ไม่มีพระพุทธรูป ไม่มีพระเครื่อง

ในห้อง 'พุทธศาสนา และ ธรรมะ' ตั้งกระทู้โดย อุรุเวลา, 13 พฤศจิกายน 2013.

  1. อุรุเวลา

    อุรุเวลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 ธันวาคม 2011
    โพสต์:
    3,464
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +8,002
    <strong><span style="color:#0000ff;">พระธรรมมีความงามทั้งเบื้องต้น, ท่ามกลาง และเบื้องปลาย.</span></strong>

    หรือดังที่บอกแล้วว่า <b>พระศาสนาก็ดี พระธรรมทั้งหลายก็ดี มีความงาม เป็นเครื่องดึงดูดใจ</b>. ถ้าคนฟังเข้าใจ ก็จะรู้สึกความงามในพระศาสนา หรือในพระธรรมวินัย แล้วเขาก็ยอมรับปฏิบัติ.

    เรื่องทางศาสนา ก็ยังเกี่ยวกับ <b>วิธีการที่เรียกว่า ศิลป ; ดังที่พระพุทธเจ้าก็ทรงใช้คำว่า งามเบื้องต้น งามท่ามกลาง งามเบื้องปลาย ว่าเป็นลักษณะอันสำคัญ</b> ถึงกับทรงกำชับให้ภิกษุทั้งหลายแสดงธรรม ประกาศพรหมจรรย์ให้งดงาม ถึงขนาดนี้.

    นี่เราในฐานะที่เป็นสาวก ก็มีหน้าที่ทั้งทางที่จะศึกษาปฏิบัติ, และทั้งทางที่จะสืบพระศาสนา คือเผยแพร่สั่งสอนกันสืบไป. เราต้องมีความรู้ ความเข้าใจซึบซาบมาแล้วโดยถูกต้อง และครบถ้วนว่า พระธรรมนั้นงามอย่างไร มีประโยชน์อย่างไร ละเอียดประณีตอย่างไร จึงจะสามารถสั่งสอนเผยแผ่พระพุทธศาสนาสืบต่อไป, ไปยังบุคคลอื่น อันจะมีมาในภายหลัง ให้เขาได้เข้าใจและรับเอาไปได้ ซึ่งพระธรรมอันสูงสุด, โดยวิธีการแห่งศิลป อันจะพึงใช้ในการเผยแผ่.

    <b>อาตมาจึงเห็นว่า เป็นการสมควรอย่างยิ่ง ที่จะมีวิธีการ คือการใช้ศิลปให้ถูกต้อง ในการเผยแผ่พระพุทธศาสนา.</b>

    คนทั่วไปในโลก จะเป็นฝรั่งหรือเป็นคนพวกไหนก็ดี มีคำว่า <b>art </b> หรือ <b> ศิลป </b>นี้ใช้ ก็เพราะเกิดความรู้สึกขึ้นมาได้ในภายใน จากจิตใจของตัวเอง ซึ่งนิยมความงาม ความมีประโยชน์ และความละเอียดประณีตในทางฝีมือ ; ฉะนั้นเขาจึงใช้คำคำนี้กันทั่วไปหมด แม้ในภาษาไทยก็มีคำคำหนึ่งที่ใช้ในความหมาย ที่ตรงกับคำว่า art หรือ ศิลป.

    ธรรมะในศาสนาของเรา ก็มีอาการอย่างนี้อยู่แล้ว, มีหลักเกณฑ์อย่างนี้อยู่แล้ว ; ฉะนั้นจึงสะดวกที่จะใช้ ; และจะน่าหัวเราะมากทีเดียว ถ้าว่าจะพูดว่า เรามีอยู่แล้ว เราใช้อยู่แล้ว แต่เราก็ยังไม่รู้จักชื่อของมัน, ไม่รู้จักเรียกคำคำนี้, ทั้งที่เราก็ได้ใช้กันอยู่แล้ว :-

    ในการแสดงธรรมก็ดี ในการเขียนประพันธ์ก็ดี มีการใช้ศิลปอย่งเต็มที่. ที่เป็นไปสุดเหวี่ยง ก็คือการใช้กาพย์กลอนที่ไพเราะ ; แม้จะเป็นคำร้อยแก้ว ไม่ใช่กาพย์กลอน ก็ต้องมีลักษณะแห่งศิลปเต็มที่, คือ ถ้อยคำไพเราะ มีเนื้อความดีสูง ทำได้โดยยาก. นี้เราก็ได้ใช้กันอยู่แล้วเป็นประจำ และนานมาแล้วด้วย.

