ธรรมที่ พระกุมารกัสสปะ ทรงบรรลุพระอรหัตผล

ในห้อง 'พุทธศาสนา และ ธรรมะ' ตั้งกระทู้โดย สิงหนาท, 18 กันยายน 2009.

  1. สิงหนาท

    สิงหนาท เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 สิงหาคม 2009
    โพสต์:
    673
    ค่าพลัง:
    +4,805
    ธรรมที่ พระกุมารกัสสปะ ทรงบรรลุพระอรหัตผล

    [​IMG]


    <O:p</O:p

    พระผู้มีพระภาคให้พระพุทธองค์ทรงพยากรณ์ให้ ท่านได้ปฏิบัติตามคำแนะนำของพระพรหมนั้น
    ปัญหา ๑๕ ข้อนั้นคือ<O:p</O:p

    ๑. จอมปลวก<O:p</O:p
    ๒. กลางคืนเป็นควัน <O:p</O:p
    ๓. กลางวันเป็นไฟ <O:p</O:p
    ๔. พราหมณ์ <O:p</O:p
    ๕. สุเมธผู้เป็นศิษย์
    ๖. จอบ <O:p</O:p
    ๗. เครื่องขุด <O:p</O:p
    ๘. ลูกสลัก <O:p</O:p
    ๙. อึ่งอ่าง <O:p</O:p
    ๑๐. ทาง ๒ แพร่ง <O:p</O:p
    ๑๑. กระบอกกรองน้ำ <O:p</O:p
    ๑๒. เต่า
    ๑๓. เขียง <O:p</O:p
    ๑๔. ชิ้นเนื้อ <O:p</O:p
    ๑๕. นาค<O:p</O:p

    พระบรมศาสดาทรงสดับปัญหาทั้ง ๑๕ ข้อแล้วตรัสแก้ว่า ดูก่อนภิกษุ<O:p</O:p

    คำว่า จอมปลวก นั้นหมายถึง อัตภาพร่างกายนี้ เพราะว่า จอมปลวกเกิดจากตัวปลวก นำ
    ดินมาผสมกับน้ำลายเหนียว ๆ แล้วก่อขึ้นเป็นจอมปลวก ฉันใด อัตภาพร่างกายนี้ ก็เกิดขึ้นเพราะ
    มีพ่อแม่เป็นแดนเกิด ฉันนั้น จอมปลวกมีรูพรุน มีตัวปลวกอยู่อาศัย ร่างกายก็มีรูพรุนคือ ทวารทั้ง
    ๙ และรูขุมขนทั่วตัว เป็นที่อยู่อาศัยของหมู่หนอนและเชื้อโรคต่าง ๆ จอมปลวกต้องแตกสลาย
    แม้ร่างกายก็ต้องเน่าเปื่อยเช่นกัน<O:p</O:p

    คำว่า กลางคืนเป็นควัน นั้นหมายถึง วิตก คือการคิดนึก และวิจารณ์ คือการพิจารณา
    ใคร่ครวญถึงการงานที่จนทำเมื่อตอนกลางวันว่า มีคุณมีโทษอย่างไรและใคร่ครวญถึงวันรุ่งขึ้นว่า
    จะทำอะไรต่อไป การคิดใคร่ครวญอย่างนี้มีอาการดุจควันไฟที่คุกรุ่นอยู่

    คำว่า กลางวันเป็นไฟ หมายถึง การทำงานตามที่คิดไว้ตั้งแต่ตอนกลางคืนต้องรีบเร่ง ร่าง
    กายเหน็ดเหนื่อย ท่านจึงเปรียบเหมือนไฟที่ลุกโพลง<O:p</O:p

    คำว่า พราหมณ์ หมายถึงพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ที่ท่านเรียกว่าพราหมณ์ เพราะพราหมณ์
    มีประเพณีลอยบาปด้วยการลงอาบน้ำในแม่น้ำคงคา ชำระบาปคือ ความชั่วออกจากกาย ส่วนที่
    เรียกพราหมณ์ คือ พระพุทธองค์นั้น เพราะพระองค์ทรงชำระบาปทั้ง ๗ คือ ราคะ โทสะ โมหะ
    มานะ สักกายทิฏฐิ วิจิกิจฉา สี ลัพพัตตปรามาส ได้โดยไม่เหลือ<O:p</O:p

