สติปัฏฐาน.....แบบธรรมชาติ.

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย เมเฆนทร์, 21 กุมภาพันธ์ 2011.

  1. เมเฆนทร์

    เมเฆนทร์ Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 กุมภาพันธ์ 2011
    โพสต์:
    179
    ค่าพลัง:
    +53



    สติปัฏฐาน เป็นหลักธรรมข้อปฏิบัติเพื่อมุ่งไปสู่วิชชา (ความรู้แจ้ง) เป็นความเข้าใจในธรรมอันเป็นธรรมชาติโดยไม่ถูกวิชชา ตัณหาอุปาทานครอบงำ โดยเนื้อแท้อันเป็นธรรมแห่งสติปัฏฐานตามความประสงค์ของพระพุทธองค์นั้น พระองค์ท่านต้องการชี้ให้เห็นถึงธรรมชาติอันดับอยู่แล้วไม่เที่ยงอยู่แล้วโดยตัวมันเอง ธรรมชาติอันไม่ใช่ตัวไม่ใช่ตนอยู่แล้วโดยเนื้อหามันเอง การเจริญสติปัฏฐานในวิถีธรรมชาติเพื่อมุ่งไปสู่ธรรมชาติล้วนๆแห่งความดับสนิทไม่มีเหลือ เพื่อมุ่งไปสู่ธรรมชาติอันปรุงแต่งไม่ได้แล้ว คือพระนิพพานนั่นเอง <O:p</O:p




    ในส่วนของกายานุปัสสนาสตินั้น ด้วยความเมตตาอันหาประมาณมิได้ที่พระพุทธองค์มีต่อบรรดาเวไนยสัตว์ทุกหมู่เหล่า พระพุทธองค์ทรงทราบดีว่ามีหมู่สัตว์ไม่น้อยที่รอบปัญญาบารมีไม่มากพอที่จะดำเนินบนเส้นทางอันหลุดพ้นแท้จริงอันเป็นธรรมชาตินี้ได้ พระพุทธองค์จึงทรงเลือกที่จะเกื้อกูลหมู่สัตว์พวกนี้ซึ่งมีปัญญาน้อย เมื่อพวกนี้ไม่สามารถเห็นธรรมชาติแห่งความดับไม่เที่ยงโดยตัวมันเองอยู่แล้วได้ พระองค์จึงให้พิจารณากายว่าเป็นของไม่เที่ยง การพิจารณากายในกายซึ่งอยู่ในกายานุปัสสนาสติปัฏฐานนั้น มีทั้งพิจารณาเรื่อง อานาปานสติ พิจารณาเรื่องอริยบททั้ง 4 คือ ยืน นั่ง เดิน นอน พิจารณาเรื่องการเคลื่อนไหวแห่งอริยบท พิจารณาเรื่องธาตุทั้ง 4 คือ ดิน น้ำ ลม ไฟ พิจารณาเรื่องความสกปรกเน่าเหม็นปฏิกูลในร่างกายของมนุษย์ พิจารณาเรื่องอวัยวะต่างๆที่มาประกอบกัน พิจารณาเรื่องซากศพทั้ง 9 วาระ การพิจารณากายในกายนี้ยังมิใช่การเจริญสติปัฏฐานเพื่อความหลุดพ้นอันเป็นธรรมชาติที่แท้จริง แต่ความประสงค์ของพระพุทธองค์ที่ให้พิจารณากายในกายนั้น พระองค์ท่านมีความประสงค์ว่าเมื่อพิจารณากายในกายเป็นบาทฐานแบบนี้บ่อยๆเข้าสักวันก็คงเห็นและ<O:p</O:p

    เข้าใจใน ธรรมชาติที่มันไม่เที่ยง ดับอยู่แล้วโดยตัวมันเองเข้าสักวันหนึ่ง เมื่อเข้าใจ วิถีธรรมชาติ แล้วก็จะเป็นทางดำเนินไปสู่ความหลุดพ้นที่แท้จริง<O:p</O:p

    แต่สำหรับผู้มีปัญญาอยู่แล้วย่อมรู้ชัดว่า การพิจารณากายในกายก็เป็นจิตอันปรุงแต่งชนิดหนึ่งซึ่งย่อมไม่เที่ยงและดับอยู่แล้วโดยตัวมันเองตามธรรมชาติและย่อมรู้ชัดว่ากายนั้นก็ย่อมไม่เที่ยงและดับอยู่แล้วโดยตัวมันเองตามธรรมชาติเช่นกัน<O:p</O:p




