เรื่องราว

ในห้อง 'พุทธศาสนา และ ธรรมะ' ตั้งกระทู้โดย รสมน, 8 มีนาคม 2011.

  1. รสมน

    รสมน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 กุมภาพันธ์ 2009
    โพสต์:
    1,451
    ค่าพลัง:
    +2,047
    ข้อความโดยสรุป

    ทุติยฉิคคฬสูตร*

    (ว่าด้วยการได้ความเป็นมนุษย์แสนยาก)

    พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงแสดงว่า แผ่นดินทั้งหมดเต็มไปด้วยน้ำ การที่เต่าตาบอด

    ๑๐๐ ปี โผล่ขึ้นมาครั้งหนึ่ง แล้วจะสอดคอเข้าไปในแอกที่มีช่องเดียวซึ่งถูกลมพัด

    จากทิศทั้ง ๔ นั้น เป็นสิ่งที่เกิดได้ยาก เช่นเดียวกับสิ่งที่เกิดขึ้นได้ยากในโลก

    ดังนี้ คือ

    -การได้เกิดมาเป็นมนุษย์

    -การที่พระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าจะเสด็จอุบัติขึ้นในโลก

    -การที่พระธรรมวินัยที่พระตถาคตประการแล้วจะรุ่งเรืองในโลก

    เมื่อได้สิ่งที่ยากเหล่านี้แล้ว จึงควรอย่างยิ่งที่จะเจริญความเพียรเพื่อตรัสรู้สัจจะ

    ทั้ง ๔ ตามความเป็นจริง ซึ่งในอรรถกาแสดงไว้ว่า การตรัสรู้สัจจะทั้ง ๔ ก็เป็นการ

    ยากอย่างยิ่ง ด้วย

    *หมายเหตุ คำว่า ฉิคคฬะ หมายถึงช่อง (หรือ รูป) ในพระสูตรนี้ หมายถึง

    ช่องของแอก ครับ

    พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงประทานโอวาทภิกษุสงฆ์ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เธอ

    ทั้งหลาย จงยังกิจของตนให้ถึงพร้อมด้วยความไม่ประมาทเถิด และว่า

    ความเป็นมนุษย์ หาได้ยาก

    ความเกิดขึ้นของพระพุทธเจ้า หาได้ยาก

    ความถึงพร้อมด้วยขณะ หาได้ยาก

    พระสัทธรรม หาได้ยากอย่างยิ่ง

    ความถึงพร้อมด้วยศรัทธา หาได้ยาก

    การบวช หาได้ยาก

    การฟังพระสัทธรรม หาได้ยาก

    พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต เล่ม ๓๖ - หน้าที่ ๘๒๔

    ปาตุภาวสูตร

    (ว่าด้วยความปรากฏขึ้นที่หาได้ยาก ๖ ประการ)

    [๓๖๗] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ความปรากฏขึ้นแห่งเหตุ ๖ ประการเป็นของหา

    ได้ยากในโลก เหตุ ๖ ประการเป็นไฉน ? คือ ความปรากฏขึ้นแห่งพระตถาคต

    อรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ๑ บุคคลผู้แสดงธรรมวินัยที่พระตถาคตประกาศแล้ว ๑

    ความเกิดขึ้นในมัชฌิมประเทศ (ที่มีพระอริยเจ้า) ๑ความเป็นผู้มีอินทรีย์ไม่บกพร่อง ๑

    ความไม่เป็นใบ้บ้าน้ำลาย ๑ ความพอใจในกุศลธรรม ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

    ความปรากฏขึ้นแห่งเหตุ ๖ ประการนี้แลเป็นของหาได้ยากในโลก.

    จบปาตุภาวสูตรที่ ๑
    พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจนิบาต เล่มที่ ๓๖ - หน้าที่ ๓๐๖

    ดูก่อนเจ้าลิจฉวีทั้งหลาย ความปรากฏแห่งแก้ว ๕ ประการเป็นของหาได้ยาก

    แก้ว ๕ ประการเป็นไฉน คือ ความปรากฏแห่งตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ๑

    บุคคลผู้แสดงธรรมวินัยที่ตถาคตประกาศแล้ว ๑ บุคคลผู้รู้แจ้งธรรมวินัยที่ตถาคต

    ประกาศแล้ว ๑ บุคคลผู้รู้แจ้งธรรมวินัยที่ตถาคตประกาศแล้ว ซึ่งผู้อื่นแสดงให้ฟัง

    แล้วปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม ๑ กตัญญูกตเวทีบุคคล ๑ ดูก่อนเจ้าลิจฉวีทั้งหลาย

    ความปรากฏแห่งแก้ว ๕ ประการนี้แล เป็นของหาได้ยากในโลก.


    พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่มที่ ๓๑ - หน้า๔๗๖-๔๗๘

    ๘. ทุติยฉิคคฬสูตร

    (ว่าด้วยการได้ความเป็นมนุษย์ แสนยาก)


    [๑๗๔๔] พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสว่า

    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนมหาปฐพีนี้ มีน้ำเป็นอัน

    เดียวกัน บุรุษโยนแอกซึ่งมีช่องเดียวลงไปในมหาปฐพีนั้น ลมทิศบูรพาพัด

    เอาแอกนั้นไปทางทิศประจิม ลมทิศประจิมพัดเอาไปทางทิศบูรพา ลมทิศอุดร

    พัดเอาไปทางทิศทักษิณ ลมทิศทักษิณพัดเอาไปทางทิศอุดร เต่าตาบอดมีอยู่

    ในมหาปฐพีนั้น ต่อล่วงร้อยปี ๆ มันจะโผล่ขึ้นคราวหนึ่ง ๆ เธอทั้งหลาย จะ

    สำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน เต่าตาบอดนั้น ต่อล่วงร้อยปีๆ มันจะโผล่ขึ้นคราว

    หนึ่ง ๆ จะสอดคอให้เข้าไปในแอกซึ่งมีช่องเดียวโน้น ได้บ้างหรือหนอ?

    ภิกษุทั้งหลาย กราบทูลว่า

    ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้อที่เต่าตาบอด ต่อล่วง ร้อยปี ๆ มันจะโผล่

    ขึ้นคราวหนึ่ง ๆ จะสอดคอเข้าไปในแอกซึ่งมีช่องเดียวโน้นเป็นของยาก.

    พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสว่า

    ฉันนั้น ภิกษุทั้งหลาย การได้ความเป็นมนุษย์ เป็นของยาก,

    พระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าจะอุบัติในโลก เป็นของยาก, ธรรมวินัยที่

    พระตถาคตประกาศแล้วจะรุ่งเรืองใน โลก ก็เป็นของยาก, ความเป็นมนุษย์นี้

    เขาได้แล้ว พระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าอุบัติแล้วในโลก และธรรม

    วินัยที่ตถาคตประะกาศแล้ว ก็รุ่งเรืองอยู่ในโลก ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะ

    ฉะนั้นแหละ เธอทั้งหลาย พึงกระทำความเพียร เพื่อรู้ตามความเป็นจริงว่า

    นี้ทุกข์ นี้ทุกขสมุทัย นี้ทุกขนิโรธ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา.


