ว่าด้วยการพิจารณาเห็นขันธ์ ๕ เพื่อความหลุดพ้น

ในห้อง 'พระไตรปิฎก' ตั้งกระทู้โดย อุรุเวลา, 24 มีนาคม 2012.

  1. อุรุเวลา

    อุรุเวลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 ธันวาคม 2011
    โพสต์:
    3,464
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +8,002
    พระไตรปิฎก ฉบับบาลีสยามรัฐ (ภาษาไทย) เล่มที่ ๑๗ หน้าที่ ๑๕๙/๓๑๐
    ๗. ปริมุจจิตสูตรที่ ๒
    ว่าด้วยการพิจารณาเห็นขันธ์ ๕ เพื่อความหลุดพ้น
    [๓๐๗] พระนครสาวัตถี. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน
    เธอทั้งหลายพิจารณาเห็นรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ว่า นั่นไม่ใช่ของเรา นั่นไม่เป็นเรา
    นั่นไม่ใช่ตัวตนของเรา ดังนี้หรือ? ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า อย่างนั้น พระเจ้าข้า. พระผู้มี
    พระภาคตรัสว่า ดีละ ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายพึงพิจารณาเห็นรูป เวทนา สัญญา สังขาร
    วิญญาณนั้น ด้วยปัญญาอันชอบตามความเป็นจริงอย่างนี้ว่า นั่นไม่ใช่ของเรา นั่นไม่เป็นเรา
    นั่นไม่ใช่ตัวตนของเรา ดังนี้. ดูกรภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ได้สดับแล้ว
    เห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมไม่ยึดมั่นอะไรๆ ในโลก และเมื่อไม่ยึดมั่น ย่อมไม่สะทกสะท้าน
    เมื่อไม่สะทกสะท้านย่อมปรินิพพานได้เฉพาะตน ทั้งรู้ชัดว่าชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์ อยู่จบแล้ว
    กิจที่ควรทำทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี
    จบ สูตรที่ ๗.
     
  2. อุรุเวลา

    อุรุเวลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 ธันวาคม 2011
    โพสต์:
    3,464
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +8,002
    ว่าด้วยการรู้ขันธ์ ๕ โดยฐานะ

