รวมธรรมห้อง "พุทธศาสนา - ธรรมะ" (เฉพาะกระทู้แนะนำ)

ในห้อง 'พุทธศาสนา และ ธรรมะ' ตั้งกระทู้โดย Komodo, 8 พฤษภาคม 2012.

สถานะของกระทู้:
กระทู้ถูกปิด ไม่สามารถโพสต์ตอบกลับได้
  1. Komodo

    Komodo หัวหน้าศูนย์ประชาสัมพันธ์ ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 สิงหาคม 2006
    โพสต์:
    11,610
    กระทู้เรื่องเด่น:
    145
    ค่าพลัง:
    +104,605
    ขออนุญาตตั้งกระทู้ไว้ เพื่อให้ง่ายในการอ่านย้อนหลังนะครับ

    ผมล็อคกระทู้ไว้เพื่อให้อ่านเฉพาะเนื้อหานะครับ
    หากต้องการแสดงความคิดเห็นกระทู้คลิกไปที่กระทู้ต้นฉบับ
    ซึ่งผมได้ทำ Link อ้างอิงไว้ให้แล้วครับ

    โมทนา
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 25 พฤษภาคม 2012
  2. Komodo

    Komodo หัวหน้าศูนย์ประชาสัมพันธ์ ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 สิงหาคม 2006
    โพสต์:
    11,610
    กระทู้เรื่องเด่น:
    145
    ค่าพลัง:
    +104,605
    [​IMG]
    ภาพประกอบจากอินเทอร์เน็ต​

    คนตกน้ำ ๗ จำพวก (ระดับต่าง ๆ แห่งบุคคลผู้ถอนตัวขึ้นจากทุกข์)


    ภิกษุ ท . ! บุคคลเปรียบด้วยบุคคลตกน้ำเจ็ดจำพวกเหล่านี้มีอยู่หาได้อยู่ในโลก . เจ็ดจำพวกเหล่าไหนเล่า ?

    ภิกษุ ท . ! ในกรณีนี้ :

    ( ๑ ) บุคคล บาง คน จม น้ำ คราว เดียว แล้ว ก็ จม เลย ;
    ( ๒ ) บุคคล บาง คน ผุด ขึ้น ครั้ง หนึ่ง แล้ว จึง จม เลย ;
    ( ๓ ) บุคคล บาง คน ผุด ขึ้น แล้ว ลอยตัว อยู่ ;
    ( ๔ ) บุคคล บาง คน ผุด ขึ้น แล้ว เหลียว ดู รอบ ๆ อยู่ ;
    ( ๕ ) บุคคล บาง คน ผุด ขึ้น แล้ว ว่าย เข้าหา ฝั่ง ;
    ( ๖ ) บุคคล บาง คน ผุด ขึ้น แล้ว เดิน เข้า มา ถึงที่ ตื้น แล้ว ;
    ( ๗ ) บุคคล บาง คน ผุด ขึ้น แล้ว ถึง ฝั่ง ข้าม ขึ้น บก แล้วเป็น พราหมณ์ ยืน อยู่ .

    ภิกษุ ท . ! ( ๑ ) บุคคลจมน้ำคราวเดียวแล้วก็จมเลยเป็นอย่างไร เล่า ?

    ภิกษุ ท . ! บุคคลบางคนในกรณีนี้ประกอบด้วยอกุศลธรรมฝ่ายเดียวโดยส่วนเดียว . อย่างนี้แลเรียกว่า จมคราวเดียว แล้วจมเลย.

    ภิกษุ ท . ! ( ๒ ) บุคคลผุดขึ้นครั้งหนึ่งแล้วจึงจมเลย เป็นอย่างไรเล่า ?

    ภิกษุ ท . ! บุคคลบางคนในกรณีนี้ ผุดขึ้น คือ มี สัทธาดีในกุศล ธรรมทั้งหลายมีหิริดี - มีโอตตัปปะดี - มีวิริยะดี - มีปัญญาดีในกุศล ธรรมทั้งหลาย . แต่ว่าสัทธาเป็นต้น ของเขาไม่ตั้งอยู่นาน ไม่เจริญเสื่อมสิ้นไป . อย่างนี้แล เรียกว่า ผุดขึ้นครั้งหนึ่งแล้วจึงจมเลย .

    ภิกษุ ท . ! ( ๓ ) บุคคลผุดขึ้นแล้วลอยตัวอยู่ เป็น อย่างไรเล่า ?

    ภิกษุ ท . ! บุคคล บางคนในกรณีนี้ผุดขึ้น คือ มี สัทธาดีในกุศลธรรมทั้งหลาย มีหิริดี - มีโอตตัปปะดี - มีวิริยะดี - มีปัญญาดีในกุศลธรรมทั้งหลาย. และ สัทธา เป็นต้น ของเขาไม่เสื่อม ไม่เจริญ แต่ทรงตัวอยู่. อย่างนี้แล เรียกว่า ผุดขึ้นแล้วลอยตัวอยู่ .

    ภิกษุ ท . ! ( ๔ ) บุคคลผุดขึ้นแล้วเหลียวดูรอบ ๆ อยู่ เป็นอย่างไรเล่า ?

    ภิกษุ ท . ! บุคคลบางคนในกรณีนี้ผุดขึ้น คือ มีสัทธา ดีในกุศล ธรรมทั้งหลาย มีหิริดี - มีโอตตัปปะดี - มี วิริยะดี - มีปัญญาดีในกุศลธรรมทั้งหลาย . บุคคล นั้น เพราะสิ้นไปแห่ง สังโยชน์สามเป็นโสดาบัน มีความไม่ตกต่ำเป็นธรรมดา เป็นผู้เที่ยงแท้ต่อพระนิพพาน มีการตรัสรู้พร้อมในเบื้องหน้า . อย่างนี้แล เรียกว่า ผุดขึ้นแล้วเหลียวดูรอบ ๆ อยู่ .

    ภิกษุ ท . ! ( ๕ ) บุคคลผุดขึ้นแล้วว่ายเข้าหาฝั่ง เป็น อย่างไรเล่า ?

    ภิกษุ ท . ! บุคคลบางคนในกรณีนี้ผุดขึ้น คือ มีสัทธา ดีในกุศลธรรมทั้งหลาย มีหิริดี – มีโอตตัปปะดี - มีวิริยะดี - มีปัญญาดีในกุศลธรรมทั้งหลาย . บุคคลนั้นเพราะสิ้นไปแห่งสังโยชน์สาม และเพราะความเบาบาง แห่งราคะ โทสะ โมหะ เป็นสกิทาคามี มาสู่โลกนี้อีกเพียงครั้งเดียว แล้วทำที่สุดแห่งทุกข์ได้ . อย่างนี้แล เรียกว่า ผุดขึ้นแล้วว่ายเข้าหาฝั่ง .

    ภิกษุ ท . ! ( ๖ ) บุคคลผุดขึ้นแล้วเดินเข้ามาถึงที่ตื้น แล้ว เป็นอย่างไรเล่า ?

    ภิกษุ ท . ! บุคคลบางคนในกรณีนี้ผุดขึ้น คือ มีสัทธา ดีในกุศลธรรมทั้งหลาย มีหีริดี – มีโอตตัปปะดี – มี วิริยะดี - มีปัญญาดีในกุศลธรรมทั้งหลาย . บุคคลนั้นเพราะสิ้นไปแห่งโอรัมภาคิยสังโยชน์ทั้งห้า เป็นโอปปาติกะ (อนาคามี) มีการปรินิพพานในภพนั้น ไม่เวียนกลับจากโลกนั้นเป็นธรรมดา . อย่างนี้แล เรียกว่า ผุด ขึ้นแล้ว เดินเข้ามาถึงที่ตื้นแล้ว .