    จบทุติยฉิคคฬสูตรที่ ๘

    อรรถกถาทุติยฉิคคฬสูตรที่ ๘



    พึงทราบวินิจฉันในทุติยฉิคคฬสูตรที่ ๘ ดังต่อไปนี้ .-

    ในคำว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย การได้ความเป็นมนุษย์เป็นของยาก

    อย่างนี้ นี้พระมหาสีวเถระได้แสดงยุคทั้ง ๔ คือการได้ความเป็นมนุษย์ ชื่อว่า

    ได้ยากอย่างยิ่ง เหมือนกับการที่เต่าตาบอดนั้น สอดคอเข้าไปทางช่องแอก

    ที่บุรุษ ยืนอยู่ที่ขอบปากจักรวาลด้านทิศตะวันออกโยนใส่เข้าไป.

    ก็การเกิดขึ้นแห่งพระตถาคตเจ้า ชื่อว่าเป็นเหตุให้ถึงฝั่งก็ยากอย่างยิ่ง

    เหมือนการที่เต่าตาบอดตัวที่บุรุษผู้ยืนที่ขอบปากจักรวาลด้านทิศใต้ โยน(แอก)

    ไปแล้ว หมุนไปรอบๆ อยู่ ถึงเเอกอันแรกแล้ว ขึ้นไปสู่ช่องข้างบนโดยทาง

    ช่องสอดคอเข้าไปทางช่องอยู่.

    ก็การแสดงธรรมและวินัย ที่พระตถาคตเจ้าทรงประกาศแล้ว ชื่อว่า เป็น

    เหตุเกิดที่ยากยิ่งกว่า เหมือนการที่เต่าตาบอดตัวที่บุรุษผู้ยืนที่ขอบปากจักรวาล

    ด้านทิศตะวันตก โยน(แอก)ไปแล้ว หมุนไปรอบ ๆ แล้วถึงแอก ๒ อันข้างบน

    แล้วขึ้นไปสู่ช่องข้างบนโดยทางช่อง แล้วสอดคอเข้าไปทางช่องอยู่.

    ก็การแทงตลอดสัจจะ ๔ พึงทราบว่า เป็นเหตุเกิดที่ยากยิ่งกว่าอย่างยิ่ง

    เหมือนการที่เต่าตาบอดตัวที่บุรุษผู้ยืนที่ขอบปากจักรวาลด้านทิศเหนือ โยน

    (แอก)ไปแล้วหมุนไปรอบ ๆ อยู่ ถึงแอก ๓ อันข้างบนแล้ว ขึ้นไปสู่ช่องข้างบน

    โดยทางช่องแล้วสอดคอเข้าไปทางช่องอยู่.




    จบอรรถกถาทุติยฉิคคฬสูตรที่ ๘




    พระภิกษุจะสามารถฉันอาหารได้เฉพาะในกาลเท่านั้น คือ ตั้งแต่เช้าถึงเที่ยง

    ถ้าเลยเวลานั้นไป ต้องอาบัติปาจิตตีย์ เพราะฉันอาหารในเวลาวิกาล ดังนั้น

    การออกบิณฑบาตของพระภิกษุ จึงอยู่ในกาลที่สมควร คือ เมื่ออรุณขึ้นแล้ว ครับ

    ตามพระวินัย ถ้าพระภิกษุออกบิณฑบาตรับอาหารก่อนอรุณขึ้น มีอาบัติหลายตัว เช่น

    ขณะรับ เป็นอาบัติทุกกฏ ขณะฉันเป็นอาบัติปาจิตตีย์เพราะฉันอาหารค้างคืน

    แต่บางวัดอยู่ไกลจากหมู่บ้าน ท่านออกจากวัดแต่เช้ามืด พอมาถึงที่รับบิณฑบาต

    สว่างแล้ว อย่างนี้ไม่มีอาบัติครับ ส่วนเวลาที่สว่างแต่ละฤดูไม่เหมือนกัน ถ้าวันไหน

    มีเมฆฝนก็ให้ถือเอาตามเวลาที่วันก่อน ๆ เวลานี้สว่างแล้ว เวลาก็นำมาประกอบได้

    เหมือนกันครับ
    2500 ปีก่อน คงจะไม่มีนาฬิกา หรอกนะครับ ถึงมี..พระก็คงไม่มีไว้ใช้ จึงต้องเอาแสงสว่าง

    ยามเช้าเป็นตัวกำหนด เช่นนี้...เป็นที่เข้าใจกัน ทั้งพระและโยมที่จะได้เตรียมอาหารใส่

    บาตรให้มีเวลาที่ตรงกัน
    พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ - หน้าที่ 349

    [๔๒๗] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้เที่ยวบิณฑบาตเป็นวัตร คิดว่า