    โดยเฉพาะอย่างยิ่ง อย่างอาตมา ซึ่งทำการเผยแผ่พระพุทธศาสนามาหลายสิบปี ; สิ่งที่ทำไปก็มีรูปแบบแห่งศิลปอย่างมากทีเดียว ในการที่จะเผยแผ่พระธรรม คำสั่งสอนเหล่านั้น. ท่านทั้งหลายก็มีด้วยเหมือนกัน; ในบางคนที่ได้ทำงานอยู่ในลักษณะอย่างนี้ ใช้มันอยู่แล้ว ได้รับประโยชน์แล้ว ก็ยังไม่รู้จักชื่อของมัน ว่าจะเรียกว่าอะไรดี.

    เดี๋ยวนี้ก็จะเอาชื่อของมันมาเผยแผ่ มาประกาศให้รู้ว่า เราจะเรียกกันว่าศิลป คือ สิ่งที่มีความงามจับใจ มีคุณค่าใหญ่หลวง แล้วก็มีความประณีตละเอียดในการสร้างสรรค์. นี้คือศิลปในความหมายที่แท้จริง ที่ถูกต้องไม่เป็นการหลอกลวง.

    <strong><span style="color:#0000ff;">เหตุที่ควรมีศิลปแห่งการมีพระพุทธเจ้าอยู่กับตัว</span></strong>.

    หัวข้อเรื่องมีว่า ศิลปแห่งการมีพระพุทธเจ้าอยู่กับเนื้อกับตัว นี้ก็ควรจะนึกกันให้ทั่วถึงว่า ทำไมจะต้องมาอยู่กับเนื้อกับตัว ? ถ้าไม่อยู่กับเนื้อกับตัว ก็จะช่วยอะไรไม่ได้แล้วจะไม่มีประโยชน์อะไร. <b>พระคุณของพระพุทธเจ้าหรือพระคุณของพระธรรม หรือพระคุณของพระสงฆ์ จะมีประโยชน์แก่เรา ก็ต่อเมื่อเราเอามาทำให้อยู่กับเนื้อกับตัว.</b>

    ถ้าไม่รู้จักพระพุทธเจ้าโดยภาษาธรรม ก็จะไม่เข้าใจคำว่า มาอยู่กับเนื้อกับตัว ; เพราะเห็นว่าพระพุทธเจ้านั้น ก็เป็นบุคคลตายแล้ว เผาแล้ว. นี่พูดภาษาชาวบ้าน; เหลือแต่กระดูกแล้ว ไม่พอแจกกัน ที่จะเอามาอยู่กับเนื้อกับตัว, ทำเป็นพระพุทธรูปขึ้นมาแทน แล้วมาแขวนไว้ที่คอ แล้วก็จะเรียกว่า อยู่กับเนื้อกับตัว.

    นี่แหละมันเป็นเรื่องติดตัน ตายด้าน กันอยู่ที่ตรงนี้ ว่าจะทำให้พระพุทธเจ้ามาอยู่กับเนื้อกับตัวได้อย่างไร.

    <b>เขาเอาพระพุทธรูปมาแขวนคอ ด้วยความคิดว่าอย่างไร ? ส่วนมากก็ด้วยความเห็นแก่ตัว, เห็นแก่ประโยชน์ของตัว มีแต่ความขลาด ความกลัว</b> เอาพระพุทธรูป พระเครื่อง มาแขวนไว้ที่คอ ด้วยความคิดว่าจะปลอดภัยด้วยความคิดว่าจะร่ำรวยมากเร็ว ๆ ด้วยความคิดว่า จะให้คนรักทั่วทุกทิศทุกทาง<b>. นี่เอาพระพุทธรูปมาแขวนไว้ในลักษณะอย่างนี้ ซึ่งพระพุทธเจ้าพระองค์จริงไม่เคยตรัส.</b>

    พระพุทธเจ้าไม่เคยตรัสเรื่องเกี่ยวกับพระพุทธรูป; เพราะมันไม่มี ในครั้งพุทธกาล ไม่มีพระพุทธรูป ไม่มีพระเครื่อง; ฉะนั้นจึงไม่มีข้อความใด ๆ ที่พระพุทธเจ้าได้ตรัสไว้เกี่ยวพระพุทธรูปหรือพระเครื่อง. การที่ถือว่าเอาพระเครื่องมาแขวนคอ แล้วจะปลอดภัย จะรวย ใครเห็นก็จะรัก ; นี่เป็นเรื่องว่าเอาเองทีหลัง. จะอยู่กับเนื้อกับตัวได้หรือไม่ ก็ลองดูเถิด.

