ทาน

ในห้อง 'พุทธศาสนา และ ธรรมะ' ตั้งกระทู้โดย sithiphong, 17 ตุลาคม 2007.

แท็ก: แก้ไข
  1. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,949
    อานิสงส์ของทาน

    http://www.banfun.com/buddha/arenisong_tan.html

    วันนี้ตรงกับ วันพุธที่ ๑๗ ตุลาคม ปีพระพุทธศักราช ๒๕๕๐
    <SCRIPT src="http://tracker.truehits.in.th/func/th_donate_1.4.js"></SCRIPT><SCRIPT src="http://tracker.truehits.in.th/func/th_common_1.4.js"></SCRIPT><SCRIPT language=javascript1.2>sv=1.2;ss=screen.width+'*'+screen.height;sc=(bn=='MSIE')?screen.colorDepth:screen.pixelDepth;if(sc==udf){sc='na';}</SCRIPT><SCRIPT language=javascript1.3>sv=1.3; </SCRIPT>
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width=780><TBODY><TR><TD class=cd16 vAlign=top width=40 rowSpan=2></TD><TD class=cd16 vAlign=top width=700>อานิสงส์ของทาน

    </TD><TD class=cd16 vAlign=top width=40 rowSpan=2></TD></TR><TR><TD class=cd16 vAlign=top width=700>
    การให้ทานนี้อย่างลืมนะว่าถ้าใจยังไม่หนักแน่นพอ คนที่เรายังไม่ชอบใจอย่างเพิ่งให้ ให้แต่คนที่เรารักหรือคนที่เราไม่เกลียดต่อไปถ้ากำลังใจสูงขึ้น จิตสบาย มีอุเบกขาดี มีเมตตาบารมีสูง ก็ให้ไม่เลือก ให้เพื่อปลดเปลื้องความทุกข์ คือกิเลสของเรา กำลังใจในการให้ทานน่ะเป็นจาคานุสสติ ก่อนที่จะคิดให้เป็นจาคานุสสติ อันนี้อนุสสติอย่างใดอย่างหนึ่ง ถ้ามีประจำใจแล้วมันก็ตกนรกไม่ได้ จะยกตัวอย่าง มันก็ยาวเกินไป จะขอพูดถึง อานิสงส์การให้ทาน ที่สมเด็จพระพิชิตมารทรงตรัสว่า สมัยพระพุทธกัสสปท่านเทศน์อย่างนี้ ท่านบอกว่า​
    • บุคคลผู้ใดให้ทานด้วยตนเอง แต่ไม่ชักชวนคนอื่น ตายจากชาตินี้ไปแล้วไปเกิดใหม่จะมีทรัพย์สมบัติมาก จะเป็นคนร่ำรวย เป็นเศรษฐีมหาเศรษฐี แต่ว่าขาดเพื่อน ขาดคนเป็นที่รัก มันก็โดดเดี่ยวแย่เหมือนกัน​
    • บุคคลผู้ใดดีแต่ชักชวนบุคคลอื่น แต่ว่าตนเองไม่ให้ทาน ท่านบอกว่าตายจากชาตินี้ไปแล้วไปเกิดชาติใหม่ มีพรรคพวกมาก แต่ยากจน​
    • บุคคลใดให้ทานด้วยตนเองด้วยแล้วก็ชักชวนบุคคลอื่นด้วย ตายจากชาตินี้ไปเกิดใหม่ เป็นคนรวยด้วย มีพวกมากด้วย​
    • บุคคลใดไม่ให้ทานด้วยตนเองด้วย แล้วไม่ชักชวนชาวบ้านด้วย จะไม่มีทรัพย์สมบัติเป็นคนยากจนเข็ญใจ เกิดเป็นคนยากจนไม่มีคนคบหาสมาคม ขอทานก็ยาก เป็นยาจก ขอทาน แล้วขอก็ไม่ค่อยจะได้ ไม่มีใครเขาอยากจะให้ มีแต่คนรังเกียจ​
    การให้ทานที่ก่อนจะถึงนิพพานน่ะ เราจะต้องมีความสุขในทรัพย์สมบัติก่อน จะไปคิดว่าการให้ทานเป็นการกำจัดโลภะความโลภ หรือมีผลอันน้อยแค่กามาวจรอันนี้ไม่ถูก ถ้าเราจะไปนิพพาน ถ้าเราลำบากมันไปยาก ใจไม่สบาย จะเล่านิทานสักเรื่องหนึ่ง เอาไหม มันจะช้าก็ช้า จะจบเมื่อไรก็ช่าง ก็เล่าสู่กันฟัง
    ในสมัยองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้ายังมีพระชนม์อยู่มีคนหนึ่งเขามาเกิด แต่คนคนนี้น่ะในชาติก่อนๆ เวลาบำเพ็ญบารมีตัดทานบารมีออกจากใจ แต่ความจริงเขาก็ไม่อยากได้ทรัพย์สมบัติของใคร เขามีจาคานุสสติกรรมฐานเป็นปกติ ได้จาคานุสสติกรรมฐาน ตัวนี้เขาไม่ได้ให้ แต่จิตเขาละความโลภ คือละความอยากได้ทรัพย์สมบัติของบุคคลอื่นที่ใครไม่ให้เขาโดยชอบธรรมน่ะเขาไม่เอา เขาไม่อยากได้ แต่ว่าเขาไม่ให้ทาน ที่ว่า "ทานัง สัคคโสน ปาณัง" ที่พระพุทธเจ้าทรงตรัสว่า "ทานเป็นบันไดให้ไปเกิดบนสวรรค์" เขาบอกว่ามันต่ำไป เอาบุญที่เป็นปรมัตถบารมีดีกว่า คือ
    ๑. มีศีลบริสุทธิ์
    ๒. สมาธิตั้งมั่นก็ระงับนิวรณ์
    ๓. มีปัญญาแจ่มใส เพื่อตัดกิเลส
    ก็เป็นการบังเอิญว่าชาตินั้นเขายังไม่ได้เป็นพระอริยเจ้าก็ต้องตายจากความเป็นคน ไปเกิดเป็นเทวดา ก็สงสัยอาจจะเป็นเทวดาคนจนก็ได้ ทิพย์สมบัติอาจจะสู้ชาวบ้านเขาไม่ได้ ทีนี้ก็กลับมาเกิดใหม่ มาเกิดเป็นลูกหญิงแพศยา เป็นโสเภณี
    โสเภณีเวลานั้นถือว่าเป็นตระกูล เป็นอาชีพอาชีพหนึ่งสังคมหรือสมาคมหนึ่ง แต่ว่าโสเภณีน่ะเขาต้องการเฉพาะลูกผู้หญิง เขาไม่เหยียดหยามเหมือนสมัยนี้ว่าโสเภณีเลวไม่ใช่อย่างนั้น เขาถือว่าโสเภณีก็เป็นตระกูลหนึ่งที่มีศักดิ์ศรี พอออกมาเป็นลูกผู้ชาย เขาไม่ต้องการ เขาก็เลยไปหมกป่าไว้ ทิ้งปล่อยให้ตาย ก็สืบตระกูลเป็นโสเภณีไม่ได้
    เวลานั้นโสเภณีผู้ชายยังไม่มี ถ้าบังเอิญมีโสเภณีผู้ชายอย่างสมัยนี้ บางประเทศก็จะหากินคล่องเหมือนกัน เป็นการบรรเทาความเดือดร้อนของบุคคลแต่ละคน
    ก็รวมความว่าเขาเกิดมาไม่มีความสุข ถูกปล่อย แต่เขาก็ไม่ตาย เขาไม่ตายเพราะอะไร เพราะว่ามีบุญรักษา เขาจะเป็นอรหันต์ในชาตินี้ เขาถูกหมกอยู่อย่างนั้นไม่ตาย ถูกแวดล้อมไปด้วยสัตว์รักษาไว้ จนกระทั่งเป็นหนุ่มเดินไปเดินมา เดินเที่ยวไปก็ไม่มีอะไรจะกิน แต่บุญรักษาเติบโตขึ้นมาได้โดยไม่ต้องกินอาหาร
