้วย ท่านได้ปรารภกับศิษย์ "กูไม่มีทางอื่นจะเลือก"
    เมื่อหลวงปู่สร้างพระออกแจกจ่ายเพื่อการกุศล ต่อมาได้มีพระภิกษุบางรูปที่อยู่ในวัด ได้สร้างพระเครื่องซึ่งให้ช่างแกะแม่พิมพ์ที่มีความละม้ายคล้ายกันกับหลวงปู่ นำออกแจกจ่ายบ้าง เมื่อท่านได้ทราบเรื่องนี้เข้า ท่านก็ได้ระงับการแจกพระของท่านเสีย โดยท่านนำพระทั้งหมดมาบรรจุใส่ในกระถางมังกร ท่านได้นำมาวางไว้ที่เหนือศีรษะที่ท่านจำวัตร พอเวลาสวดมนต์ตอนกลางคืนท่านก็เอามือจับปากกระถางมังกรปลุกเสกอยู่ทุกคืน ตอนที่มีพระภิกษุทำพระล้อแบบพิมพ์ของท่านออกแจกหาเงินเข้ากระเป๋าท่านได้พูดกับลูกศิษย์ว่า "กูต้องเลิกทำละ ไม่ได้การ มันจะตกนรกกันเปล่าๆ ของไม่ได้เสก ไม่ได้ประสิทธิ์ กูไม่เล่นด้วย" นับแต่นั้นมาท่านก็ไม่ยอมสร้างอีกเลย
    มีอยู่วันหนึ่งลูกศิษย์ได้สอบถามท่านถึงเรื่องพระเครื่องที่เหลืออยู่ในกระถางมังกร ทำไมถึงไม่ยอมนำออกไปช่วยการกุศล จะเก็บไว้ทำไมท่านก็หัวเราะพร้อมกับพูดขึ้นว่า "กูเอาไว้หาเงินทำศพกูเอง ไอ้โง่" ตอนที่ลูกศิษย์สอบถามท่านขณะนั้นหลวงปู่อายุประมาณ ๑๐๒ ปีแล้ว
    ซึ่งเวลานั้น...
    หลวงปู่ภู มีอายุระหว่าง ๔๓-๑๐๔ ปี เท่ากับว่าพระเครื่องที่หลวงปู่ภูท่านสร้างเกิดขึ้นในช่วงระยะเวลา ๖๑ ปี คือระหว่างปีพ.ศ. ๒๔๑๕(หลังสมเด็จโตมรณภาพ)จนถึงปีพ.ศ. ๒๔๗๖

    กรมพระราชวังบวรวิชัยชาญ มีพระชนมายุระหว่าง ๓๕-๔๘ พรรษา


    .......................................................................

    พระเครื่องรุ่นแซยิดครบ ๑๐๐ ปีของหลวงปู่ภู จึงสร้างในปีพ.ศ. ๒๔๗๖ ครับ ผมอยากให้ข้อสังเกตว่าการสร้างพระเครื่องในปีครบรอบนั้น ผู้สร้างมักจะให้ความสำคัญ เช่นครบ ๕ รอบคือปีที่หลวงปู่ภู อายุ ๒๔๓๒ ฯลฯ
     
  16. :::เพชร:::

    :::เพชร::: เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    8,584
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +36,137
    อ้างอิง:
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=6 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD class=alt2 style="BORDER-RIGHT: 1px inset; BORDER-TOP: 1px inset; BORDER-LEFT: 1px inset; BORDER-BOTTOM: 1px inset">ข้อความดั้งเดิมโดยคุณ nongnooo viewpost.gif
    เรียนท่าน เพชรครับ
    ขอบคุณครับ ว่าแต่ผมก็ได้วิชาแว๊บมาจากท่านเพชรแหละครับ อยู่ๆก็เห็นองค์ที่ 5และ6ผมก็นึกถึงพระพิมพ์ของหลวงปู่ภูเลยครับ ว่ากันว่าท่านได้รับมอบผงจาก สมเด็จ โตและนำมาผสมในพระพิมพ์ที่ท่านให้ทำจำนวนมากครับ สีออกขาวจะแก่ปูน สีออกเหลืองจะมีส่วนของผงสมเด็จมากหน่อยครับ ซึ่งสีน่าจะต่างหลังพระพิมพ์มีอายุ มากกว่า50ปีขึ้นไป ก็จริงครับไปๆมาๆคล้ายกับ พระพิมพ์วังหน้าวังหลวงเป็นต้นแบบ ให้มีการวิวัฒนาการในรุ่นหลังๆครับ (ว่าแต่เปลี่ยนเป็นขอพิมพ์แซยิดแขนหักศอกแทนได้มั้ยครับ ราคาตามเซียนเพิ่ง 170000บาทเองครับ55555)(deejai)
    </TD></TR></TBODY></TABLE>
    ระหว่างที่ผมพิมพ์ไปนี้ คุณน้องนู๋ กับผมมีความเห็นที่คล้ายกันมากครับ ต่างคนต่างวิเคราะห์กันไปตามหลักวิชาวิเคราะห์พระพิมพ์สมเด็จ และสมเด็จเจ้าคุณกรมท่านั่นแหละครับ ที่ผมว่ามีค่ามากกว่า ๓๐๐,๐๐๐ บาท ใครเขาจะสอนให้คุณเก่งกว่าเขาในวงการนี้นอกจากอาจารย์ปู่ประถม อาจสาครแล้ว ลองบอกนามมา..ผมกล้าท้า

