พระพุทธศาสนาสอนเรื่องจิตกับอารมณ์เท่านั้น

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย ธรรมภูต, 7 มีนาคม 2011.

  1. ธรรมภูต

    ธรรมภูต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    3,621
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +2,192
    คำถามครับ จิตดับ คือการดับอารมณ์

    จิตดับ คือการดับขันธ์ หรือคืนขันธ์

    ในที่นี้ จิตหมายถึงอะไร

    หรือ จิตเราดับได้ในชีวิตประจำวัน ผมชัก งง[/QUOTE]
    ^
    ^
    ก็ควรจะต้องเป็นแบบนั้น เพราะ จิตคือ ผู้รู้ อารมณ์คือสิ่งที่ถูกจิตรู้

    จิตปุถุชนรู้อารมณ์ มักยึดถือเอามาเป็นของตน รัก ชอบ ชัง

    ก็จะเกิดเวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณตามมา

    ถ้าจิตไม่ยึดมั่นถือมั่นในอารมณ์ล่ะ ก็เป็นสภาวะวิสังขาร คือสิ้นการปรุงแต่ง

    ที่เราพูดกันอยู่ในปัจจุบัน ล้วนเป็นของปุถุชน

    ที่ยังวนเวียนอยู่ในอารมณ์ตลอดทั้งวัน เดี๋ยวชอบ เดี๋ยวชัง

    ตามอารมณ์ที่เข้ามากระทบตลอดเวลา

    จิตจึงดับจากอารมณ์สู่อีกอารมณ์หนึ่งตลอดเวลาเราก็รู้เช่นกัน

    ฉะนั้นที่เกิดดับจึงเป็นอารมณ์กิเลสทั้งหลายข้อนี้มีพระพุทธพจน์รับรองไว้

    ลงมือพิสูจน์ด้วยการปฏิบัติสมาธิกรรมภาวนา ก็จะเห็นสภาวะธรรมที่ว่า

    มีพระพุทธพจน์รับรองว่า

    "ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พวกเธอ(ทุกคน)จงยังสมาธิให้เกิดขึ้นเถิด
    ผู้ที่มีจิตตั้งมั่นดีแล้ว ย่อมรู้เห็นตามความเป็นจริง(วิปัสสนาปัญญา)ดังนี้"
    ชัดๆไม่ต้องตีความใดๆทั้งสิ้น

    เจริญในธรรมทุกๆท่าน

     
  2. ฐาณัฏฐ์

    ฐาณัฏฐ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 มกราคม 2008
    โพสต์:
    6,197
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +4,075
    เอานะธรรมภูติ

    คำตอบเชิงถามกลับ แม้มันไม่ใช่คำตอบตรงๆ ที่นายหลงชี้แจงกลับไปก็ตาม

    แต่มันก็สนับสนุนคำตอบนายหลง ไปเรียบร้อยแล้ว

    ส่วนถ้าจะให้ขยาย คำตอบกึ่งถามกลับว่าใช่หรือไม่ นั้นไม่จำเป็น

    เพราะลีลาแบบนี้ เห็นมาหลายกระทู้ในพันทิป และบอร์ดอื่นๆ จึงไม่ขอเสียเวลาดีกว่า

    ที่ต่างกัน มันจุดเดียว คือเห็น จิตเที่ยง วิญญาณไม่ใช่จิต หรือ จิตคือนิพพาน

    ผู้รู้ท่านก็ออกมาให้ ถือพระไตรปิฏกเป็นที่ตั้ง

    เรื่องตีความ เกิดทัศนะต่างๆที่วิปริตไปจากเถรวาท เป็นสสัสตทิฏฐิ

    ข้อนี้ เขาก็ชี้กันแล้วว่า ไม่ใช่ทัศนะพุทธเถรวาท




    เดี๋ยวจะดูว่าคำถามไหนน่าสนใจแล้วจะกลับมาตอบ เป็นข้อๆ ขอตัวก่อน ^^
     
  3. ฐาณัฏฐ์

    ฐาณัฏฐ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 มกราคม 2008
    โพสต์:
    6,197
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +4,075
    ก็เข้าใจทิฏฐิความคิดธรรมภูติทุกอย่างนั้นแหละ

    คุณธรรมภูติสนใจ ใส่ใจที่นายหลงตอบไปบ้างไหม ว่าสิ่งไหนพูดไปแล้ว ตอบกลับไปแล้ว
     
  4. ฐาณัฏฐ์

    ฐาณัฏฐ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 มกราคม 2008
    โพสต์:
    6,197
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +4,075
    ขอแสดงทัศนะดังนี้