    อาตมาชักจะสงสัย จึงได้เอามาพูด ให้ใคร่ครวญกันดู พิจารณากันดู ว่าเอาพระพุทธรูปมาแขวนเข้าที่คอห้อยอยู่ที่ใต้คาง ที่หน้าอก, เวลากินเหล้า ยกแก้วเหล้าข้ามหัวพระเครื่อง วันหนึ่งตั้งหลาย ๆ หน, แล้วพระเครื่องนั้นจะเป็นอย่างไร; ถ้าเป็นพระพุทธเจ้าจริง มีจิต มีวิญญาณสิงอยู่ในนั้น แล้วจะรู้สึกอย่างไร นี้เรียกว่า เอาแก้วเหล้าข้ามหัวท่าน.

    ทีนี้บางทีก็จะเก็บพระเครื่องไว้ที่อื่นก็ได้; แต่พอถึงเวลาที่เขาจะทำพิธีกินเหล้า เขายกแก้วเหล้าขึ้นชูเหนือหัว เหนือศรีษะ พร้อมกัน ในการดื่มอวยพรให้คนนั้นคนนี้ ยกแก้วเหล้าขึ้นเป็นสิ่งสูงสุดกว่าสิ่งใดยกขึ้นเหนือหัว; แล้วพระพุทธรูป พระพุทธเจ้าที่เอามาเก็บไว้เพื่อตัวนั้น จะรู้สึกอย่างไร. ถ้ามีจิตมีวิญญาณก็จะไม่สำเร็จประโยชน์เลยในการที่หวังว่า จะพึ่งพาอานุภาพของพระเครื่อง ของพระพุทธรูป.

    จะทำพิธีพุทธาภิเษก ให้วิเศษมากี่วัดกี่วากี่ร้อยครั้ง ถ้าเอาแก้วเหล้าข้ามหัวทีเดียว มันก็หมดแหละ มันก็หมดความหมายแหละเมื่อข้ามหัว; เพราะว่าเหล้านั่นเองทำให้หมดความเป็นพระเศียร เหลือแต่หัวตามแบบของวัตถุ. เมื่อยังไม่ได้เอาแก้วเหล้ามาข้ามหัว ก็ยังมีคำว่า พระเศียรอยู่, สูงสุดอยู่; พอเอาแก้วเหล้าข้ามหัวเสียแล้ว มันก็หมดความหมายของคำว่า พระเศียร เหลือแต่หัว.

    นี่อาตมาจึงใช้คำว่า “ <i>ข้ามหัวท่าน</i> ” จนหมดความเป็นพระเศียร, แล้วก็ไม่มีความเป็นพระพุทธเจ้าเหลืออยู่; เพราะถูกข้ามหัวด้วยแก้วเหล้า วันหนึ่งหลาย ๆ ครั้ง สำหรับคนกินเหล้า. หรือว่าคนไม่กินเหล้า ก็ยังจะยกอะไรข้ามหัวท่านอยู่บ่อย ๆ ; แม้แต่กินข้าว กินแกง กินกับ กินอะไรก็ตาม มันต้องกินทางปาก มันก็ข้ามหัวพระเครื่องแล้วไม่เห็นใครเคยถอดพระเครื่อง แล้วจึงกินจึงดื่ม

    เอาละ, เป็นอันว่า คนที่เขาอยากจะมีพระพุทธเจ้า อยู่กับเนื้อกับตัวนั้น มันไม่มีความหมายเสียแล้ว ถ้าทำเพียงเท่านี้; แม้ว่าบางคนจะมาสักลงไปในหนัง ลงในผิวหนัง เป็นรูปพระพุทธรูป เป็นรูปพระพุทธเจ้าให้อยู่กับเนื้อกับตัว แล้วก็ยังปฏิบัติอย่างเดียวกัน กับพระเครื่องที่เอามาแขวนไว้; แล้วก็ใช้ร่างกายนี้ ทำแต่สิ่งที่ไม่น่าดูเป็นบาป เป็นอกุศล ; มันก็ไม่มีประโยชน์อะไรที่จะสักพระพุทธรูปไว้ที่เนื้อที่ตัว ที่หนัง.

    เอาละ, เป็นอันว่า เขาควรจะคิดหาวิธีอื่น ที่จะทำให้มีพระพุทธเจ้าพระองค์จริง แล้วก็มาอยู่ที่เนื้อที่ตัวกันจริง ๆ.

