พระกัสสปะ ...เอตทัคคะในทางผู้แสดงอันวิจิตร

ในห้อง 'พุทธศาสนา และ ธรรมะ' ตั้งกระทู้โดย เทพออระฤทธิ์, 28 เมษายน 2009.

  1. เทพออระฤทธิ์

    เทพออระฤทธิ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 กุมภาพันธ์ 2008
    โพสต์:
    4,573
    กระทู้เรื่องเด่น:
    4
    ค่าพลัง:
    +22,048
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="96%" border=0><CENTER>พระกัสสปะ
    เอตทัคคะในทางผู้แสดงอันวิจิตร </CENTER>พระกุมารกัสสปะ เป็นบุตรของธิดาเศรษฐี ในเมืองราชฤห์ เดิมชื่อว่า " กัสสปะ " แต่เพราะท่านได้รับการบำรุงเลี้ยงดูจากพระเจ้าปเสนทิโกศล ดังนั้น ประชาชน จึงเรียกท่านว่า " กุมารกัสสปะ" ประวัติชีวิตของท่าน มีดังต่อไปนี้


    <TBODY></TBODY></TABLE>


    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="96%" border=0>
    <CENTER>ภิกษุณีตั้งท้อง</CENTER>
    ขณะเมื่อมารดาของท่านยังเป็นสาวรุ่นอยู่นั้น มีศรัทธาปรารถนาจะบวชเป็นภิกษุณีในพระพุทธศาสนา แต่บิดามารดาไม่อนุญาต อยู่ต่อมาจนกระทั้งนางได้แต่งงานมีสามีอยู่ครองเรือนระยะหนึ่ง นางได้ปฏิบัติสามีเป็นอย่างดีจนสามีเกิดความพอใจรักใคร่ทะนุทนอมน้ำใจทุกอย่าง
    วันหนึ่ง นางได้ปฏิบัติให้สามีเกิดความพอใจแล้ว อ้อนวอนของอนุญาตบวช สามีก็ไม่ขัดใจอนุญาตให้นางบวชตามความปรารถนา นางจึงเข้าไปบวชในสำนักของนางภิกษุณี ผู้เป็นศิษย์ของพระเทวทัต
    บวชแล้วได้ไม่นานปรากฏว่าครรภ์ของนางโตขึ้น จึงเป็นที่รักเกียจสงสัยของเพื่อนนางภิกษุณีทั้งหลาย และได้นำเรื่องนี้ไปแจ้งแก่พระเทวทัต เพื่อให้ตัดสินความ พระเทวทัตได้ตัดสินให้เธอสละสมณเพศสึกออกไปเสียจากสำนัก
    นางได้ฟังคำตัดสินแล้วเกิดความเสียใจเป็นอย่างมาก ได้พูดอ้อนวอนของร้องได้โปรดอย่างลงโทษเธอถึงขนาดนั้นเลย เพราะนางมิได้ประพฤติชั่วทำผิดพระธรรมวินัยเลย เมื่อคำอ้อวอนของนางไม่ไม่เป็นผล นางจึงกล่าวว่า ท่านผู้เจริญทั้งหลาย ดิฉันมิได้บวชเพื่ออุททิศตนต่อพระเทวทัต แต่ดิฉันบวชอุทิศตนต่อพระบรมศาสดา ดังนั้น ขอท่านทั้งหลาย จงพาดิฉันไปสู่สำนักของพระบรมศาสดาด้วยเถิด "