    ถูกแล้ว

    หมดความยึดมั่นแห่งจิต หมายถึง หมดเหตุแห่งรูปนาม นิพพานย่อมปรากฏ

    ถูกแล้ว

    อนิจฺจา สพฺพสงฺขารา ทุกฺขานตฺตา จ สงฺขตา นิพฺพานญฺเจว ปณฺณตฺติ อนตฺตา อิติ นิจฺฉยา

    "สังขารทั้งปวงอันปัจจัยปรุงแต่ง ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา "

    ผิดแล้ว

    ในคัมภีร์มิลินทปัญหา พระนาคเสนทูลแก้ปัญหาของพระยามิลินท์ที่ทรงถามว่า

    ถ้านิพพานไม่มีที่ตั้งอาศัย นิพพานก็ย่อมไม่มี โดยกราบทูลว่า

    "ขอถวายพระพรมหาบพิตร โอกาสอันเป็นที่ตั้งของนิพพานหามีไม่ แต่นิพพานนั้นมีอยู่

    พระโยคาวจรผู้ปฏิบัติชอบ ย่อมทำให้แจ้งนิพพาน ด้วยการพิจารณาโดยอุบายอันแยบคาย มหาบพิตร

    เหมือนดั่งว่าชื่อว่าไฟย่อมมีอยู่ แต่โอกาสอันเป็นที่ตั้งของไฟนั้นหามีไม่

    เมื่อบุคคลเอาไม้สองอันมาขัดสีกันก็ย่อมได้ไฟขึ้นมาฉันใด

    มหาบพิตร นิพพานก็มีอยู่ฉันนั้นนั่นแล โอกาสอันเป็นที่ตั้งของนิพพานนั้นไม่มี (แต่)

    พระโยคาวจรผู้ปฏิบัติชอบ ย่อมทำนิพพานให้แจ้งด้วยการพิจารณาโดยอุบายอันแยบคาย..."(มิลินฺท.336)

    ข้อนี้ตอบไม่ยาก

    "นิพพานมีอยู่ แต่ไม่มีผู้เข้าถึงนิพพาน มรรคามีอยู่ แต่ปราศจากผู้ดำเนินไป" (วิสุทฺธิ.3/101)

    เพราะคุณสำคัญ จิตเป็นเราอยู่ หมายถึง มีผู้พ้นเขาไปเสวยสุข เป็นเมืองแก้วในนิพพาน

    ซึ่งเป็นมิจฉาทิฏฐิ บรมอัตตา สำคัญมั่นหมานความหลุดพ้นปรากฏแห่งจิต



    " ความมีอยู่ของพระนิพพาน มิใช่สภาวะที่เกิดจากการสร้างสรรค์ของจิต

    แต่มีอยู่โดยตัวของตัวเอง คือเป็นความจริงขั้นปรมัตถสัจ

    ที่ตรงข้ามกับสมมติสัจในโลกแห่งปรากฏการณ์ มีสภาวะที่เที่ยง

    ไม่ใช่สิ่งที่เกิดดับสลับกันไปแบบสิ่งต่างๆ ในโลก

    นิพพานจึงเป็นอสังขตธรรมที่พ้นไปจากปัจจัยปรุงแต่ง

    ในสภาวะของนิพพานทั้งนาม (จิต) และรูป ย่อมดับไม่เหลือ "

    ดังพุทธวจนะในเกวัฏฏสูตร ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค ได้กล่าวถึงนิพพานว่าเป็น

    "ธรรมชาติที่รู้แจ้ง ไม่มีใครชี้ได้ ไม่มีที่สุด แจ่มใสโดยประการทั้งปวง
    ปฐวีธาตุ อาโปธาตุ เตโชธาตุ และวาโยธาตุ ย่อมตั้งอยู่ไม่ได้ในธรรมนี้
    อุปาทยรูปที่ยาวและสั้น ละเอียดและหยาบ ที่งามและไม่งาม
    ย่อมตั้งอยู่ไม่ได้ในธรรมนี้ นามและรูปย่อมดับไม่มีเหลือในธรรมชาตินี้
    เพราะวิญญาณดับ นามและรูปย่อมดับ ไม่มีเหลือในธรรมชาติ ดังนี้ฯ"

