เรื่องเด่น เหตุให้ถึงธรรม พระสุนทรธรรมากร (หลวงปู่คำพันธ์ โฆสปํญโญ)

ในห้อง 'หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต' ตั้งกระทู้โดย ธีระนะโม, 28 ธันวาคม 2017.

  1. ธีระนะโม

    ธีระนะโม เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 สิงหาคม 2012
    โพสต์:
    1,700
    กระทู้เรื่องเด่น:
    13
    ค่าพลัง:
    +6,236
    ?temp_hash=0091c5aa37de846fdf06510a70ab3acf.jpg
    พระสุนทรธรรมากร (หลวงปู่คำพันธ์ โฆสปํญโญ)
    วัดธาตุมหาชัย ตำบลมหาชัย อำเภอปลาปาก จังหวัดนครพนม

    บทแสดงพระธรรมเทสนา
    ณ โอกาส เป็นวันพิเศษวันหนึ่ง ซึ่งจัดเป็นศุภมงคล ดังนั้นในเวลานี้พวกท่านทั้งหลายซึ่งมีความศรัทธา ความเชื่อ
    ความเลื่อมใส ในพุทธศาสนาและเชื่อมั่นในกิจกรรมต่างๆ ที่ตัวเองได้กระทำว่าจะให้ผลยังไง
    ดังนั้นในวันนี้จึงอยากจะฟังเทศนา โดยได้นิมนต์หลวงปู่มาเทศนาธรรม
    เพื่อชี้แนะแนวทางเดินของชีวิตแก่พวกเราทั้งหลาย ดังนั้นในโอกาสนี้ ขอพวกท่านทั้งหลายจงตั้งจิต
    คอยสดับเอาธรรมมะที่อาตมาภาพ ได้ลิขิตบาลีนิเขปะบทเบื้องบนนั้นว่า

    เย ธัมมา เหตุปัพภะวา เตสังเหตุง ตะถาคะโต เตสัญจะ
    โย นิโรโธจะ เอวัง วาที มะหาสะมะโณ

    ดังนี้เป็นอาทิ เมื่อแปลเป็นใจความแล้วว่า สิ่งใดมีความเกิดเป็นธรรมดา
    สิ่งนั้นมีความดับเป็นธรรมดา ไม่มีสิ่งใดในโลก ที่ไม่ดับ ดังนั้นธรรมะข้อนี้ได้ชี้ว่า

    พวกเราทั้งหลายที่ได้มีชีวิตจิตใจอยู่ได้ในปัจจุบันนี้คือ เรามีปัจจัย คุณงามความดี บุญกุศล
    เคยได้สั่งสมอบรมมาตั้งแต่อดีตชาติ ตลอดจนถึงปัจจุบัน ชาตินี้
    สิ่งที่เป็นปัจจัยเหล่านี้มาปรับปรุงแต่งประดิษฐ์ทางกายทางใจให้ดีขึ้น
    และยังคงแต่งให้เรามีชีวิตอยู่จนถึงปัจจุบันนี้ ก็เพราะเหตุปัจจัยเหล่านั้น
    พยุงชีวิตให้เป็นอยู่สิ่งที่เป็นปัจจัยให้เรามีชีวิตอยู่ในปัจจุบัน นี้เรียกว่า “ วิสามัญปัจจัย” มีโภชนา
    อาหารยารักษาโรค มาค้ำจุนให้มีชีวิตอยู่ให้ทำงานตามหน้าที่ของตนเอง และบัดนี้

