ปัจจุบันเป็นอาหารชั้นเลิศ ล่วงไปเป็นอดีต กลายเป็นอุจจาระปัสสาวะ

ในห้อง 'พุทธศาสนา และ ธรรมะ' ตั้งกระทู้โดย benyapa, 10 ตุลาคม 2010.

  1. benyapa

    benyapa ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 พฤษภาคม 2006
    โพสต์:
    1,088
    ค่าพลัง:
    +5,431
    ขอกราบองค์ครูบาเจ้า หน่อแก้วฟ้า ผู้ทรงธรรมภายนอกและภายใน อันบริสุทธิ์ บริบูรณ์ยิ่ง วันนี้ผมจะขอโอกาสสาธยายธรรม ให้กับผู้สนใจใฝ่ธรรม เพื่อเป็นทางดำเนิน ประพฤติปฏิบัติ เพื่อความถูกต้องดีงาม และทางพ้นทุกข์ ให้กับผู้สนใจใฝ่ธรรมทั้งหลาย อันมีเนื้อความดังนี้<?XML:NAMESPACE PREFIX = O /><O:p></O:p>


    หนอนอยู่กับ ”อุจจาระปัสสาวะ” ย่อมพอใจใน ”อุจจาระปัสสาวะ” เพราะมันไม่รู้ว่านั่นเป็น ”อุจจาระปัสสาวะ” มันรู้เพียงว่านั่นเป็น อาหาร และ นั่นเป็นสถานที่จะเสพกามได้ ต้องการเมื่อไหร่ได้ทันที ตัวมันจึงอ้วนพลีตัวเป็นขน เพราะไม่ต้องทำการงานใดๆ ก็มีพร้อมทุกสิ่ง นี่ล่ะมั้งที่เขาพูดเปรียบเปรยว่า “อ้าย..ขี้เกียจสันหลังยาว ขี้เกียจจนตัวเป็นขน” มีทั้งหนอนตัวผู้ หนอนตัวเมีย นัวเนียเบียดเสียดเต็มไปหมดในกองอุจจาระปัสสาวะนั้นทั้ง ซ้าย ขวา หน้า หลัง ล่าง บน อยากได้กิน อยากได้เสพ ย่อมได้ทันทีโดยไม่ต้องรั้งรอ หนอนย่อมพอใจในสุขที่ได้รับ แต่หารู้ไม่ว่านั่นแหละคือสถานที่กุ่มขังของสัตว์โลก เพราะมันเป็น ภพ ชาติ อย่างยิ่ง ที่สัตว์โลกหลงกันมา เรียกว่า วัฏสงสาร หนอนเปรียบได้ดั่ง “อุปปาทานจิต”ที่เข้าไปยึดถืออุจจาระ และปัสสาวะ ว่าเป็นเช่นอาหาร และเป็นสถานที่อยู่แห่งกาม ส่วน อุจจาระ ปัสสาวะ เปรียบได้ดั่ง “ภพ คือสถานที่เวียนว่ายตายเกิด ย่อมมีอย่างไม่จบสิ้นจนกว่า ๑.) แยกตัวหนอนออกมา ๒.) ชำระล้างคราบสกปรกด้วยน้ำที่สะอาด ๓.) หนอนไม่ดิ้นรนกลับไปหาปัสสาวะอุจจาระ <O:p></O:p>


    ๑.) แยกตัวหนอนออกมา อย่าให้หนอนนั้นกระโจนลงไปในอุจจาระปัสสาวะอีก สภาวะนี้เปรียบได้ดั่งจิตที่เร่าร้อน ใจดีดดิ้นดิ้นรนอย่างที่สุด ต้องดำรงสติมั่นอย่าพลั้งเผลอ ดังนี้..<O:p></O:p>


