สถานที่ปฏิบัติธรรมในจังหวัดปทุมธานี

ในห้อง 'วัดและศาสนสถาน' ตั้งกระทู้โดย J.Sayamol, 23 กันยายน 2009.

  1. J.Sayamol

    J.Sayamol เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 เมษายน 2008
    โพสต์:
    6,190
    ค่าพลัง:
    +21,530
    [​IMG]
    พระประธานลานหินโค้ง วัดปัญญานันทาราม
    ............................................................................


    วัดปัญญานันทาราม
    เลขที่ 1 หมู่ 10 ต.คลองหก
    อ.คลองหลวง จ.ปทุมธานี 12121
    โทรศัพท์ 02-904-6101-2, 02-904-6107
    โทรสาร 02-904-6065


    พระครูสีลวัฒนาภิรม (พระมหาสง่า สุภโร) เจ้าอาวาส

    ความสำคัญของวัดปัญญานันทาราม คือเป็น ศูนย์พัฒนาจิตเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดปทุมธานี โดยเมื่อครั้ง พระพรหมมังคลาจารย์ (หลวงพ่อปัญญานันทภิกขุ) ยังมีชีวิตอยู่ ท่านได้เป็นองค์อุปถัมภ์วัด

    โครงการของวัดปัญญานันทาราม สําหรับประชาชนทั่วไป

    1. โครงการเพิ่มโอกาสบวชธรรมจาริณี

    จากแนวคิดเรื่องชีวิตทางกายอยู่ได้ด้วยปัจจัยสี่ ทางจิตวิญญาณอยู่ด้วยคุณธรรม การมีชีวตที่ แสวงหาแต่ปัจจัยสี่เป็นชีวิตที่แสวงหาความสุขทางกายโดยส่วนเดียว เราจึงประสบภาวะทั้งส่วนบุคคลและสังคม

    ดังนั้นเราควรแสวงหาปัจจัยที่ก่อให้เกิดความสุขทางจิตคือ ธรรมะ จะได้มีชีวิตอยู่ด้วยสติ ปัญญา และเพื่อให้จิตใจได้พบความสุขสงบเย็นของชีวิตโดยมีรากฐานจากประเพณีและวัฒนธรรม ซึ่งเป็นมรดกอันลํ้าค่าของชาติ

    การบวชเป็นการพัฒนาคนให้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ เป็นกิจกรรมฝ่ายดีที่ชาวพุทธทุกเพศ ทุกวัยมีสิทธิร่วมกิจกรรมเพื่อพัฒนาตนเอง และขยายผลไปยังผู้อื่น ไม่จํากัดจํานวน เวลา และสถานที่

    การบวชธรรมจาริณีเป็นการให้โอกาสแก่ชีวิตในการนําตนเองเข้าหาธรรมะเพื่อพัฒนาตนเอง พัฒนางาน และพัฒนาสิ่งแวดล้อมอย่างเหมาะสม ได้จัดกิจกรรมครั้งแรก เมื่อ ปี พ.ศ.2537

    [​IMG]

    2. โครงการสืบสานวัฒนธรรมรักษาอุโบสถ (วันพระ)

    ความกตัญญูกตเวทีเป็นเครื่องหมายของความดี ด้วยความละเอียดอ่อนของบรรพบุรุษจึงได้หาแนวทางเพื่อสร้างความดี ให้แก่ลูกหลานและสานสัมพันธ์ สายใยครอบครัวทําให้ผู้สูงอายุ ไม่ถูกทอดทิ้งไว้ ในบ้านคนชราอันเป็นความพิการของสังคม

    บรรพบุรุษของเราได้อาศัยการฝึกตนโดยหลักของศาสนาที่มาจากรากฐานของวัฒนธรรม ประเพณี เป็นเครื่องมือในการสร้างชีวิต คือการสร้างความสํานึกให้เกิดขึ้นเพื่อความรอดของชีวิต ทั้งทางกายและทางจิต จึงทําความมั่นคงให้เกิดขึ้นกับชีวิตและสังคม

    ณ เวลานี้ สถานการณ์ได้เปลี่ยนไป วันพระเคยทําหน้าที่สืบสานอริยธรรมของมนุษย์ กําลังถูกลบเลือนไปจากความทรงจําเพราะการเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตจากจันทรคติ สู่สุริยะคติ อริยธรรมของมนุษย์จําเป็นต้องได้รับการรักษา และปฏิบัติ สืบต่อไปเพื่อให้มนุษย์ กล้า ลด ละ เลิก ฝึกตนให้เป็นคน “อยู่ง่าย กินง่าย ถูกใจมนุษย์ สิ้นสุดปัญหา” ได้จัดกิจกรรมครั้งแรก เมื่อ ปี พ.ศ.2537

    3. โครงการชีวิตใหม่ (บําเพ็ญบารมีวันอาทิตย์)

    การเกิดของคนมีได้สองทาง เกิดครั้งแรกเกิดจากครรภ์มารดา เกิดเป็นชีวิตร่างกาย และเกิดทางจิต เกิดได้หลายครั้ง หลายเหตุการณ์ เพราะการเปลี่ยนแปลงเป็นความจริง (อนิจจัง) การเกิดทางจิตด้วยความปรารถนากระวนกระวาย อยากมี อยากเป็น ไม่อยากมี ไม่อยากเป็น การเกิดเช่นนี้จึงเป็นทุกข์รํ่าไป ดังนั้นการเปลี่ยนจากความรู้สึก ความปรารถนาเดิมๆ ให้เป็นความรู้สึก ความนึกคิดปรารถนาการกระทําที่เป็นไปตามธรรม เขาจึงเกิดเป็นชีวิตใหม่

    สังคมปัจจุบันได้เปลี่ยนวิถี จนเกิดความสับสน กายกับจิตไม่สัมพันธ์กัน เพื่อให้โอกาสแก่ชีวิต นั้นคือวันจันทร์ - ศุกร์ มีภาระต้องทํางาน วันเสาร์ - อาทิตย์ เป็นเพียงวันพักผ่อนทางกาย จิตจึงไร้ทิศทางเป็นความล้มเหลวของระบบชีวิต เราจัดโอกาสให้ เพียงแต่กายได้พักผ่อน แต่จิตกลับไม่มีเวลาให้หยุดคิดแม้เพียงเสี้ยวหนึ่ง เพื่อได้สัมผัสถึงความสงบเย็น เมื่อวัฒนธรรมในสังคมไทยได้เปลี่ยนไปตามกระแสสังคมโลก ความห่างเหินทางวัฒนธรรมได้ เกิดขึ้น แต่คุณค่าพิเศษของมนุษย์อยู่ที่การปรับตัวได้ การปรับตัวเพื่อให้โอกาสชีวิตเป็นความจำเป็น เพื่ออนุเคราะห์เกื้อกูลแก่ชีวิต สงเคราะห์ตนเองและสังคมด้วยการปรับตัวเองให้เข้ากับความเปลี่ยนแปลง ใช้วันอาทิตย์ให้โอกาสแก่ตัวเองทั้งกายและจิต ชีวิตก็สมบูรณ์แม้เพียงวินาทีหนึ่งก็ตาม ได้จัดกิจกรรมครั้งแรก เมื่อ ปี พ.ศ.2537

    [​IMG]

    4. โครงการสร้างความสุขด้วยการบําเพ็ญบุญ (วันสําคัญต่างๆ)

    ความสุขมี 2 ระดับคือ สามิสสุข ความสุขที่อิงอามิส คือกามคุณ 5 มีวัตถุ เป็นเครื่องล่อใจให้ เพลิดเพลินและปรารถนายิ่งขึ้นไป โดยเฉพาะกิน กาม เกียรติ ปัญหาต่างๆ ในสังคมที่เกิดขึ้น เพราะต่างก็แสวงหาความสุข อีกระดับที่เรียกว่า นิรามิสสุข คือความสุขที่ไม่อิงอามิส ไม่ต้องอาศัยวัตถุเป็นเครื่องให้ความสุข หรือออกจากกามคุณ 5 ออกจากกิเลสเป็นความสุขจากการไม่เบียดเบียนกัน มีเมตตาคํ้าจุนโลก และนิพพานเป็นสุขอย่างยิ่ง การแสวงหาความสุขตามหลักธรรม เป็นความสุขสงบเย็นตามธรรมชาติอย่างหนึ่ง ที่เกื้อกูลชีวิตมนุษย์ และมนุษย์เท่านั้นที่เข้าถึงได้ด้วยการให้ ทาน รักษาศีล และการเจริญภาวนา เพื่อชีวิตได้พบความสุขแท้จริงคือ สะอาด สว่าง สงบ ได้จัดกิจกรรมครั้งแรก เมื่อ ปี พ.ศ.2537

    5. โครงการวิปัสสนาเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิต

    วิปัสสนาเป็นวิธีที่พระพุทธเจ้าปฏิบัติด้วยการใช้สติกํ าหนดดูอาการทางกายและจิตที่เกิดขึ้นในปัจจุบันขณะ ขณะที่มีสติกําหนดอยู่ กิเลส (โลภ โกรธ หลง) ไม่อาจเข้าครอบงําจิตได้ บางครั้ง ขาดสติ เผลอไป เมื่อรู้ตัวก็ตั้งสติตามกําหนดกิเลสที่เกิดขึ้นในจิตจนกิเลสหายไป จิตกลับสู่ภาวะบริสุทธิ์ดังเดิม ปัญหาหรือความทุกข์จากการกระทําผิดทางกาย วาจา ใจ ก็จะไม่เกิดขึ้น ดังนั้นการศึกษาปฏิบัติให้มากกิเลสและความทุกข์ ย่อมลดลง ความสงบสุ ขในจิตใจย่อมมีมาก เพื่ออนุเคราะห์เกื้อกูลแก่ชีวิต สงเคราะห์ตนเองและสังคม ด้วยการปรับตัวเองให้เข้ากับความเปลี่ยนแปลงเพื่อความถูกต้องกับโลกและชีวิต และสร้างสรรค์แบบอย่างที่ดีงามให้แก่สังคม ทําให้รู้จักการดําเนินชีวิตด้วยความไม่ประมาท คือได้เจริญอัปปมาทธรรม สร้างครอบครัวเป็นสุข สังคมร่มเย็น ประเทศชาติมั่นคง ได้จัดกิจกรรมครั้งแรก เมื่อ ปี พ.ศ.2544

    เว็บไซต์วัดปัญญานันทาราม
    <!-- m -->Watpanyanantaram<!-- m -->
    <!-- m -->scratch cards free internet calls at watpanya.org<!-- m -->
    <!-- m -->Panyanandha amtadham OnlinE 2002<!-- m -->
    <!-- m -->http://www.panya.iirt.net/watpanya/<!-- m -->
    <!-- m -->
     
  2. J.Sayamol

    J.Sayamol เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 เมษายน 2008
    โพสต์:
    6,190
    ค่าพลัง:
    +21,530
    [​IMG]

    วัดป่าภูริทัตตปฏิปทาราม
    ถนนรพช. คลองสระหมู่ที่ 2-คลองสระหมู่ที่ 3
    บ้านคลองสระ ต.คลองควาย
    อ.สามโคก จ.ปทุมธานี 12160
    โทรศัพท์ 02-593-2433-4, 081-642-2565

    พระอาจารย์บุญช่วย ปญฺญวนฺโต เจ้าอาวาสรูปปัจจุบัน

    พระครูสุทธิธรรมรังสี (หลวงปู่เจี๊ยะ จุนฺโท) อดีตเจ้าอาวาส

    วัดป่าภูริทัตตปฏิปทาราม เป็นวัดปฏิบัติสายหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต และหลวงปู่เจี๊ยะ จุนฺโท

    [​IMG]

    ณ วัดป่าภูริทัตตปฏิปทาราม บ้านคลองสระ ตำบลคลองควาย อำเภอสามโคก จังหวัดปทุมธานี ภายในขอบเขตแห่งขัณฑสีมา อารามแห่งนี้ถูกสร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๒๔ โดยคณะศรัทธาได้ถวายที่ดินแก่หลวงตามหาบัว ญาณสมปนฺโน หลวงตาได้นิมนต์หลวงปู่เจี๊ยะมาอยู่เป็นเจ้าอาวาส

    จากท้องทุ่งป่าสนใบดกหนาสี่เหลี่ยมผืนผ้านี้ รายรอบด้วยทุ่งนาเขียวขจี ได้กลายเป็นอารามป่ากรรมฐานใกล้เมืองกรุงฯ ที่ร่มรื่นอบอวลไปด้วยกลิ่นศีลธรรมของสมณะศิษย์กรรมฐานสายท่านพระอาจารย์มั่น และกลิ่นแมกไม้นานาพันธุ์น้อยใหญ่ที่ปลูกขึ้นรายรอบทั่วบริเวณ ๑๔๖ ไร่ ๓ งาน ๘๘ ตารางวา

    ภาพแห่งพระมหาเถระผู้เฒ่า พูดจาเสียงดังฟังชัดออกกิริยาท่าทางไร้มารยา นัยน์ตามีแววมุ่งมั่นรูปหนึ่ง ซึ่งทุกคนเรียกติดปากว่า “หลวงปู่เจี๊ยะ” นั่งสนทนาธรรมกับสานุศิษย์เพียงไม่กี่คนใต้กุฏิเพิงหญ้าหลังเล็กๆ มีจีวรเก่ากั้นเป็นฉากหลัง... นี่คือ สมณานญฺจ ทสฺสนํ การเห็นสมณะผู้สงบสันโดษ เป็นมงคลอย่างสูงสุด

    เสียงเทศนาธรรมของท่านกล่อมเกลาจิตใจสานุศิษย์...วันแล้ว...วันเล่า มิได้ขาด

    ในกาลต่อมา ตำนานชีวิตของท่านเริ่มมีผู้เล่าขาน เมื่อหลวงตามหาบัวได้กล่าวชมยกย่องสรรเสริญว่า “เป็นผ้าขี้ริ้วห่อทอง เป็นเพชรน้ำหนึ่ง” ที่หาได้โดยยากยิ่ง ประชาชนญาติโยม ที่ทราบเรื่องจากทิศานุทิศ ต่างหลั่งไหลมาทำบุญและสนทนาธรรมไม่ขาดสาย ด้วยความเมตตาต่อสัตว์โลกอันไม่มีประมาณ ท่านจึงดำริสร้างกุฏิ ศาลาปูนหลังพอประมาณ ใช้ทำกิจสงฆ์และสำหรับต้อนรับประชาชนญาติโยมที่มาทำบุญและปฏิบัติธรรม จากอารามเล็กๆ จึงกลายเป็นอารามที่ใหญ่โต

    ศาลาวัดป่าภูริทัตตปฏิปทารามนั้นเป็นที่ประดิษฐานพระประธาน ภาพบูชาของพระบูรพาจารย์คือ ท่านพระอาจารย์เสาร์ กนฺตสีโล ท่านพระอาจารย์มั่น ภูริทตฺโต พระอาจารย์ตื้อ อจลธมฺโม พระอาจารย์ฝั้น อาจาโร พระอาจารย์ขาว อนาลโย ท่านพ่อลี ธมฺมธโร ด้านข้างศาลามีโรงไฟ สำหรับซักย้อมจีวร ฉันน้ำปานะฯลฯ ถัดจากนั้นไปทางด้านทิศใต้เป็นที่อยู่ของพระภิกษุ ทางด้านทิศตะวันออกเป็นโรงครัวและเขตอุบาสิกาที่เข้ามาพักปฏิบัติธรรม

    ด้านหน้าศาลาเป็นที่ตั้งของภูริทัตตเจดีย์ เป็นเจดีย์แปดเหลี่ยมสร้างด้วยหินอ่อน ภายในปูด้วยหินแกรนิต ยอดทำด้วยทองคำ อันงามสง่าควรค่าแก่การบูชาของเทวดา และมนุษย์ทั้งหลาย บรรจุพระบรมสารีริกธาตุ และพระทันตธาตุของท่านพระอาจารย์มั่น ภูริทตฺโต มีหินแกะสลักรูปพระอาจารย์เสาร์ กนฺตสีโล พระอาจารย์มั่น ภูริทตฺโต และของหลวงปู่เจี๊ยะ จุนฺโท ที่ลูกศิษย์สร้างถวาย มีพระสงฆ์มาจำพรรษาอยู่กว่า ๓๐ รูป ต่างผลัดเวรกันมาดูแลทำความสะอาด พระรูปใดที่ไม่มีหน้าที่ หลังจากฉันเช้าเสร็จแล้วจะไปปฏิบัติธรรมอยู่ในกุฏิที่ปลูกอย่างเรียบง่ายในป่า ห่างกันพอประมาณ

