อัตตานุทิฐิ ที่เราทุกคนควรรู้ ขอขอบพระคุณ คุณลุงขันธ์ ที่แนะนำ ต้องอ่านถึงจะเข้าใจครับ

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย kengkenny, 17 กรกฎาคม 2009.

  1. kengkenny

    kengkenny เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 ธันวาคม 2008
    โพสต์:
    2,878
    ค่าพลัง:
    +2,500
    พระไตรปิฎก เล่มที่ ๓๑ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๒๓ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค



    </PRE>
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="90%" align=center background="" border=0><TBODY><TR><TD>[​IMG]</TD><TR><TD width="100%" bgColor=darkblue vspace="0" hspace="0">[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE>


    [๓๑๒] อัตตานุทิฐิ มีความถือผิดด้วยอาการ ๒๐ เป็นไฉน ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับในโลกนี้ ไม่ได้เห็นพระอริยเจ้า ไม่ฉลาดในธรรมของพระอริยเจ้าไม่ได้รับแนะนำในธรรมของพระอริยเจ้า ไม่ได้เห็นสัปบุรุษ ไม่ฉลาดในธรรมของสัปบุรุษ ไม่ได้รับแนะนำในธรรมของสัปบุรุษ ย่อมเห็นรูปโดยความเป็นตนบ้าง เห็นตนว่ามีรูปบ้าง เห็นรูปในตนบ้าง เห็นตนในรูปบ้าง ย่อมเห็นเวทนาสัญญา สังขาร วิญญาณ โดยความเป็นตนเอง เห็นตนว่ามีวิญญาณบ้าง เห็นวิญญาณในตนบ้าง เห็นตนในวิญญาณบ้าง ฯ

    [๓๑๓] ปุถุชนย่อมเห็นรูปโดยความเป็นตนอย่างไร ฯ บุคคลบางคนในโลกนี้ ย่อมเห็นปฐวีกสิณโดยความเป็นตน คือ ย่อมเห็นปฐวีกสิณและตนไม่เป็นสองว่า ปฐวีกสิณอันใด เราก็อันนั้น เราอันใดปฐวีกสิณก็อันนั้น เปรียบเหมือนเมื่อประทีป น้ำมันกำลังลุกโพลงอยู่ บุคคลเห็นเปลวไฟและแสงสว่างไม่เป็นสองว่า เปลวไฟอันใด แสงสว่างก็อันนั้น แสงสว่างอันใด เปลวไฟก็อันนั้น ฉันใด บุคคลบางคนในโลกนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกันย่อมเห็นปฐวีกสิณโดยความเป็นตน คือ ย่อมเห็นปฐวีกสิณและตนไม่เป็นสองว่าปฐวีกสิณอันใด เราก็อันนั้น เราอันใด ปฐวีกสิณก็อันนั้น ทิฐิ คือ ความลูบคลำด้วยความถือผิด ทิฐิไม่ใช่วัตถุ วัตถุไม่ใช่ทิฐิ ทิฐิเป็นอย่างหนึ่ง วัตถุเป็นอย่างหนึ่ง ทิฐิและวัตถุนี้เป็นอัตตานุทิฐิมีรูปเป็นวัตถุที่ ๑ อัตตานุทิฐิเป็นมิจฉา-*ทิฐิ เป็นทิฐิวิบัติ บุรุษบุคคลผู้ประกอบด้วยอัตตานุทิฐิ ย่อมมีคติเป็นสอง ฯลฯเหล่านี้เป็นสังโยชน์ แต่มิใช่ทิฐิ ฯ บุคคลบางคนในโลกนี้ ย่อมเห็นอาโปกสิณ เตโชกสิณ วาโยกสิณนีลกสิณ ปีตกสิณ โลหิตกสิณ โอทาตกสิณ โดยความเป็นตน คือ ย่อมเห็นโอทาตกสิณและตนไม่เป็นสองว่า โอทาตกสิณอันใด เราก็อันนั้น เราอันใดโอทาตกสิณก็อันนั้น เปรียบเหมือนเมื่อประทีปน้ำมันกำลังลุกโพลงอยู่ บุคคลเห็นเปลวไฟและแสงสว่างไม่เป็นสองว่า เปลวไฟอันใด แสงสว่างก็อันนั้น แสงสว่างอันใด เปลวไฟก็อันนั้น ฉันใด บุคคลบางคนในโลกนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกันฯลฯ ย่อมเห็นโอทาตกสิณและตนไม่เป็นสอง ทิฐิ คือ ความลูบคลำด้วยความถือผิด ทิฐิไม่ใช่วัตถุ วัตถุไม่ใช่ทิฐิ ทิฐิเป็นอย่างหนึ่ง วัตถุเป็นอย่างหนึ่งทิฐิและวัตถุนี้เป็นอัตตานุทิฐิมีรูปเป็นวัตถุที่ ๑ อัตตานุทิฐิเป็นมิจฉาทิฐิ เป็นทิฐิ-*วิบัติ ฯลฯ เหล่านี้เป็นสังโยชน์ แต่ไม่ใช่ทิฐิ บุคคลย่อมเห็นรูปโดยความเป็นตนอย่างนี้ ฯ

    [๓๑๔] ปุถุชนย่อมเห็นตนว่ามีรูปอย่างไร ฯ บุคคลบางคนในโลกนี้ ย่อมเห็นเวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณโดยความเป็นตน เขามีความเห็นอย่างนี้ว่า นี้แลเป็นตัวตนของเรา แต่ตัวตนของเรานี้นั้นมีรูปด้วยรูปนี้ ดังนี้ ชื่อว่า ย่อมเห็นตนว่ามีรูป เปรียบเหมือนต้นไม้มีเงา บุรุษพึงพูดถึงต้นไม้นั้นอย่างนี้ว่า นี่ต้นไม้ นี่เงา ต้นไม้เป็นอย่างหนึ่งเงาเป็นอย่างหนึ่ง แต่ต้นไม้นี้นั้นแลมีเงาด้วยเงานี้ ดังนี้ ชื่อว่า ย่อมเห็นต้นไม้ว่ามีเงา ฉันใด บุคคลบางคนในโลกนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ย่อมเห็น เวทนา สัญญาสังขาร วิญญาณ โดยความเป็นตน เขามีความเห็นอย่างนี้ว่า นี้แลเป็นตัวตนของเรา แต่ตัวตนของเรานี้นั้นมีรูปด้วยรูปนี้ ดังนี้ ชื่อว่าย่อมเห็นตนว่ามีรูป ทิฐิคือ ความลูบคลำด้วยความถือผิด ทิฐิไม่ใช่วัตถุ วัตถุไม่ใช่ทิฐิ ทิฐิเป็นอย่างหนึ่งวัตถุเป็นอย่างหนึ่ง ทิฐิและวัตถุ นี้เป็นอัตตานุทิฐิ มีรูปเป็นวัตถุที่ ๒ อัตตานุทิฐิเป็นมิจฉาทิฐิ ฯลฯ เหล่านี้เป็นสังโยชน์ แต่ไม่ใช่ทิฐิ ปุถุชนย่อมเห็นตนว่ามีรูปอย่างนี้ ฯ

    [๓๑๕] ปุถุชนย่อมเห็นรูปในตนอย่างไร ฯ บุคคลบางคนในโลกนี้ ย่อมเห็นเวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณโดยความเป็นตน เขามีความเห็นอย่างนี้ว่า นี้แลเป็นตัวตนของเรา ก็แลในตัวตนนี้มีรูปเช่นนี้ ดังนี้ ชื่อว่าย่อมเห็นรูปในตน เปรียบเหมือนดอกไม้มีกลิ่นหอมบุรุษพึงพูดถึงดอกไม้นั้นอย่างนี้ว่า นี้ดอกไม้ นี้กลิ่นหอม ดอกไม้อย่างหนึ่งกลิ่นหอมอย่างหนึ่ง แต่กลิ่นหอมนี้นั้นแลมีอยู่ในดอกไม้นี้ ดังนี้ ชื่อว่า ย่อมเห็นกลิ่นหอมในดอกไม้ ฉันใด บุคคลบางคนในโลกนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกันย่อมเห็นเวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ โดยความเป็นตน เขาย่อมมีความเห็นอย่างนี้ว่า นี้แลเป็นตัวตนของเรา ก็แลในตัวตนนี้มีรูปเช่นนี้ ดังนี้ ชื่อว่าย่อมเห็นรูปในตน ทิฐิ คือ ความลูบคลำด้วยความถือผิด ทิฐิไม่ใช่วัตถุ วัตถุไม่ใช่ทิฐิฯลฯ นี้เป็นอัตตานุทิฐิมีรูปเป็นวัตถุที่ ๓ อัตตานุทิฐิเป็นมิจฉาทิฐิ ฯลฯ เหล่านี้เป็นสังโยชน์ แต่ไม่ใช่ทิฐิ ปุถุชนย่อมเห็นรูปในตนอย่างนี้ ฯ

    [๓๑๖] ปุถุชนย่อมเห็นตนในรูปอย่างไร ฯ บุคคลบางคนในโลกนี้ ย่อมเห็นเวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณโดยความเป็นตน เขามีความเห็นอย่างนี้ว่า นี้แลเป็นตัวตนของเรา แต่ตัวตนของเรานี้นั้นมีอยู่ในรูปนี้ ดังนี้ ชื่อว่าย่อมเห็นตนในรูป เปรียบเหมือนแก้วมณีที่ใส่ไว้ในขวด บุรุษพึงพูดถึงแก้วมณีนั้นอย่างนี้ว่า นี้แก้วมณี นี้ขวด แก้วมณีเป็นอย่างหนึ่ง ขวดเป็นอย่างหนึ่ง แต่แก้วมณีนี้นั้นแลมีอยู่ในขวดนี้ ดังนี้ชื่อว่าย่อมเห็นแก้วมณีในขวด ฉันใด บุคคลบางคนในโลกนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ย่อมเห็นเวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ โดยความเป็นตน เขามีความเห็นอย่างนี้ว่านี้แลเป็นตัวตนของเรา แต่ตัวตนของเรานี้นั้นแลมีอยู่ในรูปนี้ ดังนี้ ชื่อว่าย่อมเห็นตนในรูป ทิฐิ คือ ความลูบคลำด้วยความถือผิด ทิฐิไม่ใช่วัตถุ วัตถุไม่ใช่ทิฐิ ทิฐิเป็นอย่างหนึ่ง วัตถุเป็นอย่างหนึ่ง ทิฐิและวัตถุนี้เป็นอัตตานุทิฐิ มีรูปเป็นวัตถุที่ ๔ อัตตานุทิฐิเป็นมิจฉาทิฐิ ฯลฯ เหล่านี้เป็นสังโยชน์ แต่ไม่ใช่ทิฐิปุถุชนย่อมเห็นรูปในตนอย่างนี้ ฯ

    [๓๑๗] ปุถุชนย่อมเห็นเวทนาโดยความเป็นตนอย่างไร ฯ บุคคลบางคนในโลกนี้ ย่อมเห็นจักขุสัมผัสสชาเวทนา ... มโนสัมผัสสชาเวทนา โดยความเป็นตน คือ ย่อมเห็นมโนสัมผัสสชาเวทนาและตนไม่เป็นสองว่ามโนสัมผัสสชาเวทนาอันใด เราก็อันนั้นเราอันใด มโนสัมผัสสชาเวทนาก็อันนั้นเปรียบเหมือนเมื่อประทีปน้ำมันลุกโพลงอยู่ บุคคลย่อมเห็นเปลวไฟและแสงสว่างไม่เป็นสองว่า เปลวไฟอันใดแสงสว่างก็อันนั้น แสงสว่างอันใด เปลวไฟก็อันนั้นฉันใด บุคคลบางคนในโลกนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ย่อมเห็นมโนสัมผัสสชาเวทนาโดยความเป็นตน คือ ย่อมเห็นมโนสัมผัสสชาเวทนาและตนไม่เป็นสองว่า มโน-*สัมผัสสชาเวทนาอันใดเราก็อันนั้น เราอันใด มโนสัมผัสสชาเวทนาก็อันนั้น ทิฐิคือ ความลูบคลำด้วยความถือผิด ทิฐิไม่ใช่วัตถุ วัตถุไม่ใช่ทิฐิ ทิฐิเป็นอย่างหนึ่งวัตถุเป็นอย่างหนึ่ง ทิฐิและวัตถุ นี้เป็นอัตตานุทิฐิมีเวทนาเป็นวัตถุที่ ๑ อัตตานุทิฐิเป็นมิจฉาทิฐิ ฯลฯ เหล่านี้เป็นสังโยชน์ แต่ไม่ใช่ทิฐิ ปุถุชนย่อมเห็นเวทนาโดยความเป็นตนอย่างนี้ ฯ

