วิธีการสร้างบารมีสําหรับผู้ปรารถนาโพธิญาณและความหมายของคําว่าโพธิญาณ

ในห้อง 'พุทธภูมิ - พระโพธิสัตว์' ตั้งกระทู้โดย ธัชกร, 25 ธันวาคม 2009.

  1. ธัชกร

    ธัชกร เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 กรกฎาคม 2009
    โพสต์:
    267
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +3,040
    [​IMG]

    เล่าเรื่องโพธิญาณ
    การสร้างบารมีสำหรับผู้ปรารถนาโพธิญาณ

    Credit : พี่โด่งเวปวัดถ้ำเมืองนะ

    สังคมไทยในปัจจุบันนี้แม้ว่าประชาชนส่วนใหญ่ของประเทศ จะมีข้อมูลระบุไว้ในทะเบียนราษฎร์ว่ามีพระพุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำชาติ แต่จะหาผู้ที่รู้หลักธรรมคำสอน แก่นธรรมของพระพุทธศาสนาอย่างแท้จริงนั้นน้อยมาก จนมีคำพูดหนึ่งกล่าวไว้ว่า “คนไทยนั้น จะเข้าวัดก็ต่อเมื่อมีเรื่องทุกข์ใจเท่านั้น”

    นับเป็นคำพูดที่เสียดแทงใจชาวพุทธอย่างเรายิ่งนัก เป้าหมายของพระพุทธศาสนา คือ พระนิพพาน แต่การปฏิบัติเพื่อที่จะให้ถึงซึ่งพระนิพพานนั้นต้องผ่านการเพียรสั่งสมสร้างบุญบารมีมามากมายนัก เรียกกันว่าสำเร็จได้นั้นไม่ใช่เหตุบังเอิญ บารมีเต็มแล้วจึงสำเร็จเป็นอรหันต์สาวก อันบารมีเต็มนี้องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงเรียกว่า บารมี ๑๐

    เรามาดูคำสอนขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เรื่องบารมี ๑๐ ประการ จากที่เคยอ่านศึกษาจากบทความธรรมะของ

    พระเดชพระคุณหลวงพ่อฤาษีลิงดำ พระเดชพระคุณหลวงพ่อท่านเคยกล่าวไว้ บารมี แปลว่า “เต็ม” ซึ่งหมายถึง “การทำให้กำลังใจเต็ม ทรงอยู่ในใจให้เต็มครบถ้วนบริบูรณ์ ไม่บกพร่องทั้ง ๑๐ ประการ”

    ๑. ทานบารมี จิตพร้อมในการให้ทานเป็นปกติ
    ๒. ศีลบารมี จิตพร้อมในการทรงศีลเป็นปกติ
    ๓. เนกขัมมะบารมี จิตพร้อมในการถือบวชเป็นปกติ ในที่นี้หมายถึงบวชใจ
    ๔. ปัญญาบารมี จิตพร้อมที่จะใช้ปัญญาเป็นเครื่องประหารอุปาทานให้พังพินาศไป
    ๕.วิริยะบารมี มีความเพียรในทุกขณะ ควบคุมใจไว้ได้เสมอ
    ๖. ขันติบารมี มีความอดทน อดกลั้นต่อสิ่งอันเป็นปฏิปักษ์ ทนต่อสิ่งกั้นขวางการปฏิบัติ
    ๗. สัจจะบารมี ทรงตัวไว้ว่าเราจะทำจริงทุกอย่างในด้านของการทำความดี ไม่มีคำไม่จริงสำหรับใจเรา
    ๘.อธิษฐานบารมี ตั้งใจไว้ให้ตรงโดยเฉพาะ อธิษฐานเฉพาะเจาะจงเมื่อจะทรงความดี
    ๙. เมตตาบารมี สร้างอารมณ์ความดี ไม่เป็นศัตรูกับใคร มีความรักตนเสมอด้วยบุคคลอื่น
    ๑๐.อุเบกขาบารมี การวางเฉยในกาย และจิตเมื่อมันไม่ทรงตัว

