ในหลวงทรงสนทนาธรรมกับหลวงปู่พระอรหันต์ 6 องค์

ในห้อง 'ในหลวงกับพุทธศาสนา' ตั้งกระทู้โดย tritinnapob, 9 พฤษภาคม 2012.

  1. tritinnapob

    tritinnapob เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 มิถุนายน 2011
    โพสต์:
    107
    กระทู้เรื่องเด่น:
    3
    ค่าพลัง:
    +2,288
    [​IMG]

    "พระราชปุจฉาธรรม ใน พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ"



    พระ บาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเมื่อครั้งเสด็จขึ้นครองราชย์ในปีพุทธศักราช 2489 ทรงมีพระปฐมบรมราชโองการว่า "เราจะครอง แผ่นดินโดยธรรม เพื่อประโยชน์สุขแห่งมหาชนชาวสยาม" จากวันนั้นจนถึงวันนี้ กว่า 57 ปีแล้ว ที่ทรงตั้งมั่นอยู่ในทศพิธราชธรรม อย่างมิเสื่อมคลาย ภาพเมื่อคราเสด็จออกผนวช ณ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม เมื่อวันที่ 22 ตุลาคม พ.ศ.2499 นั้น ยังตราตรึงอยู่ในความทรงจำของพสกนิกรทั่วประเทศ อันแสดงให้เห็นว่าทรงมีพระราชศรัทธาตั้งมั่นในบวรพระพุทธศาสนา ที่สำคัญคือยังทรงใฝ่พระทัยในการศึกษาธรรมจนแตกฉาน ทั้งจากตำรับตำรา และจากการสนทนาธรรมกับพระเถรานุเถระอยู่เนืองๆ

    "ธรรมลีลา"ขอพระราช ทานพระบรมราชานุญาต นำส่วนหนึ่งของพระราชปุจฉาธรรม ที่ทรงมีกับพระเถระฝ่ายวิปัสสนากรรมฐาน ซึ่งเป็นที่เคารพนับถือและรู้จักกันดีในหมู่พุทธศาสนิกชน อันได้แก่ หลวงปู่ฝั้น อาจาโร, หลวงปู่ดูลย์ อตุโล, หลวงพ่อเกษม เขมโก, หลวงพ่อสมชาย ฐิตวิริโย และหลวงพ่อพุธ ฐานิโย มาเสนอ ณ ที่นี้ ด้วยเห็นว่าจักเป็นประโยชน์สูงสุดแก่พุทธศาสนิกชนชาวไทย ในการน้อมนำไปประพฤติปฏิบัติได้อย่างถูกต้อง

    จาก ธรรมลีลา

    [​IMG]

    "พระราชปุจฉา กับ หลวงปู่ฝั้น อาจาโร"

    ณ วัดป่าอุดมสมพร อำเภอพรรณนานิคม จังหวัดสกลนคร

    พระราชปุจฉา : ทำอย่างไร ประเทศชาติประชาชน จะอยู่ดีกินดี มีความสามัคคีปรองดองกัน

    หลวงปู่ฝั้น : ให้เข้าหาพระศาสนา เพราะศาสนาสอนให้ละชั่ว กระทำความดี ทำใจให้ผ่องใส

    พระราชปุจฉา : คนส่วนมากทำดี คนส่วนน้อยทำชั่ว จะทำให้คนส่วนมากเดือดร้อนไหม ทำอย่างไรจึงจะแก้ไขได้

    หลวง ปู่ฝั้น : ขอถวายพระพร ทุกวันนี้คนไม่รู้ศาสนา จึงเบียดเบียนกัน ถ้าคนเรานึกถึงตนแล้วก็ไม่เบียดเบียนกัน เพราะต้องการความสุขความเจริญ คนอื่นก็เช่นกัน คนทุกวันนี้เข้าใจว่าศาสนาอยู่กับวัด อยู่ในตู้ ในหีบ ในใบลาน อยู่กับพระพุทธเจ้าประเทศอินเดียโน่น จึงไม่สนใจ บ้านเมืองจึงเดือดร้อนวุ่นวาย มองหน้ากันไม่ได้ ถ้าคนเราถือกันเป็นบิดามารดา เป็นพี่เป็นน้องกันแล้วก็สบาย ไปมาหาสู่กันได้ เพราะใจเราไม่มีเวร เวรก็ไม่มีใจ เราไม่มีกรรม กรรมก็ไม่มี ฉะนั้น ให้มีพรหมวิหารธรรม อย่างมหาบพิตรเสด็จมานี้ ทุกอย่างเรียบร้อยหมด

