พิจารณาทุกข์

ในห้อง 'กฎแห่งกรรม - ภพภูมิ' ตั้งกระทู้โดย Faithfully, 3 เมษายน 2010.

  1. Faithfully

    Faithfully เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 กุมภาพันธ์ 2009
    โพสต์:
    656
    ค่าพลัง:
    +2,459
    ขอเราจงอย่าประมาท ชีวิตนี้ชั่วฟ้าแลบ ชีวิตนี้ชั่วกระพริบตา เท่านั้น
    การพิจารณาทุกข์

    [​IMG]

    ทุกข์ คือ ความไม่สบายกายไม่สบายใจ ความไม่ชอบใจ ความคับแค้นใจ ความเศร้าโศก ร่ำไห้ รำพัน ความเดือดร้อน ความยากลำบาก
    สมุทัย คือ ความต้องการไม่ได้รับการตอบสนอง
    ทุกข์อยู่ที่ไหน? ตอบได้ว่า

    1.ทุกข์ในอริยสัจจ

    พระพุทธเจ้าทรงพิจารณาเห็นการเกิดเป็นทุกข์

    พระพุทธเจ้าทรงพิจารณาเห็นการแก่เป็นทุกข์

    พระพุทธเจ้าทรงพิจารณาเห็นการเจ็บเป็นทุกข์

    พระพุทธเจ้าทรงพิจารณาเห็นการตายเป็นทุกข์
    การดับทุกข์ให้ดับที่เหตุตามแนวทางของมรรคเพื่อนำไปสู่นิโรธ

    สมุทัยเป็นเหตุทำให้เกิดทุกข์ มรรคเป็นแนวทางไปสู่นิโรธ และผลที่ตามมาคือ ทุกข์ดับ

    กระบวนการในการดับทุกข์ตามแนวทางของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าคือ ไม่ทำให้เป็นที่สุดในฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง โดยไม่ปล่อยให้เกลือกกลั้วกับความสะดวกสบายในทางโลกสุดโต่งแบบกามสุขขัลลิกานุโยค ไม่ทำให้เป็นที่สุดในฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งโดยทำตัวให้คับแค้นทั้งกายและใจแบบทุกกรกิริยา ให้ดำเนินทางสายกลางโดยมรรค ตามแบบมัชฌิมาปฏิปทา

    2.ทุกข์อันเกิดจากทุกขเวทนาในขันธ์ห้า

    กองทุกข์อยู่ที่กายกับจิต คือ รูปกับนาม ในขันธ์ห้า มี รูป เวทนา(สุขเวทนา,ทุกขเวทนา) สัญญา สังขาร วิญญาณ

    ทุกข์ คือ ทุกขเวทนา เกิดจาก ผัสสะของอายตนะกับสฬายตนะ มี ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ตามทวารทั้ง 6 แล้วทำให้เกิด รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส วิญญาณ

    ตาเห็นรูปที่ไม่ชอบใจเกิดความจำได้(สัญญา) จิตคิดปรุงแต่ง(สังขาร) ทำให้เกิดทุกข์

    หูได้ยินเสียงที่ไม่ชอบใจเกิดความจำได้(สัญญา) จิตคิดปรุงแต่ง(สังขาร) ทำให้เกิดทุกข์

    จมูกได้กลิ่นที่ไม่ชอบใจเกิดความจำได้(สัญญา) จิตคิดปรุงแต่ง(สังขาร) ทำให้เกิดทุกข์

    ลิ้นรับรสที่ไม่ชอบใจเกิดความจำได้(สัญญา) จิตคิดปรุงแต่ง(สังขาร) ทำให้เกิดทุกข์

    กายสัมผัสสิ่งที่ไม่ชอบใจเกิดความจำได้(สัญญา) จิตคิดปรุงแต่ง(สังขาร) ทำให้เกิดทุกข์

    ใจรับรู้สิ่งที่ไม่ชอบใจเกิดความจำได้(สัญญา) จิตคิดปรุงแต่ง(สังขาร) ทำให้เกิดทุกข์