    ถ้าหากว่าสิ้นเหตุและปัจจัยแล้วชีวิตก็อยู่ไม่ได้ ก็ต้องแตกสลายตามสภาวะของธรรมชาตินั้น
    ในขณะนั้นพวกเราทั้งหลายมีชีวิตอยู่ มีปัจจัยค่ำจุนอยู่ สมควรทำตนให้เป็นประโยชน์
    ต่อชีวิตความเป็นอยู่ของตัวเองให้มากขึ้น สิ่งใดที่เป็นประโยชน์ต่อตัวเอง สิ่งใดที่ทำลายตัวเองให้วางทิ้งเสีย
    สิ่งใดทำคุณประโยชน์ต่อตัวเองให้พยายามรักษาและค้ำจุนไว้ให้มาก คือในธรรมะของพระพุทธเจ้า ที่พระองค์ได้ชี้ไว้
    พวกเราทั้งหลาย ก็ยังมีชีวิตร่างกายอยู่อย่างมีโอกาส ที่จะทำธุระซึ่งหน้าที่ของคน
    หน้าที่ที่จะช่วยให้เราเป็นคนดีขึ้น ประเสริฐขึ้นไม่เป็นปุถุชน เป็นเมธีชน ไม่ใช่อริยะชน ในปัจจุบันนี้
    คือแหล่งนี้ เป็นแหล่งเพาะการศึกษา การเพาะความรู้ เพาะความฉลาดให้เกิดแก่ตัวเอง และเยาวชนทั้งหลายในโลกนี้ กระทรวง
    ศึกษาธิการ เป็นแหล่งที่ให้แนวทางความรู้ ความฉลาดให้เกิดแก่เยาวชนทั้งหลาย ผู้มืดมนด้วยอวิชชา
    ผู้ไม่รู้ด้วยอวิชชา ซึ่งปิดบังมาตั้งแต่ตัวเปล่าๆ
    เมื่อเกิดมาแล้วเบื้องต้นก็ต้องอาศัย พ่อแม่ ผู้ปกครอง ผู้บังเกิดเกล้า พยายามให้ความรู้
    ให้ความฉลาดแก่บุตรที่เกิดขึ้นมา เมื่อพ่อแม่แนะนำสั่งสอนเท่าที่จะสอนได้ตั้งแต่เด็ก
    ตลอดจนได้ศึกษาเล่าเรียน ประถม มัธยม เพื่อกำจัดความไม่รู้ออกไปจากอวัยวะร่างกายของเรา
    เพราะเหตุนั้นกระทรวงศึกษาธิการเป็นกระทรวงที่ดีที่สุด เป็นกระทรวงที่จะนำความสว่างไสวมาสู่ปวงชนชาวโลก
    ให้หูแจ้งตาสว่าง มีความรู้เท่าทัน สามารถรู้ความเป็นอยู่ของโลกตลอดจนประเทศชาติของตนและประเทศใกล้เคียง
    เพื่อเราจะได้ประสานงานซึ่งกันและกัน ในการประสานงานนี้ ต้องอาศัยความรู้ ความรู้เกิดจากไหน
    ก็เกิดจากกระทรวงศึกษาธิการ ดังนั้นพวกท่าน ทั้งหลายที่มีหน้าที่ในกระทรวง ศึกษาธิการ
    มีหน้าที่เพาะวิชาความรู้ให้เกิดแก่เยาวชนทั้งหลาย ก็จงนึกว่าเราสร้างบารมี

    สร้างบุญกุศลอย่างหนึ่ง ให้มีสัจจะเกิดแก่ตัวเอง และเยาวชน ถ้าคนเราขาดการศึกษาขาดความรู้
    โลกของเราก็จะเป็นโลกที่มืดบอด ธุรกิจอันเป็นหน้าที่ของเยาวชนทั้งหลาย ก็จะเป็นไปตามยถากรรม
    ทุกวันนี้ธุรกิจเจริญขึ้นทั้งเกษตรกรรม อุตสาหกรรม และพาณิชยกรรม เกิดขึ้น
    เสร็จเร็วขึ้นก็เพราะอาศัยความรู้เป็นเครื่องประกอบ เป็นเครื่อง ช่วยในการช่วยกระทำแก้ไขปรับปรุงขึ้น
    อันนี้เป็นเรื่องของคดีโลก

