หลวงพ่อยกบุคคลตัวอย่าง วิสาขาคนสวยเพราะพุทธานุสสติ

ในห้อง 'หลวงพ่อฤๅษีลิงดำ' ตั้งกระทู้โดย joni_buddhist, 9 ตุลาคม 2007.

  1. joni_buddhist

    joni_buddhist Legal returns ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 กันยายน 2005
    โพสต์:
    13,555
    กระทู้เรื่องเด่น:
    203
    ค่าพลัง:
    +63,444
    <TABLE width="100%" border=0><TBODY><TR><TD align=right><OBJECT id=banner-new codeBase=http://active.macromedia.com/flash4/cabs/swflash.cab#version=4,0,0,0 height=30 width=180 align=right classid=clsid:D27CDB6E-AE6D-11cf-96B8-444553540000>























    <embed name="banner-new" src="banner-new.swf" quality="high"" width="70" height="15" type="application/x-shockwave-flash" pluginspage="http://www.macromedia.com/shockwave/download/index.cgi?P1_Prod_Version=ShockwaveFlash"> </embed></OBJECT></TD></TR></TBODY></TABLE></P><CENTER>บุคคลตัวอย่าง พุทธานุสสติกรรมฐาน</CENTER>

    <CENTER>*--*วิสาขาคนสวย*--*</CENTER>
    <CENTER><TABLE borderColor=#cccc33 cellSpacing=0 cellPadding=5 width="80%" border=2><TBODY><TR><TD bgColor=#ffff99>
    "...ขอบรรดาท่านพุทธบริษัททั้งหลาย ระมัดระวังเรื่องจิตใจให้มาก ที่สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงสอนให้ใช้ อนุสสติ คือ ตามนึกถึงความดี คือ นึกยอมรับนับถือพระพุทธเจ้าหนึ่ง ยอมรับนับถือพระธรรมหนึ่ง ยอมรับนับถือพระอริยสงฆ์หนึ่ง นี่เรียกว่า เป็นพุทธานุสสติ ธัมมานุสสติ สังฆานุสสติ พยาายามนึกถึง ศีล ที่เราต้องปฏิบัติ พยายามระมัดระวังให้ครบถ้วน นึกถึง ทาน การบริจาค นึกถึงความดีของเทวดา นึกถึงความตาย ที่จะเข้ามาถึง นึกถึงอารมณ์ของ พระนิพพาน อย่างนี้เป็นต้น อย่างใดอย่างหนึ่ง บรรดาท่านพุทธบริษัท ไม่ต้องครบทั้งหมด องค์สมเด็จพระบรมสุคตทรงสอนว่า ขึ้นชื่อว่า ความชั่วที่ทำมาแล้วในกาลก่อน จงอย่าตามนึกถึง นึกถึงความดีที่ทำไว้แล้วเท่านั้น ผลของความดีจะส่งผลให้มีความสุข คือ ไปเกิดบนสวรรค์ได้.."