    ในส่วนของเวทนานุปัสสนาสตินั้นไม่ว่าจะเป็นเวทนา 3 คือ สุขเวทนา ทุกขเวทนา อทุกขมสุขเวทนา หรือเป็นเวทนา108 ตามที่พระพุทธองค์แจกแจงไว้อย่างละเอียดตามลักษณะปัญญาบารมีแห่งความเป็นพุทธวิสัยของท่านนั้น การเจริญสติในวิถีธรรมชาติในหมวดเวทนานี้ก็เพียงแต่ให้พึ่งรู้ชัดซึ่งเป็นธรรมชาติแห่งสัมมาสติว่า ไม่ว่าจะเป็นเวทนาลักษณะไหน เวทนาทุกๆลักษณะนั้นก็ล้วนไม่เที่ยงโดยตัวมันเองก็ล้วนดับโดยสภาพมันเองอยู่แล้ว ข้อความบางส่วนในอรรถกถา ฑีฆนิกาย มหาวรรค มหาสติปัฏฐานสูตร ในส่วนของเวทนานุปัสสนาสตินั้น พระพุทธองค์ตรัสว่า <O:p</O:p
    สุขัง เวทนัง เวทิยามิติ ปชานาติ ย่อมรู้ชัดว่า เราเสวยสุขเวทนา ความว่าเมื่อเสวยสุขเวทนาเพราะขณะเสวยสุขเวทนา ไม่มีทุกขเวทนา ก็รู้ชัดว่าเราเสวยสุขเวทนาดังนี้ เพราะฉะนั้นขึ้นชื่อว่าเวทนาไม่เที่ยงไม่ยั่งยืน มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา เธอรู้ตัวในสุขเวทนาอย่างนี้<O:p</O:p

    ข้อความดังกล่าวนี้ก็ยืนยันอย่างชัดเจนว่าพระพุทธองค์ทรงตรัสถึงเรื่องการเจริญสติในวิถี “ธรรมชาติ”ซึ่งเป็นวิถีโดยตัวมันเอง ธรรมชาติที่ว่า “ขึ้นชื่อว่าเวทนาทั้งหลายนั้นย่อมไม่เที่ยงไม่ยั่งยืนมีความแปรปรวนเป็นธรรมดา” เป็นความธรรมดาเป็นความธรรมชาติโดยตัวมันเองอยู่แล้วที่ไม่เที่ยงไม่ยั่งยืน มีความแปรปรวนย่อมดับไปโดยสภาพธรรมดาธรรมชาติของมันเองอยู่แล้ว<O:p</O:p




    ในส่วนของจิตตานุปัสสนาสตินั้น พระพุทธองค์ตรัสถึงจิตใน 16 ลักษณะ คือ จิตมีราคะ จิตปราศจากราคะ จิตมีโทสะ จิตปราศจากโทสะ จิตมีโมหะ จิตปราศจากโมหะ จิตหดหู่ จิตฟุ้งซ่าน จิตเป็นมหัคคตะ(จิตที่เป็นรูปาวจรและอรูปาวจร) จิตไม่เป็นมหัคคตะ(จิตที่เป็นกามาวจร) จิตอื่นยิ่งกว่า จิตไม่มีจิตอื่นยิ่งกว่า จิตตั้งมั่นแล้ว จิตไม่ตั้งมั่น จิตหลุดพ้น จิตไม่หลุดพ้น จิตใน 16 ลักษณะนี้ล้วนแต่เป็นจิตที่ปรุงแต่งทั้งสิ้น ล้วนแต่เป็นเรื่องของอวิชชาความไม่รู้พายึดมั่นถือมั่นในขันธ์ทั้ง 5 คือ รูป วิญญาณ สัญญา สังขาร เวทนา จนก่อให้เกิดเป็น ตัณหา อุปทาน เป็นอัตตาเป็นตัวตนขึ้นมา เป็นจิตที่ปรุงแต่งในลักษณะต่างๆเหล่านี้ขึ้นมา<O:p</O:p