    <strong><span style="color:#0000ff;">พระพุทธเจ้าที่จะอยู่กับตัวได้ คือ ปฏิจจสมุปบาทธรรม</span>.</strong>

    ข้อแรกก็จะต้องพูดถึง พระพุทธเจ้าพระองค์จริงเรื่องมันก็มาก; แต่มันก็จำเป็นจะต้องพูดอีกว่า<b>พระพุทธเจ้าพระองค์นั้น ต้องไม่ตาย ต้องไม่นิพพาน ต้องยังอยู่ตลอดกาล แล้วก็อยู่กะเราได้ และเข้าไปอยู่ในจิตใจของเราได้. ข้อนั้นคือ สิ่งที่พระพุทธเจ้าท่านเรียกว่าพระธรรม</b>; ดังพระพุทธภาษิตที่ว่า <b>ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา ; ผู้ใดเห็นเรา ผู้นั้นเป็นธรรม</b> ; เพียงแต่เห็นเนื้อตัว จับชายจีวรอยู่, ไม่เห็นธรรม ก็ไม่ชื่อว่าเห็นเรา ต้องเห็นธรรม, เห็นพระธรรม.

    ทีนี้เห็นพระธรรม เห็นที่ตรงไหน ? ก็จะเหมา ๆ เอาว่า พระธรรมคำสอนทั้งหมดก็ได้. แต่พระพุทธเจ้าท่านยังตรัสไว้ชัดว่า <i>: ผู้ใดเห็นปฏิจจสมุปบาท ผู้นั้นเห็นธรรม ; ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นปฏิจจสมุปบาท</i> ; ก็เป็นอันยุติได้ว่า <b>เห็นปฏิจจสมุปบาท คือ เห็นธรรม<span style="color:#0000ff;">. </span></b>

    <strong><span style="color:#0000ff;">จักรกลของการเห็นปฏิจจสมุปบาทฝ่ายเกิด</span></strong><b>.</b>

    ทีนี้เห็นปฏิจจสมุปบาทนั้น คือเห็นอะไร ? ต้องเห็นกันอย่างถูกต้อง ก็พูดได้ง่าย ๆ ว่า <b>เห็นในการเกิดขึ้นแห่งความทุกข์ และการดับลงแห่งความทุกข์อย่างถูกต้อง แท้จริงและสมบูรณ์นี้</b> <b>เรียกว่า เห็น ปฏิจจสมุปบาท.</b>

    ก็มีปัญหาว่าเห็นที่ไหนล่ะ ? ตรงไหนล่ะ ความทุกข์เกิดขึ้น ? ตรงไหนล่ะความทุกข์ดับไป ? มันเลยต้องรู้ลึกเข้าไปถึงภายในจิตใจ ว่าเมื่อไรกระแสปฏิจจสมุปบาทเกิดขึ้น ? เมื่อไรกระแสปฏิจจสมุปบาทดับลง ? จนกระทั่งพบว่าเมื่ออายตนะข้างนอก อายตนะข้างในถึงกันเข้าแล้วก็เกิดวิญญาณ, มีชื่อตามอายตนะนั้น ๆ .

    เช่น จักษุวิญญาณ โสตวิญญาณ เป็นต้น ; อายตนะภายในด้วย อายตนะภายนอกด้วย วิญญาณนั้นด้วยสามอย่างนี้ ทำงานร่วมกัน ก็เรียกว่า ผัสสะ ; ก็ต้องเห็นผัสสะ ต้องรู้จักผัสสะ จริง ๆ ด้วย ซึ่งเป็นเรื่องข้างใน.

    <i>ผัสสะเป็นเหตุให้เกิดเวทนา</i> ก็ต้องเห็นจริง ๆ ว่ามันเป็นอย่างไร. ที่เรียกว่าผัสสะให้เกิดเวทนานั้น มันจะให้เกิดความทุกข์ได้อย่างไร ก็เห็นได้จริง ๆ ว่า ในขณะแห่งผัสสะนั้นคนยังโง่อยู่. เมื่อขณะผัสสะนั้นคนยังโง่อยู่ ไม่มีปํญญา ไม่มีวิชชา ไม่มีสติ ไม่มีอะไรหมด. ผัสสะโง่ก็ทำให้เกิดเวทนาโง่ สำหรับจะหลงรัก หรือหลงเกลียดในสุขหรือทุกข์ น่ารักหรือน่าชัง ; เวทนาโง่นี้ มันก็มาจากผัสสะโง่ <i>ผัสสะโง่ก็มาจากอวิชชา ที่เข้ามาประสมโรงเกิดขึ้นในขณะแห่งผัสสะ.</i>