    [๓๑๘] ปุถุชนย่อมเห็นตนว่ามีเวทนาอย่างไร ฯ บุคคลบางคนในโลกนี้ ย่อมเห็นสัญญา สังขาร วิญญาณ รูป โดยความเป็นตน เขามีความเห็นอย่างนี้ว่า นี้แลเป็นตัวตนของเรา แต่ว่าตัวตนของเรานี้นั้นแลมีเวทนาด้วยเวทนานี้ ดังนี้ชื่อว่าเห็นตนว่ามีเวทนา เปรียบเหมือนต้นไม้มีเงาบุรุษพึงพูดถึงต้นไม้นั้นอย่างนี้ว่า นี้ต้นไม้ นี้เงา ต้นไม้เป็นอย่างหนึ่ง เงาเป็นอย่างหนึ่ง แต่ว่าต้นไม้นี้นั้นแลมีเงาด้วยเงานี้ ดังนี้ ชื่อว่าย่อมเห็นต้นไม้มีเงาฉันใด บุคคลบางคนในโลกนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ย่อมเห็นสัญญา สังขาร วิญญาณรูป โดยความเป็นตน เขามีความเห็นอย่างนี้ว่า นี้แลเป็นตัวตนของเรา แต่ตัวตนของเรานี้นั้นแลมีเวทนาด้วยเวทนานี้ ดังนี้ ชื่อว่าย่อมเห็นตนว่ามีเวทนา ทิฐิ คือความลูบคลำด้วยความถือผิด ทิฐิไม่ใช่วัตถุ วัตถุไม่ใช่ทิฐิ ทิฐิเป็นอย่างหนึ่งวัตถุเป็นอย่างหนึ่ง ทิฐิและวัตถุนี้เป็นอัตตานุทิฐิมีเวทนาเป็นวัตถุที่ ๒ อัตตานุทิฐิเป็นมิจฉาทิฐิ ฯลฯ เหล่านี้เป็นสังโยชน์ แต่ไม่ใช่ทิฐิ ปุถุชนย่อมเห็นตนว่ามีเวทนาอย่างนี้ ฯ

    [๓๑๙] ปุถุชนย่อมเห็นเวทนาในตนอย่างไร ฯ บุคคลบางคนในโลกนี้ ย่อมเห็นสัญญา สังขาร วิญญาณ รูปโดยความเป็นตน เขามีความเห็นอย่างนี้ว่า นี้แลเป็นตัวตนของเรา ก็และในตัวตนนี้มีเวทนานี้ ดังนี้ ชื่อว่าย่อมเห็นเวทนาในตน เปรียบเหมือนดอกไม้มีกลิ่นหอมบุรุษพึงพูดถึงดอกไม้นั้นอย่างนี้ว่า นี้ดอกไม้ นี้กลิ่นหอม ดอกไม้เป็นอย่างหนึ่งกลิ่นหอมเป็นอย่างหนึ่ง แต่กลิ่นหอมมีอยู่ในดอกไม้นี้ ดังนี้ ชื่อว่าย่อมเห็นกลิ่นหอมในดอกไม้ ฉันใด บุคคลบางคนในโลกนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ย่อมเห็นสัญญา สังขาร วิญญาณ รูป โดยความเป็นตน เขามีความเห็นอย่างนี้ว่านี้แลเป็นตัวตนของเรา ก็แลในตัวตนนี้มีเวทนา ดังนี้ ชื่อว่าย่อมเห็นเวทนาในตนทิฐิ คือ ความลูบคลำด้วยความถือผิด ทิฐิไม่ใช่วัตถุ วัตถุไม่ใช่ทิฐิ ฯลฯนี้เป็นอัตตานุทิฐิมีเวทนาเป็นวัตถุที่ ๓ อัตตานุทิฐิเป็นมิจฉาทิฐิ ฯลฯ เหล่านี้เป็นสังโยชน์ แต่ไม่ใช่ทิฐิ ปุถุชนย่อมเห็นเวทนาในตนอย่างนี้ ฯ

    [๓๒๐] ปุถุชนย่อมเห็นตนในเวทนาอย่างไร ฯ บุคคลบางคนในโลกนี้ ย่อมเห็นสัญญา สังขาร วิญญาณ รูปโดยความเป็นตน เขามีความเห็นอย่างนี้ว่า นี้แลเป็นตัวตนของเรา แต่ว่าตัวตนของเรานี้นั้นแลมีอยู่ในเวทนานี้ ดังนี้ ชื่อว่าย่อมเห็นตนในเวทนา เปรียบเหมือนฯลฯ ชื่อว่าย่อมเห็นแก้วมณีในขวด ฉันใด บุคคลบางคนในโลกนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ... ชื่อว่า ย่อมเห็นตนในเวทนา ทิฐิ คือความลูบคลำด้วยความถือผิดทิฐิไม่ใช่วัตถุ วัตถุไม่ใช่ทิฐิ ทิฐิเป็นอย่างหนึ่ง วัตถุเป็นอย่างหนึ่ง ทิฐิและวัตถุนี้เป็นอัตตานุทิฐิมีเวทนาเป็นวัตถุที่ ๔ อัตตานุทิฐิเป็นมิจฉาทิฐิ ฯลฯ เหล่านี้เป็นสังโยชน์ แต่ไม่ใช่ทิฐิ ปุถุชนย่อมเห็นตนในเวทนาอย่างนี้ ฯ

    [๓๒๑] ปุถุชนย่อมเห็นสัญญาโดยความเป็นตนอย่างไร ฯ บุคคลบางคนในโลกนี้ ย่อมเห็นจักขุสัมผัสสชาสัญญา ... มโนสัมผัสสชาสัญญา โดยความเป็นตน คือ ย่อมเห็นมโนสัมผัสสชาสัญญาและตนไม่เป็นสองว่ามโนสัมผัสสชาสัญญาอันใด เราก็อันนั้น เราอันใด มโนสัมผัสสชาสัญญาก็อันนั้น เปรียบเหมือนเมื่อประทีปน้ำมันลุกโพลงอยู่ บุคคลย่อมเห็นเปลวไฟและแสงสว่างไม่เป็นสอง ... ฉันใด บุคคลบางคนในโลกนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ย่อมเห็นมโนสัมผัสสชาสัญญาและตนไม่เป็นสองว่า มโนสัมผัสสชาสัญญาอันใดเราก็อันนั้น เราอันใด มโนสัมผัสสชาสัญญาก็อันนั้น ทิฐิ คือ ความลูบคลำด้วยความถือผิด ทิฐิไม่ใช่วัตถุ วัตถุไม่ใช่ทิฐิ ทิฐิเป็นอย่างหนึ่ง วัตถุเป็นอย่างหนึ่งนี้เป็นอัตตานุทิฐิ มีสัญญาเป็นวัตถุที่ ๑ อัตตานุทิฐิเป็นมิจฉาทิฐิ ฯลฯ เหล่านี้เป็นสังโยชน์ แต่ไม่ใช่ทิฐิ ปุถุชนย่อมเห็นสัญญาโดยความเป็นตนอย่างนี้ ฯ

    [๓๒๒] ปุถุชนย่อมเห็นตนว่ามีสัญญาอย่างไร ฯ บุคคลบางคนในโลกนี้ ย่อมเห็นสังขาร วิญญาณ รูป เวทนา โดยความเป็นตน เขามีความเห็นอย่างนี้ว่า นี้แลเป็นตัวตนของเรา แต่ว่าตัวตนของเรานี้นั้นแลมีสัญญาด้วยสัญญานี้ ดังนี้ ชื่อว่าย่อมเห็นตนว่ามีสัญญา เปรียบเหมือนต้นไม้มีเงา ... ชื่อว่าย่อมเห็นต้นไม้ว่ามีเงา ฉันใด บุคคลบางคนในโลกนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ย่อมเห็นสังขาร วิญญาณ รูป เวทนา โดยความเป็นตน ... นี้เป็นอัตตานุฐิทิมีสัญญาเป็นวัตถุ ๒ อัตตานุทิฐิเป็นมิจฉาทิฐิ ฯลฯ เหล่านี้เป็นสังโยชน์ แต่ไม่ใช่ทิฐิ ปุถุชนย่อมเห็นตนว่ามีสัญญาอย่างนี้ ฯ

    [๓๒๓] ปุถุชนย่อมเห็นสัญญาในตนอย่างไร ฯ บุคคลบางคนในโลกนี้ ย่อมเห็นสังขาร วิญญาณ รูป เวทนา โดยความเป็นตน เขามีความเห็นอย่างนี้ว่า นี้แลเป็นตัวตนของเรา ก็แลในตัวตนนี้มีสัญญานี้ ดังนี้ ชื่อว่าย่อมเห็นสัญญาในตน เปรียบเหมือนดอกไม้มีกลิ่นหอม ...ชื่อว่าย่อมเห็นกลิ่นหอมในดอกไม้ ฉันใด บุคคลบางคนในโลกนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ย่อมเห็นสังขาร วิญญาณ รูป เวทนา โดยความเป็นตน ... นี้เป็นอัตตานุทิฐิมีสัญญาเป็นวัตถุที่ ๓ อัตตานุทิฐิเป็นมิจฉาทิฐิ ฯลฯ เหล่านี้เป็นสังโยชน์แต่ไม่ใช่ทิฐิ ปุถุชนย่อมเห็นสัญญาในตนอย่างนี้ ฯ

    [๓๒๔] บุคคลย่อมเห็นตนในสัญญาอย่างไร ฯ บุคคลบางคนในโลกนี้ ย่อมเห็นสังขาร วิญญาณ รูป เวทนา โดยความเป็นตน เขามีความเห็นอย่างนี้ว่า นี้เป็นตัวตนของเรา แต่ว่าตัวตนของเรานี้นั้นแลมีอยู่ในสัญญานี้ ดังนี้ ชื่อว่าย่อมเห็นตนในสัญญา เปรียบเหมือนแก้วมณีที่เขาใส่ไว้ในขวด ... ชื่อว่าย่อมเห็นแก้วมณีในขวด ฉันใด บุคคลบางคนในโลกนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ย่อมเห็นสังขาร วิญญาณ รูป เวทนา โดยความเป็นตน ... นี้เป็นอัตตานุทิฐิมีสัญญาเป็นวัตถุที่ ๔ อัตตานุทิฐิเป็นมิจฉาทิฐิ ฯลฯเหล่านี้เป็นสังโยชน์ แต่ไม่ใช่ทิฐิ ปุถุชนย่อมเห็นตนในสัญญาอย่างนี้ ฯ

    [๓๒๕] ปุถุชนย่อมเห็นสังขารโดยความเป็นตนอย่างไร ฯ บุคคลบางคนในโลกนี้ ย่อมเห็นจักขุสัมผัสสชาเจตนา ... มโนสัมผัสสชาเจตนา โดยความเป็นตน คือ ย่อมเห็นมโนสัมผัสสชาเจตนาและตนไม่เป็นสองว่ามโนสัมผัสสชาเจตนาอันใด เราก็อันนั้น เราอันใด มโนสัมผัสสชาเจตนาก็อันนั้นเปรียบเหมือนเมื่อประทีปน้ำมันกำลังลุกโพลงอยู่ บุคคลย่อมเห็นเปลวไฟและแสงสว่างไม่เป็นสอง ... ฉันใด บุคคลบางคนในโลกนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ย่อมเห็นมโนสัมผัสสชาเจตนาโดยความเป็นตน ... นี้เป็นอัตตานุทิฐิมีสังขารเป็นวัตถุที่ ๑ อัตตานุทิฐิเป็นมิจฉาทิฐิ ฯลฯ เหล่านี้เป็นสังโยชน์ แต่ไม่ใช่ทิฐิ ปุถุชนย่อมเห็นสังขารโดยความเป็นตนอย่างนี้ ฯ

    [๓๒๖] ปุถุชนย่อมเห็นตนว่ามีสังขารอย่างไร ฯ บุคคลบางคนในโลกนี้ ย่อมเห็นวิญญาณ รูป เวทนา สัญญา โดยความเป็นตน เขามีความเห็นอย่างนี้ว่า นี้แลเป็นตัวตนของเรา แต่ตัวตนของเรานี้นั้นแลมีสังขารด้วยสังขารนี้ ดังนี้ ชื่อว่าย่อมเห็นตนมีสังขาร เปรียบเหมือนต้นไม้มีเงา บุรุษพึงพูดถึงต้นไม้นั้นอย่างนี้ ... ดังนี้ ชื่อว่าย่อมเห็นว่าต้นไม้มีเงาฉันใด บุคคลบางคนในโลกนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ย่อมเห็นวิญญาณ รูป เวทนาสัญญา โดยความเป็นตน ... นี้เป็นอัตตานุทิฐิมีสังขารเป็นวัตถุที่ ๒ อัตตานุทิฐิเป็นมิจฉาทิฐิ ฯลฯ เหล่านี้เป็นสังโยชน์ แต่ไม่ใช่ทิฐิ ปุถุชนย่อมเห็นตนว่ามีสังขารอย่างนี้ ฯ