    ๑.๑ เมื่อตัวหนอนที่เพิ่งพ้นจาก กองอุจจาระปัสสาวะมาใหม่ๆ จิตย่อมดิ้นรน อยากไปเสพอีก แต่ไม่ สามารถทำได้ จิตที่ดิ้นรนในเบื้องต้นเริ่มอ่อนแรงลงไปทีละนิดๆ เปรียบ ได้ดั่งจิต ที่ดิ้นรนอย่างที่สุดในเบื้องต้น ไม่ว่าจะดิ้นรนสักเพียงใด หากเรามีความ เพียรพยายามอย่างที่สุด ที่จะจับองค์บริกรรมภาวนา แนบแน่นไปกับลมหายใจเข้า ออก จนกระทั่งจิต มาผสานเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันได้แล้ว ได้ชื่อว่าจิตปราศจากนิวรณ์ จิตย่อมได้รับความสงบได้บ้าง <O:p></O:p>


    ๑.๒ เมื่อหนอนดิ้นรนอย่างไรก็ไม่สามารถกลับไปหาอุจจาระปัสสาวะได้ ก็หมดแรงดิ้น และ สงบตัวลงอย่างเห็นได้ชัด เปรียบได้ดั่งจิตที่สงบตัวลง สามารถเข้าสู่ความสงบใน สมาธิ หรือในฌานได้เป็นเวลานานๆ ไม่เห็นกิเลสมารบกวนจิตใจ ก็คิดว่าตนเอง สิ้นอาสวกิเลสได้พระนิพพานมาครองแล้ว ไม่ปฏิบัติทำความเพียรเจริญวิปัสสนา ปัญญาต่อเนื่อง ไม่ช้านานทั้งสมาธิ และฌานย่อมเสื่อม ไม่ต่างอะไรกับหินทับ หญ้า หากยกก้อนหินออกเมื่อไร ต้นหญ้าย่อมเจริญงอกงามเขียวขจีดังเดิม ดังนั้น จงอย่านิ่งนอนใจ จงรีบถือโอกาสนี้ตัดไฟให้สิ้นเชื้อเสียโดยเร็ว เจริญวิปัสสนา ปัญญาให้ยิ่ง อย่าได้พอใจยินดีติดสุขอยู่ในฌานเพียงอย่างเดียว <O:p></O:p>


    ๒.) ชำระล้างคราบสกปรกด้วยน้ำที่สะอาด คือ ล้างตัวหนอนด้วยน้ำสะอาดทีละ นิดๆๆวันแล้ววันเล่าจนกระทั่งตัวหนอนนั้นมีความสะอาดหมดจด <O:p></O:p>


    ๒.๑ คำว่า น้ำสะอาด เปรียบได้ดั่ง ทาน ศีล สมาธิ ปัญญา โดยมีพรหมวิหารสี่ คือ เมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา มาเป็นเครื่องหนุนให้มีความบริสุทธิ์สมบูรณ์ยิ่งขึ้น <O:p></O:p>


    ๒.๒ ทาน ทานนั้นย่อมมีความบริสุทธิ์สมบูรณ์ ตั้งแต่คิดจะให้ กำลังจะให้ และหลังให้ เมื่อ ทรัพย์นั้นบริสุทธิ์ ผู้รับบริสุทธิ์ ยิ่งเป็นเนื้อนาบุญของโลก เช่น พระอริยเจ้าทั้งหลาย ย่อม ได้รับอานิสงส์ผลบุญเป็นทวีคูณ<O:p></O:p>


    ๒.๓ ศีล ก็ย่อมมีความมั่นคงในศีล มีศีลสังวร คือ มีความสำรวมระวัง ไม่ว่าจะเป็น ศีล๕ ศีล๘ ศีล๑๐ และศีล๒๒๗ ทั้ง “ทาน” และ “ศีล” ย่อมกลับมาหนุน “สมาธิ”ให้มีความสงบตั้งมั่น ดีงาม เมื่อเราหมั่นรักษาศีลจนเป็นปกติศีล ศีลนั้นย่อมกลับมารักษาตน ให้มีกุศลจิต และ กุศลกรรม เป็นไปด้วยความถูกต้องดีงาม ทางกาย วาจา ใจ<O:p></O:p>


    ๒.๔ สมาธิ ต้องเป็นสัมมาสมาธิมีความตั้งมั่นดีงาม ไม่ติดสุขอยู่ในฌาน หรือเอาแต่สุขใน สมาธิแบบจมแช่ในอารมณ์ตลอดเวลา โดยไม่คิดหาทางออก ไปสู่ขั้นปัญญาแล้ว สัมมาสมาธิแท้ๆย่อมตั้งอยู่ไม่ได้ ย่อมแปรเปลี่ยนเป็นมิจฉาสมาธิได้เช่นกัน ดังนั้นจงอย่า ประมาทรีบถอยจิตออกมาตั้งอยู่ในป่ามหานครกายแห่งตน ดำรงสติให้มั่นคงบนฐานของ สมาธินั่นเอง <O:p></O:p>