    จักเข้าบ้านในบัดนี้ เมื่อปกปิดมณฑลสาม พึงนุ่งให้เป็นปริมณฑล คาดประ

    คดเอวห่มผ้าซ้อน ๒ ชั้น กลัดลูกดุม ล้างบาตรแล้ว ถือเข้าบ้านโดยเรียบร้อย

    ไม่ต้องรีบร้อน พึงปกปิดกายด้วยดีไปในละแวกบ้าน พึงสำรวมด้วยดีไปในละ

    แวกบ้าน พึงมีตาทอดลงไปในละแวกบ้าน อย่าเวิกผ้าไปในละแวกบ้าน อย่า

    หัวเราะลั่นไปในละแวกบ้าน พึงมีเสียงน้อยไปในละแวกบ้าน อย่าโยกกายไป

    ในละแวกบ้าน อย่าไกวแขนไปในละแวกบ้าน อย่าโคลงศีรษะไปในละแวกบ้าน

    อย่าค้ำกายไปในละแวกบ้าน อย่าคลุมศีรษะไปในละแวกบ้าน อย่าเดินกระโหย่ง

    ไปในละแวกบ้าน เมื่อเข้านิเวศน์พึงกำหนดว่า จักเข้าทางนี้ จักออกทางนี้ อย่า

    รีบร้อนเข้าไป อย่ารีบร้อนออกเร็วนัก อย่ายืนไกลนัก อย่ายืนใกล้นัก อย่ายืน

    นานนัก อย่ากลับเร็วนัก พึงยืนกำหนดว่า เขาประสงค์จะถวายภิกษา หรือไม่

    ประสงค์จะถวาย ถ้าเขาพักการงาน ลุกจากที่นั่งจับทัพพี หรือจับภาชนะ หรือตั้ง

    ไว้พึงยืนด้วยคิดว่า เขาประสงค์จะถวาย เมื่อเขาถวายภิกษา พึงแหวกผ้าซ้อนด้วย

    มือซ้าย พึงน้อมบาตรเข้าไปด้วยมือขวา แล้วพึงใช้มือทั้งสองประคองบาตรรับ

    ภิกษา และไม่พึงมองดูหน้าผู้ถวายภิกษา พึงกำหนดว่าเขาประสงค์จะถวายแกง

    หรือไม่ประสงค์จะถวาย ถ้าเขาจับทัพพี จับภาชนะ หรือตั้งไว้ พึงยืนอยู่ด้วย

    คิดว่า เขาประสงค์จะถวาย เมื่อเขาถวายภิกษาแล้ว พึงคลุมบาตรด้วยผ้าซ้อน

    แล้วกลับโดยเรียบร้อย ไม่ต้องรีบร้อน พึงปกปิดกายด้วยดี ไปในละแวกบ้าน

    พึงสำรวมด้วยดีไปในละแวกบ้าน พึงมีตาทอดลงไปในละแวกบ้าน ไม่พึงเวิก

    ผ้าไปในละแวกบ้าน ไม่พึงหัวเราะลั่นไปในละแวกบ้าน พึงมีเสียงน้อยไปใน

    ละแวกบ้าน ไม่พึงโยกกายไปในละแวกบ้าน ไม่พึงไกวแขนไปในละแวก

    บ้าน ไม่พึงโคลงศีรษะไปในละแวกบ้าน ไม่พึงค้ำกายไปในละแวกบ้าน ไม่พึง

    คลุมศรีษะไปในละแวกบ้าน ไม่พึงเดินกระโหย่งไปในละแวกบ้าน ภิกษุใดกลับ

    บิณฑบาตจากบ้านก่อน ภิกษุนั้น พึงปูอาสนะไว้ พึงจัดตั้งน้ำล้างเท้า ตั่งรองเท้า

    กระเบื้องเช็ดเท้า พึงล้างภาชนะรองของฉันตั้งไว้ พึงตั้งน้ำฉัน น้ำใช้ไว้ ภิกษุใด

    กลับบิณฑบาตจากบ้านทีหลัง ถ้าอาหารที่ฉันแล้วยังเหลืออยู่ ถ้าจำนงก็พึงฉัน

    ถ้าไม้จำนงก็พึงเททิ้ง ในที่ปราศจากของเขียวสด หรือพึงเทลงในน้ำที่ไม่มีตัว

    สัตว์ ภิกษุนั้นพึงรื้อขนอาสนะ เก็บน้ำล้างเท้า ตั่งรองเท้า กระเบื้องเช็ดเท้า พึง

    ล้างภาชนะรองของฉัน เก็บไว้ พึงเก็บน้ำฉัน น้ำใช้ พึงกวาดโรงฉัน ภิกษุ

    ใดเห็นหม้อน้ำฉัน หม้อน้ำใช้ หรือหม้อน้ำชำระว่างเปล่า ภิกษุนั้นพึงจัดหาไป

    ตั้งไว้ ถ้าเป็นการสุดวิสัย พึงกวักมือเรียกเพื่อนมา ให้ช่วยกันจัดตั้งไว้ แต่

    ไม่พึงเปล่งวาจาเพราะข้อนั้นเป็นเหตุ

    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นี้แลเป็นวัตรของภิกษุผู้เที่ยวบิณฑบาตเป็นวัตร..


    ธัมมานุปัสสนา

    ธมฺม ( ธรรม ) + อนุ ( ตาม , บ่อยๆ เนืองๆ ) + ปสฺสนา ( การเห็น , การพิจารณา )

    การพิจารณาเห็นธรรมบ่อยๆ เนืองๆ หมายถึง สติปัฏฐานขณะที่มีนามธรรมหรือ

    รูปธรรมที่นอกเหนือจากกาย เวทนา จิตเป็นอารมณ์ เป็นการระลึกศึกษาที่ลักษณะ

    ของนามหรือรูป ซึ่งเคยยึดถือว่าเป็นตัวตนหรือสิ่งหนึ่งสิ่งใดตามปกติ คือ ไม่มีการจด

    จ้องหรือเพ่งเล็งที่จะต้อง การรู้สภาพของนามใด หรือรูปใดมาก่อน แต่เพราะการ

    สะสมความเข้าใจจากการฟัง การพิจารณา เป็นสังขารขันธ์ปรุงแต่งให้สติพร้อมสัมป-

    ชัญญะเกิดขึ้น รู้ลักษณะของนามธรรมหรือรูปธรรม ซึ่งปรากฏโดยความเป็นสภาพรู้

    หรือสภาพที่ไม่รู้อารมณ์ เช่น ลักษณะที่ปรากฏทางตา ( สี ) ลักษณะที่ปรากฏทางหู

    ( เสียง ) ทางจมูก ( กลิ่น ) ทางลิ้น ( รส ) ปสาทรูป หรือเจตสิกประเภทต่าง ๆ ที่

    เคยยึดถือผิดว่าเป็นตัวตน หรือสิ่งหนึ่งสิ่งใด เป็นการละวิปลาสที่ยึดถือว่าเป็นอัตตา

    ในสิ่งที่เป็นอนัตตา


    พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 615

    ธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน

    นิวรณบรรพ

    [๑๔๑] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพิจารณาเห็นธรรมในธรรม

    อยู่อย่างไรเล่า ?

    ภิกษุในธรรมวินัย พิจารณาเห็นธรรมในธรรม คือ นิวรณ์ ๕

    ภิกษุพิจารณาเห็นธรรมในธรรม คือ นิวรณ์ ๕ อย่างไรเล่า ?

    ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เมื่อกามฉันทะมีอยู่ ณ ภายในจิต ย่อมรู้

    ชัดว่า กามฉันทะมีอยู่ ณ ภายในจิตของเรา ฯลฯ

    ขันธบรรพ

    [๑๔๒] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง ภิกษุพิจารณา

    เห็นธรรมในธรรม คือ อุปาทานขันธ์ ๕.

    ภิกษุพิจารณาเห็นธรรมในธรรม คือ อุปาทานขันธ์ ๕ อย่างไรเล่า ?

    ภิกษุในธรรมวินัยนี้พิจารณาเห็นดังนี้ว่า อย่างนี้รูป อย่างนี้ความ

    เกิดขึ้นแห่งรูป อย่างนี้ความดับแห่งรูป ฯลฯ

    อายตนบรรพ

    [ ๑๔๓] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง ภิกษุพิจารณา

    เห็นธรรมในธรรม คือ อายตนะภายในและภายนอก ๖.

