เศรษฐกิจพอเพียง

ในห้อง 'วิทยาศาสตร์ทางจิต - ลึกลับ' ตั้งกระทู้โดย sithiphong, 1 พฤษภาคม 2008.

  1. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,949
    เศรษฐกิจพอเพียง

    จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

    http://th.wikipedia.org/wiki/เศรษฐกิจพอเพียง



    เศรษฐกิจพอเพียง เป็นปรัชญาที่ชี้แนวทางการดำรงอยู่และปฏิบัติตนพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชทรงมีพระราชดำรัสแก่พสกนิกรชาวไทยมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2517<sup id="cite_ref-king-words-2517_0-0" class="reference">[1]</sup> และพูดถึงอย่างชัดเจนในวันที่ 4 ธันวาคม พ.ศ. 2540 (ภายหลังวิกฤติเศรษฐกิจ พ.ศ. 2540) เพื่อเป็นแนวทางการแก้ไขเศรษฐกิจของประเทศไทย ให้ดำรงอยู่ได้อย่างมั่นคงและยั่งยืนในกระแสโลกาภิวัตน์และความเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ<sup id="cite_ref-CSE-phil_1-0" class="reference">[2]</sup> ในทางการเมืองของไทยแล้ว เศรษฐกิจพอเพียงมีบทบาทสำคัญในการสถาปนาอำนาจนำด้านอุดมการณ์ โดยเฉพาะอุดมการณ์กษัตริย์นิยมในสังคมไทย ในฐานะ "กษัตริย์นักพัฒนา" ซึ่งส่งผลต่อการเติบโตของอุดมการณ์เศรษฐกิจพอเพียง สิ่งเหล่านี้ถูกตอกย้ำและผลิตซ้ำโดยสถาบันทางสังคมต่าง ๆ เช่น สถาบันการศึกษา หน่วยงานราชการ สื่อมวลชน ส่งผลให้เศรษฐกิจพอเพียงมีบทบาทต่อการกำหนดอุดมการณ์การพัฒนาของประเทศ<sup id="cite_ref-prachatai-se-king-20071127_2-0" class="reference">[3]</sup> และการพยายามตีความเพื่อสร้างความชอบธรรมในการพัฒนาโดยปัญญาชนอย่าง ประเวศ วะสี, เสน่ห์ จามริก, อภิชัย พันธเสน และ ฉัตรทิพย์ นาถสุภา ซึ่งเชื่อมโยงแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงเข้ากับอุดมการณ์วัฒนธรรมชุมชน ที่ถูกเสนอมาก่อนหน้าโดยองค์กรพัฒนาเอกชนจำนวนหนึ่งตั้งแต่พุทธทศวรรษ 2520 ก็ได้ช่วยให้อุดมการณ์เศรษฐกิจพอเพียงขยายครอบคลุมส่วนต่าง ๆ ของสังคม<sup id="cite_ref-prachatai-se-king-20071127_2-1" class="reference">[3]</sup> สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติได้เชิญผู้ทรงคุณวุฒิในทางเศรษฐกิจและสาขาอื่น ๆ มาร่วมกันประมวลและกลั่นกรองพระราชดำรัสเรื่องเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อบรรจุในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 9 (พ.ศ. 2545-2549)<sup id="cite_ref-CSE-phil_1-1" class="reference">[2]</sup><sup id="cite_ref-3" class="reference">[4]</sup> และได้จัดทำเป็นบทความเรื่อง "ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง" และได้นำความกราบบังคลทูลพระกรุณาขอพระราชทานพระบรมราชวินิจฉัย เมื่อวันที่ 22 ตุลาคม พ.ศ. 2542 โดยทรงพระกรุณาปรับปรุงแก้ไขพระราชทานและทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานพระบรมราชานุญาตให้นำบทความที่ทรงแก้ไขแล้วไปเผยแพร่ เพื่อเป็นแนวทางปฏิบัติของสำนักงานฯ และทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนประชาชนโดยทั่วไป เมื่อวันที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2542
    ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงนี้ได้รับการเชิดชูสูงสุดจากองค์การสหประชาชาติ ว่าเป็นปรัชญาที่มีประโยชน์ต่อประเทศไทยและนานาประเทศ<sup id="cite_ref-un-secretary-2006_4-0" class="reference">[5]</sup> และสนับสนุนให้ประเทศสมาชิกยึดเป็นแนวทางสู่การพัฒนาแบบยั่งยืน<sup id="cite_ref-un-news_5-0" class="reference">[6]</sup> ในขณะที่นักวิชาการและสื่อจำนวนหนึ่งตั้งคำถามถึงการยกย่องนี้ รวมทั้งความน่าเชื่อถือของรายงานศึกษาและท่าทีของสหประชาชาติ (ดูเพิ่มที่ การวิพากษ์วิจารณ์)
    [​IMG]