    คำว่า บารมี นี่แปลว่า เต็ม เมื่อเต็มแล้วก็ต้องเต็มจริงๆ เป็นอันว่าถ้าบารมีทั้ง ๑๐ ประการนี้เต็มครบถ้วนบริบูรณ์ ที่เรียกว่า ปรมัตถบารมี (สำหรับพระสาวกนะ ไม่ใช่อันดับขั้นพระพุทธเจ้า) สำหรับขั้นพระสาวกนี้ใช้อารมณ์ต่ำ อารมณ์ไม่สูงนัก ไม่ใช่ขั้นพระพุทธเจ้าต้องแยกประเด็นกันให้ชัด

    ถ้าหากว่าบารมีทั้ง ๑๐ ประการนี้เป็น ปรมัตถบารมี (คำว่า ปรมัตถบารมี หมายความว่า มีอารมณ์ทรงสูงอย่างยิ่ง คำว่า อย่างยิ่งก็หมายความว่าไม่เคลื่อนไป อารมณ์ที่มีอาการตรงกันข้ามไม่เกิดขึ้นกับจิตใจของเรา)

    ถ้าบารมี ๑๐ ดังที่กล่าวมานี้ครบถ้วนบริบูรณ์ ทุกท่านก็เป็นพระอริยเจ้าขั้นพระอรหันตผล หมายถึงบารมีเต็ม

    เราอาจเคยสงสัยว่าในสมัยพุทธกาล ทำไมบางคนที่สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ได้ตรัสข้อธรรมพุทธพจน์เพียงไม่กี่คำ ก็สำเร็จเป็นพระอรหันต์ อันที่จริงคนผู้นั้นได้ผ่านการสร้างบารมีมามากมายนักในอดีต กล่าวได้ว่าบารมี ๑๐ เต็มแล้วนั้นเอง พอมาในชาตินี้เมื่อได้พบองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า และได้ฟังข้อธรรมพุทธพจน์ของพระองค์จึงบังเกิดปัญญามีดวงตาเห็นธรรมเหตุปัจจัยพร้อม บารมีพร้อมทำให้สำเร็จเป็นพระอรหันต์ในทันใด ในกรณีกลับกันสำหรับคนที่ไม่มีบารมีเก่าก่อนมาหนุนส่ง ในการปฏิบัติจริง เพื่อมรรคเพื่อผล ถ้าขาดบารมีทั้ง ๑๐ ประการแล้ว ทำอย่างไรมันก็ไม่มีผล กรณีที่บังเกิดผลที่จะมีกับกำลังใจก็ได้แค่ผลหลอกๆ คือเกิดอุปาทาน คำว่าหลอกลวงนี่ไม่ได้ตั้งหน้าตั้งตาไปโกหกมดเท็จใคร แต่ว่ากำลังใจมันไม่จริง อาจเป็นอารมณ์ที่เกิดขึ้นในสมาธิ ขณะที่เรียกว่าหยุดได้จากความโลภ ความโกรธ ความหลง อาจจะหยุดไปเพราะอารมณ์สบายชั่วคราว แต่ทว่าเมื่อปฏิบัติต่อไปในภายหน้าเมื่อคลายจากสมาธิไป ก็จะมีทุกข์ ความโลภ ความโกรธ ความหลง เช่นเดิม หรือบางครั้งอาจจะหยุดได้ด้วยกำลังของฌาน เช่น ฌานโลกีย์ กำลังใจยังดีไม่พอ ก็เอากำลังเข้าไปกดความโลภ ความโกรธ ความหลง นี่ถ้าหากว่าจะตัดกันตรงๆ ก็ต้องมาพิจารณาขันธ์ ๕ ว่ามันเป็นทุกข์ (ขันธ์ ๕ ได้แก่ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ) ต้องอาศัยกำลังสมาธิในการตัดอุปกิเลสต่างๆ พิจารณารูป สัญญา สังขาร และวิญญาณตามความเป็นจริง ว่าทุกสิ่งมีการแปรเปลี่ยนอยู่ตลอด ไม่อยู่คงสภาพ มีความเสื่อมเป็นสรณะ พิจารณาดูให้รู้แจ้งให้เห็นตามความเป็นจริงตามกฎไตรลักษณ์นะ(เกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป) เราพิจารณาแบบนี้ถ้ากำลังเรามี(กำลังสมาธิ กำลังบารมี ๑๐ ดังที่กล่าวไว้ตอนต้น) อุปกิเลสขาดสิ้นทันที