    <O:p></O:p>


    นิวรณ์๕ คือเครื่องขวางกั้นแห่งจิต ไม่ให้มีความสงบตั้งมั่นในสมาธิ ได้แก่ ๑.) กาม ฉันทะ คือความยินดีพอใจ เพลิดเพลินในกามคุณอารมณ์ ได้แก่ ความยินดี พอใจใน รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ๒.) พยาปาทะ คือ ความโกรธ ความพยาบาท ความไม่พอใจ ขัด เคืองใจ ๓.) ถีนมิทธะ คือความง่วงเหงาหาวนอน เซื่องซึม เกิดจาก การปรุงแต่งของจิต ทำให้เกิดความย่อท้อ เบื่อหน่าย ไม่มีกำลังที่จะทำความเพียร ต่อไป รวมทั้งความ เมื่อยล้า อ่อนเพลียของร่างกาย หรือจิตใจ เนื่องจากตรากตรำ ทำงานมามาก หรือขาดการ พักผ่อนที่ เพียงพอ หรือการรับประทานอาหารที่มากเกินไป ๔.) .อุทธัจจกุกกุจจะ คือ ความฟุ้งซ่านรำคาญใจ เลื่อนลอยไปเรื่องนั้นที เรื่องนี้ที เกิดความกังวลใจ อันเกิดจาก อกุศลกรรมที่ได้ทำไว้ในอดีต ๕.) วิจิกิจฉา คือความลังเลสงสัย ไม่แน่ใจ จิตจึงไม่อาจตั้ง มั่นในอารมณ์ได้ อย่างเต็มที่ สมาธิจึงไม่เกิดขึ้น <O:p></O:p>


    ๒.๕ ปัญญา เมื่อสัมมาสมาธิมีความตั้งมั่นดีงามแล้ว ย่อมประกอบด้วยสติแต่ไม่มีกำลังมากพอ ที่จะเดินสติปัญญาพิจารณา กาย เวทนา จิต ธรรม จึงต้องเพียรให้มีสติ คือสัมมาสติ เพื่อให้ เกิดปัญญา ยิ่งมีสติมากขึ้นเท่าไหร่ปัญญาย่อมเกิดขึ้นมากขึ้นเท่านั้น หรือเราจะเรียกอีกอย่าง หนึ่งว่า ทาน ศีล สมาธิ ปัญญา เป็นน้ำดับไฟไม่ให้เผ่ากายใจตนแล้ว ยังได้ชื่อว่าไม่ไปเผ่า กายใจผู้อื่นด้วย <O:p></O:p>


    ๓.) หนอนไม่ดิ้นรนกลับไปหาปัสสาวะอุจจาระ เหตุเพราะว่าตัวหนอนนั้นมีความ สะอาดเกลี้ยงเกลา ไม่มีอุจจาระปัสสาวะหุ้มห่อตัวเหมือนดังแต่ก่อน จึงมีความสบายเนื้อ สบายตัว จิตจึงมีความเย็นกายเย็นใจ เรียกได้ว่าแม้จะปล่อยให้หนอนตัวนั้นเป็นอิสระ หนอนย่อมปฏิเสธที่จะลงไปสู่อุจจาระปัสสาวะอีก เพราะได้น้ำสะอาดมาชำระล้างกายและ ใจ คือ ทาน ศีล สมาธิ ปัญญาแล้ว ย่อมมีปัญญารู้แจ้งตามความเป็นจริง แม้จะเอาช้างมาฉุด ให้ลงไปอีก ก็ไม่ยอมลงเด็ดขาดแม้จะตายก็ยอม เพราะได้เห็นโทษของมันอย่างเต็มจิตใจ แล้ว ว่าตราบใดที่ใจเข้าไปยึดถืออุจจาระปัสสาวะนั้นอีก ย่อมติดอยู่ในทุคติภพ วนเวียนอยู่ ในอบายภูมิ๔ อยู่ตลอดไป ไม่มีวันพ้นบ่วงแห่งมารนี้ไปได้ <O:p></O:p>