    ภิกษุพิจารณาเห็นธรรม คือ อายตนะภายในและภายนอก ๖

    อย่างไรเล่า ?

    ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมรู้จักตา รู้จักรูป และรู้จักสังโยชน์

    ที่อาศัยตาและรูปทั้งสองนั้นเกิดขึ้น. ฯลฯ

    โพชฌงคบรรพ

    [๑๔๔] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อีกข้อหนึ่ง ภิกษุพิจารณาเห็น

    ธรรมในธรรม คือ โพชฌงค์ ๗.

    ภิกษุพิจารณาเห็นธรรมในธรรม คือโพชฌงค์ ๗ อย่างไรเล่า ?

    ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เมื่อสติสัมโพชฌงค์มีอยู่ ณ ภายในจิต ย่อม

    รู้ชัดว่า สติสัมโพชฌงค์มีอยู่ ณ ภายในจิตของเรา หรือ.....

    สัจจบรรพ

    [๑๔๕] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อีกข้อหนึ่ง ภิกษุพิจารณาเห็น

    ธรรมในธรรม คือ อริยสัจ ๔.

    ภิกษุพิจารณาเห็นธรรมในธรรม คืออริยสัจ ๔ อย่างไรเล่า ?

    ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมรู้ชัดตามเป็นจริงว่า นี้ทุกข์ นี้ทุกขสมุทัย

    นี้ทุกขนิโรธ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา.......


    พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 223

    ธัมมานุปัสสนา

    นีวรณบรรพ

    [๒๙๐] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็อย่างไร ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นธรรม

    ในธรรมเนือง ๆ อยู่ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมพิจารณา

    เห็นธรรมในธรรม คือ นิวรณ์ ๕.

    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็อย่างไร ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นธรรมในธรรม

    คือ นิวรณ์ ๕ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เมื่อกามฉันท์

    (ความพอใจในกามารมณ์) มี ณ ภายในจิต ย่อมรู้ชัดว่า กามฉันท์ มีอยู่ ณ

    ภายในจิตของเรา หรือเมื่อกามฉันท์ไม่มี ณ ภายในจิต ย่อมรู้ชัดว่ากามฉันท์

    ไม่มี ณ ภายในจิตของเรา อนึ่ง ความที่กามฉันท์อันยังไม่เกิดขึ้น ย่อมเกิดขึ้น

    ด้วยประการใด ย่อมรู้ประการนั้นด้วย อนึ่ง ความละกามฉันท์ที่เกิดขึ้นแล้ว

    เสียได้ด้วยประการใด ย่อมรู้ประการนั้นด้วย อนึ่ง ความที่กามฉันท์อันตนละ

    เสียแล้ว ไม่เกิดขึ้นต่อไปได้ด้วยประการใด ย่อมรู้ประการนั้นด้วย

    ฯลฯ

    ขันธบรรพ

    [๒๙๑] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ข้ออื่นยังมีอยู่อีก ภิกษุ ย่อมพิจารณา

    เห็นธรรมในธรรมคือ อุปาทานขันธ์ ๕. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็อย่างไร ภิกษุ

    ย่อมพิจารณาเห็นธรรมในธรรมคืออุปาทานขันธ์ ๕.

    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ (ย่อมพิจารณาดังนี้ ว่า) อย่างนี้

    รูป (สิ่งที่ทรุดโทรม) อย่างนี้ ความเกิดขึ้นของรูป อย่างนี้ความดับไปของรูป

    อย่างนี้เวทนา (ความเสวยอารมณ์) อย่างนี้ความเกิดขึ้นของเวทนา อย่างนี้

    ความดับไปของเวทนาอย่างนี้สัญญา(ความจำ)อย่างนี้ความเกิดขึ้นของสัญญา

    อย่างนี้ความดับไปของสัญญา อย่างนี้สังขาร (สภาพปรุงแต่ง)อย่างนี้ ความ

    เกิดของสังขาร อย่างนี้ ความดับของสังขาร อย่างนี้ วิญญาณ(ความรู้) อย่าง-

    นี้ ความเกิดขึ้นของวิญญาณ อย่างนี้ ความดับไปของวิญญาณดังนี้.

    ฯลฯ

    [๒๙๒] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ข้ออื่นยังมีอยู่อีก ภิกษุย่อมพิจารณาธรรมใน

    ธรรม คือ อายตนะภายใน และอายตนะภายนอก ๖ (อย่างละ ๖)

    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็อย่างไร อายตนบรรพภิกษุย่อมพิจารณา

    เห็นธรรมในธรรม คือ อายตนะภายในและอายตนะภายนอก ๖.

    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมรู้จักตาด้วย ย่อมรู้จัก

    รูปด้วย อนึ่ง สังโยชน์ (เครื่องผูก) ย่อมเกิดขึ้น อาศัยตาและรูปทั้ง ๒ นั้น

    อันใด ย่อมรู้จักอันนั้นด้วย อนึ่ง ความที่สังโยชน์ อันยังไม่เกิดขึ้น ย่อมเกิดขึ้น

    ด้วยประการใด ย่อมรู้จักประการนั้นด้วย อนึ่ง ความที่ละสังโยชน์ที่เกิดขึ้นแล้ว

    เสียได้ ด้วยประการใด ย่อมรู้จักประการนั้นด้วย อนึ่ง ความที่สังโยชน์ อัน

    ตนละเสียแล้ว ย่อมไม่เกิดขึ้นต่อไปได้ด้วยประการใด ย่อมรู้จักประการนั้ด้วย.
    โพชฌงค์บรรพ

    [๒๙๓] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ข้ออื่นยังมีอยู่อีก ภิกษุย่อมพิจารณา

    เห็นธรรมในธรรม คือ โพชฌงค์ (องค์แห่งปัญญาเป็นเครื่องตรัสรู้ ๗ อย่าง).

    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็อย่างไร ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นธรรมในธรรม

    คือ โพชฌงค์ ๗.

    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เมื่อสติสัมโพชฌงค์ (องค์

    แห่งปัญญาเป็นเครื่องตรัสรู้ คือสติ) มี ณ ภายในจิต ย่อมรู้ชัดว่า สติสัม-

    โพชฌงค์ มี ณ ภายในจิตของเรา หรือเมื่อสติสัมโพชฌงค์ ไม่มี ณ ภายใน

    จิต ย่อมรู้ชัดว่า สติสัมโพชฌงค์ ไม่มี ณ ภายในจิตของเรา อนึ่ง ความที่สติ

    สัมโพชฌงค์อันยังไม่เกิดขึ้น ย่อมเกิดขึ้นด้วยประการใด ย่อมรู้ชัดประการนั้น

    ด้วย อนึ่งความเจริญบริบูรณ์ของสติสัมโพซฌงค์ ที่เกิดขึ้นแล้วย่อมเป็นด้วย

    ประการใด ย่อมรู้ชัดประการนั้นด้วย.