    (จากหนังสืออนุสรณ์พระอาจารย์ฝั้น อาจาโร)

    "พระราชปุจฉา กับ หลวงปู่ดูลย์ อตุโล"

    [​IMG]


    ณ วัดบูรพาราม อำเภอเมือง จังหวัดสุรินทร์

    พระราชปุจฉา : หลวงปู่ การละกิเลสนั้น ควรละกิเลสอะไรก่อน

    หลวงปู่ดูลย์ : กิเลสทั้งหมดเกิดรวมอยู่ที่จิต ให้เพ่งมองดูที่จิตอันไหนเกิดก่อน ให้ละอันนั้นก่อน

    พระราชปุจฉา : ขออาราธนาหลวงปู่ให้ดำรงขันธ์อยู่เกินร้อยปี เพื่อเป็นที่เคารพนับถือของปวงชน หลวงปู่รับได้ไหม

    หลวงปู่ดูลย์ : อาตมภาพรับไม่ได้หรอก แล้วแต่สังขารเขาจะเป็นไปของเขาเอง

    (จากหนังสือหลวงปู่ฝากไว้)



    "พระราชปุจฉา กับ หลวงพ่อเกษม เขมโก"

    [​IMG]

    ณ วัดคะตึกเชียงมั่น อำเภอเมือง จังหวัดลำปาง

    พระราชปุจฉา : หลวงพ่อประจำอยู่ที่วัดนี้หรือ

    หลวงพ่อเกษม : ขอถวายพระพร อาตมาประจำอยู่ที่สุสานไตรลักษณ์

    พระราชปุจฉา : อยากไปหาหลวงพ่อเหมือน กัน แต่หาเวลาไม่ค่อยได้ ได้ทราบว่าเข้าพบหลวงพ่อยาก

    หลวง พ่อเกษม : พระราชาเสด็จไปป่าช้าเป็น การไม่สะดวก เพราะสถานที่ไม่เรียบร้อย อาตมาภาพจึงมารอเสด็จที่นี่ ขอถวายพระพร มหาบพิตรสบายดีหรือ

    พระราชปุจฉา : สบายดี

    หลวงพ่อเกษม : ขอถวายพระพรมหาบพิตรพระชนมายุเท่าไร

    พระราชปุจฉา : ได้ ๕๐ ปี

    หลวงพ่อเกษม : อาตมาภาพได้ ๖๗ ปี

    พระ ราชปุจฉา : หลวงพ่ออยู่ตามป่ามีความสงบ ย่อมจะมีโอกาสปฏิบัติธรรม ได้มากกว่าพระที่วัดในเมือง ซึ่งมีภารกิจเกี่ยวกับการปกครองและงานอื่นๆ จะเป็นอย่างนั้นหรือเปล่า

    หลวงพ่อเกษม : ขอถวายพระพร อาจจะเป็นอย่างนั้นก็ได้ เพราะอยู่ป่าไม่มีภารกิจอย่างอื่น แต่ก็ขึ้นอยู่กับศีลบริสุทธิ์ด้วย เพราะเมื่อศีลบริสุทธิ์จิตใจไม่ฟุ้งซ่าน นิวรณ์ไม่ครอบงำก็ปฏิบัติได้

    พระราชปุจฉา : การปฏิบัติอย่างพระมีเวลามากย่อมจะได้ผลเร็ว ส่วนผู้ที่มีเวลาน้อยมีภารกิจมาก จะปฏิบัติอย่างหลวงพ่อก็ไม่อาจทำได้ แล้วจะมีวิธีปฏิบัติอย่างไร เราจะหั่นแลกช่วงเวลาช่วงเช้าให้สั้นเข้าจะได้ไหม คือ ซอยเวลาออกจาก หนึ่งชั่วโมงเป็นครึ่งชั่วโมง จากครึ่งชั่วโมงเป็นสิบนาที หรือห้านาที แต่ให้ได้ผล คือ ได้รับความสุขเท่ากัน ยกตัวอย่างเช่น นั่งรถยนต์จากเชียงใหม่มาลำปางก็สามารถปฏิบัติได้ หรือระหว่างที่มาอยู่ในพิธีนี้มีช่วงที่ว่างอยู่ ก็ปฏิบัติเป็นระยะไป อย่างนี้จะถูกหรือเปล่าก็ไม่ทราบ อยากจะเรียนถาม