    พระไตรปิฎก ฉบับบาลีสยามรัฐ (ภาษาไทย) เล่มที่ ๑๗ หน้าที่ ๖๑/๓๑๐
    ว่าด้วยการรู้ขันธ์ ๕ โดยฐานะ
    [๑๑๘] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้:
    สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี
    ใกล้พระนครสาวัตถี. ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคได้ตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย
    ภิกษุเหล่านั้นทูลรับพระดำรัสของพระผู้มีพระภาค. พระผู้มีพระภาคได้ตรัสว่า
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ฉลาดในฐานะ ๗ ประการ ผู้เพ่งพินิจโดยวิธี ๓ ประการ เราเรียกว่า
    ยอดบุรุษ ผู้เสร็จกิจ อยู่จบพรหมจรรย์ ในธรรมวินัยนี้. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุผู้ฉลาดใน
    ในฐานะ ๗ ประการ เป็นอย่างไร? ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ รู้ชัดซึ่งรูป เหตุเกิดแห่งรูป
    ความดับแห่งรูป ปฏิปทาอันให้ถึงความดับแห่งรูป คุณแห่งรูป โทษแห่งรูป และอุบายเครื่องสลัดออกแห่งรูป.
    รู้ชัดเวทนา ฯลฯ สัญญา ฯลฯ สังขาร ฯลฯ วิญญาณ เหตุเกิดแห่งวิญญาณ ความดับแห่งวิญญาณ
    ปฏิปทาอันให้ถึงความดับแห่งวิญญาณ คุณแห่งวิญญาณโทษแห่งวิญญาณ
    และอุบายเครื่องสลัดออกแห่งวิญญาณ.
    [๑๑๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็รูปเป็นไฉน? มหาภูตรูป ๔ และรูปที่อาศัยมหาภูตรูป ๔
    นี้เรียกว่ารูป. ความเกิดขึ้นแห่งรูป ย่อมมีเพราะความเกิดขึ้นแห่งอาหาร ความดับแห่งรูป
    ย่อมมีเพราะความดับแห่งอาหาร อริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ คือ สัมมาทิฏฐิ ฯลฯ สัมมาสมาธิ.
    นี้แลเป็นปฏิปทาอันให้ถึงความดับแห่งรูป. ความสุขโสมนัสอาศัยรูปนี้เกิดขึ้น นี้เป็นคุณแห่งรูป
    รูปไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา นี้เป็นโทษแห่งรูป การกำจัดฉันทราคะ
    การละฉันทราคะในรูปเสียได้ นี้เป็นอุบายเครื่องสลัดออกแห่งรูป. ดูกรภิกษุทั้งหลาย
    สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่ง รู้ยิ่งซึ่งรูป เหตุเกิดแห่งรูป ความดับแห่งรูป ปฏิปทาอันให้ถึง
    ความดับแห่งรูป คุณแห่งรูป โทษแห่งรูป และอุบายเครื่องสลัดออกแห่งรูป อย่างนี้ๆ
    แล้วปฏิบัติ เพื่อความเบื่อหน่าย เพื่อคลายกำหนัด เพื่อดับรูป สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้น
    ปฏิบัติดีแล้ว สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดปฏิบัติดีแล้ว สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้น ชื่อว่า
    ย่อมหยั่งลงในธรรมวินัยนี้. ส่วน สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่ง รู้ยิ่งซึ่งรูป เหตุเกิดแห่งรูป
    ความดับแห่งรูป ปฏิปทาอันให้ถึงความดับแห่งรูป คุณแห่งรูป โทษแห่งรูป และอุบายเครื่องสลัดออกแห่งรูป
    อย่างนี้ๆ แล้ว หลุดพ้นไป เพราะความเบื่อหน่าย คลายกำหนัด
    ความดับ (และ) เพราะไม่ถือมั่นรูป สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้น ชื่อว่าหลุดพ้นดีแล้ว
    สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใด หลุดพ้นดีแล้ว สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้น เป็นอันเสร็จกิจ
    สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเสร็จกิจ สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้น ย่อมไม่มีวัฏฏะเพื่อความปรากฏอีก.
    [๑๒๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็เวทนาเป็นไฉน? สัญญา ๖ หมวดนี้ คือ เวทนาเกิด
    เพราะจักขุสัมผัส ฯลฯ เวทนาเกิดเพราะมโนสัมผัส. นี้เรียกว่าเวทนา. ความเกิดขึ้นแห่งเวทนา
    ย่อมมีเพราะความเกิดขึ้นแห่งผัสสะ ความดับแห่งเวทนา ย่อมมีเพราะความดับแห่งผัสสะ
    อริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ คือ สัมมาทิฏฐิ ฯลฯ สัมมาสมาธิ. นี้แลเป็นปฏิปทาอันให้ถึง
    ความดับแห่งเวทนา ฯลฯ สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้น ย่อมไม่มีวัฏฏะเพื่อความปรากฏอีก.