    ฯลฯ

    สัจจบรรพ - ทุกขอริยสัจ

    [๒๙๔] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ข้ออื่นยังมีอยู่อีก ภิกษุย่อมพิจารณา

    เห็นธรรมในธรรม คืออริยสัจ ๔ (ของจริงแห่งพระอริยเจ้า).

    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็อย่างไร ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นธรรมในธรรม

    คืออริยสัจ ๔.

    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมรู้ชัดตามความเป็นจริง

    ว่า นี้ทุกข์ ย่อมรู้ชัดตามความเป็นจริงว่า นี้ ทุกขสมุทัย (เหตุที่เกิดทุกข์)

    ย่อมรู้ชัดตามความเป็นจริงว่า นี้ ทุกขนิโรธ (ธรรมเป็นที่ดับทุกข์) ย่อมรู้ชัดตาม

    ความเป็นจริงว่านี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา(ข้อปฏิบัติให้ถึงธรรมที่ดับทุกข์).

    ฯลฯ

    ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นธรรมในธรรมเป็นภายในบ้าง ย่อมพิจารณา

    เห็นธรรมในธรรมเป็นภายนอกบ้าง ย่อมพิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งภายใน

    ทั้งภายนอกบ้าง ย่อมพิจารณาเห็นธรรมดาคือ ความเกิดขึ้นในธรรมบ้าง ย่อม

    พิจารณาเห็นธรรมดา คือ ความเสื่อมไปในธรรมบ้าง ย่อมพิจารณาเห็นธรรมดา

    คือ ทั้งความเกิดขึ้น ทั้งความเสื่อมไปในธรรมบ้าง. ก็หรือสติของเธอที่ตั้งอยู่

    ว่าธรรมมีอยู่ แต่เพียงสักว่าเป็นที่รู้ แต่เพียงสักว่าเป็นที่อาศัยระลึก. เธอย่อม

    เป็นผู้อันตัณหาและทิฏฐิไม่อาศัยอยู่ด้วย ย่อมไม่ยึดถืออะไร ๆ ในโลกด้วย.

    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นธรรมในธรรม คือ อริยสัจ ๔

    อย่างนี้แล.

    จบ สัจจบรรพ

    จบ ธัมมานุปัสสนา

    ขอเชิญอ่านข้อความโดยตรงจากพระไตรปิฎก

    พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ - หน้าที่ 407

    บทว่า สงฺขาตา ความว่า วิธุรบัณฑิต กำหนดรู้ธรรมได้ทั้งหมดด้วยปัญญา คือ

    ญาณเครื่องรู้แล้ว กราบทูลคำมีอาทิว่า อย่าคบหาภริยาอันสาธารณะ ในฆราวาส-

    ธรรมนั้น ผู้ใดผิดภรรยาของชนเหล่าอื่น ผู้นั้นชื่อว่ามีภริยาเป็นสาธารณะ ผู้เช่นนั้น

    อย่าพึงมีภริยาอันเป็นสาธารณะเลย.



    เอาบุญมาฝากได้ถวายสังฆทาน รักษาศีล เจริญภาวนา ให้ธรรมะเป็นทาน เจริญวิปัสสนา
    ให้อภัยทาน อนุโมทนากับผู้ใส่บาตรตามถนนหนทาง อนุโมทนากับผู้ทำบุญเลี้ยงพระ
    และงานบุญอื่นๆ กรวดน้ำอุทิศบุญ สร้างพระและเจดีย์ถวายบูชาพระรัตนตรัย วันนี้ตั้งใจว่า
    จะนำดอกไม้มาบูชาพระรัตนตรัย และอนุโมทนากับเพื่อนๆที่มีใจเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ผู้อื่น
    และตั้งใจว่าจะสร้างบามีให้ครบทั้ง 10 อย่างขอให้อนุโมทนาบุญด้วย



    พระอาจารย์เด่น นันทิโย ร่วมกับพระอาจารย์อุทัย ฌานุตตโม พระป่ากรรมฐานสายหลวงปู่มั่น เชิญชวนพุทธศาสนิกชน
    ร่วมทำบุญ ตักบาตร ข้าวสาร อาหารแห้ง ถวายภัตตาหาร พระป่ากรรมฐาน 70 รูป ฟังธรรมเทศนา โดยหลวงปู่เจริญ ราหุโล
    วัดป่าพระธาตุเขาน้อย จ. ราชบุรี และ หลวงปู่คูณ สุเมโธ วัดป่าภูทอง จ. อุดรธานี เพื่อถวายเป็นพระราชกุศลฯ
    วันเสาร์ที่ 12 มีนาคม 2554 เวลา 7.19 น. ณ ลานธรรมเมืองทอง บริเวณริมสระน้ำเมืองทองนิเวศน์ 1 ถนนแจ้งวัฒนะ
    ซอย 14 ข้างบิ๊กซี หลักสี่ กทม.


    งานประจำปีเทิดพระเกียรติสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช

    ณ วัดอินทารามวรวิหาร

    แขวงบางยี่เรือ เขตธนบุรี กรุงเทพมหานคร

    ในระหว่างวันที่ 27/3/54 - 2/4/54

    กิจกรรม
    27/3/54 ชมขบวนแห่เทิดพระเกียรติ,ชมงิ้ว,ภาพยนต์,ดนตรี,ตะกร้อลอดบ่วง
    2/4/54 ร่วมอนุรักษ์วัฒนธรรม ก่อพระเจดีย์ทราย




    เนื่องจากทางคณะศิษย์หลวงตาม้า มีความต้องการที่จะสร้างหลวงปู่ดู่ขนาดเท่าองค์จริงเพื่อประดิษฐ์สถานไว้ ณ สำนักปฏิบัติธรรมพุทธพรหมปัญโญ สาขาเพชรบูรณ์ ที่จะมีขึ้นในอนาคต (กำลังอยู่ในระหว่างการดำเนินการก่อสร้าง)

    โดยหลวงตาม้าได้กำหนดฤกษ์ในการหล่อพระขึ้นในวันเสาร์ที่ 26 มีนาคม 2554 เวลา 18:00 น ณ วัดถ้ำเมืองนะ อ.เชียงดาว จ.เชียงใหม่

    ขั้นตอนในการจัดสร้างพระอยู่ในระหว่างการขึ้นแบบหุ่น โดยใช้ช่างจาก จ.นครสวรรค์ค่ะ ซึ่งวันพรุ่งนี้พวกณัฐจะได้ขึ้นไปตรวจสอบงาน และถ่ายภาพมาให้ชมและโมทนาบุญร่วมกัน