    <TD vAlign=center align=middle>[​IMG] </TD></TR></TBODY></TABLE></CENTER>
    ท่านสาธุชนทั้งหลาย วันนี้ขอพบกับบรรดาท่านพุทธบริษัท ในด้านของอานิสงส์แห่งพุทธบูชา คำว่า พุทธบูชา มหาเตชวัณโต แปลเป็นใจความว่า การบูชาพระพุทธเจ้าย่อมมีเดชอำนาจมาก คำว่า เดชอำนาจ ในที่นี้ไม่ได้หมายความว่า คนที่บูชาพระพุทธเจ้าแล้ว จะต้องเป็นนักเลงโต ไม่ใช่อย่างนั้น คำว่า เดชอำนาจ ในพระพุทธศาสนา หมายถึง ความดี
    ฉะนั้น การที่บูชาพระพุทธเจ้า โดยมยอมรับนับถือความดีที่พระพุทธเจ้าทรงสั่งสอน โดยการให้ทาน รักษาศีล เจริญภาวนา และ มีความสามัคคีซึ่งกันและกัน ช่วยกันสร้างสรรค์ความดีให้เกิดขึ้น ไม่ใช่มาช่วยกันสร้างสรรค์ความเดือดร้อนความดีให้เกิดขึ้น ไม่ใช่มาช่วยกันสร้างสรรค์ความเดือดร้อนทำลายชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ และปวงชนชาวไทย และ ชาวโลกทั้งหลาย ให้มีความเดือดร้อน การมีเดช มีอำนาจในพระพุทธศาสนา หมายถึง เดชอำนาจในด้านของความดีโดยเฉพาะ เป็นทางนำมาซึ่งสันติสุข
    ตอนนี้จะขอนำบุคคลที่บูชาพระพุทธเจ้า ที่กล่าวว่า พุทธบูชา มหาเตชวัณโต มาเล่าให้บรรดาท่านพุทธบริษัทฟังว่า ท่านบูชาแล้ว ท่านมีอานิสงส์เป็นประการใดบ้าง ท่านผู้นี้ก็คือ นางวิสาขามหาอุบาสิกา ที่มีความเคารพในองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นเหตุ การที่นางบูชาองค์สมเด็จพระบรมโลกเชษฐ์ มีผลหลายประการเป็นตัวอย่าง จะนำมาคุยกับบรรดาท่านพุทธบริษัทเป็นตอน ๆ ไป สำหรับตอนนี้ จะนำเอา ความรูปสวยของนางวิสาขา มาคุยกับบรรดาท่านพุทธบริษัท
    สำหรับนางวิสาขา เคยแปลใน พระธรรมบท ปรากฏว่า เธอมีความงามเป็นพิเศษ ตอนนี้จะขอพูดเรื่อง พุทธบูชา ได้ความงามเป็นพิเศษ เพราะบรรดาสุภาพบุรุษก็ดี สุภาพสตรีก็ดี ต้องการความสวยสดงดงามด้วยกันทุกคน ที่กล่าวว่า ทุกคน ก็ถือว่า เป็นส่วนมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่ง คนที่มีสติสัมปชัญญะสมบูรณ์ ต้องการความสวย ต้องการความเรียบร้อยของร่างกาย บุคลิกลักษณะของร่างกาย ต้องการให้เป็นที่ถูกตาถูกใจ ของบุคคลผู้ทัศนา หรือว่าได้เห็น ( คำว่า ทัศนา แปลว่า ดู )