    ผมไม่อยากบอกเลยว่า พระพิมพ์ของหลวงปู่ภู วัดอินทรวิหาร จะต้องมีผงของหลวงปู่ใหญ่(พระพี่ชาย) และสมเด็จโตผสมอยู่ด้วยตามบันทึกข้างบนแน่นอนตามที่ผมยกมากล่าวทั้งหมดครับ

    ความรู้ในการวิเคราะห์พระพิมพ์นี้ผมไม่หวงครับ เพราะว่าหากคนไม่ชอบแล้ว ต่อให้ประเคนให้อ่าน ยังไงเขาก็ไม่สนใจอ่าน ของแบบนี้จึงขึ้นกับวาสนาของแต่ละคนที่จะไปพบเรื่องราวนี้ เรื่องราวนั้นในเวลาไหนตามวาระที่กำหนดไว้แล้วครับ หากสนใจ และมีวาสนาก็จะได้พบ หากไม่เชื่อก็เป็นเรื่องของท่าน หากเชื่อก็เป็นเรื่องของท่าน ไม่เกี่ยวกับผมเลย ต่อเมื่อท่านมีประสบการณ์ตรงเกิดกับท่านเองเท่านั้น ท่านจึงจะเชื่อเอง เมื่อนั้นก็ไม่รู้ว่าท่านปรามาสไปแล้วมากเท่าไหร่

    บทความนี้ผมไม่สงวนสิทธิ์ หากจะหยิบยกไปเผยแพร่ในที่ใด เพราะเจตนาต้องการเผยแพร่ความรู้ในเรื่องพระพิมพ์ ๒๔๐๘ อยู่แล้ว บอกตามตรงว่าผมไม่มีพระพิมพ์ฝีพระหัตถ์ปีพ.ศ. ๒๔๐๘ พิมพ์พิเศษ ๘ องค์นี้เลยแม้แต่องค์เดียว จึงไม่ต้องมาว่ากล่าวผมว่า ต้องการปั่นราคาพระสกุลวังหน้าพระพิมพ์ฝีพระหัตถ์พระปิ่นเกล้าฯ ปีพ.ศ. ๒๔๐๘ แต่ประการใด เพียงมั่นใจในความรู้ที่ท่านอาจารย์ปู่ประถม อาจสาครได้ถ่ายทอดให้ผมได้ทราบเท่านั้นครับ

    บอกแล้วไงว่า คนที่ไม่เชื่อเขาไม่เข้ามาดูถึงหน้านี้หรอกครับ คงมีแต่พวกเราเท่านั้นที่ได้รับทราบกัน อีกทั้งคนที่ไม่ขยันอ่านก็จะไม่ได้รับทราบด้วย เพราะคุณหนุ่มจะ post ทับไปหมด อยากรู้เรื่องใดต้องขยันอ่านมากๆ ภาพพระเก่าที่คุณหนุ่มเผลอ post ไว้ทั้งตั้งใจ และไม่ตั้งใจซึ่งจะไม่ post อีก ก็ยังพอมีให้เห็นกันในความเห็นเก่าๆ หากไม่รีบไปดู ไปค้นคว้า อีกไม่นานจะเสียดายกัน บอกได้เท่านี้ครับ...
    <!-- / message --><!-- sig -->
     
  17. :::เพชร:::