    http://th.wikipedia.org/wiki/ภาพ:Sufficient-economy-chart01-1.jpg
     
  2. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,949
    แนวคิด

    พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ได้พัฒนาหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อที่จะให้พสกนิกรชาวไทยได้เข้าถึงทางสายกลางของชีวิตและเพื่อคงไว้ซึ่งทฤษฏีของการพัฒนาที่ยั่งยืน ทฤษฎีนี้เป็นพื้นฐานของการดำรงชีวิตซึ่งอยู่ระหว่าง สังคมระดับท้องถิ่นและตลาดระดับสากล จุดเด่นของแนวปรัชญานี้คือ แนวทางที่สมดุล โดยชาติสามารถทันสมัย และก้าวสู่ความเป็นสากลได้ โดยปราศจากการต่อต้านกระแสโลกาภิวัฒน์
    หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมีความสำคัญในช่วงปี พ.ศ. 2540 เมื่อปีที่ประเทศไทยต้องการรักษาความมั่นคงและเถียรภาพเพื่อที่จะยืนหยัดในการพึ่งตนเองและพัฒนานโยบายที่สำคัญเพื่อการฟื้นฟูเศรษฐกิจของประเทศ โดยการสร้างแนวคิดเศรษฐกิจที่พึ่งตนเองได้ ซึ่งคนไทยจะสามารถเลี้ยงชีพโดยอยู่บนพื้นฐานของความพอเพียง
    พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระราชดำริว่า มันไม่ได้มีความจำเป็นที่เราจะกลายเป็นประเทศอุตสาหกรรมใหม่ (NIC) พระองค์ได้ทรงอธิบายว่าความพอเพียงและการพึ่งตนเอง คือทางสายกลางที่จะป้องกันการเปลี่ยนแปลงความไม่มั่นคงของประเทศได้
    เศรษฐกิจพอเพียงเชื่อว่าจะสามารถปรับเปลี่ยนโครงสร้างทางสังคมของชมชุนให้ดีขึ้นโดยมีปัจจัย 2 อย่างคือ
    1. การผลิตจะต้องมีความสัมพันธ์กันระหว่าง ปริมาณผลผลิตและการบริโภค
    2. ชุมชนจะต้องมีความสามารถในการจัดการทรัพยากรของตนเอง
    ผลที่เกิดขึ้นคือ
    • เศรษฐกิจพอเพียงสามารถที่จะคงไว้ซึ่งขนาดของประชากรที่ได้สัดส่วน
    • ใช้เทคโนโลยีได้อย่างเหมาะสม
    • รักษาสมดุลของระบบนิเวศ และปราศจากการแทรกแทรกจากปัจจัยภายนอก
    ปัจจุบันแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงได้มีการนำไปใช้เป็นนโยบายของรัฐบาล

