หลวงปู่ปาน วัดบางนมโค พระโพธิสัตว์แห่งอยุธยา ตอน ปฏิปทาด้านการสอนกรรมฐานของหลวงพ่อปาน

ในห้อง 'หลวงพ่อฤๅษีลิงดำ' ตั้งกระทู้โดย joni_buddhist, 7 พฤษภาคม 2015.

  1. joni_buddhist

    joni_buddhist Legal returns ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 กันยายน 2005
    โพสต์:
    13,555
    กระทู้เรื่องเด่น:
    203
    ค่าพลัง:
    +63,444
    หลวงปู่ปาน วัดบางนมโค พระโพธิสัตว์แห่งอยุธยา ตอน ปฏิปทาด้านการสอนกรรมฐานของหลวงพ่อปาน
    [​IMG]
    ก็ได้เล่าถึงปฏิปทาอื่น ๆ มามากแล้ว สำหรับเทปหน้านี้ ก็จะได้เล่าถึงปฏิปทาด้านการสอนสมถกรรมฐาน และวิปัสสนากรรมฐาน เพราะว่าสมถกรรมฐาน และวิปัสสนากรรมฐานนี้ ดูเหมือนว่าจะเป็นปฏิปทาหลัก ของท่านเลยทีเดียว
    เพราะว่าโดยอัธยาศัยแล้ว ท่านมีกฎอยู่ข้างหนึ่ง สำหรับพระที่เข้าไปบวชในสำนักของท่าน ในสมัยนั้นเวลาที่จะเข้าไปบวช ท่านจะถามก่อนว่า จะบวชเพื่อท่องหนังสือสวดมนต์โดยเฉพาะ หรือว่าจะสวดมนต์เพื่อศึกษาพระปริยัติธรรม หรือว่าบวชเพื่อศึกษาในด้านสมถกรรมฐาน และวิปัสสนากรรมฐานถ้าหากว่ามีท่านใดไปบอกท่านว่า บวชเพื่อท่องหนังสือสวดมนต์ธรรมดา ท่านก็บอกว่า บวชได้สำหรับวัดนี้ แต่ว่าอยู่ที่นี่ไม่ได้ เพราะที่นี่ไม่ต้องการคนที่บวชเข้ามาแล้ว กินกับข้าว กินอาหารของชาวบ้านที่เขาเลี้ยง เพื่อประโยชน์แห่งความอ้วนพีโดยเฉพาะ

    เพราะทั้งนี้ท่านถือว่า พระที่บวชเข้ามาแล้ว ก็หวังที่จะท่องหนังสือสวดมนต์ เพื่อไปสวดมนต์เพื่อมาติกา เพื่อเอาทรัพย์มาเลี้ยงตัวนั้น เป็นคนที่อาศัยบุญของชาวบ้าน ไม่ใช่บวชให้เกิดบุญเกิดกุศล เพราะการกระทำอย่างนั้น ก็ยังไม่ได้ชื่อว่าเป็นนักบวชที่ปฏิบัติตามพระธรรมวินัย อันนี้ท่านผู้ฟังอาจจะยังไม่เข้าใจ จะพูดให้ฟังเพราะว่าการจะเป็นพระได้