    กุฏิสงฆ์ภายในวัดแบ่งออกเป็น ๒ ประเภท

    ๑. กุฏิแบบถาวรเพื่อต้อนรับพระเถระที่ชราภาพ และสำหรับพักฟื้นพระอาพาธที่เดินทางจากต่างจังหวัดมารับการรักษาที่กรุงเทพฯ

    ๒. กุฏิแบบเรียบง่าย พอแกการบังแดด ลม ฝน ขนาดกว้างยาวเพียงพอแก่การอยู่เพียงรูปเดียว
    ฝาผนังใช้ผ้าจีวรเก่ากางกั้น น่าศรัทธาเลื่อมใสเป็นอย่างยิ่ง

    ทุกกุฏิจะมีทางจงกรมอย่างน้อย ๑ เส้น ยาวประมาณ ๒๕ ก้าว อยู่ใต้ร่มไม้สนดูร่มเย็นเป็นลานทางปราบกิเลสตัวขี้เกียจขี้คร้าน อานิสงส์ของการเดินจงกรมคือ ทนต่อการเดินทางไกล ทนต่อการบำเพ็ญเพียร มีอาพาธน้อย ย่อยอาหารได้ดี ทำสมาธิได้นาน กุฏิแต่ละหลังห่างกันพอประมาณ มีคูน้ำกางกั้น เพื่อให้สัปปายะเหมาะแก่การบำเพ็ญสมณะธรรม...พบอริยะธรรม

    กิจวัตรประจำวันของพระสงฆ์ที่นี่ คือ ยามเช้าก่อนออกบิณฑบาต พระภิกษุสามเณร ขัดถูปัดกวาดศาลาและบริเวณรอบๆ ส่วนพระคิลานุปัฏฐากประมาณ ๘ รูป ก็ผลัดเปลี่ยนกันดูแลหลวงปู่เจี๊ยะในยามอาพาธ มิให้ขาดตกบกพร่อง

    ในเวลาบ่ายโมง พระเณรทั้งหมดมารวมฉันน้ำปานะ บ่ายสามโมงเย็น ทำข้อวัตรปัดกวาดเสนาสนะ ขัดถูกุฏิศาลา บริเวณวัด หน้าวัด ทำความสะอาดห้องน้ำห้องส้วมอย่างพร้อมเพรียงกัน และกิจวัตรประจำวันที่สำคัญยิ่ง คือการนั่งสมาธิภาวนา เดินจงกรม สร้างสติปัญญามีความเพียรกล้า หาทางแผดเผากิเลสด้วยวิธีการต่างๆ ตามที่หลวงปู่เจี๊ยะสั่งสอน เพื่อดับไฟคือความรุ่มร้อนกระวนกระวายภายในจิตใจให้เหือดแห้งไป

    หลวงปู่เจี๊ยะท่านจะสอนพระเณรอยู่เสมอว่า

    “...พระหัวโล้นๆ ถ้าสั่งสมจีวรสังฆาฏิ ข้าว น้ำ อาหาร ฯลฯ ไว้มากๆ เท่ากับพยายามสั่งสมข้าศึกให้กับตัวเอง ชีวิตพระควรอยู่อย่างบางเบา ไม่ควรมีอะไรเป็นเครื่องกังวล การภาวนาฆ่ากิเลสให้ตายไปจากใจสำคัญที่สุด”

    ความเงียบสงบ และเสียงใบสนต้องลมดังหวิวๆ คือ
    บรรยากาศของวัดป่าภูริทัตตปฏิปทาราม ที่มีหลวงปู่เจี๊ยะเป็นเจ้าอาวาส

    คัดลอกบางตอนมาจาก : หนังสือประวัติพระครูสุทธิธรรมรังษี หลวงปู่เจี๊ยะ จุนฺโท พระผู้เป็นดั่งผ้าขี้ริ้วห่อทอง วัดป่าภูริทัตตปฏิปทาราม อำเภอสามโคก จังหวัดปทุมธานี ที่ระลึกเนื่องในงานพิธีพระราชทานเพลิงศพ

    * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * *

    การเดินทาง

    1. ขึ้นทางด่วนปากเกร็ด-บางปะอิน มุ่งหน้าไปลงสุดทางด่วนที่ถนนวงแหวนรอบนอกฝั่งตะวันตก (ทางหลวงหมายเลข 9) จากนั้นเลี้ยวซ้ายมุ่งหน้าไปทางอำเภอบางบัวทอง เมื่อถึงสะพานรถข้าม ซ้ายไปอำเภอสามโคก ขวาไปอำเภอเสนา วัดป่าภูริทัตตปฏิปทารามอยู่ขวามือ ใกล้เชิงสะพาน

    2. มาจากอำเภอบางบัวทอง วิ่งถนนวงแหวนรอบนอกฝั่งตะวันตก (ทางหลวงหมายเลข 9) ก่อนถึงสะพานถนนข้าม ซ้ายมือไปอำเภอเสนา ขวามือไปอำเภอสามโคก วัดป่าภูริทัตตปฏิปทารามตั้งอยู่ซ้ายมือก่อนถึงสะพาน

    3. มาจากถนนติวานนท์หรือมาจากรังสิต ให้มุ่งหน้าเข้าสู่ถนนหมายเลข 346 จากนั้นวิ่งถึงสี่แยกให้มุ่งเข้าสู่ถนนหมายเลข 3111 ที่ระบุว่าไปอำเภอสามโคก ไปอำเภอเสนา เมื่อมาถึงสะพานที่จะมุ่งหน้าข้ามไปอำเภอเสนา (ไม่ต้องขึ้น) ให้เลี้ยวซ้ายมุ่งหน้าไปอำเภอบางบัวทอง จังหวัดนนทบุรี แล้วรีบกลับรถ วัดป่าภูริทัตตปฏิปทารามอยู่ฝั่งตรงข้าม ตั้งอยู่บนถนนวงแหวนรอบนอกฝั่งตะวันตก (ทางหลวงหมายเลข 9)

    [​IMG]
    หลวงปู่เจี๊ยะ จุนฺโท

    [​IMG]
    พระอาจารย์บุญช่วย ปญฺญวนฺโต


    * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * *

    แผนที่วัดป่าภูริทัตตปฏิปทาราม
    <!-- m --><A href="http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=990" target=_blank>:: Œ??Ã?ѡà:: :: ͨҹ - Ἱ?ըǑ??蒀كԷѵ???Ի?҃ҁ ?.??؁?ҹզlt;/a><!-- m -->

    ประวัติและปฏิปทาหลวงปู่เจี๊ยะ จุนฺโท
    <!-- m -->:: Œ??Ã?ѡà:: :: ͨҹ - ˅ǧ?٨ਕꂐ ?عڢ?<!-- m -->

    * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * *
     
  3. J.Sayamol

    J.Sayamol เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 เมษายน 2008
    โพสต์:
    6,190
    ค่าพลัง:
    +21,530
    [​IMG]

    หอพระ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต
    เลขที่ 99 หมู่ 18 ถ.พหลโยธิน
    ต.คลองหนึ่ง อ.คลองหลวง จ.ปทุมธานี 12121
    โทรศัพท์ 081-923-0148,
    081-752-1131, 086-819-4300

    ความเป็นมาของหอพระ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต

    ในโอกาสที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ครบรอบการสถาปนาปีที่ 50 ในปีพุทธศักราช 2527 มหาวิทยาลัยได้จัดสร้างพระพุทธรูปประจำมหาวิทยาลัยจำนวน 4 องค์ โดยพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ เสด็จพระราชดำเนินทรงเททองหล่อพระ และพระราชทานนามพระพุทธรูปดังกล่าวว่า “พระพุทธธรรมทิฐิศาสดา” เพื่อประดิษฐาน ณ ท่าพระจันทร์, ศูนย์รังสิต, ศูนย์พัทยา และสมาคมธรรมศาสตร์ในพระบรมราชูปถัมภ์

    ต่อมาในปีพุทธศักราช 2542 มหาวิทยาลัยเห็นควรสร้างอาคารหอพระและเอนกประสงค์ศาลาในบริเวณ เดียวกับองค์พระ เพื่อถวายพระราชกุศลในวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเจริญพระชนมายุครบ 72 พรรษาในวันที่ 5 ธันวาคม 2542 และอัญเชิญพระพุทธธรรมทิฐิศาสดามาประดิษฐาน ณ หอพระ เมื่อขยายการเรียนการสอนระดับปริญญาตรี ที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต ในปีพุทธศักราช 2543

    หอพระ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต ขอเชิญสาธุชนทั้งหลายทุกท่าน

