บุรุษผู้แข็งแรง

ในห้อง 'พุทธศาสนา และ ธรรมะ' ตั้งกระทู้โดย sithiphong, 26 กุมภาพันธ์ 2006.

  1. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,949
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=4 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD class=headline vAlign=baseline align=left>บุรุษผู้แข็งแรง</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD bgColor=#cccccc height=1>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=4 border=0><TBODY><TR><TD class=body vAlign=baseline align=left>โดย ผู้จัดการออนไลน์</TD><TD class=date vAlign=baseline align=left>17 กรกฎาคม 2545 10:03 น.</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=4 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD vAlign=center align=middle>หลวงปู่พุทธะอิสระ
    http://www.manager.co.th/Dhamma/viewnews.aspx?NewsID=1707664269208
    [​IMG]
    </TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=4 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD class=body vAlign=top align=middle><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD class=body vAlign=baseline align=left><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 align=right border=0><TBODY><TR><TD width=5>[​IMG]</TD><TD vAlign=top align=middle><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width=137 border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle width=137>[​IMG] </TD></TR><TR><TD class=Image vAlign=baseline align=left>บุรุษผู้แข็งแรง</TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR><TR><TD vAlign=top align=middle height=5>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE> หลวงปู่นั่งสวดมนต์อยู่
    หลวงปู่ระลึกถึงพวกเรา
    นึกถึงโลกและระลึกถึงพระพุทธเจ้า
    ว่า พระพุทธเจ้าทั้งหลายที่อุบัติขึ้น
    พระองค์ทรงอุบัติขึ้น เพื่อเทศนาสั่งสอน
    และก็ดำรัสตรัสสิ่งที่
    ทำให้คนได้รับประโยชน์มากที่สุด
    และก็ประหยัดสูง ได้สาระมากที่สุด


    พระองค์ทรงเห็นว่าบุคคลถ้ายังหลงตกอยู่ในราคะ โทสะ โมหะยังหลงตกอยู่ในอำนาจของความชอบใจไม่ชอบใจยังหลงตกอยู่ ในความเหนื่อยยากสลำบาก ข้นแค้นแสนสาหัส คนคนนั้นก็เหมือน กับบุคคลซึ่งไร้ประโยชน์จากการถือชาติกำเนิด การเกิดขึ้นมาเป็นคน สัตว์ตนนั้นก็ไม่มีอันที่จะต้องพิจารณา ภาวนา หรือบริหารกิจการใดๆ ที่มีอยู่เพราะความหลงชนิดนั้นย่อมยังมาซึ่งความเป็นทาส ความหลงในความเจ็บป่วยก็ดี ความอึดอัดขัดเคืองก็ดีความลำบากลำบนทางกาย วาจา ใจก็ดีและความยึดถือในสรรพสิ่งนั้นๆ ที่กำลังมีสภาวะ เป็นอยู่ในปัจจุบัน จนทำให้ร่างกายสจิตใจ ความเป็นอยู่และความรู้สึกนึกคิด เศร้าหมอง ด้อยลงและขาดการพัฒนา

    พูดง่ายๆ สั้นๆ และเพื่อเข้าใจก็คือ คนที่หลงอยู่ในไตรวัฏ ได้แก่ การเกิด แก่ เจ็บ และตาย จิตใจยังกระเสือกกระสน ดิ้นรน ขวนขวาย ถ้าชีวิตความเป็นอยู่ หลงอยู่ในสิ่งเหล่านี้แล้วละก็ ย่อมยังมาซึ่งประโยชน์น้อย ประหยัดน้อย ย่อมยังมาซึ่งความเสื่อมเสียประโยชน์สูง ไม่มีความประหยัดสุด และก็ย่อมนำมาซึ่งความสำเร็จ อันน้อย ย่อมนำมาซึ่งความสุขอันน้อย และย่อมยังมาซึ่งความฉิบหาย อันมากเพราะการที่บุคคลทั้งหลายพากันมาเอาจิตใจมาจดจ่อ และหลงติดกับความเหนื่อยของกาย ความบีบคั้นทางกิริยา อาการ ความทรมานทางอารมณ์สย่อมทำให้คนทั้งหลายเหล่านั้นไม่มีปัญญาคิดใคร่ครวญแก้ไขปัญหา ในที่สุดก็ต้องตกเป็นทาสของสิ่งเหล่านั้น

    เมื่อตกเป็นทาสแล้ว จิตใจที่คิดจะมาบริหาร จิตใจที่คิด จะทำการพัฒนาสรรพสิ่งต่างๆ ที่จะเกิดขึ้นใหม่ๆ ย่อมลดน้อยลง นั่นคือที่นำมาแห่งประโยชน์น้อย ประหยัดน้อย ความฉิบหายมาก ความเจริญรุ่งเรืองก็น้อยลง ความสูญเสียความแตกทำลายย่อมมีเกิดมากขึ้น เพราะฉะนั้น หลวงปู่จึงมานึกถึงพวกเราว่า ธรรมชาติแห่งพุทธะธรรมชาติแห่งสภาวะความเป็นอิสระที่สมบูรณ์ หลวงปู่ได้แสดงแล้วทั้งเบื้องต้น ท่ามกลาง และก็ที่สุด โดยเฉพาะการมีชีวิต อยู่ในโลกอย่างเป็นผู้ที่พัฒนา โดยเฉพาะการไม่ตกเป็นทาสของความ บีบคั้นทางกาย วาจา และก็ใจ

    หลวงปู่มีคำถามสถามพวกเราอยู่ครั้งหนึ่ง ถ้าจำไม่ผิด ว่า ถ้าหลวงปู่ตายลง พวกเราจะทำอย่างไรกันในขณะที่มีงานทำ ทำไมหลวงปู่จึงถามอย่างนี้? วันนี้พวกเราทั้งหลายจะได้คำตอบที่สมบูรณ์ที่สุดก็คือว่า ถ้าหลวงปู่ตายลงในขณะที่พวกเรากำลังทำงานอยู่ การบีบคั้นทางกาย วาจา และก็กิริยาอาการ ย่อมเข้ามาแทรก ย่อมเข้ามาเบียดบังพวกเรา และเมื่อเข้ามาบีบคั้นอย่างนั้น เราจะทำประโยชน์สูงและให้มันประหยัดสุด ในขณะที่โดนบีบคั้นทางกิริยา อาการ วาจา จิตใจ และร่างกายได้อย่างนั้นหรือไม่ เราจะทำให้มันได้ประโยชน์สูงสุด ในท่ามกลางความบีบคั้นนั้นๆ ได้หรือเปล่า ก็มีคำตอบออกมาแล้วว่า พวกเราทำกันไม่ได้ ดูตัวอย่างเช่นวันนี้เป็นต้น

    หลวงปู่สังเกตพวกท่านทุกคนมีความเหนื่อยหน่าย จิตใจ ก็ไม่สมบูรณ์ มีความอ่อนเพลีย เหตุเพราะเราปล่อยให้พลังอำนาจความอิสระในใจของเรา ตกเป็นทาสของกิริยาอาการ ตกเป็นทาสอำนาจของความไม่อิสระ ไม่สมบูรณ์ด้วยความเป็นอยู่ ที่รู้สึกคับแค้น ขัดเคือง การบริหารงานปกติก็ลดน้อยถดถอยลงไป การทำงานที่จะเต็มเปี่ยมไปด้วยความดีพร้อม ประเสริฐงามเลิศ ซึ่งคนปกติธรรมดา สามัญมีร่างกายอันแข็งแรง มีจิตใจอันแข็งแรงที่จะพึงได้พึงถึงก็ไม่มี ก็เพราะเราเป็นผู้มีจิตใจที่ไม่แข็งแรงเสียแล้ว มีความเป็นอยู่ที่ไม่แข็งแรงเสียแล้ว ชีวิตความรู้สึกนึกคิดก็ไม่แข็งแรงเสียแล้ว เพราะโดนความเศร้าโศก ความเสียใจ ความเจ็บป่วย ความเหนื่อยหน่าย ความอาลัยอาวรณ์ ความทรมานทางกาย วาจา และก็ใจ ทำให้ไม่ แข็งแรง

    ทีนี้เมื่อมันไม่แข็งแรง การทำงานเป็นปกติแห่งบุคคลผู้แข็งแรง ก็ทำไม่ได้เมื่อทำไม่ได้แล้วเราลองมานึกดูซิว่าประโยชน์อันใด มันจะเกิดกับบุคคลที่มีกายอันไม่แข็งแรง มีวาจาอันไม่แข็งแรง มีการกระทำอันไม่แข็งแรง และมีจิตใจอันไม่แข็งแรง ความสำเร็จอันใดจะเกิดกับคนที่เป็นคนขี้โรคทางกาย วาจา และก็ใจ ความประเสริฐดีเลิศงามพร้อมอันใด มันจะเกิดขึ้นกับบุคคลที่มีการกระทำ อันไม่แข็งแรง และไม่สมบูรณ์นั้นๆ ได้ เมื่อมันเกิดความไม่สมดุลกัน ระหว่างการกระทำและชีวิตความเป็นอยู่นี่แหละ จึงเป็นที่มาของคำสอนแห่งศาสดาที่พระองค์ต้องทำหน้าที่ฝึกสอนเราว่า พวกเธอทั้งหลาย ถ้าเธอยังเอาจิตใจหมกมุ่น หลงใหลงมงายอยู่ใน ความรัก ความโลภ ความโกรธ ความหลง ก็เท่ากับว่า เธอกำลังทำจิตใจ ร่างกาย กิริยาอาการ วาจา ของเธอไม่แข็งแรง

    เมื่อเราทำจิตใจ ร่างกาย กิริยาอาการ วาจา ของเรา ไม่แข็งแรงซะแล้ว เป็นไปไม่ได้ที่ประโยชน์แห่งบุรุษผู้แข็งแรงจะพึงได้ พึงถึง เป็นไปไม่ได้ที่เราผู้ไม่แข็งแรงทางกิริยา ทางวาจา ใจจะพึงได้ พึงถึง ในสิ่งที่ตนกระทำ พูด คิด เป็นไปไม่ได้ที่ผู้ไม่แข็งแรงด้วยจิตใจ จะพึงได้พึงถึง ในประโยชน์ที่พึงได้พึงถึงของผู้ที่มีจิตอันแข็งแรงแล้ว

    เมื่อความเป็นประโยชน์อันน้อยนิดเกิดขึ้นแก่สัตว์โลก พระศาสดาทุกพระองค์ในโลกจึงต้องอุบัติขึ้นมา เพื่อสอนให้พวกเราทั้งหลาย สละ วาง ปล่อย เว้น ในสิ่งที่มันจะทำให้พวกเราไม่แข็งแรง และเพื่อทำให้เกิดการพัฒนากาย วาจา ใจให้เป็นประโยชน์ทั้งหลาย ให้เกิดขึ้นมากที่สุด เท่าที่มนุษย์ผู้แข็งแรงจักพึงทำได้

    เราจะเห็นว่าหลวงปู่ได้เพียรพยายาม ที่จักทำให้ดูและเป็นครูให้เห็น สุดที่สติปัญญา ความรู้ความสามารถที่หลวงปู่จะสอนได้ในเบื้องต้น ท่ามกลาง และที่สุด ในเรื่องของธรรมชาติพื้นๆ ของชีวิต ให้อิสระ แม้แต่เวลาหลวงปู่ป่วยไม่สบาย หลวงปู่ก็พัฒนางานของหลวงปู่ได้ เหมือนกับบุคคลปกติที่แข็งแรง เวลาหลวงปู่มีกิริยา อาการ ร่างกายไม่แข็งแรง หลวงปู่ก็ทำงานเหมือนกับคนปกติที่แข็งแรงดี เวลาหลวงปู่มีวาจาที่ป่วย ไม่สบาย และไม่แข็งแรง แต่หลวงปู่ก็พูด และแสดงออก เหมือนกับคนที่แข็งแรงพูดและแสดงออก และหลวงปู่ได้ประโยชน์พอๆ กับคนที่แข็งแรงพูดและแสดงออก ความไม่แข็งแรง เพราะร่างกายมันบีบคั้น แต่หลวงปู่ก็พัฒนาทำให้เกิดผลงาน ทำให้เกิดงาน เปรียบประดุจดังผู้แข็งแรงทำได้ทำถึง

    แต่มาดูพวกเราซิ เหมือนกับคนพิการ กะปลกกะเปลี้ย เฉื่อยชา ล่าช้า เซื่องซึม หลวงปู่จึงต้องมีคำถามว่าถ้าหลวงปู่ตาย พวกเราจะทำงานกันได้อย่างไร? เพราะพวกเราทำตนเป็นบุคคลผู้ไม่แข็งแรงทั้งทางกาย วาจา และใจ ปล่อยให้ตนตกเป็นทาสของอารมณ์บีบคั้น ทางกิริยาอาการ ทั้งทางกาย วาจา และก็ใจ งาน อันจะพึงได้พึงถึงแห่งบุรุษผู้แข็งแรงก็ไม่ปรากฏ และสิ่งที่ฉิบหาย สิ่งที่สูญเสีย สิ่งที่โดนทำลาย อันจะพึงเกิดขึ้นแก่บุรุษผู้ไม่แข็งแรงก็จักปรากฏแก่เรา แล้วมันจะมีประโยชน์อะไรกัน กับการที่ถือกำเนิด เกิดเป็นคนกับเขาชาติหนึ่ง เราจะปล่อยให้อารมณ์ของตัวเอง ตกเป็นทาสของความไม่แข็งแรงที่เกิดจากความบีบคั้น ทางกาย ทาง ความเป็นอยู่ ทางอารมณ์ทั้งหลาย ทางความรู้สึกนึกคิด และทางอาการเจ็บป่วย ทางการร้อนมาก หนาวมาก เย็นมาก หิวมาก กระหายมาก อยากมาก อยู่เช่นนี้กระนั้นหรือ

    ถ้าเราเผลอสติ ปล่อยให้อารมณ์ของตัวเองตกเป็นทาสของความร้อน ความหิว ความกระหาย ความหนาว ความเจ็บ ความป่วย ความอาฆาตพยาบาทจองเวร ความละโมบโลภมาก มันจะมีประโยชน์อันใดกัน สิ่งเลวร้ายเหล่านั้น มันได้ให้ประโยชน์อันใดกับเรา ถ้าเรายังปล่อยตัวปล่อยใจ ยอมให้ความเลวร้ายมาเป็น นายเราเราก็จะกลายเป็นบุรุษผู้อ่อนแอประโยชน์ทั้งหลายแห่งบุรุษ ผู้แข็งแรงก็จะไม่เกิดขึ้นแก่เราเลย เพราะฉะนั้น การที่หลวงปู่ถามแต่ เบื้องต้นว่า ถ้าหลวงปู่ตายพวกเราจะทำอย่างไรกัน มันมีความหมาย อันลึกซึ้ง ถ้าลองคิดดู

    วันนี้เป็นวันปีใหม่ เป็นวันที่หลวงปู่สมควรที่จะให้คำตอบ ที่ถูกต้องแก่เราเสียที เพราะมันประจวบเหมาะกับความเป็นปัจจุบัน-ธรรม ที่พวกเราทั้งหลายแสดงตนเป็นบุคคลผู้อ่อนแอ อ่อนแอทั้งทางกาย อ่อนแอ ทั้งความรู้สึกนึกคิด อ่อนแอทั้งวาจา และอ่อนแอทั้งจิตใจ ยอมทำตนเป็นบุคคลผู้ไม่แข็งแรง ประโยชน์อันพึงได้พึงถึงที่จะเกิดขึ้นกับบุคคลผู้ไม่แข็งแรง ก็ย่อมน้อยนิดตามไปด้วย เราไม่เสียดายหรือว่าทรัพยากรแห่งร่างกาย จิตใจ สภาวะความเป็นอยู่ และลมหายใจเข้าออกของเรานั้น มันจะสูญเสีย ไปกับการที่เรามีชีวิตอยู่อย่างไม่แข็งแรง สมรรถนะและศักยภาพของร่างกายที่มีอยู่มากมาย เราจักปล่อยให้หมดไปอย่างสิ้นเปลืองโดยเปล่าประโยชน์ กระนั้นหรือ ทำไมเราไม่คิดใช้สมรรรถนะ และศักยภาพของร่างกายสร้างสรรค์สาระให้แก่ชีวิตนี้ โดยเพียรพยายามทำตนเป็นบุรุษผู้ แข็งแรง

    แล้วบุรุษผู้แข็งแรงมีชีวิตอยู่อย่างไร?

