มีฉัน....ต้องไม่มีเธอ(แก)

ในห้อง 'กฎแห่งกรรม - ภพภูมิ' ตั้งกระทู้โดย หยากหลุดพ้น, 13 พฤศจิกายน 2012.

  1. หยากหลุดพ้น

    หยากหลุดพ้น เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 ธันวาคม 2007
    โพสต์:
    184
    ค่าพลัง:
    +359
    มีฉัน. ไม่มีเธอ
    หลายคนชอบพูดว่า ไม่เจนตนาแปลว่าไม่บาป เช่นท่านกำลังขับรถ จู่ๆโทรศัพท์ดังขึ้นมา พอก้มมอง หันกลับมาดูถนนอีกที...ไม่ทันแล้ว ชนเด็กหัวฟาดพื้น...ตายสนิท พ่อแม่เด็กวิ่งเข้ามาหาลูก คุณก็ลงไปยกมือไหว้
    ขอโทษนะพี่..หนูไม่ได้เจตนาเลย... อย่างนี้ถูกแล้วเหรอ
    เจตนาดูกันตรงไหนแน่

    ดูกันที่วัฏฏะ3
    วัฏฏะ3คือวงจรที่อธิบายเรื่องกฏแห่งกรรมได้
    คือ 1.เมื่อกิเลส(โลภ โกรธ หลง)เกิดขึ้น. 2. จึงสั่งให้กายกระทำกรรม(ดี ชั่ว) เมื่อกระทำกรรมแล้วก็เกิดผลเป็น 3.วิบาก ที่จะต้องรับ(สุขหรือทุกข์)และก็จะเกิด กิเลสขึ้นอีก วนอยู่อย่างนี้....
    เจตนาตามความเข้าใจของเรากับในพระไตรปิฏกมีความหมายไม่ตรงกัน. เตนาตามความหมายของเราแปลว่า ตั้งใจ
    แต่ในพระไตรปิฏกนั้น เจตนาคือ จิตทุกดวงเมื่อจะทำสิ่งใด จะเกิดการหมายที่จะทำ เพราะมี ตัวกู จึงทำให้ส่งผลเป็นกรรม
    ยกเว้นพระอรหันต์ที่ท่านชำระ ตัวกู ไปแล้ว การกระทำจึงไม่ประกอบด้วยเจตนา แต่เรียกว่า. กิริยา
    แต่หากเรา ตั้งใจ จะทำสิ่งหนึ่ง แต่มีผลไปยังสิ่งหนึ่ง เช่นนี้ถือว่าไม่มีเจตนาในสิ่งที่สอง 
    เช่น เดินไปในที่มืด ซึ่งก็ระมัดระวังเต็มที่แล้ว แต่ก็ไปเหยียบสัตว์ต่างๆตาย
    อย่างนี้ไม่มีเจตนาในการการทำบาปแน่นอน

    เช่น..ขณะยุงบินมาทำเสียง ...วี้ใส่เรา โทสะจะเริ่มเคลื่อนไหว และเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ เหมือนน้ำเดือดในกาแล้วฝาเริ่มขยับ ตอนฝาขยับ มือเราก็ขยับเช่นกัน พอเดือดปี๊ด มือก็ตบเลย เครื่องจักรสังหารทำงานตามสั่งทันที
    กิเลสกดรีโมทปั๊ป...มือก็ตบ..ตายสนิท
    ไม่รู้ทันกาย ไม่รู้ทันใจ ตบเปรี้ยง... แต่ปากบอกไม่เจตนา

    แต่ถ้าเจริญสติ เมื่อยุงบินมา ใจเริ่มขุ่นแล้ว จนยุงกัด โทสะพุ่งปี๊ดอยากตบ
    แต่เนื่อจากเห็นอยู่ มีสติ จึงเห็นโทสะเกิด และสงบระงับจึงเกิดความยับยั้งที่จะไม่ทำบาปทำกรรมลงไป....
    บางคน มียุงมาบินใกล้ๆ ไม่เห็น แต่ได้ยินเสียง ก็เริ่มโมโห พอบินมาอีกตัวก็เริ่มบ่น ยุงทำไมเข้าบ้านเยอะจัง ต่อว่าลูกว่าลืมปิดมุ้งลวดรึเปล่า 

    ว่าแล้วก็ขับรถไปเซเว่นด้วยอาการแค้น...เจ้าฝูงยุงทั้งหลาย...จะได้เห็นดีกัน...พอถึงเซเว่น ก็ยืนเลือกเลยว่าไบกอนรุ่นไหนแรงสุด เอาที่ตายยกรัง แพงหน่อยก็ได้ ขอให้ตายสนิท 
    ....เห็นเจตนาไหม
    นี่คือคนที่มีความเพียรในการกระทำกรรมอย่างรุนแรง
    ตั้งแต่ขับรถมาก็แค้นตลอด..ถึงเซเว่นยอมซื้อของแพงก็ได้
    กลับมาบ้านก็มาไล่ลูกออก แล้วไล่ฉีดแบบ มีฉันต้องไม่มีแก สักพักยุงตายสนิท กวาดออกอย่างสบายใจ สะใจจริงๆที่ได้ฆ่า