    (ที.สี.14/350

    ที่มา นิพพาน หมายถึง สภาพที่ดับกิเลสและกองทุกข์

    นั้นแล เห็นตั้งกระทู้ ธรรมภูติเรื่องจิตเที่ยงอมตะ

    ทัศนะท่านไม่ต่างกันเลย ^^

    สิ่งที่รู้ ที่พิจารณาอัตตา ว่าเป็นอนัตตา นั้นก็เป็นอนัตตาโดยตัวมันเอง

    เมื่อธรรมชาติอนัตตาโดยสัจจะ ภาวะอนัตตาย่อมปรากฏ โดยสมบูรณ์

    ภาวะนั้นไม่เหลือผู้กล่าวแล้วว่า อัตตามีอยู่โดย



    อุปมาเหมือน นี้อุปาทานว่ารถยนต์คันหรู

    เมื่อจับพวงมาลัย นี้ก้ไม่เรียกว่ารถ

    ถอนเครื่องยนต์นี้ก้ไม่เรียกว่ารถ

    ถอนเบาะนั่ง นี้ก็ไม่เรียกว่ารถ

    เมื่อถอนอะไหล่มากองจนหมด ภาวะเป็นรถย่อมไม่ปรากฏอีกต่อไป

    ฉันนั้น

    ที่เห็นเป็นเรา ของเรา เพราะอุปทาน

    จึงพิจารณา ความเป็นธาตุ ขันธ์ อายตนะ ปฏิจสมุปบาท

    เพื่อคลายความยึดมั่น ความเป็นตัวตน

    หากยังมีความรู้สึกว่าจิตเป็นผู้พ้น เมื่อนั้น ไม่กล่าวว่า หมดผู้พ้น



    พระสูตรในนิกายเซ็น: พระพุทธเจ้าตรัสว่า

    " ดูกรกัสสปะ ท่านมีธรรมจักษุครรถ์อันถูกต้อง เพราะนิพพานจิต ลักษณะที่แท้จริง ย่อมไม่มีลักษณะ เธอพงรักษาไว้ให้ดี ”

    ถ้าศึกษา นิกายเซน ทัศนะจะไม่ลงกัน กับ เถรวาท

    เรื่องจิตเดิมแท้ ข้อนี้โต้เถียงกันมานานแล้วครับ


    :cool:

    ปล.ท่านอื่นที่เข้ามาอ่านทีหลัง เห็นว่าเป็นเรื่องใกลตัว ไม่ควรกล่าว ก็ให้ข้ามไปเสีย

    ให้ถือว่า เป็นเพียงประโยคสนทนา คนตาบอดคุุยกับคนตาบอด
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 18 มกราคม 2012
  5. kengkenny2