    บุรุษผู้แข็งแรงมีชีวิตอยู่ในโลกอย่างอิสระสมบูรณ์ เขาไม่พาตัวเองเข้าไปตกเป็นทาสของความร้อนนัก หิวนัก กระหายนัก หนาวนัก เจ็บนัก ป่วยนัก กระวนกระวายนัก ทุกข์นัก โศกนัก เสียใจนัก เศร้าหมองนัก ดีใจมากนัก เขาไม่เอาอารมณ์ดังกล่าวนี้ ใส่จิตของตัวเอง ให้ตกเป็นทาสกับสรรพสิ่งเหล่านี้ เพราะเขารู้ว่า เมื่อตกเป็นทาสแล้ว เขาย่อมไม่แข็งแรง

    ยกตัวอย่างเช่น ถ้าเราปล่อยกายไปตกเป็นทาสของความ บีบคั้นทางเวทนา ที่เกิดจากการเจ็บป่วยไข้ไม่สบายทางกาย แสดงว่า กายเราไม่แข็งแรง การบริหาร งานที่จะเกิดขึ้น ซึ่งได้จากอำนาจแห่ง กายก็ไม่เกิด หรือเกิดก็มีประสิทธิภาพน้อยลง ประโยชน์น้อยลง ประหยัดก็น้อยลงด้วย

    หรือไม่อีกที ถ้าเรายอมตนให้ใจตกเป็นทาสแห่งความกระวนกระวาย เศร้าหมอง กลัดกลุ้ม ระทมทุกข์ เดือดร้อนใจ หรือแม้แต่ความสบอารมณ์ สมหวัง ดีใจ ก็เป็นเหตุให้เราไม่แข็งแรงด้วย เพราะสภาวะอารมณ์ หรือสภาวะธรรมเหล่านั้น จักทำให้เรากลายเป็นคนประมาท เลินเล่อ ขาดสติ หลงลืม จักทำให้เรามีความ ตระหนี่ เห็นแก่ตัว ละโมบ โลภมาก สมองและความรู้สึกนึกคิดจะมึนชา พูด ทำ คิด ในการแก้ปัญหาก็จักเชื่องช้าลง

    ที่เป็นอย่างนี้ถือว่า บุรุษผู้นั้นเป็นบุรุษที่มีจิตใจอันไม่แข็งแรง ประโยชน์อันใดที่จะพึงได้พึงถึงในเรื่องของการมีกะใจ ที่จะทำงานก็ไม่ปรากฏ เพราะใจเราป่วย สมองป่วย สัญชาตญาณป่วย กิริยาป่วย ร่างกายป่วยเมื่อจิตใจป่วยก็ย่อมยังมาซึ่งงานก็ป่วยด้วย วิถีทำงานป่วย ประโยชน์ก็ป่วยลงไปด้วย ความสึกหรอแห่งประโยชน์ ที่จะพึงได้พึงถึงก็เกิดขึ้น ความสมบูรณ์แห่งประโยชน์ก็หมดไป สาระการมีชีวิตอยู่ในโลกย่อมหมดไป ประโยชน์ที่บุรุษผู้ไม่แข็งแรงจะ ทำให้เกิดให้มีขึ้นปรากฏอยู่ ย่อมไม่เจอไม่พบ หรือน้อยนิดเหลือเกินแล้วมันจะคุ้มค่าหรือ กับการที่ถือกำเนิด เกิดเป็นคนกับเขาชาติหนึ่ง วันหนึ่ง ปีหนึ่ง ชั่วโมงหนึ่ง นาทีหนึ่ง

    เพราะอย่างนี้น่ะซิ องค์สมเด็จพระศาสดาพระพุทธเจ้าทุกพระองค์ในโลก จึงต้องอุบัติขึ้น เพื่อชี้ประโยชน์แห่งบุรุษผู้แข็งแรง และชี้โทษแห่งบุรุษผู้ไม่แข็งแรง ให้พวกเราทั้งหลายปฏิบัติตนให้ข้าม พ้นจากบุรุษผู้ไม่แข็งแรง และเข้าถึงประโยชน์แห่งบุรุษผู้แข็งแรงแล้ว พูดอย่างนี้ก็ต้องสรุปว่า

    ไม่ว่าเราจะอยู่ในสภาวะเช่นไร อากาศอย่างไร ร้อน หนาว เย็น เจ็บ ป่วย หิว กระหาย ทุรนทุราย ทุกข์โศก หรือมีโรคภัยใดๆ ทั้งสิ้น เรารู้ว่านี่เรากำลังจะไม่แข็งแรงด้วยอาการ ทางกาย ทางวาจา แต่ก็อย่าทำใจของเราไม่แข็งแรงไปด้วยเลย เพราะถ้าเราขืนปล่อยให้เป็นบุรุษผู้ไม่แข็งแรงด้วยใจแล้ว แม้แต่อาการป่วยทางกายจะเล็กน้อยนิดหน่อย แม้แต่อาการป่วยทางวาจาจะเล็กน้อยนิดหน่อย แม้แต่อาการป่วยทางกิริยาสความรู้สึกนึกคิดจะเล็กน้อยนิดหน่อย แต่ถ้าใจแห่งเราไม่แข็งแรงเสียแล้ว ความป่วยอันยิ่งใหญ่มหาศาล ก็จะเกิดขึ้นทางกาย วาจาและใจ หรือความรู้สึกนึกคิด หรือการกระทำจะพลอยป่วยตามๆ กันไป เมื่อความป่วยอันยิ่งใหญ่มหาศาลเกิดขึ้นแล้ว ประโยชน์อันไหนและประโยชน์อันใด ที่จะพึงได้พึงถึงแห่งบุรุษผู้แข็งแรง ก็ย่อมไม่ปรากฏแก่เรา

    เพราะฉะนั้นเธอทั้งหลาย การมีชีวิตอยู่ในวิถีแห่งพุทธะ- อิสระ การมีชีวิตอยู่อย่างเป็นคนที่มีประโยชน์สูงประหยัดสุด และการ เรียนรู้สัจธรรมของธรรมชาติอันประหลาดลึกลับพิสดาร...แต่ธรรมดา ชนิดนี้ มันไม่ใช่เป็นเรื่องยากในตัวของพวกท่านทั้งหลายมีพลัง ชนิดหนึ่ง หลวงปู่เรียกมันว่าพลังพันธาริณี เป็นพลังแฝงอยู่ในความรู้สึกนึกคิด ในอำนาจจิตและลมหายใจเข้าออก ขอเพียงมีใจอันแข็งแรงเป็นปกติอยู่ มิใช่ใจอันหลับใหลเหนื่อยหน่ายอ่อนเพลีย จิตใจที่นิ่งสงบ เยือกเย็น ไม่เหนื่อยหน่าย ไม่อ่อนเพลียปรากฏอยู่ในตัวเรา เป็นใจที่พร้อมต่อการเคลื่อนไหว เป็นใจที่ควรต่อกิจกรรม การงานทั้งปวง แม้แต่อาการทางกายมันจะป่วยไม่แข็งแรงอย่างไร บุรุษนั้นพระศาสดาทรงเรียกว่า อภิชาตบุรุษ เป็นบุรุษผู้มีประโยชน์เป็นเอกของโลก เป็นบุรุษผู้มีพลังมหาศาล ย่อมยังมาซึ่งประโยชน์ แห่งบุรุษผู้แข็งแรงทั้งกาย วาจา และใจ ประโยชน์นั้นๆ จะได้ผล มากกว่าผู้คนทั้งหลายในโลก

    หลวงปู่ได้ทำตัวอย่างให้พวกเราเห็น แม้แต่เวลาหลวงปู่ ป่วย หลวงปู่ก็ทำงานเหมือนคนปกติ แม้แต่เวลาที่ความรู้สึกในกาย ของหลวงปู่มันบอกว่า มันไม่ไหวแล้ว มันแย่แล้ว มันเศร้าหมองแล้ว แต่หลวงปู่ไม่ได้ปล่อยให้วาจาแห่งหลวงปู่ หรือกิริยาแห่งหลวงปู่ หรือว่า...โดยเฉพาะจิตใจแห่งหลวงปู่ ตกเป็นบุรุษผู้ป่วยไปด้วย หลวงปู่จึงสามารถพัฒนางานได้อย่างชนิดไม่ขาดตอน คนภายนอกดูว่านิ่งเงียบสงบ แต่ภายในของหลวงปู่ ไหลเรื่อยรินอยู่ตลอด และเต็มเปี่ยม ไปด้วยพลัง เชื่องช้าแต่มีพลัง ลื่นไหล มีอำนาจและอิสระ น้ำเล็กๆ น้ำน้อยๆ ไหลนิดๆ เราอย่าไปดูถูกอำนาจแห่งใจสมันเล็กๆ น้อยๆ นิดๆ นั่นแหละ มันมีพลังมหาศาลอันแฝงนิ่ง นอนเนื่องอยู่ในกมลสันดานของตัวมันเอง

    ถ้าเรารู้จักใช้ใจอย่างนี้ ก็สามารถจะนำเอาพลังวิเศษในกายของเรา มาจรรโลงกิริยา วาจา ร่างกาย ให้ทำงานเหมือนกับบุคคลปกติ ได้อย่างชนิดที่มหัศจรรย์วิเศษสุด เราจะเห็นว่าเวลาที่หลวงปู่ทำงานมากๆ หลวงปู่จะมีชีวิตความเป็นอยู่รู้สึกโทรมทรุดลง แต่ใช้เวลาไม่ถึงชั่วโมงหรือไม่กี่นาทีข้างหน้า หลวงปู่ก็สามารถบริหาร งานได้ต่อไป อย่างชนิดไม่ขาดตกบกพร่อง แม้แต่ความรู้สึกนึกคิดก็ไม่ขาดตกบกพร่องคำพูดและความรู้ที่ถ่ายเทออกมาจากวาจาของหลวงปู่ ก็ไม่ได้ขาดตกบกพร่อง เหมือนปกติแห่งบุรุษผู้แข็งแรง แล้วพวกเราทำอย่างนี้บ้าง ไม่ได้เชียวหรือ? พวกเราได้ชื่อว่าเป็นสานุศิษย์ เป็นศิษย์แห่งพุทธะอิสระ คนที่เจ็บกับคนที่ไม่เจ็บ สองคนนี้ถ้ามาเทียบกันแล้ว คนที่เจ็บย่อมด้อยกว่า

    แต่ถ้าเราเป็นบุคคลไม่ป่วยแห่งใจ ไม่ยอมเอาใจเข้าไปป่วยกับมันด้วย ไม่ยอมปล่อยให้ความอ่อนแอแห่งจิตเกิดขึ้น ไม่ยอมปล่อยให้จิตไม่แข็งแรงแล้วไซร้ ความมีชีวิตอยู่ในวันที่เราป่วย ก็ย่อม ยังมาซึ่งประโยชน์สูงประหยัดสุด แม้แต่วันที่เราไม่ป่วย ก็ย่อมมีประโยชน์เช่นกัน และประหยัดสุดได้ด้วย อย่างนี้คนคนนั้นจะเป็น บุรุษที่วิเศษกว่าบุรุษทั้งหลายในโลก ดีกว่าบุรุษที่ป่วยและทำอะไรไม่ได้ เลยสักอย่างหนึ่ง แม้แต่ความรู้สึกนึกคิด และคำพูด ดีกว่าบุรุษผู้อ่อนแอ ทั้งวาจา กิริยา อาการ คำพูด และจิตใจ ดีกว่าบุรุษผู้ทำประโยชน์ไม่ได้ ดีกว่าสตรีผู้หาประโยชน์ไม่มี

    เพราะฉะนั้น การมีชีวิตอยู่ในโลกมันจะได้เปรียบเป็นสุข ต่อเมื่อเราได้ประโยชน์สูง และประหยัดทรัพยากรที่สุด มันจะเป็นผู้ฉลาดและเจริญรุ่งเรืองก้าวหน้าต่อเมื่อเราได้ประโยชน์สูงในที่ที่ ชาวบ้านเห็นว่าไม่ได้ประโยชน์ เราได้ประโยชน์ในเวลาที่ชาวบ้าน ดูว่าเราป่วย แต่เราก็ทำงานได้ ในเวลาที่ชาวบ้านดูว่าเราทำงาน เหมือนกับเขา แต่การกระทำงานของเรา ประโยชน์อันจะพึงได้พึงถึง แห่งงานนั้นๆ เรามีมากกว่าเขา เพราะอะไร เพราะเราไม่ปล่อยให้ใจ ตกเป็นทาสของวัฏสงสาร ไม่ตกเป็นทาสของความบีบคั้น ทางกิริยาอาการ วาจาและจิตใจ ไม่ตกเป็นทาสของความรู้สึกนึกคิดที่อ่อนแอ ไม่แข็งแรง

    เมื่อจิตใจของเราไม่ตกเป็นทาสเสียแล้ว ความแข็งแกร่ง แห่งบุรุษอภิชาติก็เกิดขึ้น ความแข็งแกร่งแห่งพญาคชสารในกายของเราก็เกิดขึ้น พลังแห่งธรรมชาติทั้งปวงอันมีดิน น้ำ ลม ไฟ ฝน และก็ฟ้า ย่อมมารวมอยู่ที่จุดแห่งกายของเราเมื่อเรามากมีอุดมด้วย พลังและวิธีการอันเลิศ นั่นย่อมยังมาซึ่งประโยชน์สูง และประหยัดใน ทรัพยากรที่เราจักใช้ การมีชีวิตอยู่ในโลกอย่างนี้ มันจะไม่ดีกว่ากับการมีชีวิตอยู่ในโลกอย่างคนอ่อนแอ ขาดแคลน กะปลกกะเปลี้ยหรือ ถ้ามันดีกว่า ทำไมเธอทั้งหลาย ไม่นำมันขึ้นมาใช้บ้าง ทำไมถึง ปล่อยให้จิตใจตกเป็นทาสของความบีบคั้นทางกาย ทางวาจา ทางกิริยาอาการ ทางหนาว ทางร้อน หิวกระหาย ที่พูดอย่างนี้ เพราะ หลวงปู่สังเกตว่า ถ้าพวกเราเกิดความหิวมาก กระหายเหนื่อยหน่าย อ่อนอกอ่อนใจ งานที่จะพึงได้พึงถึง ประโยชน์ที่จะพึงเกิดขึ้นก็หยุดไปทันทีโดยปริยาย

    ถ้าพวกเราเกิดอาการป่วยเพียงแค่เล็กน้อย เอาเพียงแค่ ปวดหัว! งานอันจะพึงได้พึงถึง ประโยชน์อันจะพึงมีก็หยุดไปโดยปริยาย ความจริงหัวนั้นมันปวดนิดเดียว!! แต่ใจมันปวดมากกว่าหัว มันจึงมีความรู้สึกว่า ประโยชน์เราต้องหยุดไปแล้วประโยชน์อย่างนี้ ถ้าหยุดไปแล้ว เราจะมีชีวิตอยู่ในโลกได้กระไร มันไม่ได้เลย มันกลับ นำมาซึ่งความเสียหาย และความขาดทุนอันยิ่งใหญ่ ที่ว่าขาดทุนก็เพราะ เราเกิดมามีชีวิตอยู่รอด มีสติปัญญา หูตา อวัยวะไม่พิกลพิการ แถมยังสื่อความหมายต่อสังคมรอบข้างรู้เรื่อง สิ่งเหล่านี้ถือว่า มีขึ้นได้ เพราะอาศัยทุน บุญบารมีเก่า แล้วจะอยู่เฉยๆ เพื่อจะกินทุนเก่าไปวันๆ โดยมิได้สร้างทุนใหม่ ไม่ทำอะไรให้เป็นสาระแก่ชีวิต เช่นนี้จะได้กระไร

    ถ้ามีคนสองคนอยู่ในโลก สมมติว่าเรากับเพื่อน ถ้าเราขืนทำตนเป็นบุคคลที่ขาดทุนอย่างนี้ เพื่อนเขาก้าวหน้าเราไปหลาย ร้อยก้าวแล้ว เราเพิ่งจะหัดก้าว ไม่ว่าจะอยู่ในเพศสมณะก็ดี ในเพศคฤหัสถ์ก็ดี ไม่มีประโยชน์และไม่ได้รับความประหยัด ก็ต้องใช้คำพูด ว่าอยู่ไปก็เปลืองผ้าเหลือง สึกออกไปก็เปลืองผ้าลาย เพราะจิตใจเราอ่อนแอ การกระทำก็อ่อนแอ ประโยชน์ที่จะพึงได้พึงถึง จากการกระทำทั้งหลาย เมื่อมันอ่อนแอไปซะหมดแล้ว ก็ไม่ปรากฏสาระอะไร

    หลวงปู่ไม่ได้สอนให้พวกเราเป็นคนตามผู้อื่น แต่กำลังจะสอนให้เป็นผู้นำตัวเอง ไม่ได้สอนให้เราเป็นคนอ่อนแอแต่หลวงปู่ สอนให้เราเป็นบุตรแห่งอภิชาติ เป็นบุรุษเหล็กเป็นบุคคลเอกในโลกที่มีชีวิตอยู่อย่างเป็นคนได้ประโยชน์ อย่าปล่อยให้ใจตกเป็นทาส ของความอ่อนแอ ความบีบคั้นที่เกิดจากตา หู จมูก ลิ้น กาย รวมทั้งจิตใจ ก็ต้องไม่อ่อนแอตามไป เป็นอิสระในความมีชีวิตอยู่ เราจะสังเกตเห็นว่า แม้ว่าหลวงปู่ป่วย จนแสนสาหัส แต่ถ้าหลวงปู่ต้องการจะทำงาน หลวงปู่ลุกขึ้นมาทำได้อย่างกระฉับกระเฉง และทำได้หมือนบุรุษผู้ไม่ป่วย ทำได้เหมือนกับบุคคลทั้งหลาย ที่มีชีวิตอยู่ในโลกอย่างเป็นคนแข็งแรง ทำไมหลวงปู่จึงทำได้ แต่พวกเราทั้งหลายทำไมทำไม่ได้ ที่ทำไม่ได้เป็นเพราะอะไร ? ต้องคิดหาคำตอบ ให้ลึกซึ้งให้ถึงแก่นของมัน

    นี่แหละจึงเป็นที่มาแห่งคำว่า ค้นหาตัวเอง แต่ตั้งแต่ปีเก่า คือปีนู้นมาถึงปีนี้ วันนี้เข้าปีใหม่ ก็ยังไม่ได้คำตอบที่ถูกต้อง ยังค้นหาตัวเองไม่พบ เพราะการกระทำ ไม่ได้เป็นที่มาของคำตอบที่ถูกต้อง เพราะถ้าพวกเราเกิดความไม่พอใจ งานที่ทำอยู่ก็หยุดทันที การค้นหาตัวเองก็จะยุติไปด้วย

    ถ้าพวกเราเกิดป่วย จะป่วยทางวาจา ป่วยทางความรู้สึก นึกคิด หรือป่วยทางกาย สิ่งที่บริหารอยู่ก็หยุดทันที มันเป็นหมันโดยปริยายไปทันที คิดซิว่า ถ้ามีชีวิตอยู่ในโลกอย่างเป็นผู้หยุดอยู่อย่างนี้ หยุดบ่อยๆ หยุดบริหาร หยุดพัฒนา อะไรจะเกิดขึ้น ชีวิตเรามันจะยืดยาวไปสักเท่าไหร่? สำหรับเพื่อจะให้เรามีเวลาสำหรับหยุดในการบริหาร ไม่ใช่ว่าเราหยุดบริหารแล้ว เวลามันไม่เดินไปเมื่อไหร่? ไม่ใช่เราหยุดบริหาร หยุดการกระทำประโยชน์สูง ประหยัดสุดแล้ว วัน เดือน ปีมันไม่ได้ลับหรือหายไป มันหยุดกับเรา ด้วยเมื่อไหร่? มันไม่ได้หยุด เมื่อมันไม่ได้หยุด เราต้องเป็นผู้เสีย

    ข้อที่ ๑ เสียลมหายใจ คือ เสียทรัพยากรของโลกที่เกิด มาใช้มันแล้วกลับไม่ได้ให้ประโยชน์อะไรกับมัน
    ข้อที่ ๒ สิ้นเปลืองอายุขัย เพราะยิ่งนานวัน อายุก็ยิ่งสั้นลง เหมือนกับเทียน ยิ่งจุดนานเท่าไหร่ มันก็ยิ่งมอดไหม้จนหมด
    ข้อที่ ๓ เสียประโยชน์อันจะพึงได้พึงถึง ที่จักทำให้แก่ตน และคนอื่น
    ข้อที่ ๔ เสียมรรคผล เสียความบริสุทธิ์ หรือจะเรียกว่า เสียหน้าที่ อันจะพึงได้พึงถึงกับการมีชีวิต

    ดูซิว่ามันมีแต่ส่วนเสีย มันไม่มีส่วนดีใดๆ เลยที่ปรากฏขึ้น มันมีแต่ส่วนสูญสลาย เราไม่ทำให้เกิดประโยชน์สูงสุดในความมีชีวิตอยู่หรือ เพราะฉะนั้น ขอฝากให้พวกท่านทั้งหลายเรียนรู้ไว้ว่า การมีชีวิตอยู่ในโลกปัจจุบันนั้น ใครมีกำลังมากสก็ได้ประโยชน์มาก ใครมีปัญญามาก ก็ได้ประโยชน์มาก ใครมีความขยันหมั่นเพียรมาก ก็ได้ประโยชน์มาก ใครมีความอดทน อดกลั้นมาก ก็ได้สาระมาก โลกปัจจุบันอยู่ด้วยความแก่งแย่งชิงดีชิงเด่น ถ้าเราทำตนเป็นบุคคลผู้อ่อนแอ ไม่แข็งแรงทั้งกาย วาจา และก็ใจแล้วไซร้ เราย่อมเป็นผู้แพ้ และก็โดนเหยียบจนแบน เราย่อมเป็นบุคคลผู้หมดประโยชน์ในการมีชีวิต และถือกำเนิดเกิดกับเขาชาติหนึ่งๆ แล้วอะไรมันจะได้ สำหรับการได้เกิดขึ้นมาเป็นคน

