ธรรมะ คือ อะไร ตอนที่ ๓

ในห้อง 'พุทธศาสนา และ ธรรมะ' ตั้งกระทู้โดย telwada, 6 มิถุนายน 2011.

  1. telwada

    telwada เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 กันยายน 2004
    โพสต์:
    1,509
    ค่าพลัง:
    +1,817
    ธรรมะ คือ อะไร ตอนที่ ๓
    เมื่อท่านทั้งหลาย ได้อ่านและทำความเข้าในเรื่องของธรรมะคืออะไร ในตอนที่ ๑ และตอนที่๒ กันบ้างแล้ว คงมีหลายๆท่าน มีข้อสงสัยว่า ข้าพเจ้าคิดเอาเอง หรือว่านำมาจากไหน ในพระไตรปิฎก อันเป็นหลักฐานทางพุทธศาสนา มีสอนไว้หรือไม่ หลายๆท่านที่เคยได้อ่าน ได้ศึกษา ได้เรียนรู้ ได้ท่องจำ ตามพระไตรปิฎก คงยิ่งมีข้อสงสัยมาก เพราะในพระไตรปิฎกไม่ได้มีกล่าวไว้ อย่างที่ข้าพเจ้าได้อรรถาธิบายไป
    แต่ในทางที่เป็นจริงแล้ว สิ่งที่ข้าพเจ้าได้อรรถาธิบายไปในตอนที่ ๑ และตอนที่ ๒ นั้น ปรากฏมีอยู่ ในพระอภิธรรมปิฎก ในหมวด "จิต ,เจตสิก, รูป , นิพพาน" ซึ่งท่านทั้งหลายคงจะคิดไม่ถึง ว่า ในหลักพระอภิธรรมปิฎก หมวด "จิต,เจตสิก,รูป,นิพพาน" นั้น แท้จริง ก็คือ คำอธิบายในรายละเอียด ของหลักธรรมในบท "ขันธ์ ๕" คือ " รูป,สัญญา,เวทนา,สังขาร,จิตวิญญาณ " นั่นเอง
    ขันธ์ ๕ เป็นธรรมะ ที่ครอบคลุม ในทุกสิ่งที่มีอยู่ทั้งที่มีชีวิตและไม่มีชีวิต และเป็นสิ่งที่ทำให้เกิดหลักธรรมข้ออื่นๆตามมา เพราะถ้ามนุษย์ไม่มี ขันธ์ ๕ อย่างครบถ้วน ก็ย่อมไม่เกิดมีการสังคมเป็นอยู่ร่วมกัน ไม่มีการประพฤติปฏิบัติ ไม่มีการติดต่อสื่อสาร ไม่มีการค้าขายแลกเปลี่ยนฯลฯ อย่างแน่นอน และที่สำคัญ มนุษย์ ก็ย่อมไม่มีความโลภ ความโกรธ ความหลง ดังเช่น ก้อนหิน มีเพียงขันธ์เดียว คือ รูป ไม่มีขันธ์อื่นๆ ครบ ๕ ขันธ์ อย่างนี้เป็นต้น
    รูปทั้งหลาย ไม่ว่าจะเป็น ดิน,น้ำ,ลม,ไฟ หรือ อื่นใด ทั้งที่มีชีวิต และไม่มีชีวิต ล้วนย่อมมีอิทธิพล ล้วนย่อมเป็นปัจจัยที่ทำให้มนุษย์เกิดความโลภ ความโกรธ ความหลง เกิดความคิด เกิดการปรุงแต่งภายในร่างกาย และเกิดการปรุงแต่งเมื่อได้รับการสัมผัส จากอายตนะภายนอก คือ รูป รส กลิ่น เสียง แสง สี โผฎฐัพพะ ธรรมารมณ์ ด้วย อายตนะภายใน คือ หู ตา จมูก ลิ้น กาย ใจ เมื่อได้รับการสัมผัสดังกล่าว ก็ย่อมเกิดเป็นความรู้สึก อารมณ์ ความคิด ความรู้ บ้างก็จดจำไว้ บ้างก็ไม่จดจำไว้
    ความคิด ความรู้ ความรู้สึก อารมณ์ ที่เกิดขึ้นนั้น บ้างก็นำไปสู่ความสุข ความสบายใจ สบายกาย บ้างก็นำไปสู่ความทุกข์ ความไม่สบายใจ ไม่สบายกาย เป็นเรื่องธรรมดา
    ดังนั้น ในหลักธรรมทางพุทธศาสนา จึงปรากฏมี มรรค อันมีองค์ ๘ เพื่อเป็นวิธีปฏิบัติตนปฏิบัติกาย ปฏิบัติใจ เพื่อให้เกิดความสบายใจ สบายกาย อีกทั้งยังไม่เป็นการเบียดเบียนผู้อื่นให้ได้รับความเดือดร้อน หรือเป็นทุกข์ แลยังมีหลักธรรม อีกหลายๆข้อ อันเป็นวิธีการประพฤติ ปฏิบัติ วิธีการหนึ่ง มิใช่เป็นหลักธรรมที่ เฉพาะเจาะจงให้ปฏิบัติแต่เพียงรูปแบบเดียว เพราะการประพฤติปฏิบัติในการสังคมเป็นอยู่ร่วมกันของมนุษย์นั้น มีอยู่หลากหลายวิธีการ ในอันที่จะทำให้เกิดความสุข ความสบายใจ สบายกาย สามารถหลุดพ้นจากความทุกข์ได้ในระดับหนึ่ง
    จบตอนที่ ๓
    จ่าสิบตรี เทวฤทธิ์ ทูลพันธ์
    ๒ มิถุนายน ๒๕๕๔
     

แชร์หน้านี้

Loading...