    [๓๒๗] ปุถุชนย่อมเห็นสังขารในตนอย่างไร ฯ บุคคลบางคนในโลกนี้ ย่อมเห็นวิญญาณ รูป เวทนา สัญญา โดยความเป็นตน เขามีความเห็นอย่างนี้ว่า นี้แลเป็นตัวตนของเรา ก็แลในตัวตนนี้มีสังขารเหล่านี้ ดังนี้ ชื่อว่าย่อมเห็นสังขารในตนเปรียบเหมือนดอกไม้มีกลิ่น-*หอม ... ฉันใด บุคคลบางคนในโลกนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ย่อมเห็นวิญญาณ รูปเวทนา สัญญา โดยความเป็นตน ... นี้เป็นอัตตานุทิฐิมีสังขารเป็นวัตถุที่ ๓ อัตตานุ-*ทิฐิเป็นมิจฉาทิฐิ ฯลฯ เหล่านี้เป็นสังโยชน์ แต่ไม่ใช่ทิฐิ ปุถุชนย่อมเห็นสังขารในตนอย่างนี้ ฯ

    [๓๒๘] ปุถุชนย่อมเห็นตนในสังขารอย่างไร ฯ บุคคลบางคนในโลกนี้ ย่อมเห็นวิญญาณ รูป เวทนา สัญญา โดยความเป็นตน เขามีความเห็นอย่างนี้ว่า นี้แลเป็นตัวตนของเรา แต่ว่าตัวตนของเรานี้นั้นแลมีอยู่ในสังขารนี้ ดังนี้ ชื่อว่าย่อมเห็นตนในสังขาร เปรียบเหมือนแก้วมณีที่เขาใส่ไว้ในขวด ... ชื่อว่าเห็นแก้วมณีในขวด ฉันใด บุคคลบางคนในโลกนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ย่อมเห็นวิญญาณ รูป เวทนา สัญญา โดยความเป็นตน ...นี้เป็นอัตตานุทิฐิมีสังขารเป็นวัตถุที่ ๔ อัตตานุทิฐิเป็นมิจฉาทิฐิ ฯลฯ เหล่านี้เป็นสังโยชน์ แต่ไม่ใช่ทิฐิ ปุถุชนย่อมเห็นตนในสังขารอย่างนี้ ฯ

    [๓๒๙] ปุถุชนย่อมเห็นวิญญาณโดยความเป็นตนอย่างไร ฯ บุคคลบางคนในโลกนี้ ย่อมเห็นจักขุวิญญาณ ... มโนวิญญาณ โดยความเป็นตน คือ ย่อมเห็นมโนวิญญาณและตนไม่เป็นสองว่า มโนวิญญาณอันใด เราก็อันนั้น เราอันใด มโนวิญญาณก็อันนั้น เปรียบเหมือนประทีปน้ำมันอันลุกโพลงอยู่ บุคคลย่อมเห็นเปลวไฟและแสงสว่างไม่เป็นสอง ... ฉันใดบุคคลบางคนในโลกนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ย่อมเห็นมโนวิญญาณโดยความเป็นตน... นี้เป็นอัตตานุทิฐิมีวิญญาณเป็นวัตถุที่ ๑ อัตตานุทิฐิเป็นมิจฉาทิฐิ ฯลฯ เหล่านี้เป็นสังโยชน์ แต่ไม่ใช่ทิฐิ ปุถุชนย่อมเห็นวิญญาณโดยความเป็นตนอย่างนี้ ฯ

    [๓๓๐] ปุถุชนย่อมเห็นตนว่ามีวิญญาณอย่างไร ฯ บุคคลบางคนในโลกนี้ ย่อมเห็นรูป เวทนา สัญญา สังขารโดยความเป็นตน เขามีความเห็นอย่างนี้ว่า นี้แลเป็นตัวตนของเราแต่ว่าตัวตนของเรานี้นั้นแลมีวิญญาณด้วยวิญญาณนี้ ดังนี้ ชื่อว่าย่อมเห็นตนว่ามีวิญญาณ เปรียบเหมือนต้นไม้มีเงา ... ชื่อว่าย่อมเห็นต้นไม้ว่ามีเงา ฉันใด บุคคลบางคนในโลกนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ย่อมเห็นรูป เวทนา สัญญา สังขาร โดยความเป็นตน นี้เป็นอัตตานุทิฐิมีวิญญาณเป็นวัตถุที่ ๒ อัตตานุทิฐิเป็นมิจฉาทิฐิ ฯลฯ เหล่านี้เป็นสังโยชน์ แต่ไม่ใช่ทิฐิ ปุถุชนย่อมเห็นตนว่ามีวิญญาณอย่างนี้ ฯ

    [๓๓๑] ปุถุชนย่อมเห็นวิญญาณในตนอย่างไร ฯ บุคคลบางคนในโลกนี้ ย่อมเห็นรูป เวทนา สัญญา สังขาร โดยความเป็นตน เขามีความเห็นอย่างนี้ว่า นี้แลเป็นตัวตนของเรา ก็แลในตัวตนนี้มีวิญญาณนี้ ดังนี้ ชื่อว่าย่อมเห็นวิญญาณในตน เปรียบเหมือนดอกไม้มีกลิ่นหอม... ฉันใด บุคคลบางคนในโลกนี้ ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ย่อมเห็นรูป เวทนาสัญญา สังขาร โดยความเป็นตน ... นี้เป็นอัตตานุทิฐิมีวิญญาณเป็นวัตถุที่ ๓อัตตานุทิฐิเป็นมิจฉาทิฐิ ฯลฯ เหล่านี้เป็นสังโยชน์ แต่ไม่ใช่ทิฐิปุถุชน ย่อมเห็นวิญญาณในตนอย่างนี้ ฯ

    [๓๓๒] ปุถุชนย่อมเห็นตนในวิญญาณอย่างไร ฯ บุคคลบางคนในโลกนี้ ย่อมเห็นรูป เวทนา สัญญา สังขาร โดยความเป็นตน เขามีความเห็นอย่างนี้ว่า นี้แลเป็นตัวตนของเรา แต่ว่าตัวตนของเรานี้นั้นแลมีอยู่ในวิญญาณนี้ ดังนี้ ชื่อว่าย่อมเห็นตนในวิญญาณ เปรียบเหมือนแก้วมณีที่เขาใส่ไว้ในขวด ... ชื่อว่าย่อมเห็นแก้วมณีในขวด ฉันใด บุคคลบางคนในโลกนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ย่อมเห็นรูป เวทนา สัญญา สังขาร โดยความเป็นตน นี้เป็นอัตตานุทิฐิมีวิญญาณเป็นวัตถุที่ ๔ ฯลฯ เหล่านี้เป็นสังโยชน์แต่ไม่ใช่ทิฐิ ปุถุชนย่อมเห็นตนในวิญญาณอย่างนี้ อัตตานุทิฐิมีความถือผิดด้วยอาการ ๒๐ เหล่านี้ ฯ

    [๓๓๓] มิจฉาทิฐิมีความถือผิดด้วยอาการ ๑๒ เป็นไฉน ฯ ทิฐิ คือ ความลูบคลำด้วยความถือผิดแห่งมิจฉาทิฐิอันกล่าวถึงวัตถุอย่างนี้ว่า ทานที่ให้แล้วไม่มีผล ทิฐิไม่ใช่วัตถุ วัตถุไม่ใช่ทิฐิ ทิฐิเป็นอย่างหนึ่งวัตถุเป็นอย่างหนึ่ง ทิฐิและวัตถุ นี้เป็นมิจฉาทิฐิมีวัตถุผิดที่ ๑ มิจฉาทิฐิเป็นทิฐิวิบัติ ฯลฯ เหล่านี้เป็นสังโยชน์ แต่ไม่ใช่ทิฐิ ทิฐิ คือ ความลูบคลำด้วยความถือผิดแห่งมิจฉาทิฐิอันกล่าวถึงวัตถุอย่างนี้ว่า ยัญที่บูชาแล้วไม่มีผล ฯลฯ การเซ่นสรวงไม่มีผล ผลวิบากแห่งกรรมที่บุคคลทำดีทำชั่วไม่มี โลกนี้ไม่มีโลกหน้าไม่มี มารดาไม่มี บิดาไม่มี สัตว์ผู้ผุดเกิดขึ้นก็ไม่มี สมณพราหมณ์ผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ ผู้ทำโลกนี้และโลกหน้าให้แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่งเองแล้วสั่งสอนประชุมชนให้รู้ตาม ไม่มีในโลก ทิฐิไม่ใช่วัตถุ วัตถุไม่ใช่ทิฐิ ทิฐิเป็นอย่างหนึ่ง วัตถุเป็นอย่างหนึ่ง ทิฐิและวัตถุ นี้เป็นมิจฉาทิฐิมีวัตถุ ๑๐ มิจฉาทิฐิเป็นทิฐิวิบัติ ฯลฯ บุรุษบุคคลผู้ประกอบด้วยมิจฉาทิฐิ ย่อมมีคติเป็น ๒ ฯลฯ เหล่านี้เป็นสังโยชน์ แต่ไม่ใช่ทิฐิ มิจฉาทิฐิมีความถือผิดด้วยอาการ ๑๐ เหล่านี้ ฯ

    [๓๓๔] สักกายทิฐิมีความถือผิดด้วยอาการ ๒๐ เป็นไฉน ฯ ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับแล้วในโลกนี้ มิได้เห็นพระอริยะเจ้า ไม่ฉลาดในธรรมของพระอริยะเจ้า ไม่ได้รับแนะนำในธรรมของพระอริยะเจ้า ไม่ได้เห็นสัปบุรุษไม่ฉลาดในธรรมของสัปบุรุษ ไม่ได้รับแนะนำในธรรมของสัปบุรุษ ย่อมเห็นรูปโดยความเป็นตนบ้าง เห็นตนว่ามีรูปบ้าง เห็นรูปในตนบ้าง เห็นตนในรูปบ้างย่อมเห็นเวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ โดยความเป็นตนบ้าง เห็นตนว่ามีวิญญาณบ้าง เห็นตนในวิญญาณบ้าง เห็นวิญญาณในตนบ้าง ฯ ปุถุชนย่อมเห็นรูปโดยความเป็นตนอย่างไร ฯ บุคคลบางคนในโลกนี้ ย่อมเห็นปฐวีกสิณ ฯลฯ โอทาตกสิณโดยความเป็นตน คือ ย่อมเห็นโอทาตกสิณและตนไม่เป็นสองว่า โอทาตกสิณอันใด เราก็อันนั้น เราอันใด โอทาตกสิณก็อันนั้น เปรียบเหมือนเมื่อประทีปน้ำมันลุกโพลงอยู่ ฯลฯ ฉันใด บุคคลบางคนในโลกนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ย่อมเห็นโอทาตก-*สิณโดยความเป็นตน ทิฐิ คือ ความลูบคลำด้วยความถือผิด ฯลฯ นี้เป็นสักกาย-*ทิฐิมีรูปเป็นวัตถุที่ ๑ สักกายทิฐิเป็นมิจฉาทิฐิ ฯลฯ เหล่านี้เป็นสังโยชน์ แต่มิใช่ทิฐิ ปุถุชนย่อมเห็นรูปโดยความเป็นตนอย่างนี้ ฯลฯ สักกายทิฐิมีความถือผิดด้วยอาการ ๒๐ เหล่านี้ ฯ

    [๓๓๕] สัสสตทิฐิมีสักกายทิฐิเป็นวัตถุ มีความถือผิดด้วยอาการ ๑๕เป็นไฉน ฯ ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับในโลกนี้ ไม่ได้เห็นพระอริยะเจ้า ... ไม่ได้รับแนะนำในธรรมของสัปบุรุษ ย่อมเห็นตนว่ามีรูปบ้าง เห็นรูปในตนบ้าง เห็นตนในรูปบ้างเห็นตนว่ามีเวทนาบ้าง เห็นตนว่ามีสัญญาบ้าง เห็นตนว่ามีสังขารบ้าง เห็นตนว่ามีวิญญาณบ้าง เห็นวิญญาณในตนบ้าง เห็นตนในวิญญาณบ้าง ฯ ปุถุชนย่อมเห็นตนว่ามีรูปอย่างไร ฯ บุคคลบางคนในโลกนี้ ย่อมเห็นเวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ โดยความเป็นตน เขามีความเห็นอย่างนี้ว่า นี้แลเป็นตัวตนของเรา แต่ว่าตัวตนของเรานี้นั้นแล มีรูปด้วยรูปนี้ ดังนี้ ชื่อว่าย่อมเห็นตนว่ามีรูป เปรียบเหมือนต้นไม้มีเงา บุรุษพึงพูดถึงต้นไม้นั้นอย่างนี้ว่า นี้ต้นไม้ นี้เงา ต้นไม้เป็นอย่างหนึ่ง เงาเป็นอย่างหนึ่ง แต่ว่าต้นไม้นี้นั้นแล มีเงาด้วยเงานี้ ดังนี้ ชื่อว่าย่อมเห็นต้นไม้ว่ามีเงา ฉันใด บุคคลบางคนในโลกนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ย่อมเห็นเวทนา... โดยความเป็นตน นี้เป็นสัสสตทิฐิอันมีสักกายทิฐิเป็นวัตถุที่ ๑ สัสสตทิฐิเป็นมิจฉาทิฐิ ฯลฯ เหล่านี้เป็นสังโยชน์ แต่ไม่ใช่ทิฐิ ปุถุชนย่อมเห็นตนว่ามีรูปอย่างนี้ ฯลฯ สัสสตทิฐิอันมีสักกายทิฐิเป็นวัตถุ มีความถือผิดด้วยอาการ ๑๕เหล่านี้ ฯ