    วันนี้เป็นวันใหม่ เป็นวันต้นแห่งปีใหม่ ก็เปลี่ยนแปลงอุปนิสัย เปลี่ยนแปลงสิ่งที่ไม่ได้ ไม่ถึง ให้เป็นสิ่งที่จะพึงได้พึงถึง จากบุรุษผู้แข็งแรงให้เกิดขึ้น ทำลายบุรุษผู้อ่อนแอ ในกายของเรา ในใจของเรา ในวาจา ในความรู้สึกนึกคิดของเรา ให้มันหมดไป ข้อนี้อาจต้องเรียกว่าเป็นสูตรหนึ่ง สูตรหนึ่งในหลายแสน หลายร้อย หลายล้านสูตร คือสูตรแห่งบุรุษผู้แข็งแรงและอ่อนแอท่านทั้งหลาย จงยังสูตรแห่งบุรุษผู้แข็งแรงให้เกิดขึ้น ทำลายบุรุษผู้อ่อนแอให้หมดไป

    เพราะถ้าเมื่อใดบุรุษผู้แข็งแรงเกิดขึ้น เรียกว่า อภิชาต-บุรุษเกิดในตัวเราได้แล้ว นั่นย่อมยังมาซึ่งประโยชน์สูงและประหยัดสุด แม้แต่ในเวลาที่เราไม่มีร่างกาย ก็ย่อมยังจิตใจให้เกิดประโยชน์แก่สรรพสิ่งได้ แล้วเราจะอยู่ในโลกอันวุ่นวายชนิดนี้ได้ อย่างคนร่ำรวย อย่างคนเหนือคนและเหนือโลก เหนือธรรมชาติ เพราะเราไม่ได้ทำตนให้ตกเป็นทาส ของความหิว ความกระหาย ความหนาว ความร้อน ความอ่อน ความแข็ง ความเศร้าหมอง ความขุ่นมัว ความเกิด ความแก่ ความเจ็บ และก็ความตายเราก็ยังยืนได้ ยังเดินได้ ยังนั่งได้ และยังนอนได้ แม้ในขณะที่ลมหมดไปแล้ว เราก็ยังยืนได้เหมือนกัน เดินได้เหมือนกัน นั่งได้เหมือนกัน นอนได้เหมือนกัน ไม่ว่าเราจะไปอยู่ที่ไหน โลกใดๆในหล้า เราจะมีความ สำเร็จในการมีชีวิตอยู่เหนือคนอื่น จึงอยากจะขอให้เปลี่ยนแปลงทำลายความอ่อนแอทิ้งไป

    คนที่พูดว่าผมเป็นนักเลง ผมเป็นลูกผู้ชาย เป็นคนเก่ง เป็นผู้กล้า ผมเป็นสุภาพบุรุษ แต่เมื่อเกิดอาการบีบคั้นทางกิริยา ทางวาจา ทางร่างกาย หรือทางจิตใจ ก็ยอมตนให้ตกเป็นทาสแห่ง ความบีบคั้นนั้นๆ เช่น เขามาด่า หรือแค่มองหน้าก็ไม่พอใจ เกิดโมโหฉุนเฉียว อาฆาตบาทใหญ่ แสดงอาการโกรธ พยาบาท จองเวรทำร้ายร่างกาย หลวงปู่ถือว่า คนคนนั้นไม่ใช่บุรุษผู้แข็งแรงหรอก

    หลวงปู่จะเล่าเรื่องของบุรุษผู้แข็งแรงกับบุรุษผู้อ่อนแอ ให้ฟังเป็นตัวอย่าง

    </TD></TR><TR><TD class=body vAlign=baseline align=left> ในครั้งพุทธกาล มีพระมหาจักรพรรดิสพระองค์หนึ่ง ทรงพระนามว่า พระเจ้าอชาตศัตรู เมื่อได้รับราชสมบัติให้ปกครองกรุงราชคฤห์ จากพระบิดาคือพระเจ้าพิมพิสารแล้ว โดยการยุยงของ พระเทวทัต ได้พาเหล่าทหารออกรบเพื่อรวบรวมเมืองใหญ่น้อย ทั้ง ๑๐ ทิศ ให้ตกเป็นเมืองขึ้น คราครั้งใดที่กรีฑาทัพ ออกไปสู่สงคราม ก็จะเอาชนะด้วยกำลังไพร่พลทหารที่มากกว่าแข็งแรงกว่า แล้วก็จะปล้นทรัพย์เอามาเป็นของตน เผาบ้านเรือนให้เสียหาย ฉุดคร่าผู้หญิง และลูกเมียเขามาข่มขืนและบังคับให้เป็นทาสพวกผู้ชายก็ต้อนเอามา เป็นทาส เอามาฝึกทหาร เพื่อจะบังคับให้ออกรบ คราใดที่ไพร่พลในกองทัพไม่เข้มแข็ง หนีทัพ ไม่ไปรบ หรือพ่ายแพ้ ก็จะสั่งประหาร ใครทำไม่ถูกใจก็จักฆ่าเสีย เห็นชีวิตของเพื่อนมนุษย์เหมือนมด ปลวก จะบีบบี้ บดขยี้อย่างไรก็ได้ ไม่มีใครลงอาญา ไม่มีใครกล้าทักท้วง แม้แต่บิดาบังเกิดเกล้าของตน ก็ยังฆ่าและทรมานจนตาย เหตุด้วยหลงเชื่อในคำยุยง ของนักบวชชั่วคือพระเทวทัต และทรนงว่าตนมีพละกำลังแข็งแรงและมีอำนาจเหนือฟ้า จึงกล้าทำกรรมอันหนัก โดยการทรมานพระบิดาแล้วฆ่า ทำร้ายทรมานพระมารดา จนได้รับการขนานนามจากมหาชนว่า มหาราชาจอมโหด จักรพรรดิผู้โฉดชั่ว

    ที่ทรงพระนามว่า พระเจ้าอชาตศัตรู ซึ่งหมายถึง ศัตรู ของภพชาติ ศัตรูของบิดา-มารดา เช่นนี้ก็มิใข้มาเป็นศัตรูตอนโต แต่เป็นศัตรูกับบิดามารดามาตั้งแต่ยังไม่เกิด อยู่ในท้องพระมารดาก็เป็นศัตรูแล้ว ในขณะที่พระชนนีทรงพระครรภ์ แล้วก็แพ้ท้อง ซึ่งดูแล้วก็น่าถือได้ว่าเป็นปกติธรรมดา ที่บรรดาสตรีทั้งหลายที่มีบุตรอยู่ ในท้อง ก็ต้องอยากกินนั่นอยากกินนี่ เห็นอะไรดูมันจะอยากไปหมด ซึ่งมี ๒ อยาก คืออยากได้กับอยากปฏิเสธ เป็นปกติของคน แต่พระชนนีของพระเจ้าอชาตศัตรู หาได้อยากเหมือนหญิงมีครรภ์ทั่วไปไม่ พระเทวีพระนางอยากดื่มพระโลหิต ของพระเจ้าพิมพิสาร พระสวามี ซึ่งพระนางก็มิกล้าทูลขอ สู้อดทนฝืนกล้ำกลืนความอยาก จนร่างกาย เศร้าหมอง ซูบผอม ครั้นพระราชาพิมพิสารสังเกตเห็นความเป็นไปในอาการของพระนาง ก็ทรงซักถามจนได้ความ จึงตรัสเรียกหมอหลวงให้เข้าเฝ้า รับสั่งให้หมอหลวงนำมีดทองคำบริสุทธิ์ มาเจาะแขน ข้างขวาของพระองค์ เพื่อจะให้พระโลหิตไหลลงสู่ขันทองคำ ที่ตรัสสั่งให้นำมารองเอาไว้ แล้วให้หาน้ำค้างบริสุทธิ์มาผสมกับเลือดนั้น เพื่อ จะให้พระเทวีบำรุงพระครรภ์ ทำอยู่เช่นนี้จนพระเทวีมีพระประสูติกาลคือ คลอดพระโอรส (นี่แหละความรักของพ่อ แม้แต่เลือดและชีวิตก็สามารถสละได้เพื่อลูก ถือได้ว่าเป็นความรักของพระเจ้าผู้ยิ่งใหญ่จริงๆ ทีนี้เราดูกันต่อไปว่าเกิดอะไรขึ้น)

    เหล่ามุขมนตรี เสนามหาอำมาตย์ โหราจารย์ทั้งหลาย พอได้ทราบว่าพระเทวีทรงพระครรภ์ แล้วอยากเสวยพระโลหิตของพระสวามีผู้เป็นราชา ก็ให้ปริวิตกเป็นยิ่งนัก มันเป็นลางบอกเหตุให้รู้ว่า ทารกที่อยู่ในพระครรภ์ของพระเทวี ไม่ว่าจะเป็นหญิงหรือชาย จะต้องเป็นกาลกิณี เป็นยักษ์มารกลับชาติมาเกิด มีจิตใจโหดร้ายเป็นอันตรายต่อบิดามารดาและราชบัลลังก์ แม้เกิดเป็นหญิง ก็จะเป็นกาลกิณีต่อราชสกุลและบิดามารดา ถ้าเป็นชายก็จะคิดทำร้าย และฆ่ามารดาบิดาในที่สุด

    เมื่อพระเทวีทรงทราบถึงคำทำนายของโหราจารย์เช่นนั้น ก็มีพระประสงค์จักทำลายพระครรภ์นั้นเสีย จึงเสด็จไปประพาส พระราชอุทยาน แล้วสั่งให้พวกนางสนมกำนัลใน บริวารทั้งหลาย พากันทุบตีพระครรภ์นั้น จนพระนางได้รับความเจ็บปวดทุกขเวทนาเป็นอันมาก แต่พระครรภ์นั้นก็หาได้โดนทำลายลงไม่ กลับตั้งอยู่ใน ปกติเป็นอันดี ครั้นเมื่อพระเจ้าพิมพิสารทรงทราบ ก็ได้ตรัสห้ามปรามว่า บุตรของเรายังไม่ทันออกมาดูโลกภายนอก ก็มีศัตรูเสียแล้ว ทั้งที่ยังไม่รู้ว่าเป็นหญิงหรือชาย ขอพระเทวีจงอย่าทำลาย ด้วยเหตุแค่คำทำนาย เรื่องนี้ถ้าแพร่ไปถึงหูใคร ก็จักพากันโจษขาน ระบือไป ในทำนองไม่ดี ดูจะไม่เป็นการสมควร แล้วพระเจ้าพิมพิสาร จึงมีรับสั่งให้ราชบุรุษจัดเวรเฝ้าดูพระเทวีสยามละแปดคนหมุนเวียนกัน อย่าให้คลาดสายตา

    เมื่อพระเทวีฟังพระสวามีตรัสห้ามดังนั้น ก็ทำเป็นนิ่งเฉยเสีย แล้วก็ครุ่นคิดในใจว่า ใช่ว่าเราจักใจร้าย คิดฆ่าทำลายทุกครั้ง ที่เราคิดจะทำร้ายลูก เราก็รู้สึกระทมทุกข์เจ็บปวด แต่ถ้าบุตรของเรา ที่เราให้กำเนิดมา เติบใหญ่จะต้องสร้างความเดือดร้อน ทำร้าย ทำลาย และเข่นฆ่าเพื่อนมนุษย์ เป็นอันตรายต่ออาณาประชาราษฎร์ จองล้างจองผลาญบิดามารดา จนถึงกับฆ่ากันตายเช่นนี้เราผู้เป็นแม่ ก็ต้องรับผิดชอบต่อการกระทำของบุตร ที่มีต่อเพื่อนมนุษย์ด้วยกัน ถือว่าเราเป็นต้นเหตุของความเดือดร้อนนั้น แล้วเราจักนิ่งดูดาย ปล่อยให้ลูกเราเกิดมาฆ่าพ่อแย่งชิงราชบัลลังก์ ฆ่าเพื่อนมนุษย์ด้วยกันอย่าง โหดเหี้ยมกระนั้นหรือ ไม่ได้ !! เราจะปล่อยเช่นนั้นไม่ได้ เมื่อพระสวามี ปรารถนาจะดูหน้าบุตรว่าเป็นหญิงหรือชาย ให้โอกาสลูกเราได้เกิดมา ลืมตาดูโลก เราก็จะผ่อนตามพระประสงค์ เมื่อถึงเวลาสมเจตจำนง เราก็จักสังหารลูก เพื่อยุติปัญหา พระเทวีคิดดังนั้นแล้วก็เฝ้ารอโอกาส

    ครั้นถึงโอกาสประสูติกาล พระเทวีทรงประสูติพระราชโอรส พื้นปฐพีก็เกิดการสั่นสะเทือนหวั่นไหว นภากาศมืดมิดอับแสง ด้วยแรงฤทธิ์แห่งสุริยุปราคา พระเทวีก็ทรงสิ้นสติ ไม่สมฤดี พอได้รู้สึกพระองค์ทรงสติก็เหลียวหาพระราชบุตร ด้วยคิดจะกำจัดหาได้ทรงแลเห็นไม่ เหตุด้วยราชบุรุษรับพระบัญชาจากพระเจ้าพิมพิสาร ให้นำพระกุมารไปซ่อน โดยให้ภรรยาของราชบุรุษนั้นชุบเลี้ยง พระกุมารจนเติบใหญ่ พร้อมกับทรงพระราชทานราชทรัพย์อันมีเงินและทองคำ เป็นต้น เป็นค่าชุบเลี้ยงพระกุมาร

    ฝ่ายพระเทวีทอดพระเนตร ไม่เห็นพระราชบุตร ก็ทรงพระกันแสงเสียพระหฤทัยอยู่ครู่ใหญ่ เวลาต่อมาก็ทรงพระสรวลอย่างสบายพระทัย ด้วยคิดว่าลูกเราไม่ตายแล้ว เราไม่ต้องฆ่าลูกเราแล้ว ความทุกข์อันจะพึงมีต่อการฆ่าบุตร จะไม่บังเกิดขึ้นแก่เราแล้ว

    (นี่แหละหัวอกแม่ที่รักลูก ไม่มีแม่คนใดที่คิดจะฆ่าลูกได้ลงคอ ถ้าเลือกได้ แม่เลือกที่จะตายก่อนลูกเสมอ อย่าว่าแต่เลือดและเนื้อเลย แม้แต่ชีวิตก็ยินดีจะสละให้ลูกได้ มีคำกล่าวว่า พ่อแม่มีทุกข์ ๓ อย่างคือ ๑. ทุกข์เพราะไม่มีลูก แก้ได้โดยหาเด็กมาเลี้ยงแล้วก็หาย ๒. ทุกข์เพราะลูกตาย ๓ ปี ๗ ปี ๑๐ ปี ทุกข์ก็คลาย ๓. ทุกข์เพราะลูกชั่ว ทุกข์ได้ตลอดชีวิตตามอายุขัยของลูก)

    ฝ่ายพระเจ้าพิมพิสาร พระราชบิดา หลังจากมีรับสั่งให้ ราชบุรุษ พาพระกุมารไปซ่อนและเลี้ยงดูแล้ว พระองค์ก็ยังทรงเสด็จไปเยี่ยมอยู่เนืองนิจ ทรงหาขนม ของเล่น และเครื่องนุ่งห่มที่พระกุมารโปรด ทรงนำมามอบให้พระกุมารด้วยพระองค์เองเสมอๆ ยิ่งนานวันพระกุมารเจริญวัย พระเจ้าพิมพิสารก็ยิ่งทรงรักผูกพัน สนิท เสน่หาพระโอรสนั้นเป็นทวีคูณ จึงมีรับสั่งให้ราชบุตรนำพระราชโอรสเข้าเฝ้า

    เมื่อเทวีได้เห็นพระราชกุมาร ก็เกิดเสน่หาเอ็นดู ลืมเรื่องคำทำนายนั้นเสียสนิท พระราชโอรสของพระเจ้าพิมพิสารได้รับความรักจากพระราชบิดา พระราชมารดาเป็นยิ่งนัก ได้เรียกราชบุรุษให้ไปเชิญอาจารย์ทิศาปาโมกข์ ผู้รอบรู้ศิลปะวิทยา เข้ามาสอนพระโอรสในพระบรมมหาราชวัง โดยมิได้ส่งราชบุตรไปเรียน ณ สำนักของอาจารย์ ด้วยมุ่งหวังว่า จะได้อยู่ใกล้ชิดพระราชโอรสจะได้มีโอกาสอบรมสั่งสอนให้เป็นคนดีด้วยพระองค์เอง

    พระโอรสได้รับความรักทะนุถนอมอย่างดี ด้วยอาหารอันเลิศ ผ้าอาภรณ์อันเลิศ ที่นั่งที่นอนอันเลิศ และมีทุกอย่างเสมอ พระราชาพิมพิสารและพระเทวี จนเป็นที่อิจฉาแก่พวกราชสกุลอื่นๆ และพวกทาสหญิงชายทั้งหลายโดยมิได้รู้ความเป็นจริงว่า พระราชกุมารเป็นบุตรของใครอยู่ๆพระเจ้าพิมพิสารก็รับสั่งให้ราชบุรุษนำมาเข้าเฝ้า แล้วยกขึ้นเป็นพระราชโอรส บางพวกก็พูดว่าสงสัยพระโอรสจะเป็นลูกของราชบุรุษกรมวังกับพระมเหสี บางพวกก็สงสัยว่าพระโอรสจะเป็นลูกของทาสผู้หญิงกับพระราชา บางพวกก็นินทาว่าคงจะเป็นลูกของไพร่ทั้งพ่อและแม่ พระราชาทรงเห็นแล้วเมตตาเก็บเอามาชุบเลี้ยง พวกที่รู้จริงก็พูดแย้งขึ้นมาว่า

    "ไม่ใช่ทั้งนั้นแหละ เรื่องจริงก็คือพระโอรสนั้น เป็นพระราชบุตรของพระราชาและพระเทวีจริงๆ แต่เพราะเกิดมามีดวงเป็นกาลกิณี จะฆ่าบิดา ขนาดอยู่ในครรภ์ของพระมารดา ยังอยากจะกินเลือดของพระบิดา โหรหลวงก็ทำนายว่า พระโอรสจะกระทำปิตุฆาต พระเทวีและพระราชาเลยคิดจะฆ่าเสีย แต่ฆ่าไม่ลงมีรับสั่งให้ราชบุรุษกรมวังพาเอาพระโอรสไปเลี้ยงดู พระราชาเห็นพระกุมารลำบากเลยสงสาร จึงมีรับสั่งให้ราชบุรุษกรมวังพาพระโอรสมาเข้าเฝ้า เลยเป็นที่มาของงานอภิเษกยกพระกุมารนั้นให้ขึ้นเป็นพระราชโอรสในวันนี้ยังไงล่ะ"

    "อ้อเป็นเช่นนี้แหละ แล้วถ้าพระโอรสฆ่าพระราชาจริงๆ ตามคำทำนายของโหรหลวงล่ะ จะว่าอย่างไร?"

