เดินทางสายกลางคือสงบ วางสุข วางทุกข์- พระโพธิญาณ เถร (ชา สุภัทโธ)

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย jinny95, 19 มีนาคม 2010.

  1. jinny95

    jinny95 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 ตุลาคม 2007
    โพสต์:
    6,074
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +9,666
    เดินทางสายกลางคือสงบวางสุขวางทุกข์-พระโพธิญาณเถร (ชาสุภัทโธ)<o></o>
    <o></o>
    ดังนั้นถ้าจะบวชปฏิบัติต้องเดินทางสายกลางนี้เราจะไม่เอาใจใส่ความสุขความทุกข์จะวางมันแต่รู้สึกว่ามันเตะเราเดี๋ยวไอ้นี่เตะทางนี้ไอ้นั่นเตะทางนั้นเหมือนกับลูกโป่งลาง (กระดิ่งที่ทำด้วยไม้) มันฟัดเราทั้งสองข้างเข้าใส่กันมีสองอย่างนี้แหละเตะเราอยู่ดังนั้นพระองค์เทศน์ครั้งแรกจึงทรงยกทางที่สุดทั้งสองขึ้นแสดงเพราะมันติดอยู่นี่ความอยากได้สุขเตะทางนี้บ้างความทุกข์ไม่พอใจเตะทางโน้นบ้างสองอย่างเท่านั้นเล่นงานเราตลอดกาล

    การเดินทางสายกลางเราจะวางสุขเราจะวางทุกข์สัมมาปฏิปทาต้องเดินสายกลางเมื่อความอยากได้สุขมากระทบถ้าไม่ได้สุขมันก็ทุกข์เท่านั้นจะเดินกลางๆตามทางพระพุทธเจ้าเดินนั้นลำบากมันมีสองอย่างคือดีกับร้ายเท่านั้นถ้าไปเชื่อพวกนี้ก็ต้องเป็นอย่างนี้ถ้าโกรธขึ้นมาก็คว้าหาท่อนไม้เลยไม่ต้องอดทนถ้าดีก็ลูบตั้งแต่ศีรษะจดปลายเท้านั่นใช้แล้วทางสองข้างมันไม่ไปกลางๆสักทีพระพุทธเจ้าท่านไม่ให้ทำอย่างนั้นท่านให้ค่อยๆวางมันไปทางสายนี้คือสัมมาปฏิปทาทางเดินออกจากภพจากชาติทางไม่มีภพไม่มีชาติไม่มีสุขไม่มีทุกข์ไม่มีดีไม่มีชั่วมนุษย์ทั้งหลายที่ต้องการภพถ้าตกลงมาก็ถึงสุขนี่มันมองไม่เห็นตรงกลางผ่านเลยลงมานี่ถ้าไม่ได้ตามความพอใจก็เลยมานี่ข้ามตรงกลางไปเรื่อยที่พระอยู่เรามองไม่เห็นสักทีวิ่งไปวิ่งมาอยู่นี่แหละไม่อยู่ตรงที่ไม่มีภพไม่มีชาติเราไม่ชอบจึงไม่อยู่บางทีก็เลยลงมาข้างล่างถูกสุนัขกัดปีนขึ้นไปข้างบนก็ถูกอีแร้งอีกาปากเหล็กมาจิกกระบาลก็เลยตกนรกอยู่ไม่หยุดไม่ยั้งเท่านั้นนี่แหละภพ<o></o>

    อันที่ว่าไม่มีภพไม่มีชาติมนุษย์ทั้งหลายไม่เห็นจิตมนุษย์มองไม่เห็นจึงข้ามไปข้ามมาอยู่อย่างนั้นสัมมาปฏิปทาคือทางสายกลางที่พระพุทธเจ้าเดินพ้นภพพ้นชาติเป็นอัพยากตธรรมจิตนี้วางนี่เป็นทางของสมณะถ้าใครไม่เดินเกิดเป็นสมณะไม่ได้ความสงบเกิดไม่ได้ทำไมจึงสงบไม่ได้เพราะมันเป็นภพเป็นชาติเกิดตายอยู่นั่นเองแต่ทางนี้ไม่เกิดไม่ตายไม่ต่ำไม่สูงไม่สุขไม่ทุกข์ไม่ดีไม่ชั่วกับใครทางนี้เป็นทางตรงเป็นทางสงบระงับสงบจากความสุขความทุกข์ความดีใจความเสียใจนี้คือลักษณะปฏิบัติถ้าใจเราเป็นอย่างนี้แล้วหยุดได้หยุดถามได้แล้วไม่ต้องไปถามใคร<o></o>

