อัตตา คือ อะไร

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย telwada, 23 มีนาคม 2010.

  1. telwada

    telwada เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 กันยายน 2004
    โพสต์:
    1,509
    ค่าพลัง:
    +1,817
    อัตตา คือ อะไร
    บทความนี้เขียนขึ้น ด้วยเมตตาต่อท่านทั้งหลาย ที่ไม่รู้ ไม่เข้าใจ ในคำว่า อัตตา อย่างแท้จริง บางคนขาดสติ พล่ามเพ้อเจ้อในเรื่องของ อัตตา อันอาจทำให้เกิดความเสื่อมเสียต่อศาสนา

    ข้าพเจ้าเอง ก็ไม่ได้สนใจเกี่ยวกับคำว่า "อัตตา" เพราะข้าพเจ้าถือว่า
    "สรรพสิ่งทั้งหลาย ทั้งที่มีชีวิต และไม่มีชีวิต ล้วนมีตัวตน" การเกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป ของสรรพสิ่งทั้งหลายเหล่านั้น เป็นเรื่องธรรมดา อาจนำมาใช้พิจารณาเป็นครั้งคราว หรือนำมาพิจารณา ตามแต่เหตุการณ์นั้นๆ ไม่นำมาพิจารณาอยู่เนืองๆ

    ดังนั้น การอธิบายคำว่า "อัตตา" จึงเป็นการขยายความจาก พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับพระธรรมปิฎก ฯ ดังต่อไปนี้.-

    อัตตา คือ ตัวตน หรือในภาษา สันสกฤต ก็คือ คำว่า " อาตมัน"
    คำว่า ตัวตน นั้น หมายถึง ตัวตนทั้งหมด ของสรรพสิ่งทั้งหลาย ในที่นี้หมายเอาเฉพาะสิ่งที่มีชีวิต และหมายเอาเฉพาะมนุษย์ เพราะสามารถพิสูจน์ได้ด้วยตัวของท่านทั้งหลาย
    ตัวตน หรือ อัตตา แท้จริง ก็คือ ส่วนที่ประกอบกัน ด้วย รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ หรือ ขันธ์ ๕ นั่นเอง เมื่อตัวตนหรือ อัตตา ประกอบด้วยขันธ์ ๕ แล้ว ยังแจกแยกออกไปอีกว่า อันใดอันหนึ่งในขันธ์ ๕ นั้น ก็คือตัวตน หรือ อัตตาเช่นกัน
    เช่น
    รูป อย่างเดียว ก็เป็น อัตตา
    สัญญา คือ ความจำ ก็เป็น อัตตา
    เวทนา คือ ความรู้สึก ก็เป็นอัตตา
    สังขาร คือ การปรุงแต่ง ก็เป็นอัตตา
    วิญญาณ หรือ จิตวิญญาณ คือ ความรับรู้ในอารมณ์ ฯ เมื่อ อายตนะภายในกระทบกับอายตนะภายนอก ก็เป็น อัตตา
    ในเรื่องของอัตตานี้ ยังสามารถอธิบายในรายละเอียด ได้อีกมากมาย เพราะการที่เราได้สัมผัสกับอายตนะภายนอก คือ รูป รส กลิ่น เสียง แสง สี โผฏฐัพพะ ธรรมารมณ์ นั่นหมายถึง การได้สัมผัสรับรู้ ด้วย ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ก็เพราะเรามีอัตตา คือ มีขันธ์ ๕
    ส่วนสรรพสิ่งอื่นบางชนิด อาจจะมีเพียง รูป อย่างเดียว หรืออาจจะมี ไม่ครบ ทั้ง ๕ ขันธ์ หรือ อาจมีครบทั้ง ๕ ขันธ์ แต่ขันธ์เหล่านั้นมีการทำงานที่จำกัด ดังเช่นสัตว์บางชนิด ,ต้นไม้ ฯลฯ มันก็คงไม่รู้ว่า ตันตนของมัน หรืออัตตา ของมันมีหรือไม่
    แต่เนื่องจาก มนุษย์ มีขันธ์ ๕ ครบถ้วน บริบูรณ์ เต็มพิกัด
    ความมีตัวตน หรือ อัตตาจึงเป็นสิ่งจำเป็นในการดำรงชีวิต ในการสังคมเป็นอยู่ร่วมกัน
    และในทางศาสนาใดใดก็ตาม อัตตา หรือตัวตน ก็เป็นสิ่งสำคัญยิ่งที่จักเป็นปัจจัยในอันที่จะทำให้บุคคลนั้นๆ สามารถบรรลุมรรคผล บรรลุนิพาน ได้ฉะนี้