    ต่อมาวันหนึ่งเดินเข้าไปชายป่า เห็นคนเขาเอาอะไรมาฝังไว้เป็นลูกเขาออก เอารกมาฝังก็แอบดู พอเขาไปแล้วก็ย่องเข้าไปขุดเห็นรกเด็ก เลยนำรกมากิน ในชีวิตเขาได้กินเท่านั้นอย่างเดียว นี่การขาดทานบารมี หลังจากนั้นก็เดินไปเดินมาเห็นพระท่านมีความสุข เลยขอบวช พระอุปัชฌาย์ก็ให้บวช
    ในเมื่อบวชแล้วเวลาบิณฑบาตตอนเช้า พระใหม่ก็ต้องเดินข้างหลังตามระเบียบ เพราะเดินตามอาวุโส ชาวบ้านใส่บาตรจากหน้า พอจะถึงองค์หลัง ข้าวหมดพอดี นี่อานิสงส์ของการไม่ให้ทาน ท่านก็เดือดร้อน ไม่ได้กินข้าว อุปัชฌาย์ต้องแบ่งให้ ถึงอุปัชฌาย์จะแบ่งให้ หาเองไม่ได้ ใจก็ไม่สบาย
    วันที่สอง ท่านอุปัชฌาย์บอกว่า "วานนี้เขาใส่หน้าไม่ถึงหลัง วันนี้คุณเดินข้างหน้า ทุกคนใส่จะต้องถึงคุณ" แต่ความจริงพระอุปัชฌาย์เป็นพระอรหันต์ อย่างต่ำก็ต้องเป็นวิชชาสามหรืออภิญญาหกแน่ เพราะรู้เรื่องในใจดี รู้กฎของกรรมดี ท่านต้องการพิสูจน์ผลว่า คนไม่ให้ทานนั้นมันมีผลเป็นอย่างไร
    วันที่สอง ชาวบ้านว่า "วานนี้ใส่หน้าไม่ถึงหลังวันนี้รวมกันใส่จากหลังมาหาหน้า" พอจะถึงองค์หน้าข้าวหมดพอดี แต่ความจริงเขาตั้งใจจะให้ถึง แต่กฎของกรรมมันบันดาลให้ตักข้าวหมด
    วันที่สาม อุปัชฌาย์บอกว่า "เอาอย่างนี้ก็แล้วกัน คุณยืนกลาง เขาใส่ทางไหนมันพอทั้งนั้น" เป็นอันว่าท่านยืนกลาง วันที่สาม ชาวบ้านบอกว่า "วันต้นใส่หน้าไม่ถึงหลัง วันที่สอง ใส่หลังไม่ถึงหน้า วันนี้เราแบ่งเป็นสองพวก ใส่จากข้างหน้ามาหนึ่งพวก ใส่จากข้างหลังมาหนึ่งพวก" เขาก็ทำตามนั้น ปรากฏว่าทั้งสองพวกพอจะถึงองค์กลางข้าวหมดพอดี
    วันที่สี่ พระอุปัชฌาย์บอกว่า "ยืนรองฉัน มันใส่แบบไหนถึงทั้งนั้น
    ในวันต่อมาเขาใสบาตรตามระเบียบ ใส่บาตรที่ ๑ เขาไม่เห็นบาตรที่ ๒ ไปใส่บาตรที่ ๓ พอวันต่อมาอุปัชฌาย์บอกว่า "คุณยืนรองฉัน" ท่านเอามือจับบาตรไว้ เขาจึงเห็นบาตรของท่าน
    นี่การให้ทานถ้าบารมีไม่เต็มจริงๆ ถ้าไปโดนเข้าแบบนี้เราจะถูกความหิวทรมานขนาดไหน แต่นั่นบังเอิญเป็นบารมีของท่านเต็มจะได้เป็นพระอรหันต์ ยังต้องถูกทรมานจิตใจแบบนั้น เห็นโทษเห็นทุกข์แห่งการเกิด อุปัชฌาย์แนะนำไม่นานนักท่านก็เป็นอรหันต์ เมื่อเป็นอรหันต์แล้วชาวบ้านก็เห็นบาตรเพราะเป็นผู้บริสุทธิ์แล้ว
    การให้ทานน่ะมีความสำคัญอย่างนี้นะ จงอย่าคิดว่าเราต้องการเฉพาะนิพพาน เราไม่ให้ทาน เราเอาเฉพาะศีลภาวนาอันนี้ไม่ได้ ท้องไม่อิ่มนี่ มันภาวนาไม่ไหว มันจะตายเอา ดีไม่ดีมันเป็นโจร
    การให้ทานของบรรดาท่านพุทธบริษัทเราจะต้องให้ ถ้าบุญบารมีของเรายังไม่เต็มเพียงใดเราก็เอาละ เราก็จะต้องใช้ต้องกิน แต่ถ้าบุญบารมีเต็ม เราก็จะมีความอุดมสมบูรณ์ อย่างตัวอย่าง ท่านสีวลี
    ท่านพระสีวลีนี้ ชาติหนึ่งเป็นชาวป่า วันนั้นเป็นวันที่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงพระนามว่า พระพุทธกัสสปเทศน์ บอกว่า
    - คนใดให้ทานด้วยตนเอง เมื่อตายไปชาติหน้าจะมีโภคสมบัติมากแต่ไม่มีบริวารสมบัติ (ตามที่เล่ามาแล้ว)
    - บุคคลใดชักชวนบุคคลอื่น แต่ไม่ให้ทานเองจะมีพวกมาก แต่ว่ายากจน
    - ให้ทานเองด้วย ชวนบุคคลอื่นด้วย เกิดไปชาติหน้าเป็นคนรวยด้วย มีพวกมากด้วย
    - แล้วก็ไม่ให้ทานด้วยตนเองด้วย ไม่ชักชาวบ้านด้วยเกิดเป็นคนยากจนไม่มีคนคบหาสมาคม ขอทานก็ยาก
    ชาวบ้านจึงตั้งใจถวายทานกันอย่างหนัก มีทุกอย่าง แต่มันขาดน้ำผึ้งสด หาเท่าไรก็ไม่ได้ ตั้งคนไว้ที่ประตูเมือง ๔ ประตูให้เงินไว้ ๑,๐๐๐ กหาปณะ (เท่ากับ ๔,๐๐๐บาทสมัยนี้) บอกว่า "ถ้าใครเอาน้ำผึ้งสดมา นำรวงผึ้งสดมา จะซื้อจาก ๑ กหาปณะ ไปจนถึง ๑,๐๐๐ กหาปณะ"
    พอดีท่านสีวลีเป็นชาวป่า ท่านจะมาหาเพื่อนในเมือง ไม่มีอะไรติดมือมาก็เลยเอาผึ้งมารวงหนึ่ง พอพวกนั้นเห็นเข้าก็ขอซื้อตั้งแต่ ๑ กหาปณะ ถึง ๑,๐๐๐ กหาปณะ
    ท่านบอกว่า "ฉันจะเอาไปให้เพื่อน" ก็สงสัยว่าผึ้งรวงนี้จริงๆ ราคาไม่ถึง ๑ กหาปณะ แต่เจ้าคนนี้ให้มากๆ คงจะสติไม่ดีหรืออาจจะมีเหตุใดเหตุหนึ่งเกิดขึ้นมีความจำเป็น จึงถามว่า
    "ทำไมพวกท่านสติไม่ดีรึไอ้ผึ้งรวงหนึ่งราคาตั้ง ๑,๐๐๐ กหาปณะ ใครเขาซื้อเขาขายกัน ราคามันไม่ถึง ๑ กหาปณะ"
    เขาก็บอกว่า
    "พวกเราจะทำบุญ แต่ว่าทุกสิ่งทุกอย่างมีหมดมันขาดอยู่น้ำผึ้งสดอย่างเดียว เราต้องการมีทุกอย่าง"
    ท่านก็บอกว่า
    "ถ้าซื้อไม่ขาย แต่จะเอาไปให้เพื่อน แต่ว่าท่านจะให้ฉันร่วมบุญด้วย ฉันให้"
    ท่านสีวลีก็ให้เป็นการปิดรายการครบถ้วนพอดี เขาขาดอย่างนั้นท่านปิดพอดี มันก็ปิดให้เต็ม
    หลังจากชาตินั้นมาแล้ว ท่านมาพบองค์สมเด็จพระประทีปแก้วเกิดในชาตินี้ มาเกิดในชาติหลัง นี่เขาบอกว่า ท่านพระสีวลีไม่เคยมีโรคเลย โรคภัยไข้เจ็บไม่เคยมี เป็นพระที่มีลาภจริงๆ จะไปไหนก็ตาม คนก็ดีเทวดาก็ดีปรารภพระสีวลี ถ้าพระสีวลีไปด้วยไม่มีคำว่าอด จะมีความอุดมสมบูรณ์ แม้แต่เดินเข้าไปในป่าที่ไม่มีบ้าน
    </TD></TR></TBODY></TABLE>​