    ประมาณการค่าใช้จ่ายในเบื้องต้น ครั้งแรกที่ได้คุยกับช่างอยู่ที่ 110,000 บาท (โดยประมาณ) ซึ่งจะสร้างทั้งหมด 3 องค์ (อาจจะหล่อเป็นคนละวาระกัน) สำหรับท่านใดที่สนใจร่วมบุญ สามารถโอนเงินเข้าบัญชีได้ที่

    บัญชีออมทรัพย์ ธนาคารกรุงเทพ
    ชื่อบัญชี นายปีเตอร์ แสงมงคลเลิศสิริ
    เลขที่บัญชี 171-4-150032

    ส่วนท่านใดที่ประสงค์จะเขียนแผ่นทองเหลืองเพื่อร่วมฝากกระแส สามารถส่งมาได้ที่อยู่ด้านล่างนี้

    ณัฐพร สุรพิทยานนท์
    342/10 - 11 ถ.สาธุประดิษฐ์ แขวงบางโพงพาง เขตยานนาวา กรุงเทพฯ 10120

    สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ 080-919 9185

    หมายเหตุ : รับแผ่นทองถึงวันพุธที่ 23 มี.ค. 2554 เท่านั้นนะ



    เชิญร่วมเป็นภาพถวายภัตตาหารเช้า,เพลและน้ำปานะ ณ วัดตาลเอน
    ในวันอาทิตย์ที่ 10 เมษายน 2554

    เนื่องด้วยวัดตาลเอน เป็นสถานที่ปฏิบัติธรรมตามแนวทางหลวงพ่อจรัญ วัดอัมพวัน จ.สิงห์บุรี(สติปัฏฐาน 4 )
    อีกทั้งในช่วงเดือนเมษายนของทุกๆ ปี ทางวัดฯ จะมีพระภิกษุ,โครงการสามเณรภาคฤดูร้อนและผู้ปฏิบัติธรรม(ฆราวาสมาถือศีล8) มาปฏิบัติธรรมเป็นจำนวนมาก ซึ่งจะเป็นโอกาสอันดีที่พวกเราชาวผลบุญจะได้ร่วมกันเป็นเจ้าภาพถวายภัตตาหารเช้า,เพลและน้ำปานะ
    เพื่ออำนวยความสะดวกด้านปัจจัยค่าอาหารแก่ทางวัดฯ

    ซึ่ง ณ วันนี้ทางวัดตาลเอน มี
    พระภิกษุ 45 รูป
    สามเณร 35 รูป
    ยังไม่รวมผู้ปฏิบัติธรรม(คาดว่ามากกว่า 550 คน)
    และยังจะมีจำนวนเพิ่มขึ้นอีกนะครับ


    โดยทางวัดฯ ได้กำหนดค่าใช้จ่ายค่าอาหารและน้ำปานะ ต่อวัน ที่ 4,000 บาท ...

    ได้รับปัจจัยร่วมบุญมาเท่าไรก็ตาม ถวายทั้งหมดเลยครับ

    ณ โอกาสอันดีนี้ กระผมขอเรียนเชิญท่านผู้ใจบุญและกัลยาณมิตรทุกๆ ท่าน
    ร่วมกันเป็นเจ้าภาพในนาม " ชาวผลบุญ "
    ในวาระและโอกาสอันมงคลนี้ด้วยเทอญ

    สามารถร่วมบุญได้ตั้งแต่บัดนี้ - ถึงวันศุกร์ที่ 8 เมษายน 2554

    ชื่อบัญชี คุณชวัลณภัค วีระเชวงกุล
    เลขที่# 333-22-88128
    ธ.ไทยพาณิชย์ สาขา ม.มหิดล ประเภทออมทรัพย์




    ขอเชิญท่านผู้มีจิตศรัทธาร่วมเป็นเจ้าภาพสมทบทุนสร้างกุฎิกรรมฐาน ณ วัดเพชรมงคล ต.ปางตาไว อ.ปางศิลาทอง จ.กำแพงเพชร

    วัตถุประสงค์ในการจัดสร้างกุฎิกรรมฐาน เพื่อให้พระสงฆ์ในวัดได้ประกอบศาสนกิจ และใช้ในการปฎิบัติธรรมนั่งสมาธิ และเป็นการสร้างกุศลให้แก่ตนเอง แต่ทางวัดยังขาดทุนทรัพย์ที่จะดำเนินการก่อสร้าง จึงขอเชิญชวนผู้มีจิตศรัทธาได้ร่วมเป็นเจ้าภาพตามกำลังทรัพย์ตามกำลังศรัทธา ตอนนี้ทางวัดยังขาดปัจจัยในการก่อสร้าง จึงขอให้ผู้มีจิตศรัทธาร่วมทำบุญ จงมีความสุข มีสุขภาพพลานมัยแข็งแรง มีวรรณผ่องใส มีทรัพย์มหาศาล เจริญรุ่งเรืองยิ่ง ๆ ขึ้นไป เทอญ

    ร่วมบริจาคได้ที่
    ธนาคารกสิกรไทย สาขาคลองลาน จังหวัดกำแพงเพชร
    ชื่อบัญชี วัดเพชรมงคล เลขที่บัญชี 284-2-71890-5

    หรือ ติดต่อได้ที่ พระปลัดยิ้ม ปภากโร โทร 086-1166916





    ขอเชิญชวนพ่อแม่พี่น้องทุกท่าน ร่วมบุญสมทบทุนบริจาคปัจจัยสร้างห้องน้ำถวายแด่วัดจำปาสะเอิง ตำบลโพนครก อำเภอท่าตูม จังหวัดสุรินทร์

    บัญชีธนาคาร ไทยพาณิชย์
    ประเภท ออมทรัพย์
    ชื่อบัญชี พระครูปลัดสุเมธี ปิยสีโล
    เลขที่บัญชี5932268075
    โทรสอบถามได้ที่ พระครูปลัดสุเมธี ปิยสีโล(ครูบาน้อย) โทร 086 079 8534






    โครงการก่อสร้างวิหารไพวรรณ์ อุตตโม
    เพื่อประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุ
    วัดอัคคาราม บ.อัคคะ ต.อัคคะคำ อ.โพธิ์ชัย จ.ร้อยเอ็ด
    จึงขอเชิญท่านผู้มีจิตศรัทธาทั้งหลายร่วมบริจาคในการก่อสร้างครั้งนี้เพื่อบรรลุวัตถุประสงค์ต่อไป
    ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร
    ชื่อบัญชี เงินอุดหนุนบูรณวัดปี 2553 วัดอัคคาราม อ.โพธิ์ชัย สาขาโพธิ์ชัย
    เลขที่บัญชี 096 – 2 – 15609 -6 ประเภทออมทรัพย์
    ขออนุโมทนาบุญกับผู้มีจิตศรัทธาทุกท่าน สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม หรือ ต้องการใบอนุโมทนาบัตร
    เจ้าอาวาส พระอธิการบุญช่วย ปญญาธโร โทร. 089-5724612
    ประธานอำนวยการก่อสร้าง พระมหาสมพร กิตติวณณ โทร. 086-2419519





