สัปปุริสธรรมและอสัปปุริสธรรม

ในห้อง 'พระไตรปิฎก' ตั้งกระทู้โดย f-35, 24 มีนาคม 2012.

  1. f-35

    f-35 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 พฤศจิกายน 2009
    โพสต์:
    205
    ค่าพลัง:
    +160
    [ame=http://www.youtube.com/watch?v=hSUrsSArJWA&feature=plcp&context=C4c54ae6VDvjVQa1PpcFPZKqFrm5VVyOUZ7GAQG5MPfO_tHR0RNXY=]รายการพุทธวจน 2554/14 - YouTube[/ame]
    สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ที่พระวิหารเชตวัน อารามของอนาถบิณฑิกเศรษฐี
    เขตพระนครสาวัตถี สมัยนั้นแล พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย
    ภิกษุเหล่านั้นทูลรับพระดำรัสแล้ว พระผู้มีพระภาคจึงได้ตรัสดังนี้ว่า
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงสัปปุริสธรรม(ธรรมของคนดี)และอสัปปุริสธรรม(ธรรมของคนเลว)แก่พวกเธอ เธอทั้งหลายจงฟังธรรมนั้น จงทำในใจให้ดีเราจักกล่าวต่อไป ภิกษุเหล่านั้นทูลรับพระผู้มีพระภาคว่า ชอบแล้ว พระพุทธเจ้าข้า
    [๑๗๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อสัปปุริสธรรมเป็นอย่างไร คืออสัตบุรุษในโลกนี้ เป็นผู้ออกจากสกุลสูงบวชแล้ว ย่อม พิจารณาเห็นดังนี้ว่า เราเป็นผู้ออกจากสกุลสูงบวชแล้ว ส่วนภิกษุอื่นเหล่านี้มิใช่เป็นผู้ออกจากสกุลสูงบวชแล้ว อสัตบุรุษนั้นจึงยกตนข่มผู้อื่น เพราะความเป็นผู้มีสกุลสูงนั้น ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้คือ อสัปปุริสธรรม(ธรรมของคนเลว)
    ส่วนสัตบุรุษแล ย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า ธรรมคือความโลภ ความโกรธ ความหลง ย่อมไม่ถึงความหมดสิ้นไป เพราะความเป็นผู้มีสกุลสูงเลย ถึงแม้ภิกษุไม่ใช่เป็นผู้ออกจากสกุลสูงบวชแล้ว แต่เป็นผู้ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม ปฏิบัติชอบ ประพฤติธรรมอันสมควร คนทั้งหลายก็ต้องบูชาสรรเสริญเธอในที่นั้นๆ สัตบุรุษนั้นทำการปฏิบัติแต่ภายในเท่านั้น ไม่ยกตน ไม่ข่มผู้อื่นเพราะความเป็นผู้มีสกุลสูงนั้น ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้คือ สัปปุริสธรรม(ธรรมของคนดี)
    [๑๘๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ประการอื่นยังมีอีก อสัตบุรุษเป็นผู้ออกจาก สกุลใหญ่
    ออกจากสกุลมีโภคะมาก ออกจากสกุลมีโภคะยิ่ง บวชแล้ว ย่อม พิจารณาเห็นดังนี้ว่า เราเป็น
    ผู้ออกจากสกุลใหญ่...ออกจากสกุลมีโภคะมาก... ออกจากสกุลมีโภคะยิ่ง บวชแล้ว ส่วนภิกษุอื่น
    เหล่านี้ ไม่ใช่เป็นผู้ออกจาก สกุลใหญ่ ออกจากสกุลมีโภคะมาก ออกจากสกุลมีโภคะยิ่ง บวชแล้วอสัตบุรุษนั้นจึงยกตน ข่มผู้อื่น เพราะความเป็นผู้มีสกุลใหญ่ มีโภคะมาก มีโภคะยิ่งนั้นๆ
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม้นี้ก็คือ อสัปปุริสธรรม(ธรรมของคนเลว)
    ส่วนสัตบุรุษแล ย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า ธรรมคือความโลภ ความโกรธ ความหลง ย่อมไม่ถึงความหมดสิ้นไป เพราะความเป็นผู้มีสกุลใหญ่ มีโภคะมาก มีโภคะยิ่งเลย ถึงแม้ภิกษุไม่ใช่เป็นผู้ออกจากสกุลใหญ่ ออกจากสกุลมีโภคะมาก ออกจากสกุลมีโภคะยิ่ง บวชแล้วแต่เป็นผู้ปฏิบัติธรรมสมควร แก่ธรรม ปฏิบัติชอบ ประพฤติธรรมอันสมควร คนทั้งหลายก็ต้องบูชาสรรเสริญเธอในที่นั้นๆ สัตบุรุษนั้นทำการปฏิบัติแต่ภายในเท่านั้น ไม่ยกตน ไม่ข่มผู้อื่นเพราะความเป็นผู้มีสกุลใหญ่ มีโภคะมาก มีโภคะยิ่งนั้นๆ ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม้นี้ก็คือสัปปุริสธรรม(ธรรมของคนดี)