    โดยเฉพาะอย่างยิ่ง สำหรับสุภาพสตรี ถือว่า รูปเป็นทรัพย์ คือ เราจะเห็นได้ว่า สตรีคนใดมีความงาม ถึงแม้ว่าจะมีฐานะเดิมยากจนเข็ญใจ ก็อาจจะหาคู่ครองที่มีฐานะดี ๆ มีศักดิ์ศรีใหญ่ได้ ฉะนั้น องค์สมเด็จพระจอมไตรจึงกล่าวว่า สตรีมีรูปเป็นทรัพย์ ฉะนั้น ตอนนี้จะได้คุยถึง เรื่องสตรีมีรูปเป็นทรัพย์ และมีทรัพย์สินมากด้วย เอากันแค่รูปเป็นทรัพย์ก่อน คือ มีความสวย
    นางวิสาขามีความสวยเป็นกรณีพิเศษ คือ สวยไม่เหมือนชาวบ้านเขา สวยเป็นสาวอายุ ๑๖ ปี เมื่อถึงคราวอายุ ๑๖ ปี รูปร่างยอดนารี มีลักษณะเช่นใด และอยู่ต่อไปถึง ๑๒๐ ปี ก็ยังเป็นสาวแค่อายุ ๑๖ ปี อยู่นั่นเอง ลักษณะความสาว และความสวยของนางวิสาขา ตามบาลีท่านกล่าวว่ามี ๕ อย่างด้วยกัน ตามภาษาบาลีท่านเรียกว่า เบญจกัลยาณี
    สำหรับลักษณะ ๕ ประการ ถ้าจะกล่าวเป็นภาษาบาลี มันฟังยาก ตอนนี้มากล่าวกันเป็นภาษาไทย เจ้าคุณราชเมธี วัดประยุรวงศาวาส ท่านเคยประพันธ์ไว้เป็นกลอน แต่ว่าคำกลอนนี้จะถูกต้องตามแบบฉบับของนักแต่งกลอนหรือไม่ อาตมาไม่ทราบ ท่านกล่าวไว้ดังนี้
    <CENTER><TABLE width="75%" border=0><TBODY><TR><TD>๑. งามผมสมพักตร์ลักขณา
    ๒. โอษฐาจิ้มลิ้มดูพริ้มเพรา
    ๓. งามทนต์ยลปลั่งดั่งสังข์ขัด
    ๔. ผิวทัศน์กรรณิการ์งามราศรี
    ๕. จะคลอดบุตรสักเท่าไรวัยยังดี
    หญิงเช่นนี้ใครได้มางามหน้าเอย
    </TD></TR></TBODY></TABLE></CENTER>
    ที่นางวิสาขามีความสวย ๕ ประการ ถ้าหากว่า บรรดาสุภาพสตรีในสมัยปัจจุบัน มีความสวยครบ ๕ ประการ อย่างนางวิสาขา จะเป็นการลดค่าครองชีพลงมาก และโดยเฉพาะอย่างยิ่ง ก็จะเป็นการลำบากสำหรับนักตั้งสำนักงานสร้างความเสริมสวย เพราะว่าหน่วยการสร้างความเสริมสวยนี้ จะตั้งขึ้นมาไม่ได้เลย เพราะว่าคนงามเสียแล้วทั้งหมด ก็ไม่มีใครเขาไปจ้างเสริมความงามกัน
    ความงามของนางวิสาขา จะพูดให้ฟังตามคำกลอนของ ท่านเจ้าคุณราชเมธี วัดประยุรวงศ์ฯ ท่านแต่งมาจากเนื้อแท้ของบาลีว่า
    ๑. งามผมสมพักตร์ลักขณา ผมของนางวิสาขานี้สลวยอยู่ตลอดเวลา เรียบ ไม่ต้องตัด ไม่ต้องชำระสะสางก็ไม่เหม็นสาบ ผมจะไม่ยาวเกินไป ไม่สั้นเกินไป ไม่เหม็นสาบ ไม่เหม็นสาง ถ้าสมัยไหนเขาต้องการเรียบ ผมของนางก็เรียบ ต้องการหยิก ผมก็หยิก ต้องการเป็นผมลอน ผมก็เป็นลอน หมายถึงว่า ในสมัยใด ต้องการแบบใด ลักษณะผมของนางวิสาขา จะเป็นไปตามสมัย ไม่ต้องดัดแปลง ไม่ต้องแก้ไข ไม่ต้องตกแต่ง ไม่ต้องตัด ไม่ยาวเกินไป ไม่สั้นเกินไป เป็นอันว่า งามผม
