เรื่อง ความตั้งอยู่ของจิต

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย siratsapon, 14 พฤษภาคม 2010.

  1. siratsapon

    siratsapon เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 ตุลาคม 2005
    โพสต์:
    368
    ค่าพลัง:
    +641
    พระไตรปิฎก เล่มที่ ๓๗ พระอภิธรรมปิฎก เล่มที่ ๔
    กถาวัตถุปกรณ์

    จิตตฐิติกถา

    [๖๒๔] สกวาที จิตดวงหนึ่งตั้งอยู่ได้ตลอดวัน หรือ?

    ปรวาที ถูกแล้ว

    ส. กึ่งวันเป็นอุปปาทขณะ กึ่งวันเป็นวยขณะ หรือ?

    ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

    [๖๒๕] ส. จิตดวงหนึ่งตั้งอยู่ได้ตลอด ๒ วัน หรือ?

    ป. ถูกแล้ว

    ส. วันหนึ่งเป็นอุปปาทขณะ อีกวันหนึ่งเป็นวยขณะ หรือ?

    ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

    [๖๒๖] ส. จิตดวงหนึ่งตั้งอยู่ได้ตลอด ๔ วัน ฯลฯ ตั้งอยู่ได้ตลอด ๘ วัน ตั้งอยู่ได้
    ตลอด ๑๐ วัน ตั้งอยู่ได้ตลอด ๒๐ วัน ตั้งอยู่ได้ตลอดเดือนหนึ่ง ตั้ง
    อยู่ได้ตลอด ๒ เดือน ตั้งอยู่ได้ตลอด ๔ เดือน ตั้งอยู่ได้ตลอด ๘ เดือน
    ตั้งอยู่ได้ตลอด ๑๐ เดือน ตั้งอยู่ได้ตลอดปีหนึ่ง ตั้งอยู่ได้ตลอด ๒ ปี
    ตั้งอยู่ได้ตลอด ๔ ปี ตั้งอยู่ได้ตลอด ๘ ปี ตั้งอยู่ได้ตลอด ๑๐ ปี ตั้งอยู่
    ได้ตลอด ๒๐ ปี ตั้งอยู่ได้ตลอด ๓๐ ปี ตั้งอยู่ได้ตลอด ๔๐ ปี ตั้งอยู่
    ได้ตลอด ๕๐ ปี ตั้งอยู่ได้ตลอด ๑๐๐ ปี ตั้งอยู่ได้ตลอด ๒๐๐ ปี ตั้งอยู่
    ได้ตลอด ๔๐๐ ปี ตั้งอยู่ได้ตลอด ๕๐๐ ปี ตั้งอยู่ได้ตลอด ๑,๐๐๐ ปี
    ตั้งอยู่ได้ตลอด ๒,๐๐๐ ปี ตั้งอยู่ได้ตลอด ๔,๐๐๐ ปี ตั้งอยู่ได้ตลอด
    ๘,๐๐๐ ปี ตั้งอยู่ได้ตลอด ๑๖,๐๐๐ ปี ตั้งอยู่ได้ตลอดกัลป์หนึ่ง ตั้งอยู่ได้
    ตลอด ๒ กัลป์ ตั้งอยู่ได้ตลอด ๔ กัลป์ ตั้งอยู่ได้ตลอด ๘ กัลป์
    ตั้งอยู่ได้ตลอด ๑๖ กัลป์ ตั้งอยู่ได้ตลอด ๓๒ กัลป์ ตั้งอยู่ได้ตลอด ๖๔
    กัลป์ ตั้งอยู่ได้ตลอด ๕๐๐ กัลป์ ตั้งอยู่ได้ตลอด ๑,๐๐๐ กัลป์ ตั้งอยู่
    ได้ตลอด ๒,๐๐๐ กัลป์ ตั้งอยู่ได้ตลอด ๔,๐๐๐ กัลป์ ตั้งอยู่ได้ตลอด
    ๘,๐๐๐ กัลป์ ตั้งอยู่ได้ตลอด ๑๖,๐๐๐ กัลป์ ตั้งอยู่ได้ตลอด ๒๐,๐๐๐
    กัลป์ ตั้งอยู่ได้ตลอด ๖๐,๐๐๐ กัลป์ ฯลฯ ตั้งอยู่ได้ตลอด ๔๘,๐๐๐
    กัลป์ หรือ?