    หลวงพ่อเกษม : ขอถวายพระพร จะปฏิบัติอย่างนั้นก็ได้ ถ้าแบ่งเวลาได้

    พระ ราชปุจฉา : ไม่ถึงแบ่งเวลาต่างหากออกมาทีเดียว ก็อาศัยเวลาขณะที่ออกมาทำงานอย่างอื่นอยู่นั้นแหละ ได้หรือไม่ คือ ใช้สติอยู่ทุกขณะจิตที่เกิดดับ ทำงานด้วยความรอบคอบให้สติตั้งอยู่ตลอดเวลา

    หลวง พ่อเกษม : ขอถวายพระพร มหาบพิตรทรงปฏิบัติอย่างนั้นถูกแล้ว การที่มหาบพิตรเสด็จพระราชดำเนินมาปฏิบัติงานอย่างนี้ ก็เรียกว่าได้ทรงเจริญเมตตาในพรหมวิหารอยู่

    พระราชปุจฉา : ก็คิดว่าเป็นอย่างนั้น เช่นว่ามาตัดลูกนิมิตนี้ ก็ถือว่าเป็นการปฏิบัติธรรม ด้วยขี้เกียจมาจึงมีกำลังใจมา และเมื่อได้โอกาสได้เรียนถามพระสงฆ์ว่า การปฏิบัติธรรมเป็นระยะเวลาสั้นๆ เป็นตอนๆ อย่างนี้จะได้ผลไหม อุปมาเหมือนช่างทาสีผนังโบสถ์ เขาทาทางนี้ดีแล้วพัก ทาทางโน้นดีแล้วพัก ทำอยู่อย่างนี้ก็เสร็จได้ แต่ต้องใช้เวลาหน่อย จึงอยากเรียนถามว่าปฏิบัติอย่างนี้ จะมีผลสำเร็จไหม

    หลวงพ่อเกษม : ปฏิบัติอย่างนั้นก็ได้โดยอาศัยหลัก ๓ อย่าง คือ มีศีลบริสุทธิ์ ทำบุญในชาติปางก่อนไว้มาก มีบาปน้อย ขอถวายพระพร

    (จาก หนังสือหลวงพ่อเกษม เขมโก)

    พระราชปุจฉา กับ พระอาจารย์สมชาย ฐิตวิริโย

    ณ วัดเขาสุกิม อำเภอท่าใหม่ จังหวัดจันทบุรี

    พระราชปุจฉา : ผู้คนเขามาวัดทำไมกัน

    พระ อาจารย์สมชาย : ผู้มาวัดด้วยเหตุต่างๆ กัน บางคนเป็นคนดีอยู่แล้ว มาวัดด้วยมุ่งทำความดีให้ มากขึ้น ด้วยการถือศีลภาวนา บ้างอยากรู้ทางวัดเขาทำอะไรกัน จะมาช่วยวัดด้วยความตั้งใจจริง เพราะเห็นว่าเมื่ออยู่บ้านก็ไม่มีอะไรที่จะต้องทำ บางคนก็มาด้วยเหตุที่ว่าอยู่บ้านมีแต่ปัญหา ล้วนแล้วแต่น่าเบื่อ มาวัดหาความสงบดีกว่า มาวัดทำให้สบายใจ

    พระราชปุจฉา : ที่ว่าชาวบ้านเขาเบื่อหน่าย เขาเบื่ออะไรกัน

    พระ อาจารย์สมชาย : การเบื่อหน่ายของชาวบ้านมีสองอย่าง บางคนเบื่อการงานที่จำเจก็หาเวลามาวัด เพื่อพักผ่อน บ้างเห็นว่าการเป็นอยู่ทางโลกนั้นถึงจะมั่ง มี สามารถหาความสุขได้ทุกอย่างก็จริง ล้วนแต่เป็นความสุขชั่วคราว ไม่ใช่ความสุขที่แท้จริงเหมือนความสุขทางธรรม บ้างว่าเกิดมาแล้วก็หนีความตายไม่พ้น ก่อนจะตายก็ควรทำอะไรๆ อันเป็นเหตุให้ตายดี มีความสุขก็มี

    พระราชปุจฉา : การสอนให้คนนึกถึงความตายนั้น หากสอนไม่ดีแล้ว ก็เป็น เหตุให้เกิดความเกียจคร้านในการหาเลี้ยงชีพ กลายเป็นคนจน เป็นภาระของสังคม ดังนั้นต้องระวังในเรื่องการสอน