    แต่ส่วนร่างกายชีวิตของเราจะต้องอาศัยธรรมะของพระพุทธเจ้าที่ได้ตรัสไว้ให้พุทธบริษัททั้งหลาย
    เพราะความเอ็นดูสงสาร สัตว์โลกทั้งหลาย ผู้เกิด แก่ เจ็บ ตาย ไม่รู้จักจบรู้จักสิ้น
    ความร้องไห้โศกาประจำอยู่ในชีวิต สัตว์โลกทุกวันทุกเวลา ก็เพราะไม่รู้ทางออกในความเป็นอยู่ของชีวิต
    ดังนั้นในธรรมะที่หลวงปู่ยกขึ้นข้างต้นนั้น

    ให้เรารู้จักเหตุ หัดมีเหตุผล เหตุดีไม่ดี มาจากไหน มาจากอะไร เหตุดีเพราะมีการปรุงขึ้นในจิต
    ที่ปรุงขึ้นด้วยปัญญา เพื่อประกอบอาชีพ ดำรงชีวิต เหตุมันมีดีมีชั่วมาตั้งแต่ต้น
    พวกเราทั้งหลายให้เหตุที่ไม่ดีให้มีน้อยลง เพราะจะมีแต่เหตุที่ดีประจำอยู่ในใจ เหตุดีนี้มันเกิดมาจาก
    ความนึกคิด จะคิดทำอะไรก็มีด้วยตำราประกอบ ตักเตือนอยู่ในด้านความคิดนั้น เหมือนกับพ่อแม่พึงตักเตือนลูก