    [๓๓๖] อุจเฉททิฐิอันมีสักกายเป็นวัตถุ มีความถือผิดด้วยอาการ ๑๕เป็นไฉน ฯ ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับในโลกนี้ ไม่ได้เห็นพระอริยะเจ้า ... ไม่ได้รับแนะนำในธรรมของสัปบุรุษ ย่อมเห็นรูปโดยความเป็นตน เห็นเวทนาโดยความเป็นตนเห็นสัญญาโดยความเป็นตน เห็นสังขารโดยความเป็นตน เห็นวิญญาณโดยความเป็นตน ฯ ปุถุชนย่อมเห็นรูปโดยความเป็นตนอย่างไร ฯ บุคคลบางคนในโลกนี้ ย่อมเห็นปฐวีกสิณ ฯลฯ โอทาตกสิณโดยความเป็นตน คือ ย่อมเห็นโอทาตกสิณและตนไม่เป็นสองว่า โอทาตกสิณอันใด เราก็อันนั้น เราอันใด โอทาตกสิณก็อันนั้น เปรียบเหมือนเมื่อประทีปน้ำมันลุกโพลงอยู่ ฯลฯ นี้เป็นอุจเฉททิฐิอันมีสักกายทิฐิเป็นวัตถุที่ ๑ อุจเฉททิฐิเป็นมิจฉาทิฐิฯลฯ เหล่านี้เป็นสังโยชน์ แต่มิใช่ทิฐิ ปุถุชนย่อมเห็นรูปโดยความเป็นตนอย่างนี้ ฯลฯ อุจเฉททิฐิอันมีสักกายเป็นวัตถุ มีความถือผิดด้วยอาการ ๑๕ เหล่านี้ ฯ

    [๓๓๗] อันตคาหิกทิฐิมีความถือผิดด้วยอาการ ๕๐ เป็นไฉน ฯ ทิฐิอันถือเอาที่สุดว่า โลกเที่ยง โลกไม่เที่ยง โลกมีที่สุด โลกไม่มีที่สุด ชีพอันนั้น สรีระก็อันนั้น ชีพเป็นอื่น สรีระก็เป็นอื่น สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายแล้วย่อมเป็นอีก สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายแล้ว ย่อมไม่เป็นอีก สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายแล้วย่อมเป็นอีกก็มี ย่อมไม่เป็นอีกก็มี สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายแล้วย่อมเป็นอีกก็หามิได้ย่อมไม่เป็นอีกก็หามิได้ ย่อมถือผิดด้วยอาการเท่าไร ฯ ทิฐิอันถือเอาที่สุดว่า โลกเที่ยง ย่อมถือผิดด้วยอาการ ๕ ฯลฯ ทิฐิอันถือเอาที่สุดว่า สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายแล้วย่อมเป็นอีกก็หามิได้ ย่อมไม่เป็นอีกก็หามิได้ ย่อมถือผิดด้วยอาการ ๕ ฯ

    [๓๓๘] ทิฐิอันถือเอาที่สุดว่า โลกเที่ยง ย่อมถือผิดด้วยอาการ ๕เป็นไฉน ฯ ทิฐิ คือ ความลูบคลำด้วยความถือผิดว่า รูปเป็นโลกและเป็นของเที่ยงทิฐินั้นถือเอาที่สุดเช่นนั้น เพราะฉะนั้นจึงชื่อว่า อันตคาหิกทิฐิ ทิฐิไม่ใช่วัตถุวัตถุไม่ใช่ทิฐิ ทิฐิและวัตถุ นี้เป็นทิฐิที่ถือเอาที่สุดว่าโลกเที่ยงที่ ๑ อันตคาหิกทิฐิเป็นมิจฉาทิฐิ ฯลฯ เหล่านี้เป็นสังโยชน์ แต่ไม่ใช่ทิฐิ ทิฐิ คือ ความลูบคลำด้วยความถือผิดว่า เวทนาเป็นโลกและเป็นของเที่ยง ฯลฯ สัญญาเป็นโลกและเป็นของเที่ยง ฯลฯ สังขารเป็นโลกและเป็นของเที่ยง ฯลฯ วิญญาณเป็นโลกและเป็นของเที่ยง ฯลฯ ทิฐินั้นถือเอาที่สุด เช่นนั้น เพราะฉะนั้นจึงชื่อว่า อันตคาหิกทิฐิทิฐิไม่ใช่วัตถุ ... นี้เป็นทิฐิที่ถือเอาที่สุดว่าโลกเที่ยงที่ ๕ อันตคาหิกทิฐิเป็นมิจฉา-*ทิฐิ ฯลฯ เหล่านี้เป็นสังโยชน์ แต่ไม่ใช่ทิฐิ ทิฐิอันถือเอาที่สุดว่า โลกเที่ยงย่อมถือผิดด้วยอาการ ๕ เหล่านี้ ฯ

    [๓๓๙] ทิฐิอันถือเอาที่สุดว่า โลกไม่เที่ยง ย่อมถือผิดด้วยอาการ ๕เป็นไฉน ฯ ทิฐิ คือ ความลูบคลำด้วยความถือผิดว่า รูปเป็นโลกและเป็นของไม่เที่ยงทิฐินั้นถือเอาที่สุดเช่นนั้น เพราะฉะนั้นจึงชื่อว่า อันตคาหิกทิฐิ ฯลฯ นี้เป็นทิฐิที่ถือเอาที่สุดว่าโลกไม่เที่ยงที่ ๑ อันตคาหิกทิฐิเป็นมิจฉาทิฐิ ฯลฯ เหล่านี้เป็นสังโยชน์ แต่ไม่ใช่ทิฐิ ฯลฯ ทิฐิ คือ ความลูบคลำด้วยความถือผิดว่า เวทนาเป็นโลกและเป็นของไม่เที่ยง ฯลฯ สัญญาเป็นโลกและเป็นของไม่เที่ยง ฯลฯ สังขารเป็นโลกและเป็นของไม่เที่ยง วิญญาณเป็นโลกและเป็นของไม่เที่ยง ทิฐินั้นถือเอาที่สุดเช่นนั้น เพราะฉะนั้นจึงชื่อว่า อนตคาหิกทิฐิ อันตคาหิกทิฐิเป็นมิจฉา-*ทิฐิ ฯลฯ เหล่านี้เป็นสังโยชน์ แต่ไม่ใช่ทิฐิ ทิฐิอันถือเอาที่สุดว่า โลกไม่เที่ยงย่อมถือผิดด้วยอาการ ๕ เหล่านี้ ฯ

    [๓๔๐] ทิฐิอันถือเอาที่สุดว่า โลกมีที่สุด ย่อมถือผิดด้วยอาการ ๕เป็นไฉน ฯ บุคคลบางคนในโลกนี้ ทำสีเขียวแผ่ไปสู่โอกาสนิดหน่อย เขามีความเห็นอย่างนี้ว่าโลกนี้มีที่สุดกลม ดังนี้ เขาจึงมีความสำคัญว่าโลกมีที่สุด ทิฐิ คือความลูบคลำด้วยความถือผิดว่า ที่ที่แผ่ไปนั้นเป็นวัตถุและเป็นโลก เครื่องที่แผ่ไปนั้นเป็นตนและเป็นโลก ทิฐินั้นถือเอาที่สุดเช่นนั้น เพราะฉะนั้นจึงชื่อว่าอันตคาหิกทิฐิ ทิฐิไม่ใช่วัตถุ วัตถุไม่ใช่ทิฐิ ทิฐิเป็นอย่างหนึ่ง วัตถุเป็นอย่างหนึ่งทิฐิและวัตถุ นี้เป็นทิฐิอันถือเอาที่สุดว่าโลกมีที่สุดที่ ๑ อันตคาหิกทิฐิเป็นมิจฉาทิฐิฯลฯ เหล่านี้เป็นสังโยชน์ แต่ไม่ใช่ทิฐิ บุคคลบางคนในโลกนี้ ทำสีเหลืองแผ่ไป ทำสีแดงแผ่ไป ทำสีขาวแผ่ไป ทำแสงสว่างแผ่ไป สู่โอกาสนิดหน่อย เขามีความคิดอย่างนี้ว่า โลกนี้มีที่สุดกลม ดังนี้ เขาจึงมีความสำคัญว่าโลกมีที่สุดทิฐิ คือ ความลูบคลำด้วยความถือผิดว่า ที่ที่แผ่ไปนั้นเป็นวัตถุและเป็นโลก เครื่องที่แผ่ไปนั้นเป็นตนและเป็นโลก ทิฐินั้นถือเอาที่สุดเช่นนั้น เพราะฉะนั้นจึงชื่อว่าอันตคาหิกทิฐิ ฯลฯ ทิฐิอันถือเอาที่สุดว่า โลกมีที่สุด ย่อมถือผิดด้วยอาการ ๕เหล่านี้ ฯ

    [๓๔๑] ทิฐิอันถือเอาที่สุดว่า โลกไม่มีที่สุด ย่อมถือผิดด้วยอาการ ๕เป็นไฉน ฯ บุคคลบางคนในโลกนี้ ทำสีเขียวแผ่ไปสู่โอกาสอันกว้าง เขามีความเห็นอย่างนี้ว่า โลกนี้ไม่มีที่สุด หาที่สุดมิได้ ดังนี้ จึงมีความสำคัญว่าโลกไม่มีที่สุด ทิฐิ คือ ความลูบคลำด้วยความถือผิดว่า ที่ที่แผ่ไปนั้นเป็นวัตถุและเป็นโลกเครื่องที่แผ่ไปนั้นเป็นตนและเป็นโลก ทิฐินั้นถือเอาที่สุดเช่นนั้น เพราะฉะนั้นจึงชื่อว่า อันตคาหิกทิฐิ ทิฐิไม่ใช่วัตถุ วัตถุไม่ใช่ทิฐิ ... นี้เป็นทิฐิอันถือเอาที่สุดว่าโลกไม่มีที่สุดที่ ๑ อันตคาหิกทิฐิเป็นมิจฉาทิฐิ ฯลฯ เหล่านี้เป็นสังโยชน์แต่ไม่ใช่ทิฐิ ฯ บุคคลบางคนในโลกนี้ ทำสีเหลือง ทำสีแดง ทำสีขาว ทำแสงสว่างแผ่ไปสู่โอกาสอันกว้าง เขามีความเห็นอย่างนี้ว่า โลกนี้ไม่มีที่สุด หาที่สุดมิได้ดังนี้ เขาจึงมีความสำคัญว่า โลกไม่มีที่สุด ทิฐิ คือ ความลูบคลำด้วยความถือผิดว่า ที่ที่แผ่ไปนั้นเป็นวัตถุและเป็นโลก เครื่องที่แผ่ไปนั้นเป็นตนและเป็นโลกทิฐินั้นถือเอาที่สุดเช่นนั้น เพราะฉะนั้นจึงชื่อว่า อันตคาหิกทิฐิ ฯลฯ ทิฐิอันถือเอาที่สุดว่า โลกไม่มีที่สุด ย่อมถือผิดด้วยอาการ ๕ เหล่านี้ ฯ