    1. ปฏิบัติธรรม (ฟังธรรม นั่งสมาธิ และถามปัญหาธรรมะ)
    กับครูบาอาจารย์สายพระป่ากรรมฐาน
    2. ตักบาตร (ตักบาตร-ถวายอาหารและสังฆทาน-ฟังธรรม-นั่งสมาธิ)
    3. ภาวนาวันพระใหญ่ (อุโบสถศีล) และบวชเนกขัมมะ
    4. ปฏิบัติธรรมสัญจร นำภาวนาโดยครูบาอาจารย์สายพระป่ากรรมฐาน

    เป็นโครงการปฏิบัติภาวนากับพระกรรมฐาน ทุกเดือน ตลอดทั้งปี

    แนวทางจัดทำโครงการภาวนาเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาคมธรรมศาสตร์
    ณ หอพระ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต

    1. โครงการเสริมสุข-สร้างปัญญา

    เป็นโครงการที่เน้นปฏิบัติภาวนาโดยมีพระเถระ และพระที่มีความเชี่ยวชาญมานำฝึกภาวนา โดยจะจัดทำทุกเดือน เริ่มเดือน มค. 2549 เป็นต้นไป ในแต่ละเดือนจะใช้เวลาปฏิบัติภาวนา และตอบคำถามธรรมะเวลาประมาณ 18.00-21.30 น. ส่วนในวันหยุดสุดสัปดาห์จะมีการบวชเนกขัมมะ สอนปฏิบัติภาวนา และตอบคำถามธรรมะ ตลอดจนมีศิษย์เก่าหรือผู้เชี่ยวชาญมาให้ความรู้ และประสบการณ์ชีวิตที่อาศัยหลักธรรมเป็นแนวทาง เพื่อเปิดโลกทัศน์ของนักศึกษาหรือผู้มารับการอบรม และเสริมสร้างการเรียนให้มีประสิทธิภาพ ตลอดจนการใช้ชีวิตในมหาวิทยาลัยอย่างถูกต้อง และมีความสุข

    วิธีการ : เน้นการอบรมความรู้เชิงปฏิบัติการ โดยพระเถระและพระปฏิบัติดีปฏิบัติชอบจะบรรยายธรรมสำคัญพร้อมนำฝึกปฏิบัติภาวนา รวมทั้งตอบคำถามธรรมะ ส่วนศิษย์เก่า หรือผู้เชี่ยวชาญจะบรรยายให้ความรู้ และประสบการณ์ชีวิตที่อาศัยหลักธรรมเป็นแนวทาง ตลอดจนแลกเปลี่ยนความคิดเห็นที่เป็นประโยชน์ต่อการใช้ชีวิตในวัยเรียน

    การรับสมัคร : นักศึกษาและผู้สนใจสามารถเข้ารับการอบรมในวันธรรมดาตามตารางเวลาที่กำหนดโดยไม่ต้องสมัคร ยกเว้นผู้ที่ต้องการเข้ารับการอบรมแบบเต็มวัน ส่วนใหญ่จะเป็นวันเสาร์-อาทิตย์ จะต้องสมัครล่วงหน้าที่ตัวแทนชมรมรุ่นละประมาณ 30-50 คน เพื่อให้การเตรียมอาหาร และสิ่งอำนวยความสะดวกเป็นไปด้วยความเรียบร้อย

    ค่าใช้จ่าย : ในการเข้าอบรมทุกประเภทไม่มีการเสียค่าใช้จ่าย แต่สามารถทำบุญตามศรัทธา

    [​IMG]

    2. โครงการเสริมสุข-เพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน

    เป็นโครงการที่เน้นการนำเอาหลักธรรมมาประยุกต์ใช้ในการทำงาน เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการทำงานของบุคลากรทุกระดับในมหาวิทยาลัย โดยมีพระเถระและผู้ประสบความสำเร็จในการดำเนินงานมาให้การอบรมการปฏิบัติภาวนาและเพิ่มประสบการณ์ชีวิตโครงการนี้จะจัดทำปีละประมาณ 2 ครั้งๆ ละประมาณ 5-7 วัน เริ่มปี 2459 เป็นต้นไป

    วิธีการ : เน้นการอบรมความรู้เชิงปฏิบัติการ โดยพระเถระและพระปฏิบัติดีปฏิบัติชอบจะบรรยายธรรมสำคัญพร้อมนำฝึกปฏิบัติภาวนา รวมทั้งตอบคำถามธรรมะ ส่วนศิษย์เก่า และหรือผู้เชี่ยวชาญจะบรรยายให้ความรู้ และประสบการณ์ชีวิตที่อาศัยหลักธรรมเป็นแนวทาง ตลอดจนแลกเปลี่ยนความคิดเห็นที่เป็นประโยชน์ต่อการใช้ชีวิตในวัยทำงาน

    การรับสมัคร : บุคลากรที่เป็นอาจารย์ ข้าราชการ และเจ้าหน้าที่ รวมทั้งผู้สนใจสามารถเข้ารับการอบรมตามตารางเวลาที่กำหนด โดยต้องสมัครล่วงหน้าที่ตัวแทนชมรม รุ่นละประมาณ 30-50 คน เพื่อให้การเตรียมอาหาร และสิ่งอำนวยความสะดวกเป็นไปด้วยความเรียบร้อย

    ค่าใช้จ่าย : ไม่เสียค่าใช้จ่าย แต่สามารถทำบุญตามศรัทธา ยกเว้นในกรณีที่จัดอบรมนอกสถานที่ ผู้เข้ารับการอบรมอาจต้องเสียพาหนะเดินทาง

    3. โครงการเสริมสุข-สร้างความอบอุ่นครอบครัวและชุมชน

    เป็นโครงการที่เน้นการใช้หลักธรรมมาประยุกต์ใช้ในการดำเนินชีวิตระหว่างเด็ก พ่อแม่ และสมาชิกในครอบครัว และหรือผู้บริหารและสมาชิกในกลุ่มชุมชน โดยมีพระเถระ และผู้มีประสบการณ์มาอบรมการปฏิบัติภาวนา และการใช้ชีวิตร่วมกันอย่างสันติสุขระหว่างเด็กกับผู้ใหญ่ หรือคนในครอบครัว และหรือคนในกลุ่มชุมชน โครงการนี้จะจัดทำปีละประมาณ 2 ครั้งๆ ละประมาณ 3 วัน เริ่มปี 2549 เป็นต้นไป ส่วนใหญ่จะจัดทำในช่วงปิดเทอมหรือในช่วงวันหยุดสำคัญที่คนในครอบครัวหรือกลุ่มชุมชนมีเวลาว่าง และชอบใช้ชีวิตร่วมกัน

    วิธีการ : เน้นการอบรมความรู้เชิงปฏิบัติการ โดยพระเถระและพระปฏิบัติดีปฏิบัติชอบจะบรรยายธรรมสำคัญพร้อมนำฝึกปฏิบัติภาวนา รวมทั้งตอบคำถามธรรมะ ส่วนศิษย์เก่าและหรือผู้เชี่ยวชาญจะบรรยายให้ความรู้และความสำเร็จในชีวิตครอบครัว และหรือทำงานชุมชนที่อาศัยหลักธรรมเป็นแนวทาง ตลอดจนแลกเปลี่ยนความคิดเห็นที่เป็นประโยชน์ต่อการใช้ชีวิตร่วมกันระหว่างสมาชิกในครอบครัว หรือในชุมชนท้องถิ่น

    การรับสมัคร : สมัครล่วงหน้าที่ตัวแทนชมรม รุ่นละ 30-50 คน เพื่อให้การเตรียมอาหาร และสิ่งอำนวยความสะดวกเป็นไปด้วยความเรียบร้อย

    - พ่อแม่/ผู้ปกครองของเด็กนักเรียนหรือนักศึกษา รวมทั้งนักเรียนหรือนักศึกษา สามารถเข้ารับการอบรมตามตารางเวลาที่กำหนด (ในกรณีที่นักเรียนหรือนักศึกษาสมัคร ต้องให้พ่อแม่ หรือผู้ปกครองสมัครเข้ารับการอบรมด้วย)

    - ผู้บริหารและสมาชิกชุมชนท้องถิ่น สมัครเข้ารับการอบรมได้ตามตารางที่กำหนด (ในกรณีที่สมาชิกชุมชนสมัคร ต้องให้ประธาน หรือผู้บริหารองค์กรชุมชนสมัครเข้ารับการอบรมด้วย)

    ค่าใช้จ่าย : ไม่เสียค่าใช้จ่าย แต่สามารถทำบุญตามศรัทธา ยกเว้นในกรณีที่จัดอบรมนอกสถานที่ ผู้เข้ารับการอบรมอาจต้องเสียพาหนะเดินทาง