    ภิกษุ ท . ! ( ๗ ) บุคคลผุดขึ้นแล้วถึงฝั่งข้ามขึ้นบกแล้วเป็นพราหมณ์ยืนอยู่ เป็นอย่างไรเล่า

    ภิกษุ ท . ! บุคคลบางคนในกรณีนี้ผุดขึ้น คือ มีสัทธา ดีในกุศลธรรมทั้งหลาย มีหิริดี - มีโอตตัปปะดี - มี วิริยะดี - มีปัญญาดี ในกุศลธรรมทั้งหลาย . บุคคล นั้นได้กระทำให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุตติปัญญา วิมุตติอันหาอาสวะมิได้ (พระอรหันต์) เพราะความสิ้นไปแห่งอา สวะทั้งหลายด้วยปัญญาอันยิ่งเองในทิฏฐธรรมนี้ เข้าถึงแล้วอยู่ . อย่างนี้แล เรียกว่า ผุดขึ้นแล้วถึงฝั่งข้ามขึ้นบกแล้วเป็นพราหมณ์ยืนอยู่ .

    ภิกษุ ท . ! เหล่านี้แล บุคคลเปรียบด้วยบุคคลตกน้ำเจ็ดจำพวก ซึ่งมีอยู่หาได้อยู่ในโลก .

    ที่มา- สตฺ ตก . อํ . ๒๓ / ๑๐ / ๑๕ (พุทธวัจน์)

    อ้างอิงจาก : คนตกน้ำ ๗ จำพวก

    แนะนำเมื่อ 8 พ.ค.55 คลิกอ่านกระทู้ได้ ที่นี่ :cool:
     
  3. Komodo

    Komodo หัวหน้าศูนย์ประชาสัมพันธ์ ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 สิงหาคม 2006
    โพสต์:
    11,610
    กระทู้เรื่องเด่น:
    145
    ค่าพลัง:
    +104,605
    [​IMG]
    หลวงพี่เอก วัดเขาแร่ กรุงสุโขทัย

    "เวลาไปกราบครูบาอาจารย์
    พอได้ยินท่านสอนซ้ำ
    คิดว่าเราเคยได้ฟังมาแล้ว
    เคยได้ยินมาจนเบื่อแล้ว
    ก็เกิดมานะทิฐิ ไม่อยากจะฟังอีก

    แต่จริง ๆ แล้วถ้าเราฟังซ้ำ
    เท่ากับเราได้ทวนได้ย้ำไปในตัว
    เราอาจจะได้อะไรเพิ่ม"

    เทศน์โดยพระคุณพระสมุห์ปรินทร์ ธมฺมสรโณ (หลวงพี่เอก)
    บันทึกความจำของข้าพเจ้า ณ บ้านมีนบุรี ๒๗ มีนาคม ๒๕๕๓

    ที่มา : Facebook
    แนะนำเมื่อ 9 พ.ค.55 คลิกอ่านกระทู้ได้ ที่นี่ [​IMG]<!-- google_ad_section_end --> ​
     
  4. Komodo

    Komodo หัวหน้าศูนย์ประชาสัมพันธ์ ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 สิงหาคม 2006
    โพสต์:
    11,610
    กระทู้เรื่องเด่น:
    145
    ค่าพลัง:
    +104,605

    [​IMG]
    ญาติโยมทั้งหลายอย่าใช้ความคุ้นเคยกับพระ มาทำให้ตัวเราเกิดโทษนะจ๊ะ
    จะลุก จะนั่ง จะยืน จะเดิน จะกราบ จะไหว้ จะพูดอะไร ใช้สติสัมปชัญญะและปัญญาสักนิดหนึ่ง
    ไม่อย่างนั้นจะเกิดโทษแก่ตัวท่านเองได้ บางท่านก็สนิทสนมมาก ยืนค้ำหัวพระเลย ​

    เรื่องทั้งหลายเหล่านี้ ถ้าเรามีสติสัมปชัญญะสักนิดหนึ่ง
    โดยเฉพาะถ้ามีจิตมีสภาพละเอียดสักนิดหนึ่ง จะรู้เลยว่าเป็นโทษแก่ตัวเอง
    เรื่องของพระเราอยู่ใกล้บุญใหญ่ก็เกิดได้
    ขณะเดียวกันถ้าเราพลาดเมื่อไรกรรมใหญ่ก็จะปรากฏเช่นกัน​

    พระอาจารย์เล็ก เจ้าอาวาสวัดท่าขนุน อ.ทองผาภูมิ จ.กาญจนบุรี

    ที่มา : Facebook

    แนะนำเมื่อ 11 พ.ค.55 คลิกอ่านกระทู้ได้ ที่นี่
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 12 พฤษภาคม 2012
  5. Komodo

    Komodo หัวหน้าศูนย์ประชาสัมพันธ์ ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 สิงหาคม 2006
    โพสต์:
    11,610
    กระทู้เรื่องเด่น:
    145
    ค่าพลัง:
    +104,605
    [​IMG]

    "...วาสนา นั้นเป็นไปตามอัธยาศัย
    คนที่มีวาสนาในทางที่ดีมาแล้ว
    แต่คบคนพาล วาสนาก็อาจเป็นคนพาลได้

    บางคนวาสนายังอ่อน เมื่อคบบัณฑิต
    วาสนาก็เลื่อนขึ้นเป็นบัณฑิต
    ฉะนั้น บุคคลควรพยายามคบแต่บัณฑิต
    เพื่อเลื่อนภูมิวาสนาของตนให้สูงขึ้น..."

    หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต

    ที่มา : FB ธรรมโอสถ
    แนะนำเมื่อ 11 พ.ค.55 คลิกอ่านกระทู้ได้ ที่นี่
     
  6. Komodo

    Komodo หัวหน้าศูนย์ประชาสัมพันธ์ ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 สิงหาคม 2006
    โพสต์:
    11,610
    กระทู้เรื่องเด่น:
    145
    ค่าพลัง:
    +104,605
    [​IMG]


    พ่อหลวงสอนเรื่อง "จิตใจและคุณธรรมที่คนไทยต้<WBR>องรักษาไว้ และถ่ายทอดให้แก่บุคคลอื่น"<WBR>

    **************************<WBR>****************

    ข้าพเจ้ามีความยินดีเป็นอย่<WBR>างยิ่งที่ได้มาอยู่ในท่ามกล<WBR>างมหาสมาคม พร้อมพรั่งด้วยบุคคลจากทุกส<WBR>ถาบันในชาติตลอดจนประชาชนชา<WBR>วไทย ขอขอบใจในคำอำนวยพรและการเฉ<WBR>ลิมฉลองยิ่งใหญ่ที่ทุกคนตั้<WBR>งใจจัดให้ข้าพเจ้าเป็นพิเศษ<WBR>ทั้งรัฐบาลได้จัดงานครั้งนี้ได้เรียบร้อยและงดงามน้ำใจ<WBR>ไมตรีของประชาชนชาวไทยทีร่วมกันแสดงออกทั่วประเทศ รวมทั้งที่พร้อมเพรียงกันมา<WBR>ในวันนี้ น่าปลาบปลื้มใจมาก เพราะแต่ละคนได้แสดงออกและตั้งใจมาด้วยความหวังดีจากใจ<WBR>จริง จึงขอขอบใจทุกๆ คน จิตใจที่เปี่ยมไปด้วยความปร<WBR>ารถนาดี และความเป็นอันหนึ่งอันเดีย<WBR>วกันของทุกคน ทุกฝ่าย ทำให้ข้าพเจ้าเห็นแล้วมีกำลังใจมากขึ้น นึกถึงคุณธรรมซึ่งเป็นที่ตั้งของความรัก ความสามัคคีที่ทำให้คนไทยเราสามารถร่วมมือร่วมใจกันรัก<WBR>ษาและพัฒนาชาติบ้านเมืองให้<WBR>เจริญรุ่งเรืองสืบต่อกันไปไ<WBR>ด้ตลอดรอดฝั่ง