    ๒. โอษฐาจิ้มลิ้มดูพริ้มเพรา ริมฝีปากของนางวิสาขาไม่มีริ้ว ไม่มีรอย เป็นริมฝีปากสวย มีความแดงระเรื่อ พอสมควร ไม่ต้องไปแตะไปต้องอะไรทั้งหมด ปรากฏว่า สวยอยู่ตลอดเวลา
    ๓. งามทนต์ยลปลั่งดั่งสังข์ขัด ฟันของนางวิสาขาเรียบ และเป็นเงางาม คล้ายมุก ไม่ต้องตกแต่งเหมือนกันอยู่ตลอดเวลา
    ๔. ผิวทัศน์กรรณิการ์งามราศรี คำว่า ผิว ในที่นี้ ถ้าเขานิยมดำ ก็ดำสวย ถ้าเขานิยมขาว ผิวก็ขาว เขานิยมเหลือง ผิวก็เหลือง เป็นไปตามความนิยม ไม่มีไฝ ไม่มีฝ้า ไม่มีขี้แมลงวัน ถึงแม้ว่าจะไม่อาบน้ำสักเดือนหนึ่ง ผิวของนางวิสาขาก็ไม่เลอะ ไม่สกปรก ไม่เหม็นสาบ ไม่เหม็นสาง
    ๕. จะคลอดบุตรสักเท่าไรวัยยังดี หมายความว่า หญิงประเภทนี้ ถ้าคลอดบุตรเมื่ออายุเท่าไร มีความงามของทรวดทรงอยู่ในระดังไหน ความงามของทรวดทรงจะอยู่ในระดับนั้น จนกว่าจะถึงวันตาย ไม่มีการเปลี่ยนแปลง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง นางวิสาขามีความงาม ๕ ประการ และคลอดบุตรเมื่ออายุ ๑๖ ปี เมื่อนางแก่ถึงอายุ ๑๒๐ ปี ก็ปรากฏว่า เป็นหญิงเหมือนอายุ ๑๖ ปี นั่นเอง
    [​IMG]ตัวอย่างในที่นี้ ก็ปรากฏมาในพระธรรมบทว่า สมัยหนึ่ง เมื่อองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ยังดำรงพระชนม์อยู่ สมัยนั้น องค์สมเด็จพระบรมครูกำลังแสดงพระธรรมเทศนาโปรดพุทธบริษัท นางวิสาขาเป็นพระโสดาบัน แต่งงานเมื่ออายุ ๑๖ ปี หรืออาจจะก่อนหน้าสักนิด และคลอดบุตรเมื่ออายุ ๑๖ ปี
    หลังจากนั้น นางวิสาขาก็มีบุตร ๒๐ คน วิสาขา แปลว่า งอกงามเหมือนกับกิ่งก้านของไม้ที่มีสาขา คือ กิ่งยาวสล้าง เป็นพุ่มสวย ไม่ใช่ไม้ชะลูด ฉะนั้น คำว่า วิสาขา แปลว่า กิ่งงามมาก แค่กิ่งนั้นล่อเข้าไปตั้ง ๒๐ กิ่ง คือ ลูก และนางวิสาขาก็ยังมีหลานอีก โดยลูกทั้งหมด ปรากฏว่ามีบุตรมาคนละ ๒๐ คน ( ท่านทั้งหลายก็เอา ๒๐ ตั้งเข้าไป แล้วก็เอา ๒๐ คูณเข้าไป เข้าไปเท่าไรแล้ว แล้วก็เอาอีก ๒๐ ของ ๒๐ มาตั้ง คูณ ๆ กันลงไป ก็หมดเรื่องกันไป เท่าไรก็ช่าง )
    จะเห็นว่าวิสาขานี้ สมชื่อของนาง มีกิ่งก้านสาขางอกงาม ทั้งลูก ทั้งหลาน หลายร้อยคน ถ้าจะเดินขบวนกัน ก็เห็นจะไม่ต้องเกณฑ์ชาวบ้านชาวเมืองที่ไหน