    "ไม่รู้ซิ วันนี้เป็นวันมงคล เป็นวันตั้งพระนามพระราชโอรส น่าจะตั้งชื่อให้ว่า "อชาตศัตรู" นะจะได้เหมาะ"

    ขณะที่ทาสชายหญิงของราชสกุลต่างๆ กำลังตั้งวงนินทา พระโอรสอยู่นั้น นางข้าหลวงก็เลยขัดจังหวะขึ้นว่า

    "เอาละ...มัวแต่พูดมากนินทานายอยู่นั่นแหละ เดี๋ยวก็หัวขาดตามๆ กันบ้างละ รีบจัดข้าวของทำความสะอาดเข้าเถอะ เดี๋ยว จะไม่ทันพระราชพิธีหรอก"

    พระราชาพิมพิสาร ผู้เป็นพระโสดาปัตติผล เป็นพระอริยบุคคลเบื้องต้น เผอิญเสด็จผ่านมาทางกองเตรียมงานและได้ยิน ทาสชายหญิงของพระญาติแห่งพระองค์ พูดนินทาถึงเรื่องพระโอรส พระเจ้าพิมพิสารก็หาได้โกรธไม่พร้อมเสด็จกลับพระราชดำเนินไปยังท้องพระโรง แล้วพูดกับพระเทวีว่า

    "เราได้ชื่อลูกเราแล้ว เราจะตั้งชื่อลูกเราตามที่เราได้ยินมา" พระเทวีก็พลอยดีพระทัยไปกับพระราชาด้วย

    ส่วนพระโอรสนั้น ได้เดินเล่นผ่านกองเตรียมงานพิธีเหมือนกัน จึงได้ทรงสดับถ้อยคำนินทาของทาสแห่งราชสกุลต่างๆ แล้วให้เดือดร้อน แค้นเคืองในพระทัยยิ่งนัก ถึงกับอาฆาตราชสกุลพระญาติพระวงศ์ของพระบิดา ที่ไม่อบรมสั่งสอนบริวารให้สงบปากสงบคำ ทรงครุ่นคิดอยู่ในพระทัยว่า สิ่งที่ได้ยินมาวันนี้จะจริงหรือไม่หนอ ถ้าเป็นจริงแสดงว่า พระบิดาก็ต้องทรงเกลียดและหวาดระแวงเรา ที่ทำดีกับเราทุกวันนี้ อาจจะอยากให้เราตายใจ ไว้ใจ พอเราเผลออาจจะฆ่าเราเสียเมื่อไหร่ก็ได้ อีกใจหนึ่งก็คิดว่าคงไม่ละ กระมัง ถ้าพระบิดาปรารถนาจะฆ่าเราจริงๆ ทำไมถึงไม่ทำแต่แรก ถึงเดี๋ยวนี้พระบิดาก็ยังทรงทำได้ เพราะพระองค์เป็นจอมแผ่นดิน มีพระราชอำนาจมาก มีกำลังทหารอยู่ในมือ จะสั่งทหารฆ่าเราเสียเมื่อไหร่ก็ได้ ง่ายยิ่งกว่าพลิกฝ่ามือ คงไม่จริงหรอก ไอ้อีทาสพวกนั้นคงจะปากพล่อย แต่งเรื่องนี้มาพูดกันสนุกๆ ไปอย่างนั้นเอง คิดได้ดังนั้นแล้ว พระราชโอรสของพระเจ้าพิมพิสารก็เสด็จกลับสู่ห้องพระบรรทม

    ขอกล่าวถึงพระเทวทัต ซึ่งเป็นตัวการสำคัญในเรื่องนี้ คราวที่พระบรมศาสดาพร้อมด้วยพระอรหันตสาวก เสด็จประทับอยู่ ที่นครโกสัมพี พระราชาพร้อมด้วยชาวพระนคร ได้พากันมาถวายอภิวาท ต่อองค์สมเด็จพระบรมศาสดาเพื่อฟังธรรมจนพระราชาโกสัมพีและชาวพระนครเป็นอันมาก มีจิตเลื่อมใสศรัทธา มีดวงตาเห็นธรรม ต่างพากันรื่นเริงยินดี จิตใจเต็มเปี่ยมไปด้วยความสดใส สว่างไสว ถึงขนาดเกิดธรรมปีติขึ้นพร้อมกัน พากันเปล่งอุทานขึ้นว่า...

    "วิเศษจริงหนอ มหัศจรรย์จริงหนอ สว่างจริงหนอ เป็นสุขจริงหนอ พระธรรมของพระสุคตเจ้าช่างมีศักดาเดช สามารถทำลายความมืดบอดแห่งวิญญาณ ของปวงข้าพระพุทธเจ้าได้อย่างเด็ดขาด สะอาดหมดจด พระธรรมของพระองค์ประดุจดังการจุดประทีปในที่มืด เปรียบดังน้ำอมฤต ที่คนเดินทางกลางทะเลทรายใกล้ตายได้ดื่มกัน พระธรรมของพระมหาสมณะผู้ยิ่งใหญ่ ช่างมีพละ-กำลังอันเกรียงไกรทำลายล้างเครื่องพันธนาการของพระยามารผู้ละโมบสพระธรรมของพระองค์ ประดุจดังทิพยโอสถอันวิเศษ ที่สามารถกำจัดลูกศร ที่ปักคาอกบุรุษและสตรี โดยมิต้องถอนศรนั้น เพียงแค่ทาศรนั้นก็ละลายหายไปได้ สมกับเป็นธรรมโอสถของพระพุทธะจริงๆ"

    ครั้นพระราชาโกสัมพีและชาวพระนคร ได้มีจิตนิยม โสมนัส ศรัทธาต่อพระศาสนา อันมีรัตนตรัยทั้ง ๓ คือ พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ได้พากันแวะเวียนมาปุจฉาและวิสัชนา แด่พระศาสดา และพระสงฆ์สาวกอยู่เนืองๆ จนทำให้เกิดลาภ สักการะ ตามมามากมาย แต่ละวันก็จะมีผู้คนพากันมาสนทนาธรรมและถาม ปัญหาข้อข้องใจต่างๆ จากพระพุทธเจ้าบ้าง พระสงฆ์สาวกที่เป็นพระมหาเถระ ผู้ตามเสด็จบ้าง แลทุกครั้งชนเหล่านั้นก็จักนำขาทนียะ โภชนียะ อาหารสคาวหวาน พร้อมปัจจัยลาภต่างๆ ที่จำเป็นของสมณะ ติดไม้ติดมือมาถวาย ซึ่งในหมู่ของพระสงฆ์สาวกที่ตามเสด็จ ก็มีพระเทวทัตตามมาด้วย และดูเหมือนจะไม่มีใคร ผู้ใดให้ความสนใจไยดีต่อพระเทวทัตเลย แต่ละคนที่มานั้นกลับจะเข้ามาถามว่า

    "พระศาสดาทรงประทับอยู่ที่ไหน"

    "พระสารีบุตรพักอยู่ที่ใด"

    "พระโมคคัลลานะว่างหรือไม่"

    "พระมหากัสสปะเถระทำอะไร"

    "พระภัททิยะ พระอนุรุทธะเถระเจ้าสโปรดเมตตารับภิกขาจารในบ้านของข้าพเจ้าด้วย"

    "พระอานนท์ พุทธอุปฐากได้ครองผ้าใหม่ที่ข้าพเจ้าทอถวาย แล้วหรือเจ้าคะ"

    ผู้คนพากันมามากมาย ต่างคนก็ต่างถามถึงพระเถระรูปนั้นรูปนี้ โดยมิได้ไยดีต่อพระเทวทัตเลย ไม่มีผู้ใดแม้สักคนจะถามว่า พระเทวทัตเถระ อยู่ไหน

    พระเทวทัตนั่งครุ่นคิดด้วยความน้อยเนื้อต่ำใจว่า เราก็บวชเหมือนกันกับพวกนี้ พวกนี้มาจากตระกูลกษัตริย์ เราก็มาจากตระกูลกษัตริย์ เราฟังคำสอนของพระสมณโคดมเหมือนกับพวกนี้ พวกนี้ปฏิบัติธรรมเราก็ปฏิบัติธรรม พวกนี้ได้ชื่อว่าเป็นสมณะสาวกของพระสมณโคดม เราก็เป็นสาวกของพระสมณโคดมเหมือนกัน แต่ทำไมมหาชนกลับไม่สนใจ แล้วไม่สักการะเราด้วยเอกลาภต่างๆ เหมือนสมณะพวกนั้น

    (นี่ท่านเห็นไหม เห็นลักษณะของคนอ่อนแอ คนที่ไม่มีจุดยืน และไม่มีที่พึ่งของตัวเองอย่างมั่นคง คนที่อึดอัดขัดสน จนใจ คับแคบ คนที่ขาดอยู่เป็นนิจ คนที่ไม่รู้จักพอ ที่จริงเวลาผู้คนเขามา ทำบุญ เขาก็ถวายลาภสักการะเท่าๆ กัน พระศาสดาก็ทรงตรัสให้แบ่งลาภเหล่านั้นเหมือนๆ กัน แล้วพระองค์ยังสั่งให้รู้จักใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด มิให้สะสมเอาไว้เป็นของตนแต่ผู้เดียวถ้าเหลือใช้ให้ สละเป็นของกลาง เหล่านี้เป็นอริยวินัย เป็นระเบียบปฏิบัติของพระสงฆ์สาวก แต่พระเทวทัตไม่พอใจ ไม่ชอบใจ ไม่สมใจ เหตุเพราะไม่มีคนคอยเอาใจ ไม่มีคนใส่ใจ ไม่มีคนสนใจ จึงเกิดน้อยเนื้อต่ำใจ อยู่ผู้เดียว)

    พระเทวทัตครุ่นคิดด้วยความน้อยใจว่า ณ ที่นี้เราตัวคนเดียว ไม่มีใครเป็นพรรคพวกเราเลย เราจักทำให้ใครมาเลื่อมใสเราได้หนอ ลาภสักการะจะได้เกิดแก่เราตามที่ต้องการ พระเทวทัตคิดหาผู้ที่ตนจะชักจูงได้ คิดถึงพระเจ้าพิมพิสาร ก็คงจะครอบงำให้เลื่อมใสไม่ได้ เพราะพระราชาพิมพิสารพร้อมบริวาร ๑ แสน ๑ หมื่น ได้ตั้งอยู่ในภูมิของพระอริยบุคคลเบื้องต้น คือพระโสดาปัตติผล เสียแล้ว คงมีแต่พระราชกุมารของพระราชาพิมพิสาร ที่ยังอ่อนด้อยต่อประสบการณ์ ยังไม่รู้จักแยกแยะดีชั่วถูกผิด เราคงจะครอบงำพระราชกุมารนั้นให้อยู่ในอำนาจเชื่อฟังเลื่อมใสศรัทธาเป็นพวกเราได้

    (ตอนนี้ ขอพักที่จะกล่าวถึงพระเทวทัตเอาไว้ก่อน จะขอย้อนกล่าวถึง พระเจ้าพิมพิสารและพระราชโอรสของพระองค์)

    ฝ่ายพระราชาพิมพิสารและพระเทวี เมื่อถึงการอันเป็นอุดมมงคลฤกษ์ พระองค์ก็ทรงตรัสให้เบิกพระราชโอรสออกมาจากพระวิสูตร ชาวพนักงานและพราหมณ์ลั่นฆ้องกลองชัย และเป่าสังข์แตร นางสาวใช้กำนัลใน ต่างพากันประดับตกแต่งเรือนกาย ด้วยอาภรณ์อย่างดีสีสวยจากแคว้นกาสี ประทินโฉมชโลมกายด้วยแป้งร่ำ น้ำอบ น้ำปรุงอย่างด จากน้ำร้อยบุปผชาติ ที่มีสีและกลิ่นที่ควรนำมาประทินให้เกิดกำหนัดพอใจแก่พระราชโอรส

    พระราชโอรสทรงถวายบังคมเบื้องพระบาทของพระเจ้าพิมพิสาร และพระราชเทวี ทั้งสองพระองค์ทรงประคองพระวรกายของพระราชโอรสให้ทรงลุกขึ้น แล้วทรงปลอบจูบลูบขวัญ พระราชบุตรด้วยความเอ็นดูรักใคร่ แล้วให้ประทับนั่งในที่อันควรส่วนข้างหนึ่ง พร้อมกับมีพระดำรัสตรัสสั่งราชปุโรหิตดำเนินพระราชพิธีพร้อมทั้งทรงสถาปนาให้ดำรงตำแหน่งพระมหาอุปราชผู้มีโอกาสสืบราชบัลลังก์สืบไป ส่วนพระราชบุตรอชาตศัตรู ได้ทรงฟังพระราชบิดาขนานนาม พระองค์ว่าอชาตศัตรูกุมารก็ให้ทรงขุ่นเคืองพระทัยทำไมต้องมาตั้งชื่อพระองค์ให้เหมือนกับคำพูดของไพร่ที่พูดนินทาเรา ชะรอยสิ่งที่เราได้ยินมาคงจะเป็นเรื่องจริง พระราชกุมารครุ่นคิดแล้วก็ให้ขุ่นเคืองพระทัยยิ่งนัก แต่มิรู้จักทำเช่นไรได้ ก็ได้แต่ข่มใจไม่แสดงกิริยาและสีหน้า ให้ผิดสังเกตของพระราชบิดาและพระมารดา

    ข้างฝ่ายพระเทวทัต เมื่อได้ทราบข่าวว่า พระราชบุตรอชาตศัตรู ได้รับสถาปนาจากพระราชาพิมพิสาร ให้ได้เป็นมหาอุปราชก็ดีใจ สำแดงฤทธิ์เหาะจากนครโกสัมพีสู่เมืองราชคฤห์ ลอยอยู่กลางอากาศ เฉพาะพระพักตร์ของโอรสอชาตศัตรู และแปลงร่างเป็นกุมารน้อย จับงูพิษที่มีหงอนทั้ง ๔ เอาไว้ด้วยกำลังมือและเท้าตัวหนึ่งพันคอ แล้วปล่อยให้ห้อยหัวชูคอลงมาที่หน้าอกตัวหนึ่งขดตัวเป็นวง อยู่บนศีรษะ พร้อมกับชูคอแผ่แม่เบี้ยขึ้น ที่เหลือพันแขนและข้อเท้า ดูประหนึ่งดั่งเครื่องประดับกาย แล้วกุมารจำแลงนั้น ก็ลงมาจากอากาศ มานั่งอยู่ที่ตักของอชาตศัตรูราชโอรส

    พระราชกุมารอชาตศัตรูแสดงอากัปกิริยาหวาดกลัว แต่ด้วยมานะเจ้าอชาตศัตรู จึงตรัสถามกุมารนั้นว่า

    "ท่านเป็นใคร?"

    </TD></TR><TR><TD class=body vAlign=baseline align=left> "เราคือพระเทวทัตเป็นสาวกของพระสมณโคดม ผู้เป็นอรหันตสัมมาสัมพุทธะ" พระเทวทัตกล่าวแล้ว จึงกลายร่างกลับมาอยู่ในสภาพภิกษุอย่างเดิมถือบาตรยืนอยู่

    อชาตศัตรูราชโอรสเห็นดังนั้นก็ผ่อนคลายความหวาดกลัว มีจิตชื่นชมยินดีเลื่อมใสในกฤษดาภินิหารของพระเทวทัตเป็นอย่างยิ่ง ประกาศยอมรับพระเทวทัตเป็นครูของตน แล้วถวายเครื่องสักการะอันประณีตแก่พระเทวทัตเป็นอันมาก (นี่แหละคือลักษณะของคนอ่อนแอมีใครเขามาพูด มาบอก มาแสดงอะไรให้ดูนิดๆ หน่อยๆ ก็หลงเชื่อยอมให้เขาชักจูง โดยมิได้ขัดขืน)

    พระเทวทัตนั้นเมื่อถูกลาภสักการะครอบงำ จึงเกิดความละโมบด้วยคิดว่า นี่ขนาดเราเป็นสาวกของพระสมณโคดม ยังปรากฏลาภสักการะมากมายถ้าเราได้เป็นมหาสมณะเสียเอง ลาภสักการะ จักบังเกิดแก่เรามากมายปานใด ดีละ! เราจักครอบงำปกครองหมู่ภิกษุสงฆ์เสียเอง พระเทวทัตคิดดังนั้นแล้ว ฤทธิ์ที่มีอยู่ก็ได้อันตรธาน เสื่อมสิ้นไป จึงต้องเดินทางด้วยเท้าไปเข้าเฝ้าพระบรมศาสดา ณ เวฬุวันวิหาร ขณะนั้นพระบรมศาสดากำลังทรงแสดงธรรมแก่พระราชาและมหาชน เมื่อจบแล้วพระเทวทัตจึงลุกขึ้นประนมมือทูลว่า

    "ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า บัดนี้พระผู้มีพระภาคเจ้า ก็ทรงพระชราแล้ว เป็นผู้เฒ่าแล้ว เป็นผู้ใหญ่แล้ว ขอจงมีความขวนขวายน้อย จงอยู่ให้สบายเถิด ข้าพระองค์จักปกครองเหล่าภิกษุ บริษัทเอง ขอพระองค์จงทรงมอบภิกษุบริษัทนั้นแก่ข้าพระองค์"

    พระบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธะผู้ประสริฐ ทรงตรัสด้วย พระทัยการุณย์ว่า

    "อย่าเลยเทวทัต เธอจงอย่ากล่าววาจาเช่นนั้นเลย หาควรไม่ การที่เราตถาคตได้เป็นพระศาสดาสัมมาสัมพุทธะ หาได้มีใครแต่งตั้ง เราเป็นพระศาสดาปกครองหมู่ภิกษุสงฆ์ได้ ก็เพราะวิชชา-จรณะสดูกร เทวทัต เธอจงเพิกเฉยต่อจิตชั่วบาปนั้นเสียเถิด ความมักใหญ่ของเธอจักทำให้เธอเดินไปสู่อบายเธอจงกลืนน้ำลายสแล้ว หยุดเสียเถิด"

    พระเทวทัตครั้นได้ฟังพระสุคตเจ้าปฏิเสธดังนั้น ก็น้อยใจ คิดผูกอาฆาตพยาบาทต่อพระบรมศาสดาเกิดขึ้นเป็นครั้งแรก แล้วก็ทูลลา

    เมื่อพระเทวทัตทูลลาไปแล้ว พระบรมศาสดาก็ทรงตรัส สั่งให้เหล่าภิกษุสงฆ์ประกาศแจ้งข่าวเรื่องพระเทวทัตอยากเป็นใหญ่ ต้องการจะปกครองภิกษุบริษัทให้แก่ภิกษุสงฆ์รับทราบ เพื่อป้องกันการยุแยงให้หมู่สงฆ์แตกแยกจากกัน เพราะน้ำมือของพระเทวทัต

    ข้างฝ่ายพระเทวทัตก็กลับมาคิดว่าพระสมณโคดมทอด ธุระไม่ไยดีต่อเราแล้วเราก็จักทอดธุระไม่ไยดีต่อพระสมณโคดมบ้าง เราจักทำความฉิบหายให้แก่พระสมณโคดมแล้วจึงเดินทางไปหาอชาตศัตรูราชโอรสพร้อมกับกล่าวว่า