    ประการแรก คือ การที่ทุกคนคิด พูด ทำด้วยความเมตตา มุ่งดี มุ่งเจริญต่อกัน

    ประการที่สอง คือ การที่แต่ละคนต่างช่วยเหลือ<WBR>เกื้อกูลกัน ประสานงาน ประสานประโยชน์กันให้งานที่<WBR>ทำสำเร็จผล ทั้งแก่ตน แก่ผู้อื่น และกับประเทศชาติ

    ประการที่สาม คือ การที่ทุกคนประพฤติปฏิบัติต<WBR>นอยู่ในความสุจริต ในกฎกติกา และในระเบียบแบบแผนโดยเท่าเ<WBR>ทียมเสมอกัน

    ประการที่สี่ คือ การที่ต่างคนต่างพยายามทำคว<WBR>ามคิด ความเห็นของตนให้ถูกต้อง เที่ยงตรงและมั่นคงอยู่ในเห<WBR>ตุในผล หากความคิด จิตใจ และการประพฤติปฏิบัติที่ลงร<WBR>อยเดียวกันในทางที่ดี ที่เจริญนี้ยังมีพร้อมมูลใน<WBR>กาย ในใจของคนไทย ก็มั่นใจได้ว่า ประเทศชาติไทยจะดำรงมั่นคงอ<WBR>ยู่ตลอดไปได้

    จึงขอให้ท่านทั้งหลายในมหาส<WBR>มาคมนี้ ทั้งประชาชนชาวไทยทุกหมู่เห<WBR>ล่า ได้รักษาจิตใจและคุณธรรมนี้<WBR>ไว้ให้เหนียวแน่นและถ่ายทอด<WBR>ความคิด จิตใจนี้กันต่อไปอย่าให้ขาด<WBR>สายเพื่อให้ประเทศชาติของเร<WBR>าดำรงยืนยงอยู่ด้วยความร่มเ<WBR>ย็นเป็นสุข ทั้งในปัจจุบันและในภายหน้า<WBR> ขออำนาจคุณพระศรีรัตนตรัย และสิ่งศักดิ์สิทธิ์ในสากลจ<WBR>งคุ้มครองรักษาประเทศชาติไท<WBR>ย ให้ปลอดพ้นจากภัยอันตรายทุก<WBR>สิ่ง และอำนวยความสุข ความเจริญ สวัสดี ให้เกิดมีแก่ประชาชนชาวไทยทั่<WBR>วกัน

    พระราชดำรัส พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว<WBR> ทรงมีพระราชดำรัสตอบแก่พระบ<WBR>รมวงศานุวงศ์ และพสกนิกร
    ที่เข้าเฝ้าฯถวาย<WBR>พระพรชัยมงคล ณ สีหบัญชร พระที่นั่งอนันตสมาคม วันที่ ๙ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๔๙ (ฉบับไม่เป็นทางการ)

    แนะนำเมื่อ 13 พ.ค.55 คลิกอ่านกระทู้ได้ ที่นี่
    <!-- google_ad_section_end -->
     
  7. Komodo

    Komodo หัวหน้าศูนย์ประชาสัมพันธ์ ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 สิงหาคม 2006
    โพสต์:
    11,610
    กระทู้เรื่องเด่น:
    145
    ค่าพลัง:
    +104,605
    [​IMG]

    "...เราลองคิดดูซิว่าถ้าคนทุกคนต้องพูดให้ถูกใจฉัน
    คนทุกคนต้องทำให้ถูกใจฉัน ฉันจึงจะสงบ ฉันจึงจะสบาย
    คนทั้งโลกจะให้เขามาพูดถูกใจเรามีไหม จะมาทำถูกใจเราทุกคนมีไหม...ไม่มี

    เมื่อไม่มี เราก็เป็นทุกข์อยู่ตลอดเวลา...ถ้าเราไม่มีการปล่อยวาง..."

    หลวงปู่ชา สุภทฺโท
    แนะนำเมื่อ 14 พ.ค.55 คลิกอ่านกระทู้ได้ ที่นี่
    <!-- google_ad_section_end --><!-- google_ad_section_end -->
     
  8. Komodo

    Komodo หัวหน้าศูนย์ประชาสัมพันธ์ ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 สิงหาคม 2006
    โพสต์:
    11,610
    กระทู้เรื่องเด่น:
    145
    ค่าพลัง:
    +104,605
    [​IMG]

    หลวงปู่ทวด วัดช้างให้ จ.ปัตตานี
    ท่านเป็นพระมหาเถระที่รู้จักกันทั่วประเทศ ในนาม " หลวงปู่ทวด เหยียบน้ำทะเลจืด "

    คาถาบูชาท่าน คือ นะโม โพธิสัตโต อาคันติมายะ อิติภะคะวา
    ชาติกาล 3 มีนาคม พ.ศ. 2125
    ชาติภูมิ บ้านเลียบ ต.ดีหลวง อ.สทิงพระ จ.สงขลา
    บรรพชา เมื่ออายุได้ 15 ปี
    อุปสมบท เมื่ออายุ 20 ปี
    มรณภาพ 6 มีนาคม พ.ศ.2225
    สิริรวมอายุได้ 99 ปี

    คติธรรมคำสอน ของ หลวงปู่ทวด

    ธรรมประจำใจ
    พูดมาก เสียมาก พูดน้อย เสียน้อย ไม่พูด ไม่เสีย นิ่งเสีย โพธิสัตว์

    ละได้ย่อมสงบ
    ทุกสิ่งทุกอย่างในโลกนี้ ล้วนแต่เคลื่อนที่ไปสู่ความเป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา
    ทุกอย่างในโลกนี้ เคลื่อนไปสู่การสลายตัวทั้งสิ้น ไม่ยึด ไม่ทุกข์ ไม่สุข ละได้ย่อมสงบ

    สันดาน
    ภูเขาถูกมนุษย์ทำลายลงมาได้
    แต่สันดานของคนเราที่นอนนิ่งอยู่ในก้นบึ้ง
    ซึ่งไม่เหมือนกันย่อมขัดเกลาให้ดีเหมือนกันได้ยาก

    ชีวิตทุกข์
    การเกิดมาเป็นมนุษย์ชาติหนึ่ง จะว่าประเสริฐก็ประเสริฐ จะว่าไม่ประเสริฐก็ไม่ประเสริฐ
    จะเห็นได้ว่า ตื่นเช้าก็มีความทุกข์เข้าครอบงำ
    จะต้องล้างหน้า ล้างปาก ล้างฟัน ล้างมือ
    เสร็จแล้วจะต้องกินต้องถ่าย นี่คือความทุกข์แห่งกายเนื้อ
    เมื่อเราจะออกจากบ้าน
    ก็จะประสบความทุกข์ในหมู่คณะ ในการงาน ในสัมมาอาชีวะ การเลี้ยงตนชอบ
    นี่คือ ความทุกข์ในการแสวงหาปัจจัย