    จ่าสิบตรี เทวฤทธิ์ ทูลพันธ์
    เขียนเมื่อ ๒๓ มีนาคม ๒๕๕๓
     
  2. เล่าปัง

    เล่าปัง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    4,787
    ค่าพลัง:
    +7,918
    [​IMG]....Old soldies never die...[​IMG]
     
  3. kengkenny

    kengkenny เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 ธันวาคม 2008
    โพสต์:
    2,878
    ค่าพลัง:
    +2,500
    เจริญละงานนี้ อัตตามันไม่ได้หมายถึงของตนหรือครับ
    คำว่าอัตตา แปลว่า ตัวตน ยึดถือว่าเป็นตัว เป็นตน เป็นของตน ยึดถือว่าเที่ยง ยึดมั่นในสิ่งต่างๆ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 23 มีนาคม 2010
  4. ฮุโต๋

    ฮุโต๋ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 พฤศจิกายน 2009
    โพสต์:
    419
    ค่าพลัง:
    +44,568
    มีตัว มีตน แต่ถ้าไม่มีปัญญา ก็ไม่สามารถบรรลุมรรค-ผล เพื่อพระนิพพานได้เลย
    คนเราเนี่ย มีสติปัญญาเหนือสรรพสัตว์ทั้งปวง ปัญญาของคนเรานี่มี 2 อย่าง คือ
    โลกีย์ปัญญา คือ ปัญญาในทางโลก ใช้ในการดำเนินชีวิต ประกอบอาชีพ หน้าที่ การงาน
    วิมุติปัญญา คือปัญญาเป็นเลิศในทางธรรม ปัญญาชนิดนี้ที่ทำให้เกิดมรรค-ผล บรรลุธรรม เพื่อพระนิพพาน พ้นจากวัฏสงสาร
    โมทนา
     
  5. thaiboy74

    thaiboy74 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 มีนาคม 2009
    โพสต์:
    175
    ค่าพลัง:
    +207
    ผมไม่ขอแย้ง แต่ขอขยายความ เพื่อให้ท่านอื่น ๆ ที่อาจอ่านบทความของท่านแล้วเข้าใจในทางอื่น (ในที่นี้ขอพูดแค่อัตตาในแง่ที่ท่านเจ้าของกระทูเขียน ไม่ลงลึกถึงเรื่องอัตตาของจิต เพราะจะยืดเยื้อ

    "อัตตา คือ ตัวตน หรือในภาษา สันสกฤต ก็คือ คำว่า " อาตมัน"
    คำว่า ตัวตน นั้น หมายถึง ตัวตนทั้งหมด ของสรรพสิ่งทั้งหลาย ในที่นี้หมายเอาเฉพาะสิ่งที่มีชีวิต และหมายเอาเฉพาะมนุษย์ เพราะสามารถพิสูจน์ได้ด้วยตัวของท่านทั้งหลาย
    ตัวตน หรือ อัตตา แท้จริง ก็คือ ส่วนที่ประกอบกัน ด้วย รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ หรือ ขันธ์ ๕ นั่นเอง เมื่อตัวตนหรือ อัตตา ประกอบด้วยขันธ์ ๕ แล้ว ยังแจกแยกออกไปอีกว่า อันใดอันหนึ่งในขันธ์ ๕ นั้น ก็คือตัวตน หรือ อัตตาเช่นกัน"

