ความหมายของการดูจิต

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย กระรอกน้อย, 4 พฤศจิกายน 2009.

  1. ธรรมภูต

    ธรรมภูต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    3,621
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +2,192
    ท่านกระรอกน้อยครับ
    การที่ท่านจะเอาอะไรมาลง ท่านควรนำเอาไปเปรียบกับพระสูตรให้ดีก่อน จะได้ไม่เป็นการกล่าวตู่พระพุทธพจน์

    ที่ท่านยกมานั้นเป็นเพียงการกล่าวอ้างพระสูตรเท่านั้น ในมหาสติปัฏฐานสูตรนั้นกล่าวไว้ชัดเจนว่า
    สติปัฏฐาน๔ ไม่ใช่สติปัฏฐาน๓อย่างที่ท่านยกมา แถมยังแอบอ้างว่าเป็นวิปัสสนาล้วน ซึ่งไม่เป็นความจริงเลย

    ในมหาสติปัฏฐานสูตรนั้นเป็นทั้งสมถะและวิปัสสนาในตัวอยู่แล้ว โดยแยกออกจากกันไม่ได้โดยเด็ดขาด

    เพราะในต้นพระสูตรก็กล่าวไว้ชัดเจนอยู่แล้วว่า
    "ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพิจารณาเห็นกายในกายอยู่อย่างไรเล่า?
    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้(ขอย้ำภิกษุในธรรมวินัยนี้)
    ไปแล้วสู่ป่าก็ดี ไปแล้วสู่โคนไม้ก็ดี ปสู่ที่ว่างเปล่าจากเรือนก็ดี
    นั่งคู้บัลลังก์(ขัดสมาธิ) ตั้งกายให้ตรง ดำรงสติเฉพาะหน้า

    เธอย่อมมีสติหายใจเข้า ย่อมมีสติหายใจออก
    เมื่อหายใจเข้ายาว ก็รู้ชัด เมื่อหายใจออกยาว ก็รู้ชัด" ใช่สมถะมั้ย???

    เลิกคิดเองเออเองได้แล้วครับ ว่าการดูจิตต้องฐานเวทนา ฐานจิต ฐานธรรมเท่านั้น
    ซึ่งเป็นไปไม่ได้เลย คนที่ยังไม่เคยปฏิบัติสมาธิกรรมฐานภาวนา
    จนกระทั่งเห็นกายในกายเป็นภายใน เวทนาในเวทนา จิตในจิต ธรรมในธรรมเป็นภายในบ้าง
    มาถึงก็พิจารณาฐานเวทนา ฐานจิต ฐานธรรม โดยไม่เคยมีพื้นฐานการพิจารณากายคตาสติกรรมฐานมาก่อน

    เมื่อรู้จักฐานกายดีแล้ว ย่อมรู้จักฐานเวทนา ฐานจิต ฐานธรรมไปเอง อย่าแยกธรรมเองโดยพละการ

    ส่วนการดูจิตที่พระบรมครูท่านทรงสอนพวกเรานั้น ให้จากพิจารณากายในกายเป็นภายในให้รู้จักดีเสียก่อน
    ทำไมเป็นเช่นนั้น? ไม่ว่าฐายเวทนา ฐานจิต ฐานธรรมล้วนแล้วเกิดขึ้นที่กายทั้งสิ้น
    เวนทาเกิดขึ้นที่ไหน??? จิตอาศัยอยู่ในไหน??? ธรรมทั้งหลายพระองค์ทรงบัญญัติลงที่ไหน??? ถ้าไม่ใช่ที่กาย

    ฉะนั้นในมหาสติปัฏฐานสูตร จึงเพรียบพร้อมไปด้วยสมถะและวิปัสสนาดังได้กล่าวมาแล้ว
    ในหมวดธรรม พระองค์ท่านทรงมีกล่าวถึงสัมาสมาธิด้วย ใครว่ามีเฉพาะวิปัสสนาเท่านั้น
    ของที่พระพุทธองค์ทรงกล่าวไว้ดีแล้วว่าไม่ควรแยก เราชาวพุทธก็ไม่ควรแยกเองโดยพละการ....

    ;aa24
     
  2. ศุภกร เต็มคำขวัญ

    ศุภกร เต็มคำขวัญ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 ธันวาคม 2008
    โพสต์:
    307
    ค่าพลัง:
    +1,107

    แล้วใครบอกว่าในมหาสติปัฏฐาน 4 มีแต่วิปัสสนาล้วนๆล่ะครับ
    การรู้ลมหายใจ แล้วรู้อย่างต่อเนื่องไปเรื่อยๆ จนจิตรวม ลมหายใจแปรสภาพเป็นแสงสว่าง ฯลฯ
    ถ้าอย่างนี้ก็คือสมถะ

    การรู้ลมหายใจ แล้วรู้ว่าลมหายใจที่หายใจเข้า-ออก แต่ละครังนั้น มันไม่ใช่ลมเดิม แสดงถึงความไม่เที่ยง อันนี้เป็นการสติปัฏฐานในหมวดกาย
    หรือ เมื่อดูลมหายใจอยู่แล้วจิตเกิดหนีไปคิดเรื่องอื่น แล้วเรามีสติรู้ทันว่า "จิตหนีไปคิดแล้ว" แล้วเราก็กลับมารู้ลมต่อ แล้วเดี๋ยวมันก็หนีไปอีก ก็รู้ทันอีก อันนี้แสดงถึงความเป็นอนัตตาของจิต คือบังคับไม่ได้จริง หรือความไม่เที่ยงของจิต คือ เดี๋ยวก็สงบ เดี๋ยวก็ฟุ้งซ่าน นี่คือสติปัฏฐานในหมวดจิต
    เมื่อฝึกแบบนี้ไปเรื่อยๆ วันหนึ่งปัญญาจะแก่รอบขึ้นมา จิตจะสรุปความรู้ว่า ทุกสิ่งเกิดแล้วดับทั้งสิ้น ทุกสิ่งผ่านมาแล้วก็ผ่านไปทั้งสิ้น ไม่มีตัวเราในกายในใจนี้ ไม่มีตัวเรานอกเหนือจากกายจากใจนี้มาแต่ไหนแต่ไรแล้ว อันนี้คือบรรลุขั้นโสดาบัน
    ยามที่จิตเกิดอริยมรรค อริยผลนี้ จิตก็จะเข้าอัปปนาสมาธิเองโดยอัตโนมัติเพื่อ
    ทำการล้างกิเลสครั้งที่ 1 (ทั้งหมดมี 4 ครั้ง)

    จะเห็นได้ว่าทั้งสมถะและวิปัสสนานั้นเป็นสิ่งจำเป็น และพระท่านก็ไม่เคยปฏิเสธสมถะด้วย เพียงแต่หลายคนไปทำแต่สมถะ แล้วไม่รู้วิธีขึ้นวิปัสสนา ท่านจึงสอนวิปัสสนามาก หรือไม่ก็บางคนทำสมถะแบบผิดๆ กลายเป็นมิจฉาสมาธิ ทำแล้วแถมโมหะออกมาด้วย ท่านจึงให้เลิกทำของเก่าๆไปก่อน แล้วหันมามีสติรูกายรู้ใจในชีวิตประจำวันเช่นคนธรรมดาต่อไป แต่ถึงจุดนึงแล้วก็ต้องกลับมาทำสมถะเพื่อพักผ่อนอีกนั่นแหละ (เหมือนกับการเติมน้ำมัน) แต่ต้องทำสัมมาสมาธิ ไม่ใช่มิจฉาสมาธิ

    ด้วยความเคารพ
     
  3. staedtler

    staedtler สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2009
    โพสต์:
    15
    ค่าพลัง:
    +15
  4. แกะดำ2

    แกะดำ2 สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 มิถุนายน 2009
    โพสต์:
    38
    ค่าพลัง:
    +14
    ผมอ่านกระทู้ห้องนี้แล้วกระทบผัสสะดีครับ
    นานาจิตตัง
    ดูความเป็นกลางให้จิตมันชินและเป็นกลางดูชิครับแล้วจะรู้ว่าจักคำว่าปัญญาครับ
     
  5. บุญพิชิต

    บุญพิชิต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มีนาคม 2009
    โพสต์:
    686
    ค่าพลัง:
    +418
    ถามจริงครับ ทำไมพวกคุณถึงได้เป็นอย่างนี้ครับ สนทนาเรื่องการปฏิบัติ
    ของตัวเองกันอยู่ เหตุใดต้องแขวะไปถึงครูบาอาจารย์ทุกที่ซิน่า เวรกรรม
    จริงๆ เห็นท่าจะคุยเรื่องการปฏิบัติกับพวกนี้ไม่ได้เสียแล้ว เพราะมีไม้ตาย
    คือว่ากระทบกระเทียบ ครูบาอาจารย์นะเอง แล้วน่าแปลกใจมันเหมือน
    กันหมดเสียด้วย อย่างนี้เป็นโรคติดต่อแน่ๆ ไม่ต้องบอกนะว่าโรคอะไร อาการคันขะเย่อยิ่งเกายิ่งมัน