    <TBODY></TBODY></TABLE>



    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="96%" border=0>
    <CENTER>พระอุบาลีตัดสินคดีภิกษุณีท้อง</CENTER>
    นางภิกษุณีทั้งหลาย จึงพานางไปเข้าเฝ้า กราบทูลเนื้อความนั้นให้ทรงทราบโดยลำดับตั้งแต่ต้น แม้พระผู้มีพระภาคจะทรงทราบอย่างแจ่มชัด ด้วยพระองค์เองแล้วว่า " นางตั้งครรภ์มาตั้งแต่ก่อนบวช" แต่เพื่อให้เนื้อความนี้แจ่มชัด ขจัดความสงสัยของชนทั้งหลายให้สิ้นไป จึงรับสั่งให้พระอุบาลีเถระดำเนินการชำระอธิกรณ์เรื่องนี้ให้ชัดแจน พระอุบาลีเถระ ได้เชิญท่านผู้เชี่ยวชาญด้านนี้มาร่วมกันพิสูจน์ โดยมีพระเจ้าปเสนทิโกศลเป็นประธาน มีนางวิสาขามหาอุบาสิกา อนาถบิณฑิกเศรษฐีและตระกูลอื่น ๆ เป็นต้น นางวิสาบาให้ขึงผ้าม่านโดยรอบแล้ว เรียกนางภิกษุณีเข้าไป แล้วตรวจดูมือ เท้า สะดือ และลักษณะของครรภ์แล้ว นับวันนับเดือนก็ทราบชัดเจนว่า " นางตั้งครรภ์มาตั้งแต่ก่อนบวช " พระอุบาลีเถระ จึงได้ประกาศตัดสินอธิกรณ์ในท่ามกลางบริษัท ๔ ว่านางภิกษุณียังมีศีลบริสุทธิ์อยู่ แล้วกราบทูลเนื้อความให้พระบรมศาสดาทรงทราบ พระพุทธองค์ได้ตรัสอนุโมทนาสาธุการแก่พระอุบาลีเถระว่า ชำระความได้ถูกต้องยุติธรรม



    <TBODY></TBODY></TABLE>



    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="96%" border=0>


    <CENTER>พระเจ้าปเสนทิโกศลขอบุตรนางภิกษุณีไปเลี้ยง</CENTER>
    ครั้นเวลาล่วงเลยไป ครรภ์ของนางได้โตขึ้นเป็นต้น จนครบกำหนดได้คอลอดบุตรออกมา นางได้เลี้ยงดูอยู่ในสำนักของนางภิกษุณีนั้น วันหนึ่งพระเจ้าปเสนทิโกศล เสด็จผ่านมาได้สดับเสียงทารกร้องในห้องของนางภิกษุณีจึงตรัสถามได้ทราบความโดยตลอดแล้ว ทรงมีพระเมตตาขอรับทารกไปบำรุงเลี้ยงเป็นโอรสบุญธรรม นำไปซุบเลี้ยงประดุจราชกุมาร จึงเรียกว่า " กุมารกัสสปะ"
    เมื่อกุมารกัสสปะเจริญเติบโตขึ้น ได้วิ่งเล่นกับราชกุมารอื่น ๆ ในวัยเดียวกัน เมื่อขัดใจกันขึ้นกุมารกัสสปะก็มักจะใช้มือตีเพื่อน ๆ เหล่านั้นแล้วถูกเพื่อน ๆ ติเตียนว่า " พวกเราถูกเด็กไม่มีพ่อแม่ตี "
    กุมารกัสสปะ เกิดความสงสัย จึงกราบทูลถามพระเจ้าปเสนทิโกศล ซึ่งพระองค์ก็ได้พยายามบ่ายเบี่ยง ปกปิดมา โดยตลอด แม่เทื่อถูกอ้อนวอนรบเร้าหนักเข้า ก็ไม่สามารถจะปกิดได้ จึงตรัสบอกความจริง
    กุมารกัสสปะ ได้ทราบความจริงแล้วรู้สึกสลดในชะตาชีวิตของตน จึงกราบทูลขออนุญาตบวชในพระพุทธศาสดา เมื่อได้รับอนุญาตแล้วได้ไปบวชเป็นสามเณรในสำนักพระบรมศาสดา ศึกษาพระกรรมฐานและพระธรรมวินัยจากพระบรมศาสดาและพระอาจารย์ทั้งหลาย [​IMG]
    จวบจนอายุครบ ๒๐ ปี จึงได้อุปสมบทเป็นพระภิกษุแล้ว กราบทูลลาพระผู้มีพระภาค เพื่อไปทำความเพียร บำเพ็ญสมณธรรมในป่า ได้บรรลุคุณพิเศษเบื้องต้นแล้ว จึงกลับมาศึกษาพระกรรมฐานในระดับสูงยิ่ง ๆ ขึ้นแล้วเข้าไปสู่ป่าอันธวัน บำเพ็ญเพียรอย่างอุกษฏ์ต่อไป ครั้งนั้น ได้มีพรหมชั้นสุทธาวาส ผู้ซึ่งเป็นอดีตชาติเคยเป็นสหายปฏิบัติสมณธรรมร่วมกันกับท่านพระกุมารกัสสปะ ในครั้งพระพุทธเจ้าพระนามว่ากัสสปะได้บรรลุเป็นพระอนาคามีแล้วจุติไปเกิดเป็นพรหมในชั้นสุทธาวาสนั้น เห็นท่านพระกุมารกัสสปะบำเพ็ญเพียรอย่างหนัก ก็ยังไม่บรรลุพระอรหัตผล จึงลงมาช่วยเหลือด้วยการผูกปัญหา ๑๕ ข้อ แนะนำให้ไปกราบทูลถาม พระผู้มีพระภาคให้พระพุทธองค์ทรงพยากรณ์ให้ ท่านได้ปฏิบัติตามคำแนะนำของพระพรหมนั้น




