สัมมาทิฏฐิ - รุ่งอรุณของนิพพาน

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย อุรุเวลา, 6 ธันวาคม 2012.

  1. อุรุเวลา

    อุรุเวลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 ธันวาคม 2011
    โพสต์:
    3,464
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +8,002
    สัมมาทิฏฐิ คือ ความเข้าใจอันถูกต้อง อันทำให้เกิดการกระทำอันถูกกต้อง โดยประการทั้งปวง
    นับตั้งแต่ถูกต้องอย่างวิสัยโลกๆ และสูงขึ้นไปจนกระทั่งที่เป็นชั้นเหนือวิสัยโลก

    สัมมาทิฏฐิแบ่งเป็น ๓ ชั้นด้วยกัน คือ
    (๑)สัมมาทิฏฐิชั้นต้น เป็น ความเข้าใจถูกต้อง ในอันที่จะทำให้เจริญด้วยประโยชน์ในโลกนี้
    ทุกอย่างทุกประการ ตามที่ชาวโลกปรารถนากัน,

    (๒)สัมมาทิฏฐิชั้นกลาง เป็นความเข้าใจถูกต้อง ในอันที่จะทำให้เจริญด้วยประโยชน์ในโลกอื่น
    หรือโลกหน้า ที่สูงไปกว่าที่ปรารถนากัน,

    (๓)ส่วนสัมมาทิฏฐิชั้นสูง เป็นความเข้าใจถูกต้อง ในอันที่จะทำให้ ข้ามขึ้นพ้น
    หรืออยู่เหนือโลกทุกๆโลก โดยประการทั้งปวง เป็นการลุถึงนิพพาน

    สัมมาทิฏฐิชั้นต้น คือความเข้าใจถูกต้อง ในการแสวงหาประโยชน์ในโลกนี้ อันทำให้มี ความรู้
    ความฉลาด ความขยันขันแข็งในการกระทำ จนได้มาซึ่งทรัพย์ ชื่อเสียงและมิตรสหายที่ดีงาม
    อันเป็นความเจริญตามวิสัยโลก ตลอดจนถึงความเข้าใจถูกต้อง ที่สูงขึ้นไปว่า
    ต้องสนใจเรื่องทางจิต ทางธรรม และทางศาสนา