    [๑๘๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ประการอื่นยังมีอีก อสัตบุรุษเป็นผู้ปรากฏ มียศ ย่อมพิจารณา
    เห็นดังนี้ว่า เราเป็นผู้ปรากฏ มียศ ส่วนภิกษุอื่นเหล่านี้เป็นผู้ไม่ปรากฏ มีศักดิ์น้อย อสัตบุรุษ
    นั้นจึงยกตน ข่มผู้อื่น เพราะความเป็นผู้ ปรากฏนั้น ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม้นี้ก็คือ อสัปปุริสธรรม
    ส่วนสัตบุรุษแล ย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า ธรรมคือ ความโลภ ความโกรธ ความหลง ย่อมไม่ถึงความหมดสิ้นไป เพราะความเป็นผู้ปรากฏ ถึงแม้ภิกษุไม่ใช่เป็นผู้ปรากฏ มียศ แต่เป็นผู้ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม ปฏิบัติชอบประพฤติธรรมอันสมควร คนทั้งหลายก็ต้องบูชาสรรเสริญเธอในที่นั้นๆ สัตบุรุษนั้นทำการปฏิบัติแต่ภายในเท่านั้น ไม่ยกตน ไม่ข่มผู้อื่นเพราะความเป็นผู้ปรากฏนั้นๆ
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม้นี้ก็คือ สัปปุริสธรรม
    [๑๘๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ประการอื่นยังมีอีก อสัตบุรุษเป็นผู้ได้จีวร บิณฑบาต
    เสนาสนะ และคิลานปัจจยเภสัชบริขาร ย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่าเราเป็นผู้ได้จีวร บิณฑบาต
    เสนาสนะ และคิลานปัจจยเภสัชบริขาร ส่วนภิกษุอื่นเหล่านี้ ไม่ใช่เป็นผู้ได้จีวร บิณฑบาต
    เสนาสนะ และคิลานปัจจยเภสัช บริขาร อสัตบุรุษนั้นจึงยกตน ข่มผู้อื่น เพราะการได้นั้น
    ดูกรภิกษุทั้งหลายแม้นี้ก็คือ อสัปปุริสธรรม
    ส่วนสัตบุรุษแล ย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า ธรรมคือ ความโลภ ความโกรธ ความหลง ย่อมไม่ถึงความหมดสิ้นไป เพราะการได้ ถึงแม้ภิกษุไม่ใช่เป็นผู้ได้จีวร บิณฑบาต เสนาสนะและคิลานปัจจยเภสัชบริขาร แต่เป็นผู้ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม ปฏิบัติชอบ ประพฤติธรรมอันสมควร คนทั้งหลายก็ต้องบูชาสรรเสริญเธอในที่นั้นๆ สัตบุรุษนั้นทำการปฏิบัติแต่ภายในเท่านั้น ไม่ยกตน ไม่ข่มผู้อื่น เพราะการได้นั้น ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม้นี้ก็คือ สัปปุริสธรรม
    [๑๘๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ประการอื่นยังมีอีก อสัตบุรุษเป็นพหูสูต ย่อมพิจารณาเห็น
    ดังนี้ว่า เราเป็นพหูสูต ส่วนภิกษุอื่นเหล่านี้ ไม่ใช่เป็นพหูสูต อสัตบุรุษนั้นจึงยกตน ข่มผู้อื่น
    เพราะความเป็นพหูสูตนั้น ดูกรภิกษุทั้งหลายแม้นี้ก็คือ อสัปปุริสธรรม
    ส่วนสัตบุรุษแล ย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า ธรรมคือ ความโลภ ความโกรธ ความหลง
    ย่อมไม่ถึงความหมดสิ้นไป เพราะความเป็นพหูสูต ถึงแม้ภิกษุไม่ใช่เป็นพหูสูต แต่เป็นผู้ปฏิบัติ
    ธรรมสมควรแก่ธรรม ปฏิบัติชอบ ประพฤติธรรมอันสมควร คนทั้งหลายก็ต้องบูชาสรรเสริญ
    เธอในที่นั้นๆ สัตบุรุษนั้นทำการปฏิบัติ แต่ภายในเท่านั้น ไม่ยกตน ไม่ข่มผู้อื่น เพราะความ
    เป็นพหูสูตนั้น ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม้นี้ก็คือ สัปปุริสธรรม
    [๑๘๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ประการอื่นยังมีอีก อสัตบุรุษเป็นพระวินัยธร ย่อมพิจารณา
    เห็นดังนี้ว่า เราเป็นพระวินัยธร ส่วนภิกษุอื่นเหล่านี้ ไม่ใช่เป็นพระวินัยธร อสัตบุรุษนั้นจึงยกตน