    <TBODY></TBODY>
    </TABLE><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="96%" border=0>


    <CENTER>ปัญหา ๑๕ ข้อนั้นคือ</CENTER>
    ๑. จอมปวก ๒ .กลางคืนเป็นควัน ๓. กลางวันเป็นไฟ ๔. พราหมณ์ ๕. สเมธผู้เป็นศิษย์ ๖. จอบ ๗. เครื่องขุด ๘. ลูกสลัก ๙. อึ่งอ่าง ๑๐. ทาง ๒ แพร่ง ๑๑. กระบอกกรองน้ำ ๑๒. เต่า ๑๓. เขียง ๑๔. ชิ้นเนื้อ ๑๕. นาค

    พระบรมศาสดาทรงสดับปัญหาทั้ง ๑๕ ข้อแล้วตรัสแก้ว่า ดูก่อนภิกษุ คำว่า จอมปลวก นั้นหมายถึงอัตภาพร่างกายนี้ เพราะว่า จอมปลวกเกิดจากตัวปลวกนำดินมาผสมน้ำลายเหนียว ๆ แล้วก่อขึ้นเป็นจอมปลวก ฉันใดอัตภาพร่างกายนี้ ก็เกิดขึ้นเพราะมีพ่อแม่เป็นแดนเกิด ฉันนั้น จอมปลวกมีรูขุมขนทั่วตัวเป็นที่อยู่อาศัย ร่างกายก็มีรูพรุนคือ ทวารทั้ง ๙ และรูขุมขนทั่วตัวเป็นที่อาศัยของหมู่หนอนและเชื่อโรคต่าง ๆ จอมปลวกต้องแตกสลาย แม้ร่างกายก็ต้องเน่าเปลี่อยเช่นกัน [​IMG]
    คำว่า กลางคืนเป็นควัน นั้นหมายถึง วิตก คือการคิดนึก และวิจารณ์ คือการพิจารณาใคร่ครวญถึงการงานที่ตนทำเมื่อตอนกลางวันว่า มีคุณมีโทษอย่างไร และใคร่ครวญถึงวันขึ้นว่าจะทำอะไรต่อไป การคิดใคร่ตครวญอย่างนี้มีอาการดุจควันไฟคุกกรุ่นอยู่
    คำว่า กลางวันเป็นไฟ หมายถึง การทำงานที่คิดไว้ตั้งแต่ตอนกลางคืนต้อรีบเร่ง ร่างกายเหน็ดเหนื่อย ท่านจึงเปรียบเหมือนไฟที่ลุกโพรง
    คำว่า พราหมณ์ หมายถึง พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ที่ท่านเรียกว่าพราหมณ์เพราะพราหมณ์มีประเพณีลอยบาปด้วยการลงอาบน้ำในแม่น้ำคงคา ชำระบาปคือความชั่วออกจากกาย ส่วนที่เปรียบพราหมณ์คือพระพุทธองค์นั้น เพราพระองค์ทรงชำระบาปทั้ง ๗ คือ ราคะ โทสะ โมหะ มานะ สักกายทิฏฐิ วิกิจฉา สีลัพพัตตปรามาส ได้โดยไม่เหลือ
    คำว่า สุเมธ หมายถึง พระภิกษุผู้ยังเป็นสุขะ ผู้มีปัญญาดีกำลังศึกษาในไตรสิกขา
    คำว่า จอบ หมายถึง ปัญญาเป็นเครื่องขุดความโง่ทิ้ง ขุดจนสามารถตัดรากเง่าแห่งความโง่ออกได้หมด
    คำว่า ลูกสลัก หมายถึง อวิชชา ความไม่รู้ เป็นเครื่องกั้นตัว วิชชา คือความรู้ไม่ให้เกิดขึ้น อวิชชา จึงเปรียบดังลูกสลักหรือกลอนประตูที่ไม่ยอมให้ประตูเปิด
    คำว่า อึ่งอ่าง ได้แก่ ความโกรธ เพราะความโกรธมีลักษณะทำให้ใจพองขึ้นเหมือนอึ่งอ่าง
    คำว่า ทาง ๒ แพร่ง ได้แก่ วิกิจฉา ความสงสัยลังเล เหมือนทาง ๒ แพร่งที่คนไม่รู้ว่าจะเดินไปทางไหนดี
    คำว่า กระบอกน้ำ หมายถึง นิวรณ์ ๕ ปประการกามฉันทะ เป็นต้น คนที่มีนิวรณ์ทั้ง ๕ อยู่ในใจ ไม่สามารถจะแสวงหากุศลธรรมให้ติดตัวอยู่ได้เหมือนกระบอกกรองน้ำที่ไม่สามารถจะเก็บน้ำไว้ได้
    คำว่า เต่า หมายถึง อุปทานขันธ์ทั้ง ๕ มี รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ซึ่งเหมือนกับเต่าที่มี ๔ ขา มีหัว ๑ รวมเป็น ๕ ท่านสอนให้ตัดความรักใคร่พอใจใในอุปทานขันธ์นั้นเสีย
    คำว่า เขียง ได้แก่ กามคุณ ๕ คือ รูป เสียง กลิ่น รส โพฏฐัพพะ อันเป็นที่รักใคร่พอใจ ดุจคนวางชิ้นเนื้อไว้บนเขียงแล้วเชือดชำแหละ ฉันนั้น พระพุทธองค์ทรงสอนให้ละกามคุณทั้ง ๕ นั้นเสีย
    คำว่า ชิ้นเนื้อ ได้แก่ นันทิราคะ ความรักใคร่เพลิดเพลินอยู่ในกามคุณทั้งหลาย อันเป็นเหตุให้เกิดความทุกข์ในภายหลัง คำว่า นาค หมายถึง ภิกษุผู้สิ้นกิเลสแล้ว เป็นพระอรหันต์ เว้นจากการทำความชั่วทั้งปวง จึงเนียกว่า นาค แปลว่าผู้ประเสร็ฐ พระกุมารกัสสปะ ส่งกระแสจิตไปตามลำดับแห่งคำพยากรณ์แก้ปัญญานั้นเมื่อจบข้อสุดท้ายท่านก็ได้บรรลุพระอรหัตผล พร้อมด้วยปฏิสัมภิทาทั้งหลาย