    บรรเทาทุกข์
    การที่เราจะไม่ต้องทุกข์มากนั้น
    เราจะต้องรู้ว่า เรานี้จะต้องไม่เอาชีวิตไปฝากสังคม เราต้องเป็นตัวของเราเอง
    และเราจะต้องวินิจฉัยในเหตุการณ์ที่จะเข้ามาเกี่ยวข้องกับตัวเราว่า สิ่งใดเราควรทำ สิ่งใดไม่ควรทำ

    ยากกว่าการเกิด
    ในการที่เราเกิดมา ชีวิตแห่งการเกิดนั้นง่าย แต่ชีวิตแห่งการอยู่นั้นสิยาก
    เราจะทำอย่างไรให้อยู่ได้อย่างสุขสบาย

    ไม่สิ้นสุด
    แม่น้ำทะเล และมหาสมุทร ไม่มีที่สิ้นสุดของน้ำ ฉันใด
    กิเลสตัณหาของมนุษย์ก็ย่อมไม่มีที่สิ้นสุด ฉันนั้น

    ยึดจึงเดือดร้อน
    ทุกวันนี้ เกิดความทุกข์ ความเดือดร้อน ก็เพราะมนุษย์ไปยึดโนน่ ยึดนี่
    ยึดพวกยึดพ้อง ยึดหมู่ยึดคณะ ยึดประเทศเป็นสรณะ โดยไม่คำนึงถึงธรรมสากล
    จักรวาลโลกมนุษยนี้ ทุกคนมีกรรมจึงเกิดมาเป็นสัตว์โลก
    สัตว์โลกทุนคนต้องใช้กรรมตามวาระ ตามกรรม
    ถ้าทุกคนยึดถือเป็นอารมณ์ ก็จะเกิดการเข่นฆ่ากัน เกิดการฆ่าฟันกัน
    เพราะอารมณ์แห่งการยึดถืออายตนะ ฉะนั้น ต้องพิจารณาให้ถ่องแท้ว่า
    สิ่งใดทำแล้ว สัตว์โลกมีความสุข สิ่งนั้นควรทำ นี่คือ หลักความจริงของธรรมะ

    อยู่ให้สบาย
    ในภาวะแห่งการที่จะอยู่อย่างสบายนั้น
    เราต้องอยู่กันอย่างไม่ยึด อยู่กันอย่างไม่ยินดี อยู่กันอย่างไม่ยินร้าย
    อยู่กันอย่างพยายามให้จิตวิญญาณของนามธรรมนั้นเหนืออารมณ์
    เหนือคำสรรเสริญ เหนือนินทา เหนือความผิดหวัง เหนือความสำเร็จ เหนือรัก เหนือชัง

    ธรรมารมณ์
    การอยู่อย่างมีธรรมารมณ์ คือ การอยู่เหนือความรู้สึกทั้งปวง
    อยู่อย่างรู้หน้าที่การเป็นคน และรู้หน้าที่ในการงาน คือ รู้ว่าสิ่งที่เราทำนั้น เป็นสิ่งที่เราต้องทำ
    ไม่ใช่ทำเพื่อหวังผลตอบแทน เพราะถ้าเราทำงานเพื่อหวังผลตอบแทนต่างๆ แล้ว
    ถ้าสิ่งต่างๆไม่สัมฤทธิ์ผลตามความหวังนั้น เราย่อมเกิดความโทมนัส เสียใจน้อยใจ เป็นทุกข์

    กรรม
    ถ้าเรามีชีวิตอยู่อย่างที่ว่า
    เกิดเพราะกรรม อยู่เพื่อกรรม ทำเพราะกรรม ตายเพราะกรรมแล้ว
    ชีวิตการเป็นมนุษย์ย่อมมีความภิรมย์ มีความรื่นเริง

    มารยาทของผู้เป็นใหญ่
    ผู้ใหญ่ไม่ใช่อยู่ที่เกิดก่อน ผู้ดีไม่ใช่อยู่ที่เรียนสูง
    มารยาทจรรยาของการเป็นผู้ใหญ่ ก็คือต้องสุขุมรอบคอบ และไม่ยึดติดเสียงเป็นหลัก
    คือ ต้องไม่หวั่นไหวกับคำนินทาและสรรเสริญ

    โลกิยะ หรือ โลกุตระ
    คนที่เดินทางโลกุตระ ย่อมไปดีทางโลกิยะไม่ได้
    คนที่เดินทางโลกิยะ ย่อมสำเร็จทางโลกุตระได้ยาก เพราะอะไร ?
    ถ้าคนหนึ่งสำเร็จได้ทั้งโลกิยะ และโลกุตระง่ายแล้ว
    ทำไม องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธโคดม ต้องสละราชบัลลังก์แห่งจักรพรรดิไปเป็นธรรมราชาเล่า ?
    ถ้าเป็นไปได้ พระองค์เป็นมหาจักรพรรดิพร้อมทั้งธรรมราชา ไม่ดีหรือ?
    แต่มันเป็นไปไม่ได้ เพราะโลกของโลกิยะและโลกุตระเดินคู่ขนานกัน
    เราต้องตัดสินใจ ต้องมีความเด็ดเดี่ยวและกล้าหาญในการที่จะเลือกทางใดทางหนึ่ง

    ศิษย์แท้
    พิจารณากายในกาย พิจารณาธรรมในธรรม พิจารณาวิญญาณ ในวิญญาณ
    นั่นแหละ คือ สานุศิษย์อันแท้จริงของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า

    รู้ซึ้ง
    ทุกอย่างจะต้องมีเหตุ เมื่อมีเหตุจึงจะมีผล ผลนั้นเกิดจากเหตุ
    เราได้วินิจฉัยข้อนี้แล้ว เราจึงรู้ซึ้งถึงพุทธศาสนา

    ใจสำคัญ
    การทำบุญนั้น จะต้องทำด้วยจิตใจบริสุทธิ์
    จะต้องทำด้วยความศรัทธา
    ผลสะท้อนมันจะเกิดขึ้นเกินความคาดหมาย

    หยุดพิจารณา
    คนเรานี้ ถ้าไม่มีอะไรทำอยู่ในที่วิเวกคนเดียว จิตมันจะฟุ้งซ่าน
    และถ้าภาวะนั้น ตนไม่ปล่อยให้จิตฟุ้งซ่านไปเรื่อยๆ คือ หยุดพิจารณา
    แล้วค้นสัจจะของ ศีล สมาธิ ปัญญา ย่อมที่จะค้นหาสัจจะในธรรมะได้

    บริจาค
    ทำบุญสังฆทานเป็นจาคะ จาคะเป็นการบริจาคโภคทรัพย์ภายนอก
    การสวดมนต์เป็นการภาวนา การภาวนาเป็นการบริจาคภายใน
    เพราะฉะนั้น ถ้านับในด้านทิพย์อำนาจ
    การบริจาคภายในย่อมได้กุศล มากว่า การบริจาคภายนอก
    นี่คือเรื่องของนามธรรม

    ทำด้วยใจสงบ
    เราจะทำบุญก็ดี เราจะทำอะไรก็ดี จงทำด้วยความสงบ
    อย่าทำด้วยอารมณ์แห่งความร้อน เพราะการทำด้วยอารมณ์ร้อนนั้น มันจะพาเราไปสู่หายนะ
    เมื่อเกิดอารมณ์ร้อน เราจะทำสิ่งใดสิ่งหนึ่ง จงอย่าทำ
    นั่งให้จิตใจมันสบายเสียก่อน เมื่อจิตใจสบายแล้ว ปัญญาก็เกิด
    เมื่อเกิดปัญญาแล้ว จะทำสิ่งใดก็เป็นไปโดยความสะดวก