    ในส่วนความคิดของเราก็เหมือนกัน เราคิดอย่างนี้ถูก อย่างนี้ผิด ถ้าคิดถูกในใจแล้วจะแบ่งจะปันให้กาย
    กายไม่ทำชั่วไม่เบียดเบียนใคร ทำมาหาเลี้ยงชีพในทางสุจริต ไม่ทำลายคุณงามความดีของตัวเอง
    และตัดรอนความสุขของคนอื่น ไม่ได้ทำสังคมให้เดือดร้อนให้สังคมอยู่ดีกินดีมีสุข ทางวาจา
    เมื่อจิตมันแบ่งให้วาจา วาจาก็พูดเพราะพูดงาม ในหมู่คณะ
    ในสังคมเมื่อพูดออกไปแล้วคนที่รับความรู้สึกว่าเกิดความชอบ เกิดความพึงพอใจ การพูดนอกจากให้วรรณะ
    รู้ผู้สูงอายุ ผู้มีวัยวุฒิสูง พูดให้ถูกต้องตามชั้นวรรณะ คุณปู่คุณย่า คุณตาคุณยาย และน้อง พี่ เพื่อน
    เราพูดถูกไปหมด เพราะเรารู้จักสัมมาคารวะ นี่เรียกว่า วาจาที่มีปัญญาสูง วาจาไม่บอด กายไม่ได้รับความบอด
    ได้รับความสว่าง จากความคิด จากปัญญา อย่างทุกวันนี้โลก ของเรามันเดือดร้อนในสังคมต่างๆ
    สาเหตุที่มันวุ่นวายกันเยอะ เนื่องจากทิฏฐิ ความเห็นของแต่ละคนไม่ลงรอยกัน ความเห็นของแต่ละคนมันขัดกัน
    ถ้ามันถูกต้องลงรอยกัน ความขัดแย้งความแตกร้าวคงไม่เกิดขึ้น ทำไมถึงทะเลาะเบาะแว้งกัน ไม่สามัคคีกัน
    เพราะว่าความรู้ความฉลาดมันไม่เท่ากัน อันนี้เรียกว่า ความคิดของแต่ละคนนั้น คือ ขาดนักปราชญ์
    หรือมีนักปราชญ์ที่คิดในทางที่ผิด ตามที่คิดก็เลยผิดตามมา และที่พูดไม่เหมือนกัน
    อาชีพข้าราชการก็คนละแผนก คนละกระทรวง ความรู้ที่ออกมาจากกระทรวงหนึ่งๆนั้น คือออกมาจากแหล่งการศึกษาทั้งหมด
    เมื่อเอาไปใช้แล้วก็จะไม่เหมือนกัน อันนี้เพราะอะไร เพราะตัวกิเลส มันมีมานะ
    มีทิฏฐิอยู่ในใจของคนให้ดื้อขึ้นในความรู้ ดื้อขึ้นในความเห็น ในความคิด
    ของตัวเองว่าถูกต้องกว่าคนอื่นทั้งหมด เพื่อนไม่ถูกต้อง อันความถูกหรือไม่ถูกนี่ต้องเอาเหตุผลไปวัด
    ถ้าเหตุผลดี เมื่อทำตามเหตุนี้ผลจะเกิดความเดือดร้อน ก็ถือว่าเหตุผลนั้นผิด
    ทำให้สังคมเดือดร้อน ขนาดลูกที่เกิดจากพ่อแม่ ก็ยังมีความคิดเห็นไม่เหมือนกัน คนหนึ่งก็คิดไปอย่างหนึ่ง
    เห็นไปอย่างหนึ่ง แต่ความประพฤติของลูก ในตอนแรกก็อยู่ในกรอบโอวาทของพ่อแม่ นานๆ เติบโตขึ้น มาแก่เฒ่าขึ้นมา
    ก็เอาทิฏฐิของตนเป็นที่ตั้งลูกแต่ละคน ไม่เหมือนกันคิดไปคนละอย่าง เป็นเหตุให้สังคมในครอบครัวทะเลาะกัน อันความรู้จากกระทรวงศึกษาธิการอันเดียวนี้ เมื่อนำออกไปใช้แล้ว ก็มีมานะทิฏฐิมาจากในความคิด
    คิดว่าตัวฉลาดกว่าเพื่อนแนวความคิดของตนเองอาจจะดีกว่าคนอื่นก็ดี ไม่ยอมก้มหัวให้ใคร
    อย่างนี้ละโลกมันถึงได้เกิดความปั่นป่วน ความเห็นนอกจากความโลภที่ได้รับจากวาจาเขา
    ปัญญาอัตโนมัติไปใช้ก็เลยผิดกัน บัดนี้เมื่อเรามาหยุดธรรม ของการมีทิฏฐิแล้ว พระพุทธเจ้าท่านชี้ว่า คนเราจะดีจะชั่วเราจะรู้ด้วยจิตใจของตน
    เมื่อคนมีจิตใจ ใจอันใสสะอาด มีปัญญาแหลมคมทำอะไรก็ดีหมด กายก็งาม เข้าสังคมก็ได้ดี
    ทั้งสูงและต่ำอันนี้แสดงว่าถูกต้อง เพราะมีธรรมะอยู่ในใจ สิ่งต่างๆที่กล่าวมานี้ล้วนแล้วแต่เป็นเหตุทั้งสิ้น
    เหตุทั้งหลายนี้มันจะก่ออะไร จะเกิดอะไรขึ้น อันนี้โยมทั้งหลายคงจะมองเห็นเหตุที่ไม่ดีเพราะคิดไม่ดี กระทำไม่ดี
    เราเดือดร้อนไหม สังคม สิ่งแวดล้อม เดือดร้อนไหม เลือกเอาถ้าเราทำเหตุดีประพฤติดี อยู่ในกรอบของศีลธรรมก็สบาย
    ดังนั้นเราจะต้องหาธรรมะมาไว้ในใจเรา เราจะคิดจะทำอะไรก็ให้เอาธรรมะมาไว้ในใจ เอาสติปัญญามาไว้ในใจ ถ้าหากว่าเราหนีจากสติปัญญาเมื่อไร ก็แสดงว่าเราประมาทแล้ว ความประพฤติมันจะเสียเข้าไปแล้ว
    ถ้าเรามีสติปัญญาอยู่ ความประมาทมันก็ไม่มาใกล้ อันนี้พระพุทธเจ้าท่านเทศน์ไว้ “ เอโก ธัมโม พะหุกะโล” คำหมวดหนึ่ง คือความไม่ประมาท เป็นคุณอันประเสริฐของมนุษย์ เป็นคุณใหญ่หลวงของโลกมนุษย์ คือ
    คนที่มีสติปัญญาประจำอยู่ในใจ เรียก ว่าคนไม่ประมาท เมื่อไม่ประมาทแล้วอะไรก็ไม่ผิด ทำงานราชการ ก็ไม่ผิด ไม่ผิดตามหน้าที่ ทำไร่ทำนา ทำสวนก็ไม่ผิด ไม่มีการพลัดวันประกันพรุ่งทั้งยังรู้จักกาลเวลา
    เพื่อประมาณร่างกายของตนเอง และประมาณเวลา ทำถูกต้องไปหมด ไม่ผิด อันนี้คือคนที่มีสติปัญญา
    คนที่ขาดอันนี้แล้วมักทำงานสะดุด เพราะขาดสติ ขาดปัญญา ทำงานจับจด อยากทำก็ทำ ขี้เกียจก็เลิก