    เวทนาโง่แล้ว มันก็ทำให้เกิดความอยากที่โง่ ๆ คือ ตัณหา. เกิดตัณหาแล้ว ก็ช่วยไม่ได้ ; มันจะเกิดความรู้สึกเจ้าของตัณหา คือ มันอยากอะไร ; มันจะเกิดความรู้สึกติดกันมาอีกทีว่า กู ผู้อยาก คือผู้อยาก นี้แหละ คือ ตัวตนตั้งต้นกันที่ตรงนี้ คือ ความโง่ถึงที่สุด คือโง่จนว่า มีตัวมีตน ; ไม่ใช่เป็นเพียงแต่กระแสการปรุงแต่งของจิต ที่ประกอบด้วยอวิชชา.

    นี่มันเห็นยาก , เห็นยากแหละ ที่ว่าจะเห็นธรรมนี่ เห็นยากกันที่ตรงนี้เอง มันลึก ; แล้วเราก็มีแต่อวิชชา แล้วก็จะเห็นของลึกได้อย่างไร.

    <b>มีอุปทานแล้ว ก็เท่ากับว่า ภพ หรือความมีอยู่แห่งตัวตนนั้น ได้ตั้งขึ้นพร้อมแล้ว. ภพความมีอยู่พร้อมแล้ว มันก็คลอดออกมาเป็นชาติ เป็นตัวกู, เป็นความรู้สึกเป็นตัวกู ซึ่งยืนอยู่เป็นประธาน.</b>

    ทีนี้ อะไร ๆ ที่ตัวกูกวาดเอาเข้ามา ก็จะเป็นทุกข์ทั้งนั้น : ความเกิดก็เป็นทุกข์ , นี้ความเกิดอย่างท้องแม่ก็เป็นทุกข์ ; เพราะมันมีชาติอย่างอุปาทานนี้ขึ้นมาแล้วก็เก็บกวาดเอา ชาติอย่างที่เป็น ชาติอย่างเกิดจากท้องแม่ เอามาเป็นทุกข์ ความแก่เอามาเป็นทุกข์ ความตายเอามาเป็นทุกข์ โสกะปริเทวะทุกขะโทมนัสอุปายาส กี่อย่าง ๆ เอามาเป็นทุกข์ คือเป็นของกู ; เพราะมาถือเอาเป็นของกู จึงเกิดเป็นความทุกข์ขึ้นมา ; ถ้าไม่ถือเอาเป็นของกู ก็ไม่เกิดเป็นความทุกข์อะไร ๆ ขึ้นมาเลย.

    มันต้อง<b>มีชาติ</b>, <i>ชา-ติ ความเกิดแห่งตัวตนจากอุปาทาน</i> ขึ้นมาเสียก่อน แล้วมันก็ ครองอัตตภาพนี้ป็นตัวตนเป็นของตน, จะรับเอาอะไร ๆ ที่เข้ามาเกี่ยวข้องกับอัตตภาพนี้ ว่าเป็นของตน, เอาอะไรมายึดถือเป็นของตน ก็ต้องเป็นทุกข์เพราะเหตุนั้น. นี่ทุกข์ทั้งปวงทั้งมวล ทั้งสิ้น เกิดขึ้นด้วยอาการอย่างนี้ . นี้เรียกว่า <b>เห็นปฏิจจสมุปบาทฝ่ายเกิดทุกข์</b> ซึ่งเป็นปฏิจจสมุปบาทซีกหนึ่ง ด้านหนึ่ง คือ ด้านเกิดทุกข์ .

    <span style="color:#0000ff;"><strong>จักรวาลในการเห็นปฏิจจสมุปบาทฝ่ายดับ</strong> .</span>