    <!-- / message --><!-- sig -->
     
  2. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,949
    http://www.banfun.com/buddha/arenisong_tan.html

    ในสมัยที่องค์สมเด็จพระพิชิตมารจะเข้าไปเยี่ยม พระเรวัตในป่าไม้สะแก ที่ว่าเป็นน้องพระสารีบุตร อายุ ๗ ปี เป็นพระอรหันต์ปฏิสัมภิทาญาณ เวลาเดินเข้าไป ตอนจะไปเจอะถึงทาง ๒ แพร่ง พระพุทธเจ้าจึงได้ถามพระอานนท์ว่า "อานนท์ทางไปหาพระเรวัตไปทางไหน" ความจริงท่านทราบ
    พระอานนท์บอกว่า "ถ้าไปทางอ้อมทางนี้เดินทาง ๖๐ โยชน์ มีบ้านบิณฑบาตตลอด ทางนี้เป็นทางตรงเดินไป ๓๐ โยชน์ ไม่มีบ้านใส่บาตร
    สมเด็จพระบรมโลกนาถจึงตรัสถามว่า "สีวลีมาหรือเปล่า" แต่ความจริงท่านรู้ว่ามา แต่ต้องการจะประกาศความดี
    พระอานนท์ก็กราบทูลว่า "มาพระพุทธเจ้าข้า"
    "ถ้าสีวลีมาตถาคตจะไปทางตรง"
    พอพระพุทธเจ้าตัดสินใจว่าจะไปทางตรง บรรดารุกขเทวดาและอากาศเทวดาทั้งหลายต่างคนต่างปรารภว่า เวลานี้ หลวงพ่อสีวลี ของเรามา ความจริงพระโมคคัลลาน์ พระสารีบุตรก็ไป พระพุทธเจ้าเสด็จด้วย แต่เทวดาไม่ได้ปรารภถึงเลย ปรารภเฉพาะท่านพระสีวลี จึงเนรมิตเรือนแก้ว กุฏิเป็นที่พัก วัดเป็นที่พัก สำหรับพระ ๕๐๐ รูป เป็นเรือนแก้วไว้แต่ละโยชน์ ๑ โยชน์ มี๑ วัด สร้าง ๓๐ วัด เป็น ๓๐ โยชน์
    เมื่อพระพุทธเจ้าไปถึงวัดต่างๆ เขาก็แสดงตนเป็นคนธรรมดา พระพุทธเจ้าท่านรู้ นิมนต์พักวัดท่านก็พัก ตอนเช้าท่านนำอาหารการบริโภคเนรมิตจากจิตใจของเทวดาไม่ต้องหุง ถวายพระอิ่มหนำสำราญ แต่การที่เขามาถวายน่ะเขาปรารภพระสีวลีว่า "เราจะนำอาหารไปถวายหลวงพ่อสีวลีของเรา" เป็นอย่างนี้จนกระทั่งถึงสำนักของพระเรวัต
    นี่แหละบรรดาเพื่อนภิกษุสามเณร และญาติโยมพุทธบริษัท ท่านพระสีวลีให้ทานด้วยรวงผึ้งรังเดียวปิดรายการแต่ชาติหลังท่านมีความอุดมสมบูรณ์ คนที่มีความอุดมสมบูรณ์จะปฏิบัติธรรมมันก็ดี ทำอะไรก็ดีทุกอย่าง มีการคล่องตัว รวมความว่ามีความปรารถนาสมหวัง แม้แต่จิตใจคนบางประเภทก็ซื้อได้ แต่บางประเภทเราก็ซื้อใจไม่ได้นะเงินน่ะ แต่บางประเภทเวลานี้ก็ ฟุ่มเฟือยมาก การซื้อก็ซื้อด้วยเงินสะดวกอันนี้มีประโยชน์มาก
    ฉะนั้นขอบรรดาท่านพุทธบริษัทหรือเพื่อนภิกษุสามเณรจงสนใจในการให้ทานให้มาก เพราะว่าการให้ทานนี่ไม่ใช่จะหวังเฉพาะการร่ำรวยอย่างเดียว การให้ทานเป็นปัจจัยของความสุขทั้งโลกนี้และโลกหน้า
    การให้ทานนี่ขอพูดถึงอานิสงส์ของการให้ทานสักนิดหนึ่ง คืออานิสงส์ขอทานในชาติปัจจุบันเราจะเห็นได้ชัดๆ จริงๆ นั่นก็คือว่า ผู้ให้ย่อมเป็นที่รักของบุคคลผู้รับ คือว่าคนผู้ให้มีโอกาสชื่นใจว่า เราได้ให้ทาน แต่ว่าบางคนนะ บางพวก จอมอกตัญญูไม่รู้คุณคนนี่เยอะเหมือนกันนะ อย่าลืมว่าผมโดนมาแล้ว โดนมาตลอดชีวิต ให้แล้วมันก็กัด แต่ผมก็ไม่ได้ผูกใจเจ็บ ผมถือว่าเป็นความชั่วของเขา ผมไม่ยอมชั่วด้วย ไอ้ผมนั่นก็เลวอยู่แล้ว ถ้าจะไปโกรธเขาเข้า มันจะเลวมากขึ้น มันจะแบกไม่ไหว เอาแค่ความเลวที่มีอยู่มันก็เดินตุปัดตุเป๋ไปแล้ว เวลานี้ผมเดินตุปัดตุเป๋ไม่ตรงทาง หนักความชั่ว ความชั่วมีเยอะมหาศาลแต่ว่าพวกนั้นเขากลั่นเขาแกล้ง เขากินอิ่มเข้าไปแล้ว เขาคิดจะฆ่าผม คิดจะไล่ผม เขาชุมนุมกันเยอะแยะ เวลาที่พูดอยู่นี่ก็ยังมีร้องเรียนไปที่ไหนๆ ไปลงหนังสือพิมพ์ ด่าบ้าง ฟ้องไปทุกระดับ จนกระทั่งสำนักนายก เขาหาว่าคนของผมโหดร้าย แต่ผมไม่เคยแตะต้องอะไรเขาเลย แต่พวกนี้เป็นอย่างไร ได้ประโยชน์จากผมหมายความว่าคนจะมาหาเขา เขาจะร่ำรวย เขานึกว่าผมรวยก่อสร้างต่างๆ นานา ญาติโยมท่านให้สร้าง ญาติโยมท่านให้เก็บ แต่จริงๆ การก่อสร้างนี่เหน็ดเหนื่อยหนักใจหนักกาย แต่เพื่อความดีของญาติโยมผมไม่เหนื่อย ไม่หนัก ผมปลื้มใจ เพราะญาติโยมทำความดี ทุกคนเขาจะพ้นทุกข์กัน ฉะนั้นเราจะกักให้เขาให้อยู่ในแดนความทุกข์ยังไง ต้องสนองสนับสนุนตามที่พระพุทธเจ้าสนับสนุนแบบไหนเราทำกันแบบนั้น
    นี่แหละบรรดาเพื่อนภิกษุสามเณรทุกท่าน ต้องจำไว้ว่าการให้ทานน่ะ มันก็มีการสะดุดแบบนี้ แต่เราจงอย่าคิด คิดอย่างเดียวว่าจิตใจของเราเป็นสุข สุขเพราะการเกื้อกูลแก่เพื่อนในเมื่อเราให้เขา ถ้ามีคนรัก ไอ้คนรักเรามากๆ ก็มีไม่ใช่เลว คนเลวมันน้อยกว่าคนดี ให้ทานแก่บุคคลที่รู้คุณคนนี่มี แต่เราอย่าไปคิด คิดอย่างเดียว ให้ทานเพื่อเป็นการสงเคราะห์ เรามีน้อยเราให้น้อย เรามีมากเราให้มาก ให้พอควร อย่าให้เกินพอดี อย่าให้เบียดเบียนตนเอง อย่าให้ถึงกับตัวมีความทุกข์ ผลแห่งการให้ทานจริงๆ มันก็มีประโยชน์ใหญ่ ไปที่ไหนมีแต่คนรู้จัก ความจริงเราไม่รู้จัก จำเขาไม่ได้หรอก จำเขาไม่ได้จริงๆ อย่างพวกท่านก็เคยไปกับผม ไปถึงญาติโยมก็มาหากัน ไปถึงก็หลวงพ่อหลวงปู่ หลวงน้า ผมก็มองหน้า ผมจำไม่ได้แต่ว่าท่านมาด้วยความดี ผมก็ปลื้มใจ ผมก็ดีใจ บางคราวท่านมากันมาก ในบางแห่งจนกระทั่งผมฉันข้าวไม่ได้ ฉันข้าวไม่ได้ไม่ใช่ญาติโยมจะมากวนใจผมหรอก ผมปลื้มใจในความดีของญาติโยม
    นี่แหละบรรดาเพื่อนภิกษุสามเณรทั้งหลาย การให้ทานน่ะชาติปัจจุบันเราก็มีความสุขมาก ทั้งนี้เพราะอะไร มีคนเขาสนใจเรามาก ประคับประคองเรามาก ป้องกันอันตราย แต่อันตรายถ้ามันจะเกิดจาก กฎของกรรมก็อย่าไปโทษว่าทานไม่ช่วยนะ คิดไว้เสมอว่า กรรมที่เราทำไว้ในชาติก่อนมันตามมาเล่นงานเรายังไงก็ช่างมัน ชาตินี้ทำหนีมันไปให้ได้ อันดับแรกเอาทานบารมีเข้าชนกับมันก่อน เป็นปัจจัยส่วนหนึ่งที่ทำให้เราพอมีความสุข คนที่เขาดีมีความกตัญญูรู้คุณ เขาก็ให้การประคบประหงมเรา ให้ความสนิทสนมกับเรา เป็นที่รักของเรา เราก็ชื่นใจในความสุข เว้นไว้แต่คนจังไรที่มีความอกตัญญูไม่รู้คุณ เขามีความทุกข์ ปล่อยให้เขาทุกข์ไปฝ่ายเดียว เราอย่าทุกข์กับเขา ถ้ากำลังใจของเราอย่างนี้ก็ถือว่า เป็นทานที่มีกำลังยิ่งใหญ่ ชาตินี้มีความสุข ชาติหน้าจะยิ่งสุขยิ่งไปกว่านี้ ถ้าบังเอิญบารมีของเรายังไม่ถึงที่สุดในชาตินี้ ก็อาจจะไปตกในชาติหน้าอย่างท่าน มณฑกเศรษฐี กับคณะก็ได้


    <HR width="50%" color=#800000>
    [​IMG]
    จากหนังสือ วัดท่าซุง จังหวัดอุทัยธานี
    <!-- / message --><!-- sig -->
     
  3. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,949
    http://www.banfun.com/buddha/tana_sample.html

    วันนี้ตรงกับ วันพุธที่ ๑๗ ตุลาคม ปีพระพุทธศักราช ๒๕๕๐
    <SCRIPT src="http://tracker.truehits.in.th/func/th_donate_1.4.js"></SCRIPT><SCRIPT src="http://tracker.truehits.in.th/func/th_common_1.4.js"></SCRIPT><SCRIPT language=javascript1.2>sv=1.2;ss=screen.width+'*'+screen.height;sc=(bn=='MSIE')?screen.colorDepth:screen.pixelDepth;if(sc==udf){sc='na';}</SCRIPT><SCRIPT language=javascript1.3>sv=1.3; </SCRIPT><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width=780><TBODY><TR><TD class=cd16 width=80 rowSpan=2></TD><TD class=cd16 width=620>บุคคลตัวอย่าง “ท่านจูเฬกสาฎก”