    [๑๒๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สัญญาเป็นไฉน? สัญญา ๖ หมวดนี้ คือ รูปสัญญา
    สัททสัญญา คันธสัญญา รสสัญญา โผฏฐัพพสัญญา ธรรมสัญญา. นี้เรียกว่าสัญญา. ความเกิดขึ้นแห่งสัญญา
    ย่อมมีเพราะความเกิดขึ้นแห่งผัสสะ ความดับแห่งสัญญา ย่อมมีเพราะความดับแห่งผัสสะ
    อริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ คือ สัมมาทิฏฐิ ฯลฯ สัมมาสมาธิ. นี้แลเป็น
    ปฏิปทาอันให้ถึงความดับแห่งสัญญา ฯลฯ สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้น ย่อมไม่มีวัฏฏะเพื่อ
    ความปรากฏอีก.
    [๑๒๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย สังขารเป็นไฉน? เจตนา ๖ หมวดนี้ คือรูปสัญเจตนา
    ฯลฯ ธรรมสัญเจตนา. นี้เรียกว่าสังขาร. ความเกิดขึ้นแห่งสังขาร ย่อมมีเพราะความเกิดขึ้น
    แห่งผัสสะ ความดับแห่งสังขาร ย่อมมีเพราะความดับแห่งผัสสะ อริยมรรคอันประกอบ
    ด้วยองค์ ๘ คือ สัมมาทิฏฐิ ฯลฯ สัมมาสมาธิ. นี้แลเป็นปฏิปทาอันให้ถึงความดับแห่งสังขาร ฯลฯ
    สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้น ย่อมไม่มีวัฏฏะเพื่อความปรากฏอีก.
    [๑๒๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็วิญญาณเป็นไฉน? วิญญาณ ๖ หมวดนี้ คือ จักขุ
    วิญญาณ โสตวิญญาณ ฆานวิญญาณ ชิวหาวิญญาณ กายวิญญาณ มโนวิญญาณ นี้เรียกว่าวิญญาณ.
    ความเกิดขึ้นแห่งวิญญาณ ย่อมมีเพราะความเกิดขึ้นแห่งนามรูป ความดับแห่งวิญญาณ
    ย่อมมีเพราะความดับแห่งนามรูป อริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ คือ สัมมาทิฏฐิ ฯลฯ
    สัมมาสมาธิ. นี้แล เป็นปฏิปทาอันให้ถึงความดับแห่งวิญญาณ. สุขโสมนัสอาศัยวิญญาณเกิดขึ้น
    นี้เป็นคุณแห่งวิญญาณ วิญญาณไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา นี้เป็นโทษ
    แห่งวิญญาณ การกำจัดฉันทราคะ การละฉันทราคะในวิญญาณ นี้เป็นความสลัดออกแห่ง
    วิญญาณ. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่ง รู้ยิ่งซึ่งวิญญาณ
    เหตุเกิดแห่งวิญญาณ ความดับแห่งวิญญาณ ปฏิปทาอันให้ถึงความดับแห่งวิญญาณ คุณแห่งวิญญาณ
    โทษแห่งวิญญาณ และอุบายเครื่องสลัดออกแห่งวิญญาณ อย่างนี้ๆ แล้ว ปฏิบัติ
    เพื่อความเบื่อหน่าย เพื่อคลายกำหนัด เพื่อดับวิญญาณ สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้น ชื่อว่า
    ปฏิบัติดีแล้ว สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใด ปฏิบัติดีแล้ว สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้น ชื่อว่า
    ย่อมหลั่งลงในธรรมวินัยนี้. สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่ง รู้ยิ่งซึ่งวิญญาณ เหตุเกิด
    แห่งวิญญาณ ความดับแห่งวิญญาณ ปฏิปทาอันให้ถึงความดับแห่งวิญญาณ คุณแห่งวิญญาณ
    โทษแห่งวิญญาณ อุบายเครื่องสลัดออกแห่งวิญญาณ อย่างนี้ๆ แล้ว หลุดพ้นไป เพราะความ
    เบื่อหน่าย เพราะคลายกำหนัด เพราะดับ เพราะไม่ถือมั่นวิญญาณ สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้น
    หลุดพ้นดีแล้ว สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใด หลุดพ้นดีแล้ว สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้น
    เป็นอันเสร็จกิจแล้ว สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเสร็จกิจแล้ว สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้น
    ย่อมไม่มีวัฏฏะเพื่อความปรากฏอีก.
    [๑๒๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุเป็นผู้เพ่งพินิจโดยวิธี ๓ ประการ เป็นอย่างไร?
    ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมเพ่งพินิจโดยความเป็นธาตุประการหนึ่ง โดยความเป็นอายตนะประการ
    หนึ่ง โดยความเป็นปฏิจจสมุปบาทประการหนึ่ง. ดูกรภิกษุทั้งหลาย อย่างนี้แล ภิกษุย่อมเป็นผู้
    เพ่งพินิจโดยวิธี ๓ ประการ. ภิกษุฉลาดในฐานะ ๗ ประการ ผู้เพ่งพินิจโดยวิธี ๓ ประการ
    เราเรียกว่า ยอดบุรุษ ผู้เสร็จกิจ อยู่จบพรหมจรรย์ในธรรมวินัยนี้.
    จบ สูตรที่ ๕.
     