    <TBODY></TBODY>
    </TABLE><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="96%" border=0>




    <TBODY></TBODY>
    </TABLE><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="96%" border=0>
    <CENTER>พระเถระต่อว่ามารดา</CENTER>
    ฝ่ายนางภิกษุณีผู้เป็นมารดาของพระกุมารกัสสปะ ตั้งแต่วันที่พระเจ้าปเสนทิโกศลรับเอาบุตรของนางไปชุปเลี้ยงเป็นต้นมา น้ำตาของนางก็ได้ไหลหลั่งเพราะความทุกข์เกิดจากพลัดพลากจากบุตรผู้เป็นที่รัก เป็นเวลานานถึง ๑๒ ปี
    แม้ต่อมาจะทราบว่าบุตรชายของนางมาบวชแล้วก็ตาม แต่นางก็ยังมิได้เห็นหน้าพระลูกชายเลย จนกระทั้งเช้าวันหนึ่ง นางได้พบท่านพระกุมารกัสสปะกำลังออกเดินรับบิณฑบาตอยู่ ด้วยความดีใจสุดจะยับยั่ง นางได้ร้องเรียกขึ้นว่า ลูก " ลูก " แล้ววิ่งเข้าไปหาเพื่อจะสวมกอดพระลูกชาย แต่เพราะว่านางรีบร้อนเกินไป จึงสะดุดล้มลงเสียก่อน พระกุมารกัสสปะคิดว่า " ถ้าหากว่าเราพูดกับมารดาด้วยถ้อยคำอันไพเราะแล้ว นางก็ยิ่งเกิดความสิเนหารักใคร่ในตัวเรามากยิ่งขึ้น และจะเป็นเหตุทำให้นางเสื่อมเสียโอกาสบรรลุอมตธรรมได้ ควรที่เราจะกล่าวคำพูดที่ทำให้นางหมดอาลัยในตัวเราแล้ว นางก็จะได้บรรลุอมตธรรม" ดังนี้แล้ว จึงกล่าวแก่นางว่า " ท่านมัวทำอะไรอยู่ จึงตัดไม่ได้แม้กระทั้งคววามรัก " ถ้อยคำของพระกุมารกัสสปะ ทำให้นางรู้สึกน้อยใจและเสียใจเป็นอย่างยิ่ง นางคิดว่า " เราร้องไห้เพราะคิดถึงลูกชายนานถึง ๑๒ ปี เมื่อพบลูกชายแล้ว กลับถูกลูกชายพูดจาตัดเยื่อใยให้ต้องซ้ำใจอีก " ด้วยความน้อยใจเช่นนี้ นางจึงตัดรักตัดอาลัย หมดความสิเนหาในตัวลูกชายอย่างสิ้นเชิง แล้วนางก็ได้ตั้งใจปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน จนได้บรรลุพระอรหัตผลในวันนั้นนั่นเอง