    [​IMG]

    4. โครงการสวดมนต์เพื่อในหลวง

    เป็นโครงการใหม่ที่นักศึกษาหรือผู้ที่ยังไม่มีประสบการณ์ในการภาวนาและหรือมีเวลาน้อยที่จะฝึกปฏิบัติธรรม การสวดมนต์เป็นอีกวิธีหนึ่งที่จะช่วยให้จิตใจสงบและมีสมาธิได้ โครงการนี้จะจัดทำทุกวันจันทร์-ศุกร์ เวลา 18.00-19.00 น. ประมาณ 3 สัปดาห์ต่อเดือน เริ่มตั้งแต่เดือน เม.ย. 2549 เป็นต้นไป ดำเนินการโดยนักศึกษา มธ. ภายใต้คำแนะนำและช่วยเหลือของคณะทำงานฯ ตามที่นักศึกษาต้องการ โครงการนี้จะเชื่อมโยงและประสานกับโครงการภาวนา เพื่อมิให้เกิดความซ้ำซ้อน และสร้างโอกาสให้กับผู้สนใจได้เลือกการพัฒนาจิตตามพื้นฐานความรู้ และความต้องการของแต่ละคน

    5. โครงการปรึกษาปัญหาและสนทนาธรรม

    เป็นโครงการใหม่ที่นักศึกษาหรือผู้ที่มีปัญหาส่วนตัวในเรื่องการเรียน การสอน การทำงาน หรืออื่นๆ ที่ทำให้ไม่สบายใจและต้องการคำปรึกษาจากพระหรือผู้มีประสบการณ์ที่อาศัยธรรมเป็นแนวทางในการดำเนินชีวิต โครงการนี้จะจัดทำทุกวันพฤหัส เวลา 19.00-20.00 น. ประมาณ 3 สัปดาห์ต่อเดือน เริ่มพร้อมกับโครงการสวดมนต์ เดือน เม.ย. 2549 เป็นต้นไป และดำเนินการโดยนักศึกษา มธ. ภายใต้คำแนะนำและช่วยเหลือของคณะทำงานฯ เช่นกัน พร้อมทั้งประสานงานกับโครงการอื่น เพื่อมิให้เกิดความซ้ำซ้อนและก่อประโยชน์สูงสุดแก่ผู้มาใช้บริการ

    ศึกษารายละเอียดและกำหนดการปฏิบัติภาวนา ได้ที่
    <!-- m -->ชมรมพุทธธรรมธรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต<!-- m -->

    สำหรับบวชเนกขัมมบารมี

    - กรุณาแต่งตัวเรียบร้อย ผู้หญิงใส่ชุดขาวหรือเสื้อขาวและกระโปรงดำ ส่วนผู้ชายชุดขาว หรือเสื้อขาว กางเกงดำ

    - ควรนำมุ้ง/กลด/เต้นท์นอน ที่นอน และผ้าห่มมาด้วย (ถ้ามี) รวมทั้งนำเครื่องใช้ส่วนตัว และถ่านไฟฉายมาให้ครบ

    - สมัครล่วงหน้าที่ 081-923-0148, 081-752-1131, 086-819-4300, 081-854-0724, 086-326-0571, 081-647-8160, 081-837-6212, 089-962-8345, 086-527-4959 เพื่อเตรียมอาหาร และสิ่งอำนวยความสะดวกให้เพียงพอ และเรียบร้อย

    [​IMG]

    การเดินทาง

    1. มีรถตู้จากสนามหลวง ท่าพระจันทร์ หน้าหอใหญ่ ม.ธรรมศาสตร์-ม.ธรรมศาสตร์ รังสิต (ตึกโดม)
    ทุกวันจันทร์-เสาร์ เวลา 06.30-18.00 น.

    2. มีรถตู้ไป-กลับ อนุสาวรีย์ชัย-ม.ธรรมศาสตร์ (ท่ารถตรงข้าม สวทช.)
    ทุกวัน 05.30-20.30 น. เที่ยวสุดท้าย 21.30 น.

    3. รถตู้ขสมก. ไป-กลับ สถานีรถไฟฟ้าบีทีเอส-ม.ธรรมศาสตร์ รังสิต ท่ารถที่สวทช. 06.30-20.45 น.
    เที่ยวสุดท้ายจากท่ารถสวทช. ไปสถานีรถไฟฟ้าบีทีเอส เวลา 20.45 น.

    4. รถเมล์สาย ปอ. 29, 39, 510 ที่เขียนว่า ธรรมศาสตร์ รังสิต จะเข้ามาในธรรมศาสตร์
    และขอลงป้ายโรงอาหารกลาง อยู่ห่างจากหอพระประมาณ 1 ป้ายรถเมล์ หรือขอลงที่หน้าหอพระก็ได้
    รถปอ. เที่ยวสุดท้ายประมาณ 4 ทุ่ม ขึ้นกับการจราจรว่าคันสุดท้ายมาช้าหรือเร็ว

    * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * *

    แผนที่หอพระ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต
    <!-- m --><A href="http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=2447" target=_blank>:: Œ??Ã?ѡà:: :: ͨҹ - Ἱ?ըˍ?Ð ?҇Է’ő¸Ã?Ҋ?ì ș?¬Ñ?ʔ? ?.??؁?ҹզlt;/a><!-- m -->

    เว็บไซต์หอพระ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต
    <!-- m -->ชมรมพุทธธรรมธรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต<!-- m -->

    * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * *
     
  4. J.Sayamol

    J.Sayamol เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 เมษายน 2008
    โพสต์:
    6,190
    ค่าพลัง:
    +21,530
    หอพระ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต
    ถ.พหลโยธิน ต.คลองหนึ่ง อ.คลองหลวง จ.ปทุมธานี


    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]
     
  5. J.Sayamol

    J.Sayamol เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 เมษายน 2008
    โพสต์:
    6,190
    ค่าพลัง:
    +21,530
    [​IMG]
    พระอาจารย์คึกฤทธิ์ โสตฺถิผโล
    ............................................................................

    วัดนาป่าพง
    [วัดสาขาที่ 149 ของวัดหนองป่าพง จ.อุบลราชธานี]
    หมู่ 7 คลอง 10 ถ.สายลำลูกกา-พหลโยธิน
    ต.บึงทองหลาง อ.ลำลูกกา จ.ปทุมธานี 12150

    พระอาจารย์คึกฤทธิ์ โสตฺถิผโล เจ้าอาวาส

    วัดนาป่าพง เป็นวัดปฏิบัติสายหลวงพ่อชา สุภัทโท

    วัดตั้งอยู่ที่คลอง 10 ถนนสายลำลูกกา-พหลโยธิน พอข้ามสะพานคลอง 10
    เลี้ยวซ้ายประมาณ 6 กม. วัดนาป่าพงอยู่ขวามือ

    [​IMG]

    * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * *

    แผนที่วัดนาป่าพง
    <!-- m --><A href="http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=121" target=_blank>:: Œ??Ã?ѡà:: :: ͨҹ - Ἱ?ըǑ??钤Ò?ᅐǑ??һ蒾? ?.??؁?ҹզlt;/a><!-- m -->

    ประมวลภาพวัดนาป่าพง
    <!-- m --><A href="http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=2671" target=_blank>:: Œ??Ã?ѡà:: :: ͨҹ - ?Ð?ŀҾǑ??һ蒾? ?.??؁?ҹզlt;/a><!-- m -->

    เว็บไซต์วัดนาป่าพง
    <!-- m -->วัดนาป่าพง
     
  6. J.Sayamol

    J.Sayamol เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 เมษายน 2008
    โพสต์:
    6,190
    ค่าพลัง:
    +21,530
    [​IMG]
    พระอาจารย์ประสพไชย กนฺตสีโล
    ............................................................................