    kengkenny2 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 พฤษภาคม 2011
    โพสต์:
    592
    ค่าพลัง:
    +289
    ผมว่าทั้งวงของปฏิจจสมุปปาท คือ จิตครับ และคำว่าสังขารคือความปรุงแต่งที่เกิดขึ้น จิตสังขารคือจิตที่ไม่อาจพ้นจากวัฏของธรรมคือปฏิจจสมุปปาท กลายเป็นวิญญาณธาตุ ไม่ใช่วิญญาณขันธ์
    เพราะมีอวิชชาจึงมีสังขาร เมื่อจิตมีความเป็นอวิชชาเข้าครอบย่อมก่อเกิดความปรุงแต่ง
    เพราะมีสังขารจึงมีวิญญาณ เมื่อจิตมีความปรุงแต่งเกิดขึ้นจิตจึงเกิดการรับรู้ หรือน้อมรับเรียกนั่นคือวิญญาณ ไม่ว่าจะทางใด
    เพราะมีวิญญาณจึงมีนามรูป เพราะจิตน้อมรับให้เกิดการรับรู้หรือวิญญาณจึงพยายามระบุหรือบัญญัติสิ่งต่างขึ้นเรียกว่า นามรูป
    เพราะมีนามรูปจึงมีสฬายตนะ เพราะเมื่อบัญญัตินั้นเกิดขึ้นแล้วจะดำเนินต่อไปได้ต้องอาศัยการรับรู้ทางทวารทั้งหลายคือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ คือ สฬายตนะ
    เพราะมีสฬายตนะจึงมีผัสสะ เพราะเมื่อทวารทั้งหลายรับรู้แล้วย่อมเกิด...การผสมผสานภายใน ขันธ์ทั้ง ๕ คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร และวิญญาณ คือ ผัสสะ
    เพราะมีผัสสะจึงมีเวทนา เพราะเมื่อผัสสะผสมผสานกันอาศัยขันธ์ทั้งหลายเป็นเครื่องรู้จึงเกิดการยอมรับน้อมเอา อาการต่างๆเป็นเวทนารมณ์ที่เกิดขึ้นกับจิต
    เพราะมีเวทนาจึงมีตัณหา เพราะเมื่อเวทนารมณ์เกิดขึ้นย่อมส่งผลให้จิตเกิดความทะยานอยาก ก็เป็นได้ทั้ง 3 ลักษณะ กามตัณหา ภวตัณหา วิภวตัณหา
    เพราะมีตัณหาจึงมีอุปาทาน เพราะความทะยานอยากเกิดแล้วความยึดมั่นถือมั่นในเหตุทั้งหลายย่อมปรากฏ นี้คือ อุปาทาน
    เพราะมีอุปาทานจึงมีภพ เพราะเมื่อความยินดีพอใจในความยึดมั่นถือมั่นเกิดขึ้นแล้วจิตมีความยินที่จะรับสิ่งต่างทั้งหลายที่ผ่านมาไว้ครอบครองนั่นเรียกว่าภพ
    เพราะมีภพจึงมีชาติ เพราะเมื่อความยินดีในความยึดมั่นถือมั่นนั้นเกิดย่อมเป็นเหตุให้ถึงความมีการเกิดขึ้นของจิตที่แตกต่างกัน เมื่อมากด้วยภพก็ย่อมมากด้วยชาติ คือการเกิดขึ้นเป็นจิตสังขาร
    เพราะมีชาติจึงมีชรา มรณะ เพราะเมื่อจิตสังขารที่เกิดขึ้นเมื่อเกิดแล้วย่อมมีความดับความเสื่อมไปเป็นธรรมดาเป็นชรา มรณะ
    เพราะมีชรา มรณะ จึงมีโสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส อุปายาส ความที่จิตหลงอยู่ในเรื่องราวเหล่านั้น จึงเป็นเหตุให้เกิดหรือเป็นเชื้อของอวิชชาต่อไป และดำเนินสู่จุดเดิม
    ผมก็เข้าใจแบบนี้อาจผิดไปจากความเป็นจริงเพราะผมไม่ใช่ผู้บรรลุธรรมแต่อาศัยการมองและพิจารณาไปตามนั้น จึงเห็นว่า จิต จริงๆไม่ได้เกี่ยวของกับวิญญาณขันธ์ วิญญาณขันธ์เป็นสื่อให้รู้ และสิ่งที่รู้คือจิต ซึ่งอาศัยกันอยู่ตลอดเวลา วิญญาณขันธ์และวิญญาณธาตุ จึงไม่น่าจะเป็นอันเดียวกัน คือผมพิจารณาปฏิบัติมาน้อยรู้เพียงเท่านี้
    หากผิดไปก็ขอให้ท่านทั้งหลายอภัยด้วย และแนะนำแนวทางแก้ไขให้ได้ปฏิบัติให้ดีและเจริญยิ่งขึ้น
    สาธุคั๊บ
     
  6. ฐาณัฏฐ์

    ฐาณัฏฐ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 มกราคม 2008
    โพสต์:
    6,197
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +4,075
    นี่ดีกว่า คุณ kenny2

    ทัศนะส่วนตัว ความหมดเหตุเกิด ไม่มีการเกิดทุกรูปแบบ

    ไท่มีการไปหลอมรวมกับพระเจ้า ไม่มีพื้น ไม่มีฟ้า ไม่มีกำแพงให้ทรงอยู่อีกต่อไป

    ถือว่าเป็นสุขอย่างยิ่ง เป็นอมตะอย่างยิ่ง

    คิดเห็นเป็นไฉน :cool:
     
  7. kengkenny2

    kengkenny2 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 พฤษภาคม 2011
    โพสต์:
    592
    ค่าพลัง:
    +289
    ไม่เห็นด้วยครับ มันง่ายไป
     
  8. ฐาณัฏฐ์

    ฐาณัฏฐ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 มกราคม 2008
    โพสต์:
    6,197
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +4,075
    เป็นอุปมา ทัศนะนะครับ อาจไม่ถูกเสมอไป



    แปลว่า ต้องมีกำแพง เขตแดน มีวิมาร มีผู้เสพความเป็นอมตะอย่างนั้นหรือ

    ขอความรู้ด้วย

    สาธุกั๊บ
     
  9. ฐาณัฏฐ์

    ฐาณัฏฐ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 มกราคม 2008
    โพสต์:
    6,197
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +4,075
    ผมเข้าใจทัศนะคุณแล้ว