    มีสติพร้อม
    จะทำสิ่งใดก็ตาม เราต้องมีสติพร้อม
    คือ อย่าให้มีโทสะ อย่าให้อารมณ์เข้ามาควบคุมสติ
    อย่าให้เรื่องส่วนตัวและขาดเหตุผล มาอยู่เหนือความจริง

    เตือนมนุษย์
    มนุษย์ผู้ใด เห็นแก่งานส่วนตัว มนุษย์ผู้นั้น จะไม่มีงานทำในไม่ช้า
    มนุษย์ผู้ใด เห็นแก่ทรัพย์ส่วนตัว มนุษย์ผู้นั้น จะไม่มีทรัพย์ครองในไม่ช้า
    มนุษย์ผู้ใด เห็นแก่นอนมาก มนุษย์ผู้นั้น จะไม่ได้นอนในไม่ช้า

    พิจารณาตัวเอง
    คืนหนึ่งก็ดี วันหนึ่งก็ดี ควรให้มีเวลาว่างสัก 5 นาที หรือ 10 นาที ไม่ติดต่อกับใคร
    ให้นั่งเฉยๆ คิดถึงเหตุการณ์ที่เราทำไปแต่ละวันๆ ว่า ที่เราทำไปนั้นเป็นอย่างไร
    คือให้ปลีกตัวมีเวลาเป็นของตัวเองบ้าง คิดเอาแต่เรื่องของตัว อย่าไปคิดเรื่องของคนอื่น
    เพราะมนุษย์เราส่วนมากทุกวันนี้ มักเอาแต่เรื่องของคนอื่นมาคิด ไม่ค่อยคิดเรื่องของตัวเอง


    คัดลอกจากหนังสือ เรียนธรรมะบูชาพระสุปฏิปันโน เล่มของหลวงปู่ทวด
    ขอให้ทุกท่านเจริญในธรรม
    ธรรมะของหลวงปู่ทวด อ่านแล้วส่งต่อ เพื่อเป็นธรรมทาน


    ขอบพระคุณข้อมูลดีจาก พี่หนึ่ง : http://www.guitarthai.com/webboard/question.asp?QID=236578
    ประวัติ หลวงปู่ทวด วัดช้างให้ จ.ปัตตานี และปฏิปทาในการปฏิบัติ

    แนะนำเมื่อ 15 พ.ค.55 คลิกอ่านกระทู้ได้ ที่นี่
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 16 พฤษภาคม 2012
  9. Komodo

    Komodo หัวหน้าศูนย์ประชาสัมพันธ์ ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 สิงหาคม 2006
    โพสต์:
    11,610
    กระทู้เรื่องเด่น:
    145
    ค่าพลัง:
    +104,605
    [​IMG]

    บางคนทำความดีอย่างมีความโก<WBR>รธเจือปน เช่น สั่งสอนว่ากล่าวหรือตักเตือนใคร
    ก็ผสมความโกรธลงไปในคำพูดว่<WBR>ากล่าวตักเตือนนั้น แม้เรื่องที่ตนตักเตือนว่าก<WBR>ล่าวจะเป็นเรื่องสมควร
    แต่ผู้ได้รับคำตักเตือนก็หา<WBR>เชื่อฟังหรือเคารพนับถือไม่<WBR> เพราะเขารู้สึกว่าผู้พูดมีค<WBR>วามโกรธเป็นพื้นของใจ
    เขาก็อาจจะโกรธตอบหรือไม่สน<WBR>ใจฟังคำตักเตือนนั้น หรือบางครั้งมีผู้มาขอความช่วยเหลือ
    บางคนช่วยอย่างมีอาการไม่พอ<WBR>ใจหรือมีความโกรธแฝงอยู่ จะให้...อะไรก็ให้อย่างไม่เต็มใจ
    แถมพูดประชดหรือค่อนขอด ผู้รับแทนที่จะสำนึกบุญคุณก็กลับโกรธขึ้งไม่พอใจก็มี ​

    เพราะเหตุที่มีความโง่ความห<WBR>ลง ไม่รู้จักเหตุ ไม่รู้จักผล ไม่รู้จักชุมชน และไม่รู้จักบุคคล
    เมื่อทำอะไรลงไปที่นึกว่าดี<WBR> แต่ขัดกับเหตุ , ผล , กาลเวลา ขัดกับชุมชน หรือบุคคล ก็ยากจะให้เกิดผลดีได้
    ฉะนั้น..จะโทษว่าทำความดีแล้วไม่ได้ดีก็ไม่ถูก
    แต่การทำความดีต้องไม่มีควา<WBR>มโง่เจือปนอยู่ด้วย จึงจะได้รับประโยชน์

    พระสารีบุตรกล่าวกับนางชัมพุปริพาชิกา
    จากหนังสือกองทัพธรรม

    ที่มา : Facebook

    แนะนำเมื่อ 16 พ.ค.55 คลิกอ่านกระทู้ได้ ที่นี่
     
  10. Komodo

    Komodo หัวหน้าศูนย์ประชาสัมพันธ์ ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 สิงหาคม 2006
    โพสต์:
    11,610
    กระทู้เรื่องเด่น:
    145
    ค่าพลัง:
    +104,605
    [​IMG]


    ทรงพรหมวิหารไม่ใช่ไปนั่งท่อง
    ถ้าเอาตามตำรา ตื่นมาตอนเช้า
    ก่อนสวดมนต์ให้ทรงกำลังใจเต็มกำลังว่า
    วันนี้เราจะเป็นมิตรกับทุกคนและสัตว์ทั้งหลาย
    ให้เสมอเหมือนกับตัวเรา
    ต้องเข้าใจในคำ ๆ นี้

    หมาก็หิวเป็น เราก็หิวเป็นเหมือนหมา
    หมาอยากกินน้ำ เราก็อยากกินน้ำเหมือนหมา
    เขาก็คือเรา เราก็คือเขา จิตใจเดียวกัน
    เป็นอารมณ์คนทั้งหมด สัตว์ทั้งหมด
    ไม่ว่าจะเป็นนิโกร ฝรั่ง เกาหลี

    ตัวนี้คือ ตัวเมตตาความรัก
    กรุณาคือมีความสงสาร
    มุทิตาคือเราจะยินดี จะไม่อิจฉาริษยาใคร
    ใครทำดีเราขออนุโมทนาด้วยทั้งหมด
    อุเบกขา วางเฉยเมื่อกฎแห่งกรรมเข้าถึง
    แต่ว่าเฉยต้องเฉยในเมตตา ไม่อย่างนั้นพาตกเหวได้

    ธรรม...ปราบใจระยำ จาก
    พระคุณพระสมุห์ปรินทร์ ธัมมสรโณ (หลวงพี่เอก)
    วัดเขาแร่ กรุงสุโขทัย

    ที่มา : FB วัดเขาแร่ กรุงสุโขทัย
    แนะนำเมื่อ 17 พ.ค.55 คลิกอ่านกระทู้ได้ ที่นี่<!-- google_ad_section_end --> ​
    <!-- google_ad_section_end --><!-- / message --><!-- sig -->
     
  11. Komodo

    Komodo หัวหน้าศูนย์ประชาสัมพันธ์ ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 สิงหาคม 2006
    โพสต์:
    11,610
    กระทู้เรื่องเด่น:
    145
    ค่าพลัง:
    +104,605
    [​IMG]
    หลวงพ่อฤๅษี วัดท่าซุง