    กรรมที่ทำไปข้างต้น เทียบกับตบแบบเพลอๆ
    บาปเหมือนกันไหม 
    ก็ตอบว่าบาป. แต่ไมเหมือน เพราะกรณีหลังนี่ฆ่าล้างเผ่าพันธุ์
    หากท่านตบยุงแบบกรณีแรก ต้องได้รับวิบากเช่นกัน แต่เป็นวิบากอ่อนๆ
    ต่ากับผู้มีเจตนารุนแรงต้องการให้ตายเลย วิบากที่รับย่อมแรงแน่ๆ

    วัฏฏะคามินีกุศล คือ กุศลที่คุณทำอยู่เป็นปกติ เห็นกันอยู่ทุกวัน เป็นสิ่งที่เราทำกันด้วยกุศลจิต กุศลเจตนา เช่น ทำบุญ ทำทาน ใส่บาตรฯลฯ
    อย่างไรก็ตาม กุศลเหล่านี้เมื่อคุณทำไว้แล้วคุณต้องได้รับ ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว
    ....การได้รับคือการต้องกลับมารับ เทวดาทั้งหลายก็ทำความดีเอาไว้จึงต้องกลับมารับ พรหมทั้งหลายก็สร้างเหตุเอาไว้ จึงต้องกลับมารับ
    ทำนั่นไว้ จึงต้องกลับมารับ ทำโน่นไว้จึงต้องกลับมารับ
    รับกันไปเรื่อยๆ กุศลหรือแม้แต่อกุศลทั้งหลายจึงไม่มีอะไร เป็นเพียงวงจรที่หมุนต่อไปข้างหน้าเรื่อยๆ ตามเหตุ ตามปัจจัยเท่านั้น

    ยกเว้นเพียง วิวัฏฏะคามินีกุศล หรือกุศลที่ทำเพื่อลดวัฏสงสารลง
    เป็นการตัดภพชาติ นั่นคือการเจริญสติ. เป็นการชำระตัวตน ชำระใจที่ไปเสพติดความสุข เมื่อทำดี ก็รู้ทันใจที่ไปเสพติดความสุข แล้ววันหนึ่ง จิตจะทำความดีด้วยอุเบกขา ไม่หวังอะไรจาการทำอะไร นี่เป็นหนทางแห่งการพ้นทุกข์ เพราะจริงๆแล้ว สุขก็คือทุกข์นั่นเอง แม้ไม่สุขก็ทุกข์อยู่ดี

    ...ที่จริงถ้าจะว่าถึงเรื่องวิวัฏฏะคามินีกุศลให้จบ ต้องว่าถึง อนุปุพพิกถาด้วย ไม่งั้นจะสับสนมาก เพราะจริงๆแล้วเวลาพระพุทเจ้าแสดงธรรม หากพระองค์เห็นว่ามีบุคคลพร้อมจะบรรลุธรรมอยู่ในที่นั้น พระองค์จะเริ่ม อนุปุพพิกถาก่อน คือพูดว่า 
    ให้ทานดีอย่างไร. ถือศีลดีอย่างไร
    และทานและศีลทำให้เกิดความสงบเกิดกุศลจิตได้อย่างไร
    เมื่อฟังตามผู้ฟังจะเกิดกุศลจิตขึ้น. ทำให้พูดต่อได้เลยว่า
    ....การหลงยึดติดในสิ่งดีๆเหล่านี้มีโทษอย่างไร....
    ตรงนี้เองที่พวกเราไม่ค่อยได้ยินได้ฟังกัน
    พอคนฟังเริ่มคล้อยตาม พระองค์ก็จะเทศน์ว่า เนกขัมมะคืออะไร
    ...เนกขัมมะคือหนทางที่จะออกไปจากสิ่งที่เป็นกามราคะทั้งมวล
    ที่เราได้รับจากภพภูมิของมนุษย์ เทวดา และพรหมทั้งหลาย
    เมื่อถึงตรงนี้ ผู้ฟังจะเริ่มเข้าใจ
    และเมื่อพระองค์เห็นว่าภาชนะพร้อม พระองค์ก็จะเทศน์อริยสัจ4ทันที
    ส่วนใหญ่จะมีผู้บรรลุธรรมในวันน่ั้น เพราะพาชนะพร้อมแล้ว

    แต่ในยุคนี้น่าเสียดาย เพราะทุกคนหวังแต่ความสุข
    สิ่งที่ได้ยินได้ฟังในยุคนี้จึงมักจบลงแค่เรื่อง ทานกับศีล และผลแห่งทานผลแห่งศีลเท่านั้น
    ไม่เคยมีใครพูดต่อ ว่าเรื่องเลวร้ายที่ติดตามมาจากกามราคะ(ความสุขทีเกิดจาก ตา หู จมูก ลิ้น สัมผัส ภพ อรูปภพ)นั้นเป็นอย่างไร
    และจะออกจากกามราคะได้ยังไง
    จึงไม่มีใครสนใจ เนกขัมมะภาวนาอีกแล้ว......
    ...

    ....ถอดความจาก "ดูจิตชั่วพริบตา"
     

แชร์หน้านี้

Loading...