ธรรมตรงไปตรงมา กับ " หลวงพ่อโพธิ์ศรีสุริย เขมรโต " กรรมซ้อนธรรม

ในห้อง 'พุทธศาสนา และ ธรรมะ' ตั้งกระทู้โดย nenosmart, 19 สิงหาคม 2010.

  1. nenosmart

    nenosmart สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    6
    ค่าพลัง:
    +10
    ร่วมอนุโทนาบุญกับผม เพียงแค่กดลิ้งก้อพอครับ

    แทนการอนุโมทนา แค่กดลิ้งค์ด้านล่างนี้ จะได้มีกำลังใจครับ
    >>กดตรงนี้<<
    เมื่อเจอคำถาม "คุณกำลังย้ายไปที่เว็บอื่น คุณต้องการกลับเข้าเว็บของเราหรือไม่?" ให้กด "ไม่"
    ขอบคุณครับ

    กรรมซ้อนธรรมเป็นอีกคำหนึ่งที่หลวงพ่อโพธิ์ศรีสุริยะ เขมรโตท่านได้กล่าวถึงบ่อยๆ

    กรรมซ้อนธรรมนั้นอ้างอิงถึงกรรมฐานโดยตรง แต่ก่อนที่จะเข้าใจคำว่ากรรมซ้อนธรรม เราควรจะมาทำความเข้าใจเรื่องขันธ์ห้ากันใหม่เสียก่อน เพื่อความเข้าใจที่แจ่มแจ้ง


    ขันธ์ 5 นั้นประกอบไปด้วย
    1. กาย เป็นธาตุขันธ์ที่ประกอบไปด้วยธาตุ 4 ดิน น้ำ ลม ไฟ
    2. เวทนา เป็นขันธ์อันเกี่ยวเนื่องกับการเสวยผลของวิบาก ได้แก่ สุข ทุกข์ และไม่สุขไม่ทุกข์(เฉยๆ)
    3. สัญญา เป็นขันธ์อันเนื่องด้วยความจำได้หมายรู้
    4. สังขาร เป็นขันธ์อันเนื่องด้วยการปรุงแต่ง การคิดพิจารณา วิตกวิจารณ์ วิเคราะห์ ฯลฯ
    5. วิญญาณ เป็นธาตุขันธ์ที่เป็นปฐมเหตุแดนเกิดของสังสารวัฏ หรือที่เรียกกันว่า จิต หรือ สติ
    ขันธ์ 5 นั้นโดยความเป็นจริงแล้วก็คือผลของกรรม เป็นเครื่องมือในการสืบสานถักทอห่วงโซ่แห่งกรรมไม่รู้จบ เป็นธาตุขันธ์ที่มีลักษณะเป็นวงจรวนหาปลายไม่เจอ คือเป็นทั้งเครื่องมือในการสร้างกรรมและเสวยผลแห่งกรรมในตัวมันเอง และจะว่ากันจริงๆแล้วขันธ์ห้านั้นมันไม่ใช่อะไร นอกเสียจากมันเป็นแค่ธาตุและสภาวะที่ถูกยึดโยงขึ้นจากการหลงไปรู้ของวิญญาณขันธ์เท่านั้น การที่เรารับรู้ว่ามันคือขันธ์ 5 นั้นก็เป็นสมมติบัญญัติทั้งนั้น เป็นมายากรรมล้วนๆ

    ทีนี้การทำงานของธาตุขันธ์ต่างๆนั้นหากไม่มีเจตนาเข้ามาเกี่ยวข้อง มันก็จะเป็นไปตามอัตโนมัติ ตามธรมมชาติของมัน หรือที่เรียกว่ามันเป็นธรรมอยู่เองแล้วนั่นแหละ เช่นตามีเอาไว้มองเห็น หูมีไว้ได้ยินเสียง ฯลฯ ถ้าขันธ์เหล่านี้ทำงานไปตามอัตโนมัติของมันโดยไม่มีเจตนากรรมเข้าไปบงการบังคับธาตุขันธ์ด้วยกิเลสตัณหา หรือเข้าไปรู้ซ้อนรู้ด้วยโมหะในอวิชชาเลย บุคคลผู้นั้นคือพระอรหันต์ คือมีขันธ์อยู่ ใช้งานอยู่ แต่ไม่มีตัวตน ไม่มีโมหะในขันธ์หรือสมมติใดๆ การที่ไม่อะไรกับอะไร ไม่ต้องไม่ัตั้้งกับมัน ก็คือการทิ้งเจตนากรรมในขันธ์ต่างๆลงสิ้นเชิงนั่นเอง

    ปุถุชนทั่วไปนั้นจมแช่อยู่กับการบงการธาตุขันธ์ให้เป็นไปตามอำนาจของกิเลส ตัณหา อุปาทาน กินเหล้า สูบบุหรี่เพื่อลดเครียด ฟังเพลงซึ่งถือได้ว่าเป็นวัฏฏะวนทางโลก เป็นวงจรอกุศลกรรม

    ผู้ปฏิบัติวิปัสสนาก็จมแช่อยู่กับการบงการธาตุขันธ์ ในการฝึกวิญญาณขันธ์ให้ปราดเปรียว ตื่นตัว เป็นการเพิ่มพลัง dynamic ให้กับธาตุรู้ ผลที่ได้คือญาณ ปัญญา
    ผู้ปฏิบัติสมถะก็จมแช่อยู่กับการบงการธาตุขันธ์ ในการฝึกวิญญาณขันธ์ให้ focus เพิ่มพลัง static ให้กับธาตุรู้ ผลที่ได้คือฌาณ สมาบัติ

    ถามว่าฝึกกรรมฐานเพื่ออะไร ทำไปทำไม?