    อัตตาหรือตัวตน มีอยู่หรือไม่
    วิธีคิดตรงนี้ ขออธิบายโดยใช้ ตรรกะสักตัวสองตัวในสายมัทยมิกะของท่านนาคารชุน
    สิ่งใดที่มีอยู่ (อัตตา) สิ่งนั้นย่อม ไม่ขึ้นอยู่กับเหตุปัจจัย/กาลเวลา

    ท่านเจ้าของกระทู้ร่ายยาวต่อว่า ขันธ์ 5 เป็นอัตตา
    ในที่นี้จะขออธิบายเฉพาะเรื่องรุปอย่างเดียว เพราะตัวอื่น ๆก็จะเป็นไปในแบบเดียวกัน

    ถ้า รูป = อัตตา
    ดังนั้นรูป ต้องไม่ขึ้นอยู่กับเหตุปัจจัย
    แต่ รูปมีการเกิดดับหรือไม่ ถ้ามีการเกิดดับเสียแล้ว รูปนั้นก็ยังขึ้นอยู่กับเหตุปัจจัยแห่งการเวลา (สรรพสิ่งย่อมมีเวาเกิดดับ)
    แต่ รูปมีการเกิดดับหรือไม่ ถ้ามีการเกิดดับเสียแล้ว รูปนั้นก็ยังต้องอาศัยปัจจัยในการเกิดขึ้นและดับไปของตัวมันเอง (สรรพสิ่งที่เกิดมีมาย่อมมีปัจจัยให้เกิดดับ เช่นมีคนสร้างมันขึ้นมา สร้างจากวัสดุที่มันเป็นมา)

    เอาแค่นี้ก่อนแล้วกัน เดี๋ยวจะเยอะ
    ถ้าอัตตาที่่ท่านเจ้าของกระทูท่านว่ามีอยู่ ทำไมมันยังอยุ่ภายใต้กฏแห่งกาลเวลา
    ถ้าอย่างนั้น ก่อนหน้าที่มันจะบังเกิด และหลังจากท่ีมันหมดวาระไปแล้ว มันหายไปใหน
    หรืออัตตานี้มันไม่ได้มีอยู่จริง หรือเพียงเพราะท่านสมมตุมัน

    จากข้อสอง ถ้าสิ่งที่ท่านว่ามีอยู่จริง แต่ถ้ามันปราศจากแล้วซึ่งปัจจัยแห่งการเกิดและดับ สิ่งนั้นจะยังคงตั้งสถานะเช่นนั้นได้หรือไม่ (เช่นหม้อต้องมีคนปั้น ปั้นโดยใช้วัสตุและกระบวนการต่าง ๆ ขาดซึ่งอย่างใดอย่างหนึ่ง ก็ไม่ได้)
    ถ้าเช่นนั้นสิ่งที่ท่าว่ามันเป็นอัตตา มันมีอยู่หรือไม่ ทั้ง ๆ ที่สรรพสิ่งทั้งมวลยังต้องอาศัยปัจจัยในการดำรงซึ่งสภาวะของมันเอง หรือสรรพสิ่งเป็นเพียงสิ่งสมมติ

    สรุป พระพุทธองค์ ทรงสรุปโดยรวมว่า สัพเพธัมมา อนัตตา
    ขอให้ลงลึกเรื่องรายละเอียด สิ่งที่สมมติมันก็ไม่ได้มีอยู ตั้งอยู่ได้ด้วยตัวเอง
    มองให้ดี ว่าอัตตามีอยุ่หรือแค่ท่านรู้สึกว่ามันมี มันถึงมีอยุ่กันแน่
     