    ทำบุญไปแล้วสัก ๓๐ ปี ก็ยังอุทิศส่วนกุศลได้ บุญไม่หาย

    การทำบุญไปแล้วครั้งหนึ่งสักกี่ปี ๆ บุญก็ยังมีอยู่
    ถ้าทำไปแล้วสัก ๓๐ ปีก็ยังอุทิศส่วนกุศลได้ บุญไม่หาย
    ไม่ใช่เราทำบุญแล้วเดี๋ยวเดียวบุญหายไป ไม่ใช่อย่างนั้น .
    ถ้าทำบุญแล้วไม่ได้อุทิศส่วนกุศผู้ทำเป็นผู้ได้บุญเต็มที่สมบูรณ์แบบอยู่แล้ว
    อยู่ที่ว่าเราจะให้เขาหรือไม่ให้ ถ้าเราไม่ให้เราก็กินคนเดียว
    ทีนี้ถ้าเราให้เขาบุญของเราก็ไม่หมด ส่วนที่เราให้ไปไม่ได้ยุบไปจากของเดิม

    อย่างเรื่องของ พระอนุรุทธ สมัยที่ท่านเกิดเป็นคนเกี่ยวหญ้าช้างของมหาเศรษฐี
    เวลาที่ท่านทำบุญแล้ว เจ้านายมาขอแบ่งบุญ ท่านก็สงสัยว่าการแบ่งบุญจะแบ่งได้ไหม
    จึงไปถามพระปัจเจกพุทธเจ้าที่ท่านรับบาตร ท่านก็เปรียบเทียบให้ฟังว่า

    "สมมติว่าโยมมีคบและก็มีไฟด้วย แต่คนอื่นเขามีแต่คบไม่มีไฟ
    ทุกคนต้องการแสงสว่างก็มาขอต่อไฟที่คบของโยม แล้วคบของทุกคนก็สว่างไสวหมด
    อยากทราบว่าไฟของโยมจะยุบไปไหม"

    ท่านพระอนุรุทธก็ตอบว่า "ไม่ยุบ"

    แล้วพระปัจเจกพุทธเจ้าท่านก็บอกว่า

    "การอุทิศส่วนกุศลก็เหมือนกัน เราให้เขา เขาก็โมทนา
    แต่บุญของเราก็ยังอยู่เต็ม ๑๐๐ เปอร์เซ็นต์ ไม่ได้หายไป"

    จากหนังสือ : ตายแล้วไม่สูญ..แล้วไปไหน
    เรื่อง : การอุทิศส่วนกุศลให้คนตาย

    หลวงพ่อฤๅษี วัดท่าซุง จ.อุทัยธานี

    แนะนำเมื่อ 21 พ.ค.55 คลิกอ่านกระทู้ได้ ที่นี่<!-- google_ad_section_end --> ​
     
  12. Komodo

    Komodo หัวหน้าศูนย์ประชาสัมพันธ์ ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 สิงหาคม 2006
    โพสต์:
    11,610
    กระทู้เรื่องเด่น:
    145
    ค่าพลัง:
    +104,605
    [​IMG]

    "ทุกวันนี้ กูมีเงินเพราะพวกมึงช่วยเหลือ
    พวกมึงบริจาคกันเป็นล้าน ๆ กูก็เอาไปให้คนที่มันลำบากเดือดร้อน
    แต่ถ้ากูเห็นแก่ได้ เก็บเอาไว้คนเดียวใครจะมาบริจาคให้กูอีก
    เพราะให้มาไม่เอาไปเผื่อแผ่แก่คนทุกข์ยาก
    ยิ่งเอามันยิ่งอด ยิ่งสละให้หมดมันยิ่งได้"


    หลวงพ่อคูณ วัดบ้านไร่ จ.นครราชสีมา

    ที่มา : Facebook
    แนะนำเมื่อ 22 พ.ค.55 คลิกอ่านกระทู้ได้ ที่นี่<!-- google_ad_section_end --> ​
     
  13. Komodo

    Komodo หัวหน้าศูนย์ประชาสัมพันธ์ ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 สิงหาคม 2006
    โพสต์:
    11,610
    กระทู้เรื่องเด่น:
    145
    ค่าพลัง:
    +104,605
    [​IMG]

    "...เราบอกกับตัวเองว่า อยากได้ความสุข
    แต่ เราก็โดดเข้าไปสู่กองไฟร้อน
    เรารู้ว่าสิ่งนั้น ๆ เป็นยาพิษ แต่เราก็ดื่มมันเข้าไป
    นี่แหละ เป็นการทรยศต่อตัวเอง..."

    หลวงพ่อลี ธัมมธโร

    ที่มา : FB ธรรมโอสถ

    แนะนำเมื่อ 23 พ.ค.55 คลิกอ่านกระทู้ได้ ที่นี่<!-- google_ad_section_end --> ​
     
  14. Komodo

    Komodo หัวหน้าศูนย์ประชาสัมพันธ์ ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 สิงหาคม 2006
    โพสต์:
    11,610
    กระทู้เรื่องเด่น:
    145
    ค่าพลัง:
    +104,605
    [​IMG]

    "วิธีจัดการกับอารมณ์ร้าย" โดย ท่านเจ้าคุณนรรัตน์ ราชมานิต

    ...อารมณ์ร้าย คือ ความกลัว ความกังวลกลุ้มใจ ความร้อนใจ ความห่วงใจ
    ความเกลียด ความโกรธ ความหึงหวง ความริษยา ใจคอเหี่ยวแห้ง
    ความโศก ความตื่นเต้น ความเสียใจ โทมนัส ความบ่นเพ้อรำพันด้วยเสียใจ
    โหยหวน โศกเศร้า คร่ำครวญถึง มืดมน ความเสียใจ ตรอมใจ

    เมื่ออารมณ์ร้ายเหล่านี้เกิดขึ้นในใจ จงหายใจเข้าให้ลึก ๆ
    สร้างมโนภาพสูดเอากำลังงานของชีวิตที่อยู่ในสากลโลก
    (The universal supply of life energy)
    อำนาจ ความเข้มแข็งและกำลังเข้าไป

    เมื่อหายใจออกจงนึกขับอารมณ์ร้ายเหล่านี้ออกมา
    และเพ่งกล่าวในใจว่า "ออกไป ออกไป ออกไป"
    พร้อมกับทำความรู้สึกว่า อารมณ์ร้ายเหล่านี้ออกไปจากใจแล้ว
    ปฏิบัติอย่างนี้จนกว่าอารมณ์นั้นจะจางหายไป

    ถ้าไม่หายอย่าเพิ่งเลิก หรืออีกอย่างหนึ่ง เพ่งดูอารมณ์ร้าย
    เหล่านั้นที่เกิดขึ้น แยกใจออก เหมือนกับดวงจันทร์แยกออกจากเมฆ

    อารมณ์ร้ายเหล่านี้เป็นเมฆหมอกจะมาบังใจ ตามปกติไม่ได้อยู่ที่ใจ
    มันจรมาเป็นครั้งคราว เหมือนมารมาผจญหรือลองใจว่า
    เราจะเข้มแข็งหรือไม่ ถ้าเรามีกำลังต่อต้านพอ
    ค่อย ๆ จางไปทีละน้อย ๆ จนมันหลบหน้าหายไป

    ในทางตรงกันข้าม ถ้ากำลังใจต่อต้านไม่พอ
    มันก็กำเริบได้ใจ ผจญเราล่มจมป่นปี้ไปเหมือนกัน
    เพราะฉะนั้นเวลามันเกิดขึ้น ให้มีสติระลึกว่า
    เวลานี้เจ้าอารมณ์ร้ายเหล่านั้นเกิดขึ้นแก่เราแล้ว
    วางใจเฉยเพ่งดู ต่อต้าน อย่างสงบ นึกในใจว่า
    "ปล่อยมันไป อย่ายึดมันไว้ สักประเดี๋ยวมันก็ค่อย ๆ จางหายไป"

    อารมณ์ร้ายเหล่านี้อ่อนแอ เหมือนเมฆในท้องฟ้า
    สู้กำลังที่เข้มแข็งไม่ได้เว้นไว้แต่เราจะชอบมัน
    แล้วเลี้ยงมันไว้เป็นมิตรสหายสนิทกับใจ
    มันก็จะทำลายใจเราทีละน้อย ๆ เหมือนสนิมกัดเหล็กให้กร่อนไปทีละน้อย

    เพราะฉะนั้นอย่าประมาท จงระวังให้มากอย่างที่สุด
    จงอย่าสมาคมกับอารมณ์เหล่านี้เป็นอันขาด

    ในทางตรงกันข้าม ถ้าอารมณ์ดีมีประโยชน์
    ที่ให้เกิดความกล้าหาญบากบั่น วิริยะ อุตสาหะ เข้มแข็ง
    อดทนก้าวหน้า เหล่านี้ควรรักษาไว้ และบำรุงให้เจริญ วัฒนาถาวรยิ่ง ๆ ขึ้น
    เหมือนกับดวงจันทร์ที่ปราศจากเมฆหมอกฉะนั้น...