    [๓๔๒] ทิฐิอันถือเอาที่สุดว่า ชีพอันนั้น สรีระก็อันนั้น ย่อมถือผิดด้วยอาการ ๕ เป็นไฉน ฯ ทิฐิ คือ ความลูบคลำด้วยความถือผิดว่า รูปเป็นชีพและสรีระ ชีพอันใดสรีระก็อันนั้น ทิฐินั้นถือเอาที่สุดเช่นนั้น เพราะฉะนั้นจึงชื่อว่า อันตคาหิกทิฐิทิฐิไม่ใช่วัตถุ วัตถุไม่ใช่ทิฐิ ... นี้เป็นทิฐิอันถือเอาที่สุดว่า ชีพอันนั้น สรีระก็อันนั้นที่ ๑ อันตคาหิกทิฐิเป็นมิจฉาทิฐิ ฯลฯ เหล่านี้สังโยชน์ แต่ไม่ใช่ทิฐิ ทิฐิคือ ความลูบคลำด้วยความถือผิดว่า เวทนาเป็นชีพและเป็นสรีระ สัญญาเป็นชีพและเป็นสรีระ สังขารเป็นชีพและเป็นสรีระ วิญญาณเป็นชีพและเป็นสรีระชีพอันใด สรีระก็อันนั้น ทิฐินั้นถือเอาที่สุดเช่นนั้น เพราะฉะนั้นจึงชื่อว่าอันตคาหิกทิฐิ ฯลฯ ทิฐิอันถือเอาที่สุดว่า ชีพอันนั้น สรีระก็อันนั้น ย่อมถือผิดด้วยอาการ ๕ เหล่านี้ ฯ

    [๓๔๓] ทิฐิอันถือเอาที่สุดว่า ชีพเป็นอื่น สรีระก็เป็นอื่น ย่อมถือผิดด้วยอาการ ๕ เป็นไฉน ฯ ทิฐิ คือ ความลูบคลำด้วยความถือผิดว่า รูปเป็นสรีระ ไม่ใช่ชีพรูปนั้นเป็นสรีระ ชีพเป็นอย่างหนึ่ง สรีระเป็นอย่างหนึ่ง ทิฐินั้นถือเอาที่สุดเช่นนั้น เพราะฉะนั้นจึงชื่อว่า อันตคาหิกทิฐิ ทิฐิไม่ใช่วัตถุ วัตถุไม่ใช่ทิฐิ ...นี้เป็นทิฐิอันถือเอาที่สุดว่า ชีพเป็นอื่น สรีระก็เป็นอื่นที่ ๑ อันตคาหิกทิฐิเป็นมิจฉาทิฐิ ฯลฯ เหล่านี้เป็นสังโยชน์ แต่ไม่ใช่ทิฐิ ฯ ทิฐิ คือ ความลูบคลำด้วยความถือผิดว่า เวทนาเป็นสรีระ ไม่ใช่ชีพสัญญาเป็นสรีระ ไม่ใช่ชีพ สังขารเป็นสรีระ ไม่ใช่ชีพ วิญญาณเป็นสรีระ ไม่ใช่ชีพ วิญญาณนั้นเป็นสรีระ ชีพเป็นอย่างหนึ่ง สรีระก็เป็นอย่างหนึ่ง ทิฐินั้นถือเอาที่สุดเช่นนั้น เพราะฉะนั้นจึงชื่อว่า อันตคาหิกทิฐิ ฯลฯ ทิฐิอันถือเอาที่สุดว่าชีพเป็นอื่น สรีระก็เป็นอื่น ย่อมถือผิดด้วยอาการ ๕ เหล่านี้ ฯ

    [๓๔๔] ทิฐิอันถือเอาที่สุดว่า สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายแล้วย่อมเป็นอีกย่อมถือผิดด้วยอาการ ๕ เป็นไฉน ฯ ทิฐิ คือ ความลูบคลำด้วยความถือผิดว่า รูปต้องตายเป็นธรรมดาในโลกนี้แหละ สัตว์แต่การแตกแล้วย่อมเป็นอีกบ้าง คงอยู่บ้าง อุบัติขึ้นบ้าง เกิดบ้างทิฐินั้นถือเอาที่สุดเช่นนั้น เพราะฉะนั้นจึงชื่อว่า อันตคาหิกทิฐิ ทิฐิไม่ใช่วัตถุวัตถุไม่ใช่ทิฐิ ... นี้เป็นทิฐิอันถือเอาที่สุดว่า สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายแล้วย่อมเป็นอีกที่ ๑ อันตคาหิกทิฐิ เป็นมิจฉาทิฐิ ฯลฯ เหล่านี้เป็นสังโยชน์ แต่ไม่ใช่ทิฐิ ฯ ทิฐิ คือ ความลูบคลำด้วยความถือผิดว่า เวทนาต้องตายเป็นธรรมดาในโลกนี้แหละ สัญญาต้องตายเป็นธรรมดาในโลกนี้แหละ สังขารต้องตายเป็นธรรมดาในโลกนี้แหละ วิญญาณต้องตายเป็นธรรมดาในโลกนี้แหละ สัตว์แต่กายแตกแล้วย่อมเป็นอีกบ้าง คงอยู่บ้าง อุบัติขึ้นบ้าง เกิดบ้าง ทิฐินั้นถือเอาที่สุดเช่นนั้น เพราะฉะนั้นจึงชื่อว่า อันตคาหิกทิฐิ ฯลฯ ทิฐิอันถือเอาที่สุดว่า สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายแล้วย่อมเป็นอีก ย่อมถือผิดด้วยอาการ ๕ เหล่านี้ ฯ

    [๓๔๕] ทิฐิอันถือเอาที่สุดว่า สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายแล้วย่อมไม่เป็นอีกย่อมถือผิดด้วยอาการ ๕ เป็นไฉน ฯ ทิฐิ คือ ความลูบคลำด้วยความถือผิดว่า รูปต้องตายเป็นธรรมดาในโลกนี้แหละ สัตว์แต่กายแตกแล้วย่อมขาดสูญ ย่อมพินาศไป สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายแล้วย่อมไม่เป็นอีก ทิฐินั้นถือเอาที่สุดเช่นนั้น เพราะฉะนั้นจึงชื่อว่า อันตคาหิกทิฐิทิฐิไม่ใช่วัตถุ วัตถุไม่ใช่ทิฐิ ... นี้เป็นทิฐิอันถือเอาที่สุดว่า สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายแล้วย่อมไม่เป็นอีกที่ ๑ อันตคาหิกทิฐิเป็นมิจฉาทิฐิ ฯลฯ เหล่านี้เป็นสังโยชน์ แต่ไม่ใช่ทิฐิ ฯ ทิฐิ คือ ความลูบคลำด้วยความถือผิดว่า เวทนาต้องตายเป็นธรรมดาในโลกนี้แหละ สัญญาต้องตายเป็นธรรมดาในโลกนี้แหละสังขารต้องตายเป็นธรรมดาในโลกนี้แหละ วิญญาณต้องตายเป็นธรรมดาในโลกนี้แหละ สัตว์แต่กายแตกแล้วย่อมไม่เป็นอีก ทิฐินั้นถือเอาที่สุดเช่นนั้น เพราะฉะนั้นจึงชื่อว่า อันตคาหิกทิฐิฯลฯ ทิฐิอันถือเอาที่สุดว่า สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายแล้วย่อมไม่เป็นอีก ย่อมถือผิดด้วยอาการ ๕ เหล่านี้ ฯ

    [๓๔๖] ทิฐิอันถือเอาที่สุดว่า สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายแล้วย่อมเป็นอีกก็มีย่อมไม่เป็นอีกก็มี ย่อมถือผิดด้วยอาการ ๕ เป็นไฉน ฯ ทิฐิ คือ ความลูบคลำด้วยความถือผิดว่า รูปต้องตายเป็นธรรมดาในโลกนี้แหละ สัตว์แต่กายแตกแล้วย่อมเป็นอีกก็มี ย่อมไม่เป็นอีกก็มี ทิฐินั้นถือเอาที่สุดเช่นนั้น เพราะฉะนั้นจึงชื่อว่า อันตคาหิกทิฐิ ทิฐิไม่ใช่วัตถุ วัตถุไม่ใช่ทิฐิ... นี้เป็นทิฐิอันถือเอาที่สุดว่า สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายแล้วย่อมเป็นอีกก็มี ย่อมไม่เป็นอีกก็มีที่ ๑ อันตคาหิกทิฐิ เป็นมิจฉาทิฐิ ฯลฯ เหล่านี้เป็นสังโยชน์ แต่ไม่ใช่ทิฐิ ฯ ทิฐิ คือ ความลูบคลำด้วยความถือผิดว่า เวทนาต้องตายเป็นธรรมดาในโลกนี้แหละ สัญญาต้องตายเป็นธรรมดาในโลกนี้แหละ สังขารต้องตายเป็นธรรมดาในโลกนี้แหละ วิญญาณต้องตายเป็นธรรมดาในโลกนี้แหละ สัตว์แต่กายแตกแล้วย่อมเป็นอีกก็มี ย่อมไม่เป็นอีกก็มี ทิฐินี้ถือเอาที่สุดเช่นนั้น เพราะฉะนั้นจึงชื่อว่า อันตคาหิกทิฐิ ฯลฯ ทิฐิอันถือเอาที่สุดว่า สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายแล้วย่อมเป็นอีกก็มี ย่อมไม่เป็นอีกก็มี ย่อมถือผิดด้วยอาการ ๕ เหล่านี้ ฯ

    [๓๔๗] ทิฐิอันถือเอาที่สุดว่า สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายแล้วย่อมเป็นอีกก็หามิได้ ย่อมไม่เป็นอีกก็หามิได้ ย่อมถือผิดด้วยอาการ ๕ เป็นไฉน ฯ ทิฐิ คือ ความลูบคลำด้วยความถือผิดว่า รูปต้องตายเป็นธรรมดาในโลกนี้แหละ สัตว์แต่กายแตกแล้วย่อมเป็นอีกก็หามิได้ ย่อมไม่เป็นอีกก็หามิได้ ทิฐินั้นถือเอาที่สุดเช่นนั้น เพราะฉะนั้นจึงชื่อว่า อันตคาหิกทิฐิ ทิฐิไม่ใช่วัตถุ วัตถุไม่ใช่ทิฐิ ... นี้เป็นทิฐิอันถือเอาที่สุดว่า สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายแล้วย่อมเป็นอีกก็หามิได้ ย่อมไม่เป็นอีกก็หามิได้ที่ ๑ อันตคาหิกทิฐิ เป็นมิจฉาทิฐิ ฯลฯ เหล่านี้เป็นสังโยชน์ แต่ไม่ใช่ทิฐิ ฯ ทิฐิ คือ ความลูบคลำด้วยความถือผิดว่า เวทนาต้องตายเป็นธรรมดาในโลกนี้แหละ สัญญาต้องตายเป็นธรรมดาในโลกนี้แหละ สังขารต้องตายเป็นธรรมดาในโลกนี้แหละ วิญญาณต้องตายเป็นธรรมดาในโลกนี้แหละ สัตว์แต่กายแตกแล้วย่อมเป็นอีกก็หามิได้ ย่อมไม่เป็นอีกก็หามิได้ ทิฐินั้นถือเอาที่สุดเช่นนั้น เพราะฉะนั้นจึงชื่อว่า อันตคาหิกทิฐิ ทิฐิไม่ใช่วัตถุ วัตถุไม่ใช่ทิฐิ ... ทิฐิและวัตถุ นี้เป็นทิฐิอันถือเอาที่สุดว่า สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายแล้วย่อมเป็นอีกก็หามิได้ ย่อมไม่เป็นอีกก็หามิได้ที่ ๑ อันตคาหิกทิฐิ เป็นมิจฉาทิฐิ ฯลฯ เหล่านี้เป็นสังโยชน์ แต่ไม่ใช่ทิฐิ ทิฐิอันถือเอาที่สุดว่า สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายแล้วย่อมเป็นอีกก็หามิได้ ย่อมไม่เป็นอีกก็หามิได้ ย่อมถือผิดด้วยอาการ ๕ เหล่านี้อันตคาหิกทิฐิย่อมถือผิดด้วยอาการ ๕๐ เหล่านี้

    [๓๔๘] ปุพพันตานุทิฐิ (ความตามเห็นขันธ์ส่วนอดีต) ย่อมถือผิดด้วยอาการ ๑๘ เป็นไฉน ฯ สัสสตทิฐิ (ทิฐิว่าตนและโลกเที่ยง) ๔ เอกัจจสัสสติกาทิฐิ (ทิฐิว่าตนและโลกเที่ยงเป็นบางอย่าง) ๔ อันตานันติกาทิฐิ (ทิฐิว่าโลกมีที่สุดและหาที่สุดมิได้) ๔ อมราวิกเขปิกาทิฐิ (ทิฐิซัดส่ายไม่ตายตัว) ๔ อธิจจสมุปปันนิกาทิฐิ(ทิฐิว่าตนและโลกเกิดขึ้นลอยๆ) ๒ ปุพพันตานุทิฐิ ย่อมถือผิดด้วยอาการ ๑๘เหล่านี้ ฯ