    คำตอบอาจจะเป็น ต้องการพัฒนาจิต ต้องการสร้างบุญกุศลให้ตนเอง ต้องการให้จิตใจสงบ ปรารถนานิพพาน ต้องการหลุดพ้น ฯลฯ เห็นอะไรที่อยู่เบื้องหลังการปฏิบัติธรรมหรือยัง

    ก็กิเลสตัณหาอุปาทานไงครับ!!!

    เมื่อเราปฏิบัติธรรมด้วยกิเลสแล้ว การที่เราไปตามดูตามรู้กายธาตุ วิญญาณธาตุก็เกิดเป็นกรรมทันที เป็นกรรมซ้อนขึ้นมากดทับธาตุ กดทับธรรมที่โดยธรรมอยู่เองแล้ว มันจึงไม่ว่างจากเจตนาหรือกรรมนั่นเอง (จำได้หรือเปล่าที่ผมอธิบายว่า ทุกๆสิ่งที่เกี่ยวกับธาตุขันธ์ หากมีเจตนาเข้าไปเกี่ยวข้องเมื่อใด ล้วนเป็นกรรมทั้งนั้น)ไม่ตรงต่อนิพพานสักที

    ผู้ที่จะตรงต่อนิพพานได้ต้องตัดวงจรกรรมเท่านั้น ไม่ใช่ต่อกรรมไปเรื่อย แม้ว่าจะเป็นกุศลกรรมก็เถอะ เมื่อคุณก่อมันขึ้นมาก็ต้องอยู่ใช้มันก่อน ยังจบไม่ได้ สุดท้ายผู้ปฏิบัติกรรมฐานก็จะไปติดอยู่ในฌาณ ญาณ ปัญญา ติดรู้ ติดเพ่ง ติดวนอยู่อย่างนั้น เปลี่ยนกี่ภพกี่ภูมิก็ติดอยู่อย่างนั้น

    บางคนบอกว่าก็แค่รู้ต้วทั่วพร้อม ไม่ได้ไปตามดูตามรู้ หรือไปติดวนกับมันก็ไม่น่าจะผิด ผมถามกลับว่าไอ้ตอนที่ทำความรู้สึกตัวทั่วพร้อมน่ะ มีเจตนาไหม? เจตนาน้อยๆก็ถือเป็นเจตนา ก็เป็นกรรมแล้ว พอรู้แล้วก็มีความเห็นความหมายติดพ่วงมาด้วยว่านี้เป็นกายเรา นี้เป็นใจเรา มันก็หนีไม่พ้นตัวเองสักที ความสว่างแบบนี้เป็นความสว่างจากพลังของธาตุ ไม่ใช่สว่างจากผลของนิโรธ พอรู้มากๆ ทรงรู้ แช่รู้ พอดับขันธ์ เหลือขันธ์เดียวที่ทรงรุ้อยู่ก็ขึ้นไปเป็นพรหม พอหมดกุศลกรรมก็มีขันธ์อื่นงอกขึ้นมาอีก เปลี่ยนภพภูมิ upgrade downgrade กันไม่จบสิ้น

    ทุกอย่างในวัฏฏสังสารนั้นล้วนเป็นมายาสมมติ ดังนั้นการเข้าไปตามดูตามรู้กาย ใจ (ซึ่งเป็นบัญญัติบนมายาสมมติที่เราใช้เรียกธาตุขันธ์ ซึ่งในความเป็นจริงแล้วมันไม่มีความหมายใดๆเลย) ก็เป็นการหลงไปดู หลงไปรู้บนมายากรรมทั้งนั้น หลงไปว่ามีตัวเราเป็นผู้ดู ผู้รู้ บนมายาต่างๆ แล้วมันจะออกจากอวิชชาได้ยังไง แม้แต่ความรู้สึกที่ว่าเป็นปรมัตถ์ก็ยังไม่ใช่อะไรเลยนอกจากสภาวะที่ไม่มีความหมายอะไร การเข้าไปดูไปรู้แบบนี้ก็เป็นโมหะทั้งนั้น โมหะครอบการปฏิบัติธรรมอยู่ตลอดเวลา ก็ไม่นิโรธสักที

    นี่คือเหตุผลเบื้องหลังคำสอนของหลวงพ่อฯที่ให้ปลงธาตุขันธ์ ไม่ใช่ให้เจริญขันธ์ ก็แค่ไม่ต้องไม่ตั้งกับธาตุหนึ่งขันธ์ใด ไม่ต้องแม้กระทั่งรู้ แค่นี้กรรมมันก็คลายแล้ว ห่วงโซ่กรรมสะบั้นลงเองทันที ภพชาติสั้นลงทันที กลายเป็นเศษกรรม ตรงต่อนิโรธทันทีอยู่เองแล้ว ว่างอยู่เองแล้ว ตรงต่อนิโรธในท่ามกลาง ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ผัสสะที่กำลังทำงานของมันอยู่นั่นแหละ

    ...ชัดมั๊ยครับ

    คราวหน้าจะขยายความเรื่อง การหลงรู้
     

แชร์หน้านี้

Loading...