    [แก้] หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

    <table style="border-collapse: collapse;" align="center" border="0" cellpadding="0" cellspacing="0"> <tbody><tr> <td style="padding-right: 10px; padding-left: 10px; padding-top: 10px;" valign="top" width="20">[​IMG]</td> <td style="padding-top: 10px;">“...คนอื่นจะว่าอย่างไรก็ช่างเขาจะว่าเมืองไทยล้าสมัย ว่าเมืองไทยเชย ว่าเมืองไทยไม่มีสิ่งใหม่แต่เราอยู่ อย่างพอมีพอกิน และขอให้ทุกคนมีความปรารถนาที่จะให้เมืองไทยพออยู่พอกิน มีความสงบ ช่วยกันรักษาส่วนร่วม ให้อยู่ที่พอสมควร ขอย้ำพอควร พออยู่พอกิน มีความสงบไม่ให้คนอื่นมาแย่งคุณสมบัตินี้ไปจากเราได้...”</td> <td style="padding-left: 10px; padding-right: 10px;" valign="bottom" width="20">[​IMG]</td> </tr> <tr> <td colspan="3" style="text-align: right; padding-right: 20px; padding-bottom: 10px; font-size: 90%;">พระราชกระแสรับสั่งในเรื่องเศรษฐกิจพอเพียงแก่ผู้เข้าเฝ้าถวายพระพรชัยมงคล เนื่องในวันเฉลิมพระชนมพรรษาแต่พระพุทธศักราช 2517<sup id="cite_ref-king-words-2517_0-1" class="reference">[1]</sup></td> </tr> </tbody></table> <table style="border-collapse: collapse;" align="center" border="0" cellpadding="0" cellspacing="0"> <tbody><tr> <td style="padding-right: 10px; padding-left: 10px; padding-top: 10px;" valign="top" width="20">[​IMG]</td> <td style="padding-top: 10px;">การจะเป็นเสือนั้นมันไม่สำคัญ สำคัญอยู่ที่เราพออยู่พอกิน และมีเศรษฐกิจการเป็นอยู่แบบพอมีพอกิน แบบพอมีพอกิน หมายความว่า อุ้มชูตัวเองได้ ให้มีพอเพียงกับตัวเอง</td> <td style="padding-left: 10px; padding-right: 10px;" valign="bottom" width="20">[​IMG]</td> </tr> <tr> <td colspan="3" style="text-align: right; padding-right: 20px; padding-bottom: 10px; font-size: 90%;"> — พระราชดำรัส "เศรษฐกิจแบบพอเพียง" พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช พระราชทานเมื่อวันที่ 4 ธันวาคม พ.ศ. 2540