    ที่ขันธ์ ๕ เป็นทุกข์เพราะอะไร เพราะว่าเราขาด ทานบารมี ขาดศีลบารมี ขาดเนกขัมมะบารมี ขาดปัญญาบารมี ขาดวิริยะบารมี ขาดขันติบารมี ขาดสัจจะบารมี ขาดอธิษฐานบารมี ขาดเมตตาบารมี ขาดอุเบกขาบารมี

    เมื่อเราอ่านมาถึงตรงนี้แล้วอาจจะมีหลายท่านจะตอบว่า บารมีทั้งหลายเหล่านี้ตัวข้าพเจ้ามีครบถ้วนแล้วนี่ ที่ปฏิบัติอยู่ทุกวันนี้ก็ครบถ้วนดีอยู่แล้ว แต่ก็อย่าลืมว่าบารมีนี้จัดเป็น ๓ ชั้น คือ

    ๑. บารมีต้น เรามีทานมีศีลเหมือนกัน แต่ว่าทาน ศีลมันบกพร่อง มันไม่ครบถ้วนบริบูรณ์
    ๒. ถ้าหากว่าบารมีอันดับที่ ๒ ที่เรียกว่า อุปบารมี ทาน ศีล ของเราดีครบถ้วนแต่จิตใจยังไม่สะอาดพอ ยังไม่รักพระนิพพาน
    ๓. ถ้าหากว่าเป็น ปรมัตถบารมีแล้ว ละเอียดขึ้นมากไม่มีการหวังผลใดๆ ในโลกีย์วิสัย จะเป็นชาตินี้หรือว่าชาติหน้าก็ตามที กำลังใจของเราไม่มีการเกาะ การกระทำทุกสิ่งทุกอย่างเพื่อพระนิพพานโดยเฉพาะ ทำด้วยจิตบริสุทธิ์

    คำว่า โพธิ ความหมายอย่างกว้าง คือการตรัสรู้ อันครอบคลุมไปถึงการเตรียมตัว หรือการสะสมความรู้ (การบำเพ็ญบารมี) ก่อนตรัสรู้ และตัวความรู้ที่ทำให้เป็นพระพุทธเจ้า และผลการตรัสรู้ คือ ความหลุดพ้นและนิพพาน แม้ต้นไม้ที่ประทับนั่งตรัสรู้ ก็เรี่ยกว่า ต้นโพธิ์<?xml:namespace prefix = v /><v:shape style="WIDTH: 12pt; HEIGHT: 12pt; VISIBILITY: visible; mso-wrap-style: square" id=Picture_x0020_12 alt="http://palungjit.org/images/smilies/tongue.gif" type="#_x0000_t75" o:spid="_x0000_i1025"><v:imagedata o:title="tongue" src="file:///C:\Users\kanchana\AppData\Local\Temp\msohtmlclip1\01\clip_image001.gif"></v:imagedata></v:shape>อรรถกถาต่างๆ ได้กล่าวว่า โพธิ คือ มรรค อันหมายถึง ทางปฏิบัติ เป็น ๔ ชั้น ได้แก่

    ๑. โสดาปัตติมรรค <O:p
    ๒. สกทาคามิมรรค
    ๓. อนาคามิมรรค <O:p
    ๔. อรหัตมรรค
    ความหมายสำคัญของคำว่า โพธิ อีกอย่างหนึ่ง คือ ความรู้ หรือ ญาณซึ่งเป็นความรู้ของพระพุทธเจ้า ๓ ประการ หรือเรียกว่า วิชา ๓ คือ
    ๑. ปุเพนิวาสานุสสติญาณ ระลึกชาติได้
    ๒. จุตูปปาตญาณ เห็นการเวียนว่ายตายเกิดของสัตว์ทั้งหลาย เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า ทิพพจักขุญาณ คือ ตาทิพย์
    ๓. อาสวักขยญาณ ความรู้ที่ทำให้สิ้นอาสวะ
    ในความรู้เหล่านี้ ความรู้ที่สำคัญที่สุด คือ อาสวักขยาญาณ ได้แก่ การรู้อริยสัจ ๔ อย่างถ่องแท้ตามความเป็นจริงแล้ว จิตก็หลุดพ้นจากอาสวะ คือ กามสวะ ภวาสวะ และอวิชชสวะ หรือได้แก่ การพิจรณาปฏิจจสมุปบาททั้งขบวนการเกิด(สมุทัย)และขบวนการดับ(นิโรธ) จนเห็นชัดแจ้งตามความจริง