    :::เพชร::: เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    8,584
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +36,137
    พระพิมพ์หนึ่งที่น้อยคนจะรู้คือ พระพิมพ์รูปเหมือนขรัวแสง หรือหลวงปู่แสง(ท่านเป็นพระอาจารย์ของสมเด็จโต) วัดมณีชลขันธ์ จ.ลพบุรี สร้างในปีพ.ศ. ๒๕๑๘ แต่เป็นผงเก่าของหลวงปู่แสง หรือขรัวแสงสร้างแล้วบรรจุในโถเจดีย์วัดมณีชลขันธ์นั่นเอง เจดีย์นี้เป็นเจดีย์ที่หลวงปู่แสงสร้างเองไม่มีผู้ใดช่วยสร้าง จึงร่ำลือกันว่าท่านเป็นพระผู้มีบุญญาธิการสูงส่ง สามารถสร้างเจดีย์ที่ใหญ่โตมโหฬารด้วยตนเอง แม้แต่ในพระราชนิพนธ์ของล้นเกล้ารัชกาลที่ ๕ เองก็ยังชื่นชม ยกย่อง หลวงปู่แสง หรือขรัวแสง

    ด้วยความที่ท่านเป็นพระเกจิอาจารย์ผู้เรืองด้านวิปัสสนากรรมฐาน ที่โงดังมากที่สุดเมื่อเกือบ ๒๐๐ ปีก่อน จากชื่อเสี่ยง และกิตติศัพท์เป็น"หนึ่ง"นี้เอง จึงทำให้สามเณรโต(อายุระหว่าง ๑๖-๑๗ ปี) มาเรียนวิชาจากท่าน

    สามเณรโต ต่อมาก็คือ สมเด็จพระพุฒาจารย์โต พรหมรังสี แห่งวัดระฆัง ผู้ให้กำเนิดพระสมเด็จ แลพพระคาถาชินบัญชรอันลือลั่นสะท้านปฐพี..

    เรื่องราวของหลวงปู่แสงขอค้างเอาไว้ก่อน รอเก็บรวบรวมข้อมูลให้เป็นระเบียบก่อน จึงขอบอกเล่าเฉพาะการสร้างพระพิมพ์รูปเหมือนนี้ก่อน

    ในช่วงปีพ.ศ. ๒๕๑๐ เศษๆ เจดีย์องค์ที่หลวงปู่แสงสร้างนี้ได้ชำรุดทรุดโทรม ทางคณะสงฆ์วัดมณีชลขันธ์จึงได้ทำการบูรณะใหม่ พบว่าที่คอระฆังเกิดเป็นช่องโหว่ขึ้นมา เพราะคนร้ายเจาะเอาเอามีค่าไป จึงสำรวจพบว่า มีโถดินเผาอยู่ใบหนึ่งได้บรรจุ"ผงเก่าหลวงปู่แสง" จึงนำมาจัดสร้างพระพิมพ์รูปเหมือนหลวงปู่แสง ด้านหลังเป็นเจดีย์องค์ที่หลวงปู่แสงสร้างไว้ โดยผสมว่านชนิดต่างๆลงไป และผงเก่าคือ ผงของหลวงพ่อจง วัดหน้าต่างนอก เขียน และลบผงไว้ และอื่นๆ ซึ่งทางวัดได้เก็บรวบรวมไว้เป็นส่วนผสมหลัก

    พระพิมพ์รูปเหมือนหลวงปู่แสงนี้ได้เข้าพิธีพุทธาภิเษก ๓ ครั้ง
    พิธีพุทธาภิเษกครั้งแรกที่อุโบสถวัดมณีชลขันธ์ โดยมี
    ๑) หลวงปู่พริ้ง วัดโบสถ์โก่งธนู จงลพบุรี
    ๒) หลวงพ่อแพ วัดพิกุลทอง จ.สิงห์บุรี
    ๓) หลวงพ่ออุตตมะ วัดวังวิเวการาม จ.กาญจนบุรี
    ๔) หลวงปู่โต๊ะ วัดประดู่ฉิมพลี จ.กรุงเทพมหานคร
    ๕) หลวงบุญมี วัดเขาสมอคอน จ.ลพบุรี
    ๖) หลวงพ่อมัง วัดเทพกุญชร จ.ลพบุรี
    ๗) หลวงปู่สิม วัดถ้าผาป่อง จ.เชียงใหม่
    ๘) หลวงปู่ครูบาธรรมชัย วัดทุ่งหลวง จ.เชียงใหม่
    ๙) หลวงปู่บาง วัดหนองพลับ จ.สระบุรี

    พิธีพุทธาภิเษกครั้งที่ ๒ ปีพ.ศ. ๒๕๑๙ ที่ศูนย์สงครามพิเศษ โดยสมเด็จพระญาณสังวร(พระสังฆราชองค์ปัจจุบัน)

    พิธีพุทธาภิเษกครั้งที่ ๓ ปีพ.ศ. ๒๕๒๙ ที่วัดมณีชลขันธ์ เมื่อคราวหล่อรูปเหมือนหลวงปู่แสง