    สัมมาทิฏฐิชั้นกลาง หมายถึง ความเข้าใจถูกต้อง อันทำให้ ได้รับผลที่สูงขึ้นไป กว่าประโยชน์
    ในโลกนี้ กล่าวคือ ประโยชน์ตามทางธรรมะ หรือ ประโยชน์เกี่ยวกับโลกอื่นที่สูงขึ้นไป
    จนถึงกับมีความสุขทางใจ เป็นอันดับแรก
    การเข้ามาเกี่ยวข้องกับธรรมะ หรือ ศาสนาทำให้มีความรู้เรื่อง ทาน ศีล บุญกุศล สูงขึ้นไป
    ตามลำดับ รู้จักทำให้เกิดสิ่งที่นำมาซึ่งความสุขใจที่ยิ่งไปกว่าทรัพย์ ชื่อเสียง และไมตรีหรือ
    มิตรภาพ ทำให้คนรู้จัก เสียสละความสุขทางเนื้อหนัง เพื่อถือเอาความสุขทางใจ
    ความเข้าใจถูกต้องในสัมมาทิฏฐิชั้นกลางนี้ มีอยู่เป็นหลักย่อๆในพระบาลีว่า
    “การให้ทาน หรือ การบูชานั้นเป็นสิ่งที่มีผล ทำแล้วก็เป็นอันทำไม่เสียหาย ผู้ทำนั่นเองได้รับผล
    โลกอื่นซึ่งนอกไปจากโลก ที่ตนรู้จัก นั้นยังมีอยู่อีก
    การเข้าใจว่า มีโลกแต่โลกเดียว เท่าที่ตนรู้จักนั้น เป็นความโง่เขลาอย่างยิ่ง
    บุคคลผู้มีความหมาย ในตัวเองเป็นพิเศษกว่าธรรมดานั้นมีอยู่ เช่น บิดา มารดา คนแก่ชรา เป็นต้น
    อันเป็นบุคคล ประเภทที่ตน จะต้องมองดู และปฏิบัติต่อด้วยสายตา และ การกระทำเป็นพิเศษเช่นกัน
    ภาวะแห่งความเปลี่ยนแปลงทางจิต โดยฉับไวนั้น เป็นสิ่งมีอยู่อย่างแท้จริง คือชั่วโมงนี้นาทีนี้
    เป็นมนุษย์ แต่นาทีต่อมากลายเป็นสัตว์เดรัจฉานไปแล้ว หรือกลายเป็นสัตว์นรกไปแล้ว
    เป็นคนธรรมดาอยู่ ในขณะนี้ ต่อมาก็กลายเป็นเทวดาหรือพรหมไปแล้ว ในขณะหนึ่ง
    การกระทำทางจิตของตนเอง เปลี่ยนกลับไปกลับมาได้ อย่างผลุบผลับ จะเป็นช้าหรือเร็ว
    ถาวรหรือไม่ถาวรเพียงใด แล้วแต่การกระทำ ของตน
    เป็นผู้มีความเชื่อว่า ภาวะแห่งโอปปาติกสัตว์เช่นนี้มีอยู่แน่ แล้วเป็นผู้ไม่ประมาท ในการกระทำ
    ของตน เพื่อให้มีการผุดเกิด แต่ในภาวะที่น่าสรรเสริญ เป็นผู้มีความเชื่อและเห็นชัดว่า
    ปฏิปทา หรือ ทางปฏิบัติที่ทำให้เข้าใจ ในโลกทั้งปวงแจ้งชัดแล้ว ไม่ติดอยู่ในโลกไหนๆ ข้ามขึ้น
    จากโลกทั้งปวงนั้นมีอยู่ และมีบุคคลผู้ทำเช่นนั้นได้จริงแล้ว สอนคนอื่นให้รู้ตามได้ด้วย ก็มีอยู่”
    สัมมาทิฏฐิชั้นกลางนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสไว้ว่า
    เป็น สาสวา คือยังไม่พ้นไปจากอาสวะ,
    เป็น ปุญญภาคิยา ยังเกี่ยวอยู่กับบุญ ทำให้ติดอยู่ในบุญ,
    เป็น อุปธิเวปักกา ยังเนื่องอยู่กับกิเลส ชั้นละเอียด
    จึงยังไม่ใช่สัมมาทิฏฐิชั้นสูงสุด
    คนที่เรียกกันว่า “คนดี” ไม่ทำบาปเลย ทำบุญอย่างเดียว แต่ยังไม่พ้นทุกข์โดยสิ้นเชิง
    ต้องเผชิญกับ ความเกิด แก่ เจ็บ ตาย ต้องโทมนัสในเมื่อพลัดพรากจากของรัก หรือเมื่อ
    ไม่ได้อะไร ตามใจหวัง ใจยังไม่หลุดพ้น จากสิ่งที่ให้เกิดความทุกข์ โดยประการทั้งปวง จึงมี
    ทุกข์ชั้นละเอียดเหลืออยู่ เป็นเครื่องทรมาน ไม่รู้สิ้นสุด เพราะตนพอใจในความเป็นอย่างนั้น
    เพราะฉะนั้นเพียงแต่มีบุญนั้น ยังไม่นับว่าพ้นจากความทุกข์โดยสิ้นเชิง ยังต้องเวียนว่าย
    ไปตามกระแสบุญ สู่โลกนั้น โลกนี้ด้วยอุปปาติกะกำเนิด

    สัมมาทิฏฐิชั้นสูงสุด เป็น สัมมาทิฏฐิของพระอริยเจ้า ไม่มีอาสวะ อยู่เหนือโลก หรือ
    พ้นจากโลก หรือเหนือประโยชน์ทั้งหลาย ไม่ต้องการประโยชน์ใด จึงพ้นจากอำนาจบีบบังคับ
    ของสิ่งทั้งปวง และเป็นองค์แห่งอริยมรรค ได้แก่ตัวปัญญาที่ตัดกิเลสอันละเอียดได้เช่นนั้นเอง
    เป็นความสงบอันสูงสุด ที่เรียกว่า “นิพพาน”
    กิเลสชั้นละเอียดเหล่านี้ คือ มิจฉาทิฏฐิชั้นละเอียด ที่สัมมาทิฏฐิชั้นละเอียดจะกำจัดได้
    ความเข้าใจผิด หรือ มิจฉาทิฏฐิอันละเอียด โดยที่แท้แล้วก็คือ สังโยชน์ ๑๐ ประการ
    อันจะพึงละด้วยสัมมาทิฏฐิ ที่เป็นองค์อริยมรรค แล้วทำบุคคลนั้นให้กลายเป็น อริยบุคคลนั่นเอง