    ทีนี้ ในด้านที่ตรงกันข้าม มันก็ตั้งต้นคล้ายกัน : <b>อายตนะภายในกระทบกับอาตยนะภายนอก เกิดวิญญาณ ; สามอย่างนี้ ผสมกันทำงานเรียกว่า ผัสสะ</b> . ทีนี้มันก็จะเป็นด้วยอะไรก็สุดแท้ ชาวบ้านก็คงจะเรียกว่าโชคมันดี ; แต่ที่แท้ เพราะว่าเหตุปัจจัยมันดี : มีการศึกษา , ได้ยินได้ฟังคำของพระอริยเจ้า , ได้รับการศึกษา ฝึกฝน แนะนำที่ดี , เป็นคนที่มีความรู้ มีปัญญา มีวิชชา มีสติ ; ฉะนั้นพอมีผัสสะขึ้นมาแล้ว สติปัญญามันมา อวิชชาไม่มีโอกาสจะเกิด. <b>สติปัญญาหรือวิชชา มันเข้ามาควบคุมผัสสะนั้นเสีย</b> ; <b>ผัสสะนั้นก็เลยเป็นผัสสะฉลาด , ไม่เป็นผัสสะโง่ </b>เหมือนในกรณีแรกที่แล้วมา .

    มันมีผัสสะที่ฉลาดเสียแล้ว ; ผัสสะลืมตา ไม่หลับตา , เป็นผัสสะที่ตรัสรู้ได้ ในตัวมัน. ผัสสะชนิดนี้มันก็ให้เกิดเวทนาที่ฉลาด เพราะมันออกมาจากผัสสะที่ฉลาด ; ฉะนั้นเวทนานั้นจึงไม่เป็นที่ตั้งแห่งความหลงรัก หลงโกรธ หรือยินดียินร้าย . มันก็เป็นเวทนาที่แสดงตัวอยู่ว่า โอ๊ย ! นี่มันสักแต่เวทนาเว้ย ! มันสักว่าเป็นความรู้สึก ที่เกิดขึ้นแก่ระบบประสาท ตามธรรมชาติแท้ ๆ ; ไม่ใช่เป็นตัวเป็นตนของเวทนา , แล้วมันก็ไม่หลง ไม่เป็นที่ตั้งแห่งความหลงรักหลงเกลียด , เวทนาแสดงตัวออกมาในลักษณะที่สักว่า เวทนา , เป็นแต่สักว่า เวทนา .

    เวทนาชนิดนี้ไม่ให้เกิดตัณหา เพราะมันแสดงตัวถูกต้อง มีปัญญา มีวิชชา กำกับมา , เวทนาชนิดนี้ จะกลายเป็นมีประโยชน์ไปอีกทางหนึ่ง คือให้เราได้ความรู้เพิ่มขึ้น ๆ ว่าอะไรเป็นอย่างไร , อะไรเป็นอะไร , เวทนาเป็นอย่างไร, เรื่องนี้เป็นอย่างไร, เรื่องนี้มีอะไรที่จะต้องศึกษาให้เข้าใจ , ประพฤติกระทำกันอย่างไร.

    เวทนาชนิดทำให้มีความรู้งอกงามออกไป เกี่ยวกับเรื่องทางจิตใจของมนุษย์เรา มันเลยให้ประโยชน์ให้เป็นการศึกษาไปเสีย ; แล้วมันก็ไม่เกิดตัณหา : เวทนานั้นดับ - ตัณหาก็ดับ คือไม่เกิด , ตัณหาดับ – อุปาทานมันก็ดับ คือไม่เกิด ; เมื่ออุปทานไม่เกิด , ภพ – ชาติ ก็ไม่เกิด , ตัวกูก็ไม่เกิด , ไม่มีอะไรเป็นที่ตั้ง สำหรับจะเอามาเป็นผู้ยึดถือสิ่งทั้งหลายทั้งปวง , ความทุกข์ทั้งปวงก็ไม่เกิด .

    นี่คือ <b>ปฏิจจสมุปบาทฝ่ายดับ มีอยู่ในชีวิตจิตใจของคน มากมายหลายสิบครั้งต่อวันหนึ่ง ; เพราะมันมีทั้งตา ทั้งหู ทั้งจมูก ทั้งลิ้น ทั้งกาย ทั้งใจ ตั้ง ๖ อย่าง</b> ; แล้วเรื่องราวต่าง ๆ ในโลกนี้ก็มีมาก แม้แต่เพียงทางตาเรื่องเดียว ก็ยังมีหลายเรื่องหลายชนิด.