    </td> </tr> </tbody></table> เศรษฐกิจพอเพียง เป็นปรัชญาที่ยึดหลักทางสายกลาง ที่ชี้แนวทางการดำรงอยู่และปฏิบัติของประชาชนในทุกระดับ ตั้งแต่ระดับครอบครัวไปจนถึงระดับรัฐ ทั้งในการพัฒนาและบริหารประเทศ ให้ดำเนินไปในทางสายกลาง มีความพอเพียง และมีความพร้อมที่จะจัดการต่อผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงทั้งภายนอกและภายใน ซึ่งจะต้องอาศัยความรอบรู้ รอบคอบ และระมัดระวัง ในการวางแผนและดำเนินการทุกขั้นตอน เศรษฐกิจพอเพียงไม่ใช่เพียงการประหยัด แต่เป็นการดำเนินชีวิตอย่างสมดุลและยั่งยืน เพื่อให้สามารถอยู่ได้แม้ในโลกโลกาภิวัตน์ที่มีการแข่งขันสูง
    ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงที่ทรงปรับปรุงพระราชทานเป็นที่มาของนิยาม "3 ห่วง 2 เงื่อนไข" ที่ คณะอนุกรรมการขับเคลื่อนเศรษฐกิจพอเพียง สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ นำมาใช้ในการรณรงค์เผยแพร่ ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ผ่านช่องทางต่าง ๆ อยู่ในปัจจุบัน ซึ่งประกอบด้วยความ "พอประมาณ มีเหตุผล มีภูมิคุ้มกัน" บนเงื่อนไข "ความรู้ และ คุณธรรม"
    อภิชัย พันธเสน ผู้อำนวยการสถาบันการจัดการเพื่อชนบทและสังคม ได้จัดแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงว่าเป็น "ข้อเสนอในการดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจตามแนวทางของพุทธธรรมอย่างแท้จริง" ทั้งนี้เนื่องจากในพระราชดำรัสหนึ่ง ได้ให้คำอธิบายถึง เศรษฐกิจพอเพียง ว่า "คือความพอประมาณ ซื่อตรง ไม่โลภมาก และต้องไม่เบียดเบียนผู้อื่น"<sup id="cite_ref-6" class="reference">[7]</sup>
    ระบบเศรษฐกิจพอเพียง มุ่งเน้นให้บุคคลสามารถประกอบอาชีพได้อย่างยั่งยืน และใช้จ่ายเงินให้ได้มาอย่างพอเพียงและประหยัด ตามกำลังของเงินของบุคคลนั้น โดยปราศจากการกู้หนี้ยืมสิน และถ้ามีเงินเหลือ ก็แบ่งเก็บออมไว้บางส่วน ช่วยเหลือผู้อื่นบางส่วน และอาจจะใช้จ่ายมาเพื่อปัจจัยเสริมอีกบางส่วน (ปัจจัยเสริมในที่นี้เช่น ท่องเที่ยว ความบันเทิง เป็นต้น) สาเหตุที่แนวทางการดำรงชีวิตอย่างพอเพียง ได้ถูกกล่าวถึงอย่างกว้างขวางในขณะนี้ เพราะสภาพการดำรงชีวิตของสังคมทุนนิยมในปัจจุบันได้ถูกปลูกฝัง สร้าง หรือกระตุ้น ให้เกิดการใช้จ่ายอย่างเกินตัว ในเรื่องที่ไม่เกี่ยวข้องหรือเกินกว่าปัจจัยในการดำรงชีวิต เช่น การบริโภคเกินตัว ความบันเทิงหลากหลายรูปแบบ ความสวยความงาม การแต่งตัวตามแฟชั่น การพนันหรือเสี่ยงโชค เป็นต้น จนทำให้ไม่มีเงินเพียงพอเพื่อตอบสนองความต้องการเหล่านั้น ส่งผลให้เกิดการกู้หนี้ยืมสิน เกิดเป็นวัฏจักรที่บุคคลหนึ่งไม่สามารถหลุดออกมาได้ ถ้าไม่เปลี่ยนแนวทางในการดำรงชีวิต