    มิจฉาทิฏฐิอันละเอียด คือ สังโยชน์ ๑๐ ได้แก่
    ๑. ความโง่เขลาหรือเข้าใจผิดว่า “กายนี้เป็นของตน” เรียกว่า “สักกายทิฏฐิ” เพราะมันเที่ยงแท้
    เป็นไปตามความปรารถนา ของตน จึงหลงรักหลงบำเรอ หรือ เห็นแก่ตัว อย่างน่าสมเพช,

    ๒. ความโง่เขลาเข้าใจผิด อันทำให้ ลังเลในพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ลังเลว่าจะเอาข้าง
    โลกดี หรือข้างธรรมดี เอาเงินดี หรือเอาบุญกุศลดี สรุปคือ ลังเลต่อการพ้นทุกข์ ตามแบบ
    ของพระพุทธเจ้า เรียกว่า วิจิกิจฉา,

    ๓.ความโง่เขลาเข้าใจผิดในศีล และวัตรที่ตนประพฤติปฏิบัติอยู่ อย่างงมงาย เรียกว่า สีลัพพตปรามาส,
    ใครละมิจฉาทิฏฐิทั้ง ๓ ประการนี้ได้ขาด ย่อมเป็นผู้มีจิตใจไม่คลอนในพระพุทธ พระธรรม
    พระสงฆ์ เป็นผู้ถึงกระแสของนิพพาน คือ เป็น พระโสดาบัน
    สักกายทิฏฐินั้นละได้ยาก ตรงที่มันเป็นความรู้สึก อย่างสัญชาตญาณ ซึ่งทำให้คนเรา
    บูชา ความสุขทางเนื้อหนังกัน ยิ่งกว่าความสุขทางใจ,
    วิจิกิจฉา โดยปากว่าก็ดูละไม่ยาก แต่โดยการกระทำจริงนั้นก็ยากอยู่ไม่น้อย,
    ส่วนสีลัพพตปรามาส นับได้ว่าละยากยิ่งไปกว่านั้น เพราะตนกำลังยึดถือในศีลและวัตรนั้นๆอยู่
    กิเลสอันละเอียดสามอย่างนี้ เป็นกิเลสมาตรฐาน ของคนธรรมดาสามัญทั่วๆไป ถ้าไม่มีกิเลส
    ทั้งสามนี้แล้ว ก็ย่อมมิใช่ปุถุชนแล้ว เป็นการลุถึงขั้นโสดาบัน ที่ไม่มีการเวียนกลับ มีแต่จะลุถึง
    นิพพาน ในอนาคตโดยท่าเดียวนี่เอง ก็นับว่าปลอดภัยและเพียงพอ
    มิจฉาทิฏฐิหรือกิเลสทั้งสามข้อนี้ จึงนับว่าเป็นปัญหาเฉพาะหน้าของคนสามัญ หลังจากนั้น ตนก็
    เป็นพระอริยเจ้าขั้นต้นแล้ว ทำการละมิจฉาทิฏฐิชั้นละเอียด เพื่อความเป็นพระอริยเจ้าขั้นสูงต่อไป

    กิเลสละเอียด ข้อ
    ๔. กามราคะ เป็นความยินดีในวัตถุ อันเป็นที่ตั้งแห่งความใคร่ มีความหมายกว้าง ครอบคลุมไป
    ทุกชนิด ทุกขนาด มิได้หมายถึงแต่เพียงความกำหนัด ที่รุนแรงในทางเพศตรงข้าม
    กามราคะในที่นี้หมายถึง จิตยังอยู่ในวิสัยที่จะ ยินดีในผลของกามทั้งทางตา ทางหู จมูก ลิ้น กาย
    หรือ รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส อันมีอยู่เป็นพื้นฐานในจิตใจของสามัญสัตว์
    ความลุ่มหลงอยู่ในรสของกาม แม้ที่ประณีตสุขุมเบาบางเพียงไร ก็ยังนับว่าเป็นความเข้าใจผิด
    หรือมิใช่สัมมาทิฏฐิที่สมบูรณ์อยู่นั่นเอง