    พระในพระพุทธศาสนานี้อันดับต้น คือ
    ๑. ศึกษาพระปริยัติธรรม เพื่อให้เข้าใจแนวปฏิบัติที่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงสั่งสอน และระหว่างที่ศึกษาพระปริยัติธรรมนั่นแหละ ก็ต้องปฏิบัติศีลให้บริสุทธิ์ ปฏิบัติสมาธิจิตให้ตั้งมั่น และก็เจริญวิปัสสนาญาณให้ควบคู่กันไป ไม่ใช่ว่าบวชเข้ามาแล้วตั้งใจว่า จะเรียนนักธรรมถึงนักธรรมชั้นเอก เป็นเปรียญถึงเปรียญ ๙ ประโยค แล้วก็รอตำแหน่งพระครู รอตำแหน่งเจ้าคุณ จนกว่าจะแก่เฒ่าทำอะไรไม่ถนัด แล้วจึงจะศึกษาในสมถกรรมฐาน และวิปัสสนากรรมฐาน ถ้านักบวชเป็นแบบนี้เขาเรียกว่า อุปสมชีวิกา หมายความว่า บวชเพื่ออาศัยศาสนาเลี้ยงชีวิต ไม่ได้ทำตนให้เข้าถึงพระพุทธศาสนา นี่ท่านพูดอย่างนี้นะนี่พูดตามของท่าน เพราะว่านักบวช ถ้าจะบวชเข้ามาเพียงท่องคำสวดมนต์ หรือบทสวดมนต์ แล้วก็หวังจะสวดมนต์เช้า สวดมนต์เย็น มาติกา บังสุกุล การท่องหนังสือสวดมนต์เท่านั้น ยังไม่รู้พระธรรมวินัย คำที่ว่ารักษาศีล ๒๒๗ ยังไม่รู้ว่าศีลมีรูปร่างเป็นอย่างไร อะไรเป็นศีล ในเมื่อคนถ้ายังไม่รู้ว่าอะไรเป็นศีลล่ะก็ จะรักษาศีลได้อย่างไร
    เหมือนกับเราจะเลี้ยงควาย ถ้าเราไม่รู้จักว่าควายมันเป็นอย่างไร เขาบอกให้ไปเลี้ยงควาย หรือเอาควายออกไปเลี้ยง ดีไม่ดีก็จะจับเอาแพะ เอาแกะ เอาสุกร เอาหมูหมาอะไร ไปเลี้ยงแทนควายเข้าก็ได้ ฉะนั้นประโยชน์ที่จะพึงเลี้ยงควาย ก็ไม่ได้เอาควายไปเลี้ยง ผลที่สุดก็เอาสัตว์ที่เขาไม่สั่ง หรือไม่พึงปรารถนาไปเลี้ยง
    ข้อนี้มีอุปมาฉันใด ก็เหมือนกับพระที่บวชเข้ามาในพระพุทธศาสนา ที่ท่านไม่ต้องการพระประเภทท่องหนังสือสวดมนต์อย่างเดียว ก็เพราะว่าท่านหาว่าพวกนี้บวชเข้ามาทำลายพระศาสนา เพราะการไม่ศึกษาพระปริยัติธรรม
    ทีนี้ถ้ามีบุคคลบางคนบอกว่า บวชเพื่อจะเรียนบาลี บวชเพื่อจะเรียนนักธรรม
    ท่านก็ถามอีกว่า จะเรียนเฉพาะบาลี หรือนักธรรมเท่านั้น หรือจะศึกษาสมถกรรมฐาน และวิปัสสนากรรมฐาน ไหม
    ถ้าผู้นั้นบอกว่า ยังก่อน จะเรียนเฉพาะบาลีนักธรรมก่อน
    ท่านก็บอกว่า บวชได้ แล้วก็เรียนได้ด้วย แต่ว่าต้องไปอยู่วัดอื่น พายเรือมาเรียน หรือเดินมาเรียนได้ อันนี้มีคนเคยถามท่านว่าทำไมไม่เปิด โอกาสให้พระประเภทนั้นได้อยู่บ้าง ท่านบอกว่า อยู่เปลืองวัด เพราะว่าอยู่เปลืองสถานที่ คนที่หวังปฏิบัติความดีเขาจะได้อยู่บ้าง พวกนี้ก็มาอยู่กันซะเต็มหมด คนที่หวังปฏิบัติความดีก็ไม่มีโอกาสจะได้อยู่ ฉะนั้นพระที่จะบวชกับท่านได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าไม่หวังอย่างอื่นทั้งหมด ก็ต้องหวังในการเจริญสมถกรรมฐาน และวิปัสสนากรรมฐาน โดยเฉพาะ เมื่อพวกนี้เข้ามาบวชแล้ว ท่านก็พยายามจะอบรมพระธรรมวินัยหลัง จากทำวัตรเช้า - ทำวัตรเย็นแล้วทำวัตรเช้าเสร็จท่านก็อบรมวินัย ๑๕ นาที ทำวัตรเย็นเสร็จ ท่านก็อบรมวินัยอีก ๓๐ นาที ท่านพูดให้ฟังย่อ ๆ เข้าใจง่าย ดีกว่าเราดูหนังสือเสียอีก และเมื่ออบรมวินัยเสร็จเรียบร้อยแล้ว ก็อบรมธรรมะส่วนอื่น ที่มีความจำเป็นเรื่อยไป ควบคู่กันไปกับการอธิบายในสมถกรรมฐาน และวิปัสสนากรรมฐาน
    ที่มา http://palungjit.org/threads/เพียง๑๐๐บาทร่วมบุญปิดสมเด็จพระพุฒาจารย์โต๖๙นิ้ว.548123/
     

แชร์หน้านี้

Loading...