    กล่าวเฉพาะอสวักขนยญาณนี้ เป็นญาณของ อเสขบุคคล คือ ความรู้ที่เปลี่ยนคนธรรมดามาเป็น อริยบุคคล เป็นพระอรหันต์ เมื่อบรรลุความรู้ขึ้นนี้แล้ว จิตหลุดพ้นจากกิเลสทั้งปวง (วิมุตติ) กลายเป็นพระพุทธเจ้า “ชื่อว่า” พระพุทธเจ้า เพราะอรรถว่า ตรัสรูสัจจะทั้งหลาย เพราะอรรถว่า ให้หมู่สัตว์ตรัสรู้ตาม เป็นสัพพัญญู เพราะรู้ธรรมทั้งปวง
    ดังนั้น คำว่า โพธิญาณ จึงหมายถึง ความรู้ในการตรัสรู้ หรือความรู้ที่ทำให้ตรัสรู้ บุคคลผู้มุ่งหมายที่จะบรรลุโพธิญาณ หรือตรัสรู้ หรือผู้ที่กำลังบำเพ็ญบารมีธรรมเพื่อที่จะตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า เรียกว่า พระโพธิสัตว์ บางทีก็เรียกว่า พระมหาสัตว์ หรือพระมหาบุรุษ ซึ่งหมายถึง บุคคลที่ยิ่งใหญ่กว่าผู้อื่น หรือเป็นสัตว์ที่ประเสริฐกว่าสัตว์อื่น(ในการบำเพ็ญบารมี) หรือ หมายถึงบุคคล ผู้ตักเตือน เหล่าอื่น หรือผู้ต้องการช่วยเหลือสัตว์อื่นออกจากทุกข์

    หลังจากทรงบรรลุพระโพธิญาณแล้วทรงดำริว่า ตถาคตได้บริจาคบุตรและภรรยาให้เป็นทาน และสละทรัพย์สิ่งของต่างๆ ตลอดถึงเลือดเนื้อและชีวิตบำเพ็ญบารมีมาสิ้นกาลนานถึง ๔ อสงไขย ๑๐๐,๐๐๐ กัป ก็ เพราะต้องการพระโพธิญาณนี้เท่านั้น บัดนี้ ตถาคตได้กำจัดกิเลสทั้งปวง บรรลุพระสัพพัญญุตญาณ อันเป็น โลกุตตรธรรมสมปรารถนาแล้ว


    ขอเชิญท่านที่สนใจในแนวทางแห่งโพธิญาณร่วมเป็นสมาชิกของชมรมปฐมโพธิญาณ สมัครได้ที่ PaLungJit.com - ชมรมปฐมโพธิญาณ

    ชมรมปฐมโพธิญาณก่อตั้งเพื่อการสนทนาแลกเปลี่ยนธรรมะในแนวทางแห่งโพธิสัตว์ เพื่อให้สมาชิกเกิดกําลังใจในการปฏิบัติธรรมและศึกษาธรรมขั้นสูงต่อไป ชมรมปฐมโพธิญาณเปิดกว้างทุกทัศนะ ทุกนิกาย ทุกสํานัก เชิญท่านผู้สนใจเสวนา
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 26 ธันวาคม 2009
  2. ธัชกร

    ธัชกร เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 กรกฎาคม 2009
    โพสต์:
    267
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +3,040
    บทสวดมนต์ บารมี 30 ทัศ ที่ท่านครูบาศรีวิชัยสวดเป็นประจํา

    [​IMG]

    บารมี ๓๐ ทัศ (แบบครูบาศรีวิชัย)

    ทานะ ปาระมี สัมปันโน , ทานะ อุปะปารมี สัมปันโน , ทานะ ปะระมัตถะปารมี สัมปันโน
    เมตตา ไมตรี กะรุณา มุทิตา อุเปกขา ปาระมีสัมปันโน , อิติปิ โส ภะคะวา