    ผลสุดท้ายงานเลยไม่สำเร็จ แค่เราอยากศึกษา เล่าเรียนอยากเรียนวิทยาลัยนี้ ขี้เกียจอยากเรียนก็เรียน
    อยากหยุดก็หยุด ผลสุดท้ายเลยเรียนไม่จบ อาจารย์ก็ไม่รัก อันนี้คนมีความประมาทไม่ได้นึกว่า วันเวลาล่วงไป
    ล่วงไปทุกนาที เราก็ปล่อยเวลาของชีวิตล่วงเลยไปเปล่าๆ
    เลยไม่ได้ทำประโยชน์อะไรให้กับชีวิตอันนี้แหละพวกท่านทั้งหลายที่ได้มาฟังธรรมในวันนี้
    ก็เรียกว่าต่างคนต่างชอบ ชอบรักหน้าที่ของตนที่ถูกต้องคือ ในขณะนี้เป็นโอกาสที่บำเพ็ญบุญ บำเพ็ญบารมี โยมทั้งหลาย มีบารมีในครั้งนี้ ตัวเองกำหนดเอา เบื้องต้นเราก็ได้รับบารมีแล้ว วันนี้ตั้งใจว่าจะฟังเทศน์
    โยมก็ตั้งใจได้ฟังเทศน์จริงๆ และก่อนฟังเทศน์ได้ถวายภัตตาหาร แก่หลวงปู่ อันนี้จะเป็นทานบารมี
    ทานบารมีของโยมนี้เกิดขึ้นด้วยการให้ การให้มีหลายอย่าง ให้อามิสนอกจากตัวเองจะเป็น “ อามิสทาน” การให้ทาน น้ำ
    ข้าว ปลา อาหาร เครื่องต้อนรับแขก เรียกว่าเป็น “ อามิสทาน” ญาติโยมเคยให้ตัวเองด้วยให้ผู้อื่นด้วย
    เมื่อมองเห็นเพื่อนก็ให้ความสบายใจแก่เพื่อน ให้ความสบายตาแก่เพื่อน ให้ความสบายหูแก่เพื่อน นี่เรียกว่าโยมให้เป็นแล้ว ให้อันนี้เรียกว่า “ อัตฉติกร” ให้ร่างกาย ของตัวเองเป็นทานแก่ผู้อื่น
    ให้แล้วผู้อื่นก็มีความสุข…
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  2. นรวร มั่นมโนธรรม

    นรวร มั่นมโนธรรม สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 ตุลาคม 2017
    โพสต์:
    188
    ค่าพลัง:
    +113

แชร์หน้านี้

Loading...