    พระอาจารย์สมชาย : โดยปกติพระจะสอนให้เห็นโทษของความมัวเมา ก่อให้เกิดความเห็นผิดเป็นชอบ จึงต้องสอนให้เห็นในทางที่ถูกก่อน เช่น
    ก. อย่ามัวเมาในวัยว่ายังเป็นหนุ่มเป็นสาวอยู่
    ข. อย่ามัวเมาในความไม่มีโรคมาเบียดเบียน
    ค. อย่ามัวเมาในชีวิตว่าเวลาของเรายังมีอยู่
    ด้วย เหตุนี้ จึงสอนให้ทุกคนนึกถึงความตาย ถ้าไม่สอนให้เขาเข้าใจในทางถูกก่อนแล้วกลับจะเป็นผลร้ายดังพระราชปุจฉาโดย แท้ การเจริญมรณสตินั้น ชั้นต้นเพื่อให้รู้ว่าทุกคนหนีความตายไม่พ้น ไม่ว่าจะเป็นคนมีคนจน มีความตายเหมือน กันทั้งนั้น สำหรับผู้ทำการภาวนาเจริญกรรมฐาน เพื่อให้นิวรณ์สงบ ก็จำเป็นต้องพิจารณาเป็นอย่างๆ ไป ความตาย คือ นายเพชฌฆาต, ความตาย คือ ต้องพลัดพรากจากสมบัติทุกอย่าง ชีวิตเป็นของที่กำหนดเอง เอาว่าอายุเท่านั้นเท่านี้จะตายก็กำหนดไม่ได้ ทั้งนี้ เพื่อรู้ตามความเป็นจริงว่าชีวิตเป็นของน้อยจะตายเมื่อไรไม่มีใครรู้ได้ ขอถวายพระพร
    (จากเวปไซต์วัดเขาสุกิม)

    [​IMG]

    "พระราชปุจฉา กับ หลวงพ่อพุธ ฐานิโย" (๑)

    ณ วัดป่าสาลวัน อำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา

    พระ ราชปุจฉา : คำว่า ภาวนา และ บริกรรม ต่างกันอย่างไรขอรับ คือเคยฟังพระเถระผู้ใหญ่บอกว่า การภาวนานี้ ไม่ว่าอยู่ที่ไหน แม้ไม่อยู่ในสมาธิ แม้ทำอะไร ก็สามารถทำได้อยู่ได้ตลอดเวลาใช่ไหมขอรับ

    หลวง พ่อพุธ : ใช่แล้ว คำว่า ภาวนา กับ บริกรรม มีต่างกัน ภาวนา หมายถึง การอบรมคุณงามความดีให้เกิดขึ้น เป็นสมบัติของผู้อบรม เช่น อบรมใจให้มีความเลื่อมใสในการบำเพ็ญภาวนา ก็ได้ชื่อว่า ภาวนา แต่บริกรรมนั้น หมายถึง จิตของผู้ปฏิบัตินึกอยู่ในคำใดคำหนึ่งโดยเฉพาะ เช่น พุทโธ เป็นต้น ซ้ำๆ อยู่ในคำเดียวเรียกว่า "บริกรรม" บริกรรมก็คือส่วนของภาวนานั่นเอง