    นี่แหละพระพุทธเจ้าจึงตรัสว่าปัจจัตตังเวทิตัพโพวิญญู-หิไม่ต้องถามใครรู้เฉพาะตนแน่นอนอย่างนั้นถูกตามที่พระองค์สอนไว้อาตมาเล่าประวัติย่อๆที่เคยทำเคยปฏิบัติมาไม่ได้รู้มากไม่ได้เรียนมากเรียนจากจิตใจตนเองตามธรรมชาตินี้โดยทดลองทำดูเมื่อมันชอบขึ้นมาก็ไปตามมันดูมันจะพาไปไหนมีแต่มันลากเราไปหาความทุกข์โน่นเราปฏิบัติดูตัวเองจึงค่อยรู้จักค่อยรู้ขึ้นเห็นขึ้นไปเองให้เราพากันตั้งอกตั้งใจทำ<o></o>

    การปฏิบัติต้องตั้งใจและพยายาม
    <o></o>

    ถ้าอยากปฏิบัติให้ท่านมหาพยายามอย่าคิดให้มากถ้าจะนั่งสมาธิแล้วอยากให้มันเป็นอย่างนั้นเป็นอย่างนี้หยุดดีกว่าเวลานั่งสงบจะนึกว่าใช่อันนั้นไหมใช่อันนี้ไหมหยุดเอาความรู้ปริยัติใส่หีบใส่ห่อไว้เสียอย่าเอามาพูดไม่ใช่ความรู้พวกนั้นจะเข้ามาอยู่นี่หรอกมันพวกใหม่เวลาเป็นขึ้นมามันไม่เป็นอย่างนั้นเหมือนกับเราเขียนตัวหนังสือว่า”ความโลภ”เวลามันเกิดในใจไม่เหมือนตัวหนังสือเวลาโกรธก็เหมือนกันเขียนใส่กระดานดำเป็นอย่างหนึ่งมันเป็นตัวอักษรเวลามันเกิดในใจอ่านอะไรไม่ทันหรอกมันเป็นขึ้นมาที่ใจเลยสำคัญนักสำคัญมาก<o></o>

    ปริยัติเขียนไว้ก็ถูก
    แต่ต้องโอปนยิโกให้เป็นคนน้อมถ้าไม่น้อมก็ไม่รู้จักจริงๆมันไม่เห็นอาตมาก็เหมือนกันไม่ได้ศึกษาเล่าเรียนมากเคยสอบปริยัติธรรมมีโอกาสได้ไปฟังครูบาอาจารย์เทศน์ให้ฟังจนจะเกิดความประมาทฟังเทศน์ไม่เป็นพวกพระกรรมฐานพระธุดงค์นี่ไม่รู้พูดอย่างไรพูดเหมือนกับมีตัวมีตนจริงๆจะไล่เอาจริงๆต่อมาค่อยทำไปปฏิบัติไปๆจึงเห็นจริงตามที่ท่านสอนท่านเทศน์ให้ฟังก็รู้เป็นเห็นตามมันเป็นอยู่ในใจของเรานี่เองต่อไปนานๆจึงรู้ว่ามันก็ล้วนแต่ท่านเห็นมาแล้วท่านเอามาพูดให้ฟังไม่ใช่ว่าท่านพูดตามตำราท่านพูดตามความรู้ความเห็นจากใจให้ฟังเราเดินตามก็ไปพบที่ท่านพูดไว้หมดทุกอย่างจึงนึกว่ามันถูกแล้วนี่จะอย่างไหนอีกเอาเท่านี้แหละอาตมาจึงปฏิบัติต่อไป<o></o>

    <o></o>
    คนทำจะได้
    <o></o>

    การปฏิบัตินั้นให้พยายามทำมันจะสงบหรือไม่สงบก็ช่างปล่อยไว้ก่อนเอาเรื่องเราปฏิบัติเป็นเรื่องแรกเอาเรื่องเราได้สร้างเหตุนี่แหละถ้าทำแล้วผลจะเป็นอย่างไรก็ได้เราทำได้แล้วอย่ากลัวว่าจะไม่ได้ผลมันไม่สงบเราก็ทำได้ทีนี้ถ้าเราไม่ทำใครเล่าจะได้ใครเล่าจะเห็นคนหานั่นแหละจะเห็นคนกินนั่นแหละจะอิ่มของแต่ละสิ่งละอย่างมันโกหกเราอยู่สิบครั้งให้มันรู้ก็ยังดีอยู่คนเก่ามาโกหกเรื่องเก่าถ้ารู้จักก็ดีอยู่มันนานเหลือเกินกว่าจะรู้มันพยายามมาหลอกลวงเราอยู่นี่<o></o>