    ข่มผู้อื่น เพราะความเป็นพระวินัยธรนั้นดูกรภิกษุทั้งหลาย แม้นี้ก็คือ อสัปปุริสธรรม
    ส่วนสัตบุรุษแล ย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า ธรรมคือ ความโลภ ความโกรธ ความหลง
    ย่อมไม่ถึงความหมดสิ้นไป เพราะความเป็นพระวินัยธร ถึงแม้ภิกษุไม่ใช่เป็นพระวินัยธร แต่เป็น
    ผู้ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม ปฏิบัติชอบ ประพฤติธรรมอันสมควร คนทั้งหลายก็ต้องบูชา
    สรรเสริญเธอในที่นั้นๆ สัตบุรุษ นั้นทำการปฏิบัติแต่ภายในเท่านั้น ไม่ยกตน ไม่ข่มผู้อื่น
    เพราะความเป็นพระวินัยธรนั้น ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม้นี้ก็คือ สัปปุริสธรรม
    [๑๘๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ประการอื่นยังมีอีก อสัตบุรุษเป็นธรรมกถึก ส่วนภิกษุ
    อื่นเหล่านี้ ไม่ใช่เป็นธรรมกถึก อสัตบุรุษนั้นจึงยกตน ข่มผู้อื่น เพราะความเป็นธรรม
    กถึกนั้น ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม้นี้ก็คือ อสัปปุริสธรรม
    ส่วนสัตบุรุษแล ย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า ธรรมคือ ความโลภ ความโกรธ ความหลง
    ย่อมไม่ถึงความหมดสิ้นไป เพราะความเป็นธรรมกถึก ถึงแม้ภิกษุไม่ใช่เป็นธรรมกถึก แต่เป็นผู้ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม ปฏิบัติชอบ ประพฤติธรรมอันสมควร คนทั้งหลายก็ต้อง
    บูชาสรรเสริญเธอในที่นั้นๆสัตบุรุษนั้นทำการปฏิบัติแต่ภายในเท่านั้น ไม่ยกตน ไม่ข่มผู้อื่น
    เพราะความเป็นธรรมกถึกนั้น ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม้นี้ก็คือ สัปปุริสธรรม
    ภิกษุรูปหนึ่ง ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ที่เรียกว่า ธรรมกถึก ธรรมกถึกดังนี้ ภิกษุชื่อว่า เป็นธรรมกถึก ด้วยเหตุเพียงเท่าไร
    พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า ดูกรภิกษุ หากว่า ภิกษุแสดงธรรมเพื่อความเบื่อหน่าย เพื่อความคลาดกำหนัด เพื่อความดับรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ควรจะเรียกว่าภิกษุธรรมกถึก
    ขนฺธ.สํ.17/157/302
    [๑๘๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ประการอื่นยังมีอีก อสัตบุรุษเป็นผู้อยู่ป่าเป็นวัตร ย่อม
    พิจารณาเห็นดังนี้ว่า เราเป็นผู้อยู่ป่าเป็นวัตร ส่วนภิกษุอื่นเหล่านี้ไม่ใช่เป็นผู้อยู่ป่าเป็นวัตร
    อสัตบุรุษนั้นจึงยกตน ข่มผู้อื่น เพราะความเป็นผู้อยู่ป่าเป็นวัตรนั้น ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม้นี้ก็คือ
    อสัปปุริสธรรม ฯ
    ส่วนสัตบุรุษแล ย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า ธรรมคือ ความโลภ ความโกรธ ความหลง
    ย่อมไม่ถึงความหมดสิ้นไป เพราะความเป็นผู้อยู่ป่าเป็นวัตรถึงแม้ภิกษุไม่ใช่เป็นผู้อยู่ป่าเป็นวัตร
    แต่เป็นผู้ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม ปฏิบัติชอบ ประพฤติธรรมอันสมควร คนทั้งหลายก็ต้อง
    บูชาสรรเสริญเธอในที่นั้นๆสัตบุรุษนั้นทำการปฏิบัติแต่ภายในเท่านั้น ไม่ยกตน ไม่ข่มผู้อื่น
    เพราะความเป็นผู้อยู่ป่าเป็นวัตรนั้น ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม้นี้ก็คือ สัปปุริสธรรม ฯ
    [๑๘๗] ดูกรภิกษุทั้งหลายประการอื่นยังมีอีก อสัตบุรุษเป็นผู้ทรงผ้าบังสุกุลเป็นวัตร
