เรื่องเด่น เล่าขานตำนานไสยเวทย์ไทย ตอน พระขรรค์ เทพศาสตราใช้ปราบสิ่งชั่วร้าย ภัยอันตราย ทั้งปวง ดีนักแล

ในห้อง 'ประสบการณ์ เรื่องเล่า' ตั้งกระทู้โดย joni_buddhist, 18 พฤษภาคม 2017.

  1. joni_buddhist

    joni_buddhist Legal returns ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 กันยายน 2005
    โพสต์:
    13,555
    กระทู้เรื่องเด่น:
    203
    ค่าพลัง:
    +63,444
    เล่าขานตำนานไสยเวทย์ไทย ตอน พระขรรค์ เทพศาสตราใช้ปราปสิ่งชั่วร้าย ภัยอันตราย ทั้งปวง ดีนักแล
    18301337_10213095571973626_6892909397916827360_n.jpg

    พระขรรค์ คือ อาวุธปลายแหลม คลายมีด แต่มีสองคม และเรียวตรงกลาง คณาจารย์ท่าน ได้แยกแขนงมาจากมีดหมอ หรือเทพศาสตรา ใช้สำหรับการปราบภูติผีปีศาจ และคุ้มกันอันตราย วัตถุประสงค์ในการสร้างก็ดุจเดียวกันคือ "มีดหมอ" นั่นเอง