    ธมฺมวิตกฺโก ภิกฺขุ
    เจ้าคุณนรรัตน์ ราชมานิต


    ที่มา : FB ธรรมโอสถ

    แนะนำเมื่อ 25 พ.ค.55 คลิกอ่านกระทู้ได้ ที่นี่<!-- google_ad_section_end --> ​
     
  15. Komodo

    Komodo หัวหน้าศูนย์ประชาสัมพันธ์ ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 สิงหาคม 2006
    โพสต์:
    11,610
    กระทู้เรื่องเด่น:
    145
    ค่าพลัง:
    +104,605
    ธรรมะทั้งหลายเหล่านี้ ไม่ใช่ตัว ไม่ใช่ตน : พระโพธิญาณเถร



    [​IMG]
    [รูปจากสมุดภาพของวัดหนองป่าพง จากหนังสือพระโพธิญาณเถร หลวงพ่อชา สุภทฺโท, หน้า ๗๙]


    ธ ร ร ม ะ ทั้ ง ห ล า ย เ ห ล่ า นี้...
    ไ ม่ ใ ช่ ตั ว...ไ ม่ ใ ช่ ต น
    พระโพธิญาณเถร (หลวงพ่อชา สุภัทโท)
    วัดหนองป่าพง จ.อุบลราชธานี

    ธรรมะทั้งหลายเหล่านี้ ไม่ใช่ตัว ไม่ใช่ตน
    ไม่ใช่เรา ไม่ใช่เขา

    พระพุทธเจ้าท่านให้เห็นเป็น
    สักแต่ว่า ให้ยืนอยู่ตรงนี้เสมอ

    ดังนั้น เราจะไปเลือกอารมณ์ไม่ได้
    ถ้าอารมณ์มันวิ่งมาหาเรา
    ทั้งทางดี ทางชั่ว ทางผิด ทางถูก แล้ว
    แล้วเราไม่รู้ เพราะไม่มีปัญญา
    เราก็จะวิ่งตามมันไป
    ตามไปด้วยตัณหา ด้วยความอยาก
    แล้วเดี๋ยวก็ดีใจ เดี๋ยวก็เสียใจ

    เพราะอะไร เพราะเอาใจของเราเป็นหลัก
    อะไรที่เราชอบใจ ก็เข้าใจว่าอันนั้นดี
    อะไรที่เราไม่ชอบใจ ก็เข้าใจว่าอันนั้นไม่ดี

    อย่างนี้เรียกว่ายังห่างไกลธรรมะ ยังไม่รู้ธรรมะ
    มันก็เดือดร้อนเพราะความหลงมันเต็มอยู่

    [​IMG] [​IMG] [​IMG]

    (ที่มา : “พระโพธิญาณเถร (หลวงพ่อชา สุภทฺโท)”
    (ที่ระลึกเนื่องในวโรกาสสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา
    กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ เสด็จเป็นประธานประกอบพิธีฝังลูกนิมิต-ผูกสีมา
    วัดสุนันทวนาราม บ้านท่าเตียน หมู่ ๘ ตำบลไทรโยค อำเภอไทรโยค จ.กาญจนบุรี
    วันอาทิตย์ที่ ๒๒ ธันวาคม พุทธศักราช ๒๕๔๕ ตรงกับวันแรม ๓ ค่ำ เดือน ๑ ปีมะแม),
    รวบรวมและดำเนินการจัดทำโดย มูลนิธิมายา โคตมี, หน้า ๖๗)

    แนะนำเมื่อ 28 พ.ค.55 คลิกอ่านกระทู้ได้ ที่นี่<!-- google_ad_section_end -->
     
  16. Komodo

    Komodo หัวหน้าศูนย์ประชาสัมพันธ์ ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 สิงหาคม 2006
    โพสต์:
    11,610
    กระทู้เรื่องเด่น:
    145
    ค่าพลัง:
    +104,605
    [​IMG]

    พระอุบาลีคุณูปมาจารย์
    (จันทร์ สิริจันโท)
    วัดบรมนิวาสราชวรวิหาร ยศเส กรุงเทพมหานคร


    “…ควรพวกเราทั้งหลายคิดดูให้เห็นโทษและคุณแห่งความตายเสียให้ชัดใจ…
    ผู้มีปัญญาไม่ควรประมาทความตาย…
    ให้เห็นว่าเป็นสมบัติสำหรับตัวเรา
    เราจะต้องการในกาลอันสมควร…คือความตายมาถึงเราสมัยใด
    สมัยนั้นแหละชื่อว่ากาลอันสมควร
    ไม่ควรจะเกลียด ไม่ควรจะกลัว…

    สังขารทั้งหลาย คือสัตว์ที่เกิดมาในไตรภพ
    จะหลีกหลบให้พ้นจากความตาย ไม่มีเลย…
    เมื่อมีความเกิดเป็นเบื้องต้นแล้ว ย่อมมีความตายเป็นเบื้องปลายทุกคน
    นัยหนึ่งให้เอาความเกิดความตายซึ่งมีประจำอยู่ทุกวันเป็นเครื่องหมาย

    เมื่อพิจารณาถึงความตาย ก็ต้องพิจารณาถึงความป่วยไข้
    และความแก่ ความชรา เพราะเป็นเหตุ เป็นผลกัน…
    ให้พิจารณาถึงพยาธิความป่วยไข้ว่า
    พยาธิ ธมฺโมมหิ พยาธิ อนตีโต
    เรามีความป่วยไข้เป็นธรรมดา จะข้ามล่วงพ้นไปจากความป่วยไข้หาได้ไม่…
    ถ้าแลพิจารณาเห็นความชราอันเป็นปัจจุบันได้ก็ยิ่งประเสริฐ

    ความระงับสังขารทั้งหลายนั้น ท่านมิได้หมายถึงความตาย…
    ท่านหมายถึงวิปัสสนาญาณ และอาสวักขยญาณ
    คือปัญญารู้เท่าสังขาร รู้ความสิ้นไปแห่งอาสวะ
    เป็นชื่อของ…พระนิพพาน…เป็นยอดแห่งความสุข”

    แนะนำเมื่อ 29 พ.ค.55 คลิกอ่านกระทู้ได้ ที่นี่<!-- google_ad_section_end --> <!-- / message --><!-- sig -->
     
  17. Komodo

    Komodo หัวหน้าศูนย์ประชาสัมพันธ์ ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 สิงหาคม 2006
    โพสต์:
    11,610
    กระทู้เรื่องเด่น:
    145
    ค่าพลัง:
    +104,605
    [​IMG]