    นั่นนะซิครับ แล้วท่านไม่รู้สึกแปลกใจตัวเองบ้างหรือครับ ว่าสมาธิตัวเองดี
    สติตัวเองแข็ง เรื่องมันอยู่ในกระทู้นี้ จิตล่องลอยไปก่อภพชาติกับท่าน
    นิวรณ์แล้ว เรื่องผมบอกว่า "ผักบุ้งอยู่ไหน" ซึ่งผมยืมคำมาจากท่าน
    วินทะลุ ที่จะบอกให้ท่านรู้ว่า ความเห็นของท่านมันยาว อ่านก็ยาก
    แถมหาสาระไม่ได้
    ......ซึ่งทั้งหมดทั้งปวง ไม่ว่าของท่านวินฯหรือของผม ความเห็นมันอยู่
    ในเนื้อหาของกระทู้นี้ ท่านไม่ต้องมาบอกหรอกว่าที่มาของคำนี้มาจาก
    ไหน แค่ผมเห็นว่า คำนี้มันเหมาะที่ จะใช้กับความเห็นของท่านใน
    กระทู้นี้ ขอบอกนะว่าให้อยู่กับปัจจุบัน
    ......ท่ายังไม่เข้าใจ ก็ให้ท่านไปดูความเห็น ที่ท่านแย้งท่านเล่าปัง จน
    เป็นเหตุให้ ท่านวินฯแสดงความเห็นร่วม ก็เหมือนกับที่ท่านให้ความเห็น
    กับผม ผมก็ให้ความเห็นเป็นคำๆนั้นไป

    ......คำว่า"ไหนละผักบุ้ง" เป็นคำสาธารณะที่เขาใช้กัน ที่จะบอกให้รู้ว่า
    พูดมากไม่มีสาระ แล้วมันไปเกี่ยวกับท่านนิวรณ์ตรงไหน
    .....จะบอกให้นะครับว่า การจะกล่าวถึงใครขนาดออกชื่อออกเสียง ควร
    จะ กล่าวแต่ในเรื่องที่ดีๆ อย่ากล่าวให้ท่าน ที่ไม่มีส่วนเกี่ยวข้อง
    ให้เสียหายเป็นอันขาด

    ริจะทำกิจอย่างใดอย่างหนึ่ง แต่ไม่รู้จักธรรมอันเป็นอิทธิบาท ยังหน้าไม่อายมา
    ถามหาสติปัญญากับชาวบ้านเขาอีก
    .......ถามจริงท่านอยู่จัก ความรับผิดชอบหรือดูแลเอาใจใส่ แก้ปัญหาในกิจ
    ธุระของตัวเองมั้ย ถ้ากิจของท่านมีปัญหา ท่านไม่คิดที่จะแก้ เล่นล้มเลิกไป
    เลยหรือ ผมต้องย้อนถามท่านบ้างว่า ท่านมีสติปัญญารึเปล่า

    ......ไอ้ตั้งกระทู้ดูแลเอาใจใส่ ไม่ใช้เพื่ออยากเด่นอยากดังแล้วมาตั้ง ต้อง
    รู้จักรับผิดชอบด้วย วิธีการอย่างไร ผมขอแนะนำให้ท่านไปยกมือวันทา
    ท่านจินนี แล้วก็ถามถึงวิธีการรับผิดชอบดูแลกระทู้ว่าต้องทำอย่างไร
    .......เอางี้ดีกว่าผมบอกเลยเพื่อท่านจินนีอาจไม่มีเวลาคุยกับท่าน ผมขอบอก
    เลยจากที่ผมไปประสบมา กระทู้ที่ว่าเป็นของท่านจินนี มีสมาชิกเข้ามา
    สนทนา แล้วลักษณะการสนทนาออกไปแนวรุนแรง
    ท่านจินนีก็เข้ามาล็อกกระทู้ไว้ ปล่อยเวลาล่วงเลยพอให้สมาชิกสงบ
    สติอารมณ์ ท่านจินนีจึงเข้ามาปลดล็อก นี้ซิครับถึงเป็นวิธีที่ถูกต้อง
     
  6. บุญพิชิต

    บุญพิชิต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มีนาคม 2009
    โพสต์:
    686
    ค่าพลัง:
    +418
    ......ผักบุ้งอยู่ไหน......
    ท่านไม่ต้องมาถามมาสอนผม ดูกิเลสตัวเองหรอกครับ ผมเข้าใจตัวผมเองดี
    แถมยังไปเห็นกิเลสของชาวบ้านด้วย ไม่ใช่นั่งเทียนเห็นด้วย เห็นถึงเหตุยันผลเลย
    ......แล้วคนอย่างผมไม่มานั่งดู คำกล่าวที่เป็นตัวหนังสือหรอกครับ
    ดูจากผลของการกระทำในเว็บบอร์ดนี้เลย ต้องให้ย้ำหัวตะปูมั้ยครับว่า
    การกระทำที่ไม่เอาไหนของท่านคืออะไร

    ......ท่านเห็นเป็นยั่วก็คงตามนั้น แต่มันเป็นวิธีพิสูจน์ให้เห็นถึงความเป็น
    ของแท้ ของเทียมครับ
    คำสนทนาของผมมันมีบาลีตรงไหนครับ เพ้อเจ้อภาษาไทยล้วนๆ ท่านจะไป
    ศึกษาอะไรมันก็เรื่องของท่าน แล้วไอ้คำว่าโชว์พาวของท่านนะ ใช่ครับ
    ถ้าความหมายคือพาวเวอร์ ท่านไม่ต้องโชว์เพราะผมมองไม่เห็นในตัวท่าน
    เลย ผมเห็นแต่พาวเดอร์ ที่แปลว่าแป้งเต็มไปหมดตามหน้าตามตาท่าน
    จะคุยกับผมไม่ต้องแต่งหน้าหรอกครับ เอาพาวเวอร์มาอย่างเดียว

    ใครกันแน่ที่เข้าใจอะไรยาก คำว่าย้อนหลังไปหาดู แสดงว่าที่จะให้ไปดู
    มันเป็นอดีตไปแล้ว ถ้าไม่ไปดูจาก หลักฐานที่เป็นตำราหรือเอกสาร
    ท่านจะให้ผมนั่ง ไทม์แมชีนไปหรือครับ รึจะให้ถอดจิตไปดูอดีต แต่เอ่
    ผมมันไม่ถึงขั้นนั้นด้วย
    ......ท่านไม่ได้นั่งสมาธิอยู่นะครับ จะพูดอะไรกรุณากลั่นกรองก่อนแล้วค่อย
    พูด ไม่ใช่นึกอะไรได้ก็พูด มันฟ้องตัวเองครับ

    ใครไปรอท่านครับ ผมพิมพ์ความเห็นผมยังไม่เสร็จ ท่านก็โพท์สเข้ามา
    เพื่อมรรยาทผมก็โพท์สตอบ แล้วใครกันแน่ที่นอนไม่หลับ ผมนะสองสาม
    ทุ่มก็หลับแล้ว ไม่มานั่งถ่างตาพิมพ์ข้อความ "น้ำท่วมทุ่ง ผักบุ้งโหรงเหรง"
    เหมือนใครบางคนหรอกครับ
     
  7. kengkenny

    kengkenny เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 ธันวาคม 2008
    โพสต์:
    2,878
    ค่าพลัง:
    +2,500
    ซ้ำๆซากๆ ไม่มีสาระ ผมเอาแค่คำตอบเท่านั้น ไหนละคำตอบ ขอแค่คำตอบ ที่น่าจะเชื่อถือได้ที่ไม่ใช่คำพูดของคนๆเดียว
    สั้นๆจะเข้าใจไหมละ ถ้าถามว่า คำถามง่ายๆคือ
    คำว่า จิตจำสภาวะ ลองหาให้ดูหน่อยคุณนักท่องจำ บุญพิชิต นี่ยังไม่เอา คำว่า สติเกิดขึ้นเองนะครับ หรือถ้ามีปัญญาก็หามา แต่หากเชื่อว่า พระองค์นั้นเป็นพระอรหันต์ หากเนื้อความนี้เป็นของเขาผมก็บอกได้เลยว่า นอกจากจะไม่ใช่พระอรหันต์แล้ว อาจเป็นหรือไม่ได้เป็นพระโสดาบันก็ได้ เพราะหยาบไป กับเรื่องของ สติ และ ก็ จิต ก็อยากให้คุณลองหาความหมายพวกนี้ที่เป็นปฏิปทาของพระอรหันต์สักหน่อย

    เพราะมันไม่มีคำตอบไง จึงยกนั่นยกนี่มาเขียนให้มันฟุ้งเต็มบอร์ด บอกตามตรงผมไม่ได้อ่านหรอกครับ เพราะผมไม่จำเป็นต้องตามไปรูเรื่องความคิดที่ปรุงแต่งของคุณ ผมต้องการแค่คำตอบนี้เท่านั้น มันจะได้จบเรื่องที่ว่า ก็เพราะผมไม่คิดว่าที่ผ่านมาคุณมานั่งสาธยายและสอนคนโน้นคนนี้ ติคนโน้นคนนี้ นั้นจะเป็นสิ่งที่เป็นทางทีถูกเลย และเพราะอะไรหากเพราะตัวคุณฝึกเองไม่ได้มีคนสอนก็อีกเรื่อง แต่เพราะมีการถ่ายทอดสืบต่อกันมาจึงอ้างไม่ได้ที่ จะไม่มีพระสงฆ์อริยะสาวกมาเกี่ยวข้อง ไม่ต้องเอาน้ำเอาคำตอบ เท่านั้น เห็นมีแต่เอากระทู้มาปรุงแต่งตามใจตนอย่างนี้นี่เอง ที่เรียกว่า สติมันจะเกิดเองใช่ไหมครับ คำพูดนั้นมันเป็นเพียงการปรุงแต่งที่เมื่อผู้ไม่มีสติฝึกมาดี ก็จะปรุงต่อไปว่า เขาดูถูกเรา จริงไหมครับคำว่า อ่อน คำเดียวก็มีผลแล้วสำหรับท่าน ยังไงๆๆๆๆๆๆๆ ท่านก็ยังไม่เข้าใจในสิ่งที่ผมสื่ออยู่ดี เพราะนั้นเป็นวิธีการเรียนรู้ในแบบของท่าน ยังไงก็แล้วแต่หากคิดว่า ใช่จริงตามที่นึกก็ลองหาคำตอบเรื่องคำสองคำนั้นให้เป็นขวัญตาสักหน่อย ผมมันความรู้น้อย ไม่เคยได้พบพระอริยะสงฆ์องค์อรหันต์สักเท่าไหร่ คนอื่นก็คงเช่นกัน หามาเผื่อให้เป็นทานแก่ผมก็ได้ เอาแค่คำสองคำนั้นแหละ หาได้ก็บอกหาไม่ได้ก็บอกครับ เพราะยิ่งฟุ้งซ่านก็ยิ่งไม่สงบครับ
    ส่วนเรื่องกระทู้ที่คุณคิดไว้ หากคุณเป็นศิษย์พระท่านนั้นจริงๆ คงได้ยินบ่อยๆ เรื่องแค่นี้จะให้ผมไปยกมือไหว้ท่านจินนี่ ท่านนี่สงสัยจะบ้าจริงๆ 1667 เลยนะท่าน ก็มันไม่ใช่ของผมนี่ครับกระทู้นั้นนะ และก็ไม่ใช่ของใครด้วย คุณจะห่วงมันไปทำไมละ จะหลงยึดเอากระทู้เป็นสรณะได้ อย่างไร ในเมื่อมันไม่ใช่ของเราและก็ของๆใคร คุณไปเรียกจินนี่มาอ่านข้อความนี่เลยก็ได้ ผมไม่สนหรอกว่าจินนี่จะคิดอย่างไร มันไม่ใช่เรื่องที่ผมต้องสน หากผมรู้ว่ามันไม่ใช่ของๆผมและของๆใครมันก็สมควรเป็นไปตามนั้น คุณต้องกราบเท้าผมก่อนมั้ง ถึงจะเห็นธรรมผมว่านะ สำหรับคุณ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 8 พฤศจิกายน 2009
  8. ธรรมภูต