    <TBODY></TBODY></TABLE><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="96%" border=0>




    <TBODY></TBODY>

    </TABLE>




    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="96%" border=0>
    <CENTER>ได้รับยกย่องว่าแสดงธรรมอย่างวิจิตร</CENTER>
    พระกุมารกัสสปเถระนั้นท่านได้ช่วยเหลือกิจการพระศาสนาเต็มกำลังความสามารถ ท่านมีความสามารถพิเศษในการแสดงธรรมได้อย่างวิจิตรพิษดารทั้งข้ออุปมาอุปไมยเปรียบเทียบให้ผู้ฟังรู้แจ้งเห็นจริง เข้าใจอย่างง่ายดาย
    ครั้งหนึ่ง ท่านได้แสดงธรรมโปรดพระเจ้าปายาสิ ผู้ครองนครเสตัพยะ ผู้เป็นมิจฉาทิฏฐิ มีความเห็นผิดว่าโลกหน้าไม่มี กรรมดรกรรมชั่วไม่มีผล นรกสวรรค์ก็ไม่มี
    เมื่อได้ฟังธรรมจากพระเถระแล้วกลับเป็นสัมมาทิฏฐิ ประกาศตนเป็นอุบาสก นับถือพระรัตนตรัยตลอดพระชนม์ชีพ ด้วยเหตุนี้ พระบรมศาสดา จึงยกย่องท่านในตำแหน่งเอตทักคคะ เป็นผู้เลศกว่าภิกษุทั้งหลาย ในทาง ผู้แสดงธรรมอันวิจิตร ท่านดำรงสังขาร สมควรกาลแล้ว ก็ดับขันธปรินิพพาน....