    ดังนั้น
    ถ้าจะปฏิบัติแล้วให้ตั้งศีลสมาธิปัญญาไว้ในใจของเราให้นึกถึงพระรัตนตรัยคือพระพุทธพระธรรมพระสงฆ์เลิกสิ่งทั้งหลายทั้งปวงออกเสียการกระทำของเรานี้เองเป็นเหตุเกิดขึ้นในภพในชาติหนึ่งจริงๆเป็นคนซื่อสัตย์กระทำไปเถอะ<o></o>

    การปฏิบัตินั้นแม้จะนั่งเก้าอี้อยู่ก็ตามกำหนดได้เบื้องแรกไม่ต้องกำหนดมากกำหนดลมหายใจเข้าออกหรือจะว่าพุทโธธัมโมสังโฆก็ได้แล้วกำหนดลมหายใจเข้าออกเมื่อกำหนดให้มีความตั้งใจไว้ว่าการกำหนดลมนี้จะไม่บังคับถ้าเราจะลำบากกับลมหายใจแล้วยังไม่ถูกดูเหมือนลมหายใจสั้นไปยาวไปค่อยไปแรงไปเดินลมไม่ถูกไม่สบายแต่เมื่อใดลมออกก็สบายลมเข้าก็สบายจิตของเรารู้จักลมเข้ารู้จักลมออกนั่นแม่นแล้วถูกแล้วถ้าไม่แม่นมันยังหลงถ้ายังหลงก็หยุดกำหนดใหม่เวลากำหนดจิตอยากเป็นนั่นเป็นนี่หรือเกิดแสงสว่างเป็นปราสาทราชวังขึ้นมาก็ไม่ต้องกลัวให้รู้จักมันให้ทำเรื่อยไปบางครั้งทำไปๆลมหมดก็มีหมดจริงๆก็จะกลัวอีกไม่ต้องกลัวมันหมดแต่ความคิดของเราเท่านั้นเรื่องความละเอียดยังอยู่ไม่หมดถึงกาลสมัยแล้วมันฟื้นกลับขึ้นมาของมันเอง<o></o>

    <o></o>
    ทำจิตให้สงบก่อน
    แล้วจึงพิจารณาอารมณ์<o></o>

    ให้ใจสงบไปอย่างนี้เสียก่อนนั่งอยู่ที่ไหนก็ตามนั่งเก้าอี้นั่งรถนั่งเรือก็ตามถ้ากำหนดเมื่อใดให้มันเข้าเลยขึ้นรถไฟพอนั่งลงให้มันเข้าเลยอยู่ที่ไหนนั่งได้ทั้งนั้นถ้าขนาดนี้รู้จักแล้วรู้จักทางบ้างแล้วจึงมาพิจารณาอารมณ์ใช้จิตที่สงบนั่นพิจารณาอารมณ์รูปบ้างเสียงบ้างกลิ่นบ้างรสบ้างโผฏฐัพพะบ้างธรรมารมณ์บ้างที่เกิดขึ้นให้มาพิจารณาชอบหรือไม่ชอบต่างๆนานาให้เป็นผู้รับทราบไว้อย่าเข้าไปหมายในอารมณ์นั้นถ้าดีก็ให้รู้ว่าดีถ้าไม่ดีก็ให้รู้ว่าไม่ดีอันนี้เป็นของสมมุติบัญญัติถ้าจะดีจะชั่วก็เป็นอนิจจังทุกขังอนัตตาทั้งนั้นเป็นของไม่แน่นอนไม่ควรยึดมั่นถือมั่นอ่านคาถานี้ไว้ด้วยถ้าทำได้อย่างนี้เรื่อยๆไปปัญญาจะเกิดเองอารมณ์นั้นเป็นอนิจจังทุกขังอนัตตาทิ้งใส่สามขุมนี้นี้เป็นแก่นของวิปัสสนาทิ้งใส่อนิจจังทุกขังอนัตตาดีชั่วร้ายอะไรก็ทิ้งมันใส่นี่ไม่นานเราก็จะเกิดความรู้ความเห็นขึ้นมาในอนิจจังทุกขังอนัตตาเกิดปัญญาอ่อนๆขึ้นมานั่นแหละเรื่องภาวนาให้พยายามทำเรื่อยๆศีลห้านี้ถือมาหลายปีแล้วมิใช่หรือเริ่มภาวนาเสียให้รู้ความจริงเพื่อละเพื่อถอนเพื่อความสงบ<o></o>
    <o></o>
    นักปฏิบัติต้องรักษาวินัยและเชื่อฟังอาจารย์
    <o></o>