    กิเลสละเอียดข้อ
    ๕. ปฏิฆะ แปลว่าความหงุดหงิด ด้วยอำนาจความขัดใจ ในขั้นนี้คงมีอยู่แต่ ร่องรอยของความ
    ไม่พอใจ หรือ ความไม่สบายใจ เพราะเขาทำให้ไม่ถูกใจ อันเป็นความรู้สึกที่เหลืออยู่อย่างประณีต
    ความขัดใจชนิดนี้ แม้ว่าจะแผ่วเบาเพียงไร ก็เกิดจากความเข้าใจผิดหรือเห็นผิด จึงได้จัดเป็น
    มิจฉาทิฏฐิอันจะพึงละเสียด้วยสัมมาทิฏฐิอยู่นั่นเอง
    ผู้ที่ละมิจฉาทิฏฐิข้อ ๑-๒-๓ ได้ขาดแล้ว ยังสามารถทำมิจฉาทิฏฐิข้อ ๔-๕ ให้เบาบางอย่างมาก
    อีกด้วย เรียกว่า พระสกิทาคามี คือมีจิตใจสูง ขนาดมีความอาลัยในโลกชนิดนี้ เหลืออยู่เพียง
    เพื่อ จะกลับมาอีกครั้งเดียวเท่านั้น
    ส่วนผู้ที่ละมิจฉาทิฏฐิที่กล่าวนี้ได้เด็ดขาด ท่านเรียกว่า พระอนาคามี จึงไม่กลับมาสู่โลกนี้อีกต่อไป

    กิเลสละเอียดข้อ
    ๖. รูปราคะ แปลว่าความพอใจในความสงบ อันเกิดจากรูปฌาน หรือความสงบ ที่เกิดมาจารเพ่ง
    รูปธรรมเป็นอารมณ์ แม้จะเป็นความสงบ แต่ก็ยังมิใช่ขั้นสูงสุด ยังหยาบอยู่
    ทั้งยังนำไปสู่การเกิดในกำเนิดแห่งรูปวจรภูมิ หรือ รูปภพ ยังมิใช่ความสงบ อย่างนิพพาน

    ข้อ.๗ อรูปราคะ แปลว่า ความพอใจในความสงบอันเกิดจากอรูปฌาน เพ่งแต่สิ่งไม่มีรูป
    (เช่น ความว่างเปล่าจากสิ่งทั้งปวง เป็นต้น) เป็นอารมณ์ เป็นความสงบที่ละเอียดกว่า น่าพึงพอใจกว่า
    เป็นเหตุให้หลงพอใจได้อย่างสุขุมกว่า ข้อ.๖ ความพอใจในรสของอรูปฌาน ทำให้ติดอยู่ในอรูปภพ
    จึงไม่พ้นไปจากวัฏฏสงสาร หรือ การเวียนว่ายตายเกิด จึงยังไม่พ้นทุกข์สิ้นเชิง

    กิเลสละเอียดข้อ
    ๘. มานะ แปลว่า ความสำคัญตนว่าเป็นอย่างใดอย่างหนึ่ง จนเกิดความรู้สึกต่อไปว่า ตนดีกว่าเขา
    ตนเสมอเขา ตนเลวกว่าเขา ถ้ามีแล้ว ย่อมมีความหนักอึ้ง ในการแบกตัวของตัว หรือยกตัวของตัว
    ให้ยิ่งๆ ขึ้นไปนั่นเอง จัดว่าเป็นกิเลสตัณหา อย่างละเอียด ต้องละด้วยสัมมาทิฏฐิละเอียดเช่นกัน

    กิเลสละเอียดข้อ
    ๙. อุทธัจจะ แปลว่า ความฟุ้งขึ้น โดยความหมาย ได้แก่ ความตื่นเต้น หรือความทึ่ง
    ที่มากระทบกับความอยาก ความหวัง หรือ ความยึดถือของตน นั่นเอง
    อุทธัจจะ ในนิวรณ์ห้า มีความหมายหยาบกว่าในที่นี้มาก คือใน นิวรณ์ห้า เป็นความฟุ้งซ่าน
    ของบุคคล ที่มีอะไรเข้ามารบกวนจิต อย่างที่บุคคลธรรมดาสามัญ เขามีกันทั่วไป จึงเป็นกิเลสชั้นกลาง
    ซึ่งมีแก่คนทั่วไป ส่วนในชั้นกิเลสละเอียด หรือ สังโยชน์ หมายถึงความไหว อย่างละเอียดของใจ
    ความสนใจ หรือความทึ่งนั่นเอง ก็เป็นเครื่องหมาย ของความมีอยู่แห่งกิเลส
    เพราะมีความ ไม่พอใจ ความพอใจ ความกลัว หรือความโง่ อย่างใดอย่างหนึ่งอยู่ในภายใน
    จึงได้เกิดความสนใจ หรือทึ่งในสิ่งที่ผ่านมา
    อุทธัจจะ เป็นกิเลสที่ละเพื่อความเป็นพระอรหันต์ ถ้าคนเรามีความเข้าใจถูกต้องถึงที่สุดจริงๆ ย่อมรู้ว่า
    ไม่มีอะไรที่น่าทึ่ง หรือควรทึ่ง จิตที่ลุถึงความสงบแท้จริง หรือนิพพานนั้น ย่อมไม่มีความทึ่งในสิ่งใด