    <TBODY></TBODY></TABLE>




    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="96%" border=0>
    <CENTER>อดีตชาติตั้งความปรารถนา </CENTER>
    ครั้งนั้นท่านเกิดเป็นบุตรพราหมณ์ตระกูลหนึ่งในเมืองหงสาวดี สมัยพระพุทธเจ้าปทุมุตตระ วันหนึ่งท่านได้มีโอกาสเข้าเฝ้าพระพุทธเจ้าพร้อมกับชาวเมืองเพื่อฟังธรรม เห็นพระพุทธเจ้าตั้งพระสาวกรูปหนึ่งไว้ในตำแหน่งเอตทัคคะในด้านแสดงธรรมได้งดงามด้วยข้ออุปมา ท่านเกิดศรัทธาปรารถนาอย่างเป็นเช่นพระสาวกรูปนั้นบ้าง
    ท่านแสดงศรัทธาให้ปรากฏด้วยการเหมือนกับพระสาวกอื่น คือ ถวายทานแด่พระพุทธเจ้าพร้อมด้วยพระสาวกติดต่อกัน ๗ วัน และวันสุดท้ายท่านได้กราบทูลให้พระพุทธเจ้าทรงทราบถึงความปรารถนาของตน ได้รับพุทธพยากรณ์ว่า จักได้ออกบวชเป็นสาวกของพระพุทธเจ้าโคดมในอีก ๑๐๐,๐๐๐ กัปข้างหน้า จักได้บรรลุอรหัตผล พระพุทธเจ้าโคดมจักตั้งท่านไว้ในตำแหน่งเอตทัคคะด้านแสดงธรรมได้งดงามดด้วยข้ออุปมาแล้ว
    ท่านได้ฟังพระพุทธเจ้าปทุมุตตราตรัสพยากรณ์แล้วเกิดปีติโสมนัสเป็นอย่างยิ่ง และได้ทำบุญอื่น ๆ สนับสนุนอย่าางต่อเนื่องตลอดชีวิต จากชาตินั้นบุญส่งผลให้เวียนว่ายตายเกิดในภพพูมิต่าง ๆ จนมาถึง พุทธกาลสมัยของพระพุทธเจ้ากัสสปะ
    ท่านได้ออกบวชหลังที่พระพุทธเจ้ากัสสปะเสดจดับขันธปรินิพพานได้นานแล้ว ซึ่งตกอยู่ในช่วงปลายพุทธกาล พระศาสนาของพระพุทธเจ้ากัสสปะนั้นใกล้สูญสิ้นไปจากโลก ครั้นท่านแล้วท่านพร้อมกับเพื่อนพระอีก ๑ รูป ( รวมท่านด้วยเป็น ๗ รูป ) ที่มุ่งมั่นปฏิบัติปลดเปลื่องตนให้พ้นจากกิเลส
    ได้ชวนกันละทิ้งหมู่คณะแล้วออกไปปฏิบัติธรรมอยู่ด้วยกันบนยอดเขาลูกหนึ่ง พระเพื่อนที่มาด้วยกัน ๑ รูปหนึ่งได้สำเร็จบรรลุอรหัตผล และอีก ๑ รูปได้สำเร็จบรรลุอนาคามิผล ส่วนอีก ๕ รูปนั้นก็หาได้ท้อถอยไม่ยังคงมุ่งมั่นปฏิบัติธรรมต่อไปจนถึงมรณะภาพ ต่างรูปต่างก็เวียนว่ายตายเกิดในภพภูมิต่าง ๆ ตามผลกรรม จนมาถึงพุทธกาลของพระพุทธเจ้าพระองค์ปัจจุบัน ท่านทั้ง ๕ ได้มาเกิดเป็นบุคคลต่าง ๆ ดังนี้
    ท่านหนึ่งได้มาเกิดเป็นเจ้าชายปุกกุสาติแห่งเมืองตักกสิลา แคว้นธาระ ท่านหนึ่งได้มาเกิดเป็นพระสถิยะ ท่านหนึ่งได้มาเกิดเป็นพระพาหิยทารุจีริยะ ท่านหนึ่งได้มาเกิดเป็นพระทัพพมัลลบุตร และอีกท่านได้มาเกิดเป็นพระกุมารกัสสปะ
    เจ้าชายปุกกุสาติ หนึ่งใน ท่าน เจ้าชายปุกกสาติได้พบพระพุทธเจ้าพระองค์ปัจจุบันก่อน เจ้าชายปุกกสาติได้ฟังธรรมจากองค์สมเด็จพระสัมสัมพุทธเจ้าแล้วท่านก็ได้บรรลุอนาคามิผล และได้กราบทูลขออุปสมบท
    พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสถามว่า " ดูก่อนปุกกสาติ บาตรและผ้าไตรจีวรของเธอมีพร้อมแล้วหรือ "
    เจ้าชายปุกกสาติกราบทูลว่า " ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ทรงประสริฐ บาตรและผ้าไตรจีวรของข้าพระองค์ยังมีไม่ครบ พระเจ้าข้า "
    พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสบอกว่า " ถ้าอย่างนั้น เธอจงแสวงหาบาตรและผ้าไตรจีวรเสียให้พร้อมก่อนเถิด " ในขณะที่ท่านกำลังแสวงหาบาตรและจีวรอยู่นั้น ได้ถูกอมนุษย์ผู้เคยเป็นศัตรูเก่ากันมาแต่อดีตชาติ เข้าสิงร่างแม่โคลูกอ่อนวิ่งเข้าขวิดท่านตาย เช่นเดียวกับพระพาหิยเถระ แล้วท่านไปเกิดเป็นพรหมอนาคามีอยู่ในพรหมโลกชั้นอวิหาอันเป็นชั้นแรกของพรหมโลกชั้นสุทธาวาส ส่วน ท่าน คือ พระสภิยะ พระทัพพมัลลบุตร และพระมหากัสสปะ ได้ออกบวชและบรรลุอรหัตผลในเวลาต่อมา ส่วนพระพาพิยทารุจิยเถระได้บรรลุอรหัตผล ก่อนบวช แต่ยังมิทันได้บวชท่านก็นิพพานเสียก่อน



    <TBODY></TBODY></TABLE>
    ที่มา...http://www.larnbuddhism.com/atatakka/pratera/
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 25 กรกฎาคม 2012
  2. เทพออระฤทธิ์

    เทพออระฤทธิ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 กุมภาพันธ์ 2008
    โพสต์:
    4,573
    กระทู้เรื่องเด่น:
    4
    ค่าพลัง:
    +22,048

แชร์หน้านี้

Loading...