((พระสมเด็จ หลังช้างศึก ขันน้ำแม่น้ำโขง))

ในห้อง 'วิธีดูพระเครื่อง-เครื่องรางของขลัง' ตั้งกระทู้โดย yaba150, 21 พฤษภาคม 2009.

  1. yaba150

    yaba150 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 ตุลาคม 2008
    โพสต์:
    983
    ค่าพลัง:
    +636
    ใครทราบประวัติ แท้หรือเก้
    ขันน้ำได้มาจากขุดทรายที่แม่น้ำโขง
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุด: 21 พฤษภาคม 2009
  2. ศนิวาร

    ศนิวาร เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 เมษายน 2008
    โพสต์:
    7,337
    ค่าพลัง:
    +17,635
    แท้ ของหลวงพ่อเก็บ ภัททิโย วัดดอนเจดีย์ สุพรรณบุรี พิธีใหญ่


    พระวิบูลเมธาจารย์ "หลวงพ่อเก็บ ภทฺทิโย"


    [​IMG]

    นามเดิม ชื่อ เก็บ นามสกุล พุฒิเจริญ
    เกิดเมื่อวันที่ ๑๕ พฤษภาคม พ.ศ.๒๔๕๗
    บิดาชื่อ นายรัด มารดาชื่อ นางโค้
    เกิดณ บ้านสองพี่น้อง ตำบลสองพี่น้อง อำเภอสองพี่น้อง จังหวัดสุพรรณบุรี
    มีศักดิ์เป็นหลานอา ของสมเด็จป๋า และ "หลานลุง"ของหลวงพ่อสด วัดปากน้ำ
    อุปสมบทเมื่อ วันที่๒๙ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๗๗ ณ พัทธสีมาวัดสองพี่น้อง อำเภอสองพี่น้อง จังหวัดสุพรรณบุรี

    โดยมี
    พระครูอุภัยภาดารักษ์ เป็นพระอุปัชฌาย์
    พระอาจารย์หอม วัดสองพี่น้อง เป็นพระกรรมวาจาจารย์
    พระอาจารย์ล้วน เจ้าอาวาสวัดละครทำ เป็นพระอนุสาวนาจารย์

    เมื่ออุปสมบทแล้ว ได้ศึกษาอยู่ในสำนักของ พระอุปัชฌาย์วัดสองพี่น้อง ๑ พรรษา แล้วย้ายเข้าไปศึกษาบาลี ที่วัดพระเชตุพน กับสมเด็จป๋า สมัยที่ยังเป็นพระมหาปุ่น พอได้เป็นเปรียญธรรม ๕ ประโยค สมเด็จป๋าก็ส่งให้กลับมาเปิดสำนักเรียนบาลีที่วัดสองพี่น้อง เมื่อพ.ศ. ๒๔๘๓ วัดสองพี่น้องจึงเป็นสำนักเรียนที่มีชื่อเสียงของจังหวัดสุพรรณบุรีสำนักหนึ่งตั้งแต่นั้นมา และตัวท่านเองก็สอบได้เป็นเปรียญธรรม ๗ ประโยค เมื่อปี พ.ศ.๒๔๙๒ ถือเป็นพระมหารูปแรกที่สอบได้ ป.ธ. ๗ ในนามคณะสงฆ์จังหวัดสุพรรณฯ ในเวลาต่อมา และศิษย์สองพี่น้องของท่านตั้งแต่รุ่นแรกถึงรุ่น ต่อ ๆ มาได้อยู่สนองงาน ของคณะสงฆ์ปัจจุบัน อาทิ
    ๑. พระธรรมมหาวีรานุวัตร (ฉลอง จินตาอินโท ป.ธ.๕) เจ้าอาวาสวัดป่าเลไลยก์วรวิหาร ที่ปรึกษาเจ้าคณะจังหวัดสุพรรณบุรี
    ๒. พระราชปริยัติสุธี (สอิ้ง สิรินนฺโท ป.ธ.๘) ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดป่าเลไลยก์วรวิหาร เจ้าคณะจังหวัดสุพรรณบุรี
    ๓.พระวิสุทธิวงศาจารย์ (วิเชียร อโนมคุโณ ป.ธ.๙) (รองสมเด็จพระราชาคณะ) รองเจ้าอาวาสวัดปากน้ำ หัวหน้าสำนักฝึกอบรมพระธรรมทูต และเจ้าคณะภาค ๗
    ๔. พระธรรมปัญญาภรณ์ (สุชาติ ธมฺมรตโน ป.ธ.๙) ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดปากน้ำ เลขานุการแม่กองบาลีสนามหลวง เจ้าคณะภาค และ ศิษย์สายสองพี่น้อง + ดอนเจดีย์ ที่สำเร็จเป็นเปรียญธรรม ๙ ประโยค ยังดำรงสมณเพศอยู่อีกหลายรูป