    กิเลสละเอียดข้อ
    ๑๐. อวิชชา ความไม่รู้ชัดแจ้งสมบูรณ์ในเรื่องความทุกข์ เหตุให้เกิดทุกข์ ภาวะแห่งความไม่มีทุกข์
    และวิธีปฏิบัติเพื่อให้ลุถึง ภาวะแห่งความไม่มีทุกข์ เรียกว่า ไม่รู้ในอริยสัจสี่ประการ
    อวิชชานี้เอง เป็นบทสรุป ของมิจฉาทิฏฐิ

    มิจฉาทิฏฐิทั้ง ๙ ประการ ก็นับรวมอยู่ในอวิชชานี้ด้วย โดยครบถ้วน เมื่อ สัมมาทิฏฐิแห่ง
    อรหันตมรรคเป็นไปถึงที่สุด อวิชชานี้ก็ถูกทำลายโดยสิ้นเชิง และนับว่าเป็นขั้นสูงสุด
    ของความมีสัมมาทิฏฐิในพระพุทธศาสนา ผู้ที่ละมิจฉาทิฏฐิ หรือ กิเลสอันละเอียดได้
    ทั้ง ๑๐ ประการนี้ เรียกว่าเป็น พระอรหันต์

    สัมมาทิฏฐิ หรือความเข้าใจอันถูกต้อง นี้ย่อมควบคู่กันมากับ ความถูกต้องอย่างอื่นๆ เช่น
    ความปรารถนาถูกต้อง การพูดจาถูกต้อง การกระทำถูกต้อง เลี้ยงชีวิตถูกต้อง พยายามถูกต้อง
    ความรำลึกในใจถูกต้อง ความตั้งใจมั่นถูกต้อง
    ความถูกต้องทั้งหมดนี้ ย่อมเป็นไปได้ เพราะอำนาจสัมมาทิฏฐิ
    ความทุกข์ทุกชนิด ระงับไปได้ด้วยอำนาจของ สัมมาทิฏฐิ ถึงกับถือเป็นหลักตายตัวลงไปว่า
    “สมฺมาทิฏฐิ สมาทานา สพฺพํ ทุกขํ อุปจฺจคุ” ดังกล่าวแล้ว
    ความระส่ำระสายในโลกปัจจุบันนี้ อาจระงับไปด้วยอำนาจสัมมาทิฏฐิ แม้ที่เป็นชั้นต้นเท่านั้น
    ไม่ต้องร้อนถึงสัมมาทิฏฐิชั้นกลางหรือชั้นสูงเลย
    ถ้าโลกเลิกบูชาความสุขทางเนื้อหนัง หันมาบูชาความสุขทางใจกันบ้าง สันติภาพอันถาวร
    ก็จะครอบงำโลก โดยไม่ต้องสงสัยเลย อย่างไรก็ตามสัมมาทิฏฐิชั้นต่ำๆ ย่อมมีสัมมาทิฏฐิชั้นสูง
    ขึ้นไป เป็นรากฐาน เพราะฉะนั้นเราจึงจำต้องศึกษาเรื่องสัมมาทิฏฐิขึ้นไปถึงชั้นสูงด้วยเป็นธรรมดา

    สัมมาทิฏฐิ เรียกโดยชื่ออื่นๆเช่น จักษุบ้าง ญาณบ้าง ความรู้บ้าง ปัญญาบ้าง วิชชาบ้าง
    แสงสว่างบ้าง โดยที่แท้แล้วสัมมาทิฏฐิเป็นความเข้าใจอันถูกต้องถึงที่สุด นั่นแล
    ข้อที่น่าวิตกก็คือ เราไม่ถือสัมมาทิฏฐิกันอย่างทั่วถึง และเป็นอย่างดี พอมีอะไรมายั่วหน่อยเดียว
    ก็เอาสัมมาทิฏฐิไปเหวี่ยงซุกไว้ที่ไหนแล้ว วิ่งออกรับสิ่งที่มายั่ว
    สัมมาทิฏฐิก็อยู่แต่สัมมาทิฏฐิ คนก็อยู่แต่คน ความสงบสุขก็อยู่แต่ความสงบสุข ไม่มีวันที่จะ
    พบกันได้เลย ขอชักชวนให้ช่วยกันเพาะหว่านสัมมาทิฏฐิ เพื่อทำโลกให้สงบ จากความ
    ระส่ำระสาย อย่างในสภาพปัจจุบัน ซึ่งหมายเพียงสัมมาทิฏฐิในชั้นต้นที่สุดเท่านั้น
    ส่วนผู้ต้องประสงค์ความสงบสุข อันสูงสุดคือพระนิพพาน จึงจะได้รับคำชักชวน
    ในเรื่องสัมมาทิฏฐิชั้นสูง