    ธรรมภูต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    3,621
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +2,192
    สมมติสัจจะ...แล้วใครบอกว่าในมหาสติปัฏฐาน 4 มีแต่วิปัสสนาล้วนๆล่ะครับ
    ....ท่านสมวิครับ แสดงว่าท่านไม่ได้อ่านที่จขกท.นำมาลง มีตรงไหนครับที่บอกว่ามหาสติปัฏฐาน๔เป็นสมถะด้วย

    สมมติสัจจะ...การรู้ลมหายใจ แล้วรู้อย่างต่อเนื่องไปเรื่อยๆ จนจิตรวม ลมหายใจแปรสภาพเป็นแสงสว่าง ฯลฯ ถ้าอย่างนี้ก็คือสมถะ
    ....ท่านครับต้องอนุโมทนาที่เห็นดีเห็นงามด้วยที่เชื่อว่าต้องทั้งสมถะและวิปัสสนาจึงจะดูจิตได้
    ....แต่ท่านฝึกยังไง พอจิตรวมแล้ว ลมหายใจแปรสภาพได้ เข้าใจอะไรผิดหรือเปล่า?
    ที่เกิดความสว่างไสวนั้นเป็นการแสดงให้เห็นสภาพของจิตที่สงบสว่างไสวเท่านั้น
    ....ท่านรู้จักคำว่า "สมถะ" ที่ถูกต้องแล้วหรือครับ
    ...มีกล่าวคำนี้ไว้ที่ไหนในมหาสติปัฏฐาน๔บ้าง? ไม่มีใช่มั้ย?
    เป็นการเพิ่มเติมเสริมแต่งขึ้นมาณ.ภายหลัง มีแต่คำ "สัมมาสมาธิ"เท่านั้น....

    สมมติสัจจะ...การรู้ลมหายใจ แล้วรู้ว่าลมหายใจที่หายใจเข้า-ออก แต่ละครังนั้น มันไม่ใช่ลมเดิม แสดงถึงความไม่เที่ยง อันนี้เป็นการสติปัฏฐานในหมวดกาย
    ....ลมหายใจใครๆก็รู้ว่าเป็นกายสังขารชนิดหนึ่ง ย่อมไม่เที่ยงอยู่แล้ว

    สมมติสัจจะ...หรือ เมื่อดูลมหายใจอยู่แล้วจิตเกิดหนีไปคิดเรื่องอื่น แล้วเรามีสติรู้ทันว่า "จิตหนีไปคิดแล้ว" แล้วเราก็กลับมารู้ลมต่อ แล้วเดี๋ยวมันก็หนีไปอีก ก็รู้ทันอีก อันนี้แสดงถึงความเป็นอนัตตาของจิต คือบังคับไม่ได้จริง หรือความไม่เที่ยงของจิต คือ เดี๋ยวก็สงบ เดี๋ยวก็ฟุ้งซ่าน นี่คือสติปัฏฐานในหมวดจิต
    ....ของแบบนี้คิดเองเออเองไม่ได้หรอกครับ
    ....ตอนรู้ทันดึงจิตให้กลับมารู้ลมหายใจ ใช่บังคับจิตมั้ย? ถ้าบังคับไม่ได้จริงๆจิตจะสงบเหรอ?
    ถามตรงๆเถอะปฏิบัติมาจริงๆหรือเปล่า?
    ...ตอนจิตรู้ทันแล้วดึงกลับๆๆๆ ที่ชักเขย่อกันอยู่นี้..รู้มั้ย? ต้องรู้สิ
    ถ้าไม่รู้ จิตก็หนีไปคิดตลอดเวลาแล้ว
    ...ความคิด ก็คือ อาการของจิตที่ชอบแส่ส่ายออกไปหาอารมณ์
    อาการเดี๋ยวก็สงบ เดี๋ยวก็ฟุ้งซ่านเป็นอาการของจิตเท่านั้น
    ...การดึงจิตกลับมา เป็นการบังคับจิต จิตก็รู้อยู่...อย่าเดาสวดสิ...

    สมมติสัจจะ...เมื่อฝึกแบบนี้ไปเรื่อยๆ วันหนึ่งปัญญาจะแก่รอบขึ้นมา จิตจะสรุปความรู้ว่า ทุกสิ่งเกิดแล้วดับทั้งสิ้น ทุกสิ่งผ่านมาแล้วก็ผ่านไปทั้งสิ้น ไม่มีตัวเราในกายในใจนี้ ไม่มีตัวเรานอกเหนือจากกายจากใจนี้มาแต่ไหนแต่ไรแล้ว อันนี้คือบรรลุขั้นโสดาบัน
    ...พูดขัดกันเองก็ได้นะ
    ...พอจิตเกิดปัญญา..จิตก็สรุปความรู้ว่าทุกสิ่งเกิดขึ้นดับไป...จิตรู้มั้ย? รู้...
    แสดงว่าที่เกิดดับก็ไม่ใช่จิตเป็นเพียงอาการของจิตเท่านั้น
    ....จิตรู้อยู่ใช่มั้ยว่า..ไม่ใช่เราในกายใจนี้
    ...แล้วที่บรรลุขั้นโสดาบันใครบรรลุ?

    สมมติสัจจะ...ยามที่จิตเกิดอริยมรรค อริยผลนี้ จิตก็จะเข้าอัปปนาสมาธิเองโดยอัตโนมัติเพื่อ
    ทำการล้างกิเลสครั้งที่ 1 (ทั้งหมดมี 4 ครั้ง)
    ....เลิกคิดเองเออเองเดาสวดไปทั่วได้แล้ว...ในเมื่อท่านพูดเองว่า จิตไม่เที่ยงเกิดดับแล้ว
    ...พอตอนนี้กลับว่าจิตเกิดอริยมรรคอริยผลได้ยังไง?
    ...งั้นอริยมรรคอริยผลต้องเกิดดับตามจิตด้วยเหรอ
    ซึ่งเป็นสิ่งที่เป็นไปไม่ได้...พูดขัดกันเองก็ได้นะ...

    สมมติสัจจะ...จะเห็นได้ว่าทั้งสมถะและวิปัสสนานั้นเป็นสิ่งจำเป็น และพระท่านก็ไม่เคยปฏิเสธสมถะด้วย เพียงแต่หลายคนไปทำแต่สมถะ แล้วไม่รู้วิธีขึ้นวิปัสสนา ท่านจึงสอนวิปัสสนามาก หรือไม่ก็บางคนทำสมถะแบบผิดๆ กลายเป็นมิจฉาสมาธิ ทำแล้วแถมโมหะออกมาด้วย ท่านจึงให้เลิกทำของเก่าๆไปก่อน แล้วหันมามีสติรูกายรู้ใจในชีวิตประจำวันเช่นคนธรรมดาต่อไป แต่ถึงจุดนึงแล้วก็ต้องกลับมาทำสมถะเพื่อพักผ่อนอีกนั่นแหละ (เหมือนกับการเติมน้ำมัน) แต่ต้องทำสัมมาสมาธิ ไม่ใช่มิจฉาสมาธิ
    ....ใครว่าไม่ปฏิเสธสมถะ ในเมื่อสมถะเป็นพื้นฐานสำคัญในการสร้างปัญญา
    เพื่อจะได้เดินต่อวิปัสสนาได้
    แต่กลับไม่อบรมสั่งสอนสมถะให้ถูกต้อง กลัวสมถะว่าเป็นหินทับหญ้าบ้างหละ เนิ่นช้าบ้างหละ แล้วให้เดินวิปัสสนา ปัญญาเลย
    ...เปรียบเหมือนการปีนต้นไม้ สอนให้คนกระโดดขึ้นยอดไม้เลย แล้วค่อยๆให้ไต่ลงมาดูสิว่า เอ๊ จะปีนขึ้นไปได้ยังไง?
    ...ซึ่งเป็นไปไม่ได้ครับ เป็นการสอนขัดแย้งกับศีล สมาธิ ปัญญา ซึ่งพระบรมครูกล่าวไว้
    ...การฝึกสัมมาสมาธิ เป็นการฝึกสร้างสติให้เกิดขึ้นที่จิต ให้จิตรู้กายรู้ใจในชีวิตประจำวันที่ดีที่สุด