    ที่เรียกว่า ปฏิจจสมุปบาท เป็นรอบ ๆ นี้ เกิดขึ้นได้มาก ; ในทางฝ่ายที่เป็นทุกข์จะเกิดขึ้นได้มากกว่า ; เพราะว่า เราไม่มีวิชชาหรือปัญญาเพียงพอ มันจึงเกิดขึ้นเป็นความทุกข์รบกวนไม่มากก็น้อย แต่เราก็ไม่สนใจเห็นเป็นเรื่องไม่มีความหมายอะไร ; ถ้ามีทุกข์หนักเข้าก็มานั่งร้องไห้เสียดีกว่า ที่จะไปรู้ว่ามันคืออะไร , หนักเข้า ๆ ฆ่าตัวตายเสียดีกว่า มันจะได้รู้แล้วรู้รอดไป . ฉะนั้นยาที่กินให้ตาย มันก็ยังขายได้ ; เพราะเขาไม่รู้วิธีที่จะแก้ปัญหานี้อย่างไร.

    ทีนี้ ส่วนที่จะมารู้ว่า ผัสสะ เวทนา เป็นเพียงของเกิดขึ้นตามธรรมดา ไม่ควรยึดถือ นี้มันน้อยนักเพราะว่าอะไร ? เพราะว่าไม่ได้เรียนรู้เรื่องนี้ ; หรือว่าได้เรียน แต่มันก็ไม่เข้าใจเรื่องนี้ ; หรือว่าเข้าใจเรื่องนี้ มันก็ยังปฎิบัติไม่ได้.

    นี่แหละขอให้สนใจกันที่ตรงนี้ ว่าพระพุทธเจ้าตรัสว่า เห็นปฏิจจสมุปบาท คือ เห็นธรรม , เห็นธรรม คือ เห็นตถาคต. ทีนี้การเห็นปฏิจจสมุปบาทมันมีไม่ได้ , เมื่อเห็นปฏิจจสมุปบาทไม่ได้ ก็ไม่เห็นธรรม , เมื่อไม่เห็นธรรม ก็ไม่เห็นตถาคต.

    <span style="color:#0000ff;"><strong>เหตุที่เข้าใจปฏิจจสมุปบาทไม่ได้</strong>.</span>

    ที่นี้ <i>ทำไมเห็นปฏิจจสมุปบาทไม่ได้ ?</i> ข้อแรกที่สุดก็ต้องตอบว่า เพราะว่าไม่ได้เรียน , มันไม่มีโอกาสเรียน. เอาละ ถ้าว่าบวชเรียน ได้มีโอกาสเรียน ก็ยังเรียนผิด ๆ , ยังสอนผิด ๆ เรียนผิด ๆ ไม่ถูกเรื่อง มันก็ไม่เห็นอีกเหมือนกัน . เพียงแต่เรียนนี้ มันไม่เห็น , มันเพียงแต่จำได้ หรือเข้าใจ .

    ถ้าจะให้เห็น มันต้องปฏิบัติ ให้สิ่งนั้นปรากฏขึ้นมาจริง ๆ . เดี๋ยวนี้ปฏิบัติไม่ได้ เพระว่าเรียนไม่ถูกต้อง, ไม่ตรงตามที่เป็นจริง มีค่าเท่ากับไม่ได้เรียน. มันต้องเรียนให้ถูกต้อง ให้เพียงพอ แล้วก็ปฏิบัติให้มันถูกต้อง และเพียงพอ .

    ปฏิจจสมุปบาทที่กล่าวไว้ว่า เพราะมีเหตุนั้น จึงมีอันนั้น, -- เพราะมีอันนั้นจึงมีอันนั้น, -- เพราะมีอันนั้นจึงมีอันนั้น , นั้นเป็นเพียงวิชา, หรือหลักวิชา มีการปฏิบัตินั้น ไม่ใช่ปฏิบัติอย่างนั้น ; การปฏิบัติต้องมา <b>ปฏิบัติ คือ มีสติควบคุม อายตนะ เมื่อเกิดวิญญาณ เกิดผัสสะแล้ว , ให้ปัญญาและสติมาทันท่วงที ทันเวลา.</b> สรุปสั้น ๆ ว่า ให้มีสติกับปัญญา หรือให้สติขนเอาปัญญาโดยแวบเดียว ให้มาทันในเวลาที่ผัสสะ, ควบคุมผัสสะนั้นไว้ อย่าให้เป็นผัสสะโง่ .