    วัดฟ้าคราม (จิตตภาวนาราม)
    [วัดสาขาที่ 44 ของวัดหนองป่าพง จ.อุบลราชธานี]
    เลขที่ 50 หมู่ 5 ต.คูคต
    อ.ลำลูกกา จ.ปทุมธานี 12130

    พระอาจารย์ประสพไชย กนฺตสีโล เจ้าอาวาส

    วัดฟ้าคราม (จิตตภาวนาราม) เป็นวัดปฏิบัติสายหลวงพ่อชา สุภัทโท

    * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * *

    แผนที่วัดฟ้าคราม (จิตตภาวนาราม)
    <!-- m -->:: Œ??Ã?ѡà:: :: ͨҹ - Ἱ?ըǑ??钤Ò?ᅐǑ??һ蒾? ?.??؁?ҹզlt;/a><!-- m -->

    * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * *
     
  7. J.Sayamol

    J.Sayamol เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 เมษายน 2008
    โพสต์:
    6,190
    ค่าพลัง:
    +21,530
    [​IMG]

    วัดป่าเจริญราชธรรมาราม (ธรรมสถานวิมลธรรม)
    เลขที่ 12/19 คลอง 11 (สายกลาง)
    ต.บึงทองหลาง อ.ลำลูกกา จ.ปทุมธานี 12150
    โทรศัพท์ : +66(0)2995 2112
    โทรสาร : +66(0)2995 2477

    พระธรรมธรวีระนนท์ วีรนนฺโท ประธานสงฆ์
    มูลนิธิวิมลธรรมและวัดป่าเจริญราชธรรมาราม

    วัดป่าเจริญราชธรรมาราม (ธรรมสถานวิมลธรรม) สร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ.๒๕๔๕ เดิมชื่อ สำนักสงฆ์วิมลธรรม ได้ก่อตั้งขึ้นเพื่อให้เป็นศูนย์วิปัสสนากรรมฐานแบบสติปัฏฐาน ๔ โดยได้รับการสนับสนุนจากคณะศิษย์เจ้าพระคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์ (อาจ อาสภมหาเถระ) วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์ แขวงพระบรมมหาราชวัง เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร

    ปัจจุบัน วัดป่าเจริญราชธรรมาราม เป็นศูนย์ส่งเสริมการปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานแบบสติปัฏฐาน ๔ ให้กับบรรพชิตและฆราวาส ทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศ ทุกเพศ ทุกวัย ตลอดทั้งปี ผู้สนใจสามารถสมัครเข้าปฏิบัติธรรมเป็นรายบุคคลหรือหมู่คณะ โดยมีพระวิปัสสนาจารย์เป็นผู้ให้การอบรม เช่น พระธรรมธรวีระนนท์ วีรนนฺโท, พระอาจารย์สงกรานต์ และแม่ชีบริจิต สล็อตเทนเบเชอร์ (แม่ชีชาวต่างชาติ สามารถพูดภาษาไทย-อังกฤษ และเยอรมัน) ทั้งนี้ พระธรรมธรวีระนนท์ วีรนนฺโท ท่านเป็นลูกศิษย์ของหลวงพ่อชา สุภัทโท แห่งวัดหนองป่าพง จ.อุบลราชธานี

    [​IMG]
    พระธรรมธรวีระนนท์ วีรนนฺโท ประธานสงฆ์
    ............................................................................


    วัดป่าเจริญราชธรรมาราม มีเนื้อที่ ๑๐ ไร่ โดยมีการแบ่งเขตพื้นที่ดังนี้

    ๑. เขตพุทธาวาส คือ พื้นที่ที่สร้างอุโบสถสถาปัตยกรรมแบบโบราณ ไม่มีฝาผนังกั้น

    ๒. เขตธรรมาวาส คือ อาคารวิปัสสนากรรมฐานเฉลิมพระเกียรติ เป็นที่ประดิษฐานพระพุทธปฏิมาปางจักรพรรดิ หน้าตักกว้าง ๑๐๙ นิ้ว ใช้เป็นสถานที่ทำวัตรสวดมนต์ ปฏิบัติธรรม และฟังธรรมบรรยายของผู้ปฏิบัติธรรม

    ๓. เขตสังฆาวาส คือ กุฏิที่พักสงฆ์ ที่จำพรรษาและมาปฏิบัติธรรม

    ๔. เขตผู้ปฏิบัติธรรม คือ กุฏิกรรมฐานและอาคารที่พักผู้ปฏิบัติธรรมซึ่งแยกส่วนระหว่างผู้ปฏิบัติธรรมชายและหญิง

    ๕. เขตสวนป่าสมุนไพรและพันธุ์พืช เป็นพื้นที่ที่เป็นป่าไม้และสวนสมุนไพรนานาพันธุ์

    ซึ่งทางวัดมีความประสงค์ที่จะสร้างวัดให้เป็น สถานที่ปฏิบัติธรรมอันสัปปายะตามแนวสติปัฏฐานสูตร เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนการปฏิบัติธรรมให้แก่พระภิกษุ สามเณร และพุทธบริษัททั่วไป ให้มีสถานที่ปฏิบัติธรรมในเขตปริมณฑล เป็นแหล่งเรียนรู้วิทยาการทางพระพุทธศาสนาแบบเถรวาทอีกแห่งหนึ่งในเมืองไทย และเปิดโอกาสให้พระธุดงคกรรมฐาน (พระป่า) ที่พำนักอยู่ตามป่าเขา ได้แสดงธรรมด้านการปฏิบัติแก่ให้พุทธศาสนิกชน เพื่อเป็นการเผยแผ่พุทธธรรม อันจะนำมาซึ่งความเจริญรุ่งเรืองของพระพุทธศาสนาและประเทศชาติสืบไป

    [​IMG]

    การเดินทาง

    หากมาโดยรถยนต์ส่วนตัว

    ถ้ามาจากปากทางแยกลำลูกกา (สนามกีฬาธูปะเตมีย์) เข้าถนนลำลูกกา ข้ามสะพานคลอง ๑๐ มาถึงทางแยกซ้ายก่อนข้ามสะพานคลอง ๑๑ ให้เลี้ยวซ้าย และมาอีก ๕ กิโลเมตร ก็ถึงทางเข้าวัดด้านซ้ายมือ อยู่ตรงข้ามกับร้านสเต็กจริงๆ

    ถ้ามาเส้นถนนรังสิต-นครนายก ให้ข้ามสะพานคลอง ๑๑ กลับรถหน้าวัดสระบัว แล้วข้ามสะพานคลอง ๑๑ ให้เลี้ยวซ้ายขึ้นสะพานข้ามคลอง ตรงมาอีก ๖.๕ กิโลเมตร ก็ถึงทางเข้าวัดด้านขวามือ อยู่ตรงข้ามกับร้านสเต็กจริงๆ หรือมาโดยรถแท็กซี่ บอกว่ามา วัดป่าเจริญราชธรรมาราม (ธรรมสถานวิมลธรรม) ลำลูกกา คลอง ๑๑ สายกลาง

    หากมาโดยรถโดยสารประจำทาง

    เส้นถนนรังสิต-นครนายก

    ๑. ขึ้นรถประจำทางที่หน้าห้างฟิวเจอร์ ปาร์ค รังสิต สายรังสิต-องครักษ์, รถตู้ประจำทาง รังสิต-มศว. คลอง ๑๖ ลงป้ายตรงข้ามวัดสระบัวข้ามสะพานลอย มาหน้าวัดสระบัว นั่งรถมอเตอร์ไซด์รับจ้าง หรือรถแท็กซี่ เข้ามาถึงวัด

    เส้นถนนลำลูกกา-คลอง ๑๖

    ๑. ขึ้นรถโดยสารประจำทางสายสะพานใหม่-ลำลูกกา คลอง ๑๖ ที่ตรงปากทางลำลูกกาอยู่ด้านข้างสนามกีฬาธูปะเตมีย์ ลงคลอง ๑๑ พอรถข้ามสะพานคลอง ๑๑ แล้วให้ลง นั่งมอเตอร์ไซด์รับจ้างเข้ามาถึงวัดได้

    ๒. จากอู่รถขสมก. ที่บางเขนก่อนถึงวัดพระศรีมหาธาตุ ๑ ป้ายรถ นั่งรถโดยสารประจำทางสายบางเขน-ลำลูกกา คลอง ๗ ลงสุดคลอง ๗ และนั่งรถแท็กซี่ หรือนั่งรอรถประจำทางสายสะพานใหม่-ลำลูกกา คลอง ๑๖ ที่ตรงคลอง ๗ มาลงคลอง ๑๑ เหมือนข้อ ๑

    สิ่งที่ต้องเตรียมมาเพื่อปฏิบัติธรรม

    ๑. ชุดขาว
    ๒. ไฟฉาย
    ๓. ยากันยุงชนิดทา
    ๔. ยาสามัญ และยาโรคประจำตัว
    ๕. ดอกไม้สำหรับขอกัมมัฏฐาน

