เหรียญหลวงพ่อเต๋ วัดสามง่าม จ.นครปฐม

ในห้อง 'วิธีดูพระเครื่อง-เครื่องรางของขลัง' ตั้งกระทู้โดย vacharaphol, 19 เมษายน 2009.

  1. vacharaphol

    vacharaphol เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2005
    โพสต์:
    8,849
    ค่าพลัง:
    +27,174
    <TABLE cellSpacing=5 cellPadding=1 width="20%" align=left border=0><TBODY><TR bgColor=#400040><TD>[​IMG]
    </TD></TR></TBODY></TABLE>"หลวงพ่อเต๋ คังคสุวัณโณ" วัดอรัญญิการาม (วัดสามง่าม) อ.ดอนตูม จ.นครปฐม หรือที่ชาวบ้านเรียกกันติดปากว่า "หลวงพ่อเต๋ คงทอง" เป็นพระเถระที่มีชื่อเสียงโด่งดังและมีความเชี่ยวชาญพุทธาคม ทั้งด้านเมตตามหานิยมและอยู่ยงคงกระพันชาตรี

    หลวงพ่อเต๋ สร้างวัตถุมงคลไว้หลายชนิดด้วยกัน ตั้งแต่ครั้งสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 มีทั้งแบบพระเนื้อดิน เนื้อผง เนื้อว่าน เหรียญรูปเหมือน พระกริ่ง รูปหล่อ เหรียญหล่อ และเครื่องรางของขลัง ตะกรุดหนังเสือ ตะกรุดสามห่วง สีผึ้ง เป็นต้น

    แต่ที่สร้างชื่อเสียงให้กับหลวงพ่อเต๋ คือ กุมารทอง จัดสร้างตามตำราที่ได้รับมาจากหลวงลุงแดง ประกอบด้วย ดินโป่ง 7 โป่ง ดิน 7 ป่าช้า ดินขุยปู เป็นต้น ปั้นกุมารทองแจกชาวบ้าน นำไปไว้เป็นเครื่องรางคุ้มครอง

    วัตถุมงคลของท่านไม่ได้เน้นเรื่องความสวยงาม แต่เน้นเรื่องพุทธคุณเป็นสำคัญ ด้วยท่านตั้งใจสร้างให้บูชาติดตัว เพื่อป้องกันภัยต่างๆ มีพุทธคุณรอบด้าน ทั้งด้านมหาอำนาจ เมตตามหานิยม แคล้วคลาด เนื้อพระส่วนมากเป็นแบบเนื้อดินผสมผงปนว่าน ผสมลงไปในพระทุกพิมพ์ ด้านหลังองค์พระจะประทับชื่อ หลวงพ่อเต๋ กดลึกลงไปในเนื้อพระ

    สำหรับเหรียญหลวงพ่อเต๋ รุ่นแรก สร้างเมื่อปีพ.ศ.2486 โดยคณะศิษยานุศิษย์ได้ร่วมกับวัดวัดอรัญญิการาม (วัดสามง่าม) อ.ดอนตูม จ.นครปฐม ขออนุญาตจัดสร้างขึ้น

    ด้านหน้าเหรียญ เป็นรูปหลวงพ่อเต๋ ห่มจีวรเฉียงบ่า ปลายสังฆาฏิแตก เป็นเหรียญปั๊มตัดโบราณ ด้านบนมีหูเหรียญ ด้านหลังมีอักขระโบราณอักษรลึกคมชัด

    ด้านหลังเหรียญ เป็นพระพุทธรูปปางลีลา มีเส้นแซมตรงส้นเท้าใกล้ฐานดอกบัว มีอักขระโบราณ 5 คำ ล้อมรอบองค์พระ

    เหรียญหลวงพ่อเต๋ รุ่นแรก เท่าที่พบมีเนื้อทองแดง เนื้อเงิน ปัจจุบันเป็นเหรียญที่ได้รับความนิยมมาก และมีของปลอมเลียนแบบค่อนข้างใกล้เคียงและยังมีการสร้างเสริมขึ้นมาภายหลัง คือ รุ่น 2 ซึ่งรุ่น 2 นี้ด้านหลังเหรียญไม่มีเส้นขนานแขน และเหรียญจะหนากว่ารุ่นแรก