    ๓ ใน ๔ ที่นำมาอ้างอิง เป็นคำภียร์มหายาน

    ถ้าคุณศึกษางานเขียน อ.เสถียร โพธินันธะ

    ก็ควรทราบว่า มหายาณมีการแตกทัศนะออกไปอีกหลายนิกาย

    และปกร์ณตำราขยายออกไปอีกหลายรุ่น

    บางบทความก็เป็นบทพรรณาเชิงโวหารไปตามยุคสมัย

    ทั้งนี้ปัญหาข้องใจต่างๆ ที่มีทัศนะขัดแย้งกันนั้น พระโกษาจารย์ผู้รจนาวิสุทธิมรรค ก็ได้แก้ให้แล้ว

    รวมถึงนิกายสูญตาวาท พระนาถชุนก้ได้แก้ทัศนะ ความดำรงค์อยู่ของอัตตาในพระนิพานไปแล้ว

    ทีนี้ที่ผมสนทนา ก็ยืนอยู่ที่พระไตรปิฏกเถรวาท ที่ตรงต่อพุทธกาล

    ถือคนละตำรามันจบยากครับ ^^
     
  10. ฐาณัฏฐ์

    ฐาณัฏฐ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 มกราคม 2008
    โพสต์:
    6,197
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +4,075
    ไม่ถูกนะครับ

    แต่ละศาสนาสอนกันไปคนละทางเลย แต่ไม่พ้น พระเจ้า

    สอนให้คนมีศีล ทำดี มีสวรรค์เป็นภพ

    ในพุทธศาสนาก็มีกล่าวสวรรค์ นรก แต่ล้ำไปถึงนิพพาน

    ที่เห็นๆ ศาสนาที่มีทัศนะสูงๆอย่างนั้น ก็มีพุทธ และพราห์ม

    พราห์ม มุ่งมีผู้พ้น ไปเสพอมตะ หรือ อัตมัน หรือไปหลอมรวมกับจักรวาล

    ส่วนพุทธ มุ่งดับกิเลส ดับความยึดมั่นในความเป็นตัวเป็นตน จนหมดผู้พ้น นั้นแหละที่สุดของนิพพาน
     
  11. ฐาณัฏฐ์

    ฐาณัฏฐ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 มกราคม 2008
    โพสต์:
    6,197
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +4,075
    เข้าทางจิตจักรวาลรึเปล่าเนี่ย ^^
     
  12. ฐาณัฏฐ์

    ฐาณัฏฐ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 มกราคม 2008
    โพสต์:
    6,197
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +4,075
    จิตประภัสสร ท่านพรรณา ธรรมชาติจิตถึงความผ่องใส

    ตรงนี้เซน ไปตีเป็น จิตเดิมแท้ หรือ จิตหลุดพ้น

    แต่ที่เศร้าหมองเพราะกิเลสจรมา

    ตรงนี้แก้ว่า ถ้ามันเดิมแท้ ถึงความบริสุทธิ์แล้ว แล้วกลับมาเศร้าหมองได้อย่างไร

    พระอริยะก็กลับมาเศร้าหมองได้อย่างนั้นหรือ


    ไม่มีแล้วเล่นเกมส์ มันเข้าทางมนุษย์ต้นกัลป์

    ที่เป็นพรหม ลงมากินง้วนดิน

    ความผ่องใสก็จางหาย เพราะกิเลส ตรงนี้มันเข้าทางทัศนะท่านนะ ^^
     
  13. ฐาณัฏฐ์

    ฐาณัฏฐ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 มกราคม 2008
    โพสต์:
    6,197
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +4,075
    นี่ต้องไม่ลืมนะ

    อาจารย์บางพวก ระลึกได้ ๑ชาติ ๑๐ ชาติ ๑๐๐ ชาติ

    จนไปเห็นถึงภาวะความเป็นอรูปพรหม ที่เนิ่นนานหลายกัลป์ จนเข้าใจว่าสิ้นสุดแล้วก็มี

    จึงสำคัญว่า มีตนอยู่ผู้เดียว จนสำคัญผิดตั้งตนเป็นพระเจ้าผู้สร้างบ้าง มีภพมีสถานที่บ้าง