    [​IMG]
    แม่ชีบริจิต สล็อตเทนเบเชอร์


    * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * *

    แผนที่วัดป่าเจริญราชธรรมาราม
    <!-- m --><A href="http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=525" target=_blank>:: Œ??Ã?ѡà:: :: ͨҹ - Ἱ?ըǑ??蒠?Ô?Ò??Ã?Ò??.??؁?ҹզlt;/a><!-- m -->

    พุทธศาสนาในมุมมองของ...แม่ชีฝรั่ง (แม่ชีบริจิต)
    <!-- m -->:: Œ??Ã?ѡà:: :: ͨҹ - ?ط?Ȓʹң???ͧ?ͧ...ၨ?սÑ觠(ၨ?պÔ?Ե)<!-- m -->

    เว็บไซต์วัดป่าเจริญราชธรรมาราม
    <!-- m -->http://www.watpacharoenrat.com/<!-- m -->

    * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * *
     
  8. J.Sayamol

    J.Sayamol เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 เมษายน 2008
    โพสต์:
    6,190
    ค่าพลัง:
    +21,530
    [​IMG]

    ยุวพุทธิกสมาคมแห่งประเทศไทย
    ศูนย์วิปัสสนายุวพุทธฯ เฉลิมพระเกียรติ ศูนย์ 2 ปทุมธานี
    เลขที่ 19 หมู่ 16 ต.คลองสาม
    อ.คลองหลวง จ.ปทุมธานี 12120

    โทรศัพท์ 0-2986-6403-5
    โทรสาร 0-2986-6403-4 ต่อ 111
    อีเมล์ <!-- e -->ybat02@ybat.org<!-- e -->

    ความเป็นมาของศูนย์วิปัสสนายุวพุทธฯ เฉลิมพระเกียรติ ศูนย์ 2 ปทุมธานี นั้น ด้วยศรัทธาแห่งมหาชนที่หลั่งไหลเข้ามาปฏิบัติธรรมกับยุวพุทธิกสมาคมฯ จนกระทั่งศูนย์วิปัสสนากรรมฐานแห่งที่ 1 สำนักงานใหญ่ เพชรเกษม 54 ไม่สามารถรองรับมหาชนได้ นายผลิต-นางปราณี สระวาสี ผู้มีกุศลจิตได้ทูลเกล้าฯ ถวายที่ดินจำนวน 10 ไร่ ณ อ.คลองหลวง จ.ปทุมธานี แด่สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช เพื่อมอบให้ยุวพุทธิกสมาคมฯ สร้างเป็นศูนย์วิปัสสนาแห่งที่ 2 เพื่อเป็นศูนย์วิปัสสนาแบบเข้ม สำหรับผู้ที่เคยผ่านการอบรมวิปัสสนา จากศูนย์แห่งที่ 1 แล้ว อีกทั้งเป็นสถานที่ฝึกอบรมวิทยากร และเป็นที่พำนักปฏิบัติธรรมสำหรับพระสงฆ์ในช่วงเข้าพรรษาอีกด้วย

    ปีพุทธศักราช 2540 เริ่มการก่อสร้าง, ปีพุทธศักราช 2541 อาคารฏิบัติธรรม แบบ 72 ห้อง ได้สร้างสำเร็จลงด้วยงบประมาณกว่า 50 ล้านบาท และได้จัดอบรมปฏิบัติธรรมจากนั้นเป็นต้นมา อาคารของศูนย์วิปัสสนายุวพุทธฯ เฉลิมพระเกียรติ มีอาคารหลักๆ แบ่งเป็น 3 ส่วน

    [​IMG]

    1. อาคาร 72 พรรษามหาราชา เป็นอาคาร 3 ชั้น แบ่งเป็นห้องเล็กๆ สำหรับผู้ปฏิบัติธรรมพักห้องละ 1 ท่าน โดยผู้ปฏิบัติธรรมสามารถออกมาใช้พื้นที่ว่างระหว่างแต่ละห้อง สำหรับเดินจงกรม-นั่งสมาธิได้อีกด้วย

    ห้องฏิบัติธรรม อยู่ชั้น 2 ของอาคาร 72 พรรษามหาราชา เป็นห้องโล่งสำหรับปฏิบัติกิจกรรมกลุ่ม เช่น สวดมนต์ทำวัตรเช้า-เย็น, ฟังธรรมบรรยาย และผู้ปฏิบัติธรรมสามารถเข้ามาปฏิบัติธรรมได้อีกด้วย

    ห้องพัก เป็นห้องพักเดี่ยว มีที่นอน และอุปกรณ์เครื่องนอนเหมาะสมแก่การปฏิบัติธรรม มีห้องน้ำในตัว ผู้ปฏิบัติธรรมสามารถปฏิบัติธรรมในห้องพัก หรือใช้พื้นที่ว่างระหว่างห้องพัก สำหรับปฏิบัติธรรม

    ห้องสำนักงาน อยู่ชั้นล่าง ด้านหน้าของอาคาร 72 พรรษามหาราชา ใช้เป็นที่ทำงานของเจ้าหน้าที่ประจำของสมาคม มีกล้องทีวีวงจรปิดสำหรับตรวจตราความปลอดภัยในบริเวณอาคารและบริเวณรอบนอก อีกทั้งมีระบบอินฟาเรดเพื่อเพิ่มความปลอดภัยแก่ผู้ปฏิบัติธรรมอีกด้วย

    [​IMG]

    2. กุฏิปฏิบัติธรรมแบบอุกษฏ์ เป็นกุฏิเดี่ยวสำหรับพระสงฆ์ปฏิบัติธรรมอย่างเข้มข้นตลอดพรรษา และเพื่อรองรับสำหรับผู้ต้องการฝึกตนขั้นสูงสุด มีทั้งหมดจำนวน 9 หลัง อยู่ด้านหลังอาคาร 72 พรรษามหาราชา

    3. ศาลาอาจริยบูชาทองคำ ศรีโยธิน เป็นศาลา 2 ชั้น สร้างขึ้นใหม่ในเนื้อที่ส่วนหน้าของศูนย์ ใช้สำหรับการจัดอบรม และประกอบกิจอันเป็นมหากุศลในวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา ก่อสร้างเสร็จและทำพิธีเปิด เมื่อวันที่ 25 พ.ค. 2545

    ในปี 2548 ศูนย์วิปัสสนายวพุทธฯ เฉลิมพระเกียรติ ได้ทำการก่อสร้างอาคารที่พักเจ้าหน้าที่ ที่บริเวณด้านในของพื้นที่ และในปี 2549 ได้ทำการก่อสร้างอาคารที่พักบริเวณใกล้ศาลาอาจริยบูชาทองคำ ศรีโยธิน เพื่อเป็นสำหรับวิทยากร และผู้ปฏิบัติธรรมที่เข้ามาฝึกปฏิบัติธรรม ในอาคารอาจริยบูชาทองคำ ศรีโยธิน โดยศูนย์แห่งนี้จะสามารถรองรับผู้ปฏิบัติได้ทั้งระดับพื้นฐาน และระดับพัฒนาตนเองอีกทั้งสามารถฝึกอบรมเฉพาะกลุ่มจากหน่วยงานภาครัฐและเอกชน

    * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * *

    แผนที่ศูนย์วิปัสสนายุวพุทธฯ เฉลิมพระเกียรติ
    <!-- m --><A href="http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=2299" target=_blank>:: Œ??Ã?ѡà:: :: ͨҹ - Ἱ?ըș?¬ǔ?ъʹ҂؇?ط?Ϡ੅ԁ?Ðࡕƒ?Ԡș?¬ 2 ??؁?ҹզlt;/a><!-- m -->

    เว็บไซต์ยุวพุทธิกสมาคมแห่งประเทศไทย
    <!-- m -->?Ñ?㹋Ň? ?;Ðͧ?췃??Ðਃԭ | ˜Ǿط?ԡʁҤ?˨??Ð෈䷂ϠTel : 0-2455-2525 Fax:0-2413-3131<!-- m -->

    * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * *
     
  9. J.Sayamol

    J.Sayamol เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 เมษายน 2008
    โพสต์:
    6,190
    ค่าพลัง:
    +21,530
    [​IMG]

    สำนักปฏิบัติธรรมเสวตสมบูรณ์ (วัดปลายนา)
    หมู่ 15 ต.คลองหนึ่ง
    อ.คลองหลวง จ.ปทุมธานี 12120