    ป. ถูกแล้ว

    ส. ๒,๐๐๐ กัลป์เป็นอุปปาทขณะ อีก ๔๘,๐๐๐ กัลป์ เป็นวยขณะ หรือ?

    ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

    [๖๒๗] ส. จิตดวงหนึ่งตั้งอยู่ตลอดวันหนึ่ง หรือ?

    ป. ถูกแล้ว

    ส. ธรรมอื่นๆ ที่เกิดขึ้นแล้วดับไป แม้มากครั้งในวันหนึ่งมีอยู่ หรือ?

    ป. ถูกแล้ว

    ส. ธรรมเหล่านั้นเปลี่ยนแปลงไปเร็วกว่าจิต หรือ?

    ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

    [๖๒๘] ส. ธรรมเหล่านั้นเปลี่ยนแปลงไปเร็วกว่าจิต หรือ?

    ป. ถูกแล้ว

    ส. พระผู้มีพระภาคได้ตรัสไว้ว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราไม่พิจารณาเห็น
    ธรรมอื่น แม้สักอย่างหนึ่ง ที่เปลี่ยนแปลงไปเร็วเหมือนจิตเลย แม้
    การเปรียบเทียบว่า จิตได้เปลี่ยนแปลงไปเร็วเพียงไรก็ทำได้ไม่ง่าย
    เลยทีเดียว ดังนี้ ๑- เป็นสูตรมีอยู่จริง มิใช่หรือ?

    ป. ถูกแล้ว

    ส. ถ้าอย่างนั้น ก็ไม่พึงกล่าวว่า ธรรมเหล่านั้นเปลี่ยนแปลงไปเร็วกว่าจิต

    [๖๒๙] ส. ธรรมเหล่านั้นเปลี่ยนแปลงไปเร็วกว่าจิต หรือ?

    ป. ถูกแล้ว

    ส. พระผู้มีพระภาคได้ตรัสไว้ว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ลิงเที่ยวไปในป่า
    ในไพร จับกิ่งไม้ ปล่อยกิ่งนั้นแล้วจับกิ่งอื่น ปล่อยกิ่งนั้นแล้วจับ
    กิ่งอื่น แม้ฉันใด ธรรมชาติที่เรียกว่า จิต บ้าง ว่า มโน บ้าง
    ว่า วิญญาณ บ้าง ก็ฉันนั้นแล ดวงอื่นเทียวเกิดขึ้น ดวงอื่นเทียว
    ดับไป ทั้งคืนทั้งวัน ดังนี้ เป็นสูตรมีอยู่จริง มิใช่หรือ?

    ป. ถูกแล้ว

    ส. ถ้าอย่างนั้น ก็ไม่พึงกล่าวว่า ธรรมนั้นเปลี่ยนแปลงไปเร็วกว่าจิต

    [๖๓๐] ส. จิตดวงหนึ่งตั้งอยู่ได้ตลอดวันหนึ่ง หรือ?

    ป. ถูกแล้ว

    ส. จักขุวิญญาณตั้งอยู่ได้ตลอดวันหนึ่ง หรือ?

    ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

    @๑. อํ. เอก, ข้อ ๕๒ หน้า ๑๑

    ส. โสตวิญญาณ ฯลฯ ฆานวิญญาณ ชิวหาวิญญาณ กายวิญญาณ จิตเป็น
    อกุศล จิตสหรคตด้วยราคะ จิตสหรคตด้วยโทสะ จิตสหรคตด้วยโมหะ
    จิตสหรคตด้วยมานะ จิตสหรคตด้วยทิฏฐิ จิตสหรคตด้วยวิจิกิจฉา จิต
    สหรคตด้วยถีนะ จิตสหรคตด้วยอุทธัจจะ จิตสหรคตด้วยอหิริกะ จิต
    สหรคตด้วยอโนตตัปปะ ตั้งอยู่ได้ตลอดวันหนึ่ง หรือ?

    ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

    [๖๓๑] ส. จิตดวงหนึ่งตั้งอยู่ได้ตลอดวันหนึ่ง หรือ?