    </TD><TD class=cd16 width=80 rowSpan=2></TD></TR><TR><TD class=cd16 width=620>มีเรื่องในธรรมบท ท่านว่า เวลานั้น พระพุทธเจ้าพักอยู่ที่พระเชตวันมหาวิหาร เวลานั้นองค์สมเด็จพระพิชิตมารทรงบรรลุอภิเษกสัมมาสัมโพธิญาณใหม่ๆ คำว่าพุทธเจ้ายังไม่ปรากฏในโลก แต่คำว่าอรหันต์นี่ชาวบ้านรู้เรื่อง เขาต้องการอรหันต์กัน แต่ยังไม่รู้จักอรหันต์จริงๆ
    วันนั้นพระพุทธเจ้าเสด็จไปที่เมืองสาวัตถี และก็ไปพักที่พระเชตวันมหาวิหาร บรรดาทายกก็ประกาศว่า เวลานี้องค์สมเด็จพระบรมโลกนาถ คือพระพุทธเจ้าอุบัติขึ้นแล้วในโลก ขอบรรดาท่านทั้งหลายจงไปฟังเทศน์พระพุทธเจ้าทั้งกลางวันและกลางคืน ใครจะไปกลางคืนก็ได้ ใครจะไปกลางวันก็ได้
    ในตอนนั้นท่านบอกว่า มีพราหมณ์คู่หนึ่ง สองตายาย สองสามีภรรยาชื่อว่า จูเฬกสาฎก แต่ว่าพราหมณ์จูเฬกสาฎกตามบาลีท่านบอกว่า ในสมัย พระวิปัสสี พราหมณ์คนนี้ชื่อว่า มหาสาฎก แปลว่า สาฎกใหญ่ สมัยพระพุทธเจ้าองค์นี้มาเกิดใหม่ก็ชื่อ สาฎกตามเดิม ชื่อ จูเฬกสาฎก แปลว่า สาฎกเล็ก
    พอตาพราหมณ์ได้ฟังก็บอกกับท่านยาย ถามท่านยายว่ายาย จะไปฟังเทศน์กลางคืนหรือว่ากลางวัน เพราะเราไปพร้อมกันไม่ได้ เพราะจนมาก มีผ้านุ่งคนละผืน มีผ้าห่มผืนเดียว พราหมณ์ออกจากบ้านต้องห่มผ้า เมื่อสามีออกจากบ้าน ภรรยาก็ต้องเฝ้าบ้าน เพราไม่มีผ้าห่ม ยายก็บอกว่า กลางคืนตาฉันไม่ดี ให้ตาไปฟังกลางคืนก็แล้วกัน กลางวันถึงจะไป
    ก็เป็นอันว่า ท่านจูเฬกสาฎกก็ตกลงใจ (ฉันก็ย่องเป็นท่านจูเฬกสาฏกนะ อย่าลืมนะว่าท่านทันสมัยพระพุทธเจ้า ไม่โง่ตามฉันหรอกนะ อย่างน้อยๆ ก็ไปนิพพานไปนานแล้ว) ก็ตัดสินใจ พอค่ำก็เดินทางไปที่มหาวิหารพระเชตวัน ไปนั่งด้านหน้าพระพุทธเจ้า พระพุทธเจ้าตั้งใจเทศน์สงเคราะห์โดยเฉพาะ คนฟังมาก แต่วันนั้นท่านจี้จุดเฉพาะ จูเฬกสาฎก แต่คนที่พลอยได้นะมีเยอะ ตามธรรมดาพระพุทธเจ้าเทศน์ต้องมุ่งก่อนว่า วันนี้เราไปเทศน์จะมีใครบรรลุมรรคผลไหม จะมีผลเป็นประการใดบ้าง ถ้าไม่มีผลเลยนี่ไม่ไป ถ้าจะไปแล้วจะต้องพูดแบบไหนจึงจะมีผล ท่านรู้ไปก่อน
    ในเมื่อจูเฬกสาฎกไปนั่งข้างหน้า ท่านก็เทศน์เรื่อง ทานบารมี อธิบายผลของทานว่า ทานเป็นปัจจัยให้เกิดความรักเป็นต้น ผู้ให้ย่อมเป็นที่รักของผู้ให้ เทศน์อย่างนี้ เทศน์อานิสงส์ของทานว่าการมีชีวิตอยู่ก็มีความสุขและก็มีพวกมาก ตายไปแล้วก็ไปเกิดบนสวรรค์ มาเกิดเป็นมนุษย์ใหม่ก็เป็นคนร่ำรวยท่านเทศน์ยาว
    พอถึงยามต้น หัวค่ำนะ พราหมณ์ตัดสินใจคิดว่า เราจะถวายผ้าห่มผืนนี้กับพระพุทธเจ้า พอคิดเพียงเท่านี้ก็ห่วงบ้าน เทศน์ไพเราะแบบนี้ไม่เคยมีมาก่อน ถ้าเราถวายผ้าผืนนี้กับพระพุทธเจ้าพรุ่งนี้คุณยายก็มาไม่ได้ ใช่ไหม ห่วงยาย พระพุทธเจ้าก็เทศน์ต่ออีก
    พอถึงยามที่สองก็ตัดสินใจใหม่อีก แล้วก็ห่วงยายอีก
    พอถึงยามที่สามเลิกห่วงยาย (เห็นแก่ตัวแล้วนะ) ช่างมันเถอะวะ ยายจะมาฟังได้หรือไม่ได้ก็ช่างมัน กูถวายละ ก็เปลื้องผ้าที่ห่ม (คงจะแสนเก่า ไม่ใช้แสนใหม่นะ มีผืนเดียวนี่นะ) เอาไปวางที่พระบาทของพระพุทธเจ้า แล้วก็ถอยหลังออกมาเปล่งวาจาว่า “กูชนะแล้ว กูชนะแล้ว” ตามภาษาบาลีว่า “ชิตัง เม ชิตัง เม” เราชนะแล้ว เราชนะแล้ว
    เวลานั้น พระเจ้าปเสนทิโกศล นั่งฟังเทศน์อยู่ด้วย จึงให้ราชบุรุษเข้าไปถามว่า ดูซิลุงแก่แกชนะอะไรของแก เดินจะไม่ไหวอยู่แล้ว ใช่ไหม ในเมื่อราชบุรุษเข้าไปถาม ท่านบอกชนะความตระหนี่ เพราะตัดสินใจมาตั้งแต่ตอนเย็น ตัดสินใจไม่ได้ เวลานี้ตัดสินใจได้แล้ว ก็รวมความว่า วันพรุ่งนี้ทั้งตัวแกเองรวมทั้งยายด้วยไม่ได้ฟังเทศน์ ถึงแม้จะไม่ได้ฟังก็ตามใจฟังเทศน์นี่ชื่นใจมากแล้ว
    พระเจ้าปเสนทิโกศลท่านทราบ ก็สั่งให้เขาไปเอาผ้าสาฎกที่พระองค์ทรงใช้เอง เอามาสองผืน (หนึ่งคู่) ให้แก แกก็น้อมไปถวายให้พระพุทธเจ้าอีก ทีนี้สั่งเอามาให้อีกสองคู่ แกก็ถวายพระพุทธเจ้าอีก ไปถึง ๓๒ คู่ ว่าเรื่อยกันไปนะ ๒ คู่ ๓ คู่ ๔ คู่ ว่าเรื่อยไปถึง ๓๒ คู่ พอถึง ๓๒ คู่ แกคิดในใจว่า ถ้าเราไม่เอาไว้เลย ท่านผู้ให้จะหาว่าเรารังเกียจ เลยกันไว้สองคู่ เพื่อยายคู่หนึ่ง เพื่อตัวคู่หนึ่ง อีก ๓๐ คู่ ถวายพระพุทธเจ้า
    พระเจ้าปเสนทิโกศลก็คิดว่า คนนี้มีความเลื่อมใสในที่ที่เราเลื่อมใสแล้ว จึงให้ไปนำผ้ากัมพลที่พระองค์ใช้เองอย่างดีที่สุดราคาแสนกหาปณะมาสองผืน มามอบให้พราหมณ์ ท่านจูเฬกสาฎกก็เอาไปทำเพดานให้พระพุทธเจ้านั่งเสียผืนหนึ่ง เอาไปกั้นเพดานที่บ้านเสียผืนหนึ่ง เมื่อเวลาพระสงฆ์ไปฉัน
    พอรุ่งขึ้นอีกวันตอนบ่ายพระเจ้าปเสนทิโกศลมาเห็นผ้ากัมพลก็จำได้ ก็ถามพระพุทธเจ้าว่า ใครถวาย พระพุทธเจ้าก็บอกว่า จูเฬกสาฎกถวาย จึงทรงเรียก จูเฬกสาฎกมา อีตานี้ใจหายว้าบ สั่งให้เข้าเฝ้าด่วน ให้มาด่วนเดี๋ยวนี้ (น่ากลัวหัวขาด) พอรับสั่งให้เข้ามาถึงก็บอกว่า ฉันให้ผ้าเธอถึง ๓๒ คู่ ไล่เป็นลำดับมา เธอถวายพระพุทธเจ้า เธอเอาไว้สองคู่เพื่อตากับยาย ฉันให้ผ้ากำพลให้เธอใช้เพราะเธอมีศรัทธา เธอทำไมจึงถวายพระพุทธเจ้าอีก
    ท่านก็เลยบอกว่า ผ้ากัมพลไม่เหมาะกับพระพุทธเจ้า คนฐานะอย่างนี้ไม่สมควร สมควรกับพระเจ้าอยู่หัวอย่างเดียว ไม่เช่นนั้นก็พระพุทธเจ้าเท่านั้น
    ท่านก็เลยบัญชาใหม่ว่า นับตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป เราให้ คู่ ๔ กับเธอ คือ โค ๔ ช้าง ๔ ม้า ๔ ควาย ๔ กระบือ ๔ (เอ ควายกับกระบือเหมือนกันไหม เขาเขียนไม่เหมือนกันนะ) แล้วก็ผู้หญิง ๔ ผู้ชาย ๔ ทาสชาย ๔ ทาสหญิง ๔ และก็ทรัพย์อีก ๔,๐๐๐กหาปณะ (เวลานั้นเป็นคนรวยแล้วนะ) และบ้านสำหรับเก็บส่วยเก็บภาษีอีก ๔ ตำบล รวยใหญ่ เลยกลายเป็นอนุเศรษฐีไป
    ต่อมาตอนเย็นบรรดาพระสงฆ์ทั้งหลายก็นั่งคุยกัน (พระพุทธเจ้าอยู่ในมหาวิหาร) ว่าน่าอัศจรรย์ที่จูเฬกสาฎกถวายผ้าแด่พระผู้มีพระภาคเจ้าเพียงผืนน้อยๆ ผืนเดียว ผ้าเก่าด้วยมีผลปัจจุบันขนาดนี้
    องค์สมเด็จพระชินสีห์ฟังแล้วก็คิดว่าเราควรจะไปที่นั่น พอไปถึงท่านก็ถามว่า
    “เธอคุยกันเรื่องอะไร” (นี่เป็นเรื่องธรรมดานะ ธรรมดาของพระพุทธเจ้า พระสงฆ์ก็เหมือนกัน รู้แล้วต้องทำเป็นไม่รู้) พระก็เล่าให้ฟัง พระพุทธเจ้าก็บอกว่า จูเฬกสาฎกถวายช้าไป ถ้าถวายตถาคตตั้งแต่ยามต้นจะได้คู่ ๑๒ หากว่าถวายยามกลาง จะได้คู่ ๘ คือ ๘ คู่ นี่ถวายยามสุดท้ายจึงได้ ๔ คู่ (น้อยไป) ฉะนั้น การทำบุญต้องเร็วๆ ไวๆ “ตุลิตะ ตุลิตัง สีฆะ สีฆัง” เร็วๆ ไวๆ

    <HR width="50%" color=#800000></TD></TR></TBODY></TABLE>
    [​IMG]
    จากหนังสือ วัดท่าซุง จังหวัดอุทัยธานี
    <!-- / message --><!-- sig -->
     
  4. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,949
    http://www.banfun.com/buddha/tana_outside.html

    วันนี้ตรงกับ วันพุธที่ ๑๗ ตุลาคม ปีพระพุทธศักราช ๒๕๕๐
    <SCRIPT src="http://tracker.truehits.in.th/func/th_donate_1.4.js"></SCRIPT><SCRIPT src="http://tracker.truehits.in.th/func/th_common_1.4.js"></SCRIPT><SCRIPT language=javascript1.2>sv=1.2;ss=screen.width+'*'+screen.height;sc=(bn=='MSIE')?screen.colorDepth:screen.pixelDepth;if(sc==udf){sc='na';}</SCRIPT><SCRIPT language=javascript1.3>sv=1.3; </SCRIPT><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width=780><TBODY><TR><TD class=cd16 width=57 rowSpan=2></TD><TD class=cd16 width=666>การให้ทานในเขตและนอกเขตพระพุทธศาสนา