    ขอเชิญผู้มีจิตศรัทธาร่วมทำบุญ เพื่อหาทุนซื้อที่ดินและสร้างถนน เนื่องจาก วัดชัยภูมิการาม ( วัดท่าง่าม ) หมู่ 2 ต.ศรีภิรมย์ อ.พรหมพิราม จ.พิษณุโลก กำลังจะจัดสร้างถนนขึ้นมาอีกหนึ่งเส้นทางเนื่องจากถนนเดิมมีพื้นที่คับแคบ และขยายไม่ได้ เพื่อความสะดวกให้ผู้ที่มาทำบุญและอำนวยความสะดวกให้กับนักเรียนและครู โรงเรียนศรีภิรมย์วิทยาได้เดินทางไปมาโดยสะดวก จากเดิมต้องอ้อมไปมาก และถนนไม่สามารถให้รถสวนกันได้และขอบถนนก็ไม่มีทางเท้าทำให้เกิดอุบัติเหตุบ่อยครั้งกับนักเรียน ทางพระภิกษุและชาวบ้านจึงจะได้ร่วมใจกันจัดซื้อที่ดินออกทางใหม่ซึ่งตัดตรง สู่ถนนหลัก เป็นระยะทาง 1 กิโลเมตรเศษ ๆ โดยได้ซื้อต่อจากเจ้าของที่เดิม ซึ่งเป็นทุ่งนา ต้องใช้ดินถมที่ 1500 คันรถเพื่อทำถนน แต่ยังขาดปัจจัยอีกเป็นจำนวนมากจึงมาขอโอกาสใช้พื้นที่เพื่อบอกบุญในครั้งนี้ โดยทางวัดชัยภูมิการาม จะได้นำได้นำปัจจัยส่วนนี้ไปซื้อที่ดินและสร้างถนน เพื่อให้พระภิกษุ-สามเณร คณะครู-นักเรียนโรงเรียนศรีภิรมย์พิทยา และประชาชนได้ใช้ประโยชน์ในเส้นทางนี้

    หมายเหตุ

    ๑. ซื้อที่ดินจำนวน ๖,๐๐๐ ตารางเมตร (ถนนกว้าง ๖ เมตร ยาว ๑ กิโลเมตร) เป็นจำนวนเงิน ๓๐๐,๐๐๐ บาท (ตารางเมตรละ ๕๐ บาท) วัดได้จ่ายเงินค่าที่ดินแล้วเป็นจำนวนเงิน ๑๒๐,๐๐๐ บาท ยังค้างชำระเงินค่าที่ดิน ๑๘๐,๐๐๐ บาท (๓,๖๐๐ ตารางเมตร)

    ๒. ถมดินจำนวน ๑,๒๕๐ รถ ค่าดินราคารถละ ๓๒๐ บาท (รวมค่าตักดิน,ค่าขนส่ง,ค่าเกรดดิน) รวมเป็นเงิน ๔๐๐,๐๐๐ บาท วัดได้จ่ายค่ารถดินไปแล้ว ๓๐๐,๐๐๐ บาท ยังค้างค่าถมดิน ๑๐๐,๐๐๐ บาท

    --------------------------------------------------------------------------------

    หมายเลขบัญชีธนาคารและ
    เบอร์ โทรศัพท์ที่จะติดต่อกับทางวัดชัยภูมิการาม

    ธนาคารกสิกรไทย สาขาหนองตม
    ชื่อบัญชีวัดชัยภูมิการาม
    เลขที่บัญชี ๒๒๘ - ๒ - ๓๖๐๐๘ - ๒

    หมายเลข โทรศัพท์ ๐๘๖ - ๑๙๖๐๒๖๓ พระวนินทาย อคฺคธมฺโม






    ขอเชิญผู้ใจบุญร่วมเป็นเจ้าภาพสร้างกุฏิกรรมฐาน ให้วัดเจ้าอ่อน (สถานปฏิบัติธรรมจิตธาตุ) หมู่ ๔ บ้านช่องน้ำไหล ตำบลหัวสำโรง อำเภอท่าวุ้ง จังหวัดลพบุรี เนื่องจาก วัดเจ้าอ่อนเป็นวัดร้างเก่าสมัยอยุธยา ได้บูรณะสร้างใหม่และขอขึ้นทะเบียนเป็นวัด ยังขาดกุฏิ เสนาสนะอื่นๆอีกมาก ขอเชิญผู้ใจบุญร่วมเป็นเจ้าภาพสร้างกุฏิกรรมฐาน จำนวน ๕ หลัง ( ๑ หลังมี ๒ ห้องนอน ๑ ห้องน้ำ)

    งบประมาณ
    หลังละ ๑๘,๐๐๐ บาท ( ๑ หลังมี ๒ ห้องนอน ๑ ห้องน้ำ)
    จำนวน ๕ หลัง รวมแล้ว ๙๐,๐๐๐ บาท

    ร่วมบริจาคได้ที่ธนาคาร
    ธนาคารออมสิน สาขาท่าวุ้ง ชื่อผู้ฝาก พระปัญญา ยสโสภโณ
    เลขที่บัญชี 020032817890

    สอบถามรายละเอียดได้ที่
    พระปัญญา ยสโสภโณ
    โทร 08-84625044
    ผู้ตั้งกระทู้
    พระวัชระ ขันติโก โทร 08-45586078




    เจริญพร

    อาตมาภาพพระสุภาพ กันตสีโล เจ้าอาวาสสำนักสงฆ์วัดถ้ำพระทานตะวัน ซึ่งตั้งอยู่ที่ ต.ห้วยยาง อ.คอนสาร จ.ชัยภูมิ ขณะนี้ได้ดำเนินการจัดสร้างศาลาปฏิบัติธรรม ซึ่งตั้งอยู่บนหลังเขา เพื่อให้ศาสนิกชนที่เดินทางมาได้ใช้เป็นสถานที่อบรมปฏิบัติธรรม ปัจจุบันการก่อสร้างแล้วเสร็จไปประมาณ 70% ยังคงเหลือในส่วนที่ปูกระเบื้องพื้น, ตีฝ้าเพดาน และปรับทัศนียภาพรอบนอก ซึ่งอาตมาภาพจะนำภาพถ่ายมาให้คุณโยมผู้ใจบุญทุกท่านได้ชมเป็นระยะ ๆ ในการดำเนินการดังกล่าวในส่วนของการปูกระเบื้องพื้น และตีฝ้าเพดาน อาตมาภาพได้หยิบยืมปัจจัยจากทางบ้านญาติโยมส่วนหนึ่ง และอีกส่วนหนึ่งมีผู้มีจิตศรัทธาเมตตาบริจาคปัจจัยมาเพิ่มเติม แต่ยังไม่พอเพียง อาตมาภาพจะนำหลักฐานการสั่งของ และการดำเนินการสร้างศาลามาลงกระทู้เพื่อให้คุณโยมผู้ใจบุญทุกท่านได้พิจารณาตามลำดับ
    สำหรับห้องน้ำที่อาตมาภาพจะจัดสร้าง ตั้งใจไว้ว่าจะแยกเป็นห้องน้ำชาย-หญิง จำนวนอย่างละ 3 ห้อง ๆ ละ 10,000 บาท หากคุณโยมผู้มีจิตศรัทธาทานใดที่ประสงค์จะช่วยเหลืออาตมาภาพในการดำเนินการก่อสร้าง สามารถโอนปัจจัยร่วมบุญได้ในนาม พระสุภาพ กันตสีโล ธกส.ออมทรัพย์ สาขาคอนสาร เลขที่บัญชี 812-2-11852-7