    อุจจาระปัสสาวะ ที่หนอนชอบเข้าไปเสวยอารมณ์สุขแห่งกาม เปรียบได้อีกอย่างหนึ่ง คือ “นาม รูปหรือขันธ์ห้า” อันได้แก่ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ที่มากระทบแล้วเข้าไปยึดถือว่า สิ่งนั้นเป็นสุขและสิ่งนั้น เป็นทุกข์ แท้ที่จริงแล้ว เป็นแต่เพียงอาการกระเพื่อมแห่งจิตเท่านั้น อันเป็นสภาพของนามรูป เกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไปเป็นธรรมดาๆเท่านั้น ไม่มีอะไรยิ่งไปกว่านั้น ไม่มีอะไรจีรังยั่งยืน ไม่มีคุณค่าใดๆอันควรแก่การยึดถือ จิตใจก็มีแต่ความหน่าย คลายตัวจากเครื่องร้อยรัดจนแทบจะขยับตัวไม่ได้ บัดนี้โซ่ตรวนคือขันธ์ห้าได้พังพินาศไปแล้ว จิตย่อมได้รับความผาสุกร่มเย็นทั้งกายและใจ ทำมาได้ถึงตรงนี้แล้ว ก็ไม่จำเป็นต้องไปเรียกหาพระนิพพานที่ไหน ย่อมปรากฏชัดแจงในกายใจเจ้าของ <O:p></O:p>


    คนที่มีความพอใจ และไม่พอใจ ก็ได้ชื่อว่าเป็นผู้เสพ ”เวทนา”นั้นแล้วไม่ต่างอะไรกับหนอนที่มีความพอใจในอุจจาระปัสสาวะ ย่อมเป็นผู้ที่อ้วนพลีด้วย กิเลส ตัณหา อุปาทาน เต็มหัวจิตหัวใจ อันอุดมไปด้วย ภพ ชาติ ชรา มรณะ... จึงไม่เห็นภัยในวัฏสงสารนี้ได้เลย มารยาของกิเลสมารทั้งหลาย ที่เป็นเงื่อนปมจึงไม่สามารถ คลายเงื่อนปมนั้นได้ตราบเท่าทุกวันนี้ <O:p></O:p>


    อุจจาระ ปัสสาวะ อันเป็นของเหน่าเหม็น เป็นของที่ร่างกายเขาทิ้งแล้ว หากเป็นคนที่มีปกติในความเพียรด้วยสติอย่างเหนียวแน่น ด้วยจิตที่เป็นปกติเป็นกลาง วางเฉย(อุเบกขา) ได้ในปัจจุบันแล้ว ย่อมไม่เข้าไปยึดถือ เพราะอุจจาระ ปัสสาวะได้ชื่อว่าเป็นของที่ได้ล่วงจากปัจจุบันกลายเป็นอดีต(สัญญา) เป็นขยะแห่งความทุกข์เป็นขยะแห่งภพชาติ คอยส่งกลิ่นเหน่าเหม็นก่อความยุ่งยากรำคาญใจอยู่ตลอดเวลา พิษสงของมันรุ่นแรงมากไม่ต้องเอามือเข้าไปแตะ หรืออยู่ใกล้ๆหรอก แค่เอ่ยถึงชื่อเท่านั้น ทั้งรูป ทั้งกลิ่น ย่อมปรากฏชัดในมโนทวารทันที <O:p></O:p>


    อ่านแล้วก็หมั่นนำไปทบทวน ประพฤติปฏิบัติที่กายใจของตน มิใช่กายใจของผู้อื่น จะให้ผู้อื่นเขาปฏิบัติต่อเราด้วยความถูกต้องดีงาม ตามความปรารถนาของเราเสมอไปย่อมไม่ได้ แต่เราสามารถปฏิบัติให้รู้เท่าทันมันได้แล้วจะได้ไม่ต้องทุกข์ ทนทุกข์ ต่อภัยแห่งการเกิดอีกต่อไป <O:p></O:p>

    ที่มา:
     

แชร์หน้านี้

Loading...