    อันนี้น่าคิด หากมีทัศนะอย่างนี้มาแต่งตำรา


    เป็นทัศนะนะครับ ^^
     
  14. ฐาณัฏฐ์

    ฐาณัฏฐ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 มกราคม 2008
    โพสต์:
    6,197
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +4,075
    ผู้หมดความยึดมั่นแห่งจิตแล้ว เขาไม่เรียกนิพพานว่าจิต ^^


     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 19 มกราคม 2012
  15. แปะแปะ

    แปะแปะ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 ตุลาคม 2010
    โพสต์:
    780
    ค่าพลัง:
    +128
    อ้างอิง 3. ในลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัส เทศนาต่อไปอีกว่า อานนฺท ดูกรอานนท์ นิพฺพานํ นครํ นาม อันชื่อว่าเมืองพระนิพพาน ย่อมตั้งอยู่ในที่สุดแห่งโลก โลกมีที่สุดเพียงใด พระนิพพานก็ตั้งอยู่ที่สุดนั้น พระนิพพาน เป็นพระมหานครอันใหญ่ เป็นที่บรมสุขหาที่เปรียบมิได้

    นายหลงอ่านตรงนี้เข้าใจได้ไหมว่า ต้นแหล่งมาจากที่ใด ?

    สิ่งที่ผู้นั้นถือมาเขาก็ต้องบอกว่าเป็นของเขา และเป็นของที่มีค่าสำหรับเขา
     
  16. ธรรมภูต

    ธรรมภูต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    3,621
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +2,192
    ^
    ^
    หลงก็เป็นอย่างนี้ทุกที
    เมื่อคิดจะไม่ตอบ ก็ออกอาการนี้ประจำ
    ถามชัดเจนทุกครั้ง ใช่หรือไม่? ใช่เพราะอะไร? ไม่ใช่เพราะอะไร?

    ทุกครั้งที่หลงถามมา ก็ชี้แจงที่ถามไปแบบตรงๆไม่เคยเลี่ยง
    บอกว่าไม่สนใจหลงได้ไง ที่หลงตอบมานั้น
    ไปไหนมาสามวา สองศอก ไม่ให้ถามกลับได้ยังไงล่ะ

    หลงชอบออกอาการเล่าเรื่องที่ตนเองคิดว่าถูก
    ที่หลงพูดไปนั้น หลงพูดแบบเข้าใจเองคนเดียว
    หรือพรรคพวกท่องตำรามาแบบเดียวกันที่เข้าใจ

    ถ้าต้องการสนทนาเพื่อค้นหาความจริงแล้วล่ะ คำถามใช่หรือไม่?ชัดเจนที่สุด
    หรือจะให้ไปขึ้นกระทู้มาว่ากันสองคน
    เอาแบบชัดๆ ไม่ต้องรีบ ถามมาตอบไปแบบทีละครั้ง แบบรอได้
    ไม่ใช่ฟลัดกระทู้แบบทุกวันนี้ เพื่อเบี่ยงประเด็นออกไป

    มาว่ากันเรื่องนี้ก็ดีนะว่า พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์
    มีอยู่จริงหรือไม่? หรือเป็นเพียงแค่สมมุติเท่านั้น?
    ขอเถอะอย่ามาอ้างเถรวาทเลย
    ขนาดพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์มีอยู่จริง หลงก็ยังไม่เชื่อเลย
    ยังจะเอาคำว่า"เถรวทามาบังหน้าอีกหรือ?

    กระทู้นี้คุยเรื่องอะไร ใช่เรื่องจิตกับอารมณ์หรือไม่?
    หัวใจพระพุทธศาสนาที่ทุกคนยอมรับคือ
    ๑.ละชั่ว คือ จิตละอารมณ์ที่คิดชั่ว(อกุศลธรรม)ที่มีอยู่ให้หมดไปใช่หรือไม่?
    ๒.ทำดี คือ จิตสร้างกุศลธรรมกรรมดีคืออารมณ์ภาวนาให้ชัดๆใช่หรือไม่?
    ๓.ชำระจิตใจให้บริสุทธิ์หมดจดจากเครื่องเศร้าหมองทั้งหลาย ด้วยอิริยมรรคมีองค์๘
    สรุปโดยย่นย่อ พระพุทธองค์ทรงสอนเรื่องจิตกับอารมณ์ใช่หรือไม่?