    โทร. 087-9662219 พระสุภาพ กันตสีโล เจ้าอาวาส
    อีเมล์ prasuparp@hotmail.com





    ขอเชิญร่วมเป็นเจ้าภาพสร้างห้องน้ำ แทนของเก่าที่ชำรุด วัดม่วงแก้วเรไร อ.โคกเจริญ จ.ลพบุรี
    เนื่องด้วย วัดม่วงแก้วเรไร หมู่ที่ ๓ ตำบลโคกแสมสาร อำเภอโคกเจริญ จังหวัดลพบุรี
    ต้องการสร้างห้องน้ำหลังใหม่แทนของเก่าที่ชำรุดทรุดโทรมมาก จำนวน ๔ ห้อง ขอเชิญผู้ใจบุญทุกท่านร่วมเป็นเจ้าภาพสร้างห้องน้ำ ในกาลครั้งนี้ด้วย

    งบประมาณ ๕,๒๐๐๐ บาท งบประมาณนี้อาจมีการเปลี่ยนแปลงตามราคาค่าวัสดุ
    ห้องละ ๑,๓๐๐๐ บาท ต่อห้อง

    ร่วมบริจาคได้ที่ ธนาคาร

    ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร สาขาย่อยโคกเจริญ

    เลขที่บัญชี 516 – 2 – 56010 – 8

    ชื่อบัญชี วัดม่วงแก้วเรไร

    สอบถามรายละเอียดได้ที่
    พระนิรัติ์ ญาณธโร ( รักษาการเจ้าอาวาส ) โทร 084-8113-801



    ในเดือนเมษายนนี้ เป็นวันแห่งครอบครับ การแสดงคามตัญญู ต่อผู้มีพระคุณเป็นมงคลกับชีวิต
    ทริปที่4 กตัญญูบุพการี โดยนำท่านและคนที่ท่านรัก ไม่ว่าจะเป็นคุณพ่อคุณแม่ คุณปู่คุณย่า ไปเที่ยวทำบุญ ตรวจ
    สุขภาพประจำปีด้วยเครื่องมือที่ทันสมัยจากโรงพยาบาลชั้นนำ เที่ยวยชมวัดโพธิ์เก้าต้น ล่องเรือกลางลำน้ำ รับประทานอาหารข้าวห่อใบบัว ผลไม้สดใหม่น้ำสมุนไพรกลางลำน้ำน้อย ชอมวัดสองฟากแม่น้ำ และนวดฝ่าเท้า ไหว้พระพุทธประทานพรและหลวงพ่อแพวัดพิกุลทอง
    ลุ้นของรางวัดประจำทริป อย่าช้าของดีมีน้อย ติดต่อที่คุณเปิ้ล 0869704281








    ขอเชิญร่วมเป็นเจ้าภาพสร้างฌาปนสถาน สำนักสงฆ์ชอนผึ่ง ต.ชอนม่วง อ.บ้านหมี่ จ.ลพบุรี
    เนื่องด้วย สำนักสงฆ์ชอนผึ่ง หมู่ที่ ๕ ต.ชอนม่วง อ.บ้านหมี่ จ.ลพบุรี กำลังก่อสร้าง
    ฌาปนสถาน ยังขาดจตุปัจจัยจำนวนมาก ขอเชิญผู้มีจิตศรัทธาร่วมเป็นเจ้าภาพสร้าง
    ฌาปนสถาน ให้แล้วเสร็จในกาลครั้งนี้ด้วย

    งบประมาณในการก่อสร้าง
    ๗๐๐,๐๐๐ บาท จ่ายไปแล้ว ๒๐๐,๐๐๐ บาท
    ยังขาด ๕๐๐,๐๐๐ บาท

    ร่วมบริจาคได้
    ธนาคารกสิกรไทย สาขาหนองม่วง ชื่อบัญชี พระปราโมทย์ น้อยไม้
    เลขที่บัญชี 180 - 2 – 55667 – 1

    สอบถามรายละเอียดได้ที่
    พระปราโมทย์ สีตจิตฺโต (น้อยไม้ ) โทร 084-7027-105










    ขอเชิญญาติธรรมทุกท่านร่วมบุญ โครงการถวายพระบรมสารีริกธาตุของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าและร่วมบุญผ้าป่าสามัคคีเพื่อนำไปจัดถวายที่วัดบ้านดงเหนือ
    ต.วังผาง อ. เวียงหนองล่อง จ.ลำพูน ในวันที่ 15 เมษายน พ.ศ. 2554
    เนื่องด้วยทางวัดบ้านดงเหนือ เป็นวัดที่กำลังก่อตั้งขึ้นใหม่ มีผู้ศรัทธาอุปถัมป์น้อยและชาวบ้านส่วนใหญ่มีฐานะปานกลางค่อนข้างยากจน ประกอบกับในวัดขาดแคลนถาวรวัตถุอีกหลายอย่าง ซึ่งทางเจ้าอาวาสและคณะกรรมการได้ปรึกษาหารือกันว่าจะสร้างกุฏิที่พักสงฆ์และสถานที่ปฏิบัติธรรมเพื่อใช้เป็นที่ปฏิบัติพักผ่อนของญาตโยมที่มาทำบุญ และกระผมนายนิพนธ์ แดงศรี ได้อัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุจากกลุ่มบัวผลิหน่อ ซึ่งมีคุณ วุฒิชัย ศรีสุข เป็นประธานชมรม
    เพื่อนำไปถวายและประดิษฐานไว้ เพื่อให้ลูกหลานสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ได้กราบไหว้บูชา เพื่อเป็นสิริมงคลแก่ชีวิต
     

แชร์หน้านี้

Loading...