    [แก้] การนำไปใช้

    ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงนี้ ถูกใช้เป็นกรอบแนวความคิดและทิศทางการพัฒนาระบบเศรษฐกิจมหภาคของไทย ซึ่งบรรจุอยู่ใน แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 10 (พ.ศ. 2550-2554) เพื่อมุ่งสู่การพัฒนาที่สมดุล ยั่งยืน และมีภูมิคุ้มกัน เพื่อความอยู่ดีมีสุข มุ่งสู่สังคมที่มีความสุขอย่างยั่งยืน หรือที่เรียกว่า "สังคมสีเขียว" ด้วยหลักการดังกล่าว แผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 10 นี้จะไม่เน้นเรื่องตัวเลขการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ แต่ยังคงให้ความสำคัญต่อระบบเศรษฐกิจแบบทวิลักษณ์ หรือระบบเศรษฐกิจที่มีความแตกต่างกันระหว่างเศรษฐกิจชุมชนเมืองและชนบท<sup id="cite_ref-leeatham-2006_7-0" class="reference">[8]</sup>
    ปัญหาหนึ่งของการนำปรัญชาเศรษฐกิจพอเพียงไปใช้ก็คือ ผู้นำไปใช้อาจยังไม่ได้ศึกษาหรือไม่มีความรู้เพียงพอ ทั้งยังไม่กล้าวิเคราะห์หรือตั้งคำถามต่อตัวปรัชญา เนื่องจากเป็นปรัชญาของพระมหากษัตริย์<sup id="cite_ref-economist-20070111_8-0" class="reference">[9]</sup>. สมเกียรติ อ่อนวิมล เรียกสิ่งนี้ว่า "วิกฤตเศรษฐกิจพอเพียง"<sup id="cite_ref-matichon-somkiat-20070226_9-0" class="reference">[10]</sup> โดยสมเกียรติมีความเห็นว่า ผู้นำไปใช้อาจไม่รู้ว่าปรัชญานี้แท้จริงคืออะไร ซึ่งอาจเพราะสับสนว่า เศรษฐกิจพอเพียงกับทฤษฎีใหม่นั้นเป็นเรื่องเดียวกัน ทำให้เข้าใจผิดว่า เศรษฐกิจพอเพียงหมายถึงการปฏิเสธอุตสาหกรรมแล้วกลับไปสู่เกษตรกรรม นอกจากนี้ยังมีความไม่รู้ว่าจะนำปรัชญานี้ไปใช้ทำอะไร กลายเป็นว่าผู้นำสังคมทุกคน รวมถึงนักการเมืองและรัฐบาล โดยวิจารณ์โครงการในยุครัฐบาลทักษิณ ชินวัตร ที่ใช้คำว่า "เศรษฐกิจพอเพียง" เป็นข้ออ้างในการทำกิจกรรมใด ๆ เพื่อให้เกิดภาพลักษณ์ที่ดีว่าได้สนองพระราชดำรัส หรือพูดง่าย ๆ ก็คือ "เศรษฐกิจพอเพียง" ถูกใช้เพื่อเป็นเครื่องมือเพื่อประโยชน์ส่วนตัว และได้วิจารณ์ว่ารัฐบาลยังไม่ได้ใช้อะไรเลยเกี่ยวกับเศรษฐกิจพอเพียง แต่พูดควบคู่กับการเอาทุนนิยม 100 เปอร์เซ็นต์ลงไป ซึ่งรัฐบาลควรต้องปรับทิศทางใหม่ เพราะรัฐบาลไม่ได้เอาเศรษฐกิจพอเพียงเป็นปรัชญาและเป็นนโยบายทางวัฒนธรรมและสังคม สมเกียรติยังมีความเห็นด้วยว่าความไม่เข้าใจนี้ อาจเกิดจากการสับสนว่าเศรษฐกิจพอเพียงกับทฤษฎีใหม่นั้นเป็นเรื่องเดียวกัน ทำให้มีความเข้าใจว่า เศรษฐกิจพอเพียงหมายถึงการปฏิเสธอุตสาหกรรมแล้วกลับไปสู่เกษตรกรรม ซึ่งเป็นความเข้าใจที่ผิด.
    สิ่งที่สมเกียรติเสนอนี้ สอดคล้องกับที่ ชนิดา ชิตย์บัณฑิตย์ เสนอเช่นกันว่า เศรษฐกิจพอเพียงมีความหมายที่ลื่นไหลไปมา ไม่ผูกติดกับรูปแบบใดรูปแบบหนึ่ง อาจกล่าวได้ว่ามีนัยยะทางการเมืองแฝงอยู่ในการนำเสนอเสมอ ดังนั้น ถ้าพิจารณาในแง่อุดมการณ์ จำเป็นต้องดูบริบทของกลุ่มที่นำมาใช้หรือตีความ ว่าสร้างความชอบธรรมให้กับการพัฒนารูปแบบใด หรือมีนัยยะทางการเมืองอะไรอยู่เบื้องหลัง<sup id="cite_ref-chitbundit-20071120_10-0" class="reference">[11]</sup>
    นายสุรเกียรติ เสถียรไทย ในฐานะรัฐมนตรีกระทรวงต่างประเทศ ได้กล่าวเมื่อวันที่ 24 พศจิกายน พ.ศ. 2547 ในการประชุมสุดยอด The Francophonie Ouagadougou ครั้งที่ 10 ที่ Burkina Faso ว่า ประเทศไทยได้ยึดแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง ควบคู่กับ "การพัฒนาแบบยั่งยืน" ในการพัฒนาประเทศทั้งทางด้านการเกษตรกรรม เศรษฐกิจ และการแข่งขัน ซึ่งเป็นการสอดคล้องเป้าหมายแนวทางของนานาชาติในประชาคมโลก โดยยกตัวอย่างการแก้ปัญหาวิกฤตเศรษฐกิจ เมื่อปี 2540 ซึ่งเมื่อยึดหลักปรัชญาในการแก้ปัญหาสามารถทำให้ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) ของไทยโตได้ถึงร้อยละ 6.7<sup id="cite_ref-mfa-20041124_11-0" class="reference">[12]</sup>