    ปล. ถ้งหลงระลึกได้ หลงก็คงจะรู้นะว่า เลี่ยงตอบคำถามมามากน้อยเท่าไหร่แล้ว

    เจริญในธรรมทุกๆท่าน
     
  17. ธรรมภูต

    ธรรมภูต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    3,621
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +2,192
    ^
    ^
    หลงไม่รู้จริงหรือว่า ที่พันทิพหนะ เขียนบทความไปลงอยู่บ่อยๆ
    มีคนให้ใช้ล๊อกอินว่า "ในความฝันของใครสักคน" ลองไปค้นดูนะ
    แล้วหลงก็จะรู้ว่า คนที่พันทิพเค้ามีคุณภาพขนาด ไม่ดันทุรังโดยขาดเหตุผล
    การตอบถามชัดเจนในประเด็น มีที่อ้างอิง ยอมรับในเหตุผลที่ยกมา
    ส่วนจะเชื่อหรือไม่เชื่อนั้น เป็นเรื่องสิทธิส่วนบุคคลห้ามกันไม่ได้..

    เอ้าหลงตอนนี้ไปเอาจิตเดิมแท้ที่ไม่มีขันธ์๔มาจากไหนอีกล่ะ พูดเข้าไปนั่น
    จิตเดิมแท้ที่ยังไม่ได้ความบริสุทธิ์ มีที่ไหนที่ไม่มีนามขันธ์
    เรากำลังพูดถึงเรื่องอะไร คนตายใช่หรือไม่?
    ในโรงพยาบาลห้องที่เก็บคนตายเรียกห้องดับจิตใช่หรือไม่?

    หลงผิดตรงไหนเหรอ ก็จิตดับไปจากกิเลส(หลุดพ้น)
    ไม่ใช่จิตดับตายหายสูญไปไหน แบบที่เที่ยวสอนกันไว้แบบผิดจากความเป็นจริง
    แล้วก็จิตดวงใหม่ก็เกิดขึ้นมารับกรรมแทนจิตเก่าที่ดับหายไป(ช่างไม่ยุติธรรมเอาเสียจริงๆ)
    เป็นจิตประเภทที่ชอบทำกรรมไว้แต่ไม่รับผิดชอบ รีบหนีตายไปก่อน ให้จิตดวงอื่นมารับแทน
    เมื่อจิตดับไปจากกิเลส(หลุดพ้น) รูป เวทนา สัญญา สังขารวิญญาณ(อุปาทานขันธ์)
    ย่อมต้องวิมุตติหลุดพ้นเป็นธรรมดาใช่หรือไม่?
    หลงอย่าเที่ยวพูดส่งๆไปแบบไม่กลัวบาปนะว่าเป็นสำนักของธรรมภูต
    ที่ยกมาทั้งหมด แท้จริงแล้วเป็นสำนักขององค์พระศาสดาของเรา
    หลงเอง และพรรคพวกยังเชื่อว่าพระพุทธเจ้า เป็นเพียงสมมุติไม่มีอยู่จริงใช่หรือไม่? บาปกรรมๆ

    หลงลองไปถามคนที่ทำงานในโรงพยาบาลดูสิ
    คนตายมีจิตผู้รู้มั้ย? คนตายทุกคนล้วน ดับจิต(ผู้รู้)ออกไปจากกายแล้วใช่หรือไม่?

    เจริญในธรรมทุกๆท่าน
     
  18. ธรรมภูต

    ธรรมภูต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    3,621
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +2,192
    เมื่อวานนี้, 08:34 PM #102
    ธรรมภูต
    สมาชิก



    วันที่สมัคร: Aug 2008
    ข้อความ: 2,938
    พลังการให้คะแนน: 407

    คำถามครับ จิตดับ คือการดับอารมณ์

    จิตดับ คือการดับขันธ์ หรือคืนขันธ์

    ในที่นี้ จิตหมายถึงอะไร

    หรือ จิตเราดับได้ในชีวิตประจำวัน ผมชัก งง[/QUOTE]
    ^
    ^
    ก็ควรจะต้องเป็นแบบนั้น เพราะ จิตคือ ผู้รู้ อารมณ์คือสิ่งที่ถูกจิตรู้