    ย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า เราเป็นผู้ทรงผ้าบังสุกุลเป็นวัตร ส่วนภิกษุอื่นเหล่านี้ ไม่ใช่เป็นผู้ทรงผ้า
    บังสุกุลเป็นวัตร อสัตบุรุษนั้นจึงยกตนข่มผู้อื่น เพราะความเป็นผู้ทรงผ้าบังสุกุลเป็นวัตรนั้น
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม้นี้ก็คืออสัปปุริสธรรม
    ส่วนสัตบุรุษแล ย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า ธรรมคือ ความโลภ ความโกรธ ความหลง
    ย่อมไม่ถึงความหมดสิ้นไป เพราะความเป็นผู้ทรงผ้าบังสุกุลเป็นวัตร ถึงแม้ภิกษุไม่ใช่เป็นผู้ทรงผ้า
    บังสุกุลเป็นวัตร แต่เป็นผู้ปฏิบัติธรรม สมควรแก่ธรรม ปฏิบัติชอบ ประพฤติธรรมอันสมควร
    คนทั้งหลายก็ต้องบูชาสรรเสริญเธอในที่นั้นๆ สัตบุรุษนั้นทำการปฏิบัติแต่ภายในเท่านั้น ไม่ยกตน
    ไม่ข่มผู้อื่น เพราะความเป็นผู้ทรงผ้าบังสุกุลเป็นวัตรนั้น ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม้นี้ก็คือ สัปปุริสธรรม
    [๑๘๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ประการอื่นยังมีอีก อสัตบุรุษเป็นผู้เที่ยว บิณฑบาตเป็นวัตร
    ย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า เราเป็นผู้เที่ยวบิณฑบาตเป็นวัตรส่วนภิกษุอื่นเหล่านี้ ไม่ใช่เป็นผู้เที่ยว
    บิณฑบาตเป็นวัตร อสัตบุรุษนั้นจึงยกตน ข่มผู้อื่น เพราะความเป็นผู้เที่ยวบิณฑบาตเป็นวัตรนั้น
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม้นี้ก็คือ อสัปปุริสธรรม ฯ
    ส่วนสัตบุรุษแล ย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า ธรรมคือ ความโลภ ความโกรธ ความหลง
    ย่อมไม่ถึงความหมดสิ้นไป เพราะความเป็นผู้เที่ยวบิณฑบาตเป็นวัตร ถึงแม้ภิกษุไม่ใช่เป็น
    ผู้เที่ยวบิณฑบาตเป็นวัตร แต่เป็นผู้ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม ปฏิบัติชอบ ประพฤติธรรม
    อันสมควร คนทั้งหลายก็ต้องบูชาสรรเสริญเธอในที่นั้นๆ สัตบุรุษนั้นทำการปฏิบัติแต่ภายใน
    เท่านั้น ไม่ยกตน ไม่ข่มผู้อื่น เพราะความเป็นผู้เที่ยวบิณฑบาตเป็นวัตรนั้น ดูกรภิกษุทั้งหลาย
    แม้นี้ก็คือ สัปปุริสธรรม
    [๑๘๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ประการอื่นยังมีอีก อสัตบุรุษเป็นผู้อยู่โคนไม้เป็นวัตร ย่อม
    พิจารณาเห็นดังนี้ว่า เราเป็นผู้อยู่โคนไม้เป็นวัตร ส่วนภิกษุอื่นเหล่านี้ ไม่ใช่เป็นผู้อยู่โคนไม้
    เป็นวัตร อสัตบุรุษนั้นจึงยกตน ข่มผู้อื่น เพราะ ความเป็นผู้อยู่โคนไม้เป็นวัตรนั้น ดูกรภิกษุทั้งหลายแม้นี้ก็คือ อสัปปุริสธรรม
    ส่วนสัตบุรุษแล ย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า ธรรมคือ ความโลภ ความโกรธ ความหลง ย่อมไม่ถึงความหมดสิ้นไป เพราะความเป็นผู้อยู่โคนไม้เป็นวัตร ถึงแม้ภิกษุไม่ใช่เป็นผู้อยู่โคนไม้เป็นวัตร แต่เป็นผู้ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ ธรรม ปฏิบัติชอบ ประพฤติธรรมอันสมควร คนทั้งหลายก็ต้องบูชาสรรเสริญเธอในที่นั้นๆ สัตบุรุษนั้นทำการปฏิบัติแต่ภายในเท่านั้น ไม่ยกตน ไม่ข่มผู้อื่นเพราะความเป็นผู้อยู่โคนไม้เป็นวัตรนั้น ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม้นี้ก็คือ สัปปุริสธรรม
    พระไตรปิฎก ฉบับบาลีสยามรัฐ (ภาษาไทย) เล่มที่ ๑๔
    พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๖ มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์
    หน้าที่ ๑๐๕/๔๑๓หัวข้อที่ ๑๗๘ - ๑๙๗
     

แชร์หน้านี้

Loading...