    </TD><TD class=cd16 width=57 rowSpan=2></TD></TR><TR><TD class=cd16 width=666>
    สมัยเมื่อองค์สมเด็จพระพิชิตมาร เสด็จไปบนสวรรค์ชั้นดาวดึงสเทวโลก (เพื่อโปรดพระพุทธมารดา) องค์สมเด็จพระชินสีห์ประทับที่ บัณฑุกัมพลศิลาอาสน์ เวลานั้นมีเทวา ๒ ท่าน มาเฝ้าองค์สมเด็จพระบรมโลกนาถก่อนคนอื่นทั้งหมด เว้นไว้แต่พระอินทร์ พระอินทร์ท่านเป็นเจ้าภาพ ท่านรับอยู่ก่อน มีเทวดาองค์หนึ่งมา คือ ท่านอินทกเทพบุตร มานั่งอยู่ข้างๆ ขาเบื้องขวา ท่านอังกุรเทพบุตรต้องถวายหลังไปอยู่ท้ายบริษัท อยู่ริมนอก เพราะเป็นเทวดาที่มีบุญน้อยที่สุดในดาวดึงส์
    องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธะเจ้าทรงถามท่านอังกุรเทพบุตร (ท่านบัลดาลให้เสียงท่านและเสียงเทวดาที่พูดกันได้ย้อนถึงคนคอยท่านอยู่ที่เมืองพาราณสี ที่เมืองมนุษย์ คนทุกคนฟังชัด) องค์สมเด็จพระทรงสวัสดิ์ถามว่า
    “อังกุระ เมื่อสมัยเมื่อตถาคตขึ้นมาใหม่ๆ มาถึงใหม่เธอนั่งใกล้ข้างขาข้างซ้าย เวลานี้เทวดาทั้งหลายมากันครบถ้วน แต่ว่าเธอกลับมานั่งท้ายบริษัท ตถาคตอยากจะทราบว่าในสมัยที่เธอเป็นมนุษย์ เธอทำบุญอะไรไว้ จึงเป็นเทวดาที่มีบุญน้อยที่สุดในสวรรค์ชั้นดาวดึงสเทวโลก”
    ท่านอังกุระจึงได้กราบทูลสมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า
    “ ภันเต ภควา ข้าแต่องค์สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าผู้เจริญพระพุทธเจ้าข้า ในสมัยที่ข้าพระพุทธเจ้าเป็นมนุษย์เป็นมหาเศรษฐีมีทรัพย์มาก แล้วในสมัยนั้นเป็นต้นกัป คนมีอายุยืนมาก อายุถึง ๘๐,๐๐๐ ปีจึงตาย ต่อมาสมัยข้าพระพุทธเจ้าเป็นคนแก่ เหลืออีก ๒๐,๐๐๐ ปีจะสิ้นอายุ จึงได้ให้ตั้งโรงทาน ๘๐ แห่ง คือ ๑ โยชน์ ๑ แห่ง โรงทานนี้ให้แก่คนกำพร้า คนเดินทาง ทั้งกลางวันและกลางคือ ทั้งอาหารการบริโภค ผ้าผ่อนท่อนสไบ ของใช้ตามสมควร แต่ว่าเวลานั้นว่างจากพระพุทธศาสนา คนไม่มีศีลไม่มีธรรม คนไร้ศีลไร้ธรรม ไม่มีพระพุทธเจ้าคอยสอน บุญญาธิการที่ได้จึงน้อยเกินไป (ลงทุนมาก ๒๐,๐๐๐ ปีตั้งโรงทาน ๘๐ แห่ง เลี้ยงไม่จำกัด ขอบรรดาพุทธบริษัทคิดเอาว่าเขาต้องใช้เงินวันละเท่าไร แต่ว่าอาศัยว่าคนผู้รับ เป็นผู้ไม่บริสุทธิ์ ท่านผู้ให้ก็ไม่ค่อยจะบริสุทธิ์นัก เวลานั้นศีลธรรมน้อยเกินไป เป็นธรรมดาของชาวโลก วัตถุทานที่ได้มา ก็เข้าใจว่าไม่ค่อยจะบริสุทธิ์ ฉะนั้น เวลาตายจากความเป็นมนุษย์ จึงมาเกิดบนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ เป็นเทวดาที่มีบุญน้อยที่สุด) เมื่อข้าพระพุทธเจ้ามาถึงใหม่ๆ นั้นใกล้พระองค์ แต่ในที่สุดก็ต้องมานั่งท้าย เพราะบุญญาธิการไม่เท่าเทวดาทั้งหลาย”
    หลังจากนั้น องค์สมเด็จพระจอมไตรจึงถามท่านอินทกเทพบุตรว่า
    “อินทกะ เมื่อตถาคตมาถึงใหม่ๆ เธอมาถึงแล้ว ก็นั่งตรงนี้ เวลานี้เทวดามาหมดสวรรค์ชั้นดาวดึงส์เทวโลก เธอก็นั่งตรงนี้ตถาคตอยากจะทราบว่า ในสมัยที่เป็นมนุษย์เธอสร้างความดี คือบุญกุศลอะไรไว้ เธอจึงเป็นเทวดาที่มีศักดาใหญ่ นอกจากพระอินทร์”
    ท่านอินทกเทพบุตรจึงกราบทูลสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าว่า
    “ภันเต ภควา ข้าแต่องค์สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าผู้เจริญพระพุทธเจ้าข้า การที่ข้าพระพุทธเจ้าสมัยเป็นมนุษย์นั้น เป็นคนที่จนที่สุด หมายความว่าเป็นคนจนอยู่ในป่า ต่อมาท่านพ่อตายเหลือแต่ท่านแม่ ก็มีความกตัญญูรู้คุณต่อพ่อแม่ เลี้ยงแม่ด้วยการตัดฟืน เหนื่อยยากลำบากขนาดไหนก็ไม่สนใจ สนใจอย่างเดียวว่า ทำอย่างไรแม่จึงจะมีความสุขตามกำลังที่จะให้ท่านได้”
    ฟังตอนนี้ก็คิดด้วยนะบรรดาญาติโยมพุทธบริษัททั้งหลายว่า คนที่มีความรู้คุณ ยอมรับนับถือความดีของบุคคลผู้มีคุณ แล้วสนองคุณท่านนี่ องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงสรรเสริญว่า เป็นคนดี ตามพระบาลีท่านว่า
    “นิมิตตัง สาธุรูปานัง กตัญญูกตเวทิตา”
    ซึ่งแปลว่า “บุคคลใดรู้อุปการคุณที่ท่านทำแล้ว แล้วก็ทำดีสนองตอบแทนคุณท่าน เราขอสรรเสริญบุคคลนั้นว่าเป็นคนดี”
    เป็นอันว่า เมื่อองค์สมเด็จพระชินสีห์สดับแล้ว ท่านก็เล่าต่อไป ท่านอินทกะถวายคำตอบต่อไปว่า
    “มาวันหนึ่งมีพระสงฆ์ในพระพุทธศาสนาเดินทางมา ก็เป็นเวลาที่พอดีมีอาหารอยู่บ้างตามฐานะของคนป่า ยามปกติไม่มีของสำหรับทำบุญ คนจนนี่ก็ไม่มี พระบางครั้งพระมาก็ไม่มีของถวาย ก็เลยจำใจจำนิ่ง เพราะอยากจะถวาย วันนั้นพอดีของในครัวพอมีอยู่บ้าง พระก็มาพอดี มีโอกาสได้อาราธนาพระถวายเป็นสังฆทาน ครั้งเดียวในชีวิต ในชีวิตของข้าพระพุทธเจ้าเป็นคนจน ถวายสังฆทานครั้งเดียว แต่ก็มีความกตัญญูรู้คุณกับแม่ด้วย ตายจากความเป็นคนจึงมาเกิดเป็นเทวดาบนสวรรค์ชั้นดาวดึงเทวโลก เป็นเทวดาที่มีอานุภาพมากกว่าเทวดาอื่น นอกจากพระอินทร์”
    นี่บรรดาพุทธบริษัททั้งหลาย ฟังแล้วต้องคิดว่าท่านอังกุรเทพบุตรทำบุญมากแต่ว่ามีอานิสงส์น้อย ท่านอินทกเทพบุตรทำบุญน้อยแต่มีอานิสงส์มาก เรื่องนี้มีมากในพระพุทธศาสนา
    ฉะนั้นการบำเพ็ญกุศลนี่ บรรดาท่านพุทธบริษัททั้งหลายโดยถ้วนหน้า ต้องเลือกเขตเลือกนา การหว่านพืชในที่ดอนเกินไป ไม่มีน้ำเลี้ยงพืชก็แห้งตาย การหว่านพืชในที่ลุ่มเกินไปน้ำท่วมพืชก็ตาย จะต้องดูถึงพื้นนาที่ดีๆ ข้าวหรือพืชจึงจะงาม ผลจึงจะดกมีผลคุ้มค่าและเกินค่าที่เราทำ อย่างท่านอินทกเทพบุตร ท่านเป็นคนจนแสนจน แต่ว่าท่านถวายสังฆทาน ตามเขตในพระพุทธศาสนา แล้วก็มีความกตัญญูรู้คุณต่อบิดามารดาอันนี้เป็นปัจจัยสูงสุด
    แต่ก็เป็นที่น่าปลื้มใจ ที่คณะบรรดาญาติโยมพุทธบริษัทและภิกษุสามเณร ทั้งในวัดก็ดี นอกวัดก็ดี นิยมการบำเพ็ญทานอันดับสูงนั่นคือ
    ๑. พอใจในการถวายสังฆทาน ถวายสังฆทานมีของมาถวายจัดเป็นชุดโดยเฉพาะก็มี ของน้อยก็มีของมากก็มี นี่เป็นสังฆทาน
    ๒. ก็มีมากท่านนิยมมาเลี้ยงพระ การเลี้ยงพระสงฆ์ตั้งแต่ ๔ รูปขึ้นไปไม่ต้องบอกก็เป็นสังฆทาน ๑๐๐ เปอร์เซ็นต์ ที่นี้การใส่บาตรหน้าบ้านโดยไม่จำกัดพระ อันนี้ก็เป็นสังฆทานอานิสงส์ใหญ่มาก ที่สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้ายกย่องว่า
    การบำเพ็ญทาน ถวายทานแด่พระองค์เอง ๑๐๐ ครั้งไม่เท่าถวายสังฆทานครั้งเดียว และ
    ๓. บรรดาญาติโยมพุทธบริษัท พระก็ดีเณรก็ดีที่นิยมการช่วยส่งเสริมในการสร้างวิหารทาน ถึงกับมาสร้างห้องเป็นห้องๆ เป็นชื่อของตัวเอง เป็นชื่อนะไม่ใช่โชว์ ที่เขาติดชื่อน่ะจะได้ทราบว่าใครทำไว้ ลูกหลานจะได้โมทนา ได้เป็นส่วนบุญด้วย สร้างพระพุทธรูปสวยสดงดงาม
    รวมความว่า การบริจาคทานของบรรดาท่านพุทธบริษัททำถูกต้อง อย่างนี้มีอานิสงส์มาก

    <HR width="50%" color=#800000></TD></TR></TBODY></TABLE>
    [​IMG]
    จากหนังสือ วัดท่าซุง จังหวัดอุทัยธานี
    <!-- / message --><!-- sig -->
     
  5. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,949
    http://www.banfun.com/buddha/tana_select.html

    วันนี้ตรงกับ วันพุธที่ ๑๗ ตุลาคม ปีพระพุทธศักราช ๒๕๕๐

    <SCRIPT src="http://tracker.truehits.in.th/func/th_donate_1.4.js"></SCRIPT><SCRIPT src="http://tracker.truehits.in.th/func/th_common_1.4.js"></SCRIPT><SCRIPT language=javascript1.2>sv=1.2;ss=screen.width+'*'+screen.height;sc=(bn=='MSIE')?screen.colorDepth:screen.pixelDepth;if(sc==udf){sc='na';}</SCRIPT><SCRIPT language=javascript1.3>sv=1.3; </SCRIPT><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width=780><TBODY><TR><TD class=cd16 width=80 rowSpan=2></TD><TD class=cd16 width=620>การเลือกบุคคลให้ทาน