    เป็นอันว่า ในสมัยนั้น เมื่อองค์สมเด็จพระทศพลกำลังเทศน์อยู่ นางวิสาขานั่งอยู่ระหว่างท่ามกลางหลาน ๆ ซึ่งมีความเป็นเด็กรุ่นสาว พระเจ้าปเสนทิโกศล บรมกษัตริย์ พระบาทท้าวเธอได้ยินข่าว เขาเล่าลือกันว่า นางวิสาขามีลูก ๒๐ คน และลูกมีลูกอีกคนละ ๒๐ คน แต่ว่านางวิสาขายังสาวเท่าหลาน จึงต้องการอยากทราบ จึงย่อง ๆ ไปมองดู เห็นองค์สมเด็จพระบรมครูกำลังแสดงพระธรรมเทศนา บรรดาสาว ๆ ทั้งหลาย นับเป็นจำนวนร้อย นั่งอยู่หน้าองค์สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้า พร้อมด้วยพุทธบริษัท
    แต่ความจริง นางวิสาขานั่งอยู่ท่ามกลางบรรดาหลานสาว ๆ รุ่น ๆ พระองค์ทรงทอดพระเนตรดู ก็ไม่รู้ว่า คนไหนคือ นางวิสาขา จึงถาม ท่านหมอชีวกโกมารภัจ ว่า นางวิสาขาคนไหน ท่านหมอชีวกโกมารภัจก็ชี้ให้ดู บอกว่า นางวิสาขาอยู่ท่ามกลางหลาน พระพุทธเจ้าข้า พระเจ้าปเสนทิโกศล พระบาทท้าวเธอทอดพระเนตร ก็หาทราบไม่ว่า ใครคือนางวิสาขาแน่ เพราะหาคนแก่ไม่ได้ มีแต่เด็กสาวรุ่น ๆ
    ท่านหมอชีวกโกมารภัจ จึงได้กราบทูลว่า ถ้าพระองค์ไม่ทรงทราบ คอยดูเวลาลุกขึ้นเมื่อเทศน์จบ ตามธรรมดาเด็กหนุ่ม ๆ สาว ๆ ก็มีกำลังมาก เวลาจะลุก เขาก็ลุกขึ้นมาปกติ ถ้าคนแก่ เวลาจะลุกขึ้น จะต้องเอาสองมือยันพื้นก่อน จึงจะลุกขึ้น
    ฉะนั้น เวลาที่พระพุทธเจ้าทรงเทศน์จบ เขาก็ลุกกันตามปกติ หลาน ๆ ลุกไม่ต้องใช้มือยัน สำหรับนางวิสาขานั้น ใช้มือทั้งสองข้างยันพื้น จึงลุกขึ้นได้ เป็นอันว่า พระเจ้าปเสนทิโกศลทราบแล้วว่า ใครคือ นางวิสาขา ดูรูปร่างหน้าตาเป็นสาวรุ่น ๆ อายุราว ๑๖ ปี เท่านั้นเอง
    บรรดาท่านพุทธบริษัท สำหรับตอนนี้ เรื่องพุทธบูชากล่าวถึงอานิสงส์ก่อน มาหยุดกันไว้แค่ตอนนี้ เรื่องของนางวิสาขาไม่ใช่หมดเพียงเท่านี้ นี่เป็นตอนหนึ่งเฉพาะ เป็นตอนสั้น ๆ ที่ตัดมาเฉพาะเรื่อง พุทธบูชา ทำให้คนสวย คือ มีอานุภาพ สามารถทำร่างกายให้คนสวย
    ต่อไปนี้ จะขอกล่าวถึง ต้นเหตุที่นางวิสาขา ทำไมจึงสวยเช่นนี้ ตามพระบาลีท่านกล่าวว่า ถอยหลังไปจากชาตินี้ ในสมัยพระพุทธกัสสปสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงอุบัติขึ้นในโลก เวลานั้น นางวิสาขา เป็นสาวชาวบ้านธรรมดา สาวหรือไม่สาว ก็ไม่ทราบ คงจะเป็นสาวก่อน และต่อมาก็คงจะมาเป็นแม่บ้านไปใช้ศัพท์ว่า สาว มันอาจจะผิดบาลี แต่ความจริงจะผิดเลยทีเดียวก็ไม่ได้ เพราะว่าคนเกิดมาเป็นเด็ก แล้วก็เป็นสาว แล้วต่อไปจึงแก่เฒ่าทีหลัง