    "ดูกร พระราชกุมาร เมื่อก่อนมนุษย์ทั้งหลายมีอายุยืน แต่เวลานี้อายุมนุษย์เหลือน้อย ท่านอาจจะตายในเวลายังหนุ่มเสียก็ได้ ถ้าท่านยังจะมานั่งรอให้พระบิดามอบราชสมบัติให้ ซึ่งก็ไม่รู้ว่า เมื่อไหร่พระบิดาจะยกให้ อาจจักตายเสียก่อนก็ได้อย่ากระนั้นเลย ท่านจงไปฆ่าพระบิดาเสีย แล้วเป็นพระราชา ส่วนเราก็จักฆ่าพระสมณโคดมแล้วจักได้เป็นพระพุทธเจ้าสืบไป (นี่คือลักษณะของคนอ่อนแอ คือจะพร่อง ขาด ตะกละ ต้องการเป็นนิจ โดยไม่คำนึงว่าจะได้มาด้วยวิธีใด ขอให้ได้เป็นพอ)

    อชาตศัตรูราชกุมารทรงดำริว่า พระเทวทัตผู้เป็นเจ้านี้ เป็นผู้มีอานุภาพ อิทธิฤทธิ์มาก สิ่งที่ท่านไม่รู้แจ้งนั้นเป็นอันไม่มี เมื่อเราเชื่อฟังยอมทำตามคงต้องสำเร็จประโยชน์ดังหวัง คิดดังนั้นแล้ว ก็ทรงผูกพระขรรค์ติดไว้ที่ขา อำพรางด้วยผ้าห่ม แล้วเข้าไปสู่ที่ประทับของพระราชบิดาคือราชาพิมพิสาร ด้วยความเดียงสาไม่เคยทำผิดมาก่อน จึงมีอาการผิดปกติลุกลี้ลุกลน จนเป็นที่ผิดสังเกตของ เหล่าราชบุรุษ เสนาอำมาตย์จึงคุมตัวเข้าเฝ้าพระเจ้าพิมพิสาร ทรงซักไซ้ไต่ถามได้ความว่า ต้องการราชสมบัติ จึงคิดสังหารพระราชบิดา ด้วยความรักเอ็นดูพระราชโอรส ท้าวเธอจึงทรงพระราชทานราชสมบัตินั้นให้แก่พระโอรสอชาตศัตรู พระเจ้าอชาตศัตรู เมื่อได้รับราชสมบัติแล้ว พระเทวทัตก็เข้าเฝ้าแสดงความยินดีต่อความสำเร็จของพระเจ้าอชาตศัตรูแล้วกล่าวว่า

    "ความสำเร็จครั้งนี้ยังไม่ถือว่าสมบูรณ์ เพราะท่านยังชุบเลี้ยงพระราชาพิมพิสารซึ่งเปรียบเหมือน จิ้งจอกเฒ่าที่กลอกกลิ้ง รู้จักวิธีเอาตัวรอด ในไม่ช้าพระราชาพิมพิสารอาจจะหวนคำนึงนึกถึงราชสมบัต แล้วรู้สึกเสียดายปรารถนาจะเอาราชบัลลังก์คืน อาจจะมาทำร้ายพระองค์เสียก็ได้" (แสดงให้เห็นว่า คนยุคนั้นคิดเห็นแก่ตัว เหมือนยุคนี้เหมือนกัน โดยไม่คำนึงว่าความเห็นแก่ตัวนั้นจักทำร้ายทำลายใคร)

    พระเจ้าอชาตศัตรู จึงตรัสถามพระเทวทัตว่า

    "ถ้าอย่างนั้นจักให้ข้าพเจ้าทำประการใด?"

    พระเทวทัตทูลว่า "จงกำจัดต้นเหตุเสีย!!"

    ท้าวเธอจึงตรัสว่า "เราผู้เป็นบุตร ไม่ควรจักฆ่าบิดาด้วย ศาสตรา มิใช่หรือ"

    พระเทวทัตให้รู้สึกละอายแล้วนิ่งคิด "ถ้าเช่นนั้นจงฆ่าด้วยการกักขังแล้วให้อดอาหาร"

    พระเจ้าอชาตศัตรูก็หลงเชื่อ ท้าวเธอจึงได้ตรัสสั่งให้ราชบุรุษคุมตัวพระบิดาคือพระราชาพิมพิสารไปกักขังไว้ในเรือนจำ พร้อมกับทรงห้ามไม่ให้เจ้าพนักงานถวายอาหารทั้งคาวและหวาน ด้วยมุ่งหวังว่าพระเจ้าพิมพิสารพระบิดาจะอดอาหารสิ้นพระชนม์ไปเอง แล้วก็ห้ามมิให้ผู้ใดเข้าเยี่ยม ยกเว้นพระเทวีหรือพระราชมารดาทรงอนุญาต ให้เข้าเฝ้าได้

    ฝ่ายพระเทวีผู้เป็นมเหสีของพระเจ้าพิมพิสารก็เศร้าโศกเสียใจ น้อยใจ แค้นใจ ทุกข์ใจในวาสนาของตัวเอง ที่มีลูกชั่ว สู้อุตส่าห์ปลูกฝังให้ความรักความเอ็นดู ดูหรือกลับมาทำร้ายพ่อแม่ได้ เพราะหลงเชื่อคนพาล โธ่...อนิจจาพระสวามีสุดที่รักกลับจะต้องมาตกระกำลำบาก อยู่ในห้องขังที่สกปรก คับแคบ และอับชื้น มิได้เห็นแสงเดือนแสงตะวัน ทรงเป็นพระมหากษัตริย์สุขุมาลชาติ บัดนี้กลับมาขาดผู้อุปถัมภ์อุปฐากรับใช้ มิได้มีผู้ใดกล้าที่จะดูแลพัดวีให้ เพราะคำสั่งของลูกจังไร ที่ปรารถนาจะทำร้ายทำลายฆ่าบิดาของตน ดูหรือฝ่าพระบาทก็ทรงพระชราภาพมากแล้ว ยังจะต้องมาตกระกำลำบากสสอดอาหารเพราะเจ้าโจรชั่ว ด้วยความโศกเศร้าทับทวี พระเทวีก็สิ้นสติมิได้สมฤดีไปในบัดนั้น

    ฝ่ายพวกบ่าวไพร่ สาวสนมกำนัลใน ผู้รับใช้อยู่เบื้องพระปรางก็พากันช่วยปลอบประโลม ชโลมพระวรกายด้วยน้ำบุปผชาติอันเย็น พระเทวีก็ทรงฟื้นคืนสติ จึงสลัดความเศร้าโศกเสียจากพระทัย ดังสตรีผู้มีกำลัง สลัดของหนักออกจากบ่า แล้วทรงตรัสใช้ให้นางกำนัล ไปนำอาหารอันประณีต ที่พระสวามีทรงโปรด มาจัดลงในขันทองคำ แล้วพระเทวีก็ทรงห่อด้วยผ้าแพร นำผ้าแพรนั้นถือติดพระวรกาย คลุมทับด้วยเครื่องทรง เพื่อมิให้ราชบุตรและราชบุรุษได้สังเกตเห็น พร้อมกับเสด็จไปเข้าเฝ้าพระราชาพิมพิสารราชสวามีทำอยู่เช่นนี้เป็นเวลานาน จนเป็นที่สงสัยของพระเจ้าอชาตศัตรูว่า

    เอ...นี่ก็เป็นกาลแรมเดือนแล้ว ทำไมพระบิดาเรายังไม่สิ้นพระชนม์เสียที ทั้งที่เราให้อดอาหาร จึงเสด็จไปแอบเฝ้าดูสจึงได้รู้ ความจริงว่า พระมารดาแอบนำอาหารใส่พับใส่ห่อด้วยผ้าเข้าไปถวาย พระบิดาในที่คุมขัง พระเจ้าอชาตศัตรู จึงทรงตรัสสั่งห้ามไม่ให้พระมารดานำผ้า หรือพกพาเอาผ้าที่ไม่ใช่เครื่องนุ่งห่ม เข้าไปสู่ที่คุมขัง พระเทวีก็มิได้ทรงละความพยายาม ทุกวันที่เข้าเฝ้าจะทรงทำความสะอาดชำระสระพระเกศาสแล้วชโลมด้วยน้ำมันหอม รวบพระเกศา ให้เป็นมวย นำเอาอาหารห่อด้วยถุงหนังของลูกแกะอ่อน ที่ฟอกขัดจนมีผิวละเอียดบางแต่เหนียว มาใส่อาหาร แล้วซ่อนเอาไว้ที่มวยผม คือพระเมาลี นำเข้าไปถวายพระสวามีในที่คุมขัง

    เหตุการณ์ดำเนินไปเช่นนี้ จนพระเจ้าอชาตศัตรูจับได้ จึงตรัสสั่งให้พระมารดามิให้เกล้าพระเมาลีเข้าไปสู่ที่คุมขัง พระเทวีจึงทรงเปลี่ยนวิธี โดยทุกครั้งก่อนเวลาที่จะเข้าเฝ้าพระราชาพิมพิสาร พระสวามี พระนางจะทรงชำระฝ่าพระบาททั้งสองข้าง พร้อมด้วยฉลองพระบาทแล้วแช่ด้วยน้ำร้อนที่ร้อนพอทน จนฝ่าพระบาทแดงก่ำ ด้วยฤทธิ์ของน้ำร้อนนั้น แล้วทรงเช็ดฝ่าพระบาทด้วยผ้ากำพลอย่างดี นำเอาแป้งสาลีที่ระคนไปด้วยนม เนยและน้ำผึ้ง ทำให้เป็นแผ่นแล้วทอดให้สุก พร้อมกับนำมาใส่ลงในฉลองพระบาททั้งสองข้าง ซึ่งปูลาด รองรับด้วยผ้ากำพลสีขาว แล้วใส่ฉลองพระบาทนั้นไปเข้าเฝ้าพระสวามี ในที่คุมขัง ทรงกระทำอยู่เช่นนี้ จนพระเจ้าอชาตศัตรูทรงจับได้อีก จึงตรัสสั่งห้ามใส่ฉลองพระบาทเข้ามาสู่ที่คุมขัง

    เมื่อเป็นเช่นนี้ พระเทวีก็มิได้ทรงมีความท้อถอย กลับทรงคิดหาวิธีที่จะช่วยพระสวามี ให้รอดพ้นจากความหิวตาย ด้วยการที่ทุกครั้งที่จะทรงเข้าเฝ้า พระนางเธอได้ทรงชำระพระวรกายด้วยน้ำเย็นและน้ำร้อนจนหมดมลทินแห่งกาย แล้วชโลมพระวรกายด้วยน้ำบุปผชาติที่มีกลิ่นหอม พร้อมกับนำน้ำผึ้ง เนย นม น้ำอ้อย มาทาให้ทั่วพระวรกายและพระภูษาที่ทรงแล้วคลุมทับด้วยผ้าแพรส่าหรี เนื้อบางเข้าไปเฝ้าพระสวามีเพื่อให้พระสวามีได้ดูดเลียจตุมธุรสทั้ง สี่นั้นจะได้ทรงประทังชีวิตให้ทรงอยู่ได้พระเทวีทรงทำอยู่เช่นนี้จน กาลล่วงเลยมา

    พระเจ้าอชาตศัตรูผู้มีดวงตาปัญญาอันมืดมากไปด้วย อคติและความหลง อ่อนแอและเชื่อคนง่าย ได้ทรงเฝ้ารอเวลาฟังข่าว สิ้นพระชนม์ของพระบิดาด้วยความกระวนกระวาย ด้วยทรงคิดว่าพระบิดาเราก็แก่เฒ่าชราภาพมากแล้วโดนจับกุมกักขังให้อดอาหาร และน้ำก็น่าจะตายนานแล้วกาลก็ล่วงเลยมานานแต่ทำไมถึงยังไม่ สิ้นพระชนม์อีกหรือว่าพระมารดาจะหาวิธีพกพาอาหารและน้ำนำไปถวายให้พระบิดาทรงเสวยไม่ได้การ...เห็นทีเราต้องห้ามพระมารดามิให้เข้าเฝ้าพระบิดาวิธีนี้คงจะดีเป็นแน่ทรงดำริดังนั้นแล้ว จึงมีรับสั่งราชบุรุษให้ไปแจ้งข่าวแก่พระมารดาว่าพระราชาอชาตศัตรู ห้ามพระเทวีเข้าไปเฝ้าพระเจ้าพิมพิสาร ณ ที่คุมขัง

    ข้างพระเทวีมเหสีของพระเจ้าพิมพิสาร เมื่อโดนราชบุตร ตรัสสั่งห้ามมิให้แม่เข้าไปเยี่ยมพ่อเช่นนั้น ก็ทุกข์ระทมพูนเทวษ โศกสลด กำสรวลปริ่มว่าจะขาดใจ ทรงพระดำเนินไปสู่ที่ซึ่งคุมขังพระสวามีอย่างเหม่อลอยหมดเรี่ยวแรงแทบจะทรงพระวรกายไม่อยู่ แต่ด้วยความรักผัวผูกพันลูก จึงมีมานะพยุงกายเดินเซซัดไปจนถึงหน้า ประตูที่คุมขังแล้วจับเกาะลูกกรงประตูยืนอยู่สพร้อมกับกล่าวว่า

    "ข้าแต่พระจอมบดินทร์ปิ่นปกเกศของหม่อนฉัน โทษอันใดที่มีในหม่อมฉัน ผู้ข้ารองเบื้องยุคลบาทได้ทำไว้แก่พระองค์ ขอได้ทรงโปรดพระกรุณาพระราชทานอภัยโทษนั้นแก่หม่อมฉันครั้งนี้ เป็นปัจฉิมทัศนะที่จะได้เข้าเฝ้าใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาทแล้ว แต่นี้ไปมีแต่จะคลาดแคล้วจากทูลกระหม่อมแก้วไม่มีโอกาสได้เข้าเฝ้ารับใช้ สนองฝ่าพระบาทอีกแล้วด้วยเหตุว่าด้วยพระราชบุตรของเราทั้งสองผู้เนรคุณสมีการกระทำอันแสนทารุณโหดร้ายตรัสห้ามมิให้เกล้าหม่อมฉัน มาเข้าเฝ้าฝ่าพระบาทอีกเป็นอันขาดเป็นอันสุดคิด สุดฤทธิ์ สุดวิสัย สุดที่เกล้าหม่อมฉันจักฝืนพระอาญามาหาได้ ถ้าฝ่าพระบาททรงเชื่อคำของข้าฝ่าพระบาทแต่แรก ฆ่าราชกุมารนั้น ตั้งแต่เล็ก เราทั้งสองคงมิต้องมารับทุกข์เวทนาในครานี้ คงจะเป็นเวรกรรมของฝ่าพระบาท ที่ต้องมาทนทุกข์ทับถมแสนทวีอยู่ในที่คุมขังมหันตโทษ ประดุจดังคนหินโหดอันธพาลสันดานหยาบ โอ้ว่าพระทูลกระหม่อมแก้วผู้รุ่งเรืองด้วยบุญฤทธิ์ บัดนี้มาตกระกำลำบาก ยิ่งกว่าคนยากอยู่ข้างมรรคา ข้าวสักเม็ด น้ำสักหยดสที่จะลดองค์หา ก็ยังบ่มิได้ สงสารเอยแต่พระจอมกษัตริย์ขัตติเยศ พระองค์ได้ทรงปกป้องประคองประเทศและไพร่พลชนทั้งหลาย มิให้อนาทรร้อนใจแม้สักนิด แต่คนเหล่านั้นเหมือนไม่มีสิทธิ์ แม้แต่จะคิดช่วยพระองค์

    เมื่อก่อนพระองค์ได้ทรงประทับและบรรทม อยู่ ณ ปราสาทราชมณเฑียรทอง ปูลาดด้วยเครื่องรองที่เนืองนองด้วยของอย่างดี มีสาวสรรกำนัลนาง ต่างผลัดเวียนเปลี่ยนกันไปรับใช้อยู่เนืองนิจ แต่มาบัดนี้ต้องมาประทับบรรทมสอยู่ในที่คุมขัง ปราศจากเครื่องรองลาด มีแต่นายทวารรูปกำยำเฝ้าตวาดให้ขาดสติ

    เมื่อก่อนฝ่าพระบาททรงเคยสรงสนานด้วยอุทกธารา อันประกอบด้วยบุปผชาติ มีเครื่องภูษาทรงอลังการพรรณรายสายสะพายห้อย เสวยสุธารสโภชน์กระยาหารบนพานเพชรสมาบัดนี้มีพระวรกายเปรอะเปื้อนดังเรื้อนโรค ต้องทุกข์โศกทรงผ้าดูระอายิ่ง เคยเสวยสุรารสโภชนาหารบนพาน ฟังเสียงพิณ มาบัดนี้ฝ่าพระบาท จะมิได้ทรงเสวยสุธารสโภชนาหารอีกต่อไปแล้ว

    โอ้พระมิ่งมงกุฎเกศ พระองค์ช่างมาประสบทุกข์พิเศษเหลือประมาณ หมดทางที่เกล้ากระหม่อมฉันจะช่วยบรรเทาชำระภัย พาลลงไปได้ยังเหลือแต่คุณแก้ว ๓ ประการ คือพุทธรัตน์ ธรรมรัตน์ พระสังฆรัตน์ เท่านั้นแหละที่จะช่วยได้ขอพระจอมกษัตริย์ขัตติเยศ ทรงระลึกถึงคุณทั้งสามเป็นอารมณ์เถิด"

    แล้วพระนางก็ทรงพระกันแสงจนดวงพระเนตรปูดโตแดงก่ำ จนสายัณห์คล้อยต่ำชาวพนักงานจึงมาทูลเชิญพระเทวีสเสด็จกลับยังพระราชฐาน

    จอมกษัตริย์พิมพิสาร เมื่อพระเทวีเสด็จกลับแล้วก็มีพระทัยตั้งมั่นสำรวมระวังกาย ใจ มีพระทัยอยู่ในปีติสุขด้วยการ เดินจงกรม พระวรกายก็มิได้กระวนกระวายด้วยความหิว และด้วยอานุภาพของรัตนะ ๓ จึงทำให้พระเจ้าพิมพิสาร ดำรงพระชนม์อยู่ได้ด้วยการเดินจงกรมจนเกิดธรรมปีติ

    ฝ่ายพระเจ้าอชาตศัตรูราชโอรส เมื่อได้ทรงทราบว่า พระบิดายังมิได้สิ้นพระชนม์ ดำรงตนอยู่ได้ด้วยการเดินจงกรม จึงให้ราชบุรุษเข้าไปแล่หนังฝ่าพระบาททั้งสอง ด้วยมีดโกนอันคมกล้า แล้วทาด้วยเกลือและน้ำมัน มิหนำซ้ำ ยังให้นำเอาถ่านไฟแดงๆ ที่ปราศจากควันมาลนฝ่าพระบาททั้งสอง จนทำให้พระเจ้าพิมพิสารจอมราชาโสดาบัน ไม่สามารถเดินจงกรมได้ ได้แต่ประทับนั่งระลึกอยู่ในพระทัยว่า

    </TD></TR><TR><TD class=body vAlign=baseline align=left> อโห พุทโธ อโห ธมโม อโห สังโฆ ดังนี้จนพระวรกายเหี่ยวแห้งลงเหมือนกับดอกไม้ที่เขาทิ้งไว้กลางแจ้งฉันนั้น และสุดท้ายเธอก็ได้ไปเกิดเป็นชนาสภยักษ์ ซึ่งเป็นบริวารของท้าวเวสสุวัณ ในสวรรค์ชั้นจาตุมหาราช