    </TD><TD class=cd16 width=80 rowSpan=2></TD></TR><TR><TD class=cd16 width=620>
    สำหรับบารมีนี้มี ๑๐ อย่าง ท่านขึ้นต้นด้วยทานบารมีก่อน แต่การจะประพฤติทานได้จริงๆ บรรดาเพื่อนภิกษุสามเณรและบรรดาท่านพุทธบริษัทชายหญิง ต้องเป็นคนมีปัญญา ถ้าคนที่ไร้ปัญญาให้ทานไม่ได้ คนที่มีทรัพย์สินสะสมไว้มากแสนมากแต่ไร้การให้ทานย่อมเป็นโทษกับตัวเอง มีทรัพย์กี่หมื่นล้านก็ตาม ถ้าหากเราไม่ให้ทาน เราก็เป็นคนโดดเดี่ยวอันตรายจะมีกับเราเมื่อใดก็ได้ ทั้งนี้เพราะอะไร เพราะว่าคนทุกคนเขาไม่ชอบหน้าเรา เราเป็นคนตระนี่แน่นเหนี่ยวประการหนึ่ง
    และประการที่สอง ถ้าเราให้ทานไม่ได้ก็หมายถึงว่าเรามีความโลภ เพราะการให้ทานนี่เป็นปัจจัยตัดความโลภ คำว่าความโลภในที่นี้อย่างหยาบก็คือ อยากได้ทรัพย์สมบัติของบุคคลอื่นมาโดยไม่ชอบธรรม เช่น โกงเขาบ้าง แย่งชิงวิ่งราวบ้างแล้วก็ทำต่างๆ ที่จะพึงทำได้ ลักขโมยเขาบ้าง อย่างนี้เป็นต้น อาการอย่างนี้เป็นอาการแห่งการสร้างศัตรู
    ฉะนั้นสมเด็จพระบรมครูจึงทรงตรัสว่า ถ้าหวังความสุขจริงๆ ก็ต้องมีการให้ทาน
    สำหรับการให้ทานนี่ก็ต้องเลือกเหมือนกัน คือการให้ทานนะมันก็มีอยู่ว่า เหมือนกับเราจะหว่านพืช ตามที่พระพุทธเจ้าทรงตรัสว่า ผู้รับทานนั้นถือว่าเป็นเนื้อนาบุญ อย่างพระสงฆ์ก็ดี สามเณรก็ดี ถือเป็นเนื้อนาบุญ หรือว่าเนื้อนาบาป โดยเฉพาะอย่างยิ่งเราเจาะจงพระก่อน พระก็ดีเณรก็ดี ถ้าปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ ตามคำแนะนำขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าอันนี้เราก็ต้องดู ต้องใช้ปัญญา ไม่ใช่ว่าปัญญาบารมีไปอยู่ถึงข้อ ๔ แล้วเราไม่ใช้ ต้องใช้ ปัญญาบารมีนี่ถือว่าเป็นธงชัยนำหน้าเหมือนกัน ในมรรค ๘ ท่านขึ้น สัมมาทิฏฐิ ก่อน สัมมาทิฏฐินี่เป็นตัวปัญญา
    นี่เราก็มาพิจารณากันต่อไปว่าพระสงฆ์ประเภทไหนที่เราควรจะยอมรับนับถือแล้วก็ควรจะถวายทาน
    อันดับแรกที่สุด จะสังเกตุ พระสงฆ์ทั้งหมดจะต้องมีจิตมีกำลังเหนือนิวรณ์ ๕ นั่นก็หมายความว่าถ้าเป็นพระปุถุชนก็ดี เป็นพระที่ทรงฌานสมาบัติก็ดี ก็ยังอยู่ภายใต้อำนาจของนิวรณ์ นิวรณ์ยังครอบงำจิตได้ สำหรับท่านที่ทรงฌานสมาบัติ บางครั้งจิตท่านพลาดจากฌาน ลืมคุมฌาน เวลานั้นก็หมายความว่านิวรณ์เข้าครอบงำจิตแน่
    สำหรับพระที่ไม่ได้ฌานสมาบัติที่มีศีลบริสุทธิ์ก็เช่นกัน บางครั้งนิวรณ์ก็ครอบงำจิตได้ แต่ว่าก็ยังเป็นเนื้อนาบุญที่ควรจะให้การสงเคราะห์ ควรจะมอบวัตถุทานให้ ทั้งนี้เพราะอะไรเพราะยังมีความดีอยู่ และโดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าพระองค์ใดเป็นพระอริยะเจ้า สำหรับพระอริยะเจ้านี่เราสังเกตกันยาก เพราะว่าคนเราติดอุปทานเสียมาก มีนักปราชญ์ชุ่ยๆ ที่บอกว่า พระอรหันต์ต้องไม่หัวเราะ พระอรหันต์ต้องไม่สูบบุหรี่ ไม่กินหมาก ความจริงความเข้าใจอย่างนี้ผิด แม้แต่องค์สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้ายังทรงหัวเราะ ที่กล่าวว่าพระพุทธเจ้าไม่ทรงหัวเราะ นานๆ จะมีการแย้มพระโอษฐ์สักทีหนึ่ง การแย้มพระโอษฐ์น้อยๆ น่ะมันเป็นเฉพาะเวลาพิเศษ นั่นก็คือสมเด็จพระบรมโลกเชษฐ์เห็นความสำคัญเกิดขึ้น อยู่เฉยๆ ไม่ได้พูดกับใคร แล้วก็ไม่ได้หันหน้าไปหาใคร ทรงแย้มพระโอษฐ์เฉยๆ นั่นหมายถึงความสำคัญจะเกิดขึ้น ถ้าพระอานนท์ถามว่า ทรงแย้มพระโอษฐ์เพราะอะไร ก็จะทรงตรัสถึงความสำคัญที่ทรงแย้มพระโอษฐ์
    นี่เป็นอันว่าพระพุทธเจ้าก็ทรงยิ้มแย้มแจ่มใสเหมือนคนธรรมดาๆ คำว่าเหมือนคนธรรมดาก็หมายความว่า ถ้าเราหัวเราะได้ท่านก็หัวเราะ เรายิ้มกันได้ท่านก็ยิ้ม
    ตัวอย่างในสมัยหนึ่ง เมื่อท่านโกมารภัจจ์มาที่เมืองทวาราวดี เวลานั้นเขายังไม่เรียกว่าประเทศไทย มันเป็นเมืองย่อมๆ เป็นเมืองย่อมๆ เป็นจุดๆ ท่านมาทวาราวดี ๒ ปี กลับไปเฝ้าองค์สมเด็จพระชินสีห์ ก็กราบทูลให้ทรงทราบว่าชาวเมืองทวาราวดีนี่พูดเพราะมาก ใช้ภาษาโดด คือภาษาคำเดียว แล้วพูดไพเราะ ไม่ปรี๊ดปร๊าดๆ เหมือนแขก ตัวอย่างเช่นคำว่า "ไป" ไปนี่เราใช้คำว่า "ไป" เฉยๆ แต่ว่าภาษามคธหรือภาษาแขก เรียก "คมนา" บ้าง "คัจฉติ" บ้าง ของเขาหลายคำ อย่างคำว่า "กิน" เราเรียกว่า "กิน" แต่ของเขาเรียกวา "ภุญชติ" อย่างนี้เป็นต้น ก็รวมความว่าของเขาใช้คำกลั้ว เราใช้คำโดด เมื่อท่านโกมารภัจจ์กราบทูลให้พระพุทธเจ้าทรงทราบ พระพุทธเจ้าก็ทรงตรัสถามว่า ชาวทวาราวดีเขาพูดอย่างไรลองพูดให้ฟังสักประโยคซิ ท่านโกมารภัจจ์ก็พูดให้ฟัง พระพุทธเจ้าก็ทรงพูดภาษาทวาราวดีคุยกันสนุกสนาน คำว่าสนุกสนานในที่นี้นะ ถ้าพระพุทธเจ้าทรงทำหน้าตูมๆ ล่ะมันไม่สนุกหรอกท่านก็ต้องมีการยิ้มแย้มแจ่มใส และอีกประการหนึ่ง เวลานั้นจะเห็นว่าคณาจารย์มาก พระพุทธศาสนาเกิดใหม่ ถ้าหากว่าพระพุทธเจ้าทำหน้า.. ขอประทานอภัยนะ เหมือนกับหน้าไม้ตีพริก เพราะว่าไม้ตีพริกนี่หน้ามันไม่เงย มันก้ม มันลงต่ำ ไม่แสดงถึงอาการรื่นเริง อย่างนี้การประกาศพระพุทธศาสนาไม่ได้แน่นอน แพ้เขา พระพุทธศาสนาก็ไม่มาถึงเรา ก็เป็นอันว่าพระพุทธเจ้าก็ทรงยิ้มแย้มแจ่มใส ฉะนั้นขอบรรดาท่านพุทธบริษัททั้งหลายจำไว้ด้วย เพราะว่านักปราชญ์ท่านมีเยอะแล้ว
    ประการที่ ๒ การจะดูพระ การดูพระอริยะก็ดูยาก ก็ดูอย่างนี้ก็แล้วกัน ถ้าพระที่เราควรจะให้ คือไม่ใช่พระอริยะ เป็นพระผู้ทรงศีลก็ดี อย่างนี้สังเกตดูท่านพูดว่าจาที่ท่านพูดก็ดี อาการทางกายที่ท่านทำก็ดี ท่านฝ่าผืนคำสั่งสอนขององค์สมเด็จพระพุทธเจ้าไหม พระพุทธเจ้าบอกว่าตายแล้วเกิด ถ้าหากท่านผู้นั้นบอกว่าตายแล้วสูญ อย่างนี้แสดงว่าคัดค้าน เป็นศัตรูกับพระพุทธเจ้าแน่นอน ไม่ใช่พระที่พระพุทธเจ้าทรงยอมรับนับถือ พระพุทธเจ้าทรงยืนยันในพระไตรปิฎกนะ มีในวิมานวัตถุ ถ้าจะพูดถึงอย่างอื่นก็หายาก ในวิมานวัตถุพูดกันเฉพาะเรื่องเทวดาเรื่องพรหมโดยเฉพาะ มีเรื่องราวมาก เล่มเบ้อเริ่มเชียว มีเรื่องไม่รู้ว่าเท่าไหร่