    เป็นอันว่า ในสมัยนั้นนางวิสาขาก็มีความเลื่อมใสในองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงพระนามว่าพระพุทธกัสสป เคารพในพระพุทธเจ้าจริง ๆ เวลาที่เขาจะมีเทศน์ เขาจะทำบุญกันที่ไหน นางวิสาขาไปด้วยความเต็มใจ ไปฟังด้วยความเคารพ และบำเพ็ญกุศลด้วยความเคารพ แต่ว่านางวิสาขา เวลาที่บำเพ็ญกุศล ในจรรยาสัมมาปฏิบัติแล้วไม่เคยอธิษฐาน หลังจากทำบุญในศาสนาขององค์สมเด็จพระประทีปแก้วว่า ขอให้ได้เบญจกัลยาณี คือ มีความงาม ๕ ประการ
    ความจริง นางวิสาขาไม่ได้อธิษฐานอย่างนี้ มีความต้องการอย่างเดียวคือ การบำเพ็ญกุศลในศาสนาขององค์สมเด็จพระชินศรี นางมีความต้องการเฉพาะ คือ พระนิพพาน หรือความสุขในปัจจุบัน
    การทำบุญ บรรดาท่านพุทธบริษัท เราได้รับผลกันในปัจจุบัน คือ รับความสุขในชาติปัจจุบันนี้ก่อน แล้วต่อไป บุญจึงสะท้อนให้เราเข้าสู่พระนิพพาน เมื่อบุญบารมีเต็ม
    ปรากฏว่า ในกาลครั้งหนึ่ง ตามพระบาลีท่านว่าอย่างนั้น เมื่อนางวิสาขาไปฟังเทศน์ เขาบอกกล่าวกัน บอกว่ามีพระท่านเทศน์ จึงตั้งใจจะไปฟังเทศน์ แต่ในระหว่างทางปรากฏว่า นางวิสาขาไปพบพระพุทธรูปองค์หนึ่ง เขาสร้างไว้ในสถานที่โล่งแจ้งคือ ตากแดด และพระพุทธรูปนั้นมีรอยร้าว เปลือกกระเทาะ ทองก็ล่อนไปหมด ปูนก็กระเทาะจนแหว่ง แลดูไม่สวยสดงดงาม ไม่เจริญตา นางวิสาขาจึงเข้าไปกราบ นมัสการพระพุทธรูป ตั้งใจเจริญใจเป็นพุทธบูชา กล่าวปฏิญาณว่า
    เมื่อข้าพเจ้ากลับมาจากฟังพระธรรมเทศนาแล้ว จะให้ช่างมาทำนุบำรุงพระพุทธปฏิมากร รูปแทนขององค์สมเด็จพระประทีปแก้ว ให้มีความสวยสดงดงาม

    เมื่อนางไหว้พระพุทธรูป นึกถึงคุณของพระพุทธเจ้าแล้ว นางก็ไปฟังเทศน์ เมื่อเทศน์จบ คนเขากลับ นางวิสาขาก็กลับ เมื่อกลับมา ผ่านพระพุทธรูปนั้น ก็เข้าไปกราบอีก กล่าวคำปฏิญาณตามนั้น
    หลังจากนั้นแล้ว นางวิสาขาเมื่อมาถึงบ้าน จึงได้สั่งให้นายช่างไปจัดการทำนุบำรุงรูปพระปฏิมากร คือ พระพุทธรูป ซ่อมแซมให้เรียบร้อย ให้ดีคงเดิม พอเสร็จแล้วก็ทาสี หรือว่าปิดทอง เสร็จตามความนิยมในสมัยนั้น ตามพระบาลีไม่ได้บอกว่า เขาทาสีหรือปิดทอง ทำตามความนิยมที่เห็นว่าสวยสดงดงาม เป็นที่เจริญตาเจริญใจ
    หลังจากนั้น นางวิสาขาจึงได้ให้นายช่างปลูกโรง ทำหลังคาคลุมพระพุทธรูป ไม่ยอมให้ตากแดดตากฝนเหมือนเดิม