    หลวงพ่อพุธ : เมื่อตะกี้ได้ถามอะไรอาตมาอีก

    พระราชปุจฉา : ภาวนาทำได้ตลอดเวลาทุกสถานที่หรือไม่

    หลวง พ่อพุธ : การภาวนานี้ทำได้ตลอดเวลา ทุกที่ ทุกสถานที่ ไม่เลือกกาล ไม่เลือกเวลา เช่นอย่างภาวนาในขั้นบริกรรมภาวนา เช่น ภาวนา พุทโธ พุทโธ พุทโธ ยืน เดิน นั่ง นอน กิน ดื่ม ทำ พูด คิด ตลอดทุกอิริยาบถ บริกรรมภาวนาพุทโธ พุทโธ ได้ ทีนี้ถ้าหากว่าไม่นึกบริกรรมภาวนา พุทโธ การกำหนดรู้ทุกอิริยาบถ คือ ยืน เดิน นั่ง นอน กิน ทำ พูด คิด รู้อยู่ตลอดเวลา อันนี้เป็นการภาวนา จุดมุ่งหมายของการภาวนา หรือบริกรรมภาวนา ก็อยู่ที่ความต้องการความมีสติสัมปชัญญะ มีสติสัมปชัญญะสมบูรณ์ดีแล้ว จิตก็มีสมรรถภาพในการคุ้มครองตัวเอง ให้ยืนยันอยู่ในความเป็นอิสรภาพ ถึงแม้ว่าจะไม่เป็นอิสรภาพโดยเด็ดขาดทุกอย่างก็ตาม ตราบใดที่จิตยังตกอยู่ในอำนาจของอารมณ์กิเลสและสิ่งแวดล้อม จิตก็รู้ตัวว่ายังหย่อนสมรรถภาพ อยู่ในอำนาจของสิ่งแวดล้อม จิตก็ย่อมรู้ การบริกรรมภาวนา บางท่านเมื่อจิตไม่ตรงกับนิสัยบริกรรมภาวนาเป็นปีๆ จิตไม่สงบก็มีอุบายที่จะปฏิบัติได้ คือ ต้องกำหนดรู้ดูความคิดของตนเองตลอดเวลาว่าเราคิดอะไรก็รู้ สิ่งที่คิดมันหายไปก็รู้ อันใหม่เกิดขึ้นมาก็รู้ กำหนดรู้ตามไปเรื่อยๆ เมื่อจิตมีสติกำหนดตามรู้ความคิด กำหนดทันความคิดของจิตเมื่อใด เมื่อนั้นจิตจะสงบเป็นสมาธิได้

    พระราชปุจฉา : คำว่า วิญญาณ หมายความว่า "ธาตุรู้" ใช่ไหมขอรับ

    หลวง พ่อพุธ : คำว่า วิญญาณ คือ "ธาตุรู้" วิญญาณในเบญจขันธ์หมายถึง วิญญาณรู้จากของ ๒ อย่างกระทบกัน เช่น ตากับรูปกระทับกัน เกิดภูมิรู้ขึ้น เรียกว่า จักขุวิญญาณ เสียงกับหูกระทบกัน เกิดภูมิรู้ขึ้น เรียกว่า โสตวิญญาณ กลิ่นกับจมูกกระทบกัน เกิดภูมิรู้ เรียกว่า ฆานวิญญาณ ลิ้นกับรสกระทบกัน เกิดภูมิรู้ เรียกว่า ชิวหาวิญญาณ กายกับสิ่งสัมผัสกระทบกัน เกิดภูมิรู้ขึ้นเรียกว่า กายวิญญาณ จิตนึกคิดอารมณ์เกิดภูมิรู้ขึ้น เรียกว่า มโนวิญญาณ อันเป็นวิญญาณในขันธ์ ๕ ทีนี้วิญญาณในปฏิจจสมุปบาท หมายถึง ปฏิสมาธิวิญญาณ คือ วิญญาณรู้ผุด รู้เกิด

    พระราชปุจฉา : พอจิตนิ่ง ลมหายใจจะหายไป และคำภาวนาก็หายไปพร้อมกัน แต่รู้สึกเช่นนี้เพียงเดี๋ยวเดียวก็หายไป ควรจะทำอย่างไรต่อไป