    ทุกข์เพราะผัสสะ(เครื่องต่อ) ระหว่างปัจจัยภายนอก กับปัจจัยภายใน ทุกข์เกิดจากการได้เห็นรูป ทุกข์เกิดจากการได้ยินเสียง ทุกข์เกิดจากการได้กลิ่น ทุกข์เกิดจากการได้ลิ้มรส ทุกข์เกิดจากการได้สัมผัสต้องตัว ทุกข์เกิดจากการตรึกนึกคิดไป

    3.ทุกข์ในปฏิจจสมุปบาท

    กระบวนการของจิตในการเกิดทุกข์ตามวงจร ปฏิจจสมุปบาท อันเป็นเครื่องอาศัยที่ก่อให้เกิดต่อเนื่องกัน เช่น

    ตาเห็นรูปที่ไม่ชอบใจ จำได้หมายรู้(สัญญา) จิตคิดปรุงแต่ง(สังขาร)เกิดทุกขเวทนา ก่อให้เกิดตัณหา(ความทะยานอยาก) จึงทำให้เกิดอุปาทาน(ความยึดมั่นหมายมั่น)
    หูได้ยินเสียงที่ไม่ชอบใจ จำได้หมายรู้(สัญญา) จิตคิดปรุงแต่ง(สังขาร)เกิดทุกขเวทนา ก่อให้เกิดตัณหา(ความทะยานอยาก) จึงทำให้เกิดอุปาทาน(ความยึดมั่นหมายมั่น)
    จมูกได้กลิ่นที่ไม่ชอบใจ จำได้หมายรู้(สัญญา) จิตคิดปรุงแต่ง(สังขาร)เกิดทุกขเวทนา ก่อให้เกิดตัณหา(ความทะยานอยาก) จึงทำให้เกิดอุปาทาน(ความยึดมั่นหมายมั่น)
    ลิ้นรับรสที่ไม่ชอบใจ จำได้หมายรู้(สัญญา) จิตคิดปรุงแต่ง(สังขาร)เกิดทุกขเวทนา ก่อให้เกิดตัณหา(ความทะยานอยาก) จึงทำให้เกิดอุปาทาน(ความยึดมั่นหมายมั่น)
    กายสัมผัสสิ่งที่ไม่ชอบใจ จำได้หมายรู้(สัญญา) จิตคิดปรุงแต่ง(สังขาร)เกิดทุกขเวทนา ก่อให้เกิดตัณหา(ความทะยานอยาก) จึงทำให้เกิดอุปาทาน(ความยึดมั่นหมายมั่น)
    จิตรับรู้สิ่งที่ไม่ชอบใจ จำได้หมายรู้(สัญญา) จิตคิดปรุงแต่ง(สังขาร)เกิดทุกขเวทนา ก่อให้เกิดตัณหา(ความทะยานอยาก) จึงทำให้เกิดอุปาทาน(ความยึดมั่นหมายมั่น)
    กระบวนการต่างๆที่เกิดขึ้นนี้รวดเร็วมาก เปรียบได้กับการกระพริบตาที่ว่าเร็วแล้ว กระบวนการเกิดเหล่านี้เร็วยิ่งกว่า สำหรับผู้ที่มีสติ มีปัญญา ก็จะสามารถตัดวงจรออกได้โดย
    ตาเห็นรูปที่ชอบใจไม่ชอบใจเกิดสัญญา(จำได้หมายรู้) สำรวมระวังเหตุที่เข้ามากระทบ หยุดด้วยสติรู้เท่าทันใช้ปัญญาบอกจิตเป็นเพียงว่า สักแต่รูป น้อมลงสู่ไตรลักษณ์ มีเกิด แปรปรวน และดับไปเป็นธรรมดา
    หูได้ยินเสียงที่ชอบใจไม่ชอบใจเกิดสัญญา(จำได้หมายรู้) สำรวมระวังเหตุที่เข้ามากระทบ หยุดด้วยสติรู้เท่าทันใช้ปัญญาบอกจิตเป็นเพียงว่า สักแต่รูป น้อมลงสู่ไตรลักษณ์ มีเกิด แปรปรวน และดับไปเป็นธรรมดา
    จมูกได้กลิ่นที่ชอบใจไม่ชอบใจเกิดสัญญา(จำได้หมายรู้) สำรวมระวังเหตุที่เข้ามากระทบ หยุดด้วยสติรู้เท่าทันใช้ปัญญาบอกจิตเป็นเพียงว่า สักแต่รูป น้อมลงสู่ไตรลักษณ์ มีเกิด แปรปรวน และดับไปเป็นธรรมดา
    ลิ้นรับรสที่ชอบใจไม่ชอบใจเกิดสัญญา(จำได้หมายรู้) สำรวมระวังเหตุที่เข้ามากระทบ หยุดด้วยสติรู้เท่าทันใช้ปัญญาบอกจิตเป็นเพียงว่า สักแต่รูป น้อมลงสู่ไตรลักษณ์ มีเกิด แปรปรวน และดับไปเป็นธรรมดา
    กายสัมผัสสิ่งที่ชอบใจไม่ชอบใจเกิดสัญญา(จำได้หมายรู้) สำรวมระวังเหตุที่เข้ามากระทบ หยุดด้วยสติรู้เท่าทันใช้ปัญญาบอกจิตเป็นเพียงว่า สักแต่รูป น้อมลงสู่ไตรลักษณ์ มีเกิด แปรปรวน และดับไปเป็นธรรมดา
    ใจรับรู้สิ่งที่ชอบใจไม่ชอบใจเกิดสัญญา(จำได้หมายรู้) สำรวมระวังเหตุที่เข้ามากระทบ หยุดด้วยสติรู้เท่าทันใช้ปัญญาบอกจิตเป็นเพียงว่า สักแต่รูป น้อมลงสู่ไตรลักษณ์ มีเกิด แปรปรวน และดับไปเป็นธรรมดา