    ธรรมภูต
    ;aa24
     
  9. ธรรมภูต

    ธรรมภูต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    3,621
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +2,192
    เธอทั้งหลายจงเพ่งฌาน นี้เป็นคำพร่ำสอนของเราแก่เธอ

    "ดูกรอานนท์ นั่นโคนไม้ นั่นเรือนว่าง เธอทั้งหลายจงเพ่งฌาน อย่าประมาท
    อย่าได้เป็นผู้เดือดร้อนในภายหลัง นี้เป็นคำพร่ำสอนของเราแก่พวกเธอ ฯ

    ทรงสอนตลอดพระชนม์ชีพ
    เธอทั้งหลายจงเพ่งฌาน นี้เป็นคำพร่ำสอนของเราแก่เธอ

    การเพ่งคือการมีสติรู้อยู่เห็นอยู่อย่างต่อเนื่อง
    ไม่ใช่การใช้ตาเนื้อเพ่งซะที่ไหนหละ

    เพราะความที่ไม่เคยเจริญสมาธิกรรมฐานภาวนา
    จนเข้าถึงกายในกายเป็นภายใน จึงไม่รู้จักคำว่า "เพ่ง"
    ได้แต่คิดเองเออเองว่าเป็นสิ่งน่ากลัว

    การรู้อะไรแบบต่อเนื่องไม่ขาดสาย ล้วนเรียกว่า "เพ่ง"ทั้งนั้น

    ;aa24
     
  10. วิษณุ12

    วิษณุ12 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2008
    โพสต์:
    5,337
    ค่าพลัง:
    +6,846
    สมวิ... ต่างจากสมมุติ นะคร๊าบบบ แซวก็รู้ว่าแซว

    [​IMG]
     
  11. บุญพิชิต

    บุญพิชิต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มีนาคม 2009
    โพสต์:
    686
    ค่าพลัง:
    +418
    มันแทงใจดำงัยเลยบอกไม่มีสาระ ผมจะบอกท่านตามตรงนะว่า เมื่อก่อน
    ไม่เคยอ่านและไม่เคยคิดที่จะอ่าน ความเห็นท่านเลยแม้แต่ความเห็นเดียว
    เป็นเพราะอะไรรู้มั้ยครับ ก็เพราะแค่มองตัวอักษรก็ปวดหัวแล้ว
    ......คำตอบที่ท่านต้องการนะผมมีให้สั้นๆว่า ให้อยู่กับปัจจุบันเท่านั้นแหละ
    ถ้ามีสติปัญญาจริงหวังว่าคงรู้นะ แล้วก็เลิกเอาครูบาอาจารย์มาว่าเสียที่ นึกว่า
    เทห์รึ หรือแค่จนปัญญา ที่จะหาเหตุหาผลกับการที่ตัวเองแสดงความเห็น
    เฉิ่มๆออกไป กะแค่เหตุผลของการสนทนายังแก้ไม่ได้ แล้วสำมะหา
    อะไรจะไปรู้เหตุผล ในอริยสัจสี่ พูดได้แค่ สังเวชครับ
    แล้วไอ้ที่พล่ามมาข้างบน ไม่ใช้เพราะอ่านความเห็นผม แล้วเอามาปรุง
    แต่ง จนฟุ้งเต็มบอร์ดหรอกรึ บอกไม่ได้อ่านแต่ประโยคไหนแทงใจดำถึง
    กับลนลานเลยรึครับ
    ท่านนี่แปลกคนนะครับ ปากก็บอกเป็นการเรียนรู้ในแบบของผม แล้วท่านจะมา
    เอาตอบอะไร แล้วตอบไปที่ไรพวกจิตใจต่ำ ก็ลามปามถึงครูบาอาจารย์ทุกที
    ซิน่า หรือมีปัญญาโต้ตอบได้แค่นี้ พอตอบไม่ได้ก็อ้างไม่สนใจอ่าน
    แต่การกระทำตรงกันข้าม แก้ตัวแบบไม่อายเด็ก
    .......แล้วเรื่องอรเลี้ยวอรหัน ผมบอกหรือครับว่าอาจารย์ผมเป็นอรหันต์ ชื่อแซ่
    อาจารย์ก็ยังไม่ได้เอ่ยเลยซักแอะ อย่ามั่วอย่าปรุงแต่ง จิตใจมาอยู่กับบท
    สนทนาของผมนี้ แบบนี้ต้องบอกว่า พูดไปพูดมาสามวาสองศอก
    หันมองดูตัวเองดีกว่าครับว่า ใครฟุ้งซ่าน ผมจะบอกให้จะดูว่าใครฟุ้ง
    ไม่ฟุ้ง คุยทุกเรื่องถ้าโดนย้อนกลับได้ จนปัญญาตอบก็บอก
    ไม่สนใจอ่านไม่ฟุ้งซ่าน จริงไม่จริงดูข้ออ้างอิงข้างล่าง
    ถ้าท่านไม่สนใจอ่านจริงๆ ประโยคของท่านข้างบนคงไม่เกิดขึ้น
    กระทู้นั้น ท่านมีสิทธิที่จะลบมัน ผมเลยต้องการให้ท่านรู้ธรรมใน
    เรื่อง อิทธิบาทสี่
    ......ท่านไม่มีปัญญาที่จะคิดถึง ในเรื่องของความสำคัญของมัน ก็
    เหมือน ลิงได้แก้ว
    ......ถ้าท่านไม่ลบกระทู้นั้น ผมจะชี้ให้ดูว่า สมาชิกที่ถูกท่านหาว่าบ้า
    เขาได้สอนธรรมอะไรท่านบ้าง แล้วจะกล่าวอะไรต้องมีหลักฐาน ไม่
    เหมือนท่าน คิดเองเออเอง

    ........แล้วเรื่องท่านจินนี ท่านไม่ได้เกี่ยวข้องอะไรด้วย เพียงแต่เห็นว่า
    การกระทำน่าชมเชย เลยเอามาให้ท่านเอาเป็นตัวอย่าง เพราะพูดเฉยๆ
    คนอย่างท่านนะไม่เข้าอยู่แล้ว
     
  12. ศุภกร เต็มคำขวัญ

    ศุภกร เต็มคำขวัญ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 ธันวาคม 2008
    โพสต์:
    307
    ค่าพลัง:
    +1,107

    แล้วคุณคิดว่า...
    เวลาคุณเจริญสติปัฏฐานนั้น
    คุณเดินวิปัสสนารวดเดียวเลยหรือครับ


    วิปัสสนา คือ การเห็นไตรลักษณ์ของกายของใจ
    สติปัฏฐาน 4 หมวดนั้น เรารู้กันอยู่แล้วว่าวนเวียนอยู่แต่กายกับใจเท่านั้น
    ยามใดที่จิตมีสติระลึกรู้กายกับใจเฉยๆนั้น
    ไม่ว่าจะเป็นหมวดใด บรรพใดก็ตาม...
    หากยังไม่เห็นไตรลักษณ์ของกายของใจ
    แสดงว่าจิตยังไม่มีวิปัสสนาจริง
    ยังอยู่ในภูมิของสมถะอยู่ (ตรงนี้ก็ถูกต้องแล้วครับ ไม่ได้ผิด)
    แต่เป็นการถูกต้องแล้วครับที่จะมีสติรู้กายรู้ใจ (รูปนาม) ต่อไปเรื่อยๆ
    ไม่ใช่ไปรู้อย่างอื่นภายนอกที่ไม่เกี่ยวกับกายกับใจ
    (ความจริงจะรู้ออกนอกก็ได้ เช่น เพ่งกสิณ ฯลฯ ก็ได้ความสงบเหมือนกัน แต่ไม่ทำให้บรรลุได้เลย)
    จะเป็นการเสียเวลาการเข้าถึงมรรคผลนิพพานครับ

    จิตนั้นเราเลือกไม่ได้ที่ตอนไหนมันจะเดินสมถะ
    หรือตอนไหนมันจะเดินวิปัสสนา...
    จิตจะพลิกไปพลิกมาระหว่างสมถะกับวิปัสสนาตลอดเวลา
    เมื่อจิตหมดแรง มันก็จะพลิกไปเป็นสมถะ
    เมื่อจิตได้พักผ่อนเพียงพอแล้ว ก็กลับมาเดินวิปัสสนาต่อไป
    ไม่มีใครสามารถเจริญวิปัสสนาได้รวดเดียวได้หรอกครับ
    เป็นไปไม่ได้เลย...

    มันจะเป็นอย่างไรก็เรื่องของมัน
    เรามีหน้าที่ตามดูความเปลี่ยนแปลงของมันไป
    ถ้ากรรมฐานใดที่เกี่ยวกับกายกับใจนั้น ปลอดภัยแน่นอนครับ...
    พระพุทธเจ้าเคยตรัสไว้ชัดมากครับว่า
    "ตราบใดที่ยังมีผู้เจริญสติปัฏฐาน โลกจะไม่ว่างจากพระอรหันต์"
    และในสติปัฏฐาน 4 นั้น พระพุทธเจ้าท่านใช้แต่คำว่า "รู้" เท่านั้น
    ท่านไม่ได้บอกให้บังคับจิต
    ท่านไม่ได้บอกให้ปรุงแต่งการปฏิบัติในลักษณะใดๆขึ้นมาที่นอกเหนือจากการ "รู้"
    ศาสนาพูทธ...คำว่า พุทธะ ก็แปลว่า "รู้" ครับ (คงเคยได้ยินมาแล้วล่ะ)
    การรู้นั้นก็คือ การมีสตินั่นเอง (รู้กายรู้ใจ) (สติ แปลว่า ความระลึกได้)
    และคำสอนเรื่องการเจริญสตินี่แหละครับ
    ที่มีเฉพาะในศาสนาพุทธเท่านั้น
    ศาสนาอื่นอย่างมากก็ทำได้แค่สมถะครับ
    ถ้าทำแต่สมถะแล้วทำเก่งๆ ก็ไปพรหมโลกได้สบาย...
    แต่ถ้าปรารถนาพระนิพพาน ต้องเจริญ "สติปัฏฐาน" เท่านั้น

    สติปัฏฐานนั้นจึงเป็นธรรมะหมวดหลักสำหรับมรรคผลนิพพานโดยตรง



    และขอเสริมเรื่องการวิจารณ์พระปราโมทย์ตรงนี้เลยละกันครับ...