    หลวง พ่อพุธ : เมื่อจิตสงบนิ่งลงไปแล้ว จิตจะสงบละเอียดไปถึงจุดที่เรียกว่า "อัปปนาสมาธิ" ลมหายใจก็ทำท่าจะหายขาดไป คำภาวนาก็หายไป พอรู้สึกว่ามีอาการเป็นอย่างนี้เกิดขึ้น ก็เกิดอาการตกใจ แล้วจิตก็ถอนจากสมาธิ เมื่อจิตถอนออกจากสมาธิแล้ว เกิดความรู้สึกตัวขึ้นมา ถ้ายังเสียดายความเป็นของจิตในขณะนั้น ให้กำหนดจิตพิจารณาใหม่ จนกว่าจิตจะสงบลงไป จนกว่าลมหายใจจะหายขาดไปคำภาวนาจะหายไป ถ้าตอนนี้เราไม่เกิดเอะใจ หรือเปลี่ยนใจขึ้นมาก่อน จิตจะสงบนิ่งละเอียดลงไปกว่านั้น ในที่สุดจิตก็จะเข้าสู่อัปปนาสมาธิอยู่ในขั้นตัวก็หายไปหมด ยังเหลือแต่จิตรู้สงบสว่าง อยู่อย่างเดียว ร่างกายตัวตนไม่ปรากฏ แต่ถ้าไม่ทำอย่างนั้น เมื่อลมหายใจหายไป คำภาวนาก็จะหายไป แล้วก็จะรู้สึกตัวขึ้นมา เลื่อนให้จิตมาพิจารณา พิจารณาโดยเพ่งกำหนดลงที่ใดลงหนึ่ง จะบริเวณร่างกายลงที่ใดที่หนึ่ง จะบริเวณร่างกายส่วนใดส่วนหนึ่ง เช่น กระดูก พิจารณาจนจิตเห็นกระดูกแต่ตายังไม่เห็นก่อน ให้พิจารณาจนจิตสงบเห็นกระดูกชัดเจน ในทำนองนี้จะทำให้จิตเป็นสมถกรรมฐานเร็วขึ้น ซึ่งเคยมีตัวอย่างครูบาอาจารย์ให้คำแนะนำกันมา คือ ท่านอาจารย์องค์หนึ่งภาวนาพุทโธมาถึง ๖ ปี จิตสงบลงไป แต่ทำท่าว่าลมหายใจจะหายไป คำภาวนาก็หายไป แล้วสมาธิก็ถอนออก จิตไม่ถึงความสงบสักที อาจารย์องค์นี้จึงไปถามอาจารย์อีกองค์หนึ่ง ซึ่งอาจารย์องค์นี้เป็นชีผ้าขาวไม่ได้บวชเป็นเณรว่า "ทำอย่างไรจิตมันจะสงบดีๆ สักที" อาจารย์องค์นั้นก็ให้คำแนะนำว่า "ให้เพ่งลงที่หน้าอก พิจารณาให้เห็นกระดูก โดยพิจารณาลอกหนังออก แล้วจึงจ้องจิตบริกรรมภาวนาลงไปว่า อัฐิ อัฐิ อัฐิ" อาจารย์ที่ถามจึงนำวิธีการนี้ไปปฏิบัติ ก็เกิดจิตสงบเป็นสมาธิ ในครั้งแรกก็มองเห็น เศษกระดูกตรงนั้น จิตมันก็นิ่งจ้องอยู่ตรงนั้น และผลสุดท้ายก็มองเห็นโครงกระดูกทั่วตัวไปหมด ในเมื่อมองเห็นโครงกระดูกอยู่ชั่วขณะหนึ่ง โครงกระดูกก็พังลงไป และสลายตัวไป สลายไปหมด ยังเหลือแต่จิตสงบนิ่ง สว่างอยู่อย่างเดียว และในอันดับต่อไปนั้น จิตจะสงบนิ่ง สว่างอยู่เฉยๆ ภายหลังเมื่อจิตสงบสว่างอยู่พอสมควรแล้ว ก็ เกิดความรู้อันละเอียดขึ้นมาภายในจิต แต่ไม่ทราบว่าอะไร มันมีลักษณะรู้ขึ้นมาแล้วก็ผ่านไป มันเหมือนกับกลุ่มเมฆที่มันผ่านสายตาเราไปนั่นแหละ จิตก็นิ่งเฉย สงบนิ่ง สว่างอยู่ตลอดเวลา ที่มีให้รู้ให้เห็นก็ผ่านไปเรื่อยๆ เราลองนึกภาพดูว่า ที่เกิดขึ้นเช่น นี้เรียกว่าอะไร อาการเป็นเช่นนี้เป็นภูมิรู้ภูมิปัญญาอย่างละเอียดของจิตเกิดขึ้น ซึ่งเป็นความจริงที่อยู่เหนือสมมติบัญญัติ สภาวธรรมส่วนที่เป็นสัจธรรมเกิดขึ้นในจิตของผู้ปฏิบัติ มีแต่สิ่งที่มีอยู่เป็นอยู่ ซึ่งท่านอาจารย์มั่นเรียกว่า "ฐีติภูตัง" ซึ่งมีความหมายว่า "ฐีติ" คือ ความตั้งเด่นของจิต อยู่ในสภาพที่สงบนิ่งเป็นกิริยาประชุมพร้อมของอริยมรรค ยังจิตให้บรรลุถึงความสุคติภาพโดยสมบูรณ์ เมื่อจิตประชุมพร้อม ภายในจิตมีลักษณะ สงบ นิ่ง สว่าง อำนาจของอริยมรรคสามารถปฏิบัติจิตให้เกิดภูมิรู้ ภูมิธรรมอย่างละเอียด ภูมิรู้ ภูมิธรรมซึ่งเกิดขึ้นอย่างละเอียด ไม่มีสมมติบัญญัติ เรียกว่า "ภูตัง" หมายถึงสิ่งที่มีอยู่เป็นอยู่โดยธรรมชาติของมันอย่างนั้น แต่ไม่ทราบว่าจะเรียกว่าอะไร สงสัยต่อไปในเมื่อเราไม่สามารถจะเรียกว่าอะไร ทำอย่างไรเราจึงจะ รู้สิ่งนั้น พระพุทธเจ้าไม่ได้บอกไว้ แม้แต่ท่านแสดงธรรมจักรฯ ให้ภิกษุปัญจวัคคีย์ฟัง เมื่อท่านอัญญาโกณฑัญญะรู้ธรรม เห็นธรรม ก็รู้แต่ว่า "สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งนั้นทั้งหมดมีความดับไปเป็นธรรมดา"