    [๓๔๙] อปรันตานุทิฐิ (ความตามเห็นขันธ์ส่วนอนาคต) ย่อมถือผิดด้วยอาการ ๔๔ เป็นไฉน ฯ สัญญีวาททิฐิ (ทิฐิว่าตนเมื่อตายแล้วมีสัญญา) ๑๗ อสัญญีวาททิฐิ (ทิฐิว่าตนเมื่อตายแล้วไม่มีสัญญา) ๘ เนวสัญญีนาสัญญีวาททิฐิ (ทิฐิว่าตนเมื่อตายแล้วมีสัญญาก็มิใช่ ไม่มีสัญญาก็มิใช่) ๘ อุจเฉทวาททิฐิ (ทิฐิว่าสัตว์ตายแล้วขาดสูญ) ๗ ทิฐิธรรมนิพพานวาททิฐิ (ทิฐิว่านิพพานเป็นปัจจุบันเป็นธรรมอย่างยิ่งของสัตว์) ๕ อปรันตานุทิฐิ ย่อมถือผิดด้วยอาการ ๔๔ เหล่านี้ ฯ

    [๓๕๐] สังโยชนิกาทิฐิ (ทิฐิเป็นเครื่องประกอบสัตว์ไว้ในภพ) ย่อมถือผิดด้วยอาการ ๑๘ เป็นไฉน ฯ ทิฐิ คือ ทิฐิที่ไป ทิฐิที่รกชัฏ ฯลฯ ทิฐิเป็นเหตุให้ถือผิด ทิฐิเป็นเหตุให้ลูบคลำ สังโยชนิกาทิฐิ ย่อมถือผิดด้วยอาการ ๑๘ เหล่านี้ ฯ

    [๓๕๑] ทิฐิอันกางกั้นด้วยมานะว่า เป็นเรา ย่อมถือผิด ด้วยอาการ๑๘ เป็นไฉน ฯ ทิฐิอันกางกั้นด้วยมานะว่า ตาเป็นเรา ทิฐิมิใช่วัตถุ วัตถุไม่ใช่ทิฐิ ...นี้เป็นทิฐิอันกางกั้นด้วยมานะว่าเป็นเราที่ ๑ มานวินิพันธาทิฐิเป็นมิจฉาทิฐิ ฯลฯเหล่านี้เป็นสังโยชน์ แต่มิใช่ทิฐิ ทิฐิอันกางกั้นด้วยมานะว่า หูเป็นเรา ฯลฯจมูกเป็นเรา ฯลฯ ลิ้นเป็นเรา ฯลฯ กายเป็นเรา ฯลฯ ใจเป็นเรา ฯลฯธรรมารมณ์เป็นเรา ฯลฯ จักขุวิญญาณเป็นเรา ฯลฯ มโนวิญญาณเป็นเรา ฯลฯความลูบคลำความถือผิดว่าเป็นเรา ทิฐิไม่ใช่วัตถุ วัตถุไม่ใช่ทิฐิ ... นี้เป็นทิฐิอันกางกั้นด้วยมานะว่าเป็นเราที่ ๘ มานวินิพันธาทิฐิเป็นมิจฉาทิฐิ ฯลฯ เหล่านี้เป็นสังโยชน์ แต่ไม่ใช่ทิฐิ ทิฐิอันกางกั้นด้วยมานะว่า เป็นเรา ย่อมถือผิดด้วยอาการ ๑๘ เหล่านี้ ฯ

    [๓๕๒] ทิฐิอันกางกั้นด้วยมานะว่า ของเรา ย่อมถือผิด ด้วยอาการ๑๘ เป็นไฉน ฯ ทิฐิอันกางกั้นด้วยมานะว่า ตาของเรา ทิฐิไม่ใช่วัตถุ วัตถุไม่ใช่ทิฐิ ...นี้เป็นทิฐิอันกางกั้นด้วยมานะว่าของเราที่ ๑ มานวินิพันธาทิฐิเป็นมิจฉาทิฐิ ฯลฯเหล่านี้เป็นสังโยชน์ แต่ไม่ใช่ทิฐิ ทิฐิอันกางกั้นด้วยมานะว่า หูของเรา ฯลฯจมูกของเรา ฯลฯ ลิ้นของเรา ฯลฯ กายของเรา ฯลฯ ใจของเรา ฯลฯธรรมารมณ์ของเรา ฯลฯ จักขุวิญญาณของเรา ฯลฯ มโนวิญญาณของเรา ความลูบคลำด้วยความถือผิดว่า ของเรา ทิฐิไม่ใช่วัตถุ วัตถุไม่ใช่ทิฐิ ... นี้เป็นทิฐิอันกางกั้นด้วยมานะว่า ของเรา ที่ ๘ มานวินิพันธาทิฐิเป็นมิจฉาทิฐิ ฯลฯ เหล่านี้เป็นสังโยชน์ แต่มิใช่ทิฐิ ทิฐิอันกางกั้นด้วยมานะว่า ของเรา ย่อมถือผิดด้วยอาการ ๑๘ เหล่านี้ ฯ

    [๓๕๓] ทิฐิอันปฏิสังยุตด้วยวาทะปรารภตน ย่อมถือผิดด้วยอาการ ๒๐เป็นไฉน ฯ ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับในโลกนี้ ไม่ได้เห็นพระอริยเจ้า ... ไม่ได้รับแนะนำในธรรมของสัปบุรุษ ย่อมเห็นรูปโดยความเป็นตน เห็นตนว่ามีรูปบ้าง เห็นรูปในตนบ้าง เห็นตนในรูปบ้าง ฯลฯ เห็นเวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณโดยความเป็นตน เห็นตนว่ามีวิญญาณบ้าง เห็นวิญญาณในตนบ้าง เห็นตนในวิญญาณบ้าง ฯลฯ ปุถุชนมองเห็นรูปโดยความเป็นตนอย่างไร บุคคลบางคนในโลกนี้ย่อมเห็นปฐวีกสิณ ฯลฯ โอทาตกสิณ โดยความเป็นตน คือ ย่อมเห็นโอทาตกสิณและตนไม่เป็นสอง เปรียบเหมือนเมื่อประทีปน้ำมันลุกโพลงอยู่บุคคลเห็นเปลวไฟ และแสงสว่างไม่เป็นสองฉันใด บุคคลบางคนในโลกนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ย่อมเห็นโอทาตกสิณโดยความเป็นตน ฯลฯ นี้เป็นทิฐิอันปฏิสังยุตด้วยอัตตวาทะมีรูปเป็นวัตถุที่ ๑ ทิฐิอันปฏิสังยุตด้วยอัตตวาทะเป็นมิจฉาทิฐิ ฯลฯ เหล่านี้เป็นสังโยชน์ แต่ไม่ใช่ทิฐิ ทิฐิอันปฏิสังยุตด้วยวาทะปรารภตน ย่อมถือผิด ด้วยอาการ ๒๐ เหล่านี้ ฯ

    [๓๕๔] ทิฐิอันปฏิสังยุตด้วยวาทะปรารภโลก ย่อมถือผิด ด้วยอาการ ๘เป็นไฉน ฯ ความลูบคลำด้วยความถือผิดว่า ตนและโลกเที่ยง เป็นทิฐิ อันปฏิสังยุตด้วยวาทะปรารภโลก ทิฐิไม่ใช่วัตถุ วัตถุมิใช่ทิฐิ ... นี้เป็นทิฐิอันปฏิสังยุตด้วยวาทะปรารภโลกที่ ๑ ทิฐิอันปฏิสังยุตด้วยวาทะปรารภโลกเป็นมิจฉาทิฐิ ฯลฯเหล่านี้เป็นสังโยชน์ แต่ไม่ใช่ทิฐิ ฯ ความลูบคลำด้วยความถือผิดว่า ตนและโลกไม่เที่ยง ฯลฯ ตนและโลกเที่ยงก็มี ไม่เที่ยงก็มี ตนและโลกเที่ยงก็หามิได้ ไม่เที่ยงก็หามิได้ ตนและโลกมีที่สุด ตนและโลกไม่มีที่สุด ตนและโลกมีที่สุดก็มี ไม่มีที่สุดก็มี ตนและโลกมีที่สุดก็หามิได้ ไม่มีที่สุดก็หามิได้ เป็นทิฐิอันปฏิสังยุตด้วยวาทะปรารภโลกทิฐิไม่ใช่วัตถุ วัตถุไม่ใช่ทิฐิ ... นี้เป็นทิฐิอันปฏิสังยุตด้วยวาทะปรารภโลกที่ ๘ทิฐิอันปฏิสังยุตด้วยวาทะปรารภโลกเป็นมิจฉาทิฐิ ฯลฯ เหล่านี้เป็นสังโยชน์แต่ไม่ใช่ทิฐิ ทิฐิอันปฏิสังยุตด้วยวาทะปรารภโลก ย่อมถือผิดด้วยอาการ ๘เหล่านี้ ฯ

    [๓๕๕] ความถือผิดด้วยความติดอยู่ เป็นภวทิฐิ ความถือผิดด้วยความแล่นเลยไป เป็นวิภวทิฐิ อัสสาททิฐิมีความถือผิดด้วยอาการ ๓๕ เป็นภวทิฐิเท่าไร เป็นวิภวทิฐิเท่าไร อัตตานุทิฐิ มีความถือผิดด้วยอาการ ๒๐ เป็นภวทิฐิเท่าไร เป็นวิภวทิฐิเท่าไร ฯลฯ ทิฐิอันปฏิสังยุตด้วยวาทะปรารภโลก มีความถือผิดด้วยอาการ ๘ เป็นภวทิฐิเท่าไร เป็นวิภวทิฐิเท่าไร ฯ อัสสาททิฐิมีความถือผิดด้วยอาการ ๓๕ เป็นภวทิฐิก็มี เป็นวิภวทิฐิก็มีอัตตานุทิฐิมีความถือผิดด้วยอาการ ๒๐ เป็นภวทิฐิ ๑๕ เป็นวิภวทิฐิ ๕ มิจฉาทิฐิมีความถือผิดด้วยอาการ ๑๐ เป็นวิภวทิฐิทั้งหมด สักกายทิฐิมีความถือผิดด้วยอาการ ๒๐ เป็นภวทิฐิ ๑๕ เป็นวิภวทิฐิ ๕ สัสสตทิฐิอันมีสักกายเป็นวัตถุมีความถือผิดด้วยอาการ ๑๕ เป็นภวทิฐิทั้งหมด อุจเฉททิฐิอันมีสักกายเป็นวัตถุมีความถือผิดด้วยอาการ ๕ เป็นวิภวทิฐิทั้งหมด ทิฐิอันถือเอาที่สุดว่า โลกเที่ยงมีความถือผิดด้วยอาการ ๕ เป็นภวทิฐิทั้งหมด ทิฐิอันถือเอาที่สุดว่า โลกไม่เที่ยง มีความถือผิดด้วยอาการ ๕ เป็นวิภวทิฐิทั้งหมด ทิฐิอันถือเอาที่สุดว่าโลกมีที่สุด มีความถือผิดด้วยอาการ ๕ เป็นภวทิฐิก็มี เป็นวิภวทิฐิก็มี ทิฐิอันถือเอาที่สุดว่า โลกไม่มีที่สุด มีความถือผิดด้วยอาการ ๕ เป็นภวทิฐิก็มี เป็นวิภวทิฐิก็มี ทิฐิอันถือเอาที่สุดว่า ชีพอันนั้น สรีระก็อันนั้น มีความถือผิดด้วยอาการ ๕ เป็นวิภวทิฐิทั้งหมด ทิฐิอันถือเอาที่สุดว่า ชีพเป็นอื่น สรีระก็เป็นอื่นมีความถือผิดด้วยอาการ ๕ เป็นภวทิฐิทั้งหมด ทิฐิอันถือเอาที่สุดว่า สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายแล้ว ย่อมเป็นอีกก็มี มีความถือผิดด้วยอาการ ๕ เป็นภวทิฐิทั้งหมดทิฐิอันถือเอาที่สุดว่า สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายแล้วย่อมไม่เป็นอีก มีความถือผิดด้วยอาการ ๕ เป็นวิภวทิฐิทั้งหมด ทิฐิอันถือเอาที่สุดว่า สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายแล้วย่อมเป็นอีกก็มี ย่อมไม่เป็นอีกก็มี มีความถือผิดด้วยอาการ ๕ เป็นภวทิฐิก็มีเป็นวิภวทิฐิก็มี อปรันตานุทิฐิ มีความถือผิดด้วยอาการ ๔๔ เป็นภวทิฐิก็มีเป็นวิภวทิฐิก็มี สังโยชนิกาทิฐิมีความถือผิดด้วยอาการ ๑๘ เป็นภวทิฐิก็มี เป็นวิภวทิฐิก็มี ทิฐิอันกางกั้นด้วยมานะว่า เป็นเรา มีความถือผิดด้วยอาการ ๑๘เป็นวิภวทิฐิทั้งหมด ทิฐิอันกางกั้นด้วยมานะว่า ของเรา มีความถือผิดด้วยอาการ ๑๘ เป็นภวทิฐิทั้งหมด ทิฐิอันปฏิสังยุตด้วยวาทะปรารภตน มีความถือผิดด้วยอาการ ๒๐ เป็นภวทิฐิ ๑๕ เป็นวิภวทิฐิ ๕ ทิฐิอันปฏิสังยุตด้วยวาทะปรารภโลก มีความถือผิดด้วยอาการ ๘ เป็นภวทิฐิก็มี เป็นวิภวทิฐิก็มี ทิฐิทั้งหมดเป็นอัตตานุทิฐิ เป็นมิจฉาทิฐิ เป็นสักกายทิฐิ เป็นอันตคาหิกทิฐิ เป็นสังโยชนิกาทิฐิ ทิฐิอันปฏิสังยุตด้วยวาทะปรารภตนเป็นภวทิฐิ เป็นวิภวทิฐิชนเหล่าใดยึดถือทิฐิ ๒ อย่างนี้ ญาณในนิโรธย่อมไม่มีแก่ชนเหล่านั้น สัตว์โลกนี้ยึดถือในทิฐิใด ก็เป็นผู้มีสัญญาวิปริตเพราะทิฐินั้น