    คำว่า "การดูจิต" ก็คือส่วนหนึ่งในสติปัฏฐาน 4 (หมวด เวทนา จิต ธรรม)
    และพระท่านเคยกล่าวไว้อย่างชัดเจนที่สุดแล้วว่า...
    "ถ้าใครมาถามว่า หลวงพ่อปราโมทย์สอนอะไร ให้ตอบไปว่า สอนให้หัดรู้สภาวะที่กำลังปรากฏในปัจจุบัน หลวงพ่อไม่ได้สอนแค่ดูจิตนะ เข้าใจผิดแล้ว... หลวงพ่อสอนหลักของการปฏิบัติในสติปัฏฐาน ซึ่งแต่ละคนมีจริตนิสัยแตกต่างกัน คนที่ชอบทำสมาธิให้เจริญกายานิปัสสนา กับเวทนานุปัสสนาเพราะ 2 อย่างนี้เหมาะกับสมถะยานิก ส่วนผู้ที่ทำสมาธิไม่ค่อยได้ ให้เจริญจิตตานุปัสสนา กับธรรมนุปัสสนา"
    และขอแถมอีกนิดนึงว่า...
    เวทนานุปัสสนา กับ ธรรมนุปัสสนา
    เหมาะกับผู้ที่มีปัญญากล้า...


    โดยส่วนตัวแล้วท่านปฏิบัติด้วยการ "ดูจิต" เป็นหลัก
    แต่ท่านก็ฝึกสมาธิมานานเหมือนกัน (ตั้งแต่ 7 ขวบ)
    ท่านไปเรียนกับ ท่านพ่อลี วัดอโศการาม
    ท่านพ่อลีสอนให้ภาวนา "พุทโธ" เป็นการทำสมถะไปก่อนเพราะว่าตอนนั้นยังเด็กอยู่
    ยังไม่ทันที่ท่านพ่อลีจะสอนวิปัสสนาให้เลย
    ท่านพ่อลีก็มรณภาพไปเสียก่อนแล้ว


    ท่านบอกว่าทำได้แต่สมถะ ได้แต่ของเล่นมากมาย
    แต่ขึ้นวิปัสสนาไม่ได้ เพราะไม่มีครูบาอาจารย์
    จนกระทั่งท่านมาเจอหลวงปู่ดูลย์ในอีก 22 ปีต่อมา (ปี 2525)
    หลวงปู่ดูลย์จึงตรวจประวัติท่านด้วยญาณทัศนะ
    และบอกท่านว่า
    "การปฏิบัตินั้นไม่ยาก ยากเฉพาะผู้ที่ไม่ปฏิบัติ
    อ่านหนังสือมามากแล้ว ต่อไปนี้อ่านจิตตนเอง"
    หลังจากนั้นหลวงพ่อปราโมทย์ก็ดูจิตมาโดยตลอด
    แต่ท่านก็ไม่ทิ้งสมถะเช่นกัน เพราะเคยไปหาหลวงตามหาบัว
    แล้วหลวงตาก็เตือนท่านว่า
    "ที่คุณว่าดูจิตอยู่น่ะ คุณดูไม่ถึงจิตแล้ว
    ต้องเชื่อเรานะ เราผ่านมาด้วยตนเอง
    อะไรๆก็สู้การบริกรรมไม่ได้หรอก"
    ท่านจึงไปพิจารณาลองปฏิบัติดู
    แล้วท่านก็ทำสมถะ (หลังจากละเลยมานาน)
    ก็พบว่า จิตท่านไม่ตั้งมั่นนั่เอง (บางสำนวนเรียกว่า จิตไม่ถึงฐาน)
    ท่านจึงรู้ว่า สมถะนั้นจำเป็นไม่น้อยกว่าวิปัสสนาเลย
    สมถะเหมือนการเติมน้ำมัน
    วิปัสสนาเหมือนการเดินทาง
    สมถะเป็นกำลังเสริม
    วิปัสสนาเป็นกำลังหลัก


    สรุปแล้วท่านไม่เคยสอนแบบซื่อๆว่า
    "ให้ดูจิตนะ ทุกคนจงดูจิตนะ ดูจิตเป็นทางเดียวเท่านั้นสู่พระนิพพาน ฯลฯ"
    ท่านไม่เคยสอนเลยแม้แต่ปรมาณูเดียว...
    แต่ท่านสอนคนตามสภาพจิตของปัจเจกบุคคลจริงๆ
    ไม่ได้เดาเอามั่วๆแน่นอนครับ


    ชัดเจนหรือยังครับท่านผู้อ่านทุกท่าน...

    แล้วหยุดโจมตีหลวงพ่อท่านด้วยความเข้าใจผิดได้แล้วนะครับ
    ดูให้ดีก่อนว่าอะไรเป็นอะไร ไม่ใช่ฟังท่านนิดๆหน่อยๆแล้วก็วิจารณ์ผิดๆถูกๆละ
    พักนี้เจอเยอะจริงๆ...
    แต่ก็ไม่เป็นไรหรอกครับที่จะวิจารณ์
    เพราะมันเป็นสิทธิ์ของท่าน
    แต่อย่าวิจารณ์จนกระทั่งเบียดเบียนคนอื่นก็แล้วกัน
    หรือไม่ก็วิจารณ์จนปรามาสท่านโดยไม่รู้ตัวไปเลย
    ไม่ใช่เรื่องดีหรอกครับ...


    ด้วยความเคารพ


    ถ้าอย่างนั้นผมเปลี่ยนแนวการพูดใหม่ก็ได้...
    "เมื่อจิตรวมเข้าฌาน ลมหายใจจะเหมือนว่าหายไป แล้วจะปรากฏนิมิตเป็นแสงสว่างขึ้น (โดยมากจะเห็นเป็นเส้นตามทางเดินของลมหายใจนั้น) จิตจะสะอาด สว่างไสว และมีความสุข ชุ่มชื่นเบิกบานมาก"

    พอใจหรือยังครับ ^^

    ด้วยความเคารพ

    ถ้าคุณคิดว่า ใครๆก็รู้ว่าลมหายใจนั้นมันไม่เที่ยงอยู่แล้ว...
    แบบนี้ก็คงไม่ต้องมีพระพุทธเจ้าแล้วล่ะครับ
    ฤาษีชีไพรอะไรต่างๆก็คงบรรลุกันหมดแล้ว
    บรรลุในกายานุปัสสนาสติปัฏฐาน หมวดอานาปานบรรพ

    และการเห็นแจ้งไตรลักษณ์ของลมหายใจนั้น
    ต้องเห็นด้วยการเข้าไปประจักษ์รู้จริงๆ
    ไม่ใช่การคิดเอาเองด้วย...

    ด้วยความเคารพ

    ถ้าอย่างนั้นคุณก็ใช้วิธีการบังคับจิตให้สงบของคุณดู
    แล้วจะรู้ว่า การจงใจหรือเจตนาไปบังคับจิตให้สงบนั้น
    มันมี "โลภมูลจิต" หรือ "โลภเจตนา" แทรกอยู่
    อันนี้เป็นการกระทำกรรม เพราะมีตัวเจตนา
    ในเมื่อคุณมี "ความอยาก" ให้จิตมันสงบ แล้วไปบังคับจิตให้สงบ
    จิตมันจะสงบมั้ยล่ะครับ
    เพราะ "ความอยาก" (ตัณหา) เป็นปัจจัยให้เกิดทุกข์
    เราเอาตัณหาไปแก้ทุกข์แล้วมันจะพ้นทุกข์ได้อย่างไรล่ะครับ