    เอ้า , มันก็ทำไม่ได้เสียอีก มันยากเกินไป แล้วบางคนก็ไม่รู้ด้วยซ้ำไปว่า ปฏิบัติในปฏิจจสมุปบาทนั้น เป็นอย่างไร ; เข้าใจว่าเอามาท่อง ท่องไปท่องมา ท่องไปท่องมา แล้วก็เป็นการปฏิบัติ มันน่าหัว ; อันนั้นมันส่วนวิชา จะท่องก็ท่องไปซิ มันไม่มีการปฏิบัติหรอก. การปฏิบัติคือว่า เอาสติกับปัญญามาให้ทัน ขณะที่มีผัสสะ. ผัสสะนี้เกิดจากของ ๓ อย่าง ทำงานด้วยกัน คือ อายตนะภายใน อายตนะภายนอกและวิญญาณ. สติกับปัญญามาให้ทัน ในขณะแห่งผัสสะก็พอแล้ว, ไม่ต้องถึงกับว่า มาให้ทันในขณะที่ว่าตาถึงกับรูปและเกิดจักษุวิญญาณ ; นั้นมันยังเร็วเกินไป มันยังไม่มีปัญหา. แต่ถ้าว่ามาได้ก็ดีเหมือนกัน ; แต่มันอาจจะดีมากเกินไปก็ได้ คือว่า เมื่อตาเห็นรูป แล้วก็จะรู้ว่าสติ : รู้ว่าตาเท่านั้นหนอ , รูปเท่านั้นหนอ. ครั้นวิญญาณเกิดขึ้น เพราะการเห็นทางตาก็ว่าวิญญาณเท่านั้นหนอ ไม่มีอะไร ; อย่างนี้ก็คงจะดีมาก , แต่อาจจะมากเกินไป ปฏิบัติยากมากเกินไป. เอาแต่เพียงว่าเมื่อมันเกิดการกระทบระหว่างสิ่งทั้ง ๓ แล้ว มีสติปัญญาทันในขณะที่เกิดผัสสะ.

    <strong><span style="color:#0000ff;">การปฏิบัติธรรม ต้องฝึกสติ- ปัญญาให้มาทัน .</span> </strong>
    ทำไมจะมาทัน ? <b>มันต้องฝึกไว้คล่องแคล่ว , ฝึกสติและปัญญาไว้อย่างคล่องแคล่ว.</b> ระบอบปฏิบัติ เช่น อานาปานสติครบทั้งชุด ทั้ง ๑๖ ขั้นนั้น ถ้าฝึกดีจริง สมบูรณ์จริงแล้ว จะเป็นผู้มีสติและปัญญาอย่างเพียงพอ อย่างคล่องแคล่ว ทันแก่เวลาเสมอ ; ฉะนั้นต้องไปฝึกฝนให้มีสติ ให้มีปัญญา โดยระบบปฏิบัติ.

    <b>พอมันเกิดเรื่องจริง ๆ ก็ให้มีสติปัญญามาทัน </b>ในขณะที่สำคัญที่สุด คือ ขณะแห่งผัสสะ ; ผัสสะมันก็ฉลาด ; เกิดเวทนาขึ้น ก็เป็นเวทนาฉลาด, คือให้ความรู้แก่จิต ว่าเวทนานั้นคืออะไร , <b>สักว่าเวทนาเท่านั้นหนอคืออะไร</b> ; มันก็ไม่เกิดตัณหา ไม่เกิดอุปาทาน ไม่เกิดทุกข์ทั้งปวง. เราเห็นที่ตรงนี้

    คำว่า<b> เห็น</b> นี้ ไม่ได้เห็นด้วยตา ; มันเป็นเรื่องนามธรรม ต้องเห็นด้วยตาใจ ; ไม่ใช่ตาเนื้อ. ตาเนื้อสำหรับเห็นข้างนอก ; แต่เรื่องข้างใน ต้องเห็นด้วยตาใจ เขาเรียกว่าปัญญาจักษุบ้างธรรมจักษุบ้าง คือจักษุที่เห็นด้วยปัญญา แล้วเห็นธรรมะ , ธรรมจักษุ ก็เห็นธรรม,<b> เมื่อเห็นธรรมก็เห็นปฏิจจสมุปบาท, เห็น ปฏิจจสมุปบาท ก็คือ เห็นธรรม , เห็นธรรม คือ เห็นตถาคต</b> . ถ้าเห็นแต่ในหนังสือเรียนนี้ มันไม่ใช่เห็น ; แม้ในขณะปฏิบัติ ก็ยังไม่เรียกว่าเห็น ; ต้องสำเร็จในการปฏิบัติ : ควบคุมมันได้ ทุกข์ไม่เกิด ทุกข์มันดับ ; เห็นอยู่ด้วยธรรมจักษุด้วยปัญญาจักษุ อย่างนี้เรียกว่าเห็น.

    พุทธทาสศึกษา
     

แชร์หน้านี้

Loading...