    [๓๕๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เทวดาและมนุษย์ผู้ถูกทิฐิ ๒ อย่างกลุ้มรุมแล้ว พวกหนึ่งย่อมติดอยู่ พวกหนึ่งย่อมแล่นไป ส่วนผู้มีจักษุเห็นอยู่ ฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็เทวดาและมนุษย์พวกหนึ่งย่อมติดอยู่อย่างไร ดูกรภิกษุทั้งหลาย เทวดาและมนุษย์ผู้ชอบภพ ยินดีในภพ บันเทิงอยู่ในภพ จิตของเทวดาและมนุษย์เหล่านั้นย่อมไม่แล่นไป ไม่เลื่อมใส ไม่ตั้งอยู่ ไม่น้อมไปในธรรมที่เราแสดงเพื่อความดับภพ ดูกรภิกษุทั้งหลาย เทวดาและมนุษย์พวกหนึ่งย่อมติดอยู่อย่างนี้แล ฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย เทวดาและมนุษย์พวกหนึ่งย่อมแล่นไปอย่างไร ก็เทวดาและมนุษย์พวกหนึ่งย่อมอึดอัด ระอา เกลียดชังภพ ย่อมยินดีความปราศจากภพว่า ชาวเราเอ๋ย ได้ยินว่าเมื่อใด ตนแต่กายแตกไปแล้วย่อมขาดสูญย่อมพินาศ เมื่อนั้น ตนเบื้องหน้าแต่ตายแล้วย่อมไม่เป็นอีก เพราะฉะนั้นความไม่เกิดนี้ละเอียด ประณีต ดูกรภิกษุทั้งหลาย เทวดาและมนุษย์พวกหนึ่งย่อมแล่นไปอย่างนี้แล ฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ส่วนผู้มีจักษุเห็นอยู่อย่างไร ดูกรภิกษุทั้งหลายภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมเห็นความเป็นสัตว์ตามความเป็นจริง ครั้นแล้วย่อมปฏิบัติเพื่อความเบื่อหน่าย เพื่อคลายกำหนัด เพื่อดับความเป็นสัตว์ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ส่วนผู้มีจักษุเห็นอยู่ อย่างนี้แล ฯ ถ้าภิกษุใด เห็นความเป็นสัตว์ตามความเป็นจริง และก้าวล่วง ความเป็นสัตว์แล้ว ย่อมน้อมใจไปในธรรมตามที่เป็นจริง เพื่อความหมดสิ้นแห่งภวตัณหา ภิกษุนั้น กำหนดรู้ ความ เป็นสัตว์แล้ว ผู้ปราศจากตัณหาในภพน้อยภพใหญ่ ย่อม ไม่มาสู่ภพใหม่ เพราะความไม่มีแห่งความเป็นสัตว์ ดังนี้ ฯ

    [๓๕๗] บุคคล ๓ จำพวกมีทิฐิวิบัติ บุคคล ๓ จำพวกมีทิฐิสมบัติ ฯ บุคคล ๓ จำพวกเหล่าไหนมีทิฐิวิบัติ เดียรถีย์ ๑ สาวกเดียรถีย์ ๑บุคคลผู้มีทิฐิผิด ๑ บุคคล ๓ จำพวกเหล่านี้มีทิฐิวิบัติ ฯ บุคคล ๓ จำพวกเหล่าไหนมีทิฐิสมบัติ พระตถาคต ๑ สาวกพระตถาคต ๑ บุคคลผู้มีทิฐิชอบ ๑ บุคคล ๓ จำพวกเหล่านี้มีทิฐิสมบัติ ฯ นรชนใด เป็นคนมักโกรธ มักผูกโกรธ มีความลบหลู่ลามก มีทิฐิวิบัติ เจ้าเล่ห์ พึงรู้จักนรชนนั้นว่าเป็นคนเลว นรชนใด เป็นคนไม่มักโกรธ ไม่ผูกโกรธ ไม่ลบหลู่คุณท่าน มีทิฐิ- สมบัติ มีปัญญา พึงรู้จักนรชนนั้นว่า เป็นผู้ประเสริฐ ดังนี้ ฯ

    [๓๕๘] ทิฐิวิบัติ ๓ ทิฐิสมบัติ ๓ ฯ ทิฐิวิบัติ ๓ เป็นไฉน ความเห็นวิบัติว่า นั่นของเรา นั่นเป็นเรา นั่นเป็นตัวตนของเรา ทิฐิวิบัติ ๓ เหล่านี้ ฯ ทิฐิสมบัติ ๓ เป็นไฉน ความเห็นอันถูกต้องว่า นั่นไม่ใช่ของเรา นั่นไม่เป็นเรา นั่นไม่ใช่ตัวตนของเรา ทิฐิสมบัติ ๓ เหล่านี้ ฯ

    [๓๕๙] ทิฐิอะไรว่า นั่นของเรา เป็นทิฐิเท่าไร ทิฐิเหล่านั้น ตามถือส่วนสุดอะไร ทิฐิอะไรว่า นั่นเป็นเรา เป็นทิฐิเท่าไร ทิฐิเหล่านั้น ตามถือส่วนสุดอะไร ทิฐิอะไรว่า นั่นเป็นตัวตนของเรา เป็นทิฐิเท่าไร ทิฐิเหล่านั้นตามถือส่วนสุดอะไร ฯ ความเห็นตามขันธ์ส่วนอดีตว่า นั่นของเรา เป็นทิฐิ ๑๘ ทิฐิเหล่านั้นตามถือขันธ์ส่วนอดีต ความเห็นตามขันธ์ส่วนอนาคตว่า นั่นเป็นเรา เป็นทิฐิ ๔๔ทิฐิเหล่านั้นตามถือขันธ์ส่วนอนาคต อัตตานุทิฐิมีวัตถุ ๒๐ ว่า นั่นเป็นตัวตนของเรา เป็นสักกายทิฐิ มีวัตถุ ๒๐ ทิฐิ ๖๒ โดยมีสักกายทิฐิเป็นประธานทิฐิเหล่านั้น ตามถือขันธ์ทั้งส่วนอดีตและส่วนอนาคต ฯ

    [๓๖๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ชนเหล่าใดเหล่าหนึ่งถึงความเชื่อแน่ในเราชนเหล่านั้นทั้งหมดเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยทิฐิ บุคคล ๕ จำพวกเชื่อแน่ในธรรมนี้บุคคล ๕ จำพวกเชื่อแน่ในภพสุทธาวาส ในธรรมนี้ ฯ บุคคล ๕ จำพวกเหล่าไหน เชื่อแน่ในธรรมนี้ บุคคล ๕ จำพวกนี้คือ สัตตักขัตตุปรมโสดาบัน ๑ โกลังโกละโสดาบัน ๑ เอกพิชีโสดาบัน ๑พระสกทาคามี ๑ พระอรหันต์ในปัจจุบัน ๑ เชื่อแน่ในธรรมนี้ ฯ บุคคล ๕ จำพวกเหล่าไหน เชื่อแน่ในภพสุทธาวาสในธรรมนี้ บุคคล๕ จำพวกนี้ คือ อันตราปรินิพพายีอนาคามีบุคคล ๑ อุปหัจจปรินิพพายีอนาคามีบุคคล ๑ อสังขารปรินิพพายีอนาคามีบุคคล ๑ สสังขารปรินิพพายีอนาคามี-*บุคคล ๑ อุทธังโสโตอกนิฏฐคามีอนาคามีบุคคล ๑ เชื่อแน่ในภพสุทธาวาสในธรรมนี้ ฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลเหล่าใดเหล่าหนึ่ง ถึงความเชื่อแน่ในเราบุคคลเหล่านั้นทั้งหมด ถึงพร้อมด้วยทิฐิ บุคคล ๕ จำพวกนี้เชื่อแน่ในธรรมนี้บุคคล ๕ จำพวกนี้เชื่อแน่ในภพสุทธาวาสในธรรมนี้ ฯ

    [๓๖๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลเหล่าใดเหล่าหนึ่งเลื่อมใสในเราอย่างแน่นแฟ้น บุคคลเหล่านั้นทั้งหมดเป็นพระโสดาบัน พระโสดาบันเหล่านั้นรวม ๕จำพวกนี้ เชื่อแน่ในธรรมนี้ บุคคล ๕ จำพวกเชื่อแน่ในภพชั้นสุทธาวาสในธรรมนี้ ฯ บุคคล ๕ จำพวกเหล่าไหน เชื่อแน่ในธรรมนี้ บุคคล ๕ จำพวกนี้ คือสัตตักขัตตุปรมโสดาบัน ๑ ... พระอรหันต์ในปัจจุบัน ๑ เชื่อแน่ในธรรมนี้ ฯ บุคคล ๕ จำพวกนี้ คือ อันตราปรินิพพายีอนาคามีบุคคล ๑ ... อุทธัง-*โสโตอกนิฏฐคามีบุคคล ๑ เชื่อแน่ในภพสุทธาวาสในธรรมนี้ ฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลเหล่าใดเหล่าหนึ่งเลื่อมใสในเราอย่างแน่นแฟ้นบุคคลเหล่านั้นทั้งหมดเป็นพระโสดาบัน พระโสดาบันเหล่านั้นรวมเป็น ๕ จำพวกนี้ เชื่อแน่ในธรรมนี้ บุคคล ๕ จำพวกนี้ เชื่อแน่ในภพสุทธาวาสในธรรมนี้ฉะนี้แล ฯ


    </PRE>
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 17 กรกฎาคม 2009
  2. jinny95

    jinny95 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 ตุลาคม 2007
    โพสต์:
    6,074
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +9,666
  3. kengkenny

    kengkenny เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 ธันวาคม 2008
    โพสต์:
    2,878
    ค่าพลัง:
    +2,500
    เพื่อเป็น สิริมงคลแก่ผู้ปฏิบัติเพื่อความหลุดพ้น ไม่ได้เพื่อกามตัณหา ราคะ ความทะยานอยากใดๆ หรือการสรรเสริญ เยินยอ ผมเป็นแค่ฆราวาสธรรมดา พระพุทธเจ้ามีธรรมอีกมากมายไม่ได้ตรัสบอกแก่พระสาวก เพราะบางอย่างไม่จำเป็นต้องใช้ แต่เรื่องนี้คิดว่าจำเป็นต้องใช้ แก่ผู้ที่จะสำเร็จอริยะมรรค อริยะผล ที่แท้จริงครับ และอย่าลืมครับปฏิบัติด้วย วันละนิดก็ยังดีสะสมไปเรื่อยๆ ใครไม่เห็นก็พยายามครับ อนุโมทนาสาธุกับทุกท่านครับ (เหมือนมีความรู้สึกว่ากำลังช่วยใครบางคนอยู่ให้เขาพ้นจากอบายเพราะเขามีสิทธิ์จะพ้นได้)
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 17 กรกฎาคม 2009
  4. jinny95

    jinny95 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 ตุลาคม 2007
    โพสต์:
    6,074
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +9,666
    ถ้าเป็นไปได้เวลานำบทความ นำพระธรรมมาให้ผู้สนใจอ่าน ก็กรุณาสละเวลาจัดเรียงวรรค จัดย่อหน้า เรียงลำดับข้อความ ให้อ่านได้สะดวกด้วยครับ