    และการที่เมื่อจิตหนีไปคิดเรื่องอื่น
    แล้วเรารู้ทันว่าจิตหนีไปคิดแล้วนั้น
    จิตที่ฟุ้งซ่านนั้นจะดับลงทันที
    เกิดจิตดวงใหม่ที่ รู้ ตื่น เบิกบาน ขึ้นมาชั่วขณะโดยทันที
    แล้วมันก็หนีไปอีก เราก็ตามรู้มันอีก
    (ตรงนี้ขอเตือยด้วยครับว่า ไม่มีใครห้ามจิตไม่ให้คิดได้ เพราะจิตมีหน้าที่คิด จิตต้องคิด เรามีหน้าที่แค่ตามรู้ตามดูเท่านั้นเอง อย่ามัวคิดมากครับ)
    นี่หรือครับที่เรียกว่า การบังคับจิตหรือการดึง ชักเย่อจิตไม่ให้คิด อย่างที่คุณว่า
    มันคนละเรื่องกันเลยครับ
    ถ้าเป็นการบังคับจิตแบบที่คุณว่านั้น
    เป็นทางสุดโต่งฝ่าย อัตตกิลมถานุโยค ครับ
    เพราะฉะนั้นหลักการทำสมถะที่ถูกต้องจริงๆนั้นคือ
    การรู้อารมณ์ (ที่เป็นกุศล) อย่างใดอย่างหนึ่งอย่างต่อเนื่อง
    เช่น อยู่กับพุทโธ อยู่กับท้องพองยุบ อยู่กับลมหายใจ ฯลฯ
    แล้วแต่ว่าเราชอบอารมณ์อันไหน
    พอรู้ไปเรื่อยๆ จิตจะสงบเอง เพราะเราอยู่กับอารมณ์ที่เราชอบ
    จิตจึงมีความสุข
    และความสุขนั้นแหละ เป็นเหตุใกล้ให้เกิดสมาธิ
    ไม่ใช่ สมาธิทำให้เกิดความสุขครับ
    แต่เมื่อทำ(สัมมา)สมาธิจะรู้สึกมีความสุขอยู่แล้วเพราะ
    จิตมีความตั้งมั่นในการรู้อารมณ์
    จิตมีความโปร่ง โล่ง เบา สบาย
    ไม่หนักๆ แน่นๆ แข็งๆ ซึมๆ ทื่อๆ เคลิ้มๆ ลืมตัว ครับ
    เพราะฉะนั้น "สัมมาสมาธิ" จะต้องประกอบไปด้วยสติเสมอ
    หากทำสมาธิแล้วขาดสติแล้ว..
    ให้รู้ไว้เลยว่า กำลังทำมิจฉาสมาธิอยู่ครับ
    ทำแล้ว พอออกจากสมาธิจะได้ของแถมคือ โมหะ ติดไม้ติดมือออกมาด้วย
    พูดง่ายๆคือ ยิ่งทำยิ่งห่างไกลมรรคผลนิพพานขึ้นเรื่อยๆ
    สรุปคือ สมาธิเป็นสิ่งที่ดี และจำเป็นต่อการบรรลุธรรม
    แต่ต้องทำให้ถูก ทำให้เป็น...

    "สติ" จะเกิดร่วมกับจิตที่เป็นกุศลเท่านั้น
    ไม่เกิดกับจิตที่เป็นอกุศลเด็ดขาด
    ทันทีที่จิตเกิดสติ...
    อกุศลเก่าจะดับไป
    เกิดกุศลใหม่ขึ้นมาแทน
    นี่คือเหตุผลที่เวลารู้ว่าจิตหนีไปคิดแล้ว
    จิตที่เป็นผู้คิด ผู้นึก ผู้ปรุง ผู้แต่งนั้น จะดับไปทันที
    แล้วก็ไม่ใช่การดึงจิตด้วย อย่าเข้าใจผิดครับ

    ส่วนสมาธิเกิดกับจิตที่เป็นกุศลก็ได้ (สัมมาสมาธิ)
    เกิดกับจิตที่เป็นอกุศลก็ได้ (มิจฉาสมาธิ)
    ลองไปดูพระอภิธรรมดีๆครับ แล้วจะเข้าใจ...
    ไม่ได้ว่าเอาเองหรอกครับ

    ด้วยความเคารพ

    การกล่าวว่า ใครเป็นผู้บรรลุ อะไรทำนองนี้
    เป็นการกล่าวโดยอนุโลมเท่านั้นครับ
    เพราะมันไม่มี "ผู้" บรรลุมาแต่ไหนแต่ไรแล้ว
    มีเพียงแต่ รูปนาม/ขันธ์ 5 นี้เท่านั้น
    คุณอาจยังมีความคิดอยู่ว่า
    จิตมันต้องเป็นอะไรที่มีตัวมีตนสักอย่างหนึ่ง
    มันถึงจะบรรลุหรือหลุดพ้นอะไรได้
    ความจริงคือ จิตเป็นอนัตตาครับ
    แต่ไม่ได้แปลว่า ไม่มีจิต นะครับ...สภาวะของมันมีอยู่จริง

    การหลุดพ้นนั้นไม่ใช่อะไรมากมายหรอกครับ
    คือการเห็นว่ากายนี้ทุกข์ล้วนๆ (เห็นไดอย่างนี้ก็เป็นพระอนาคามี)
    จิตนี้ทุกข์ล้วนๆ (เห็นได้อย่างนี้ก็เป็นพระอรหันต์)
    อันนี้เรียกว่า "เห็นตามความเป็นจริง"
    จึงเกิดความเบื่อหน่าย
    แล้วก็คลายกำหนัด คือคลายความยึดมั่นถือมั่นในกายในใจ
    เมื่อคลายกำหนัดจึงหลุดพ้น
    เมื่อหลุดพ้นจึงรู้ว่าหลุดพ้นแล้ว

    ที่คุณบอกว่า นั่นมันเป็นเพียงอาการของจิต นั้น
    อันนั้นมันแค่เบื้องต้นของการปฏิบัติน่ะครับ
    ขั้นต้นของการเจริญวิปัสสนานั้นคือ
    การแยกรูปแยกนาม (นามรูปปริจเฉทญาณ)
    เห็นทุกสิ่งในกายในใจเป็นส่วนๆ แยกจากกัน (วิภัชวิธี)
    เช่น เห็นว่าความฟุ้งซ่านเป็นส่วนหนึ่งที่แปลกปลอมเข้ามาในจิต
    จิตก็เป็นอีกส่วนหนึ่ง ไม่ใช่สิ่งเดียวกัน
    ไม่ใช่ว่า ตัวจิตมันฟุ้งซ่านจริงๆหรอกครับ
    แต่สภาวะความฟุ้งซ่านนั้นมันแทรกเข้าในจิต แล้วเรารู้ทันมันเฉยๆ มันก็จะดับไปเอง
    เป็นต้น

    เพราะฉะนั้นการบรรลุอรหันต์ได้นั้น
    ต้องปล่อยวางจิตผู้รู้ให้ได้ จึงจะจบกิจอย่างแท้จริง
    เหมือนอย่างที่หลวงปู่ดูลย์เคยสอนปริศนาธรรมให้หลวงพ่อปราโมทย์ก่อนที่หลวงปู่จะมรณภาพไม่นานว่า
    "พบผู้รู้ ให้ทำลายผู้รู้ พบจิตให้ทำลายจิต จึงจะถึงความบริสุทธิ์อย่างแท้จริง"
    (ปริศนาธรรมนี้มีหลายคนสับสน และวิพากย์วิจารณ์กันมากต่อมาก)
    แต่ประโยคนี้ผู้ที่ยังไม่เป็นพระอนาคามีห้ามทำนะครับ
    เพราะเดี๋ยวจะเป็นการทำลายสติกันหมด ไม่ใช่ทำลายผู้รู้ครับ...(มีตัวอย่างให้เห็นมากแล้ว)
    ภายหลัง หลวงพ่อพุธ ฐานิโย ก็ได้ให้ความหมายของประโยคนี้ว่า
    หมายถึง การปล่อยวางแม้กระทั่งจิตนั่นเอง (หน้าที่สุดท้ายเพื่อความหลุดพ้นอย่างถึงที่สุด)
    มิฉะนั้นจะยังไม่ชื่อว่า ปล่อยวางความยึดมั่นถือมั่นหมดทุกสิ่ง
    และจิตนี้แหละเป็นสิ่งที่เราทุกคนยึดถือว่าเป็นตัวเป็นตนมากที่สุด
    ส่วนการจะปล่อยวางได้นั้น
    ต้องเจริญสติปัฏฐานจนเห็นจิตเป็นทุกข์ล้วนๆอย่างที่เคยกล่าวไว้แล้วครับ

    ด้วยความเคารพ

    อันนี้ให้ย้อนกลับไปอ่านข้อแย้งข้อที่แล้วอีกที...

    เรื่องจิตเป็นเรื่องที่ละเอียด ลึกซึ้งมากครับ
    โดยเฉพาะจิตของพระอรหันต์ เป็นอจินไตยเลยทีเดียว
    ไม่ควรคิด วิเคราะห์อะไรให้ปวดสมองเกินไปครับ
    เร่งภาวนาให้เห็นของจริงดีกว่า
    แล้วจะหายสงสัยเองครับ...

    ด้วยความเคารพ

    ข้อนี้ขอแย้งอย่างแรงครับ
    เพราะมันเกือบจะเป็นการปรามาสเพราะฟังคำสอนไม่ครบถ้วนครับ
    ขอให้คุณลองไปฟังไฟล์เสียงพระธรรมเทศนาของท่านให้มากกว่านี้นะครับ
    แล้วจะรู้ว่าท่านปฏิเสธสมถะหรือไม่

    ท่านเคยสอนหลักการทำสมถะที่ถูกต้องมามากมายนับครั้งไม่ถ้วนแล้วครับ
    (รู้สึกผมจะได้กล่าวไว้แล้วข้างต้นนะครับ ไม่ขอกล่าวซ้ำอีก)
    แล้วท่านก็เคยพูดหลายหนด้วยว่า
    มีคนเข้าใจผิดคิดว่าหลวงพ่อปราโมทย์รังเกียจการทำสมถะและปฏิเสธมัน
    ซึ่งไม่เป็นความจริงเลย
    (อันนี้ก็ให้ย้อนกลับไปดูข้อแย้งข้อแรกครับ)

    หลวงพ่อปราโมทย์ท่านสอนไตรสิกขาไม่ครบตรงไหน
    ไปฟังเพิ่มนะครับ...
    ท่านเคยเน้นย้ำกับลูกศิษย์หลายครั้งหลายหนว่า
    "ขั้นแรกให้ถือศีล 5 ก่อนนะ ใครไม่มีศีล ภาวนาไม่ขึ้นหรอก"
    และยังกล่าวเรื่องศีลสิกขาอย่างลึกซึ้งด้วยว่า
    "ศีลของนักปฏิบัติจริงๆ ไม่ใช่ศีล 5 ศีล 8 ศีล 227 อะไรหรอก
    แต่เป็น อินทรียสังวรศีล คือ
    เมื่อตามองเห็นรูป หูได้ยินเสียง ลิ้นได้รส
    กายได้รับสัมผัส แล้วจิตเกิดปรุงแต่งอะไรขึ้นมา
    ให้รู้ทัน...
    เพราะฉะนั้นเมื่อฝึกสติมากๆแล้ว
    ศีลที่เป็นข้อๆทั้งหลายจะบริสุทธิ์เอง เพราะเรามีสติ
    แต่ต้องมีสติอย่างถูกต้องด้วย
    ไม่ใช่สติของกิเลส... ฯลฯ"