    พูดถึงการสนทนาแล้วอาตมาสนทนาไม่ค่อยเป็นมันพูดยากอยู่ถ้าใครอยากรู้จักต้องอยู่ด้วยกันอยู่ไปนานๆก็รู้จักหรอกอาตมาเคยไปเที่ยวธุดงค์เหมือนกันอาตมาไม่เทศน์ไปฟังครูบาอาจารย์รูปนั้นรูปนี้เทศน์มิใช่ว่าไปเทศน์ให้ท่านฟังท่านพูดอะไรก็ฟังฟังเอาพระเล็กพระน้อยเทศน์ก็ฟังเราจะฟังก็ฟังไม่ค่อยสนทนาไม่รู้จะสนทนาอะไรที่จะเอาก็เอาตรงที่ละที่วางนั่นเองทำเพื่อมาละมาวางไม่ต้องไปเรียนให้มากแก่ไปทุกวันๆวันหนึ่งไปตะปบแต่แสงอยู่นั่นไม่ถูกตัวสักทีการปฏิบัติธรรมแม้จะมีหลายแบบอาตมาไม่ติถ้ารู้จักตามความหมายไม่ใช่ว่าจะผิดแต่ถ้าเป็นนักปฏิบัติแล้วไม่ค่อยรักษาวินัยอาตมาว่าจะไปไม่รอดเพราะมันข้ามมรรคข้ามศีลสมาธิปัญญาบางท่านพูดว่าอย่าไปติดสมถะอย่าไปเอาสมถะผ่านไปวิปัสสนาเลยอาตมาเห็นว่าถ้าผ่านไปเอาวิปัสสนาเลยมันจะไปไม่รอด<o></o>

    วิธีปฏิบัติของท่านอาจารย์เสาร์ท่านอาจารย์มั่นท่านอาจารย์ทองรัตท่านเจ้าคุณอุบาลีนี่หลักนี้อย่าทิ้งแน่นอนจริงๆถ้าทำตามท่านถ้าปฏิบัติตามท่านเห็นตัวเองจริงๆท่านอาจารย์เหล่านี้เรื่องศีลท่านพยายามรักษาให้แน่นอนท่านไม่ให้ข้ามการเคารพครูบาอาจารย์การเคารพข้อวัตรปฏิบัตินั้นถ้าครูบาอาจารย์บอกให้ทำก็ทำถ้าท่านว่าผิดให้หยุดก็หยุดชื่อว่าทำเอาจริงๆจังๆให้เห็นให้เป็นขึ้นในใจท่านอาจารย์บอกอย่างนี้ดังนั้นพวกลูกศิษย์ทั้งหลายจึงมีความเคารพยำเกรงในครูบาอาจารย์มากเพราะเห็นตามรอยของท่าน<o></o>

    ลองทำดูซิทำดังที่อาตมาพูดถ้าเราทำมันก็เห็นก็เป็นทำไมจะไม่เป็นเพราะเป็นคนทำคนหาอาตมาว่ากิเลสมันไม่อยู่หรอกถ้าทำถูกเรื่องของมันเป็นผู้ละพูดจาน้อยเป็นคนละทิฏฐิมานะทั้งหลายทั้งปวงคนพูดผิดก็ฟังได้คนพูดถูกก็ฟังได้หมดพิจารณาตัวเองอยู่อย่างนี้อาตมาว่าเป็นไปได้ทีเดียวถ้าพยายามแต่ว่าไม่ค่อยมีนักปริยัติที่มาปฏิบัติยังมีน้อยอยู่คิดเสียดายเพื่อนๆทั้งหลายเคยแนะนำให้มาพิจารณาอยู่<o></o>
    <o></o>
    ถ้าปฏิบัติแล้วจะรู้ซึ้ง
    รู้แจ้งรู้ชัด<o></o>