    ถ้าเรายังเกิด เราก็ต้องทุกข์ อย่างนี้
    อะไรทำให้ทุกข์ เพราะความอยาก ทำให้ทุกข์
    ถ้าเราไม่อยาก เราก็ไม่ทุกข์

    ที่เราทุกข์ ก็เพราะชาติก่อนเราไม่หมดอยาก
    และชาตินี้ เราก็ยังอยาก
    เมื่อไรความอยากสิ้นไป เมื่อนั้นก็ถึงนิพพาน

    ธรรมโอวาทหลวงพ่อฤๅษี วัดท่าซุง

    ที่มา : FB ศูนย์พุทธศรัทธา


    แนะนำเมื่อ 30 พ.ค.55 คลิกอ่านกระทู้ได้ ที่นี่<!-- google_ad_section_end --> <!-- / message --><!-- sig --><!-- google_ad_section_end -->​
     
  18. Komodo

    Komodo หัวหน้าศูนย์ประชาสัมพันธ์ ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 สิงหาคม 2006
    โพสต์:
    11,610
    กระทู้เรื่องเด่น:
    145
    ค่าพลัง:
    +104,605
    [​IMG]

    "...ทุกข์เพราะใจ
    คนที่จะพ้นจากทุกข์ได้ พ้นจากโลกนี้ได้
    พ้นจากกรรมได้ ก็เพราะใจอันเดียว
    จงยึดใจถือใจเป็นสำคัญ
    จะมาเกิดก็เพราะใจ
    เกิดแล้วจะมาสร้างกิเลสขึ้นก็เพราะใจ
    เป็นทุกข์ก็เพราะใจ
    ถ้าใจไม่เป็นทุกข์ ใจไม่ยึดถือ
    ปล่อยทิ้งเสีย กายอันนี้ก็ไปตามเรื่องของกาย
    ใจก็เป็นตามเรื่องของใจ หมดเรื่องหมดราวกันที..."

    หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี

    ที่มา : FB ธรรมโอสถ


    แนะนำเมื่อ 31 พ.ค.55 คลิกอ่านกระทู้ได้ ที่นี่<!-- google_ad_section_end --> <!-- / message --><!-- sig --><!-- google_ad_section_end -->​
     
  19. Komodo

    Komodo หัวหน้าศูนย์ประชาสัมพันธ์ ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 สิงหาคม 2006
    โพสต์:
    11,610
    กระทู้เรื่องเด่น:
    145
    ค่าพลัง:
    +104,605
    [​IMG]

    หลักธรรมสำหรับการอยู่ร่วมกันในสังคม

    การอยู่ร่วมกันในสังคมมักจะมีปัญหาเกิดขึ้นเสมอ โดยเฉพาะการกระทบกระทั่งกันด้วยวาจา ใจ และการเบียดเบียนกัน สังคมที่มีการเบียดเบียนกันสังคมนั้นย่อมหาความสุขไม่ได้ การปฏิบัติตนให้อยู่ร่วมกันในสังคมให้ราบรื่นเรียบร้อย มีความสุข และมีความสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน พระพุทธเจ้าได้ให้หลักธรรมในการอยู่ร่วมกันไว้ดังนี้

    ๑. การมีสังคหวัตถุ ๔ คือ มีเครื่องสงเคราะห์ซึ่งกันและกัน ซึ่งประกอบด้วย

    ๑.๑ ทาน คือ การให้ปันสิ่งของ ๆ ตนต่อผู้อื่น การผูกใจคนต้องอาศัยการให้เป็นหลักพื้นฐาน การให้เป็นการแสดงออกถึงไมตรีจิตของผู้ให้ที่ผู้รับพอใจ
    ๑.๒ ปิยวาจา คือ การมีถ้อยคำที่ไพเราะอ่อนหวาน น่าฟัง ซึ่งเป็นอีกส่วนหนึ่งที่จะช่วยครองใจคนด้วยไมตรีจิต
    ๑.๓ อัตถจริยา คือ การประพฤติตนให้เป็นประโยชน์ต่อผู้อื่น เป็นคนไม่ดูดาย รู้จักช่วยเหลือผู้อื่น บำเพ็ญตนให้เป็นประโยชน์ต่อสังคม
    ๑.๔ สมานัตตตา คือ ความเป็นผู้มีตนสม่ำเสมอ วางตนเหมาะสมไม่ถือตัว นอบน้อมต่อผู้ใหญ่

    ๒. การมีผาสุกวิหารธรรม คือ ธรรมอันเป็นเครื่องอยู่อย่างเป็นสุข คนเราไม่ว่าจะอยู่ร่วมกันในครอบครัว ในองค์การ หรือในสังคมก็ตาม จะอยู่ร่วมกันอย่างเป็นสุขได้ต้องตั้งมั่นอยู่ในหลักธรรม ๖ ประการ คือ

    ๒.๑ เมตตากายกรรม คือ มีเมตตาต่อกัน ทำอะไรด้วยกายที่ไม่ก่อความเดือดร้อนแก่ผู้อื่น
    ๒.๒ เมตตาวจีกรรม คือ จะพูดอะไรต้องมีเมตตาต่อกัน โดยสำนึกถึงความเสียหายของผู้อื่น ไม่พูดให้เกิดความเข้าใจผิด หรือแตกแยกความสามัคคี
    ๒.๓ เมตตามโนกรรม คือ คิดอะไรต้องมีจิตเมตตาทั้งต่อหน้าและลับหลัง มีความปรารถนาดี ไม่คิดร้าย คิดทำลาย ไม่คิดแก้แค้น คิดแต่ในทางที่ดีเป็นกุศล
    ๒.๔ มีการแบ่งปันลาภที่ตนไดมาแล้วโดยชอบธรรม ให้แก่ผู้อื่นที่สมควรให้ โดยไม่หวงไว้ใช้หรือบริโภคแต่เพียงผู้เดียว
    ๒.๕ มีความประพฤติเสมอกัน คือ จะต้องมีศีลบริสุทธิ์เหมือนกัน ไม่รังเกียจผู้อื่น ต้องเคารพในสิทธิอันเสมอภาคกัน
    ๒.๖ มีความคิดถูก คิดดีเหมือนกัน คือ มีความคิดเห็นที่ประเสริฐ เป็นความคิดที่เกื้อกูลไปสู่ความสุข ความเจริญ และพ้นทุกข์ ไม่วิวาทกับใคร ๆ เพราะมีความเห็นผิดกัน

    ๓. การมีสามัคคีธรรม คือ ความพร้อมเพรียงของหมู่คณะทำให้เกิดสุขในทางปฏิบัติ สามัคคีธรรมประกอบด้วย

    ๓.๑ ความสามัคคีทางกาย คือ การทำงานร่วมกันด้วยความเสียสละ
    ๓.๒ ความสามัคคีทางใจ คือ มีความพร้อมใจกันที่จะทำกิจทุกอย่าง
    ๓.๓ ความสามัคคีทางความคิด คือ การช่วยกันคิดสร้างสรรค์ความเจริญให้เกิดแก่ส่วนรวม ไม่คิดเพื่อประโยชน์ส่วนตัว

    ที่มา : http://www.dhamma.mbu.ac.th/th/index.php?option=com_content&task=view&id=62&Itemid=60

    แนะนำเมื่อ 1 มิ.ย. 55 คลิกอ่านกระทู้ได้ ที่นี่<!-- google_ad_section_end --> ​
     
สถานะของกระทู้:
กระทู้ถูกปิด ไม่สามารถโพสต์ตอบกลับได้

แชร์หน้านี้

Loading...