    (เฮ้อ...เป็นอันสิ้นเวรกันเสียที ระหว่างอชาตศัตรูกับพระเจ้าพิมพิสาร ดูว่าคู่นี้คงจะผูกเวรสผูกกรรมกันมาอย่างหนักหนา สาหัส แต่ชาติปางก่อน มาชาตินี้จึงมาจองล้างจองผลาญกันจนถึงตาย ถ้าจะเล่าที่มาของเวรกรรมนั้นเดี๋ยวก็ยาว คงจะต้องติดเอาไว้ก่อน)

    ทีนี้ก็ขอมากล่าวถึงพระเจ้าอชาตศัตรูราชา ในขณะที่พระเจ้าพิมพิสารสวรรคต นางสนมของพระเจ้าอชาตศัตรูก็ทรงให้กำเนิดพระโอรส อันเป็นเวลาเดียวกันกับการสวรรคตของพระเจ้าพิมพิสาร เหล่าราชบุตรเสนา มหาอำมาตย์ก็ขอเข้าเฝ้าเพื่อจะแจ้งข่าวการสิ้นพระชนม์ของพระราชบิดา และการประสูติของพระราชบุตร ของพระเจ้าอชาตศัตรูเสนามาตย์เหล่านั้น ก็มาคิดคำนึงว่า เราจักนำเรื่องมงคลและอัปมงคล แจ้งถวายแก่พระราชา ดูจะไม่เป็นการอันควร จำเราจะต้องแจ้งแต่เฉพาะเรื่องมงคลก่อนจะดีกว่า

    คิดดังนั้นแล้วเสนามาตย์ก็กราบบังคมทูลแจ้งข่าวการประสูติพระราชโอรส ของนางพระสนมให้แก่พระราชาอชาตศัตรูได้ทรงทราบ ท้าวเธอพอได้ฟังว่าตนได้เป็นพ่อคนแล้ว ตนมีบุตรแล้ว บุตรของตนเป็นชาย ก็ให้ดีพระราชหฤทัย มีพระโลมาชูชัน เกิดความสิเนหา เอ็นดูในบุตรชายนั้น จนแผ่ซาบซ่านไปทั่วพระวรกาย ท้าวเธอจึงนึกถึงพระบิดาว่า เมื่อเราเกิดพระบิดาคงจะต้องรักเรา สิเนหา เอ็นดูเรา ดังนี้เป็นแน่ นึกได้ดังนั้น พระราชาอชาตศัตรูผู้สำนึกผิด ได้มีรับสั่งแก่เสนามาตย์ว่า

    "พวกท่านจงไปปล่อยพระบิดาของเราออกมาเดี๋ยวนี้"

    เหล่าเสนามาตย์ทั้งหลายก็พากันทูลถามว่า "จะทรงโปรดให้ปล่อยใครพระเจ้าข้า เมื่อเวลาพระราชบุตรของฝ่าพระบาททรงประสูติ ก็เป็นเวลาเดียวกับพระเจ้าพิมพิสารจอมราชาพระบิดาของพระองค์สวรรคตพอดี พระเจ้าข้า"

    พระราชาอชาตศัตรูพอได้ทรงทราบดังนั้น ก็ทรงพระกันแสง พร้อมกับเสด็จไปเฝ้าพระมารดา ทูลถามว่า

    "ข้าแต่พระเแม่เจ้า เมื่อหม่อมฉันประสูติ พระบิดาทรงรักหม่อมฉันหรือไม่พระเจ้าข้า"

    พระมารดาทรงตรัสถามว่า "ทำไมลูกจึงถามอย่างนี้ เมื่อเจ้ายังเยาว์วัยอยู่ ได้เกิดตุ่มขึ้นที่นิ้วมือของเจ้า เจ็บปวดทรมาน ร้องไห้ไม่หยุดจนพวกพี่เลี้ยงอุ้มไปเฝ้าพระบิดา ซึ่งทรงประทับอยู่ ณ ท้องพระโรงกำลังทรงวินิจฉัยคดี พระบิดาของเจ้าทรงดูดนิ้วของเจ้า แล้วหนองที่เจือด้วยเลือดก็แตกออก ไหลลงสู่พระศอ โดยที่พระบิดา ของเจ้ามิได้แสดงความรังเกียจบ้วนทิ้ง กลับกลืนกินหนองและเลือดเสียของเจ้า ด้วยความรักและเอ็นดูเช่นนี้จะถือว่าพระบิดาเจ้าไม่รัก เจ้าได้กระนั้นหรือ"

    พระราชาอชาตศัตรูครั้นได้ทรงฟังดังนั้น ก็ทรงเศร้าสลดพระหฤทัยเป็นอันมาก ทรงตีอกชกตัวเองด้วยความเจ็บแค้นที่หลงเชื่อคำยุยงของคนพาล จนทำร้ายทรมานพระบิดาจนตาย พระเทวีทรงได้ทอดพระเนตรพระโอรสอชาตศัตรูสด้วยจิตสมเพชและ เมตตาทรงเข้ามาห้ามปรามปลอบประโลมให้พระเจ้าอชาตศัตรู คลายทุกข์โศก (นี่แหละหัวอกของพ่อแม่ ถึงแม้บุตรจะล้างผลาญ ทำร้ายทำลายตนให้ย่อยยับสักปานใด พ่อแม่ก็ยินดีให้อภัยเมื่อลูกสำนึกผิด พ่อแม่เป็นที่พึ่งพิง บรรเทาความให้แก่ลูกได้เสมอ พระศาสดาจึงทรงยกย่องพ่อแม่ผู้มีคุณธรรมว่าเป็นพรหมของบุตร คือมีเมตตา กรุณา มุทิตาความยินดีเมื่อเห็นลูกได้ดี อุเบกขาความวางเฉยเสียได้ ต่อการกระทำของลูก ที่คิดจะทำร้ายตนเอง และวางเฉยเสียได้เมื่อช่วยจนถึงที่สุด แล้วลูกยังไม่ได้ดี)

    เมื่อพระเจ้าอชาตศัตรู ได้เห็นความรักความเมตตา ความให้อภัยของพ่อและแม่ที่มีต่อตนแล้วก็ค่อยมีใจชื้นขึ้นมาได้บ้าง เสด็จออกท้องพระโรง มีรับสั่งโปรดให้ชาวพนักงาน จัดพิธีถวายพระเพลิง ปลงพระบรมศพของพระราชบิดาให้สมพระเกียรติ

    ขอย้อนกล่าวฝ่ายพระเทวทัต เมื่อทูลยุยงพระเจ้าอชาตศัตรู ให้จับพระเจ้าพิมพิสารราชบิดา กักขังแล้วทรมานให้อดข้าว อดน้ำแล้ว ตนก็ทูลขอทหารผู้ขมังธนู เพื่อไปยิงสมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้า ลูกธนูนั้นถูกจับขึ้นพาดสาย เล็งยิงตรงไปยังพระอุระของพระผู้มีพระภาคเจ้า แต่พอลูกธนูนั้นถูกปล่อยออกจากแล่ง กลับกลายเป็นลูกมหรรฆสวรรค์* ตกลงยังเบื้องพระพักตร์พระศาสดา นายทหารผู้ขมังธนูนั้น ก็ไปแจ้งแก่พระเทวทัต พระเทวทัตก็แสดงความไม่พอใจ แล้วก็กล่าวว่า

    "เมื่อเจ้าไม่สามารถจักฆ่าสมณโคดมด้วยธนูได้ เราจักฆ่าสมณโคดมด้วยก้อนหินเอง" ว่าแล้วพระเทวทัตก็ปีนขึ้นไปซ่อนตัวอยู่บนยอดเขาคิชฌกูฏ รอเวลาพระศาสดาเสด็จเดินจงกรมอยู่ที่ตีนเขา เมื่อได้โอกาสเหมาะ พระเทวทัตจึงใช้ไม้คานงัดก้อนศิลาใหญ่ ให้กลิ้ง ลงมาต้องพระวรกายของพระศาสดา

    ด้วยพุทธานุภาพ ยอดเขาลูกเล็กที่อยู่ข้างหน้า ของเขาคิชฌกูฏทั้งสองลูก ก็น้อมตนลงมาปกคลุมพระวรกาย ของพระศาสดาเอาไว้ มิให้โดนก้อนหินใหญ่กระแทก แต่ถึงกระนั้นเมื่อก้อนหินใหญ่กลิ้งลงมากระทบกับยอดเขาทั้งสองลูก หินใหญ่นั้นก็แตกกระจายออกเป็นชิ้นเล็กชิ้นน้อย ซึ่งก็มีอยู่ชิ้นหนึ่งแตกกระเด็นมากระทบข้อพระบาทของพระศาสดา จนทำให้ห้อพระโลหิต ทำให้เกิดเวทนากล้าขึ้น จนต้องร้อนถึงหมอชีวก มาถวายการรักษาจึงหาย จากพระประชวรนั้น

    เมื่อพระเทวทัตทำงานล้มเหลว จึงมาคิดว่าชะรอย มนุษย์ อาวุธสศิลา ไม่สามารถจะฆ่าสมณโคดมได้ คิดดังนั้นแล้วก็เดินทางไปเข้าเฝ้าพระเจ้าอชาตศัตรู ทูลขอช้างนาฬาคิรี ซึ่งเป็นพญาช้างที่ดุร้ายชอบทำร้ายและฆ่ามนุษย์ยิ่งนัก พระเจ้าอชาตศัตรูเมื่อได้รับการร้องขอจากพระเทวทัต จึงตรัสว่า "ดีละ" แล้วมีคำสั่งให้เรียกนายคชบาลเข้าเฝ้า พร้อมกับตรัสสั่งว่า

    "พรุ่งนี้เช้าเจ้าจงนำเหล้าอย่างแรง ให้พญาช้างนาฬาคิรีดื่ม แล้วจงปล่อยไปในถนนที่พระสมณโคดมเดินมา ส่วนจะปล่อยใน ขณะใดพระผู้เป็นเจ้าเทวทัต จะสั่งต่อพวกเจ้าเอง"

    ฝ่ายพวกนายคชบาล พอทราบว่าพระราชาให้มอมเหล้า ช้างนาฬาคิรี แล้วไปปล่อยในถนน ก็ซุบซิบนินทากันเป็นที่อึงมี่ จนชาวบ้านร้านตลาดรู้กันทั่ว ต่างฝ่ายต่างมิได้มีผู้ใดกล้าออกจากเคหสถาน บ้านของตนเลย ผู้คนทั้งหลายต่างก็มีความกลัวอำนาจ ความดุร้ายของพญาช้างนาฬาคิรี เพราะรู้ฤทธิ์ดีว่า ไม่ว่าอะไรก็ตามที่ขวางหน้า พญาช้างจะทำลายทุกอย่าง โดยมิมีผู้ใดต้านทานได้

    ครั้นถึงเวลาภิกขาจาร พระสัมมาสัมพุทธะผู้ประเสริฐ ทรงตรัสให้พระอานนท์พุทธอนุชา เรียกภิกษุสงฆ์ทั้งปวงในกรุงราชคฤห์ ตามเสด็จมาตามถนนนั้น โดยมีพระจอมศาสดานำหน้า ผู้คนและมหาชนทั้งหลายก็พากันแง้มประตู เจาะรูหน้าต่าง ต่างพากันดูว่า พระบรมสุคตเจ้าและหมู่สงฆ์ จักทำอย่างไรกับพญาช้างนาฬาคิรีเมื่อทรงเสด็จพระดำเนินมาบนถนนได้สักระยะหนึ่ง พระเทวทัตก็ให้สัญญาณ พร้อมกับสั่งให้พวกชาวคชบาล ช่วยกันเอาหอกสปฏัก เหล็กแหลม ทิ่มแทงที่บั้นท้ายของพญาช้างผู้กำลังเมาตกมันวิ่งเตลิดไปตามถนน ด้วยความโกรธและตกใจ ผ่านเพิงพักร้อน ร้านรวง ชานบ้าน แผงตลาด พญาช้างก็อาละวาดทำลายกวาดเสียละเอียด แล้วก็วิ่งตะบึงต่อไป ตรงมายังที่เสด็จพระดำเนินของพระพุทธเจ้าและเหล่าสาวก

    ฝ่ายภิกษุทั้งหลายพอเห็นดังนั้น จึงทูลแก่พระผู้มีพระ-ภาคเจ้าว่า

    "ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ช้างนาฬาคิรีนี้ดุร้ายนัก เป็นช้างที่ชอบฆ่าคน กำลังวิ่งมาตามถนนนี้ ช้างนี้ไม่รู้จักคุณของพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ขอพระองค์เสด็จหลีกไปเถิดสพระเจ้าข้า"

    พระศาสดาจึงทรงตรัสห้ามเสียว่า "ภิกษุทั้งหลาย เธอจงอย่ากลัวไปเลยเราจะทรมานช้างนาฬาคิรีเอง"

    ข้างพระเถระผู้ใหญ่ ซึ่งเป็นพระอรหันต์ทั้ง ๘๐ รูป มีพระสารีบุตรเป็นต้น ต่างกราบทูลว่า

    "ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า ธรรมดากิจกรรมน้อยใหญ่ ที่เกิดขึ้นแก่บิดา ย่อมเป็นภาระหน้าที่ของบุตร ที่จักช่วยทำกิจกรรมนั้นๆ ข้าพระองค์จักทรมานช้างนาฬาคิรีเอง พระเจ้าข้า"

    พระบรมศาสดาผู้ประเสริฐ ทรงตรัสว่า "อย่าเลยภิกษุทั้งหลาย กำลังของพระสัมมาสัมพุทธเจ้านั้นเหนือกว่ากำลังของพระสาวก พวกเธอทั้งหลายจงอยู่ในอาการสงบเถิด เราจะทรมานช้างนาฬาคิรีนี้เอง"

    ลำดับนั้น พระอานนท์พุทธอนุชาและอุปฐาก ด้วยความรักและศรัทธา อันมีต่อพระสุคตเจ้า ได้ออกเดินด้วยความเร็ว ไปยืนขวางหน้าพญาช้างนาฬาคิรี ด้วยคิดว่าขอให้ช้างตนนี้ข้ามศพเรา ไปเสียก่อน เราจักไม่ยอมให้ช้างนี้ทำอันตราย ต่อพระผู้เป็นเจ้า อันเป็นที่รักยิ่งของเราได้ แล้วจึงกล่าวต่อช้างว่า

    "เดรัจฉานผู้มีร่างใหญ่ มีศักดาและเดช ขอท่านจงฆ่าเราเสียเถิด จงงดเว้นต่อพระแก้วตาโลกด้วยเถิด"

    พระจอมไตรบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธะผู้ประเสริฐ ทรงแสดงพระพุทธานุภาพ ปรากฏกายเฉพาะหน้าของช้างนั้น โดยมีพระอานนท์อยู่เบื้องหลัง ในเวลาเดียวกันก็มีเด็กน้อยผู้ซุกซน พอเห็นช้างใหญ่ก็เกิดความคึกคะนอง วิ่งสกัดหน้าช้าง ช้างนั้นก็จะใช้งวงฟาดทำร้าย พระศาสดาก็ทรงแผ่พระเมตตาไปถึงช้างแล้วทรงเปล่งพระสุรเสียงอันไพเราะดุจเสียงท้าวมหาพรหมว่า

    "ดูก่อน ช้างนาฬาคิรี คนทั้งหลายมอมสุราเจ้า มิใช่ให้ เจ้ามาทำร้ายผู้อื่น แต่เพื่อให้ทำร้ายเราต่างหาก เราอยู่นี่แล้ว"

    ช้างนั้นจึงหยุดแล้วหันมามองพระสุคตเจ้า พระโลกนาถเจ้าก็ทรงแผ่เมตตาให้แผ่ซ่านออกมาทั่วทั้งพระวรกาย จนเป็นรัศมีฉัพพรรณรังสี แผ่ซ่านให้ถึงกายช้าง พญาช้างนาฬาคิรีก็สิ้นฤทธิ์ หายเมา หดงวงลดงาหูตกหางต่ำ เดินตรงมาหาพระศาสดา แล้วทรุดเข่าหมอบลงเฉพาะพระพักตร์

    ครั้งนั้น พระบรมสุคตเจ้าจึงตรัสว่า "นาฬาคิรีเจ้าเป็น ข้างเดรัจฉาน เราเป็นข้างพระพุทธเจ้าแต่นี้ไปจงงดเว้นความดุร้าย อย่าประพฤติหยาบคาย อย่าฆ่าสัตว์ จงมีเมตตาแก่สัตว์ ผู้ร่วมเกิด แก่ เจ็บ ตาย" แล้วพระสุคตเจ้าก็ทรงยกพระหัตถ์ขวาขึ้นลูบกระหม่อม ช้างด้วยความเมตตา

    ฝ่ายหมู่ชนทั้งหลาย ที่พากันแอบดูเหตุการณ์อยู่ เห็นปาฏิหาริย์ในพุทธานุภาพ และชัยชนะของพระศาสดาแล้ว ต่างก็เปล่งเสียงโห่ร้อง ตบมือ ตีเกราะเคาะสัญญาณให้อึงมี

    ส่วนพระเทวทัตนั้นเล่า เมื่อเห็นเหตุการณ์กลับตาลปัตร เช่นนั้น ก็หนีเข้าไปเฝ้าพระเจ้าอชาตศัตรู แล้วทูลเล่าเรื่องทั้งหลายให้ทรงทราบ พระเจ้าอชาตศัตรูพอรู้ว่าสพระบรมศาสดาสมณโคดม มีอานุภาพมากมีบริวารมาก มีกำลังมาก ผู้คนรักศรัทธามาก ก็นึกกลัว ไม่คิดจะเชื่อพระเทวทัตอีก กอปรกับได้รู้ความจริงว่า โดนพระเทวทัตหลอกใช้ จนฆ่าพระบิดาตาย ก็สำนึกผิด จึงขับไล่พระเทวทัตออกไปจากวัง โดยไม่พูด ไม่พบ ไม่คบด้วย

    เมื่อถูกพระเจ้าอชาตศัตรูขับออกมาจากวังแล้ว พระเทวทัตก็หันไปรวบรวมสมัครพรรคพวกภิกษุใหม่ให้หลงเชื่อ แล้วแยก ตนเองออกมาจากสงฆ์หมู่ใหญ่ โดยการประกาศตน ไม่ขึ้นอยู่กับพระพุทธเจ้า ทำสงฆ์ให้แตกกันเป็นสองพวก ด้วยกรรมอันหนักที่พระเทวทัตได้สร้างขึ้น ทำให้แม้แต่แผ่นดิน ก็ไม่สามารถรองรับร่างของพระเทวทัตเอาไว้ได้ถึงกับแยกออกจากกันสูบเอาร่างของพระเทวทัต ลงไปไหม้อยู่ในอเวจีมหานรก แต่ก่อนที่ร่างของพระเทวทัตจะพ้นจากพื้น พระเทวทัตได้สำนึกผิด จึงตั้งจิตอธิษฐานถวายกระดูก คางของตนเป็นพุทธบูชา