    ป. ถูกแล้ว

    ส. บุคคลเห็นรูปด้วยตาทางจิตใด ก็ฟังเสียงทางหูด้วยจิตดวงเดียวกันนั้น
    แหละ ฯลฯ ดมกลิ่นทางจมูก ลิ้มรสทางลิ้น ถูกต้องโผฏฐัพพะทางกาย ฯลฯ
    รู้ธรรมารมณ์ทางใจด้วยจิตดวงเดียวกันนั้นแหละ ฯลฯ บุคคลรู้ธรรมา-
    รมณ์ทางใจด้วยจิตใด ก็เห็นรูปทางตาด้วยจิตดวงเดียวกันนั้นแหละ ฯลฯ
    ฟังเสียงทางหู ดมกลิ่นทางจมูก ลิ้มรสทางลิ้น ฯลฯ ถูกต้องโผฏฐัพพะ
    ทางกายด้วยจิตดวงเดียวกันนั้นแหละ หรือ?

    ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

    [๖๓๒] ส. จิตดวงหนึ่งตั้งอยู่ได้ตลอดวันหนึ่ง หรือ?

    ป. ถูกแล้ว

    ส. บุคคลก้าวไปด้วยจิตใด ก็ถอยกลับด้วยจิตดวงเดียวกันนั้นแหละ ถอย
    กลับด้วยจิตใด ก็ก้าวไปด้วยจิตดวงเดียวกันนั้นแหละ แลดูด้วยจิตใด
    ก็เหลียวซ้ายแลขวาด้วยจิตดวงเดียวกันนั้นแหละ เหลียวซ้ายแลขวาด้วย
    จิตใดก็แลดูด้วยจิตดวงเดียวกันนั้นแหละ คู้เข้าด้วยจิตใด ก็เหยียดออก
    ด้วยจิตดวงเดียวกันนั้นแหละ เหยียดออกด้วยจิตใด ก็คู้เข้าด้วยจิต
    ดวงเดียวกันนั้นแหละ หรือ?

    ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

    [๖๓๓] ส. เทพทั้งหลายผู้อุปบัติในอากาสานัญจายตนภพ มีจิตดวงเดียว ตั้งอยู่
    จนตลอดอายุ หรือ?

    ป. ถูกแล้ว

    ส. มนุษย์ทั้งหลายก็มีจิตดวงเดียว ตั้งอยู่จนตลอดอายุ หรือ?

    ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

    [๖๓๔] ส. เทพทั้งหลายผู้อุปบัติในอากาสานัญจายตนภพ มีจิตดวงเดียว ตั้งอยู่จน
    ตลอดอายุ หรือ?

    ป. ถูกแล้ว

    ส. เทพชั้นจาตุมหาราช ฯลฯ เทพชั้นดาวดึงส์ ... เทพชั้นยามา ... เทพชั้น
    ดุสิต ... เทพชั้นนิมมานรดี ... เทพชั้นปรนิมมิตวสวัตตี ... เทพชั้นพรหม
    ปาริสัช ... เทพชั้นพรหมปุโรหิต ... เทพชั้นมหาพรหม ... เทพชั้นปริต-
    ตาภา ... เทพชั้นอัปปมาณาภา ... เทพชั้นอาภัสสรา ... เทพชั้นปริตตสุภา ...
    เทพชั้นอัปปมาณสุภา ... เทพชั้นสุภกิณหา ... เทพชั้นเวหัปผลา ...
    เทพชั้นอวิหา ... เทพชั้นอาตัปปา ... เทพชั้นสุทัสสา ... เทพชั้นสุทัสสี ฯลฯ
    เทพชั้นอกนิฏฐา มีจิตดวงเดียว ตั้งอยู่จนตลอดอายุ หรือ?

    ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

    [๖๓๕] ส. เทพทั้งหลายผู้อุปบัติในอากาสานัญจายตนภพ มีประมาณอายุ ๒๐,๐๐๐
    กัลป์ เทพเหล่านั้น มีจิตดวงเดียว ตั้งอยู่ตลอด ๒๐,๐๐๐ กัลป์ หรือ?

    ป. ถูกแล้ว

    ส. มนุษย์ทั้งหลายมีประมาณอายุ ๑๐๐ ปี มนุษย์เหล่านั้นก็มีจิตดวงเดียว
    ตั้งอยู่ตลอด ๑๐๐ ปี หรือ?

    ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

    [๖๓๖] ส. เทพทั้งหลายผู้อุปบัติในอากาสานัญจายตนภพ มีประมาณอายุ ๒๐,๐๐๐
    กัลป์ เทพเหล่านั้น มีจิตดวงเดียวตั้ง อยู่ตลอด ๒๐,๐๐๐ กัลป์ หรือ?