    หลังจากทีเจ้าอาวาสองค์ที่ ๙(พระครูวินัยรัตนมุนี) รับตำแหน่งเจ้าอาวาส จึงได้สำรวจทรัพย์สินอดีตเจ้าอาวาสองค์ที่ ๘ (คือพระอาจารย์อ่ำ ต่อมาได้รับสมณศักดิ์เป็นพระเทพวรคุณ) พบพระผงชุดนี้มีจำนวนไม่มากนัก บรรจุในลังไม้ฉำฉา ปลวกขึ้นทำรังเต็มไปหมด จึงนำออกแจกจ่ายสาธุชนที่ศรัทธาเท่านั้น

    พระพิมพ์รูปเหมือนหลวงปู่แสงนี้ พระเณรในวัดช่วยกันกดพิมพ์เอง จึงไม่สวยงามเหมือนออกจากโรงงานผลิต บางองคืออกสีเนื้อบางองค์ออกสีเข้มคล้ายน้ำตาลไหม้ บางองค์ขาวอมเหลือง สุดแล้วแต่ใส่ว่านมาก หรือน้อย เพราะไม่ชำนาญในการจัดสร้างมาก่อน แต่เนื้อพระทุกองค์แห้งแกร่ง

    เนื่องด้วยความอยากทราบประวัติของเจ้าอาวาสองค์ที่ ๘ นี้ เพราะสามารถจะต่อภาพของพระพิมพ์รูปเหมือนนี้ ผมลองสืบค้นไปจนพบว่า หลวงปู่ดูลย์ วัดบูรพาราม ได้เคยมาพำนักกับพระอาจารย์อ่ำ เป็นเวลาถึง ๓ เดือน การเจริญกรรมฐานของหลวงปู่ดูลย์ที่วัดมณีชลขันธ์ พระพิมพ์พระรูปเหมือนหลวงปู่แสงนี้เปรียบเสมือนได้รับการแผ่เมตตาจากหลวงปู่ดูลย์ไปด้วย ดังความนี้ครับ

    ๒๙. ไปภาวนาที่ถ้ำอรหันต์ ลพบุรี


    <!--mstheme-->
    เมื่อหลวงปู่ไปถึงจังหวัดลพบุรี ได้ไปพำนักกับ พระอาจารย์อ่ำ ซึ่งต่อมาภายหลังมีสมณศักดิ์ที่ พระเทพวรคุณ เจ้าอาวาสวัดมณีชลขันธ์
    หลวงปู่พำนักที่จังหวัดลพบุรีเป็นเวลา ๓ เดือน พระอาจารย์อ่ำทราบอัธยาศัยของหลวงปู่ว่าท่านมุ่งแสวงหาความวิเวก เพื่อบำเพ็ญธรรมให้ยิ่งๆ ขึ้นไป จึงได้พาหลวงปู่ไปพำนักที่ ถ้ำน้ำจันทร์ ซึ่งต่อมาเรียกว่า ถ้ำอรหันต์
    ที่ชาวบ้านเรียกถ้ำแห่งนี้ว่า "ถ้ำน้ำจันทร์" หรือ "ถ้ำน้ำ" ก็เพราะภายในถ้ำแห่งนี้มีแอ่งน้ำขนาดเล็ก น้ำใสสะอาดและมีกลิ่นหอม
    หลวงปู่ตั้งใจว่าจะบำเพ็ญภาวนาอยู่ที่นี่ไปเรื่อยๆ อย่างไม่มีกำหนด แต่แล้วท่านก็ไม่อาจอยู่ที่นั่นให้เนิ่นนานไปอีกได้
    <!-- / message --><!-- attachments --><FIELDSET class=fieldset><LEGEND>รูปขนาดเล็ก</LEGEND> attachment.jpg attachment.jpg
    </FIELDSET>
     
  18. guawn

    guawn เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    10,642
    ค่าพลัง:
    +42,113
    รับทราบการจองครับ
     
  19. กุ้งมังกอน

    กุ้งมังกอน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 สิงหาคม 2006
    โพสต์:
    142
    ค่าพลัง:
    +1,181
    สาธุ สาธุ สาธุ กับทุกๆท่านที่ร่วมบุญครับ.ข้าพเจ้าขออนุโมทนาบุญ ครั้งนี้
     
  20. guawn

    guawn เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    10,642
    ค่าพลัง:
    +42,113
    ผมตั้งใจว่าจบงานบุญที่ตั้งไว้ ก็คงต้องปิดการให้บูชาครับ
     

แชร์หน้านี้

Loading...