ส.อบจ."พรศรี พรหมภักดี" ศรัทธาพระป่าสายหลวงปู่มั่น

ในห้อง 'ประสบการณ์ เรื่องเล่า' ตั้งกระทู้โดย guawn, 29 ตุลาคม 2006.

  1. guawn

    guawn เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    10,642
    ค่าพลัง:
    +42,113
    ส.อบจ."พรศรี พรหมภักดี" ศรัทธาพระป่าสายหลวงปู่มั่น

    คอลัมน์ พระเครื่องคนดัง

    สุพจน์ สอนสมนึก



    [​IMG] "เรื่องความเชื่อถือ มักจะควบคู่กับเรื่อง "บาป" และ "บุญ" เพราะหากไม่มีความเชื่อในเรื่องพวกนี้จะทำให้คิดทำสิ่งไม่ดี ก็คือบาป นั้นเอง หากทำดีคิดดีก็คือบุญ" นี่เป็นส่วนหนึ่งในความเชื่อของหญิงเก่ง "พรศรี พรหมภักดี" ประธานกรรมการพัฒนาสตรีจังหวัดสกลนคร (กพสจ.)

    "โดยนิสัยส่วนตัวแล้วจะมุ่งมาทางพระสงฆ์มากกว่า เพราะตั้งแต่เด็กคุณพ่อคุณแม่ ก็มักพาไปวัดด้วยทุกครั้ง จึงมองว่าสังคมไทย โดยเฉพาะในเรื่องของชนบทนั้น เป็นโอกาสดีๆ มาก และคนในเมืองก็ไม่คอยได้ทำและมีกันนั้นก็คือ การสั่งสมความอ่อนโยน อ่อนน้อมถ่อมตน รู้จักพระสงฆ์องค์เจ้า ก็จะทำให้จิตใจสงบสบายดี ไม่ฟุ้งซ่าน จะเกิดสมาธิดีมาก เรียกว่าหากเข้าวัด จะได้อะไรมากมาย"

    หากเล่าชีวิตให้ฟังอาจจะเป็นเรื่องที่น่าทึ่งพอสมควร เพราะเป็นคนชนบท ชีวิตจึงทำได้หลายอย่างทั้งทอผ้า ทอเสื่อ หรือสิ่งที่ผู้หญิงคนชนบททำได้ คิดว่าทำได้หมดทุกอย่าง จนกระทั่งเรียนหนังสือจบ ก็แต่งงานกับนายสาคร พรหมภักดี อดีตข้าราชการโฆษกสถานีวิทยุ 909 กรป.กลาง ในสมัยนั้นทำหน้าที่ทุกอย่าง
    <TABLE style="BORDER-RIGHT: #ffffff 1px dotted; BORDER-TOP: #ffffff 1px dotted; BORDER-LEFT: #ffffff 1px dotted; BORDER-BOTTOM: #ffffff 1px dotted" cellSpacing=5 cellPadding=1 width="20%" align=right border=1><TBODY><TR bgColor=#ffe9ff><TD>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE>

    ต่อมา นายสาคร พรหมภักดี หันมาลงสมัครส.ส.และได้เป็นส.ส. งานยิ่งหนักขึ้น และเป็นส.ส. 5 สมัยติดต่อกันมาแล้ว จากนั้นได้ผลักดันตนเองให้ลงสมัคร ส.อบจ.เขตอำเภอวาริชภูมิ ที่เป็นบ้านเกิด ซึ่งไม่เคยทำมาก่อน แต่ก็ได้รับการเลือกตั้งเข้ามาด้วยคะแนนเสียงที่ทิ้งห่างคู่แข่งอย่างมาก

    โดยมีแนวคิดว่าสตรีก็ย่อมมีสิทธิเท่าเทียมกับชาย ต้องทำได้ และในปีต่อมาก็ได้ถูกเสนอชื่อ เข้าแข่งขันเป็นประธานกรรมการพัฒนาสตรีจังหวัดสกลนคร (กพสจ.) ผลการเลือกไม่มีคู่แข่ง จึงได้เข้ามาทำหน้าที่ ประธาน กพสจ. อีกตำแหน่งหนึ่ง นอกจากหน้าที่ ส.อบจ.

    "สิ่งที่ทำและผลักดันก็คืออยากให้สตรีมีบทบาทในสังคมมากขึ้น ไม่ใช่มีแค่เฉพาะกฎหมายที่เขียนไว้เท่านั้น นอกจากนั้นสิ่งที่ทำในปัจจุบันก็คือเรื่องที่เกี่ยวกับเด็ก สตรี โดยจะมุ่งเน้นกิจกรรมที่เข้าหาวัด เข้าหาพระ คิดว่าคนเราหากเข้าวัด ไปหาพระ ไม่ใช่ไปแสวงหาเครื่องรางของขลังอะไร แต่เข้าไปเพื่ออบรมจิตใจซึมซับเอาธรรมะมาปฏิบัติก็จะทำให้ดูเกิดความเป็นผู้หญิงไทยมากขึ้น"

    ปัจจุบันพบว่าการแต่งตัวเข้าวัดก็ไม่ได้มีการเน้นหรือบังคับ ในเรื่องการแต่งกายของผู้หญิงก็ตาม หากไม่สุภาพก็ไม่อยากให้เข้าไป ไม่อยากให้เป็น คอแขวนพระแต่ปากพูดอีกอย่าง แบบนี้ก็ไม่ดี

    "สมัยเล็กเด็กๆ คุณพ่อคุณแม่มักพาไปวัดเป็นประจำ ดังนั้นจึงอยากเห็นภาพดังกล่าวกลับคืนมา อยากเห็นผู้คนตักบาตรทำบุญด้วยความอิ่มใจอิ่มบุญ ไม่ใช่แต่เปลือกภายนอกเท่านั้น สังคมที่บอกว่าเสื่อมก็น่าจะมาจากแบบนี้ ซึ่งเรื่องพวกนี้จะมีการผลักดันให้เกิด เพราะจะหาภาพอย่างนี้ยากมาก เพราะวัดเมื่อเข้าไปแล้วจิตใจสบาย ปัญหาสังคมทั้งเด็กและสตรีส่วนหนึ่งน่าจะมาจากการห่างวัดนั้นเอง"

    ส่วนพระที่ห้อยคอเป็นรูปเหมือนหลวงปู่พรหม วัดช่องแค อ.ตาคลี จ.นครสวรรค์ ได้มาจากญาติผู้ใหญ่ให้มาเมื่อสมัยที่แต่งงานใหม่ๆ และมักห้อยคอเป็นประจำ สลับกับเหรียญหลวงปู่ฝั้น อาจาโร รุ่น 7 จริงๆ แล้วชอบศึกษาเรื่องราวประวัติพระเกจิอาจารย์ต่างๆ โดยเฉพาะประวัติพระสายปฏิบัติหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต จะอ่านจนไม่เบื่อ

    จะแขวนจะห้อยพระอะไรก็ตาม หากจิตใจไม่มีพระอยู่ในตัวก็เป็นเรื่องยาก

    สรุปก็คือหากไม่มีธรรมะในใจก็ไร้ประโยชน์ที่ห้อยพระ
    ref.http://www.matichon.co.th/khaosod/khaosod_detail.php?s_tag=03bud07291049&day=2006/10/29
     

แชร์หน้านี้

Loading...