    ในด้านจิตตสิกขานั้น...
    หลวงพ่อก็ย้ำมากถึงมากที่สุดเลยทีเดียว
    เพราะคนทั่วไปชอบเรียนข้ามขั้น
    เช่น ฉันมีศีลแล้ว ฉันจะไปเจริญปัญญา เป็นต้น
    และคิดว่า จิตตสิกขา คือการเรียนเรื่องสมาธิอย่างเดียว
    ความจริง จิตตสิกขา คือ การเรียนรู้เรื่องจิต (ทุกอย่างเกี่ยวกับจิต เพื่อการเจริญปัญญาต่อไป)
    เช่น ต้องรู้ว่า จิตชนิดใดไว้เจริญวิปัสสนา
    จิตชนิดใดไว้ทำสมถะ
    จิตชนิดใดเป็น กุศล
    จิตชนิดใดเป็น อกุศล
    ฯลฯ
    แล้วเราก็ต้องเลือกว่าเราจะใช้จิตชนิดไหนไปเจริญอะไร
    จิตชนิดไหนทำแล้วไปนรก หรืออบายภูมิ 4
    เราก็เลือกใช้จิตที่เป็นกุศลมาเจริญสมถะ กับ วิปัสสนา
    ต้องเลือกให้ถูกต้องด้วย ถ้าเลือกผิดก็ไม่เกิดผลหรืออาจเกิดผลเสียไปเลยก็ได้
    เป็นต้น

    ส่วนด้านปัญญาสิกขา หลวงพ่อก็สอนหมดเปลือกเหมือนกัน
    ท่านสอนว่า การจะทำให้จิตจะเกิดปัญญารู้แจ้งไตรลักษณ์ของรูปนามได้นั้น
    ก็มีทางเดียวเท่านั้นคือ การมีเจริญสติปัฏฐานรู้รูปรู้นามจนเห็นความจริง
    สอนว่า ก่อนที่จะรู้รูปนามจนเกิดปัญญาได้นั้น
    จิตต้องมีความตั้งมั่น เป็นสัมมาสมาธิก่อน
    มิฉะนั้นจิตจะเคลื่อนเข้าไปจับอารมณ์รูปนามนั้น (หรืออารมณ์บัญญัติอื่นๆ)
    เรียกว่า "จิตส่งออกนอก" (สำนวนของหลวงปู่ดูลย์)
    หรือเรียกว่า "จิตถลำลงไปรู้"
    หรือ "จิตไม่ตั้งมั่น" นั่นแหละครับ
    หรือ "จิตมันเข้าไปตั้งแช่อยู่ในอารมณ์" ทำให้ไม่ตามความเป็นจริง
    เพราะการส่งจิตไปตั้งแช่ในอารมณ์
    ไม่ได้ตั้งมั่นเป็นผู้รู้ผู้ดู
    ไม่ทำให้เกิดปัญญาได้
    เป็นต้น

    ให้คุณลองอ่านหนังสือ "วิมุตติมรรค" ของท่านก่อนดีกว่า
    แล้วจะรู้ได้ว่า ท่านสอนขัดแย้งกับพระพุทธเจ้ารึเปล่า

    ผมกล่าวขนาดนี้แล้ว ยังเห็นว่าท่านสอนไม่ครบถ้วนหรือเปล่าล่ะครับ
    ถ้ายังจะโต้แย้งอะไรอีก ผมก็เหนื่อยที่จะตอบกลับแล้วเหมือนกันครับ...

    และที่คุณบอกว่า การฝึกสัมมาสมาธิเป็นการฝึกสร้างสตินั้น
    ผมว่าไม่ใช่นะครับ
    ถิรสัญญา (การจดจำสภาวธรรมได้แม่นยำ) เป็นเหตุใกล้ให้เกิดสติ
    สติ เป็นเหตุใกล้ให้เกิด ความสุข
    ความสุข เป็นใกล้ให้เกิด (สัมมา)สมาธิ
    สัมมาสมาธิ เป็นเหตุใกล้ให้เกิด ปัญญา

    คุณลองศึกษาพระอภิธรรมปิฎกดูดีๆก่อนนะครับ
    จะได้ไม่หาว่าผมหรือพระท่าน make ขึ้นมาเอง

    สุดท้ายนี้ผมฝากไว้ว่า
    ไม่อยากให้ใครที่ไม่ได้ศึกษาธรรมะที่หลวงพ่อท่านสอนจริงๆ
    มาวิจารณ์คำสอนของท่าน
    หรือมาคาดคะเนภูมิธรรมของท่านด้วย
    เจอบ่อยเหลือเกิน ไม่รู้เป็นอะไร
    ที่ผมพ่นมาโดยยาวเหยียดนี้
    ไม่ใช่การโต้วาทีเพื่อหักล้างความเห็นคนอื่นนะครับ
    แต่ก็มีหลายคนหาว่าผมบ่นอะไรก็ไม่รู้ ไร้สาระ
    หาว่าผมปกป้องหลวงพ่อบ้าง
    ฯลฯ

    แม้การวิจารณ์เป็นสิทธิ์ของท่าน
    แต่แค่อยากให้นักวิเคราะห์ วิจัย วิจารณ์ทั้งหลาย...
    ศึกษาคำสอนของท่านนั้นให้ลึกซึ้งจริงๆเสียก่อน
    แค่ศึกษายังไม่พอหรอก...
    ต้องปฏิบัติตามนั้นด้วยครับ
    ไม่ใช่ทางสู่รังของอสรพิษร้ายหรอกนะครับ

    ด้วยความเคารพอย่างสูง
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 8 พฤศจิกายน 2009
  13. วิษณุ12

    วิษณุ12 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2008
    โพสต์:
    5,337
    ค่าพลัง:
    +6,846
    [​IMG] ... สาธุ ยอดเยี่ยม
     
  14. k.kwan

    k.kwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    15,900
    ค่าพลัง:
    +7,310
    เอ่อ...อยากเพิ่มข้อมูลเกี่ยวกับ ท่านธรรมภูติ ให้ท่านสมมุติสัจจะ รับทราบ
    ข้าพเจ้าได้เคยรับทราบมาว่า ท่านธรรมภูติ เคยกล่าวปฏิเสธตำราพระอภิธรรม
    ในเว็บพลังจิตแห่งนี้และไม่ยอมรับว่าเป็นคำสอนของพระพุทธองค์ เขายอมรับเพียง
    พระสุตันตปิฏกและพระธรรมวินัยเท่านั้น แต่ไม่ทราบว่าปัจจุบันมีการเปลี่ยนแปลงหรือยัง
    ถ้ากล่าวผิดไป หรือไม่ตรงใจท่านธรรมภูติ ก็ขออภัย ละกันนะ
     
  15. ศุภกร เต็มคำขวัญ

    ศุภกร เต็มคำขวัญ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 ธันวาคม 2008
    โพสต์:
    307
    ค่าพลัง:
    +1,107
    นานาจิตตัง...

    ใครเลือกเดินทางไหนก็เดินไป...
    พระพุทธเจ้าท่านมอบวิธีขึ้นสู่ยอดเขาไว้แล้วตั้งมากมาย...
    พระองค์เองท่านวนมารอบเขาแล้ว
    จึงรู้หมดว่าทางไหนนำไปสู่ยอดเขาจริง...
    ทางไหนไม่ได้นำไปสู่ยอดเขาจริง...
    โดยท่านมอบไว้ให้เหล่ามนุษย์ทั้งหลายในรูปของ
    พระวินัยปิฎก...
    พระสุตตันตปิฎก...
    และพระอภิธรรมปิฎกแล้ว...
    ครูบาอาจารย์พระผู้รู้จริงนั้น...
    ท่านทั้งหลายเป็นทางผ่านของพระธรรมแห่งพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
    มาสู่มวลมนุษย์...
    ชี้นำทางให้สรรพสัตว์ทั้งหลายเดินไปอย่างถูกทาง
    เพื่อให้ได้เสพอมตธรรมนั้นในที่สุดเช่นเดียวกับพระอนหันต์ทั้งหลาย
    ที่มีพระพุทธเจ้าเป็นถางทางไว้ให้อย่างเรียบร้อยดีแล้ว
    แต่เป็นเรื่องที่น่าสงสารแก่บรรดาชาวพุทธในปัจจุบัน
    ที่ต้องคอยเลือกด้วยโยนิโสมนสิการว่า
    คำสอนของใครที่เป็นของจริง ตรงตามพระไตรปิฎกจริง
    และคำสอนของใครที่เป็นของปลอม ไม่มีในพระไตรปิฎก...
    ถ้าใครเลือกทางเดินผิด แล้วยังขยันเดินอยู่...
    ก็ไม่รู้ว่าจะได้กลับลำได้ตอนไหน
    เพราะได้เดินทางนั้นมาไกลเกินเสียแล้ว

    อยู่ที่พวกเราชาวพุทธทุกคน
    ที่จะเลือกเดินตามทางแห่งกระแสพระสัทธรรมที่ถูกต้องนั้นให้ถึงที่สุด...
    ไม่ชาตินี้ก็ชาติหน้า...
    ไม่ชาติหน้าก็ชาติต่อไป...
    ไม่ชาติต่อไปก็ชาติต่อๆไป...
    แม้ในปัจจุบัน
    อินทรีย์ของมนุษย์ในยุคนี้ไม่เทียบเท่ากับในสมัยพุทธกาล
    แต่ก็มิใช่เรื่องที่ควรคิดเลย...
    เพราะตราบใดที่เรายังมีพระแท้คอยบอกทางให้
    และตราบใดที่เรายังขยันบำเพ็ญเพียรภาวนาอย่างไม่หยุดยั้ง...
    สักวันหนึ่งข้างหน้า อย่างไรก็ต้องถึงในที่สุด
    จะช้าหรือเร็วก็ขึ้นอยู่กับ...
    สิ่งที่เราปฏิบัติอยู่นั้นถูกต้องตามคำสอนของพระพุทธเจ้าหรือไม่...
    และเรามีความเพียรมากน้อยเพียงใด...