    ท่านมหามาที่นี่ก็ดีแล้วเป็นกำลังอันหนึ่งแถวบ้านเราบ้านไผ่ใหญ่หนองสักหนองขุ่นบ้านโพนขาวล้วนแต่เป็นบ้านสำนักเรียนทั้งนั้นเรียนแต่ของที่มันต่อกันไม่ตัดสักทีเรียนแต่สันตติเรียนสนธิต่อกันไปถ้าเราหยุดได้เรามีหลักวิจัยอย่างนี้ดีจริงๆมันไม่ไปทางไหนหรอกมันไปอย่างที่เราเรียนนั่นแหละแต่ถ้าไม่ปฏิบัติผู้เรียนไม่ค่อยรู้ถ้าปฏิบัติแล้วก็รู้ซึ้งสิ่งที่เราเคยเรียนมาแจ้งออกชัดออกเริ่มปฏิบัติเสียให้เข้าใจอย่างนี้<o></o>

    พยายามมาอยู่ตามป่าที่กุฏิเล็กๆนี้มาฝึกทดลองดูบ้างดีกว่าเราไปเรียนปริยัติอย่างเดียวให้พูดอยู่คนเดียวดูจิตดูใจเราคล้ายๆกับว่าจิตมันวางเป็นปกติจิตถ้ามันเคลื่อนออกจากปกติเช่นมันคิดนึกต่างๆนั่นเป็นสังขารสังขารนี้มันจะปรุงเราต่อไประวังให้ดีให้มันรู้ไว้ถ้ามันเคลื่อนออกจากปกติแล้วไม่เป็นสัมมาปฏิปทาหรอกมันจะก้าวไปเป็นกามสุขัลลิกานุโยคอัตตกิลมถานุโยคของพวกนี้มันปรุงนั่นแหละเป็นจิตสังขารถ้ามันดีก็ดีถ้ามันชั่วก็ชั่วมันเกิดกับจิตของเราอาตมาว่าถ้าได้จ้องดูมันอยู่อย่างนี้รู้สึกว่าสนุกถ้าจะพูดเรื่องนี้อยู่อย่างเดียวแล้วสนุกอยู่ตลอดวัน<o></o>

    เมื่อรู้จักเรื่องวาระของจิตก็เห็นมีอาการอย่างนี้เพราะกิเลสมันอบรมจิตอยู่อาตมาเห็นว่าจิตนี้เหมือนกับจุดจุดเดียวเท่านั้นอันที่เรียกว่าเจตสิกนั่นเป็นแขกแขกมาพักอยู่ตรงจุดนี้คนนั้นมาเยี่ยมเราบ้างคนโน้นมาเยี่ยมเราบ้างมาพักอยู่ตรงนี้เราจึงเรียกพวกนั้นที่ออกจากจิตของเรามาเป็นเจตสิกหมด<o></o>
    <o></o>
    มีสติรู้
    ตื่นอยู่เฝ้าดูจิต<o></o>

    ทีนี้เรามาทำจิตของเราให้เป็นผู้รู้ตื่นอยู่คอยรักษาจิตของเราอยู่ถ้าแขกมาเมื่อไรโบกมือห้ามมันจะมานั่งที่ไหนมีที่นั่งที่เดียวเท่านั้นเราก็พยายามรับแขกอยู่ตรงนี้ตลอดวันนี่คือพุทโธตัวตั้งมั่นอยู่นี่ทำความรู้นี้ไว้จะได้รักษาจิตเรานั่งอยู่ตรงนี้แล้วแขกที่เคยมาเยี่ยมเราตั้งแต่เราเกิดตัวเล็กๆโน้นมาทีไรก็มาที่นี่หมดเราจึงรู้จักมันหมดเลยพุทโธอยู่คนเดียวพูดถึงอาคันตุกะแขกที่จรมาปรุงแต่งต่างๆนานาให้เราเป็นไปตามเรื่องของมันอาการของจิตที่เป็นไปตามเรื่องของมันนี่แหละเรียกว่าเจตสิกมันจะเป็นอะไรจะไปไหนก็ช่างมันให้เรารู้จักอาคันตุกะที่มาพักที่รับแขกมีเก้าอี้ตัวเดียวเท่านี้เองเราเอาผู้หนึ่งไปนั่งไว้แล้วมันก็ไม่มีที่นั่งมันมาที่นี่มันก็จะมาพูดกับเราครั้งนี้ไม่ได้นั่งครั้งต่อไปก็จะมาอีกมาเมื่อไรก็พบแต่ผู้นี้นั่งอยู่ไม่หนีสักทีมันจะทนมากี่ครั้งเพียงพูดกันอยู่ที่นั่นเราก็จะรู้จักหมดทุกคนพวกที่ตั้งแต่เรารู้เดียงสาโน้นมันจะมาเยี่ยมเราหมดนั่นแหละเพียงเท่านี้<o></o>