    นี่แหละ บรรดาท่านพุทธบริษัท เป็นหัจจัยให้นางวิสาขาได้ เบญจกัลยาณี คือ มีความงาม ๕ ประการ ทั้งนี้ก็เพราะว่า องค์สมเด็จพระพิชิตมารบรมศาสดาทรงรับรองเรื่องนี้ว่า การที่นางวิสาขาได้ เบญจกัลยาณี คือ มีความดี ๕ ประการของรูปโฉม ก็เพราะว่านางวิสาขาทำนุบำรุง ซ่อมแซมพระพุทธรูป ที่เก่าคร่ำคร่า มีสภาพไม่ดี ให้กลับมีสภาพสวยสดงดงาม เพราะอานิสงส์ทำความงามให้แก่พระพุทธรูป อานิสงส์นี้จึงสร้างสรรค์ให้ นางวิสาขาได้ เบญจกัลยาณี
    นี่แหละ บรรดาท่านพุทธบริษัท ที่กล่าวว่า พุทธบูชา มหาเตชวัณโต การบูชาพระพุทธเจ้าย่อมมีเดชมีอำนาจ ความจริง คำว่า เดช คำว่า อำนาจ ในที่นี้หมายความว่า เราจะได้รับความดี ซึ่งเป็นเครื่องตอบสนอง
    เอาละ บรรดาท่านพุทธบริษัท ถ้าบรรดาท่านพุทธบริษัททั้งหลาย มีความปรารถนาความสวย ซึ่งเป็นเหตุสร้างความสุขใจให้เกิดขึ้นแก่ท่าน ก็ขอบรรดาท่านพุทธบริษัททุกท่าน ปฏิบัติตนเยี่ยงนางวิสาขา จะได้เบญจกัลยาณี ๕ ประการ ตามที่กล่าวมาแล้ว
    แต่ว่าก่อนที่ท่านทั้งหลายจะได้เบญจกัลยาณี ความดีย่อมจะปรากฏแก่บรรดาท่านพุทธบริษัทในชาติปัจจุบัน คือ สำหรับนางวิสาขานั้น ปรากฏว่า เป็นผู้หนักไปด้วยการให้ทาน การให้ทาน เป็นการสร้างมิตร บรรดาท่านพุทธบริษัท เป็นการทำลายจิตของบุคคลผู้เป็นศัตรู บุคคลผู้ให้ ย่อมเป็นที่รักของบุคคลผู้รับทาน
    ในเมื่อเรามีคนรักมาก ๆ บรรดาท่านพุทธบริษัท ความสุขมันก็มาก ทั้งนี้เพราะว่า เราไปทางไหน ไม่มีศัตรู มีแต่คนเป็นที่รัก ไปทางไหนก็ตาม จะพบกับความยิ้มแย้มแจ่มใส จะมีความสุขใจอยู่ตลอดเวลา
    ทีนี้ถ้าเราเป็นคนมีศีลอีก คนที่มีศีลได้ ก็เพราะอาศัยจิตเมตตาเป็นสำคัญ
    เราไม่ประทุษร้ายท่าน เราไม่ทำอะไรเขาให้รับความลำบาก เราไม่ฆ่าเขา
    เราไม่ลักทรัพย์สินของบุคคลใด
    เราไม่ยื้อแย่งความรักของบุคคลอื่น
    [​IMG]เราพูดแต่ความจริง
    ทำสติสัมปชัญญะของเราให้สมบูรณ์ เป็นคนมีความมั่นคงในสติสัมปชัญญะ

    เมื่อเราไม่ละเมิดสิ่งเหล่านี้ เราก็เป็นที่รักของบุคคลอื่น ความสดชื่นในชีวิตมันก็ปรากฏ