    พระอาจารย์โกศิล ปริปุณฺโณ เจ้าอาวาสและพระวิปัสสนาจารย์

    สำนักปฏิบัติธรรมเสวตสมบูรณ์ (วัดปลายนา) มี แนวปฏิบัติแบบ “การเจริญสติรู้การเคลื่อนไหวของกาย ตามหลักสติปัฏฐาน 4” แนวของ “หลวงพ่อเทียน จิตฺตสุโภ” โดยเน้นสติสัมปชัญญะในอิริยาบถต่างๆ มีรูปแบบของการเดินจงกรม การทำจังหวะมือ การทำวัตรสวดมนต์ ฯลฯ

    สำนักฯ มีการจัดอบรมโครงการปฏิบัติธรรมวิปัสสนากรรมฐานต่างๆ หลากหลายโครงการ เช่น “โครงการจาริกธรรมนำภาวนา” เป็นต้น ประจำทุกเดือนหรือทุก 2 เดือน โดยมีพระวิปัสสนาจารย์และวิทยากรเป็นผู้ให้การอบรม

    ระเบียบปฏิบัติ
    ๐๔.๐๐ น. ตื่นนอน
    ๐๔.๓๐ น. ทำวัตรเช้าและภาวนา
    ๐๖.๐๐ น. พระบิณฑบาต/กวาดลานวัด
    ๐๗.๓๐ น. ฉันอาหารเช้า
    ๐๙.๐๐-๑๑.๐๐ น. ปฏิบัติธรรมรวมกัน
    ๑๑.๐๐ น. พัก
    ๑๑.๓๐ น. ฉันเพล/รับประทานอาหาร
    ๑๓.๐๐-๑๖.๐๐ น. ปฏิบัติธรรมรวมกัน
    พระอาจารย์ให้คำแนะนำเพิ่มเติม
    ๑๖.๐๐ น. น้ำปานะ/พักผ่อน
    ๑๗.๐๐ น. ทำวัตรเย็น
    ๑๘.๐๐ น. พูดแนะนำข้อปฏิบัติ
    ๑๙.๓๐ น. หยุดพักผ่อน

    สนใจติดต่อ : สุจิตฺโต ภิกขุ โทรศัพท์ ๐๘๖-๐๕๑-๐๕๑๑

    [​IMG]
    หลวงพ่อเทียน จิตฺตสุโภ


    * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * *

    ประวัติและปฏิปทาหลวงพ่อเทียน จิตฺตสุโภ
    <!-- m --><A href="http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=7701" target=_blank>:: Œ??Ã?ѡà:: :: ͨҹ - ˅ǧ?荠?Ղ? ?Եڵʘ…lt;/a><!-- m -->

    รวมคำสอนหลวงพ่อเทียน จิตฺตสุโภ
    <!-- m -->?Ã?ѡà>> ?ӊ͹?ҡ?Ù?ҍҨ҃¬<!-- m -->

    เสียงธรรมบรรยายหลวงพ่อเทียน จิตฺตสุโภ
    <!-- m --><A href="http://www.dhammajak.net/audio/dhamma/files/thien.php" target=_blank>?§?Ã?Ò - ˅ǧ?荠?Ղ? ?Եڵʘ†:: ?Ã?ѡælt;/a><!-- m -->

    เว็บไซต์พ่อเทียน จิตฺตสุโภ
    <!-- m -->http://www.lungporteean.com/<!-- m -->
    <!-- m -->http://se-ed.net/theeranun/<!-- m -->
    <!-- m -->˅ǧ?荠?Ղ?<!-- m -->

    * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * *
     
  10. J.Sayamol

    J.Sayamol เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 เมษายน 2008
    โพสต์:
    6,190
    ค่าพลัง:
    +21,530
    [​IMG]

    มูลนิธิหลวงปู่หลุย จันทสาโร
    ณ ที่พักสงฆ์ หลักกิโลเมตรที่ 27 (ก.ม. 27)
    เลขที่ 75/15 ซ.แข็งขัน 3 ถ.พหลโยธิน 64
    ต.คูคต อ.ลำลูกกา จ.ปทุมธานี 12130
    โทรศัพท์ 02-523-6446

    มูลนิธิหลวงปู่หลุย จันทสาโร ที่พักสงฆ์ หลักกิโลเมตรที่ 27 (ก.ม. 27) ดอนเมือง มีการจัดงานบำเพ็ญบุญกุศลน้อมรำลึกถึงและบูชาคุณถวายแด่หลวงปู่หลุย จันทสาโร ประมาณช่วงปลาย “เดือนธันวาคม” เป็นประจำทุกปี เพื่อน้อมรำลึกการครบรอบวันมรณภาพของท่านตามที่เคยปฏิบัติมา พร้อมนี้ ร่วมกันใส่บาตรอาหารแห้งถวายพระภิกษุสงฆ์ สามเณร ไหว้พระสวดมนต์ ฟังพระธรรมเทศนาจากพระเถระสุปฏิปันโน ถวายกัณฑ์เทศน์ และปฏิบัติธรรมบูชาร่วมกัน ฯลฯ ทั้งนี้ จะมีพ่อแม่ครูบาอาจารย์พระเถระกรรมฐานจากทั่วประเทศ มาร่วมเจริญพระพุทธมนต์ เป็นจำนวนมากกว่า 50 รูป

    การเดินทาง

    1. ขับรถออกจากกรุงเทพฯ มุ่งหน้าไปเส้นทางถนนพหลโยธิน เขตสะพานใหม่ โรงพยาบาลภูมิพล กองทัพอากาศ

    2. เมื่อมาถึงโรงพยาบาลภูมิพล ให้ขับเลยไป เนื่องจากปากซอยพหลโยธิน 64 จะอยู่ขวามือ ให้ U-turn
    กลับรถบริเวณหน้าสนามกีฬาธูปเตมีย์ แล้วเลี้ยวเข้าซอยพหลโยธิน 64

    3. จากปากทางซอยพหลโยธิน 64 ตรงเข้ามาอีกประมาณ 150 เมตร จะพบทางแยก ให้เลี้ยวขวา แล้วจะเห็นซอยแข็งขัน 1-2-3-4
    อยู่ซ้ายมือ ให้เลี้ยวเข้าซอยแข็งขัน 3 ขับตรงเข้ามาในซอยแข็งขัน 3 ประมาณ 900 เมตร ก็จะเห็นที่พักสงฆ์ ก.ม. 27 อยู่ทางซ้ายมือ

    พระอาจารย์ป๊อก ประธานจัดงานฯ หลวงปู่หลุย จันทสาโร
    ณ ที่พักสงฆ์ ก.ม. 27 โทรศัพท์ 081-822-7857

    ประมวลภาพงานบำเพ็ญกุศลถวายแด่หลวงปู่หลุย เมื่อปี 2549
    <!-- m -->-:- Ǒ??蒡Ã?ҹ ʒ‹Ň??٨?蹠?Ô?ѵⵠ-:-<!-- m -->
    <!-- m -->-:- Ǒ??蒡Ã?ҹ ʒ‹Ň??٨?蹠?Ô?ѵⵠ-:-<!-- m -->

    [​IMG]
    รูปหล่อหลวงปู่หลุย จนฺทสาโร

    [​IMG]
    รูปปั้นหุ่นขี้ผึ้งหลวงปู่หลุย จนฺทสาโร


    * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * *

    แผนที่มูลนิธิหลวงปู่หลุย จันทสาโร ที่พักสงฆ์ ก.ม. 27
    <!-- m -->:: Œ??Ã?ѡà:: :: ͨҹ - Ἱ?ը?ŹԸԋŇ??٨˅؂ ?ѹ?ʒ⃠?ը?ѡʧ?젡.? 27<!-- m -->

    ประวัติและปฏิปทาหลวงปู่หลุย จนฺทสาโร
    <!-- m -->:: Œ??Ã?ѡà:: :: ͨҹ - ˅ǧ?٨˅؂ ??ڷʒ⃦lt;/a><!-- m -->

    * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * *
     
  11. J.Sayamol

    J.Sayamol เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 เมษายน 2008
    โพสต์:
    6,190
    ค่าพลัง:
    +21,530
    มูลนิธิหลวงปู่หลุย จันทสาโร
    ณ ที่พักสงฆ์ ก.ม. 27 ซ.แข็งขัน 3
    ถ.พหลโยธิน 64 ต.คูคต อ.ลำลูกกา จ.ปทุมธานี

    [​IMG]
    [​IMG]
    [​IMG]
    [​IMG]
    [​IMG]
    [​IMG]
    [​IMG]

    ขอบคุณข้อมูลจาก http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=9&t=18566
     
  12. ลุงชาลี

    ลุงชาลี เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 มีนาคม 2008
    โพสต์:
    2,958
    ค่าพลัง:
    +4,763

แชร์หน้านี้

Loading...