    นอกจากนี้ ในปีพ.ศ.2505 ท่านยังได้จัดสร้างพระเครื่องเนื้อดินพิธีใหญ่อีกครั้ง เพื่อฉลองอายุครบ 5 รอบ เนื้อดินที่ใช้ ได้นำดินทวารวดีที่ชำรุดหักและผงว่านผสมลงไปด้วย สังเกตเนื้อองค์พระเมื่อเผาแล้ว เนื้อดินจะนุ่มเมื่อถูกเหงื่อถูกสัมผัส ปรากฏมวลสารและว่านแลดูเก่ามาก

    พิมพ์ที่จัดสร้าง ประกอบด้วย พระรูปเหมือนซุ้มเรือนแก้ว พระปรกโพธิ์ใหญ่ พระปรกโพธิ์เล็ก พระตรีกาย (พระสาม) พระทุ่งเศรษฐี เป็นต้น

    พระเครื่องเนื้อดินดังกล่าว ด้านหลังจะมียันต์อักขระนูน เรียกว่า ยันต์สามง่าม เนื่องจากด้านหลังมีรูปตรี เป็นสัญลักษณ์ของวัดสามง่าม

    ส่วนพิมพ์พระทุ่งเศรษฐี ด้านหลังมียันต์และชื่อฉายา คงทอง กดประทับลึกลงไปในเนื้อ

    ทั้งนี้ วัตถุมงคลแต่ละชิ้นล้วนแล้วแต่มีอภินิหารเป็นที่ประจักษ์และเล่าขานสืบต่อมาจนถึงทุกวันนี้

    สำหรับประวัติหลวงพ่อเต๋ เกิดเมื่อวันจันทร์ ขึ้น 9 ค่ำ เดือน 7 ปีเถาะ ตรงกับวันที่ 15 มิถุนายน 2434 ณ บ้านสามง่าม หมู่ที่ 4 อ.ดอนตูม จ.นครปฐม

    เมื่อท่านอายุ 15 ปี ได้บรรพชาเป็นสามเณร ศึกษาพระธรรมวินัยอยู่กับหลวงลุงแดง ซึ่งมีศักดิ์เป็นลุงแท้ๆ ได้ศึกษาเล่าเรียนวิทยาอาคมด้านเมตตามหานิยมและอยู่ยงคงกระพันชาตรี ด้วยความที่มีศักดิ์เป็นหลานของท่าน จึงได้รับถ่ายทอดวิชามาอย่างครบถ้วนโดยไม่มีการปิดบังอำพราง

    ครั้นมีอายุครบ 21 ปี ได้เข้าพิธีอุปสมบทเป็นพระภิกษุ โดยมี พระครูอุตตรการบดี หรือหลวงพ่อทา วัดพะเนียงแตก เป็นพระอุปัชฌาย์, พระสมุห์เทศ วัดทุ่งผักกูด เป็นพระกรรมวาจาจารย์ และพระอธิการจอม วัดลำเหย เป็นพระอนุสาวนาจารย์

    ได้รับฉายาว่า คงทอง แต่ภายหลังเปลี่ยนเป็น คังคสุวัณโณ แต่ชาวบ้านยังคงเรียกติดปากว่า คงทอง

    หลวงพ่อเต๋ ยังได้ศึกษาวิทยาคมกับหลวงพ่อทา ซึ่งเป็นพระอุปัชฌาย์ ด้วยในยุคนั้น หลวงพ่อทา มีชื่อเสียงโด่งดังมากในฐานะพระเกจิอาจารย์ที่มีพุทธาคมเข้มขลัง

    หลวงพ่อเต๋ มรณภาพลงอย่างสงบ เมื่อวันที่ 25 ธันวาคม 2524 สิริอายุ 90 ปี พรรษา 69
    http://www.matichon.co.th/khaosod/v...ionid=TURNd053PT0=&day=TWpBd09TMHdOQzB4T1E9PQ==
     
  2. tumppstar

    tumppstar เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 พฤศจิกายน 2008
    โพสต์:
    203
    ค่าพลัง:
    +297
    ขอบคุณครับ
     

แชร์หน้านี้

Loading...