    [​IMG]
    หลวงปู่แหวน สุจิณโณ
    วัดดอยแม่ปั๋ง อ.พร้าว จ.เชียงใหม่

    [​IMG]
    หลวงปู่หลุย จันทสาโร
    วัดถ้ำผาบิ้ง อ.วังสะพุง จ.เลย

    ......................................................................


    เรื่องราวพระอรหันต์ทั้งสอง กับสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ

    พระ คุณเจ้าทั้งสองทั้งองค์หลวงปู่แหวน และองค์หลวงปู่หลุย ล้วนแล้วเป็นศิษย์เอกหลวงปู่มั่นทั้งสิ้น ได้อบรมธรรมจากหลวงปู่มั่นมาอย่างเข้มแข็ง ท่านทั้งสองเป็นพระหมดกิเลสแล้วสาธุ

    คัดจากหนังสือชีวประวัติหลวงพ่อทวี จิตฺตคุตฺโต
    วัดอรัญญวิเวก (ป่าลัน)
    ต.ปงน้อย กิ่ง อ.ดอยหลวง จ.เชียงราย


    เรื่องของหลวงปู่หลุย จันทสาโร

    มี อยู่ครั้งหนึ่ง หลวงปู่หลุยท่านได้มาพักที่วัดดอยแม่ปั๋ง กะว่าจะอยู่กับหลวงปู่แหวนไปสักพักนึงก่อน เพราะว่าเป็นคนจังหวัดเลยด้วยกัน พออยู่ต่อมาหลวงปู่หลุยได้ยินข่าวว่า พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว จะเสด็จมากราบหลวงปู่แหวน หลวงปู่หลุยได้ยินดังนั้นก็รีบไปอยู่ที่อื่น ไปอยู่ที่อำเภอแม่แตง หลวงปู่หลุยท่านกลัวพูดกับพระราชามหากษัตริย์ไม่เป็น หลวงปู่หลุยท่านพูดว่า "พูดกับพระราชาไม่เป็น นี่คอขาดบาดตายนะเรา เป็นพระป่าพระดงไม่รู้อิโหน่อิเหน่อะไร"

    ท่านพูดเมื่อพระบาทสมเด็จ พระเจ้าอยู่หัวเสด็จมากราบหลวงปู่แหวนแล้ว หลวงปู่แหวนท่านก็พูดกับในหลวงว่า "ท่านหลุยก็มาอยู่นี่แหละ แต่หนีไปอยู่ที่แม่แตงแล้ว กลัวพูดกับพระราชามหากษัตริย์ไม่เป็น กลัวคอขาดบาดตาย ว่าอย่างนั้น"

    สมเด็จพระราชินีก็พูดออกมาว่า "ไม่เป็นอย่างนั้นดอกพระเจ้าข้า พวกดิฉันไม่ได้ถือยศฐาบรรดาศักดิ์อะไรหรอกเจ้าข้า พูดแบบนี้เป็นกันเองนี้แหละเจ้าข้า" แล้วพระราชินีก็พูดกับหลวงปู่แหวนว่า "เมื่อดิฉันกลับจากที่นี้ไปแล้ว จะไปกราบหลวงปู่หลุยให้ได้ ไม่ต้องกลัวเจ้าข้า"

    ในหลวงท่านเสด็จมากราบหลวงปู่แหวนแต่ละครั้ง ตั้งแต่บ่ายสองโมง จนถึงหนึ่งทุ่มสองทุ่มเป็นประจำ การเสด็จมาวัดดอยแม่ปั๋ง แต่ละครั้ง ถือเป็นการส่วนตัวพระองค์เอง

