ปฏิบัติธรรมต้องมีการผ่อนสั้นผ่อนยาว

ในห้อง 'หลวงพ่อฤๅษีลิงดำ' ตั้งกระทู้โดย bank8, 11 เมษายน 2015.

  1. bank8

    bank8 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 มีนาคม 2009
    โพสต์:
    467
    ค่าพลัง:
    +3,216
    นักปฏิบัติถ้าเขาฉลาดละก็เรื่องสมาธิไม่เป็นของยาก โดยเฉพาะอานาปานุสสตินี่ก็ต้องใช้เวลาพูดหลายคืนหน่อย เพราะว่าเวลาพูดแต่ละคืนมีจำกัด ถ้าอารมณ์จิตซ่านจริงๆ ก็มีวิธีปฏิบัติอยู่ 2 อย่าง

    ถ้าซ่านจริงๆ บังคับไม่ไหวจริงๆ ให้เลิกเสียอย่างหนึ่ง อย่าฝืนทำต่อไปจิตมันจะดิ้นรน
    ถ้าจิตมันซ่านเราบังคับไม่ได้มันจะกลุ้ม ความกลุ้มเกิด ความกระวนกระวายปรากฏ ความทุกข์กายไม่สบายใจปรากฏ

    ดีไม่ดี ถ้าคิดมากไปก็เลยกลายเป็นโรคเส้นประสาท ไอ้ที่ทำกรรมฐานแล้วคลั่งขาดสติสัมปชัญญะ เพราะไม่รู้จักการประมาณตัวเป็นสำคัญนี่ วิธีหนึ่งถ้ามันซ่านจริงๆ พระพุทธเจ้าให้เลิกเสีย

    แล้วมีอีกวิธีหนึ่งพระพุทธเจ้าแนะนำให้ใช้การยืดหยุ่น การยืดหยุ่นเป็นของสำคัญ อันนี้เคยปฏิบัติมาแล้วทั้ง 2 อย่าง มันมีผลจริงๆ แต่ว่าวิธีที่ 2 นี้เป็นวิธีที่อาตมาชอบที่สุด แต่ว่าทั้ง 2 อย่างนี้เป็นวิธีของพระพุทธเจ้าที่จะต้องการอย่างไหนก็ได้
    วิธีที่ 2 พระพุทธเจ้าทรงแนะนำไว้ว่าถ้าบังคับไม่หยุดจริงๆ มันอยากจะคิดอยากจะซ่าน เราอย่าคิดว่าเราจะชนะมันได้ เวลามันซ่านจริงๆ บังคับไม่อยู่แน่ๆ เว้นไว้แต่เพียงว่าถ้าเราเป็นพระอริยะแล้วขึ้นไปถึงอรหัตผลหรือว่าเป็นผู้ทรงฌานได้จริงๆ ก็บังคับได้ ชั่วระยะเวลา ยามว่างเข้าเวลาปกติก็ดิ้นรนตึงตังๆ ถ้าเป็นพระอริยเจ้าตั้งแต่พระโสดาบันไปมันยังไม่หมดได้ แต่ตั้งอยู่ในอารมณ์ของกุศล อกุศลไม่มี ถ้าถึงพระอรหันต์แล้วสบายมาก วันทั้งวันสบาย น้อมอยู่ในกุศลตลอดเวลา มีแต่ความเยือกเย็นของจิต

    หวนกลับมาวิธีที่ 2 ถ้ามันซ่านจริงๆ พระพุทธเจ้าบอกให้ปล่อยให้มันคิดไปส่งเดชเลยเพราะบังคับไม่อยู่ มันอยากจะคิดอะไรก็เชิญคิดตามอัธยาศัยอย่าขัดคอมัน แต่ตั้งใจไว้ว่ามันเลิกคิดเมื่อไรจะเริ่มต้นกันใหม่