    จิตปุถุชนรู้อารมณ์ มักยึดถือเอามาเป็นของตน รัก ชอบ ชัง

    ก็จะเกิดเวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณตามมา

    ถ้าจิตไม่ยึดมั่นถือมั่นในอารมณ์ล่ะ ก็เป็นสภาวะวิสังขาร คือสิ้นการปรุงแต่ง

    ที่เราพูดกันอยู่ในปัจจุบัน ล้วนเป็นของปุถุชน

    ที่ยังวนเวียนอยู่ในอารมณ์ตลอดทั้งวัน เดี๋ยวชอบ เดี๋ยวชัง

    ตามอารมณ์ที่เข้ามากระทบตลอดเวลา

    จิตจึงดับจากอารมณ์หนึ่งสู่อีกอารมณ์หนึ่งตลอดเวลา เราก็รู้เช่นกัน

    ฉะนั้นที่เกิดดับจึงเป็นอารมณ์กิเลสทั้งหลาย ข้อนี้มีพระพุทธพจน์รับรองไว้

    ลงมือพิสูจน์ด้วยการปฏิบัติสมาธิกรรมภาวนา ก็จะเห็นสภาวะธรรมที่ว่า

    มีพระพุทธพจน์รับรองว่า

    "ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พวกเธอ(ทุกคน)จงยังสมาธิให้เกิดขึ้นเถิด
    ผู้ที่มีจิตตั้งมั่นดีแล้ว ย่อมรู้เห็นตามความเป็นจริง(วิปัสสนาปัญญา)ดังนี้"
    ชัดๆไม่ต้องตีความใดๆทั้งสิ้น

    เจริญในธรรมทุกๆท่าน

    __________________

    ตอบไปตั้งแต่เมื่อวาน ก็หลงไม่ยอมอ่านเอง
    คิดแต่จะพูดในสิ่งอยากพูดเท่านั้นเหรอ
    สนทนาธรรม เพื่อค้นหาความจริง(สัจจะธรรม) ไม่ใช่ค้นหาว่าอยากพูดอะไร
    เจริญในธรรมทุกๆท่าน
     
  19. ผู้พันจุ่น

    ผู้พันจุ่น เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 สิงหาคม 2007
    โพสต์:
    1,396
    ค่าพลัง:
    +2,983
    มีความรู้เป็นสัมมาทิฏฐิทุกท่านครับ ...

    การหาภาษามาพูดให้คนอ่านเข้าใจในเรื่องนาม มันเป็นเรื่องยากมาก
    แต่ก็พยายามที่จะอธิบายด้วยภาษาที่บัญญัติ มันก็มีใช้น้อยด้วย
    หากแต่ท่านที่เข้าใจในภาษาเขียนที่สื่อให้ทราบ เมื่อปฏิบัติถึงสภาวะนั้น คงทราบดี

    เราจึงไม่ควรเสียดสีกันว่า ดีกว่า เก่งกว่า เพราะ บางคนรู้ แต่อธิบายไม่ได้
    บางทีอธิบายได้ แต่บางคนกลับไม่รู้ จึง ไปด้วยกันยากในสภาวะของ ปรมัตถ์

    อนุโมทนาในความรู้ของทุกท่าน ที่อธิบาย เผยแผ่ธรรมให้ทราบ เราคงไม่อาจหา
    ความรู้เช่นนี้ได้ที่ไหน มากกว่าที่เวปนี้ และหลาย ๆ เวป ที่เหมือนกัน

    ขอให้ถึงวิมุติ ทุกท่านครับ...........
     
  20. ธรรมภูต

    ธรรมภูต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    3,621
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +2,192

    ^
    ^
    เอ้าหลงจ๊ะ พูดเข้าพูดออกก็ได้ด้วยนะ

    พูดเองว่า ผู้หลุดพ้นก็ไม่มี ไม่มีอะไรทั้งนั้น มีไม่ได้ มีได้แต่พระนิพพานเท่านั้น

    หมดความยึดมั่นแห่งจิต อย่าเลี่ยงนะว่า ที่ยกมาหมายถึงไม่ยึดมั่นในจิต?

    ถ้าบอกว่าไม่ยึดมั่นในจิต ใครหรืออะไรที่ไม่ยึดมั่นในจิต

    ความหมายของคำก็ชัดเจนในตัวแล้วว่า หมดความยึดมั่นแห่งจิตดวงนั้น

    ไม่ต้องตีความใดๆเลย เพราะใช่คำว่า"หมดความยึดมั่น" ความยึดมั่นหมดลงที่ไหน?

    ทำไมถึงต้องจิตดวงนั้นหละ ก็เพราะจิตของพระพุทธองค์(จิตดวงนั้น)สิ้นการปรุงแต่ง

    หลุดพ้นจากอุปกิเลสทั้งหลาย หมดความยึดมั่นถือมั่น บรรลุพระนิพพาน เพราะสิ้นตัณหาใช่หรือไม่?

    เจริญในธรรมทุกๆท่าน
     

แชร์หน้านี้

Loading...