    ป. ถูกแล้ว

    ส. เทพชั้นจาตุมหาราช มีประมาณอายุ ๕๐๐ ปี เทพเหล่านั้น ก็มีจิตดวงเดียว
    ตั้งอยู่ตลอด ๕๐๐ ปี ฯลฯ ตั้งอยู่ตลอด ๑,๐๐๐ ปี (ชั้นดาวดึงส์) ...
    ตั้งอยู่ตลอด ๒,๐๐๐ ปี (ชั้นยามา) ... ตั้งอยู่ตลอด ๔,๐๐๐ ปี (ชั้น
    ดุสิต) ... ตั้งอยู่ตลอด ๘,๐๐๐ ปี (ชั้นนิมมานรดี) ... ตั้งอยู่ ๑๖,๐๐๐
    ปี (ชั้นปรนิมมิตวสวัตตี) ตั้งอยู่ตลอด ๑ ใน ๓ ส่วน ของกัลป์ (ชั้น
    พรหมปาริสัช) ... ตั้งอยู่ตลอดกึ่งกัลป์ (ชั้นพรหมปุโรหิต) ... ตั้งอยู่
    ตลอดกัลป์หนึ่ง (ชั้นมหาพรหม) ... ตั้งอยู่ตลอด ๒ กัลป์ (ชั้น
    ปริตตาภา) ตั้งอยู่ตลอด ๔ กัลป์ (ชั้นอัปปมาณาภา) ... ตั้งอยู่
    ตลอด ๘ กัลป์ (ชั้นอาภัสสรา) ... ตั้งอยู่ตลอด ๑๖ กัลป์ (ชั้นปริตต
    สุภา) ... ตั้งอยู่ตลอด ๓๒ กัลป์ (ชั้นอัปปมาณสุภา) ... ตั้งอยู่ตลอด
    ๖๔ กัลป์ (ชั้นสุภกิณหา) ... ตั้งอยู่ตลอด ๕๐๐ กัลป์ (ชั้นเวหัปผลา) ...
    ตั้งอยู่ตลอด ๑,๐๐๐ กัลป์ (ชั้นอวิหา) ... ตั้งอยู่ตลอด ๒,๐๐๐ กัลป์
    (ชั้นอตัปปา) ... ตั้งอยู่ตลอด ๔,๐๐๐ กัลป์ (ชั้นสุทัสสา) ... ตั้งอยู่
    ตลอด ๘,๐๐๐ กัลป์ (ชั้นสุทัสสี) ฯลฯ เทพชั้นอกนิฏฐา มีประมาณ
    อายุ ๑๖,๐๐๐ กัลป์ เทพเหล่านั้น มีจิตดวงเดียว ตั้งอยู่ตลอด ๑๖,๐๐๐
    กัลป์ หรือ?

    ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

    [๖๓๗] ป. จิตของเทพทั้งหลายผู้อุปบัติในอากาสานัญจายตนภพ เกิดขึ้นครู่หนึ่งๆ
    ดับไปครู่หนึ่งๆ หรือ?

    ส. ถูกแล้ว

    ป. เทพทั้งหลายผู้อุปบัติในอากาสานัญจายตนภพ จุติครู่หนึ่งๆ อุปบัติครู่
    หนึ่งๆ หรือ?

    ส. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

    [๖๓๘] ส. เทพทั้งหลายผู้อุปบัติในอากาสานัญจายตนภพ มีจิตดวงเดียว ตั้งอยู่ตลอด
    อายุ หรือ?

    ป. ถูกแล้ว

    ส. เทพทั้งหลายผู้อุปบัติในอากาสานัญจายตนภพ อุปบัติด้วยจิตดวงใด ก็
    จุติด้วยจิตดวงเดียวกันนั้นแหละ หรือ?

    ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

    จิตตฐิติกถา จบ

    -----------------------------------------------------

    [URLI="จิตตฐิติกถา"]http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=37&A=6643&Z=6779&pagebreak=0[/URLI]
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 14 พฤษภาคม 2010
  2. siratsapon

    siratsapon เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 ตุลาคม 2005
    โพสต์:
    368
    ค่าพลัง:
    +641
    >>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>
    พระอภิธรรมข้างบนมีความซับซ้อนซ่อนอยู่ภายใน ดังนั้นจึงขออธิบายเพิ่ม
    เติมรวมทั้งยกคำของอรรถกถาจารย์มาอธิบายเพิ่มเติมด้วยเช่นกันดังนี้
    >>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>
    ก่อนอื่นต้องเข้าใจก่อนว่า สกวาที คือใคร ทำหน้าที่อะไร, ปรวาที คือใคร ทำหน้าที่อะไร ดังนี้

    สกวาที : ผู้ถาม, ผู้ทำหน้าที่ปรับความเห็นผิด
    ปรวาที : ผู้ตอบ, ผู้ที่ถูกปรับความเห็นผิด (ผู้ที่มีความเห็นของลัทธิอื่นนอกพุทธศาสนาปะปนอยู่)

    >>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>
    ต่อไปเป็นคำอธิบายของอรรถกถาจารย์ (พระพุทธโฆษาจารย์)
    >>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>

    ว่าด้วยการตั้งอยู่แห่งจิต

    บัดนี้ ชื่อว่า เรื่องการตั้งอยู่แห่งจิต. ในปัญหานั้น ลัทธิแห่ง
    ชนเหล่าใดว่า จิตดวง ๑ เท่านั้นย่อมตั้งอยู่ตลอดกาลนาน เพราะ
    เห็นจิตแห่งสมาบัติ และภวังคจิตอันเป็นไปติดต่อกันโดยลำดับ ดุจลัทธิ
    นิกายอันธกะทั้งหลายในขณะนี้ อันมีประเภทตามที่กล่าวแล้วในหนหลัง
    เพื่อชำระลัทธินั้น สกวาทีจึงถามปรวาทีว่า จิตดวงหนึ่งตั้งอยู่ได้
    แม้ตลอดวันหรือ เป็นต้น ปรวาทีตอบรับรองว่า ใช่.

    ในปัญหาว่า กึ่งวันเป็นขณะเกิด นี้ ท่านทำคำถามด้วย
    สามารถแห่งความเกิดและความดับโดยนัยเทศนาว่า สังขารทั้งหลาย
    ไม่เที่ยงหนอ มีความเกิดขึ้นและมีความเสื่อมไปเป็นธรรมดา
    โดยไม่ถือเอาขณะตั้งอยู่แห่งจิต.

    ถูกสกวาทีถามว่า ธรรมเหล่านั้นเปลี่ยนแปลงไปเร็วกว่า
    จิตหรือ ปรวาทีนั้นเมื่อไม่เห็นธรรมทั้งหลายเกิดดับเร็วกว่าจิต จึง
    ตอบปฏิเสธ ถูกถามครั้งที่ ๒ ท่านปรารถนาความตั้งอยู่อันเป็นเวลา
    นานแห่งจิตใด โดยหมายเอาจิตนั้น จึงตอบรับรอง.

    ในปัญหาทั้งหลายว่า จิตดวงเดียวตั้งอยู่จนตลอดอายุ
    หรือ ความว่า ปรวาทีย่อมตอบปฏิเสธโดยเว้นอรูป และย่อมตอบ
    รับรองผู้ที่เกิดในอรูปด้วยสามารถแห่งพระบาลีว่า เทวดาทั้งหลาย
    เหล่าใด ย่อมตั้งอยู่ตลอด ๘๔,๐๐๐ กัปป์ เป็นต้น ดังนี้.

    ในปัญหาว่า จิตย่อมเกิดขึ้นครู่หนึ่ง. เป็นของปรวาที
    สกวาทีตอบรับรองเพราะกลัวผิดจากพระสูตรว่า สังขารทั้งหลายมี
    ความเกิดขึ้น และมีความเสื่อมไปเป็นธรรมดา เป็นต้น แต่
    ปรวาทีนั้นย่อมปรารถนาความตั้งอยู่แห่งจิตด้วยสามารถแห่งลัทธิของ
    ตน. คำที่เหลือในที่นี้มีอรรถง่ายทั้งนั้น แล.

    อรรถกถาจิตตัฏฐิติกถา จบ

    ที่มา : เล่ม ๘๐ อรรถกถา พระอภิธรรมปิฏก กถาวัตถุปกรณ์ จากพระไตรปิฏกฉบับธรรมทาน
     

แชร์หน้านี้

Loading...