  3. อุรุเวลา

    อุรุเวลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 ธันวาคม 2011
    โพสต์:
    3,464
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +8,002
    ปฏิจจสมุปบาท

    พระไตรปิฎก ฉบับบาลีสยามรัฐ (ภาษาไทย) เล่มที่ ๑๖ หน้าที่ ๒/๒๘๘
    [๔] พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของท่านอนาถ บิณฑิกเศรษฐี
    เขตพระนครสาวัตถี ... พระผู้มีพระภาคได้ตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย
    เราจักแสดง จักจำแนกปฏิจจสมุปบาทแก่พวกเธอ
    พวกเธอจงฟังปฏิจจสมุปบาท นั้น จงใส่ใจให้ดีเถิด เราจักกล่าว
    ภิกษุเหล่านั้นทูลรับพระผู้มีพระภาคแล้ว ฯ
    [๕] พระผู้มีพระภาคได้ตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ปฏิจจสมุปบาท เป็นไฉน ดูกรภิกษุ
    ทั้งหลาย เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย จึงมีสังขาร เพราะสังขารเป็นปัจจัย จึงมีวิญญาณ เพราะวิญญาณ
    เป็นปัจจัย จึงมีนามรูป เพราะนามรูป เป็นปัจจัย จึงมีสฬายตนะ เพราะสฬายตนะเป็นปัจจัย
    จึงมีผัสสะ เพราะผัสสะ เป็นปัจจัย จึงมีเวทนา เพราะเวทนาเป็นปัจจัย จึงมีตัณหา เพราะตัณหา
    เป็นปัจจัย จึงมีอุปาทาน เพราะอุปาทานเป็นปัจจัย จึงมีภพ เพราะภพเป็นปัจจัย จึงมีชาติ
    เพราะชาติเป็นปัจจัย จึงมีชราและมรณะ โสกปริเทวทุกข์โทมนัสและอุปายาส ความเกิดขึ้นแห่ง
    กองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วยประการอย่างนี้ ฯ
    [๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ชราและมรณะเป็นไฉน ความแก่ ภาวะของความแก่ ฟันหลุด
    ผมหงอก หนังเหี่ยว ความเสื่อมแห่งอายุ ความแก่ หง่อมแห่งอินทรีย์ ในหมู่สัตว์นั้นๆ
    ของเหล่าสัตว์นั้นๆ นี้เรียกว่าชรา ก็มรณะ เป็นไฉน ความเคลื่อน ภาวะของความเคลื่อน ความ
    ทำลาย ความอันตรธาน มฤตยู ความตาย กาลกิริยา ความแตกแห่งขันธ์ ความทอดทิ้งซากศพ
    ความขาด แห่งชีวิตินทรีย์ จากหมู่สัตว์นั้นๆ ของเหล่าสัตว์นั้นๆ นี้เรียกว่ามรณะ ชราและ มรณะ
    ดังพรรณนามาฉะนี้ เรียกว่า ชราและมรณะ ฯ
    [๗] ก็ชาติเป็นไฉน ความเกิด ความบังเกิด ความหยั่งลง เกิด เกิดจำเพาะ ความ
    ปรากฏแห่งขันธ์ ความได้อายตนะครบในหมู่สัตว์นั้นๆ ของ เหล่าสัตว์นั้นๆ นี้เรียกว่าชาติ ฯ
    [๘] ก็ภพเป็นไฉน ภพ ๓ เหล่านี้คือ กามภพ รูปภพ อรูปภพ นี้เรียกว่าภพ ฯ
    [๙] ก็อุปาทานเป็นไฉน อุปาทาน ๔ เหล่านี้คือ กามุปาทาน ทิฏฐุปาทาน สีลพัตตุปาทาน
    อัตตวาทุปาทาน นี้เรียกว่า อุปาทาน ฯ
    [๑๐] ก็ตัณหาเป็นไฉน ตัณหา ๖ หมวดเหล่านี้คือ รูปตัณหา สัททตัณหา คันธตัณหา
    รสตัณหา โผฏฐัพพตัณหา ธัมมตัณหา นี้เรียกว่าตัณหา ฯ
    [๑๑] ก็เวทนาเป็นไฉน เวทนา ๖ หมวดเหล่านี้คือ จักขุสัมผัสสชา เวทนา โสตสัมผัส
    สชาเวทนา ฆานสัมผัสสชาเวทนา ชิวหาสัมผัสสชาเวทนา กายสัมผัสสชาเวทนา มโนสัมผัสสชา
    เวทนา นี้เรียกว่าเวทนา ฯ
    [๑๒] ก็ผัสสะเป็นไฉน ผัสสะ ๖ หมวดเหล่านี้คือ จักขุสัมผัส โสตสัมผัส ฆานสัมผัส
    ชิวหาสัมผัส กายสัมผัส มโนสัมผัส นี้เรียกว่าผัสสะ ฯ
    [๑๓] ก็สฬายตนะเป็นไฉน อายตนะคือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ นี้เรียกว่าสฬายตนะ ฯ
    [๑๔] ก็นามรูปเป็นไฉน เวทนา สัญญา เจตนา ผัสสะ มนสิการ นี้เรียกว่านาม มหา
    ภูตรูป ๔ และรูปที่อาศัยมหาภูตรูป ๔ นี้เรียกว่ารูป นามและ รูปดังพรรณนามาฉะนี้ เรียกว่านาม
    รูป ฯ
    [๑๕] ก็วิญญาณเป็นไฉน วิญญาณ ๖ หมวดเหล่านี้คือ จักขุวิญญาณ โสตวิญญาณ
    ฆานวิญญาณ ชิวหาวิญญาณ กายวิญญาณ มโนวิญญาณ นี้เรียกว่า วิญญาณ ฯ
    [๑๖] ก็สังขารเป็นไฉน สังขาร ๓ เหล่านี้คือ กายสังขาร วจีสังขาร จิตสังขาร นี้เรียก
    ว่าสังขาร ฯ
    [๑๗] ก็อวิชชาเป็นไฉน ความไม่รู้ในทุกข์ ความไม่รู้ในเหตุเกิดแห่งทุกข์ ความไม่รู้
    ในความดับทุกข์ ความไม่รู้ในปฏิปทาที่จะให้ถึงความดับทุกข์นี้เรียกว่าอวิชชา ดูกรภิกษุทั้งหลาย
    เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย จึงมีสังขาร เพราะสังขารเป็นปัจจัย จึงมีวิญญาณ ... ดังพรรณนามาฉะนี้
    ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วยประการอย่างนี้ ฯ
    [๑๘] ก็เพราะอวิชชานั่นแหละดับด้วยการสำรอกโดยไม่เหลือ สังขารจึง ดับ เพราะสังขาร
    ดับ วิญญาณจึงดับ ... ความดับแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมี ด้วยประการอย่างนี้ ฯ
     