    ความประสงค์ของพระพุทธองค์ที่ตรัสเรื่องจิตตานุปัสสนาสตินั้น พระพุทธองค์ทรงต้องการชี้ให้เห็นว่า จริง จริงแล้วทุกสรรพสิ่งในจักรวาลหมื่นแปดโลกธาตุนั้นล้วนตกอยู่ในกฎแห่งธรรมชาติ คือ ทุกสรรพสิ่งย่อมไม่เที่ยงโดยความเป็นธรรมดาของมันโดยธรรมชาติของมัน และโดยธรรมดาโดยธรรมชาติของมันแล้วก็ไม่ใช่ตัวไม่ใช่ตนอยู่แล้ว แต่ความไม่รู้คืออวิชชาพาเข้าไปยึดมั่นถือมั่นในขันธ์ทั้ง5 จนก่อให้เกิดตัณหา อุปทาน โดยเข้าว่ามันเที่ยงแท้แน่นอนเป็นอัตตาตัวตนขึ้นมา เป็นจิตลักษณะต่างๆขึ้นมา<O:p</O:p
    แต่โดยลักษณะของจิตต่างๆนั้น มันก็ล้วนตกอยู่ภายใต้กฎธรรมชาติเช่นกัน คือ จิตลักษณะต่างๆทั้ง 16 ลักษณะนี้มันก็ย่อมไม่เที่ยงโดยความเป็นธรรมดาของมันโดยธรรมชาติของมันอยู่แล้ว<O:p</O:p

    เพราะฉะนั้นการเจริญสติในวิธี “ธรรมชาติ” ในหมวดจิตตานุปัสนานี้ ก็เพียงให้รู้ชัดว่า “เมื่ออวิชชาความไม่รู้พาปรุงแต่งเป็นจิตลักษณะต่างๆ จิตเหล่านี้ก็ย่อมไม่เที่ยงแปรปรวนไปเป็นธรรมดาธรรมชาติของมันอยู่แล้ว” นั้นเอง<O:p</O:p




    ในส่วนของธรรมนุปัสสนาสตินั้น มีธรรมอยู่ 5 แบบ ที่พระพุทธองค์ได้ตรัสไว้คือ <O:p</O:p
    ขันธบรรพะ อายตนบรรพะ นิวรณ์บรรพะ โพชฌังคบรรพะ สัจจะบรรพะ โดยเนื้อหาแห่งธรรมต่างๆแล้วนี้ เป็นส่วนที่ต้องเข้าไปศึกษาพิจารณาเพื่อทำลายความเห็นอันเป็นสักกายทิฐิและความลังเลสงสัยอันเป็นความไม่เข้าใจในธรรม คือ วิจิกิจฉา เพื่อทำให้ความเข้าใจในธรรมทั้งปวงเกิดขึ้น เป็นความเข้าใจในธรรมที่ว่า โดยธรรมชาตินั้นย่อมไม่เที่ยงอยู่แล้วโดยตัวมันเองเป็นธรรมดา โดยธรรมชาตินั้นย่อมไม่ใช่ตัวไม่ใช่ตนอยู่แล้ว<O:p</O:p

    การที่พระพุทธองค์ตรัสถึงธรรมานุปัสสนาสตินั้น พระพุทธองค์ทรงประสงค์ที่จะเกื้อกูลหมู่สัตว์ที่มีปัญญามากพอที่จะดำเนินไปในเส้นทาง ธรรมชาติ อันเป็นเส้นทางหลุดพ้นได้ แต่ยังติดที่ยังมีความไม่เข้าใจในธรรมในส่วนต่างๆที่เป็นเรื่องที่ต้องเรียนรู้ถึงปัญหาและวิธีการแก้ไขปัญหาอย่างถูกวิธี<O:p</O:p
    แต่สำหรับผู้ที่มีปัญญามีความรอบรู้ มีความเข้าใจในธรรมเข้าใจถึงปัญหาและวิธีแก้ปัญหาอย่างชัดเจนตามวิธี ธรรมชาติ แล้ว ผู้มีปัญญาเหล่านี้พึงรู้ว่า การพิจารณาธรรมเหล่านี้ ก็ล้วนเป็นจิตปรุงแต่งชนิดหนึ่ง และพึงรู้ชัดซึ่งเป็นธรรมชาติแห่งสัมมาสติว่า <O:p</O:p

    -จิตที่ปรุงแต่งไปในการพิจารณาธรรมอันเป็นขันธบรรพะนั้น โดยธรรมชาติจิตที่ปรุงแต่งในการพิจารณาธรรมอันเป็นขันธบรรพะนั้นล้วนไม่เที่ยง ล้วนดับไป โดยตัวมันเองอยู่แล้ว<O:p</O:p