    "ผู้ใดมีสติอยู่ ผู้นั้นชื่อว่ามีความเพียร
    ผู้ใดขาดสติอยู่ ผู้นั้นชื่อว่าขาดความเพียร"

    "กิเลสเท่ามหาสมุทร แต่ความเพียรเท่าฝ่ามือ
    มันห่างไกลกันขนาดไหน...
    คนสมัยนี้เพียงใช้ฝ่ามือแต่มหาสมุทร
    ทำความเพียรเพียงเล็กน้อย
    แต่หมายมั่นปั้นมือว่าจะข้ามโลกสงสาร
    เมื่อไม่ได้ตามใจหวังก็หาเรื่องตำหนิศาสนาและกาลสถานที่"

    -หลวงปู่มั่น ภูริทัตฺโต-
     
  16. kengkenny

    kengkenny เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 ธันวาคม 2008
    โพสต์:
    2,878
    ค่าพลัง:
    +2,500
    ดูมันทำสิ ออกไปโน้นปรุงไปถึงอริยะสัจสี่แล้ว ยังมาหาอิทธิบาท๔ อีก สุดแสนจะน่าสงสารความฟุ้งซ่าน ผมแค่อยากรู้คำตอบว่ามีไหม เรื่องของจินนี่ก็จินนี่สิครับ ไม่ใช่เก่งเคนนี่สักหน่อย สุดท้ายก็ออกทะเลหาคำตอบไม่ได้เลยและก็หาอะไรที่เป็นธรรมที่สมควรแก่ธรรมไม่ได้เลย พวกสติเกิดเองมันก็เป็นอย่างนี้นี่แหละครับ ผมก็เห็นว่าไม่แปลกเลย ที่จะโยกโย้และสุดท้ายก็ไม่ได้คำตอบ และถูกต้องผมอ่านแล้วแต่ไม่ได้รู้สึกสนใจเพราะไม่ใช่ประเด็นที่ผมถาม อย่างนี้ แบบไหนเรียกว่า สติ ละครับ และอะไรคือความฟุ้งซ่านปรุงแต่งไปละครับ ไกลเหลือเกินนะครับ บุญพิชิตยิ่งเรื่องที่คนเช่นพวกท่านมาสอนสั่งผมนั้น ยิ่งเป็นเรื่องที่สุดแสนจะละเมอเพ้อฝันอย่างหาที่สุดไม่ได้เลย คนที่ไม่มีสติเป็นของตนเองจะมาสอนสั่งผมนี่นะ ถามเพื่อนๆพวกพ้องคุณดูหรือยังครับ ที่ว่าจะมาสอนผมนี่นะ ยิ่งบอกๆได้เต็มปากเลยว่าบ้าไปแล้ว หาสติให้เจอก่อน แล้วค่อยมาว่ากันต่อก็ยังไม่สาย ไม่ว่าชาติไหนๆครับ ทั้งก๊กเลย
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 8 พฤศจิกายน 2009
  17. ธรรมภูต

    ธรรมภูต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    3,621
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +2,192
    ท่านครับ ไม่ต้องยกมาซะมากมายขนาดนี้ก็ได้ รู้แล้วครับว่าไม่รู้จักสัมมาสมาธิ
    แค่ทางเดินของจิต(มรรค)ในสติปัฏฐานหมวดกายในบรรพแรก ก็เห็นไตรลักษณะชัดเจนแล้วครับ
    การพิจารณากายในกาย เป็นภายในบ้าง
    การพิจารณากายในกาย เป็นภายนอกบ้าง
    การพิจารณากายในกาย ทั้งภายในและภายนอกบ้าง

    ทั้งหมดที่กล่าวนี้ เป็นวิปัสสนาทั้งสิ้น ในระหว่างนั้นยังกระเทือนถึง เวทนา จิตและธรรมด้วย

    คนที่เค้าเข้าถึงกายในกาย เวทนาในเวทนา จิตในจิต ธรรมในธรรม ไม่พูดจาวกไปเวียนแบบนี้หรอกครับ

    ถ้าเป็นผู้ที่เข้าถึงจิตที่แท้จริงแล้ว คงไม่กล้ากล่าวร้ายว่า
    พ่อแม่ครูบาอาจารย์อย่างหลวงปู่ดูลย์ ท่านกล่าวธรรมคลาดเคลื่อนไป
    และยังกล้าพูดแอบอ้าง พ่อแม่ครูบาอาจารย์อย่างหลวงปู่สิม รับรองภูมิธรรมให้
    ทั้งๆที่ธรรมที่สอนต่างกันอย่างสิ้นเชิง โดยเฉพาะเรื่องจิตเรื่องเดียวก็ขัดกันอย่างชัดเจน.............

    ;aa24
     
  18. ธรรมภูต

    ธรรมภูต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    3,621
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +2,192
    เมื่อคัดค้านสุตตะนั้น ก็เท่ากับคัดค้านพระพุทธเจ้าด้วย

    หัดอ่านซะบ้างว่า แม้อรรถกถาก็ยังไม่กล้าคัดค้านพระสูตร


    อ้างอิง:
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=6 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD class=alt2 style="BORDER-RIGHT: 1px inset; BORDER-TOP: 1px inset; BORDER-LEFT: 1px inset; BORDER-BOTTOM: 1px inset">๓- วิ. มหา. เล่ม ๕/ข้อ ๙๒

    ก็ปิฏก ๓ ที่ยกขึ้นสู่สังคีติ ๓ ชื่อว่าสุตตะ
    ในปกิณณกะ มีสุตตะเป็นต้น.
    ข้อที่เข้ากันได้กับกัปปิยะ ชื่อว่าสุตตานุโลม.
    อรรถกถา ชื่อว่าอาจริยวาท.
    ปฏิภาณของตน ตามความคาดหมายตามความรู้ ชื่อว่าอัตตโนมัติ.

    ในปกิณณกะเหล่านั้น สุตตะ ใครๆ คัดค้านไม่ได้
    เมื่อคัดค้านสุตตะนั้น ก็เท่ากับคัดค้านพระพุทธเจ้าด้วย.
    เมื่อคัดค้านสุตตะนั้น ก็เท่ากับคัดค้านพระพุทธเจ้าด้วย
    เมื่อคัดค้านสุตตะนั้น ก็เท่ากับคัดค้านพระพุทธเจ้าด้วย

    ส่วนข้อที่เข้ากับได้กับกัปปิยะ ควรถือเอาเฉพาะข้อที่สมกับสุตตะเท่านั้น
    นอกนั้นไม่ควรถือเอา.

    แม้อาจริยวาทเล่า ก็ควรถือเอาแต่ที่สมกับสุตตะเท่านั้น
    นอกนั้นไม่ควรถือเอา.

    ส่วนอัตตโนมัติเพลากว่าเขาทั้งหมด.
    แม้อัตตโนมัตินั้นก็ควรถือเอาแต่ที่สมกับสุตตะเท่านั้น
    นอกนั้นไม่ควรถือเอา.

    ก็สังคีติมี ๓ เหล่านี้คือ
    ปัญจสติกสังคีติ (สังคายนาครั้งที่ ๑)
    สัตตสติกสังคีติ (ครั้งที่ ๒)
    สหัสสิกสังคีติ (ครั้งที่ ๓).

    แม้สุตตะเฉพาะที่มาในสังคีติ ๓ นั้น ควรถือเอาเป็นประมาณ.
    นอกนั้นเป็นที่ท่านตำหนิ ไม่ควรถือเอา.

    จริงอยู่ บทพยัญชนะแม้ที่ลงกันได้ในสุตตะนั้น
    พึงทราบว่าลงกันไม่ได้ในพระสูตรและเทียบกันไม่ได้ในพระวินัย.
    </TD></TR></TBODY></TABLE>

    ท่านเห็นหรือยังว่า แม้ท่านอรรถกถาจารย์เองยังต้องเชื่อพระพุทธวจนะเท่านั้น
    การจะเชื่ออะไรนั้น ต้องยืนบนหลักเหตุผล ตริตรองตามได้ถึงควรจะเชื่อ
    ไม่ใช่เชื่อแบบหลับหูหลับตาเชื่อ ตามตำราหรือศรัทธาเท่านั้น โดยขาดเหตุผลก็ยังจะเชื่ออีก

    ธรรมภูต

    ;aa24
     
  19. ศุภกร เต็มคำขวัญ

    ศุภกร เต็มคำขวัญ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 ธันวาคม 2008
    โพสต์:
    307
    ค่าพลัง:
    +1,107

    ..............
     
  20. ศุภกร เต็มคำขวัญ

    ศุภกร เต็มคำขวัญ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 ธันวาคม 2008
    โพสต์:
    307
    ค่าพลัง:
    +1,107
    ขอโทษที่รบกวนธรรมภูตที่ต้องมานั่งอ่านซะยาวเหยียดนะครับ...
     

แชร์หน้านี้

Loading...