    สีละ ปาระมี สัมปันโน , สีละ อุปะปารมี สัมปันโน , สีละ ปะระมัตถะปารมี สัมปันโน
    เมตตา ไมตรี กะรุณา มุทิตา อุเปกขา ปาระมีสัมปันโน , อิติปิ โส ภะคะวา

    เนกขัมมะ ปาระมี สัมปันโน , เนกขัมมะ อุปะปารมี สัมปันโน , เนกขัมมะ ปะระมัตถะปารมี สัมปันโน
    เมตตา ไมตรี กะรุณา มุทิตา อุเปกขา ปาระมีสัมปันโน , อิติปิ โส ภะคะวา

    ปัญญา ปาระมี สัมปันโน , ปัญญา อุปะปารมี สัมปันโน , ปัญญา ปะระมัตถะปารมี สัมปันโน
    เมตตา ไมตรี กะรุณา มุทิตา อุเปกขา ปาระมีสัมปันโน , อิติปิ โส ภะคะวา

    วิริยะ ปาระมี สัมปันโน , วิริยะ อุปะปารมี สัมปันโน , วิริยะ ปะระมัตถะปารมี สัมปันโน
    เมตตา ไมตรี กะรุณา มุทิตา อุเปกขา ปาระมีสัมปันโน , อิติปิ โส ภะคะวา

    ขันตี ปาระมี สัมปันโน , ขันตี อุปะปารมี สัมปันโน , ขันตี ปะระมัตถะปารมี สัมปันโน
    เมตตา ไมตรี กะรุณา มุทิตา อุเปกขา ปาระมีสัมปันโน , อิติปิ โส ภะคะวา

    สัจจะ ปาระมี สัมปันโน , สัจจะ อุปะปารมี สัมปันโน , สัจจะ ปะระมัตถะปารมี สัมปันโน
    เมตตา ไมตรี กะรุณา มุทิตา อุเปกขา ปาระมีสัมปันโน , อิติปิ โส ภะคะวา

    อะธิฏฐานะ ปาระมี สัมปันโน , อะธิฏฐานะ อุปะปารมี สัมปันโน , อะธิฏฐานะ ปะระมัตถะปารมี สัมปันโน
    เมตตา ไมตรี กะรุณา มุทิตา อุเปกขา ปาระมีสัมปันโน , อิติปิ โส ภะคะวา

    เมตตา ปาระมี สัมปันโน , เมตตา อุปะปารมี สัมปันโน , เมตตา ปะระมัตถะปารมี สัมปันโน
    เมตตา ไมตรี กะรุณา มุทิตา อุเปกขา ปาระมีสัมปันโน , อิติปิ โส ภะคะวา

    อุเปกขา ปาระมี สัมปันโน , อุเปกขา อุปะปารมี สัมปันโน , อุเปกขา ปะระมัตถะปารมี สัมปันโน
    เมตตา ไมตรี กะรุณา มุทิตา อุเปกขา ปาระมีสัมปันโน , อิติปิ โส ภะคะวา

    ทะสะ ปาระมี สัมปันโน , ทะสะ อุปะปารมี สัมปันโน , ทะสะ ปะระมัตถะปารมี สัมปันโน
    เมตตา ไมตรี กะรุณา มุทิตา อุเปกขา ปาระมีสัมปันโน , อิติปิ โส ภะคะวา

    พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ นะมามิหัง

    ที่มา... geocities.com/buddhistmon




    <TABLE border=0 cellSpacing=10 cellPadding=0 width="100%"><TBODY><TR><TD>
    ฟังเพลง
    เสียงเพลงออนไลน์ (mp3)
    เพลงธรรมะ
    ชุดที่ 1 ​
    </TD></TR><TR><TD>
    </TD></TR><TR><TD>
    <EMBED height=70 name=objMediaPlayer type=application/x-mplayer2 pluginspage=http://www.microsoft.com/Windows/MediaPlayer/ width=300 src=http://www.fungdham.com/download/song/sec1/1/sound021.mp3 autosize="false" showdisplay="false" displaysize="0" center="true"> </EMBED>​
    </TD></TR><TR><TD>
    </TD></TR><TR><TD>
    [​IMG]แผ่เมตตา ​
    </TD></TR></TBODY></TABLE>
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 25 ธันวาคม 2009

แชร์หน้านี้

Loading...