    ครั้นต่อมาสมเด็จพระ ราชินีได้ให้ราชเลขาไปตามหาหลวงปู่หลุย ว่าท่านอยู่ที่ไหน ก็ทราบว่าหลวงปู่หลุยท่านไปพักอยู่ที่วัดหลวงปู่ตื้อ หรือว่าวัดพระอาจารย์เปลี่ยน ผู้เขียนก็จำไม่ค่อยได้ สมเด็จพระราชินีก็ได้เสด็จไปกราบหลวงปู่หลุย ตั้งแต่นั้นมาหลวงปู่หลุยก็ได้เข้าๆ ออกๆ อยู่กับพระราชวังตลอดมา ตราบเท่าหลวงปู่หลุยมรณภาพ

    อันนี้คือด้วยพระบารมีปกเกล้าปกกระหม่อม ที่เป็นพระมหากษัตริย์ไทยของเรา ได้เข้าไปถึงประชาชนทุกที่ทุกแห่งหนตำบลใดก็ตาม มีพระเจ้าพระสงฆ์ที่ท่านได้ประพฤติปฏิบัติอยู่ในป่าในเขาที่ไหนๆ ก็ตาม ท่านก็ย่อมเข้าถึงที่ทุกๆ แห่ง


    เรื่องของหลวงปู่แหวน สุจิณโณ

    หลวง ปู่แหวนได้ป่วยหนัก สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ท่านได้อาราธนาให้ หลวงปู่แหวนไปรักษาตัวที่โรงพยาบาลเชียงใหม่ ตึกสุจิณฺโณ ในหลวงท่านได้รับเอาหลวงปู่ไว้เป็นคนไข้ของพระองค์เอง จนในวันที่ 2 กรกฎาคม พ.ศ.2528 หลวงปู่แหวนท่านก็ได้ละขันธ์อย่างสงบนิ่ง ในเวลา 21.53 น.

    ข่าว การมรณภาพของหลวงปู่แหวน ซึ่งตรงกับวันที่ 2 กรกฎาคม พ.ศ.2528 ก็ได้ทราบถึงฝ่าละอองธุลีพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวของเราและพระบรม ราชินีนาถ เหมือนกับว่าดินฟ้าถล่มไปทั่วเมืองไทย ในหลวงก็ได้พระราชทานโกศหลวง และรดน้ำอาบศพ ที่สถานพระราชทานปริญญาบัตรแก่นักศึกษามหาวิทยาลัยเชียงใหม่นั้นก็ได้มี บุคคลทั่วทิศานุทิศ ไปเคารพศพหลวงปู่แหวน สุจิณฺโณ เป็นครั้งสุดท้าย แล้วก็ได้นำศพของหลวงปู่แหวนมาตั้งบำเพ็ญกุศลที่วัดดอยแม่ปั๋ง ตามเดิม

    สิริ อายุหลวงปู่แหวนได้ 99 ปี ในหลวงท่านขออายุหลวงปู่แหวนให้ได้ 120 ปี แต่หลวงปู่ก็พูดกับในหลวงว่า เอาเพียง 99 ปี ก็พอเถอะ มันลำบากผู้อยู่ แล้วก็ได้ 99 ปี ตามที่ว่าเอาไว้จริงๆ อันนี้คือพระผู้ปฏิบัติดี ปฏิบัติชอบตามธรรมวินัยของพระพุทธศาสนาแท้จริง ขอให้พวกเราทุกๆ คน จงนำเอาเป็นตัวอย่างของหลวงปู่แหวนนี้ ไว้สืบทอดพระพุทธศาสนาต่อไป ศาสนาของเราจะได้เจริญรุ่งเรืองสืบต่อไปข้างหน้า

    ที่มา http://www.dhammajak.net
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  2. Unlimited Indy

    Unlimited Indy เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 กุมภาพันธ์ 2012
    โพสต์:
    1,228
    ค่าพลัง:
    +803
    ธ สถิตในดวงใจไทยทั่วหล้า

    ขอพระองค์ทรงพระเจริญยิ่งยืนนาน
     
  3. นายเก่ง

    นายเก่ง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 เมษายน 2012
    โพสต์:
    127
    ค่าพลัง:
    +218
    ทรงพระเจริญ ยิ่งยืนนาน
     

แชร์หน้านี้

Loading...