    [แก้] นอกประเทศไทย

    การประยุกต์นำหลักปรัชญาเพื่อนำพัฒนาประเทศในต่างประเทศนั้น ประเทศไทยได้เป็นศูนย์กลางการแลกเปลี่ยน ผ่านทางสำนักงานความร่วมมือเพื่อการพัฒนาระหว่างประเทศ (สพร.) โดย สพร.มีหน้าที่ คอยประสานงานรับความช่วยเหลือทางวิชาการด้านต่าง ๆ จากต่างประเทศมาสู่ภาครัฐ แล้วถ่ายทอดต่อไปยังภาคประชาชน และยังส่งผ่านความรู้ที่มีไปยังประเทศกำลังพัฒนาอื่น ๆ เรื่องปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงนั้น สพร. ถ่ายทอดมาไม่ต่ำกว่า 5 ปี ประสานกับสำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ (กปร.) และคณะอนุ กรรมการขับเคลื่อนเศรษฐกิจพอเพียง ซึ่งต่างชาติก็สนใจเรื่องเศรษฐกิจพอเพียง เพราะพิสูจน์แล้วว่าเป็นสิ่งที่ดีและมีประโยชน์ ซึ่งแต่ละประเทศมีความต้องการประยุกต์ใช้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงไม่เหมือนกัน ขึ้นอยู่กับวิถีชีวิต สภาพภูมิศาสตร์ ฯลฯ เช่น พม่า ศรีลังกา เลโซโท ซูดาน อัฟกานิสถาน บังกลาเทศ ภูฏาน จีน จิบูตี โคลัมเบีย อียิปต์ เอธิโอเปีย แกมเบีย อินโดนีเซีย เคนยา เกาหลีใต้ มาดากัสการ์ มัลดีฟส์ ปาปัวนิวกินี แทนซาเนีย เวียดนาม ฯลฯ โดยได้ให้ประเทศเหล่านี้ได้มาดูงาน ในหลายระดับ ทั้งเจ้าหน้าที่ปฏิบัติงาน เจ้าหน้าที่ฝ่ายนโยบาย จนถึงระดับปลัดกระทรวง รัฐมนตรีกระทรวงต่าง ๆ<sup id="cite_ref-suthasinee-20070326_12-0" class="reference">[13]</sup>
    นอกจากนั้นอดิศักดิ์ ภาณุพงศ์ เอกอัครราชทูตไทยประจำกรุงเวียนนา ประเทศออสเตรีย ได้กล่าวว่า ต่างชาติสนใจเรื่องเศรษฐกิจพอเพียง<sup id="cite_ref-suthasinee-20070326_12-1" class="reference">[13]</sup> เนื่องจากมาจากพระราชดำริในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวที่ทรงห่วงใยราษฎรของพระองค์ และอยากรู้ว่าทำไมรัฐบาลไทยถึงได้นำมาเป็นนโยบาย ส่วนประเทศที่พัฒนาแล้วก็ต้องการศึกษาพิจารณาเพื่อนำไปช่วยเหลือประเทศอื่น
     
  3. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,949
    การวิพากษ์วิจารณ์

    ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงนี้ ได้รับการเชิดชูสูงสุดจากองค์การสหประชาชาติ (UN) โดยนายโคฟี อันนัน ในฐานะเลขาธิการองค์การสหประชาชาติ ได้ทูลเกล้าฯถวายรางวัล The Human Development Lifetime Achievement Award แก่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เมื่อวันที่ 26 พฤษภาคม 2549 และได้มีปาฐกถาถึงปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ว่าเป็นปรัชญาที่มีประโยชน์ต่อประเทศไทยและนานาประเทศ<sup id="cite_ref-un-secretary-2006_4-1" class="reference">[5]</sup> และสามารถเริ่มได้จากการสร้างภูมิคุ้มกันในตนเอง สู่หมู่บ้าน และสู่เศรษฐกิจในวงกว้างขึ้นในที่สุด<sup id="cite_ref-un-chronical-2006_13-0" class="reference">[14]</sup> โดยที่องค์การสหประชาชาติได้สนับสนุนให้ประเทศต่าง ๆ ที่เป็นสมาชิก 166 ประเทศยึดเป็นแนวทางสู่การพัฒนาประเทศแบบยั่งยืน<sup id="cite_ref-un-news_5-1" class="reference">[6]</sup>
    อย่างไรก็ตาม นายเควิน ฮิววิสัน อาจารย์ประจำมหาวิทยาลัยนอร์ธแคโรไลนา ที่แชพเพลฮิลล์ ได้วิจารณ์รายงานขององค์การสหประชาชาติโดยสำนักงานโครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ (UNDP) ที่ยกย่องปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง<sup id="cite_ref-undp-thailand-2007_14-0" class="reference">[15]</sup> ว่า รายงานฉบับดังกล่าวไม่ได้มีเนื้อหาสนับสนุนว่าเศรษฐกิจพอเพียงเป็น “ทางเลือกที่จำเป็นมากสำหรับโลกที่กำลังดำเนินไปในเส้นทางที่ไม่ยั่งยืนอยู่ในขณะนี้” (น. v ในรายงาน UNDP) เลย โดยเนื้อหาแทบทั้งหมดเป็นการเทิดพระเกียรติ และในส่วนของการอ้างอิงซึ่งน้อยมากนั้นก็แทบไม่มีงานสังคมศาสตร์จริง ๆ เลย และอันที่จริงแล้วราชสำนักเป็นผู้ผลิตรายงานฉบับนี้เอง (จากส่วน "กิตติกรรมประกาศ" น. vii ในรายงาน UNDP) ทำให้ที่สุดแล้ว รายงานฉบับนี้ก็มีค่าเพียงเป็นเครื่องมือในการโฆษณาชวนเชื่อภายในประเทศเท่านั้น และผู้วิจารณ์เห็นว่า UNDP ควรทำการค้นหาตัวตนของสถาบันอย่างจริงจังเพื่อจะเข้าใจว่าเหตุใดจึงถูกใช้ในลักษณะนี้ หรือมาร่วมมือเชิดชูรัฐบาลที่มาจากทหารได้อย่างไร<sup id="cite_ref-prachatai-kevin-20071204_15-0" class="reference">[16]</sup>
    นิตยสารวิเคราะห์เศรษฐกิจรายสัปดาห์ The Economist ได้วิพากษ์รายงานฉบับดังกล่าวว่าเป็นรายงานที่ไม่สมดุล ("unbalanced report") เกี่ยวกับทฤษฎีที่ไม่เคยทดสอบในระดับชาติ และละเลยการวิเคราะห์ที่อยู่บนพื้นฐานของความเป็นจริงไม่ลำเอียง (objectivity) อย่างสิ้นเชิง นอกจากนี้ รายงานฉบับนี้ยังมอบความชอบธรรมให้กับระบอบที่ได้อำนาจมาจากการใช้กำลัง<sup id="cite_ref-economist-20070111_8-1" class="reference">[9]</sup>
    ส่วน Håkan Björkman รักษาการผู้อำนวยการ UNDP ในประเทศไทย กล่าวว่า "UNDP ต้องการที่จะทำให้เกิดการอภิปรายพิจารณาเรื่องนี้ แต่การอภิปรายดังกล่าวนั้นเป็นไปไม่ได้ในประเทศไทย เพราะทฤษฎีพอเพียงเป็นปรัชญาของพระมหากษัตริย์ และอะไรก็ตามที่วิพากษ์มันแม้เพียงห่าง ๆ ก็อาจจะถูกมองว่าเป็นการหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ ซึ่งมีโทษถึงจำคุก"<sup id="cite_ref-economist-20070111_8-2" class="reference">[9]</sup>