    ครั้นถึง พ.ศ.๒๕๐๑ สมเด็จพระสังฆราชองค์ที่ ๑๗ (สมเด็จป๋า) วัดพระเชตุพน ฯ กรุงเทพ ฯ สมัยดำรงสมณศักดิ์ที่ "พระธรรมวโรดม"เจ้าคณะตรวจการคณะสงฆ์ภาค ๗ เห็นว่าวัดดอนเจดีย์ เป็นวัดที่สร้างขึ้นเพื่ออุทิศถวาย "สมเด็จพระนเรศวรมหาราช" พระผู้มีพระคุณยิ่งใหญ่แก่แผ่นดิน ควรมีพระผู้ใหญ่ไปอยู่ประจำ จึงสั่งให้ "พระวิบูลเมธาจารย์" (หลวงพ่อเก็บ) วัดสองพี่น้อง เจ้าคณะอำเภอสองพี่น้อง รักษาการเจ้าคณะจังหวัดสุพรรณบุรี ไปอยู่ประจำตั้งแต่เดือน มกราคม พ.ศ. ๒๕๐๑ จนกระทั้ง มรณภาพ เมื่อวันที่ ๒๙ ธันวาคม พ.ศ.๒๕๒๕ สิริอายุได้ ๖๙ ปี ๔๙ พรรษา

    ยุคสมัยของ หลวงพ่อพระวิบูลเมธาจารย์ ได้เปิดสำนักเรียนขึ้น มีพระภิกษุสามเณรมาอาศัยอยู่ศึกษาเล่าเรียนถึง ๑๓๐ รูปเศษนับเป็นยุคที่การศึกษารุ่งเรืองมาก
    และถือว่าพลวงพ่อเป็นปูชนียบุคคลผู้วางรากฐานไว้ให้กับวัดดอนเจดีย์ อย่างแท้จริง


    การสร้างวัตถุมงคลของหลวงพ่อเก็บ

    เมื่อท่านได้มาดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดดอนเจดีย์แล้ว นอกจากจัดการศึกษาของพระภิกษุ-สามเณรให้เจริญมั่นคง ท่านเห็นว่า "แผ่นดินอันเป็นที่ตั้งพระบรมราชานุสรณ์นี้" เป็นแผ่นดินอันศักดิ์สิทธิ์ ก่อให้เกิดชัยมงคลแก่ประเทศชาติ จึงริเริ่มสร้างวัตถุมงคลตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๐๓ โดยให้พระ-เณร ตักน้ำในสระวัดซึ่งมีสีขาว คล้ายน้ำซาวข้าว มาแกว่งสารส้ม แล้วนำตะกอนมาทำเป็นพระพิมพ์ต่าง ๆ มากมาย แจกลูกศิษย์ และผู้เคารพนับถือการสร้างวัตถุมงคล ซึ่งในช่วงแรกจะเป็นดินเผาทั้งหมดแต่ตอนหลังใช้ผงดอกไม้ที่คนนำมาบูชาเป็นหลัก
    ในปี พ.ศ. ๒๕๑๖ "สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช" ได้ทรงเสด็จตัดลูกหวายนิมิต หลวงพ่อเก็บท่านจึงได้สร้างวัตถุมงคล หลายชนิดเพื่อเป็นที่ระลึกในการนั้น คือ
    พระกริ่งพระองค์ดำ
    กริ่งพระองค์ขาว
    เหรียญ ภปร.
    พระผงสมเด็จพระเจ้าอู่ทอง ภปร.
    เหรียญรูปเหมือนของท่าน
    และพระผงพิมพ์ต่าง ๆ
    แล้วทำพิธีพุทธาภิเศกโดยพระเกจิ
    อาจารย์ผู้มีชื่อเสียงในยุคนั้นอันมี "สมเด็จพระสังฆราช องค์ที่ ๑๗ เป็นประธานจุดเทียนชัย" และหลังจากการสร้างวัตถุมงคลรุ่นนี้แล้วหลวงพ่อเก็บก็ได้ยุติการสร้างวัตถุมงคลตั้งแต่นั้นมา
    วัตถุมงคลของหลวงพ่อเก็บมีอยู่ไม่กี่รุ่น ในพื้นที่อำเภอดอนเจดีย์และใกล้เคียงหวงแหนกันมาก มีประสบการณ์มากมายโดยเฉพาะทางด้านเมตตามหานิยมเป็นเลิศ พ่อค้าแม่ขายในตลาดดอนเจดีย์นับถือกันมาก
    แต่สนนราคาในปัจจุบัน(พ.ศ.๒๕๕๑)นับว่ายังไม่แพง นับว่าเป็นของดีที่ราคาเบาและน่าเก็บบูชาอย่างยิ่ง

    [​IMG]

    00048 ชีวประวัติ หลวงพ่อเก็บ วัดดอนเจดีย์ โดย : saksuphan : 2008 ...

    พระสมเด็จหลวงพ่อเก็บ วัดดอนเจดีย์เนื้อผง ปี2514 จ.สุพรรณบุรี(หลัง ...

     
  3. yaba150

    yaba150 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 ตุลาคม 2008
    โพสต์:
    983
    ค่าพลัง:
    +636
    ขอบคุณมากครับ
     

แชร์หน้านี้

Loading...