    ฉะนั้น องค์สมเด็จพระบรมสุคต จึงได้กล่าวว่า <CENTER><TABLE width="100%" border=0><TBODY><TR><TD>สีเลนะ สุคะติง ยันติ <TD>บุคคลใดปฏิบัติศีล ย่อมมีความสุขเป็นธรรมดา</TD><TR><TD>สีเลนะ โภคะสัมปะทา <TD>บุคคลใดรักษาศีลบริสุทธิ์แล้ว บุคคลนั้นจะมีทรัพย์สินเยือกเย็น บริบูรณ์ไปด้วยทรัพย์สมบัติ</TD><TR><TD>สีเลนะ นิพพุติง ยันติ <TD>ศีลย่อมเป็นปัจจัยให้เข้าถึงพระนิพพาน</TD></TR></TBODY></TABLE></CENTER>
    หากว่าท่านพุทธบริษัททุกท่าน มีทั้งทาน มีทั้งศีล จะมีความสุขมาก ถ้าหากว่าปฏิบัติตามมติขององค์สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าอีกสักนิด คือ ทำใจให้สบาย ที่เรียกว่า ทำจิตให้เป็นสมาธิ ก็คือ เอาจิตตั้งไว้ในอารมณ์ที่เป็นกุศล ไม่คิดจะทำลายตน และไม่คิดทำลายบุคคลอื่น สร้างความแช่มชื่นให้ปรากฏ โดยยึดถือ คุณพระพุทธเจ้า คุณพระธรรมเจ้า คุณพระสงฆ์ เป็นประจำใจ นึกถึงทานการบริจาค เข้าไว้ ว่า เราตั้งใจจะสงเคราะห์บุคคลอื่นให้มีความสุข ตามกำลังที่เราจะทำได้ นึกถึงศีลที่เคยรักษาเข้าไว้ นึกถึงความดีของเทวดาว่า เทวดา ท่านจะเป็นเทวดาได้ เพราะอาศัยความอายบาป คือ อายความชั่ว เกรงกลัวความชั่ว
    ถ้าทำได้อย่างนี้ บรรดาท่านพุทธบริษัท หากว่าท่านทั้งหลายจะยังไม่ตายจากชาตินี้ ยังไม่ได้เบญจกัลยาณี ก็จะมีแต่ความสุขใจ จะไปสถานที่ใด ก็จะพบแต่คนที่เป็นมิตร จิตใจก็จะมีความสุข
    เอาละ บรรดาท่านพุทธบริษัททั้งหลาย การคุยกันเรื่อง พุทธบูชา มหาเตชวัณโต คือ การบูชาพระพุทธเจ้าย่อมมีเดชอานุภาพมาก สำหรับตอนนี้ก็ขอยุติไว้แต่เพียงเท่านี้ ขอความสุขสวัสดิ์พิพัฒนมงคล สมบูรณ์พูนผล จงมีแด่บรรดาท่านพุทธศาสนิกชนทุกท่าน สวัสดี
    <CENTER><TABLE borderColor=#996699 cellSpacing=0 cellPadding=5 width="90%" border=1><TBODY><TR><TD>[​IMG] <TD bgColor=#9966cc>"...ดีหรือชั่วมันอยู่ที่การควบคุมกำลังใจ ถ้าใจของเราบริสุทธิ์ผุดผ่องเสียอย่างเดียว ใครจะว่าดีหรือชั่วไม่มีความสำคัญ เขาจะประณามเราว่าเลว มันก็เลวไม่ได้ มันก็ต้องดีอยู่ตลอดเวลา ถ้าจิตของเราชั่ว เขาจะสรรเสริญว่าดี มันก็ดีไม่ได้เหมือนกัน นี่เป็นอันว่า พระพุทธเจ้าทรงให้รักษากำลังใจเป็นสำคัญว่า ควบคุมกำลังใจให้ดีไว้แล้วมันก็ดีเอง ไม่ต้องไปฟังคำชาวบ้านเขา การที่เราต้องดี เพราะรอให้ชาวบ้านเขาสรรเสริญนั่นมันเป็นอารมณ์ของความชั่ว..."</TD></TR></TBODY></TABLE></CENTER>ที่มา http://www.putthawutt.com/html/menu.html
     

แชร์หน้านี้

Loading...