    บรรณานุกรมสัมมาทิฏฐิ
    ๑. นิพพานจุดหมายปลายทางของชีวิต “รุ่งอรุณของนิพพาน” ของอตัมมโย
    http://www.bangkokconsumer.org/dhamma
     
  2. firstini

    firstini เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 มีนาคม 2006
    โพสต์:
    1,213
    ค่าพลัง:
    +3,770
    คุณอุรุเวลาเคยสวดพุทธคุณ ธรรมคุณ สังฆคุณมั้ยครับ
     
  3. มหาวัด

    มหาวัด เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 สิงหาคม 2012
    โพสต์:
    248
    ค่าพลัง:
    +1,892
    ถามบ้าง ถามบ้าง ...ครับ.....
    คุณอุรุเวร เฮ้ย อุรุเวลา
    เคยตั้งกระทู้ที่เป็นความคิดความเข้าใจ
    *********************
    ที่ตัวเองได้ไปศึกษาค้นคว้ามา
    โดยไม่ไปลอก ไปก็อปปี้เขามาไหม?
     
  4. อุรุเวลา

    อุรุเวลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 ธันวาคม 2011
    โพสต์:
    3,464
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +8,002
    พระพุทธเจ้า พระธรรม พระสงฆ์ อยู่ในใจครับ
     
  5. มหาวัด

    มหาวัด เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 สิงหาคม 2012
    โพสต์:
    248
    ค่าพลัง:
    +1,892

    ผมว่าใครที่ชอบพูดว่าพระอยู่ในใจ
    ก็แค่ข้ออ้างของคนหลีกเลี่ยงที่จะปฏิบัติ
    ที่จะไหว้พระสวดมนต์
    ******ว่าไหมครับ คุณอุรุเวร เฮ้ยอุรุเวลาคราบ
    พระอยู่ในใจ
    เอาเวลาไปนอนเกาพุงก็ได้
    เอาเวลาไปอาบน้ำหมา
    ดูแรงเงา ก็ได้
    ก็พระอยู่ในใจนี่ ถ้อยคำช่างสวยหรู......
    แต่ที่จริงก็ไปจำเขามาอีกที
    **********
    หาปลาไหลกิน หิว....
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 7 ธันวาคม 2012
  6. Bull_psi

    Bull_psi เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 ธันวาคม 2008
    โพสต์:
    889
    ค่าพลัง:
    +1,445
    ดูก่อนนักปฎิบัติ
    การเพ่งโทษกันไม่ควรเลย การคัดธรรมะมาแสดง ในยุคอภิญญาใหญ่3G อินเตอร์เน็ตความเร็วสูงให้อนิสงค์มากเป็นอย่างไรเล่า
    - ก็ธรรมใดแสดงไว้ถูกต้อง มีประโยชน์มี มีการกระจายได้มาก
    - ในทางกลับกันธรรมใดทำให้คนเข้าใจผิดหลัก หลงไป ก็มีผลเสียหายมากเช่นกัน
     
  7. อุรุเวลา

    อุรุเวลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 ธันวาคม 2011
    โพสต์:
    3,464
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +8,002
    ประเด็นนี้น่าสนใจครับ ยุคนี้เป็นยุคความเร็วสูง
    พระไตรปิฏก อยู่ในตู้ ปัจจุบันมาอยู่บนอินเตอร์เน็ต
    การเผยแพร่ธรรมะ ทำได้มาก ทำได้เร็ว
    การเพ่งโทษเกิดขึ้นเพราะ ต่างคนต่างถืออาจารย์ตนเป็นใหญ่
    อาจารย์ก็ทะเลาะกัน ทั้งที่ถือพระไตรปิฏกเล่มเดียวกัน
    แต่ตีความไม่เหมือนกัน