    อาตมาว่าธรรมนั้นดูตรงนี้ก็เห็นไปหมดได้พูดได้ดูได้พิจารณาอยู่คนเดียวพูดธรรมะก็อย่างนี้แหละอาตมาพูดอย่างอื่นไม่เป็นพูดก็พูดไปอย่างนี้ทำนองนี้นี่ก็เป็นแต่เพียงพูดให้ฟังเท่านั้น<o></o>

    ทีนี้ให้ไปทำดูถ้าไปทำมันจะเป็นอย่างนั้นๆมีหนทางบอกถ้ามันเป็นอย่างนั้นให้ทำอย่างนั้นก็ไปทำดูอีกถ้าไปทำดูอีกมันเป็นอีกอย่างหนึ่งก็ต้องแก้โน่นแหละจึงจะมีที่บอกในเมื่อเดินสายเดียวกันมันต้องเป็นใจจิตท่านมหาแน่นอนถ้าไม่เป็นอย่างนั้นมันต้องเกิดขัดข้องขัดข้องก็ต้องจี้จุดเมื่อพูดตรงนี้มันไปถูกจิตท่านมหามันก็รู้จักแก้ถ้ามันติดอีกท่านผู้แนะนำก็จะบอกเพราะตรงนี้ท่านก็เคยติดมาแล้วก็ต้องแก้อย่างนั้นมันรู้เรื่องกันก็พูดกันได้<o></o>

    เช่นเดียวกับอารมณ์คือเสียงได้ยินเป็นอย่างหนึ่งเสียงเป็นอย่างหนึ่งเรารับทราบไว้ไม่มีอะไรเราอาศัยธรรมชาติอย่างนี้แหละมาพิจารณาหาความจริงจนใจมันแยกของมันเองพูดง่ายๆก็คือมันไม่เอาใจใส่เองมันจึงเป็นอย่างนั้นได้เมื่อหูได้ยินเสียงดูจิตของเรามันพัวพันไปตามไหมมันรำคาญไหมเท่านี้เราก็รู้ได้ยินอยู่แต่ไม่รำคาญฉันอยู่ที่นี่เอากันใกล้ๆมิได้เอาไกลจะหนีจากเสียงนั้นหนีไม่ได้หรอกต้องหนีวิธีนี้จึงจะหนีได้โดยเราฝึกจิตของเราจนมั่นอยู่ในสิ่งนี้วางสิ่งเหล่านั้นสิ่งที่วางแล้วนั้นก็ยังได้ยินอยู่ได้ยินอยู่แต่ก็วางอยู่เพราะสิ่งเหล่านั้นถูกวางอยู่แล้วมิใช่จะไปบังคับให้มันแยกมันแยกเองโดยอัตโนมัติเพราะการละการวางจะอยากให้มันไปตามเสียงนั้นมันก็ไม่ไป<o></o>

    เมื่อเรารู้ถึงรูปเสียงกลิ่นรสทั้งหลายเหล่านี้ตามความเป็นจริงแล้วเห็นชัดอยู่ในดวงจิตของเราว่าสิ่งเหล่านี้ล้วนแต่เป็นสามัญลักษณะคืออนิจจังทุกขังอนัตตาหมดทั้งนั้นเมื่อได้ยินครั้งใดก็เป็นสามัญลักษณะอยู่ในใจเวลาอารมณ์ทั้งหลายมากระทบได้ยินก็เหมือนไม่ได้ยินนั้นไม่ใช่จิตของเราจะไม่มีการงานสติกับจิตพัวพันคุ้มครองกันอยู่ตลอดกาลตลอดเวลาถ้าท่านมหาทำจิตให้ถึงอันนี้แล้วถึงจะเดินไปทางไหนมันก็ค้นคว้าอยู่นี่เป็นธรรมวิจัยหลักของโพชฌงค์เท่านั้นเองมันหมุนเวียนพูดกับตัวเองแก้ปลดเวทนาสัญญาสังขาร วิญญาณไม่มีอะไรจะมาใกล้มันได้มันมีงานทำของมันเอง


    คัดลอกจาก
    เดินทางสายกลางคือสงบ วางสุข วางทุกข์- พระโพธิญาณเถร (ชา สุภัทโธ) | OpenBase.in.th
    <o></o>
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 19 มีนาคม 2010

แชร์หน้านี้

Loading...