  6. ลูกบัวผัน

    ลูกบัวผัน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 กุมภาพันธ์ 2010
    โพสต์:
    187
    ค่าพลัง:
    +295
    สังขารขันธ์หรือบางทีก็เรียกกันย่อๆว่าสังขาร ย่อมเป็นสังขารที่หมายถึงสิ่งปรุงแต่งที่เกิดแต่เหตุปัจจัยในพระไตรลักษณ์ด้วย
    สังขารที่กล่าวในคราวนี้ หมายถึง สังขารขันธ์หรือสังขารในขันธ์ ๕ ซึ่งย่อมมีความหมายถึงสิ่งปรุงแต่งที่เฉพาะตัวลงไปบ้าง กล่าวคือ
    สังขารขันธ์ - สภาพที่ปรุงแต่งทางใจให้เกิดการกระทำต่างๆ(กรรม)ขึ้น, เจตนาที่แต่งกรรม หรือปรุงแต่งการกระทำ มี ๓ อย่างด้วยกัน คือ
    ๑. กายสังขาร สภาพที่ปรุงแต่งการกระทำทางกาย คือ กายสัญเจตนา หรือการกระทำทางกาย
    ๒. วจีสังขาร สภาพที่ปรุงแต่งการกระทำทางวาจา คือ วจีสัญเจตนา หรือการกระทำทางวาจา
    ๓. จิตตสังขาร หรือมโนสังขาร สภาพที่ปรุงแต่งการกระทำทางใจ คือ มโนสัญเจตนา หรือการกระทำทางใจ

    สังขารทั้งปวงเป็นอนัตตา จึงย่อมครอบคลุมถึงขันธ์ ๕ ทั้ง รูป เวทนา สัญญา สังขารขันธ์ วิญญาณด้วย จึงล้วนเป็นอนัตตา ไม่ใช่อัตตา ด้วยทั้งสิ้น เป็นสิ่งที่ได้อ่านได้ยินอยู่เสมอๆ แม้จะกล่าวยืนยันดังนั้น ก็ยังมีการเข้าใจผิดดังมีกล่าวไว้แม้ในพระไตรปิฎกเกี่ยวกับผู้มีมิจฉาทิฏฐิในเรื่องนี้ เป็นปัญหาที่มีการถกเถียงกันมากปัญหาหนึ่ง และทำความเข้าใจได้ยาก ก่อให้เกิดความเข้าใจผิดหรือไขว้เขวกันมาช้านาน อันจักยังให้ทำความเข้าใจในพระไตรลักษณ์, ขันธ์ ๕ และปฏิจจสมุปบาทอย่างโลกุตระหรืออย่างปรมัตถ์ได้ยาก
    รูปเป็นอนัตตา เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ เป็น อนัตตา
    กรรมที่อนัตตากระทำ จักถูกต้องอัตตาคือกรรมได้อย่างไร?


     
  7. ลูกบัวผัน

    ลูกบัวผัน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 กุมภาพันธ์ 2010
    โพสต์:
    187
    ค่าพลัง:
    +295
    ธรรมทั้งปวงล้วนอนัตตา แล้วจะมากระทบอัตตาที่ไหนเล่า!

    [​IMG]
    สังขารขันธ์
    สังขารขันธ์ สภาพที่ปรุงแต่งทางใจให้เกิดกรรม(การกระทำ)ทางกาย วาจา ใจ
    สังขารขันธ์ ยังมีความหมายอีกอย่างว่า สภาพที่ปรุงแต่งชีวิต นั่นเอง
    สภาพที่ปรุงแต่งชีวิตมี ๓ เช่นกัน คือ
    ๑. กายสังขาร สภาพที่ปรุงแต่งกาย ได้แก่
    อัสสาสะคือลมหายใจเข้า ปัสสาสะคือลมหายใจออก, พระองค์ท่านจึงจัดอานาปานสติ ที่ใช้ลมหายใจเข้าออกเป็นวิตกหรืออารมณ์ว่าเป็น กายานุปัสสนาในสติปัฏฐาน ๔
    ๒. วจีสังขาร สภาพที่ปรุงแต่งวาจา ได้แก่
    วิตกและวิจาร กล่าวคือ ย่อมมีการคิด ตริตรึก และตรอง จึงเกิดวาจาการพูดขึ้น
    ๓. จิตตสังขาร สภาพที่ปรุงแต่งใจ ได้แก่
    สัญญาและเวทนา กล่าวคือ สัญญาหรือความจำได้หมายรู้ และเวทนาหรือความรู้สึก เป็นเหตุปรุงแต่งจิตสังขารเช่นความคิดต่างๆหรือธรรมารมณ์ขึ้น นั่นเอง
     

แชร์หน้านี้

Loading...