    บทสรุปจึงอยู่ที่กฏอิทัปปัจจยตา
    "เมื่อสิ่งนี้มี สิ่งนี้จึงมี เพราะสิ่งนี้เกิดขึ้น สิ่งนี้จึงเกิดขึ้น
    เมื่อสิ่งนี้ไม่มี สิ่งนี้จึงไม่มี เพราะสิ่งนี้ดับไป สิ่งนี้จึงดับไป"
     
  8. firstini

    firstini เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 มีนาคม 2006
    โพสต์:
    1,213
    ค่าพลัง:
    +3,770
    ขอถามซ้ำครับว่า เคยสวดมั้ย
    เพราะคนที่สวดหรือไม่สวดก็มีพระอยู่ในใจได้ทั้งนั้น
    เลยขอถามซ้ำว่า เคยสวดมั้ย
     
  9. อุรุเวลา

    อุรุเวลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 ธันวาคม 2011
    โพสต์:
    3,464
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +8,002
    "อริยสาวกย่อมประกอบด้วยธรรมเป็นองค์แห่งโสดาปัตติ ๔ อย่างเป็นไฉน
    ดูกรคฤหบดี อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ ย่อมประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระพุทธ
    เจ้าว่า แม้เพราะเหตุนี้ๆ พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้นเป็นพระอรหันต์ ตรัสรู้เองโดยชอบ
    ถึงพร้อมแล้วด้วยวิชชาและจรณะ เสด็จไปดีแล้ว ทรงรู้แจ้งโลก เป็นสารถีฝึกบุรุษที่ควรฝึก
    ไม่มีผู้อื่นยิ่งกว่า เป็นศาสดาของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เป็นผู้เบิกบานแล้ว เป็นผู้จำแนกพระ
    ธรรม ดังนี้ย่อมประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระธรรมว่า พระธรรมอันพระผู้มี
    พระภาคตรัสดีแล้ว อันผู้ได้บรรลุจะพึงเห็นเอง ไม่ประกอบด้วยกาล ควรเรียกให้มาดู ควรน้อม
    เข้ามา อันวิญญูพึงรู้เฉพาะตน ดังนี้ ย่อมประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระสงฆ์
    ว่า พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเป็นผู้ปฏิบัติดีแล้ว เป็นผู้ปฏิบัติตรง เป็นผู้ปฏิบัติเป็นธรรม
    เป็นผู้ปฏิบัติสมควร คือคู่แห่งบุรุษ ๔ บุรุษบุคคล ๘ นี่พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาค เป็น
    ผู้ควรของคำนับ เป็นผู้ควรของต้อนรับ เป็นผู้ควรของทำบุญ เป็นผู้ควรทำอัญชลี เป็นนาบุญ
    ของโลก ไม่มีนาบุญอื่นยิ่งกว่า ดังนี้ ย่อมประกอบด้วยศีลที่พระอริยเจ้าปรารถนา อันไม่ขาด
    ไม่ทะลุ ไม่ด่าง ไม่พร้อย เป็นไทย อันวิญญูชนสรรเสริญอันตัณหาและทิฐิไม่ครอบงำได้
    เป็นไปเพื่อสมาธิ อริยสาวกย่อมประกอบด้วยธรรมเป็นองค์แห่งโสดาปัตติ ๔ อย่างนี้ ฯ
    [๑๕๔] ก็ญายธรรมอันประเสริฐ อันอริยสาวกเห็นดีแล้ว แทงตลอดดีแล้วด้วยปัญญา
    เป็นไฉน ดูกรคฤหบดี อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ กระทำไว้ในใจโดยแยบคาย ถึงปฏิจจสมุป
    บาทเป็นอย่างดีว่า เมื่อสิ่งนี้มี สิ่งนี้จึงมี เพราะสิ่งนี้เกิดขึ้น สิ่งนี้จึงเกิดขึ้น เมื่อสิ่งนี้ไม่มี สิ่งนี้จึงไม่มี
    เพราะสิ่งนี้ดับ สิ่งนี้จึงดับ ด้วยประการดังนี้ คือ เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย จึงมี
    สังขาร เพราะสังขารเป็นปัจจัย จึงมีวิญญาณ เพราะวิญญาณเป็นปัจจัย จึงมีนามรูป เพราะนามรูป
    เป็นปัจจัย จึงมีสฬายตนะ เพราะสฬายตนะเป็นปัจจัย จึงมีผัสสะเพราะผัสสะเป็นปัจจัย จึงมี
    เวทนา เพราะเวทนาเป็นปัจจัย จึงมีตัณหา เพราะตัณหาเป็นปัจจัย จึงมีอุปาทาน เพราะอุปาทาน
    เป็นปัจจัย จึงมีภพ เพราะภพเป็นปัจจัยจึงมีชาติ เพราะชาติเป็นปัจจัย จึงมีชราและมรณะ
    โสกปริเทวทุกขโทมนัสและอุปายาส ความเกิดแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วยประการ
    อย่างนี้ ก็เพราะอวิชชาดับด้วยสำรอกโดยไม่เหลือ สังขารจึงดับ เพราะสังขารดับ วิญญาณจึงดับ
    เพราะวิญญาณดับ นามรูปจึงดับ เพราะนามรูปดับ สฬายตนะจึงดับ เพราะสฬายตนะดับ
    ผัสสะจึงดับ เพราะผัสสะดับ เวทนาจึงดับ เพราะเวทนาดับ ตัณหาจึงดับเพราะตัณหาดับ
    อุปาทานจึงดับ เพราะอุปาทานดับ ภพจึงดับ เพราะภพดับชาติจึงดับ เพราะชาติดับ ชราและ
    มรณะโสกปริเทวทุกขโทมนัสและอุปายาสจึงดับความดับแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วย
    ประการอย่างนี้ ญายธรรมอันประเสริฐนี้ อริยสาวกนั้นเห็นดีแล้ว แทงตลอดดีแล้ว ด้วยปัญญา ฯ
    [๑๕๕] ดูกรคฤหบดี เมื่อใดแล ภัยเวร ๕ ประการนี้ของอริยสาวกสงบแล้ว เมื่อ
    นั้น อริยสาวกย่อมประกอบด้วยธรรมเป็นองค์แห่งโสดาปัตติ ๔ อย่างและญายธรรมอย่าง
    ประเสริฐนี้ อันอริยสาวกนั้นเห็นดีแล้ว แทงตลอดดีแล้วด้วยปัญญา อริยสาวกนั้นหวังอยู่
    พึงพยากรณ์ตนด้วยตนเองได้ว่า เราเป็นผู้มีนรกสิ้นแล้ว มีกำเนิดสัตว์ดิรัจฉานสิ้นแล้ว มีปิตติ
    วิสัยสิ้นแล้ว มีอบาย ทุคติ วินิบาตสิ้นแล้ว เราเป็นโสดาบันมีอันไม่ตกต่ำเป็นธรรมดา
    เป็นผู้เที่ยงจะตรัสรู้ในภายหน้า ฯ"
    พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๘ สังยุตตนิกาย นิทานวรรค หน้าที่ ๖๘/๒๘๘