  4. อุรุเวลา

    อุรุเวลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 ธันวาคม 2011
    โพสต์:
    3,464
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +8,002
    อายตนะภายใน ๖ อย่าง
    ๑. อายตนะ คือตา
    ๒. อายตนะ คือหู
    ๓. อายตนะ คือจมูก
    ๔. อายตนะ คือลิ้น
    ๕. อายตนะ คือกาย
    ๖. อายตนะ คือใจ

    อายตนะภายนอก ๖ อย่าง
    ๑. อายตนะ คือ รูป
    ๒. อายตนะ คือ เสียง
    ๓. อายตนะ คือ กลิ่น
    ๔. อายตนะ คือ รส
    ๕. อายตนะ คือ โผฏฐัพพะ
    ๖. อายตนะ คือ ธรรม

    หมวดวิญญาณ ๖
    ๑. จักขุวิญญาณ [ความรู้สึกอาศัยตา]
    ๒. โสตวิญญาณ [ความรู้สึกอาศัยหู]
    ๓. ฆานวิญญาณ [ความรู้สึกอาศัยจมูก]
    ๔. ชิวหาวิญญาณ [ความรู้สึกอาศัยลิ้น]
    ๕. กายวิญญาณ [ความรู้สึกอาศัยกาย]
    ๖. มโนวิญญาณ [ความรู้สึกอาศัยใจ]

    อุปาทาน ๔ อย่าง
    ๑. กามุปาทาน [ถือมั่นกาม]
    ๒. ทิฏฐุปาทาน [ถือมั่นทิฐิ]
    ๓. สีลัพพตุปาทาน [ถือมั่นศีลและพรต]
    ๔. อัตตวาทุปาทาน [ถือมั่นวาทะว่าตน]