    วิธีนี้เป็นวิธีที่สำคัญมาก เหมือนคนที่บังคับม้าพยศ ถ้าม้ามันพยศมันยังมีกำลังอยู่ไม่สามารถจะบังคับให้มันเข้าทางได้ ท่านบอกให้กอดคอถือแส้เข้าไว้มันจะไปไหนให้มันวิ่ง ปล่อยให้มันวิ่งให้มันหมดฤทธิ์ ในเมื่อมันหมดฤทธิ์ที่มันจะวิ่งไปได้แล้ว กำลังมันก็น้อยเราจะบังคับให้มันวิ่งไปสบาย ไปขวาไปหน้าไปหลังก็ได้ เพราะหมดแรงพยศ

    ข้อนี้อุปมาฉันใด จิตของเราก็เหมือนกัน ถ้ามันจะฟุ้งบังคับไม่อยู่ก็เชิญมันคิดตามอัธยาศัย

    ลองดูนะ อาตมาลองดูแล้ว ลองดูหลายครั้งเพราะว่าตอนระยะแรกๆ คุมมันไม่อยู่เหมือนกัน ก็เลยปล่อยให้มันคิดไปตามที่ท่านแนะนำ มันก็ไม่เกิน 15 นาทีถึง 20นาที มันเลิกคิดปล่อยไปตามอัธยาศัยจะเข้าบ้านเข้าช่องใครก็ช่างหัวมัน พอมันเลิกคิดก็กลับมาจับอารมณ์ใหม่ คราวนี้มาจับอารมณ์เพียงวินาทีหรือ 2 วินาที อารมณ์มันจะหยุดซ่านทันที เพราะมันเหนื่อย อารมณ์จะดิ่งเป็นฌานนานแสนนานบางทีชั่วโมงหรือครึ่งชั่วโมงยังไม่ถอน อารมณ์จะเงียบจริงๆ จะทรงเป็นสมาธิจริงๆ
    วิธีทั้ง 2 ประการขอบรรดาพุทธบริษัททั้งหลายชายหญิงและพระภิกษุสามเณร จงพยายามกำหนดเอาชนะจิตด้วยวิธีนี้
    คือว่าสู้มันไม่ไหวจริงๆ ปล่อยมันคิด ถ้ามันเลิกคิดแล้วดึงมันกลับเข้ามาสู่ลมหายใจเข้าออก ภาวนาก็ได้ อันนี้จิตจะแนบสนิทเป็นฌานได้อย่างดีมาก

    อันนี้คำแนะนำขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าต้องพยายามประพฤติปฏิบัติตลอดเวลา เพราะเป็นวิธีเดียวกับที่องค์สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าปฏิบัติมาแล้วก็มีผล ตลอดจนท่านอริยชนทั้หมดคือพระอริยเจ้าที่บรรลุมาแล้วก็ปฏิบัติเช่นเดียวกัน ตามคำแนะนำขององค์สมเด็จพระพิชิตมารก็มีผลเช่นเดียวกัน ไม่ควรจะทอดทิ้งเสีย ควรจะยึดถือเอาไว้ปฏิบัติ เพราะอานาปานุสสติกรรมฐานเป็นตัวคุมอารมณ์จิตไม่ให้ฟุ้งซ่าน ตัวนี้เป็นกรรมฐานสำคัญมาก

    ที่มา หนังสือธรมมปฏิบัติ เล่มที่ 7 หน้าที่75-77 โดย หลวงพ่อพระราชพรหมยาน วัดท่าซุง
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 16 พฤษภาคม 2015
  2. a5g1aeka

    a5g1aeka เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    728
    ค่าพลัง:
    +1,579
    กราบอนุโมทนาเห็นด้วยอย่างยิ่งครับ ขอบคุณจขกท.ครับ
     
  3. boy thanawat

    boy thanawat เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 สิงหาคม 2014
    โพสต์:
    87
    ค่าพลัง:
    +288
    สาธุครับ กราบนมัสหลวงพ่อพระราชพรหมยานครับ
     
  4. พนาวรรณ

    พนาวรรณ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 มิถุนายน 2011
    โพสต์:
    1,096
    ค่าพลัง:
    +767
    สาธุ ครับ
     

แชร์หน้านี้

Loading...