    ----ผมสวดบทนี้ครับ
     
  10. มหาวัด

    มหาวัด เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 สิงหาคม 2012
    โพสต์:
    248
    ค่าพลัง:
    +1,892
    ขี้โม้ ผมรู้ว่าคุณไม่เคยสวดบทอะไรทั้งนั้น
    พระพุทธรูปคุณยังไม่กราบเลย
    เพราะเป็นทองเหลือง
    ผมสวดบทนี้ครับ ขี้โม้
    สวดเป็นภาษาทำนองอะไรครับบทนั้นนะ
    ทำเป็นฟร์อมให้ดูดีไปงั้นแหละพ่อปลาไหล


    [​IMG][​IMG][​IMG][​IMG][​IMG][​IMG][​IMG][​IMG][​IMG][​IMG][​IMG]
     
  11. blackangel

    blackangel เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    1,750
    ค่าพลัง:
    +1,919
    สวดทั้งหมดเลยหรอครับ หรือแค่เฉพาะๆข้อความบนๆ???
     
  12. อุรุเวลา

    อุรุเวลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 ธันวาคม 2011
    โพสต์:
    3,464
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +8,002
    ผมเคยไปปฏิบัติธรรมที่วัดสังฆทาน ใช้บทสวดทำวัตรของวัดสังฆทานครับ
    พอมาเจอพระสูตรนี้ ผมก็เปลี่ยนมาสวดแบบนี้แทน ไม่เหมือนใครดีครับ
    ของวัดสังฆทานผมก็ฟังและสวดตามอยู่บ่อยๆ ครับ

    บางวันผมสวดทั้งหมด บางวันสวดเฉพาะปฏิจจสมุปบาท บางวันสวดก่อนนั่งสมาธิ
    บางวันสวดหลังนั่งสมาธิ บางวันไม่สวดนั่งสมาธิเลยเอาแน่ไม่ได้ครับ
     

แชร์หน้านี้

Loading...