    ไหน ๆ ก็จะช่วยแล้ว ช่วยอีกหน่อยแล้วกัน เวลาก๊อปมาวางบางทีมันเีรียงพรึดกันไปหมด

    ก็แล้วแต่จะกรุณา เรียงได้ก็ดี ไม่เรียงก็ดี

    อนุโมทนา ^-^
     
  5. kengkenny

    kengkenny เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 ธันวาคม 2008
    โพสต์:
    2,878
    ค่าพลัง:
    +2,500
    กลัวว่าเขาจะหาว่าแก้ไข บ้างตัดต่อบ้าง ตัดแปะบ้าง เกรงว่าบาปกรรมอกุศลจะเกิดขึ้นแก่เขา ทั้งหลายครับ จึงต้องให้อ่านทั้งอย่างนั้นแหละ เพราะถ้าเป็นคำสอนแบบนี้ไม่ใช่พระอภิธรรม ไม่ต้องตีความใดเลยครับตรงตัวเลย
     
  6. kengkenny

    kengkenny เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 ธันวาคม 2008
    โพสต์:
    2,878
    ค่าพลัง:
    +2,500
    เป็นเพราะเจตนาหวังดีแต่ คงช่วยเขาไม่ได้แล้ว เพราะเขาเก่งกว่าพระพุทธเจ้า เขากล่าวในสิ่งที่พระพุทธเจ้าไม่ได้กล่าวไว้ ขอท่านผู้นั้นจงมีแต่ความสุขเถิด ข้าพเจ้าขออุทิศส่วนกุศล ความดีที่ข้าพเจ้ามีแก่เขาทั้งหลาย
     
  7. kengkenny

    kengkenny เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 ธันวาคม 2008
    โพสต์:
    2,878
    ค่าพลัง:
    +2,500
    เห็แล้วก็เลยอยากตีความบ้างครับ ว่าหมายความว่าไง
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย อายตนะนั้นมีอยู่ ซึ่งไม่มีดิน ไม่มีน้ำ ไม่มีลม ไม่มีไฟ ไม่ใช่อากาสานัญจายตนะ ไม่ใช่วิญญาณัญจายตนะ ไม่ใช่อากิญจัญญายตนะ ไม่ใช่เนวสัญญานาสัญญายตนะ ไม่ใช่โลกนี้ ไม่ใช่โลกอื่น ไม่ใช่ดวงจันทร์ ไม่ใช่ดวงอาทิตย์ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในอายตนะนั้นแม้เราตถาคตก็กล่าวไม่ได้ว่าเป็นการมา กล่าวไม่ได้ว่าเป็นการไป กล่าวไม่ได้ว่าเป็นการตั้งอยู่ กล่าวไม่ได้ว่าเป็นการจุติเคลื่อนย้าย ตาย กล่าวไม่ได้ว่าเป็นการเกิดขึ้นอายตนะนั้นไม่มีตั้งอยู่โดยแท้ ไม่มีการเป็นไปโดยแท้ ไม่มีอารมณ์โดยแท้ นี้นั่นแลคือที่สุดแห่งทุกข์

    แปลว่า อนัตตา ไม่ใช่หรือครับ
     
  8. ธรรมภูต

    ธรรมภูต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    3,621
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +2,192
    อะไรที่ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา(อนัตตา ไม่ใช่ตน ไม่ใช่แปลว่าไม่มีตัวตน)

    พระนิพพาน เที่ยง เป็นสุขอย่างยิ่ง
    อายตนะนั้นมีอยู่...ถ้าเป็นอนัตตา ต้องไม่มีอยู่สิ

    อนัตตา ไม่ใช่ตน
    นิรัตตา ไม่มีตัวตน
    อัตตา ตนหรือที่พึ่ง

    ;aa24
     
  9. kengkenny

    kengkenny เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 ธันวาคม 2008
    โพสต์:
    2,878
    ค่าพลัง:
    +2,500
    เวลาทำอะไรสั้นๆแล้วไม่ได้ใจความ
    อนัตตา คือ ไม่ใช่อัตตา, ไม่ใช่ตัวใช่ตน, หรือไม่มีตัวตน อย่างเป็นแก่นแกนหรือแก่นสาระแท้จริง ตัวตนเป็นเพียงกลุ่มก้อน(ฆนะ)มายาของเหตุปัจจัยที่ประชุมปรุงแต่งกัน จึงล้วนไม่ใช่ตัวตนแท้จริง ตัวตนนั้นๆจึงเป็นเพียงสมมติสัจจะ จึงไม่ใช่ของตัวของตนหรือของใครๆอย่างแท้จริง, หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งก็ได้ว่า มีตัวตน แต่ตัวตนนั้นไม่มีแก่นสารถาวรอย่างแท้จริง ตัวตนที่เห็น หรือความรู้สึกว่าเป็นตัวตนที่ผัสสะได้ด้วยอายตนะใดๆก็ตามนั้น ล้วนเป็นเพียงกลุ่มก้อนหรือมวลรวมหรือก้อน(ฆนะ)ของเหตุต่างๆที่มาเป็นปัจจัยกัน หรือมาประชุมกันขึ้นนั่นเอง ตัวตนนั้นๆจึงอิงหรือขึ้นอยู่กับเหตุปัจจัยที่ปรุงแต่งกันขึ้นมานั้นๆ จึงไม่ได้อิงหรือขึ้นกับตัวตนที่หมายถึง"ของเราเอง,ของตนเอง" จึงไม่มีใครเป็นเจ้าของอย่างแท้จริง เมื่อไม่ใช่ตนของตนหรือของเราเองอย่างแท้จริง เราเองจึงย่อมควบคุมบังคับบัญชาไม่ได้อย่างแท้จริงอีกด้วย เป็นหนึ่งในพระไตรลักษณ์ หรือสามัญญลักษณะ ที่อกาลิโกยิ่งนัก คือไม่จำกัดกาลคือไม่ขึ้นต่อกาลเวลา กล่าวคือเป็นจริงอย่างไรก็เป็นจริงอย่างนั้นอยู่ทุกกาลสมัย
    อนัตตาเป็นธรรมที่มีการถกเถียงเป็นที่วิจิกิจฉากันอยู่เนืองๆตลอดมาทุกยุคสมัย ในความที่ว่ามีตัวตน หรือไม่มีตัวตน เป็นเหตุให้การเจริญวิปัสสนาให้เข้าใจในธรรมอันคืออนัตตาเป็นไปอย่างถึงแก่นถึงแกนได้ยาก, บ้างก็กล่าวกันว่า มีตัวมีตน จักไม่มีตัวตนได้อย่างไร? ก็ตัวตนของตนบัดนี้ก็ทั้งเห็นๆ ทั้งสัมผัสกันอยู่, บ้างก็กล่าวอ้างสอนกันไปว่านิพพานเป็นอัตตาก็ยังมี, บ้างก็กล่าวอ้างว่ากันตามครูบาอาจารย์หรือตำรา,ตามพุทธพจน์หรือพระสูตรก็มีว่าไม่มีตัวไม่มีตน แต่ทั้งปวงก็มักล้วนเป็นการยึดถือตามคำบอกกล่าว หรือตามตำราหรือคัมภีร์ ที่สืบทอดกันต่อๆมา กล่าวคือ ไม่เคยเจริญวิปัสสนาโดยการโยนิโสมนสิการอย่างจริงจังและยิ่งยวดในพระอนัตตาให้เข้าใจแจ้งชัดหรือแจ่มแจ้งด้วยตนเอง หรือกล่าวได้ว่า ยังไม่เคยเกิดธรรมสามัคคีในพระไตรลักษณ์หรือพระอนัตตา
    จาก http://www.nkgen.com/

    แต่ตัวผมเอง หมายเอาว่า อนัตตา คือ ไม่มีที่ให้เติมความหมายในช่องว่างนั้น
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 17 กรกฎาคม 2009
  10. kengkenny

    kengkenny เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 ธันวาคม 2008
    โพสต์:
    2,878
    ค่าพลัง:
    +2,500
    อันนี้ก็ขอให้ได้ศึกษากันอีกครั้งหนึ่ง มโนวิญญาณ กับ จิตนั้นต่างกันอย่างไร อย่างที่เข้าใจผมเห็นว่าวิญญาณทั้งหลายเป็นเหมือนตัวส่งสิ่งทีรับรู้ได้สู่ ตัวที่รับรู้คือ จิต ซึ่งก็นั่นแหละถ้าไม่มีตัวส่งก็ไม่มีตัวรับ ว่าไหม ยังไงก็ศึกษากันดูอีกครั้งครับ
    อนุโมทนาบุญกับทุกท่านนะครับ
    อดีตที่ล่วงไป นั่นก็เป็นของไม่ควรยึด
    อนาคตที่ยังมาไม่ถึง นั่นก็เป็นของไม่ควรคำนึง
    ปัจจุบันนี้แหละแน่นอน ทำให้รู้ทำให้เห็น ทำให้เป็น ความยึดมั่นถือมั่นทั้งหลายจะได้ คลายลงๆๆๆ จนหมดไป
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 18 ธันวาคม 2009
  11. เสขะ บุคคล

    เสขะ บุคคล เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    1,240
    กระทู้เรื่องเด่น:
    54
    ค่าพลัง:
    +4,023
    ปัญญาทำให้เกิดที่จิต อย่าให้เกิดและเห็นที่พระไตรปิฏก หรือหนังสือ อย่างเดียว พึงน้อมสู่ใจด้วย ให้เห็นที่ตาใจ แล้วสิ่งที่ท่านรู้ท่านเห็นใครก็เถียงหรือเอาชนะความจริงในหัวใจท่านได้

    โมทนาสาธุ ท่านเข่ง
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 18 ธันวาคม 2009
  12. kengkenny

    kengkenny เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 ธันวาคม 2008
    โพสต์:
    2,878
    ค่าพลัง:
    +2,500
    ครับ อนุโมทนาครับ ปัญญาผมมีเท่าที่เห็นแค่นี้แหละครับ เพราะยังต้องศึกษาความจริงให้ถ่องแท้อีกหลายสิ่งครับ ขอบพระคุณและ อนุโมทนาด้วยครับ คุณเสขะ ที่ชี้แนะ
     
  13. 2ชาติตรัสรู้

    2ชาติตรัสรู้ គ្រប់គ្រាន់ รักษาดวงใจ.គ្រប់គ្រាន់

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กุมภาพันธ์ 2009
    โพสต์:
    1,696
    ค่าพลัง:
    +1,558
    มีเราจึงมีทุกข์ แต่เพราะมีเราจึงรู้จักทุกข์ และเพราะรู้จักทุกข์จึงรู้จักเรา รู้จักเราจึงรู้ได้ว่าเราไม่มี---

    ระวังอย่าตั้งเจตนาตั้งความเห็นไว้ล่วงหน้า ว่าเราคือผู้รู้ แต่เราไม่ได้เป็นผู้ทุกข์
    ต้องรู้จักเราที่ผิดๆก่อนถึงจะละเราที่ผิดๆได้ และครบตรง
     
  14. Namushakamunibutsu

    Namushakamunibutsu เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 ตุลาคม 2009
    โพสต์:
    1,347
    ค่าพลัง:
    +2,618
    ใช่อันเดียวกับอัตตานุปาทานหรือเปล่าครับ?
    ขอบคุณครับ

    โมทนาสาธุ
     
  15. kengkenny

    kengkenny เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 ธันวาคม 2008
    โพสต์:
    2,878
    ค่าพลัง:
    +2,500
    ทิฐิอันเป็นมิจฉานั้นโดยมากจะมองเห็นว่า เราด้อยเขาดี เราดีเขาด้อย กำจัดออกจากจิตได้ยาก มันเหมือนเส้นผมบังภูเขา คำสอนพระศาสดานั้นพระองค์ทรงตรัสไว้เพื่อให้ทุกๆคนเห็นตนเอง แต่ไม่ได้ตรัสไว้เพื่อให้ผู้หนึ่งนั้นเห็นอีกผู้หนึ่ง พระองค์ไม่ได้สอนให้เอาชนะผู้อื่นแต่ทรงสอนให้ชนะตนเอง ชนะใจตนเอง ชนะกิเลสในใจตนเอง พระองค์ไม่ได้ทรงสอนให้รังเกียจคนที่ด้อยกว่าหรือคนที่ต่ำกว่า พระองค์ไม่ได้สอนให้แยกแยะตนจากผู้อื่นด้วยอรรถด้วยธรรมทั้งหลาย แต่ทรงให้พิจารณาแยกแยะตนจากกิเลสอันเกิดจากตนเองนั่นแหละ
     
  16. kengkenny2

    kengkenny2 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 พฤษภาคม 2011
    โพสต์:
    592
    ค่าพลัง:
    +289
    เหตุที่ไม่พูดมากเพราะทุกสิ่งยังเป็นแบบเดิมเคยสนทนาธรรมกันไปแล้วละ
     

แชร์หน้านี้

Loading...