    ทำไมจึงต้องพิจารณาทุกข์?

    เพราะ พระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ทรงค้นพบธรรมอันเป็นความจริง 4 ประการ มี ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค การจะกระทำสิ่งใดๆให้สำเร็จจำเป็นต้องรู้ปัจจัยนำเข้า กระบวนการ ปัจจัยนำออก และผลผลิตให้ชัดเจน ปัจจัยนำเข้าคือทุกข์ มาผ่านกระบวนการตามทางของมรรค ปัจจัยนำออกคือนิโรธ ผลผลิตที่ได้คือมรรคผลนิพพาน ฉะนั้น เราจึงต้องพิจารณาทุกข์ให้เข้าใจแจ่มแจ้งเสียก่อน เพราะทุกข์คือสิ่งที่เราจะต้องดับ แล้วเราจะดับอะไร ถ้าไม่รู้ในสิ่งที่จะดับ ก็อาจจะทำให้ดับผิดที่ ดับผิดเป้าหมาย หลังจากนั้นค่อยพิจารณา เหตุแห่งทุกข์ และมรรค เป็นลำดับไป


    [​IMG]


    ขอขอบคุณ
    ร่มไม้ใหญ่ใกล้ทาง/ธรรมะใกล้ร่มไม้ใหญ่ใกล้ทาง
    และ

    การจัดการความรู้ (Knowledge Management) เครือข่ายทางสังคม (Social Network) - GotoKnow: คนทำงานแลกเปลี่ยนเรียนรู้











     
  2. Faithfully

    Faithfully เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 กุมภาพันธ์ 2009
    โพสต์:
    656
    ค่าพลัง:
    +2,459
    [​IMG]

    ขออนุโมทนาบุญ และขอขอบคุณทุกท่านที่เข้ามาอ่านนะคะ สาธุ
     

แชร์หน้านี้

Loading...