    นี่เป็นอันว่าองค์สมเด็จพระจอมไตรทรงยอมรับว่าเทวดามีพรหมมี สัตว์นรก เปรต อสุรกายมี นิพพานมี แต่ว่าท่านผู้ใดบอกสัตว์นรกไม่มี เปรต อสุรกายไม่มี นิพพานไม่มี สวรรค์ไม่มี่ พรหมไม่มี ท่านผู้นั้นก็หมายความว่าไม่ใช่พระสงฆ์ในพระพุทธศาสนา ถ้าเอาผ้าเหลืองเขามาครอง ก็แสดงว่าปลอมตัวเข้ามาทำลายพระพุทธศาสนา เหมือนกับสมัยเมื่อพระพุทธเจ้าทรงนิพพานไปแล้วไม่นานนัก พวกพราหมณ์เข้ามาแทรกเข้ามาบวชในพุทธศาสนา แล้วเอาลัทธิของตัวเข้ามาแทรกแซงทั้งนี้เพื่อหวังผลประโยชน์ในการทำลายพระพุทธศาสนาให้สิ้นไป
    ฉะนั้นขอบรรดาญาติโยมพุทธบริษัททั้งหลาย ถ้าจะบำเพ็ญทานบารมี โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ถ้าสงฆ์สามเณรในพระพุทธศาสนา ก็ต้องดูให้ดี ท่านที่ฝ่าฝืนคัดค้านคำสอน ขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า อย่างท่าน กปิลภิกขุ ตัวของท่านเองก็ดี พาแม่และน้องสาวด้วย ลงอเวจีมหานรก ก็เพราะว่าคัดค้านคำสั่งสอนขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าตามที่กล่าวมา พระพุทธเจ้าทรงตรัสอย่างนี้ท่านก็พูดอย่างโน้น แต่ว่าลีลาของท่านจริงๆ เหมือนกับเคารพสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธะเจ้า
    ฉะนั้นการที่จะถวายทานแก่พระสงฆ์จัดว่าเป็นจุดสำคัญคือเนื้อนาบุญ ก็ต้องดูเนื้อนาที่เราจะเห็นสมควรไหม อย่างพระสงฆ์ผู้ทรงศีลบริสุทธิ์ ท่านผู้นี้ เราทำบุญมีผลไม่มากนัก แต่ก็มีผลสามารถให้เราไปสวรรค์ได้ ถ้าจิตใจเราจับอยู่ในพระสงฆ์เป็นนิตย์ เคารพพระองค์ใดองค์หนึ่งจับเราจับอยู่ในพระสงฆ์เป็นนิตย์ เคารพพระองค์ใดองค์หนึ่งจับใจ อารมณ์ใจจับถือองค์นั้นอยู่เสมอเป็นปกติ อย่างนี้ถือว่า เป็นฌานในสังฆานนุสสติกรรมฐาน ในเมื่อจิตเป็นฌานในสังฆานนุสสติกรรมฐาน ตายแล้วไปเป็นพรหม ถ้าบังเอิญอารมณ์เราเห็นว่าท่านไม่นิยมในสังขาร คือร่างกาย ไม่ติดในร่างกาย ไม่ติดในวัตถุ เราพลอยไม่ติดไปกับท่าน เราพลอยได้ไปนิพพานกับท่านเหมือนกัน
    ถ้าจะถามว่าเฉพาะทรงศีลเฉยๆ จะไปนิพพานได้รึ ถ้าอารมณ์ไม่ติดของท่านนั่นแหละมันจะตัดกิเลสไปทีละน้อยๆ ในที่สุดท่านก็หมดกิเลส ท่านก็ไปนิพพาน
    ถ้าญาติโยมพุทธบริษัทคบพระเช่นนั้น ถวายทานกับพระเช่นนั้น มีอานิสงส์เลิศถึง ก็สามารถถึงที่สุด ก็เลิศ อย่าลืมว่าน้ำฝนตกมาทีละหยดๆ มันก็สามารถจะทำภาชนะให้เต็มได้ การบำเพ็ญกุศลกับพระผู้ทรงศีลบริสุทธิ์ ถึงแม้จะมีอานิสงส์ไม่เลิศก็สามารถทำบารมีของเราให้เต็มได้ คือ ทานบารมี
    การทำบุญ พระพุทธเจ้าทรงตรัสไว้อย่างนี้ คือ
    • ทานกับคนที่ไม่มีศีลเลย ๑๐๐ ครั้ง มีผลไม่เท่ากับคนที่เคยมีศีลแต่ศีลขาดไปแล้ว ๑ ครั้ง หมายความว่ายังมีความดีอยู่บ้าง
    • ให้ทานแก่คนที่เคยมีศีลแล้วศีลขาด ๑๐๐ ครั้ง มีผลไม่เท่ากับทานที่ทรงศีลบริสุทธิ์ ๑ ครั้ง
    • ให้ทานกับท่านที่มีศีลบริสุทธิ์ ๑๐๐ ครั้ง มีผลไม่เท่ากับให้ทานผู้ทรงฌาน หรือท่านปฏิบัติเพื่อโสดาปัตติมรรค ๑ ครั้ง
      ผู้ปฏิบัติเพื่อโสดาปัตติมรรค หมายความว่า ท่านที่ปฏิบัติกรรมฐาน แต่ยังไม่ถึงพระโสดาปัตติมรรค จะเป็นขั้นไหนก็ตามอย่างน้อยที่สุด จิตของท่านตัดนิวรณ์ มีความเคารพในพระรัตนตรัยจริงๆ ทรงศีลบริสุทธิ์ ก็มีอานิสงส์มาก
    • ให้ทานกับท่านที่ปฏิบัติเพื่อโสดาปัตติมรรค ๑๐๐ ครั้ง มีผลไม่เท่ากับให้ทานกับพระโสดาปัตติผล ๑ ครั้ง
    • ถวายทานกับพระโสดาปัตติผล ๑๐๐ ครั้ง มีผลไม่เท่ากับถวายทานกับพระสกิทาคามีผล ๑ ครั้ง
    • ถวายทานกับพระสกิทาคามีมรรค ๑๐๐ ครั้ง มีผลไม่เท่ากับถวายทานกับพระสกิทาคามีผล ๑ ครั้ง
    • ถวายทานกับพระสกิทาคามีผล ๑๐๐ ครั้ง มีผลไม่เท่ากับถวายทานกับพระอนาคามีมรรคผล ๑ ครั้ง
    • ถวายทานกับพระอนาคามีมรรค ๑๐๐ ครั้ง มีผลไม่เท่ากับถวายทานกับพระอนาคามีผล ๑ ครั้ง
    • ถวายทานกับพระอนาคามีผล ๑๐๐ ครั้ง มีผลไม่เท่ากับถวายทานกับพระอรหัตมรรค ๑ ครั้ง
    • ถวายทานกับพระอรหัตมรรค ๑๐๐ ครั้ง มีผลไม่เท่ากับถวายทานกับพระอรหัตผล ๑ ครั้ง
    • ถวายทานกับพระอรหัตผล ๑๐๐ ครั้ง มีผลไม่เท่ากับถวายทานกับพระปัจเจกพุทธเจ้า ๑ ครั้ง
    • ถวายทานกับพระปัจเจกพุทธเจ้า ๑๐๐ ครั้ง มีผลไม่เท่ากับถวายทานกับพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ๑ ครั้ง
    • ถวายทานกับพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ๑๐๐ ครั้ง มีผลไม่เท่ากับถวายทานกับพระเป็นสังฆทาน ๑ ครั้ง
    • ถวายสังฆทาน ๑๐๐ ครั้ง มีผลไม่เท่ากับถวายวิหารทาน ๑ ครั้ง
    ตามลำดับการบำเพ็ญทานเป็นอย่างนี้ ทีนี้ถ้าหากว่า เราจะรู้ได้อย่างไรองค์ไหนเป็นพระอริยเจ้า อย่างนี้รู้ยาก เพราะว่าคนเราติดจริยามากกว่าอย่างอื่น เข้าใจว่าพระพุทธเจ้าก็ดี พระอรหันต์ก็ดี ไม่หัวเราะ ต้องทำหน้าที่เป็นหัวตอ หรือว่าทำปากเป็นสาก เฉยๆ หน้าบึ้งหน้าตูมอย่างนี้ก็เลยผิด
    ความจริงถ้าเราไม่รู้อะไรมากไม่แน่ใจ ก็ดูจริยาภายนอกท่านน่ารักไหม... แล้วจริยาภายนอกก็ต้องคิด เพราะเวลานี้คนที่สามารถทำบุพเพนิวาสานุสสติญาณให้เกิดขึ้นได้ก็ดี ได้อตีตังสญาณก็ดี อนาคตังสญาณก็ดี หรือว่าจุตูปปาตญาณก็ดี อนาคตังสญาณก็ดี หรือว่าจุตูปปาตญาณก็ดี ญาณต่างๆ เวลานี้ฆราวาสได้กันมาก นับแสน แต่อาจจะเกินกว่านั้นก็ได้ ท่านลงไปเจอะพระในนรกเยอะ บางท่านบอกว่ารู้จักดี สมัยเมื่อมีชีวิตอยู่มีจริยาเรียบร้อยมาก น่าเคารพน่าไหว้น่าบูชา แต่พอไปถามความจริงว่า เพราะอะไรจึงลงอเวจีมหานรกบ้าง เพราะอะไรจึงลงโลกันต์บ้าง ก็บอกว่า พลาดพระวินัย คือ ใช้เงินของสงฆ์ผิดพลาดบ้าง เอาของสงฆ์เข้าบ้านบ้าง และใช้ของสงฆ์เงินที่เขามาถวายใช้ผิดวิธีบ้าง
    ทีนี้ขอบรรดาพุทธบริษัททั้งหลาย ก่อนที่จะให้ทาน ถ้าหวังผลเพื่อเป็นปัจจัยเพื่อนิพพาน ต้องเลือกบุคคลผู้ให้ ถ้าไม่สามารถจะให้ได้ยังไง ก็ต้องให้ใช้วิธีถวายสังฆทานที่ดีที่สุด