    สืบสวนตำนานการสร้างพระขรรค์ ตามตำราไชยสงคราม ถือว่า เป็นสุดยอดแห่งเครื่องรางประเภท “ศาสดาวุธ” เลยก็ว่าได้ ในอดีตแม้แต่หลวงปู่ศุขวัดปากคว้างมะขามเฒ่า ยังเคยสร้างถวายแก่เสด็จในกรมหลวงชุมพรอุดมศักดิ์ ซึ่งพระองค์ ใช้เป็นเครื่องรางประจำพระองค์ นั้นคือ พระขรรค์โสฬส เป็นอาวุธที่แม้แต่ท่านขุนพันยังให้ความสนใจ ซึ่งในประวัติ เชื่อกันว่า สร้างขึ้นเพียง 7 เล่มเท่านั้น แสดงให้เห็นว่า การสร้างพระขรรค์ในสมัยโบราณกาล ไม่ใช่จะสร้างกันได้ง่ายๆ มิใช่จะไปสั่งมีดที่ทำสำเร็จตามท้องตลาด แล้วนำมาปลุกเสกกันหลายๆวาระ แล้วจะมาเรียกกันว่า เทพศาสตรา อย่างพระขรรค์ก็คงจะไม่ได้ เพราะพระขรรค์ถือว่าเป็น อาวุธคู่บารมีแห่งพระมหากษัตรย์จะมาทำกันแบบสุกเอาเผากิน เห็นทีจะไม่ควร และพระขรรค์ยังเป็นอาวุธทางมหาอำนาจในตำราพิไชยสงคราม จึงมิได้กล่าว ไว้ว่า สามารถเรียกโชคเรียกลาภได้ โดยสภาพการณ์ หากเห็นคนถือมีดดาบอยู่ก็คงจะเป็นมหานิยมไปไม่ได้หรอกครับ ส่วนตำราการสร้างพระขรรค์ที่พอจะทราบประกอบด้วยกัน ได้ 2 ประเภท คือ
    1. พระขรรค์ที่สร้างจากโลหะธาตุวัตถุอาถรรพ์ต่างๆ
    2. พระขรรค์ที่สร้างจากเขาสัตว์ หรือ ไม้มงคลต่างๆ
    ในตำราพิไชยสงคราม การสร้างพระขรรค์ได้บันทึกไว้แยกได้เป็น 3 ส่วนด้วยกัน คือ
    1. ตัวพระขรรค์
    2. ด้ามพระขรรค์
    3. ผงวิเศษตามวิชาที่บรรจุในด้ามพระขรรค์
    1.1 ตัวพระขรรค์จะต้องนำเหล็กยอดพระเจดีย์ ผสม กับโลหะ มงคล และ วัตถุอาถรรพ์อีกหลายชนิด ซึ่งก่อนะตีพระขรรค์จะต้องลงอักขระเลขยันต์บังคับตามตำราตีผสมลงให้เป็นมหามงคล โดยการตีพระขรรค์จะต้องกำหนดฤกษ์ยามตามจารีดตัวพระขรรค์ทั้งด้านหน้าและด้านหลัง จะต้องจารอักขระเลขยันต์ตามศาสตร์พิไชยสงคราม
    1.2 ด้ามพระขรรค์ต้องทำมาจากไม้อาถรรพ์ หรือ ไม้มงคลต่างๆภายในแกนด้ามพระขรรค์จะต้องบรรจุ เถ้าอาถรรพ์ต่างๆและผงวิเศษตามตำราบางทีอนุโลมให้หล่อโลหะเป้นด้ามได้เลยเช่นพระขรรค์สามฤทธิ์หลวงพ่อคล้อย นะสำเร็จ วัดถ้ำพระเงินชุมพร
    1.3 ผงที่ใช้บรรจุพระขรรค์ จะใช้บรรจุพระขรรค์ที่สร้างจากโลหะหรือคณาจารย์บางสำนักยังบรรจุลงในพระขรรค์ที่แกะจากไม้มงคล หรือ เขาสัตว์อีกด้วย ซึ่งผงดังกล่าวจะประกอบไปด้วย ผงอาถรรพ์ต่างๆ และ ผงวิเศษตามตำรา ประกอบด้วย ผงปถมังพระเจ้าตรึงไตรภพ ผงมหาไวย์ไมยราบสะกดทัพ เป็นต้น (เฉพาะผงก็มิได้บอกถึงเรื่องทางโภคทรัพย์)
    2 . พระขรรค์ที่สร้างจากเขาสัตว์ หรือ ไม้มงคลต่างๆ
    พระขรรค์ที่สร้างจากเขาสัตว์ เช่น พระขรรค์เขาความเผือกของหลวงพ่อโศก วัดปากคลอง จ. เพชรบุรี ท่านจะใช้เขาสัตว์ที่ตายผิดธรรมชาตินำมาแกะเป็นพระขรรค์ ปลุกเศกให้ได้อย่างน้อย 1 พรรษา จึงจะแจกจ่ายให้แก่ลูกศิษย์ หรือ แกะขึ้นจากไม้มงคลโดยผู้ที่แกะจะต้องอาราธนาศีลอุโบสถและขณะแกะขึ้นรูปเป็นพระขรรค์ มีเคล็ดอยู่ว่า ห้ามแกะทวนไม้ หมายความว่า เวลาแกะให้ตัดเป็นท่อนขนาดพอเหมาะกับการแกะโดยให้จำไว้ว่า ทางไหนเป็นด้าม ทางไหนเป็นปลายให้แกะเป็นทางเดียวกันจนสำเร็จถ้าทวนแม้แต่ครั้งเดียว ถือว่าเป็นวิบัติต้องทิ้งไป ใช้ไม่ได้จากนั้นจึงลงอักขระ ตามสูตร เป็นอันเสร็จพิธี จะเห็นได้ว่าผู้ที่สร้างพระขรรค์ต้องมีสมาธิสูงจึงจะสร้างได้สมบูรณ์แบบที่สุด ดังนั้น การสร้างพระขรรค์ มิใช่จะสร้างกันได้ง่ายๆ แล้วมาตั้งชื่อกันตามใจชอบ ครูบาอาจารย์ในสมัยโบราณกาลก่อน ตลอดชีวิตของท่านก็สร้างขึ้นมาเพียงไม่กี่ครั้ง และในศุภมงคลพิธี ๙ ฤกษ์ เท่านั้น ปัจจุบันการสร้างพระขรรค์ตามตำรานั้นมีน้อยมาก ที่มีให้เห็นคือ พระขรรค์หลวงพ่อคล้อย นะสำเร็จ วัดถ้ำพระเงิน ชุมพร และ ท่านอาจารย์ชินพรได้จัดสร้างพระขรรค์ไม้แกะตามตำราด้ามพระขรรค์บรรจุด้วย ผงพรายกุมารหลวงปู่ทิมผสมน้ำมันงาโสฬสมหามงคล หลวงพ่อบัววัดศรีบูรพา จ. ตราดและผงวิเศษที่ได้กล่าวไว้ตามตำรา เรียกกันว่า “พระขรรค์มหาปราบพินาศไพรี” โดยจัดสร้างขึ้นเพียง 39 เล่มผ่านพิธีพุทธาภิเษก โดยสุดยอดพระเกจิอาจารย์แห่งยุค คือ หลวงพ่อบัว วัดศรีบูรพา และ หลวงปู่คำบุ วัดกุดชมพู

    ขอขอบคุณข้อมูล จาก เว็บอิทธิญาโณ และท่านอาจารย์ชินพร สุขสถิตย์
     

แชร์หน้านี้

Loading...