    หมวดผัสสะ ๖
    ๑. จักขุสัมผัสส์ [ความถูกต้องอาศัยตา]
    ๒. โสตสัมผัสส์ [ความถูกต้องอาศัยหู]
    ๓. ฆานสัมผัสส์ [ความถูกต้องอาศัยจมูก]
    ๔. ชิวหาสัมผัสส์ [ความถูกต้องอาศัยลิ้น]
    ๕. กายสัมผัสส์ [ความถูกต้องอาศัยกาย]
    ๖. มโนสัมผัสส์ [ความถูกต้องอาศัยใจ]

    หมวดสัญญา ๖
    ๑. รูปสัญญา [สัญญาที่เกิดขึ้นยึดรูปเป็นอารมณ์]
    ๒. สัททสัญญา [สัญญาที่เกิดขึ้นยึดเสียงเป็นอารมณ์]
    ๓. คันธสัญญา [สัญญาที่เกิดขึ้นยึดกลิ่นเป็นอารมณ์]
    ๔. รสสัญญา [สัญญาที่เกิดขึ้นยึดรสเป็นอารมณ์]
    ๕. โผฏฐัพพสัญญา [สัญญาที่เกิดขึ้นยึดโผฏฐัพพะเป็นอารมณ์]
    ๖. ธัมมสัญญา [สัญญาที่เกิดขึ้นยึดธรรมเป็นอารมณ์]

    หมวดเวทนา ๖
    ๑. จักขุสัมผัสสชาเวทนา [เวทนาที่เกิดแต่ความถูกต้องอาศัยตา]
    ๒. โสตสัมผัสสชาเวทนา [เวทนาที่เกิดแต่ความถูกต้องอาศัยหู]
    ๓. ฆานสัมผัสสชาเวทนา [เวทนาที่เกิดแต่ความถูกต้องอาศัยจมูก]
    ๔. ชิวหาสัมผัสสชาเวทนา [เวทนาที่เกิดแต่ความถูกต้องอาศัยลิ้น]
    ๕. กายสัมผัสสชาเวทนา [เวทนาที่เกิดแต่ความถูกต้องอาศัยกาย]
    ๖. มโนสัมผัสสชาเวทนา [เวทนาที่เกิดแต่ความถูกต้องอาศัยใจ]

    หมวดตัณหา ๖
    ๑. รูปตัณหา [ตัณหาที่เกิดขึ้นยึดรูปเป็นอารมณ์]
    ๒. สัททตัณหา [ตัณหาที่เกิดขึ้นยึดเสียงเป็นอารมณ์]
    ๓. คันธตัณหา [ตัณหาที่เกิดขึ้นยึดกลิ่นเป็นอารมณ์]
    ๔. รสตัณหา [ตัณหาที่เกิดขึ้นยึดรสเป็นอารมณ์]
    ๕. โผฏฐัพพตัณหา [ตัณหาที่เกิดขึ้นยึดโผฏฐัพพะเป็นอารมณ์]
    ๖. ธัมมตัณหา [ตัณหาที่เกิดขึ้นยึดธรรมเป็นอารมณ์]

    อุปาทาน ๔ อย่าง
    ๑. กามุปาทาน [ถือมั่นกาม]
    ๒. ทิฏฐุปาทาน [ถือมั่นทิฐิ]
    ๓. สีลัพพตุปาทาน [ถือมั่นศีลและพรต]
    ๔. อัตตวาทุปาทาน [ถือมั่นวาทะว่าตน]
     
  5. deelek

    deelek เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 มิถุนายน 2009
    โพสต์:
    6,696
    ค่าพลัง:
    +16,255
    โมทนา สาธุ ๆ
    กับทุกท่านที่ได้นำพระธรรม
    มาเผยแพร่ ในกาลนี้ด้วย
    การให้ธรรมะ ชนะ การให้ทั้งปวง
    (อยากเรียนถามว่าการตั้งกระทู้ใหม่ ต้องทำอย่างไรบ้าง
    บางทีผมไปเจอการทำบุญอยากตั้งกระทู้ทำยังไม่ได้ ช่วยกรุณาแนะนำหน่อยครับ)
     
  6. อุรุเวลา

    อุรุเวลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 ธันวาคม 2011
    โพสต์:
    3,464
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +8,002
    คู่มือการใช้งานครับ

    PaLungJit.com - คู่มือการใช้: General Forum Usage
     

แชร์หน้านี้

Loading...