    (นี่คือจุดจบของคนหลง คนมืดบอด ตกเป็นทาสของความตะกละ ความต้องการ ความอยากจนนำพาตนให้ได้กระทำชั่วต่างๆ จนเป็นผลร้ายต่อตนเอง เหล่านี้ถือว่าเป็นกระบวนการนำพาตนให้อ่อนแอ จนมีชีวิตที่แย่ในที่สุด

    จบลงไปแล้วตัวอย่างที่หนึ่ง ทีนี้เรามาดูตัวอย่างที่สอง นั่นก็คือ พระเจ้าอชาตศัตรู ผู้ร่วมทำกรรมหนักกับพระเทวทัต ว่าจะได้รับผลอย่างไร)

    พระเจ้าอชาตศัตรูนั้นเล่า เมื่อพระบิดาสวรรคตแล้ว และปลงพระศพเป็นที่เรียบร้อย คราใดที่พระองค์ทรงพระบรรทมหลับพระเนตรลง ทรงเห็นบุรุษผู้มีกายกำยำจำนวนมาก พากันถือหอก แหลนหลาว ไล่ทิ่มแทงพระองค์ จนต้องหนีกระเสือกกระสน จนเป็นที่หวาดผวา มิกล้าจะบรรทม ต้องนั่งหลับแต่พอจะเคลิ้มหลับ ก็ปรากฏหอกและหลาวอันแหลมคม ระดมเข้ามาทำร้ายทำลายพระองค์ จนต้องสะดุ้งตื่นจากการนั่งหลับได้รับความลำบากเป็นยิ่งนัก แม้ในขณะที่ออกว่าราชการ ณ ท้องพระโรง ก็ทรงละเมอออกมาว่า

    "โอ้หนอ...ความทุกข์ทรมาน ที่ปรากฏต่อเรานี้จักมีผู้ใด บรรเทาให้เราได้"

    ครั้นเสียงละเมอนั้นหลุดออกมาจากพระโอษฐ์ของพระองค์ เหล่าอำมาตย์ราชครูทั้งหลาย ต่างก็พากันแนะนำนักบวชของตนที่ตนนับถือ ซึ่งก็มี "อชิตเกสกัมพล" "ปกุธกัจจายนะ" "สัญ-ชัยเวลัฏฐบุตร" "นิครนถนาฏบุตร" เป็นต้น เพื่อที่จะให้พระเจ้าอชาตศัตรูทรงมีพระศรัทธาในตัวอาจารย์ของตน พระเจ้าอชาตศัตรู ทรงนิ่งเสีย แล้วทรงทอดพระเนตรเห็นหมอชีวกโกมารภัจจ์ ซึ่งเป็นหมอประจำพระองค์ แล้วจึงตรัสถามว่า

    "ชีวก ทำไมเธอถึงได้นั่งนิ่ง ไม่คิดจะแนะนำผู้ที่สามารถ จักช่วยปลดเปลื้องความทุกข์เดือดร้อนให้แก่เราบ้างหรือ"

    หมอชีวกโกมารภัจจ์ จึงกราบบังคมทูลว่า "มีพระเจ้าข้า มีพระอรหันต์เจ้า ผู้ทรงพระคุณอันประเสริฐ ผู้ซึ่งเป็นอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า พร้อมเหล่าภิกษุสาวก จำนวน ๑,๒๕๐ รูป เวลานี้เสด็จประทับอยู่ที่อัมพวันวิหาร ซึ่งข้าพระองค์สร้างถวายสมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น ทรงมีพระกิตติศัพท์ฟุ้งไปแล้วอย่างนี้ว่า

    อิติปิโส ภะคะวา อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ?
    ทรงเป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าผู้ไม่มีกิเลส
    ตรัสรู้ธรรมพิเศษอันชอบ ด้วยพระองค์เอง
    วิชชาจะระณะสัมปันโน
    เป็นผู้สมบูรณ์ด้วยความรู้และความประพฤติอันดีงาม

    สุคะโต
    เป็นผู้ไปแล้วด้วยดีในกาลทั้งปวง

    โลกะวิทู
    เป็นผู้รู้โลกทั้งสามอย่างแจ่มแจ้ง

    อะนุตตะโร ปุริสะทัมมะสาระถิ
    เป็นผู้ฝึกฝนคนที่ควรฝึก ได้เป็นอย่างดี
    มิมีผู้ใดสามารถฝึกได้เท่า
    สัตถา เทวะมนุสสานัง
    เป็นครูของเทพยดาและมนุษย์ทั้งหลาย

    พุทโธ
    เป็นผู้ทำให้เทพยดาและมนุษย์ทั้งหลาย
    พ้นแล้วด้วยดี จากกิเลสทั้งปวง
    ภะคะวา
    เป็นผู้จำแนกธรรมพิเศษ ที่พระองค์ทรงตรัสรู้นั้น
    ให้แก่บุคคลทั้งหลาย

    ข้าแต่พระราชาผู้เจริญ เหล่านี้คือคุณสมบัติพิเศษ แห่งครูของข้าพุทธเจ้า พระเจ้าข้า ขอพระองค์ทรงโปรดใคร่ครวญ ด้วยพระปรีชาของพระองค์เถิดพระเจ้าข้า"

    พระเจ้าอชาตศัตรู ได้ทรงสดับคำกราบทูลของหมอชีวกโกมารภัจจ์ ก็ทรงมีพระราชศรัทธาทรงปรารภว่า ดูทีสมณะรูปนี้ จะช่วยบรรเทาความทุกข์ระทม ขุ่นข้องของเราได้เป็นแน่ ประจวบกับหมอชีวก ได้กราบทูลว่า ถ้าพระองค์เสด็จไปเข้าเฝ้า พระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ก็อาจทำให้พระหฤทัยของพระองค์ผ่องใสก็ได้นะ พระเจ้าข้า

    </TD></TR><TR><TD class=body vAlign=baseline align=left> พระราชาอชาตศัตรูจึงมีรับสั่งแก่หมอชีวกโกมารภัจจ์ว่า

    "ถ้าอย่างนั้นท่านจงจัดแจงยานพาหนะที่เป็นพระคชาธารสช้างพระที่นั่งของเรา พร้อมกับให้เหล่าสาวสนมกำนัลในทั้งหลายอย่างละ ๕๐๐ ให้ไปพร้อมกับเราและเหล่าบริวารทั้งปวง"

    ขบวนเสด็จด้วยคชาธาร ช้างทรงของพระเจ้าอชาตศัตรู มีถึง ๕๐๐ เชือก ดูเป็นที่เอิกเกริกอึงอลสถลทางสพร้อมด้วยแสงสว่าง จากประทีปที่ถือโดยบริวารข้าราชบริพาร ปานประหนึ่งดังพระอาทิตย์ราวเที่ยงวัน ทั้งที่เป็นเวลากลางคืน

    เมื่อขบวนเสด็จถึงอัมพวันวิหาร พระเจ้าอชาตศัตรูผู้ลำพอง ผยองเดช ก็ให้หวั่นหวาดพรั่นพรึงถึงไขกระดูก พระโลมาชูชันทั้งพระวรกาย พระเสโทไหลโทรมพระวรกาย มือไม้สั่น แล้วตรัสถามแก่หมอชีวกว่า

    "ดูก่อนชีวก นี่ท่านมิได้ลวงเรามาให้แก่ข้าศึกดอกหรือ ทำไมถึงได้เงียบสงบอย่างประหลาดเช่นนี้ ไหนว่ามีภิกษุสงฆ์ตั้ง ๑,๒๕๐ รูป ยังไงล่ะ แต่เหตุไฉนไยเล่า แม้แต่เสียงกระแอมกระไอ พูดจาก็มิได้มีปรากฏ"

    "หามิได้พระพุทธเจ้าข้า" หมอชีวกกราบทูล "ข้าพระองค์ มิได้ล่อลวงพระองค์ มาให้แก่ข้าศึกใดเลยพระเจ้าข้า ขอพระองค์ทรงเสด็จลงจากคชาธารพระที่นั่ง แล้วเสด็จพระดำเนินไปสู่มหาสมาคมของภิกษุบริษัท ที่มีแสงประทีปปรากฏนั้นเถิด พระเจ้าข้า"

    พระเจ้าอชาตศัตรู ทรงพระดำเนินตามหมอชีวกไปสู่มหาสมาคมนั้น พร้อมเหล่าบริวารครั้นเมื่อเสด็จถึงมหาสมาคมนั้น จอมกษัตริย์ได้ทรงทอดพระเนตรเห็นกิริยาของภิกษุสงฆ์บริษัททั้ง ๑,๒๕๐ รูป อยู่ในอาการสงบ เรียบร้อย สำรวมเช่นนั้น ก็ให้อัศจรรย์ พระหฤทัย เกิดความเลื่อมใส แล้วทรงเปล่งพระวาจาขึ้นว่า

    "ขอให้ราชบุตรของเรา ผู้เป็นที่รักแห่งเรา มีอาการสงบ เรียบร้อย เหมือนดังภิกษุสงฆ์เหล่านี้เถิด เมื่อโอรสเราเจริญวัยขึ้น จะได้ไม่ฆ่าเรา เหมือนกับเราที่ฆ่าพระบิดา" แล้วก็ทรงยืนเหม่อลอย ครุ่นคิดถึงบุพกรรมที่ตนทำแก่พระบิดาอยู่เช่นนั้น

    องค์สมเด็จพระจอมไตร พระบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธะผู้ประเสริฐ ทรงประทับอยู่ท่ามกลางหมู่สงฆ์ พระองค์ทรงมีพระเมตตา ทรงพระกรุณาต่อพระเจ้าอชาตศัตรู ทรงตรัสปราศรัยขึ้นว่า

    "ดูก่อนมหาราช เหตุใดพอพระองค์เสด็จมาถึง ก็ทรงพอพระทัยต่อเหล่าภิกษุสงฆ์เล่า"

    พระเจ้าอชาตศัตรู ผู้ทุกขเวทนาก็ทรงมีพระหฤทัย แช่มชื่น ปราโมทย์จึงได้น้อมเศียรเกล้าลงถวายบังคมเบื้องยุคลบาท พระศาสดา แล้วทรงยอกรอัญชลีต่อหมู่ภิกษุสงฆ์ด้วยความเคารพยิ่ง แล้วจึงกราบทูลต่อสมเด็จพระบรมสุคตเจ้าว่า

    "ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า ขอพระองค์ทรงประทานโอกาสแก้ปัญหา แก่ข้าพระองค์ด้วยเถิด พระเจ้าข้า"

    พระบรมสุคตเจ้า ผู้ทรงพระคุณอันประเสริฐ ทรงมีพระบรมพุทธานุญาต ให้พระเจ้าอชาตศัตรูทูลถามปัญหาได้พระราชาจึงทรงทูลถามว่า

    "ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ บุคคลทั้งหลาย ผู้หาเลี้ยงชีวิตด้วยศิลปะวิทยาต่างๆ ให้ตนและบริวารทั้งหลาย รวมทั้งสมณะสชี พราหมณ์ ให้เป็นสุขเช่นนี้แล้ว พระศาสดาจักทรงบัญญัติ เรียกขาน ยอมรับว่า นี่เป็นผลอันประเสริฐ ได้หรือไม่พระเจ้าข้า"

    พระบรมศาสดาทรงตอบปัญหานี้ว่า

    "ดูก่อน มหาบพิตร เราตถาคตจักถามมหาบพิตรว่า มีบุรุษผู้หนึ่งเป็นทาสกรรมกรเป็นผู้ตื่นก่อน นอนทีหลัง คอยระวัง เฝ้ารับใช้ประพฤติตนให้เป็นที่พอใจของเจ้านาย เมื่อเจ้านายพอใจก็จักกล่าวด้วยวาจาไพเราะ แล้วจึงใช้งานบุรุษนั้นเมื่อได้รับฟังวาจา อันไพเราะของนายก็มองหน้านายด้วยความซาบซึ้งใจแล้วก็ทำงาน นั้นๆ โดยดี

    ยังมีอีก มีกุลบุตรผู้หนึ่งหวนคิดว่าน่าประหลาดในอำนาจของบุญกุศลแท้สบุญกุศลนี้เป็นที่อัศจรรย์แท้ผลแห่งบุญกุศล นี้ช่างประเสริฐแท้เพราะพระราชาอชาตศัตรูนี้ก็เป็นมนุษย์เหมือนกับเรา แต่พระราชาอชาตศัตรูกลับสมบูรณ์ด้วยกามสุขดังเทพในสรวงสวรรค์ ส่วนตัวเราซิกลับต้องมาเป็นทาสรับใช้พระองค์เป็นผู้ตื่นก่อน นอนทีหลังพระองค์ต้องคอยระวังกิริยาอาการเพื่อให้พระองค์พอพระทัย จะพูดจะทำอะไรก็ต้องคอยมองดูพระพักตร์ของพระองค์ก่อน ดูช่างเป็นที่อนาถสลดใจแท้เราจักต้องทำบุญกุศลให้มากกว่านี้ คิดดังนั้นแล้วก็ปลงผมปลงหนวดครองผ้าย้อมน้ำฝาด ออกบวช สำรวมระวังกาย วาจา ใจ มีความยินดีในสันโดษ ต่อมามีราชบุรุษไปพบเข้าแล้วกลับมาทูลความนั้นแก่มหาบพิตรแล้วมหาบพิตรจะสั่งให้นำตัวทาสบุรุษผู้ถือบวชนั้นกลับมาเป็นทาสอีกหรือไม่"

    "หามิได้พระเจ้าข้ามีแต่ข้าพระองค์จะกราบไหว้ บูชา ด้วยปัจจัยลาภอันพึงมีต่อสมณะวิสัย และให้ความคุ้มครองอันดีแก่บุรุษนั้น"

    พระศาสดาจึงทรงตรัสถามว่า "ถ้าอย่างนั้น พระองค์จะเรียกได้หรือไม่ว่า การที่บุรุษนั้นออกบรรพชาแล้วพ้นจากความเป็นทาส เพราะผลแห่งการกระทำของตนจากปัจจุบันชาติ"

    "พระเจ้าข้า" พระเจ้าอชาตศัตรูตอบรับรอง

    พระศาสดา จึงทรงกล่าวว่า "ดูก่อน มหาบพิตรเราตถาคตก็กล่าวว่าบุรุษนั้นพ้นจากความเป็นทาสกรรมกรได้ก็เพราะการกระทำของตนในปัจจุบันชาตินี้" พร้อมกับทรงรับรองว่าบุคคลทำกรรมเช่นไรย่อมได้รับผลเช่นนั้น

    "ยังมีอีกมหาบพิตรเราตถาคตจักถามพระองค์ว่า ถ้ามีบุรุษพวกหนึ่งเป็นชาวนาเป็นผู้ทำงานเป็นคหบดีมีทรัพย์อันมาก แล้วบุรุษนั้นก็กลับมาคิดว่าช่างอัศจรรย์แท้ในบุญนี้ พระเจ้าอชาตศัตรูก็เป็นมนุษย์เหมือนกับเรา แต่พระองค์กลับสุขสมบูรณ์ได้ด้วยกามสุข ดังเทพในสรวงสวรรค์ส่วนตัวเรากลับต้องมาเป็นชาวนา ทำงานกว่าจะสะสมทรัพย์มาได้ก็เลือดตาแทบกระเด็นได้มาแล้ว ก็ต้องดูแลเฝ้าระวังรักษาแถมยังต้องเสียส่วยส่งอากรให้แก่พระราชา ภาระเหล่านี้เกิดขึ้นได้คงเป็นเพราะเราสั่งสมบุญมาน้อย จึงเป็นผู้พร่อง ผู้ขาดอยู่เป็นนิจไม่อิ่มเต็มเหมือนพระราชาจำเราจักต้อง ขวนขวายทำบุญให้มากคิดดังนั้นแล้วก็ออกบวชโดยสละโภคทรัพย์ ที่สะสมมานั้นให้แก่ปวงญาติและเหล่าบริวารของตนบวชแล้วก็เป็น อยู่ด้วยอาการสงบสำรวมกาย วาจา ใจ สันโดษ ยินดีต่อสิ่งที่มี เช่นนี้แล้ว มหาบพิตรจักตรัสสั่งให้ตามกลับมาทำนา ทำงาน มาเป็นคหบดีผู้มีหน้าที่เสียภาษีแก่พระองค์หรือไม่"

    "หามิได้พระเจ้าข้า นอกจากจะไม่ตามตัวกลับมาแล้ว ข้าพระพุทธเจ้ายังจักให้ความเคารพบูชา ด้วยปัจจัยที่เหมาะต่อสมณะวิสัยด้วย พระเจ้าข้า แล้วยังจะให้ความคุ้มครองตามคลองธรรมอีกด้วย พระเจ้าข้า"

    "ดีละ มหาบพิตรเช่นนั้นบุรุษผู้ถือบวชนั้นสำเร็จประโยชน์ต่อการกระทำของตนเองหรือไม่ แลเป็นผู้เข้าถึงสามัญผล อันประเสริฐ ที่ตนกระทำได้หรือเปล่า"

    "เป็นเช่นนั้นทีเดียว พระเจ้าข้า" พระเจ้าอชาตศัตรู ทูลรับ

    "ถูกแล้ว มหาบพิตรเราตถาคตก็กล่าวเช่นนั้น การที่บุรุษนั้นออกบวชปฏิบัติธรรมสำรวมกายวาจา ใจ มีความเพียรเพ่งอยู่ในธรรม ถือความสันโดษเขาย่อมสำเร็จประโยชน์ แม้แต่พระราชายังต้องมาไหว้เคารพบูชา เราจึงกล่าวว่าบุคคลทำกรรม เช่นไรย่อมได้รับผลเช่นนั้น"

    พระบรมศาสดาทรงแสดงพระธรรมเทศนา นอกจากในเรื่องสามัญผลแล้ว ยังทรงแสดงศีลอินทรียสังวรณ์สติสัมปชัญญะ ความสันโดษแก่พระเจ้าอชาตศัตรูและบริวาร จนมีความเลื่อมใสศรัทธาโดยกล่าวว่า

    "ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า พระธรรมเทศนาของพระองค์นี้ดียิ่งนัก เปรียบเหมือนบุคคลหงายของที่คว่ำ เปิดของที่ปิดชี้ทางให้แก่คนหลงทางส่องไฟในที่มืดช่างอัศจรรย์แท้ ข้าพระองค์ ขอนับถือพระผู้มีพระภาคเจ้า พระธรรม พระสงฆ์ เป็นที่พึ่ง ขอพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงจำข้าพระองค์ไว้ว่า เป็นอุบาสกผู้นับถือพระรัตนตรัยตลอดชีวิต แต่วันนี้เป็นต้นไป

    ข้าแต่สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ประเสริฐ โทษใหญ่ได้มีแก่ข้าพระองค์ผู้เป็นคนพาลสันดานโง่เขลา เกลือกกลั้วไปด้วยบาป อกุศล ด้วยการปลงพระชนม์ชีพ ของพระบิดา ผู้ทรงดำรงอยู่ในธรรม เพราะความละโมบในราชสมบัตินั้น จึงเป็นเหตุให้ทำกรรมใหญ่หลวง แล้วยังสมรู้ร่วมคิดกับพระเทวทัตที่จะปลงพระชนม์พระผู้มีพระภาคเจ้า ด้วยสพระเจ้าข้า โทษอันใดพึงมีแก่ข้าพระองค์ผู้เป็นคนพาลสันดานโง่เขลาเกลือกกลั้วไปด้วยบาปอกุศล ขอสมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าโปรดทรงยกโทษนั้นแก่ข้าพระองค์ เพื่อให้ข้าพระองค์ ได้มีโอกาสสำรวมระวังต่อไปเถิด พระเจ้าข้า"

    พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงมีพระเมตตา เปล่งสาธุ แล้วตรัสว่า "การที่บุคคลได้เห็นโทษในการกระทำของตน แล้วคิดแก้ไข เพื่อการสำรวมระวังต่อไป จัดว่าเป็นความดี เป็นวิธีแห่งพระอริยเจ้า"

    ครั้นพระราชาอชาตศัตรู ได้กล่าวขอขมาต่อพระสุคตเจ้าแล้วจึงทูลลา เมื่อพระราชาพร้อมบริวารทูลลากลับไปแล้วพระผู้มีพระภาคเจ้าได้ทรงตรัสแสดงพระธรรมเทศนาแก่เหล่าภิกษุบริษัทแล้ว จึงทรงยกผลกรรมของพระเจ้าอชาตศัตรูขึ้นมาเป็นอุทาหรณ์สอน ภิกษุว่า

    "ดูกร ภิกษุทั้งหลาย เพราะความโง่ ความหลง ความละโมบ และความโกรธ จึงทำให้อชาตศัตรูราชา ต้องฆ่าบิดา ทรมานมารดา สมรู้ร่วมคิดกับเทวทัต ทำร้ายเราจนเป็นเหตุให้เกิดวิบากกรรมอันหนักไม่สามารถจักบรรลุธรรมใดๆ ได้ในชาติปัจจุบันนี้ แม้ในอนาคตกาลชาติต่อไป ก็ต้องไปเกิดเป็นสัตว์นรกตกอยู่ในอเวจี มหานรกที่มีไฟกรดอันร้อนแรงเผาผลาญอยู่ตลอดเวลา ไม่รู้จักตาย จนกว่าจะหมดกรรมหนัก แล้วจึงจักเกิดเป็นเปรตอสุรกาย สัตว์เดรัจฉานแล้วจึงจะเป็นมนุษย์ ทุกข์เข็ญ ต้องถูกเขาทรมานจนตาย ถึง ๕๐๐ ชาติ แล้วจึงจะเกิดเป็นคนพิการ จึงจะบรรลุธรรม ซึ่งต่างจากบริวารของพระราชาอชาตศัตรู พอได้ฟังธรรมของเราตถาคต ต่างก็มีดวงตาเห็นธรรมเป็นอันมาก เป็นพระอริยบุคคลเบื้องต้น คือ โสดากิทาคา อนาคา ป็นที่สุดเหตุเพราะเขาเหล่านั้น มิได้มีความขุ่นข้องเศร้าหมอง มาเป็นเครื่องกั้นกระแสแห่งพระธรรมที่เรา ตถาคตแสดงด้วยดีแล้ว"

    ที่ยกมานี่ คือตัวอย่างของคนอ่อนแอและบุรุษผู้แข็งแรง พวกเราพอจะรู้ไหมละว่า ใครเป็นบุรุษผู้แข็งแรงบ้าง ถ้าไม่รู้จักบอกให้ ท่านแรกก็พระเจ้าแผ่นดินพิมพิสาร ยังไงล่ะถึงราชาอชาตศัตรู จะทำการทารุณทรมานพระองค์ประการใด พระองค์ก็ทรงอดทนปฏิบัติธรรม เจริญอนุสติ เอาชนะความทรมาน ความหิว ความโกรธ แม้แต่วาระสุดท้ายของชีวิต ยังตะโกนก้อง ร้องบูชา คุณพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ เพื่อขอขมา แถมยังมีเมตตา อโหสิกรรม ให้แก่พระราชาอชาตศัตรูผู้บุตร ที่ทำร้ายตนเสียอีก

    ถ้าเป็นพวกเราจะอาจหาญ เกรงกลัวที่จะยอมให้ใครมาทำร้าย ทำลายตนจนถึงตาย โดยมิได้โต้ตอบเชียวหรือ ทั้งที่มีโอกาสโต้ตอบมากมาย เพราะในขณะที่โดนคุมขัง เหล่าข้าราชบริพาร ต่างก็พากันมาเฝ้า แล้วประชุมหารือเพื่อจะฆ่าพระเจ้าอชาตศัตรูเสีย แต่พระเจ้าพิมพิสารก็ทรงปฏิเสธ โดยกล่าวว่า

    "เราก็อายุมากแล้ว เปรียบดังภูษาทรงที่ใส่มานาน รอวันที่จะเก่าและขาด บุตรของเรานั้นเล่ายังมีวัยอันเจริญ ยังสามารถอำนวยประโยชน์แก่มหาชนได้เป็นอันมาก เพียงแต่ว่าชาตินี้เรากับบุตรมีกรรมอันต้องมาจองล้างจองเวรกัน เราจักขอชดใช้กรรมนั้นให้หมดสิ้น"

    ทรงตรัสดังนี้แล้ว ก็ทรงเสด็จพระดำเนินไปสู่ห้องคุมขังเอง ทรงปิดประตูห้องคุมขังด้วยพระองค์เอง โดยไม่หวั่นไหว อาลัยในราชสมบัติ และความสุขที่ได้รับในกาลที่ผ่านมา พร้อมทั้งยังมิได้ทรงห่วงใย อาลัยต่อพระชนม์ชีพเลย เช่นนี้จะมิถือว่าเป็นบุรุษผู้องอาจ สง่างาม แข็งแรง และมีความมั่นคง จริงใจ ได้อย่างไร

    ตัวอย่างบุรุษผู้แข็งแรงท่านที่สอง ก็คือ พระอานนท์ พุทธอุปฐาก ไม่ว่าจะเป็นเวลาใด ฝนตกฟ้าร้อง น้ำท่วม ฟ้าผ่า หนาว ร้อน แล้ง กลางวัน กลางคืน มืด สว่าง พระอานนท์ท่านจะต้องทำภารกิจอุปฐาก รับใช้ต่อพระผู้มีพระภาคเจ้า โดยมิได้ย่อท้อ แล้วยังสามารถแบ่งเวลาในการฟังธรรม จดจำเนื้อความในธรรมนั้น ปฏิบัติธรรมจนได้บรรลุพระอริยบุคคลเบื้องต้น เมื่อคราวที่พระผู้มีพระภาคเจ้า โดนปองร้ายจากพระเทวทัตและอชาตศัตรู พระอานนท์ก็ได้คอยเฝ้าระวังภัยให้แก่พระผู้มีพระภาคเจ้า ทั้งกลางวันและกลางคืน จนพระผู้มีพระภาคเจ้าต้องไล่ให้ไปพักผ่อน แม้แต่ในเวลาที่ช้างนาฬาคิรี จะตรงเข้ามาทำร้ายพระผู้มีพระภาคเจ้า พระอานนท์พุทธอุปฐากก็ได้ไปขวางหน้าพญาช้างที่ตกมันดุร้ายนั้น ด้วยคิดว่า ใครจะทำร้ายพระสุคตเจ้ามิได้จะต้องข้ามศพเราไปก่อน ด้วยกิริยาองอาจ กล้าหาญ และเด็ดเดี่ยว พระอานนท์ได้รับยกย่อง จากพระบรมสุคตเจ้าว่า เป็นสุดยอดของพุทธอุปฐาก เป็นผู้เลิศทางการศึกษาเรียนรู้ มีความเพียร มีความอดทนเป็นอันมาก มีความเสียสละ เป็นผู้รู้จักกาลรู้จักสมัยในการบริหารเวลา เป็นผู้กล้า ที่ไม่มีตัวกูของกูอยู่ในการกระทำ พูด คิด

    ผู้กล้าท่านสุดท้าย ก็คือ พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ทั้งที่พระองค์ทรงทราบถึง การกระทำของพระเทวทัตว่า จะเกิดมาเพื่อจองล้างจองผลาญพระองค์ พระองค์ก็ยังทรงมีพระเมตตาอบรม สั่งสอน ด้วยมุ่งหวังว่า การอบรมธรรมให้พระเทวทัตครั้งนี้ จะเป็นนิสัยให้พระเทวทัตได้ละมานะทิฐิ ที่เป็นมิจฉาในขณะนั้น จะได้เป็นปัจจัยให้ได้สำเร็จพระโพธิญาณในอนาคตกาลข้างหน้า ทั้งที่ทรงรู้ว่า จะโดนทำร้ายในโอกาสกาลต่างๆ พระผู้มีพระภาคเจ้าก็มิได้ทรงประหวั่นพรั่นพรึง เกรงกลัวต่อภัยที่จะเกิด กลับกล้าที่จะเผชิญต่อภัยนั้นๆอย่างองอาจ สง่างาม และมีชัยชนะในที่สุด

    จนครั้งสุดท้ายที่พระองค์ต้องผจญต่อพญาช้างนาฬาคิรีผู้ดุร้าย มีมหาชนมาเตือนและกล่าวห้ามพระองค์ว่า อย่าได้เสด็จไป ทางนั้นจะมีอันตราย พระองค์ทรงพิเคราะห์ถึงอุปนิสัยสรรพสัตว์แล้วรู้ว่า จะมีผู้บรรลุธรรม มีดวงตาเห็นธรรม ปรากฏขึ้นมากมายในเหตุการณ์ครั้งนี้ แล้วพญาช้างนั้นเล่า เราตถาคตก็จะโปรดได้ จนช้างนั้นพ้นจากมลทิน ตั้งอยู่ในไตรสรณคมน์ รักษาศีลได้ พระบรมสุคตเจ้าจึงมิได้ทรงรีรอที่จะเสด็จไป ณ ห้วงแห่งอันตรายนั้น ด้วยน้ำพระหฤทัยที่เด็ดเดี่ยว กล้าหาญ องอาจอย่างไม่ไยดีต่อพระชนม์ชีพและพระวรกายนี้

    เหล่านี้คือตัวอย่างของท่านผู้กล้า ที่มีชีวิตมาแล้วในอดีตเป็นเยี่ยงและอย่างของ ผู้ดี ผู้มีผู้ได้ ผู้สบาย และผู้ไปดี

    ทีนี้เรามาดูตัวอย่างและผลลัพธ์ของผู้อ่อนแอกันดูบ้าง ผู้อ่อนแอคนที่หนึ่ง ก็คือ พระมเหสีของพระราชาพิมพิสาร ตอนตั้งพระครรภ์ใหม่ๆ ยังมิได้ฟังธรรมจากพระผู้มีพระภาคเจ้า ยังเชื่อมงคล ตื่นข่าว ยังเชื่อคำทำนายจากโหรว่า บุตรที่เกิดมาจะทำร้ายแม่ฆ่าพ่อ ก็เลยสร้างจิตอาฆาตให้เกิดขึ้นในบุตรขณะที่อยู่ในครรภ์ โดยคิดจะฆ่าบุตรในครรภ์เสียด้วยวิธีต่างๆ จนเป็นที่ครหา รู้เห็นสของข้าราชบริพาร พระราชาพิมพิสารทรงทราบ จึงได้ห้ามปราม แต่กระนั้นก็ยังไม่วาย เมื่อคลอดแล้ว พระมเหสีก็คิดจะฆ่าพระกุมารอีก พระราชาพิมพิสารต้องมีรับสั่งให้ราชบุรุษลักพาเอาพระกุมารไปเลี้ยงจนเจริญวัยแล้วจึงนำเข้าวัง ราชบุตรนั้นก็มิค่อยได้รับการยอมรับจากพระประยูรญาติ ของพระเจ้าพิมพิสารและพระมเหสีสักเท่าไหร่ แม้แต่พวกทาส กรรมกร ยังเก็บเอาไปนินทา ดูหมิ่นจนเป็นที่เจ็บแค้นพระทัยของพระราชกุมารอชาตศัตรู แล้วก็ผูกใจเจ็บหาว่าพ่อแม่ ผละรัก ตั้งข้อรังเกียจ จนเป็นที่ดูถูกของคนทั้งหลาย พระกุมารนั้นก็คอยแต่จะหาทางกลั่นแกล้ง แก้แค้นพระบิดามารดาอยู่ตลอด จน ต้องมาตกเป็นเครื่องมือของคนพาลอย่างเทวทัต เลยประจวบเหมาะได้ช่องรับราชสมบัติ และทรมานพระบิดาจนตายได้สำเร็จ

    เหตุทั้งปวงที่เกิดขึ้นนี้ เพราะพระมเหสีของพระเจ้าพิมพิสาร เป็นคนอ่อนแอ ไม่มั่นคงในตนเอง หลงเชื่อคำทำนาย จนสร้างตราบาป รอยแค้นให้แก่พระราชบุตร จนสุดจะเยียวยา ถ้าเป็นคนแข็งแรง เป็นตัวของตัวเอง เชื่อในสิ่งที่ตนทำ อบรมเลี้ยงดูบุตร ด้วยความรักใคร่ ไม่จงเกลียดจงชังพยายามสั่งสอนพระราชบุตร ให้เป็นผู้มีเมตตา กรุณา มีจิตใจดี ฝึกให้ราชบุตร ทำดี พูดดี เพราะคิดดี เช่นนี้แล้ว คงไม่มีเหตุให้ราชบุตร ต้องมาจองล้างจองผลาญพระมารดาและบิดาได้เป็นแน่

    คนอ่อนแอคนที่สอง คือพระราชกุมารอชาตศัตรู ถ้า รู้จักแยกแยะบุญคุณและความแค้นว่าบุตรที่ดีต้องมีแต่ความรู้จัก บุญคุณของบิดามารดา มิควรจะมีความเคียดแค้นต่อบิดามารดา เพราะท่านทั้งสองนั้นเป็นเจ้าของชีวิตของบุตร เป็นผู้ให้อุปการะบุตร ไม่ว่าท่านจะผิดบาปเพียงใด บุตรที่ดีมิควรถือสาใส่ใจ ตรงกันข้ามต้องยิ่งให้ความรัก เคารพ ทดแทนบุญคุณบิดามารดา เชื่อฟังถ้อยคำอ่อนน้อมถ่อมตนให้มาก เพื่อให้บิดามารดาสบายใจ อยู่อย่างไม่ลำบาก แต่เพราะกุมารอชาตศัตรู ตกเป็นทาสของความไม่รู้หลงผิด เคียดแค้น อาฆาต พยาบาท ละโมบ มืดบอด จึงทำกรรมอันมีผลที่หนักให้แก่ตนเองได้รับ จนยากที่จะแก้ไข แม้แต่มีโอกาสได้เข้าเฝ้าพระศาสดาเฉพาะพระพักตร์ได้ฟังธรรมเทศนาโดยพิสดารจากพระโอษฐ์ก็ยังมิสามารถตั้งอยู่ในคุณธรรมใดๆ ได้เลยสุดที่พระบรมศาสดาจะทรงช่วยเหลือได้ต้องตกนรกหมกไหม้ ได้รับทุกข์เวทนาทั้งอยู่และตายสนี่คือผลลัพธ์ของคนอ่อนแอ

    คนอ่อนแอคนที่สาม ก็คือพระเทวทัต ทั้งที่มีโอกาสได้ฟังธรรม ได้บรรลุถึงสมาบัติ ๘ ยังมัวเมา ประมาท ขาดความเพียร ไม่รีบเร่งขวนขวายปฏิบัติธรรม ให้บรรลุชั้นสูงยิ่งๆ ขึ้นเลยต้องตกเป็นทาสของความโง่ ละโมบ อคติทั้ง ๔ คือลำเอียงเพราะรัก ลำเอียงเพราะหลง ลำเอียงเพราะกลัว ลำเอียงเพราะเขลา จนต้องมานั่งน้อยเนื้อต่ำใจที่ไม่มีใครคอยสนใจ ยอมรับศรัทธาตน รู้ดังนี้แล้ว แทนที่จะหันมาพิจารณาความบกพร่องผิดพลาดของตน กลับไปโทษผู้อื่นว่าไม่ดี ไม่ให้ความยุติธรรม เลยหาวิธีเรียกร้องความสนใจ ความยุติธรรมแบบผิดๆ จนเป็นเหตุให้ตนต้องตกเป็นทาสของความอิจฉา คับแคบ พยาบาท จองเวร ทำผิด พูดผิด คิดผิด ในที่สุดก็ต้องมารับผลแห่งการกระทำผิดของตนอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ดูช่างน่าอนาถแท้เหตุเพราะผู้อื่นเค้าออกบวชปฏิบัติธรรมพร้อมๆ กัน แต่เขากลับประสบความสำเร็จจนบรรลุถึงขั้นสูงสุดแต่พระเทวทัต กลับต้องมาโดนธรณีสูบเพราะกรรมอันหนักของตน

    ที่ต้องเล่าเรื่องของบุรุษผู้แข็งแรงและบุรุษผู้อ่อนแอ มาเสียยืดยาวก็เพราะว่าวันนี้เป็นวันปีใหม่ เป็นโอกาสพิเศษๆ ที่พวกเราควรจะสำรวจดูพฤติกรรมที่ทำผ่านมาตลอดทั้งปีว่ามีอะไร ไม่ดี ไม่พร้อมไม่พอ ไม่เหมาะ ไม่ได้บ้าง แล้วอะไรเป็นสาเหตุของความไม่ดี ไม่พร้อม ไม่พอ ไม่เหมาะ ไม่ได้ เหล่านั้น ค้นหาดู ต้องค้นหาให้เจอจะได้แก้ไข ปรับปรุง เปลี่ยนแปลงให้มันดีขึ้น เช่นนี้จึงจะสมกับคำว่าเราเป็นคนใหม่ ในวันใหม่ เดือนใหม่ ปีใหม่ และโอกาสใหม่ๆ อะไรที่มันไม่ดีในเรื่องที่ทำ คำที่พูด สูตรที่คิด เมื่อเห็นและรู้อยู่ ก็โละทิ้งมันไปเสียบ้าง ขวนขวายแสวงหาสิ่งดีมีมงคลใส่ตัวเองเสียบ้าง แล้วเราจักรู้สึกว่าโลกนี้น่าอยู่โอกาสยังมีชีวิตนี้มีค่าขึ้นเยอะเลย แถมสาระของชีวิตก็เพิ่มขึ้นด้วย

    หวังว่าทุกคนคงจักได้สาระประโยชน์จากการฟังชาดก ที่ยกขึ้นมาเล่าเพื่อเป็นอุทาหรณ์สอนใจเราบ้างไม่มากก็น้อย ขอให้พิจารณาเนื้อความที่เล่ามานั้นให้ถ่องแท้ถี่ถ้วนทุกอย่างล้วนมี คติธรรมสอนเราได้เสมอ

    ลูกรัก
    เจ้าจะรู้หรือไม่ว่า
    สิ่งที่แสวงหาแล้วเป็นเลิศในโลกนั้น
    มิใช่แก้วแหวนเงินทอง
    เกียรติยศและสรรเสริญ
    แต่มันคือการแสวงหาธรรมะต่างหากเล่า
    </TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE>
     

แชร์หน้านี้

Loading...