    -จิตที่ปรุงแต่งไปในการพิจารณาธรรมอันเป็นอายาตนะบรรพะนั้น โดยธรรมชาติจิตที่ปรุงแต่งในการพิจารณาธรรมอันเป็นอายาตนะบรรพะนั้นล้วนไม่เที่ยง ล้วนดับไป โดยตัวมันเองอยู่แล้ว<O:p</O:p

    -จิตที่ปรุงแต่งไปในการพิจารณาธรรมอันเป็นนิวรณ์บรรพะนั้น โดยธรรมชาติจิตที่ปรุงแต่งในการพิจารณาธรรมอันเป็นนิวรณ์บรรพะนั้นล้วนไม่เที่ยง ล้วนดับไป โดยตัวมันเองอยู่แล้ว<O:p</O:p

    -จิตที่ปรุที่ปรุงแต่งในการพิจารณาธรรมอันเป็นโพชฌังคบรรพะนั้นล้วนไม่เที่ยง ล้วนดับไป โดยตัวมันเองอยู่แล้ว<O:p</O:p

    -จิตที่ปรุงแต่งไปในการพิจารณาธรรมอันเป็นอสัจจะบรรพะนั้น โดยธรรมชาติจิตที่ปรุงแต่งในการพิจารณาธรรมอันเป็นสัจจะบรรพะนั้นล้วนไม่เที่ยง ล้วนดับไป โดยตัวมันเองอยู่แล้ว<O:p</O:p




    เมื่อเข้าใจและเจริญสติในสติปัฏฐานทั้ง 4 ตามวิธี ธรรมชาติ ที่ว่า<O:p</O:p

    -เมื่อจิตที่ปรุงแต่งไปในการพิจารณาธรรมอันเป็นกายในกายนั้นล้วนไม่เที่ยงดับไปเองตามธรรมชาติแล้ว<O:p</O:p

    -เมื่อเวทนาทั้งหลายนั้นล้วนไม่เที่ยงดับไปเองตามธรรมชาติแล้ว<O:p</O:p

    -เมื่อจิตที่ปรุงแต่งขึ้นเป็นจิตลักษณะต่างๆนั้นล้วนไม่เที่ยงดับไปเองตามธรรมชาติแล้ว<O:p</O:p

    -เมื่อจิตที่ปรุงแต่งไปในการพิจารณาธรรมอันเป็นธรรมที่ทำให้เกิดความเข้าใจในปัญหาและวิธีแก้ไขปัญหาทั้งหลายนั้นล้วนไม่เที่ยงดับไปเองตามธรรมชาติแล้ว<O:p</O:p




    การเจริญและกระทำให้มากในสติปัฏฐาน 4 ไปในทางวิถี ธรรมชาติ ซึ่งเป็น ธรรมชาติอันไม่เที่ยงอยู่แล้วโดยตัวมันเองดับไปเองในทุกส่วนของสติปัฏฐานทั้ง 4 นั้น<O:p</O:p

    -ย่อมเป็น ธรรมชาติ แห่งความดับสนิทไม่มีเหลือโดยเนื้อหามันเองอยู่แล้วด้วย<O:p</O:p

    -ย่อมเป็น ธรรมชาติ แห่งความปรุงแต่งไม่ได้อีกแล้ว<O:p</O:p

    -ย่อมเป็น ธรรมชาติ แห่งความหยุดคิดโดยสมบูรณ์อยู่แล้ว<O:p</O:p

    -ย่อมเป็น ธรรมชาติล้วนๆ แห่งความหยุดนิ่งโดยสมบูรณ์อยู่แล้วงแต่งไปในการพิจารณาธรรมอันเป็นโพชฌังคบรรพะนั้น โดยธรรมชาติจิต<O:p</O:p

    -ย่อมเป็น ธรรมชาติ แห่งความหยุดปรุงแต่งโดยเสร็จเด็ดขาดอยู่แล้ว<O:p</O:p

    -ย่อมยังให้ โพชฌงค์ธรรม 7 ประการบริบูรณ์ไปด้วย






    คัดลอกมาจาก



    หนังสือ..........ชาวฟ้าดาวดึงส์ ธรรมานุสรณ์


    <O:p</O:p<O:p</O:p
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 13 มีนาคม 2011

แชร์หน้านี้

Loading...