    [แก้] อ้างอิง

    1. ^ <sup>1.0</sup> <sup>1.1</sup> พระราชกระแสรับสั่งในเรื่องเศรษฐกิจพอเพียงแก่ผู้เข้าเฝ้าถวายพระพรชัยมงคล เนื่องในวันเฉลิมพระชนมพรรษาแต่พระพุทธศักราช 2517, อ้างใน ว.วชิรเมธี, ความสับสนเกี่ยวกับเศรษฐกิจพอเพียง, เนชั่นสุดสัปดาห์ ปีที่ 15 ฉบับที่ 763 วันที่ 12-18 มกราคม พ.ศ. 2550
    2. ^ <sup>2.0</sup> <sup>2.1</sup> ศูนย์ศึกษาเศรษฐกิจพอเพียง สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
    3. ^ <sup>3.0</sup> <sup>3.1</sup> ประชาไท, “เศรษฐกิจพอเพียง” กับ “การสถาปนาพระราชอำนาจนำ”: เสวนาที่ ม.อุบลราชธานี, 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2550
    4. ^ สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ, เอกสารสรุปสาระสำคัญ แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ ๙
    5. ^ <sup>5.0</sup> <sup>5.1</sup> UN Secretary-General office. THAI KING’S DEVELOPMENT AGENDA, VISIONARY THINKING INSPIRATION TO PEOPLE EVERYWHERE, SAYS SECRETARY-GENERAL TO BANGKOK PANEL
    6. ^ <sup>6.0</sup> <sup>6.1</sup> UN News Center. With new Human Development award, Annan hails Thai King as example for the world
    7. ^ อภิชัย พันธเสน, พุทธเศรษฐศาสตร์: วิวัฒนาการ ทฤษฎี และการประยุกต์กับเศรษฐศาสตร์สาขาต่าง ๆ, สำนักพิมพ์อมรินทร์, 2547.
    8. ^ พิสิฐ ลี้อาธรรม, 2549 ทิศทางการพัฒนาเศรษฐกิจมหภาคการเงินการคลัง
    9. ^ <sup>9.0</sup> <sup>9.1</sup> <sup>9.2</sup> The Economist, Rebranding Thaksinomics, January 11, 2007
    10. ^ วิกฤต"เศรษฐกิจพอเพียง" สมเกียรติ อ่อนวิมล "ปรัชญา" ไม่ใช่ "ทฤษฎี", มติชน, 26 ก.พ. 2550, น. 11
    11. ^ ชนิดา ชิตย์บัณฑิตย์, “มองเศรษฐกิจพอเพียงผ่านแว่นหลากสี: “เศรษฐกิจพอเพียง” กับ “การสถาปนาพระราชอำนาจนำ” ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว”, การประชุมเชิงวิชาการ เหลียวหลังแลหน้าการเปลี่ยนแปลงสังคมชนบทอีสานช่วงทศวรรษ 2540-2550 กรณี “เศรษฐกิจพอเพียง: ความรู้และความไม่รู้”, คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี, 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2550. อ้างผ่าน ประชาไท, “เศรษฐกิจพอเพียง” กับ “การสถาปนาพระราชอำนาจนำ”: เสวนาที่ ม.อุบลราชธานี, 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2550
    12. ^ Statement by H.E. Dr. Surakiat Sathirathai, Minister of Foreign Affairs of Thailand at the Luncheon held at upon the occasion of Ministerial Meeting of the Tenth Summit of the Francophonie Ouagadougou, Burkina Faso, 24 November 2004
    13. ^ <sup>13.0</sup> <sup>13.1</sup> สุทธาสินี จิตรกรรมไทย, สหประชาชาติ กับ "เศรษฐกิจพอเพียง" ของ"ในหลวง", หนังสือพิมพ์มติชน วันที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2550 ปีที่ 30 ฉบับที่ 10607
    14. '^ Håkan Björkman, Honouring the World's 'Development King, UN Chronical Online
    15. ^ UNDP, Thailand Human Development Report 2007: Sufficiency Economy and Human Development, United Nations Development Programme, 2007
    16. ^ ประชาไท, วิจารณ์รายงาน UNDP ประจำปี 2550 ว่าด้วยเศรษฐกิจพอเพียง, 4 ธันวาคม พ.ศ. 2550. แปลบางส่วนจากบทความ “Royalist propaganda and policy nonsense”, Journal of Contemporary Asia, 38, ฉบับที่ 1 ปี 2008 และเรียกดูได้จาก New Mandala, Interview with Professor Kevin Hewison - Part One, 16 August, 2007
    [แก้] ดูเพิ่ม

    [แก้] แหล่งข้อมูลอื่น

    <!-- NewPP limit report Preprocessor node count: 368/1000000 Post-expand include size: 2946/2048000 bytes Template argument size: 2012/2048000 bytes Expensive parser function count: 0/500 --> <!-- Saved in parser cache with key thwiki:pcache:idhash:10613-0!1!0!!th!2 and timestamp 20080429222614 --> ดึงข้อมูลจาก "http://th.wikipedia.org/wiki/เศรษฐกิจพอเพียง".
    หมวดหมู่: เศรษฐกิจ | เศรษฐกิจของประเทศไทย | แนวพระราชดำริ
     
  4. wara43

    wara43 ทีมผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 เมษายน 2006
    โพสต์:
    9,108
    ค่าพลัง:
    +16,130
    พระองค์ทรงเป็นยิ่งกว่าพระมหากษัตริย์ เป็นเทวดาที่ยังมีลมหายใจ
    ขอพระองค์ทรงพระเจริญยิ่งยืนนาน
     

แชร์หน้านี้

Loading...