ธรรมะ 11 ประการ (หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต)

ในห้อง 'หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต' ตั้งกระทู้โดย aprin, 18 กรกฎาคม 2013.

  1. aprin

    aprin เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 ตุลาคม 2005
    โพสต์:
    7,492
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +22,514
    หลักธรรมที่หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต ได้วางเอาไว้ หลวงปู่กงมา จิรปุญโญ ก็จดจำได้อย่างขึ้นใจ คือ ธรรมะ 11 ประการ ได้แก่

    1. การปฏิบัติทางใจ ต้องถือการถ่ายถอนอุปาทานเป็นหลัก

    2. การถ่ายถอนนั้น ไม่ใช่การถ่ายถอนโดยไม่มีเหตุ ไม่ใช่ทำเฉยๆ ให้มันถ่ายถอนเอง

    3. เหตุแห่งการถ่ายถอนนั้น ต้องสมเหตุสมผล เย ธมฺมา เหตุปฺปภวา เตสํ เหตํ ตถาคโต เตสญฺจ โย นิโรโธ จ เอวํ วาที มหาสมโณ ธรรมทั้งหลายเกิดจากเหตุ ธรรมทั้งหลายดับไปเพราะเหตุ พระมหาสมณะมีปกติ ตรัสอย่างนี้

    4. เพื่อให้เข้าใจว่า การถ่ายถอนอุปาทานนั้น มิใช่มีเหตุ และไม่สมควรแก่เหตุ ต้องสมเหตุสมผล

    5. เหตุได้แก่สมมติบัญญาติขึ้น แล้วหลงตามอาการนั้น เริ่มต้นด้วยการสมมติ ตัวของตนก่อน พอหลงตัวของเราแล้ว ก็ไปหลงคนอื่น หลงว่าเราสวย แล้วจึงไปหลงผู้อื่นว่าสวย เมื่อหลงตัวของตัวและผู้อื่นแล้ว ก็หลงวัตถุข้างนอกจากตัว กลับกลายเป็น ราคะ โทสะ โมหะ

    6. แก้เหตุต้องพิจารณากรรมฐาน 5 คือ ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง ด้วยสามารถแห่งกำลังของสมาธิ เมื่อสมาธิชั้นต่ำ การพิจารณาก็เป็นญาณชั้นต่ำ เมื่อเป็นสมาธิชั้นสูง การพิจารณาเป็นญาณชั้นสูง แต่อยู่ในกรรมฐาน 5

    7. การสมเหตุสมผล คือ คันที่ไหนก็ต้องเกาที่นั้น จึงจะหายคัน คนติดกรรมฐาน 5 หมายถึง หลงหนังเป็นที่สุด เรียกว่าหลงกันตรงนี้ ถ้าไม่มีหนัง คงจะวิ่งกันแทบตาย เมื่อหลงกันที่นี้ ก็ต้องแก้กันที่นี่ คือ เมื่อกำลังสมาธิพอแล้ว พิจารณาก็เห็นความจริง เกิดความเบื่อหน่ายเป็น วิปัสสนาญาณ

    8. เป็นการเดินตามอริยสัจ เพราะเป็นการพิจารณาตัวทุกข์ ดังที่ พระพุทธองค์ ตรัสว่า ชาติปิทุกข์ ชราปิทุกข์ พยาธิปิทุกข์ มรณัมปิทุกข์ ใครเกิด ใครแก่ ใครเจ็บ ใครตาย กรรมฐาน 5 เป็นต้น ปฏิสนธิเกิดมาแล้ว แก่แล้ว ตายแล้ว จึงได้ชื่อว่าพิจารณากรรมฐาน 5 อันเป็นทางพ้นทุกข์ เพราะพิจารณาตัวทุกข์จริงๆ

    9. ทุกขสมุทัย เหตุเกิดทุกข์ เพราะมาหลงกรรมฐาน 5 ยึดมั่น จึงเป็นทุกข์ เพื่อพิจารณาก็ละได้ เพราะเห็นตามความเป็นจริง สมคำว่า รูปสสมึปิ นิพฺพินฺทติ เวทนายปิ นิพฺพินฺทติ สญฺญายปิ นิพฺพินฺทติ สงฺขาเรปิ นิพฺพินฺทติ วิญญาณสฺสมึปิ นิพฺพินฺทติ เมื่อเบื่อหน่ายในรูป (กรรมฐาน 5) เป็นต้น แล้วก็คลายความกำหนัด เมื่อเราพ้นเราก็ต้องมีญาณทราบชัดว่าเราพ้น

    10. ทุกขนิโรธ ดังทุกข์ เมื่อเห็นกรรมฐาน 5 เบื่อหน่ายได้จริง ชื่อว่า ดับอุปาทานความยึดมั่นถือมั่น เช่นเดียวกับท่านสามเณรสุมนะ ศิษย์ของท่านอนุราช พอปลงผมหมดศีรษะก็สำเร็จเป็นพระอรหันต์

    11. ทุกขคามินีปฏิปทา ทางไปสู่ที่ดับ คือ การเป็นปัญญาสัมมาทิฐิ ปัญญาเห็นชอบเห็นอะไร เห็นอริยสัจ 4 ได้แก่ ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค การเห็นจริง แจ้งประจักษ์ด้วยสามารถแห่งสัมมาทิฐิ ไม่หลงคติสุข มีสมาธิเป็นกำลัง พิจารณากรรมฐาน 5 ก็เป็นองค์มรรค

    http://sakoldham.snru.ac.th/kongma.html
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 18 กรกฎาคม 2013

แชร์หน้านี้

Loading...