    คำว่า สุเมธ หมายถึง พระภิกษุผู้ยังเป็นเสขะ ผู้มีปัญญากำลังศึกษาในไตรสิกขา<O:p</O:p

    คำว่า จอบ หมายถึง ปัญญาเป็นเครื่องขุดความโง่ทิ้ง ขุดจนสามารถตักรากเหง้าของความ
    โง่ออกได้หมด<O:p</O:p

    คำว่า การขุด หมายถึงความเพียร คือ เพียรเจริญสติปัฏฐาน ๔ พิจารณา กาย เวทนาจิต ธรรม ให้เห็นว่าเป็นสิ่งไม่เที่ยงแท้แน่นอน<O:p</O:p

    คำว่า ลูกสลัก หมายถึง อวิชชา ความไม่รู้ เป็นเครื่องกั้นตัว วิชชา คือความรู้ไม่ให้เกิดขึ้น อวิชชา จึงเปรียบดังลูกสลักหรือกลอนประตูที่ไม่ยอมให้ประตูเปิด<O:p</O:p

    คำว่า อึ่งอ่าง ได้แก่ ความโกรธ เพราะความโกรธมีลักษณะทำให้ใจพองขึ้นเหมือนอึ่งอ่าง<O:p</O:p

    คำว่า ทาง ๒ แพร่ง ได้แก่ วิจิกิจฉา ความสงสัยลังเล เหมือนทาง ๒ แพร่งที่คนไม่รู้ว่าจะเดินไปทางไหนดี<O:p</O:p

    คำว่า กระบอกน้ำ หมายถึง นิวรณ์ ๕ ประการ มีกามฉันทะ เป็นต้น คนที่มีนิวรณ์ทั้ง ๕อยู่ในใจ ไม่สามารถจะแสวงหากุศลธรรมให้ติดตัวอยู่ได้เหมือนกระบอกกรองน้ำที่ไม่สามารถจะเก็บน้ำไว้ได้<O:p</O:p
    <O:p</O:p

    คำว่า เต่า หมายถึง อุปาทานขันธ์ทั้ง ๕ มี รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ซึ่งเหมือนกับเต่าที่มี ๔ ขา มีหัว ๑ รวมเป็น ๕ ท่านสอนให้ตัดความรักใคร่พอใจในอุปาทานขันธ์นั้นเสีย<O:p</O:p

    คำว่า เขียง ได้แก่ กามคุณ ๕ คือ รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ อันเป็นที่รักใคร่พอใจ
    ดุจคนวางชิ้นเนื้อไว้บนเขียงแล้วเชือดชำแหละด้วยมีด ฉันใด กิเลสทั้งหลาย ฆ่าหมู่สัตว์แล้ววาง
    ไว้บนเขียง คือ กามคุณทั้ง ๕ แล้วเชือดชำแหละ ฉันนั้น พระพุทธองค์ทรงสอนให้ละกามคุณทั้งนั้นเสีย<O:p</O:p

    คำว่า ชิ้นเนื้อ ได้แก่นันทิราคะ ความรักใคร่เพลิดเพลินอยู่ในกามคุณทั้งหลาย อันเป็น
    เหตุให้เกิดความทุกข์ในภายหลัง<O:p</O:p

    คำว่า นาค หมายถึงภิกษุผู้สิ้นกิเลสแล้ว เป็นพระอรหันต์ เว้นจากการทำความชั่วทั้งปวง
    จึงเรียกว่า นาค แปลว่าผู้ประเสริฐ<O:p</O:p

    พระกุมารกัสสปะ ส่งกระแสจิตไปตามลำดับแห่งคำพยากรณ์แก้ปัญหานั้น เมื่อจบข้อ สุดท้ายท่านก็บรรลุพระอรหัตผล พร้อมด้วยปฏิสัมภิทาทั้งหลาย<O:p</O:p
    <O:p</O:p
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 18 กันยายน 2009
  2. ติงติง

    ติงติง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มีนาคม 2009
    โพสต์:
    38,272
    ค่าพลัง:
    +82,731
    ขอบคุณมากค่ะ
    ขออนุญาตท่านเจ้าของกระทู้ สำเนาไปใช้ประโยชน์นะคะ
     

แชร์หน้านี้

Loading...