    <HR width="50%" color=#800000></TD></TR></TBODY></TABLE>
    [​IMG]
    จากหนังสือ วัดท่าซุง จังหวัดอุทัยธานี
    <!-- / message --><!-- sig -->
     
  6. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,949
    http://www.banfun.com/buddha/tana_compens.html

    วันนี้ตรงกับ วันพุธที่ ๑๗ ตุลาคม ปีพระพุทธศักราช ๒๕๕๐

    <SCRIPT src="http://tracker.truehits.in.th/func/th_donate_1.4.js"></SCRIPT><SCRIPT src="http://tracker.truehits.in.th/func/th_common_1.4.js"></SCRIPT><SCRIPT language=javascript1.2>sv=1.2;ss=screen.width+'*'+screen.height;sc=(bn=='MSIE')?screen.colorDepth:screen.pixelDepth;if(sc==udf){sc='na';}</SCRIPT><SCRIPT language=javascript1.3>sv=1.3; </SCRIPT><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width=780><TBODY><TR><TD class=cd16 width=80 rowSpan=2></TD><TD class=cd16 width=620>การให้ทานโดยไม่หวังผลตอบแทน



    </TD><TD class=cd16 width=80 rowSpan=2></TD></TR><TR><TD class=cd16 width=620>
    สำหรับการให้ทานนี้บรรดาเพื่อนภิกษุสามเณรทั้งหลายและบรรดาท่านพุทธบริษัททุกท่าน พยายามให้ทานตามนี้เพราะว่าการให้ทานครั้งแรกๆ ทานนี้ได้พูดไว้แล้วว่ามี พรหมวิหาร ๔ เป็นพื้นฐาน คือ เมตตา ความรัก กรุณา ความสงสาร แต่ทว่าในตอนต้นกำลังใจเราอาจจะหวั่นไหวอยู่มาก ถ้าไปคิดว่าจะไปให้ทานกับคนที่เราไม่ชอบใจ คือว่าทำให้เราไม่ชอบใจไว้ก่อน ใจอาจจะไม่สบาย เพราะการให้ทานจะมีผลดีต้องมีเจตนา ๓ ประการครบถ้วน นั่นคือ
    ๑. ก่อนจะให้ตั้งใจว่าจะให้
    ๒. ขณะให้อยู่ก็เต็มใจให้
    ๓. เมื่อให้แล้วก็มีความปลื้มใจ มีความอิ่มใจว่าเราทำการสงเคราะห์แล้ว คือให้ทานแล้ว นี่ชื่อว่า เจตนา ๓ ประการ ถ้ามีครบถ้วนมีอานิสงส์มาก แต่เรื่องของอานิสงส์นี่ก็ต้องดูบุคคลก่อน ถ้าบุคคลผู้รับไม่บริสุทธิ์ คือหมายถึงพระก็ดี ฆราวาสก็ดี เณรก็ดี ถ้าเป็นผู้ไม่บริสุทธิ์ ผลทานเราก็ลดไป ๑ ใน ๓ ถ้าเราเองไม่บริสุทธิ์ ผลทานเราก็ลดไม่บริสุทธิ์ด้วย เลยไม่มีผลกันเลย ฉะนั้น การให้เราต้องเป็นผู้บริสุทธิ์ วัตถุทานก็ต้องบริสุทธิ์ ไม่ลักไม่ขโมย ไม่คดโกงใครมา ยื้อแย่งใครเขามา ผู้รับทานเป็นผู้บริสุทธิ์จึงจะมีอานิสงส์เลิศ
    แต่สำหรับทานบารมีนี่ เราต้องการตัดโลภะ ความโลภคือหวังทำลายกิเลสให้สิ้นไป เราหวังนิพพาน ฉะนั้นการให้ทาน เราอาจจะไม่เลือกบุคคลก็ได้ แต่ทว่าต้องดูกันก่อน ในตอนแรกๆ ก็ต้องเลือก ถ้าไม่เลือก ผลมันจะไม่มีความหมาย ทั้งนี้เพราะอะไรก็เพราะว่า ถ้าคนที่เราไม่ชอบใจ คิดว่าจะให้ทานเมื่อไร ใจมันก็ย่อมไม่เป็นสุข อารมณ์จะขุ่นมัว ทีนี้ในเมื่อเป็นอย่างนี้เราก็ต้องเว้นเสียก่อน เว้นคนที่เขาประกาศตนเป็นศัตรูกับเรา ให้เฉพาะบุคคลที่ไม่เป็นศัตรูกับเรา
    ต่อไปก็ความเมตตากรุณามีความสูงขึ้น อารมณ์ของอุเบกขาทรงตัว คือวางเฉย วางเฉยได้ในอาการของคนอื่น เราก็ให้ทั้งๆ ที่คนที่เราชอบเราไม่ชอบก็ให้ ความจริงการให้ทานแก่สัตว์เดรัจฉานนี่อย่าไปนึกว่ามีผลน้อย ถ้าเราให้บ่อยๆ มันก็เกิดผลมาก พยายามให้เพื่อทำให้จิตเป็นสุข นี่ลักษณะการให้ทานต้องค่อยๆ ทำ
    และอีกประการหนึ่ง การให้ทานคิดไว้เสมอว่า คนที่เราให้อย่าไปหวังการตอบแทนของเขา แต่ว่าบางคนให้แล้วกลับเป็นศัตรูกับเรา เป็นการให้กำลังกับโจร อันนี้ผมโดนมาเยอะแยะแล้ว ขณะที่พูดนี่ก็ยังมีอยู่ ผู้ที่รับผลจากผมเอง ถ้าคิดเป็นเงินเป็นจำนวนแสนๆ ไอ้คำว่ารับผลนี่หมายความว่า เขาเกาะเงา ของผมเอาไปหากิน แต่ว่าคนประเภทนี้ก็ยังคิดว่ามีอยู่เวลานี้ ที่พูดมานี้ไม่ได้พูดให้พวกท่านเจ็บใจ ให้จำไว้อย่างเดียวว่า การให้ทานอย่าหวังผลตอบแทนในชาติปัจจุบัน ก็ต้องคิดไว้ว่าเขาเป็นคนดี ถ้าเขาจะเลวก็เป็นเรื่องเลวของเขา ทำใจให้เป็นสุข คิดว่าเราให้ทานเพื่อเป็นความบริสุทธิ์ของจิต จิตจะได้ตัดโลภะความโลภ นี่เป็นลักษณะการให้ทาน
    และการให้ทานมีอีกแบบหนึ่ง ที่พระพุทธเจ้าทรงตรัสในเรื่องของ นางวิสาขามหาอุบาสิกา ว่า บิดาของท่านสอนท่านในขณะที่แต่งงานว่า
    เขาให้เราจึงให้ เขาไม่ให้จงอย่าให้ และเขาให้หรือไม่ให้ก็ตาม เราก็ให้
    หมายความว่าเขาให้เราจึงให้ เขาไม่ให้เราจงอย่าให้ เขาให้หรือไม่ให้เราก็ให้ นั่นก็หมายความว่า อันดับแรกต้องดูก่อนว่า คนใดที่เราให้ไปแล้วกำลังใจเรายังอ่อน ยังมีอารมณ์หวั่นไหว เขาให้ความขอบใจ ให้ความยินดีในเรา เราจึงให้ ความสดชื่นจะได้มีกับจิต ถ้าเราให้เขาไปแล้ว แต่เขาไม่ให้ หมายความว่าให้ไปแล้วกลับประกาศตนเป็นศัตรู มีความอกตัญญูไม่รู้คุณคน คนประเภทนี้เราจงอย่าให้ จะทำให้ใจของเราหวั่นไหว
    ทีนี้ข้อสุดท้าย เขาให้หรือไม่ให้เราก็ให้ นั่นก็หมายความว่า ถ้าคนเขาอดอยากจริงๆ มีความทุกข์ร้อนเราให้ เราให้โดยคิดว่าเขาจะขอบใจหรือไม่ขอบใจ เขาจะยินดีเราต่อไปในเบื้องหน้าหรือไม่เป็นเรื่องของเขา เราให้เพื่อเป็นการเปลื้องทุกข์เราให้ด้วยความเมตตาปราณี เราตั้งจิตไว้ว่าเราให้อย่างนี้ เพื่อเป็นการเปลื้องโลภะในจิตของเรา จิตเราจะได้สบาย
    อย่างตัวอย่างที่บรรดาพวกเราทั้งหลายและพวกท่านทั้งหลายและญาติโยมพุทธบริษัททั้งหลาย เราร่วมกิจกรรมอันหนึ่งกันมาหลายปี ตั้งแต่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีพระราชดำรัสขอให้ตั้ง ศูนย์สงเคราะห์ผู้อยากจนในถิ่นทุรกันดาร แล้วก็ทำมาสิ้นข้าวสารไปแล้วเกือบ ๑๐,๐๐๐ กระสอบ ความจริงถ้าคิดละเอียดก็เกิน ๑๐,๐๐๐ กระสอบแล้วก็มี ผ้าผ่อนท่อนสไบ มีของใช้ มีอาหาร มียารักษาโรค คิดจริงๆ แล้วตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๒๑ มาถึงวันที่ ๒๙ มกราคม ๒๕๒๗ คิดแล้วเงินหมดไป ค่าของเงินเกินกว่า ๑๐ ล้านบาท การให้อย่างนี้เราไม่ได้หวังผลตอบแทน ทุกคนพร้อม ยินดี แล้วก็ยังให้กันอยู่การให้อย่างนี้ถือว่าเป็นการให้เพื่อตัดความโลภจริงๆ เป็นการสงเคราะห์
    ถ้าจะพูดถึงอานิสงส์ก็คล้ายกับท่านเมณฑกเศรษฐี ในชาติรองลงไป ก่อนจะขึ้นมาเป็นเมณฑกเศรษฐี
    ชาตินั้นมีวาระหนึ่งในระยะ ๓ ปี เกิดข้าวยากหมากแพงฝนแล้งไม่ตกต้องตามฤดูกาล ท่านถามปุโรหิตก่อนที่จะไปเฝ้าพระราชา ท่านถามว่า "ปุโรหิต จะมีอะไรเกิดขึ้นบ้าง?" ท่านปุโรหิตบอกว่า "ผมมีหน้าที่ในการพยากรณ์ ผมก็ตรวจชะตาของประเทศตลอดเวลา หลังจากนี้ต่อไป ๓ ปี ข้าวจะยากหมากจะแพง ฝนจะแล้งไม่ตกต้องตามฤดูกาล โรคคือความหิวที่ไม่มีอาหารจะบริโภคจะเกิดขึ้นกับประชาชน จะมีความยากลำบากมาก"
    ท่านกลับมาบ้านสั่งทำนาเป็นการใหญ่ ตั้งฉางไว้ถึง ๑๒๕ ฉาง (ถ้าผมจำไม่ผิดนะ จำนวนนี้ไม่แน่ อาจจะ ๑ หรือ ๑,๑๒๕ ฉาง ผมจำไม่ได้) ทำข้าวแล้วก็เอาเงินไปซื้อของ ท่านเป็นเศรษฐี ซื้อข้าวใส่จนเต็ม เตรียมไว้กินในที่สุดข้าวทั้งหลายเหล่านั้นมันก็หมด หมดแล้วฝนยังไม่ตกเลย เกิดความลำบากมาก
    ต่อมาวันหนึ่งท่านไปเฝ้าพระราชากลับมา ข้าวสารที่บ้านมันเหลือทะนานเดียว และคนที่บ้านมีตั้ง ๕ คน ที่ว่า ๕ คนเพราะว่าอะไร ตอน อดๆ อยากๆ ท่านปล่อยให้คนรับใช้ไปอยู่ที่ไหนก็ได้ พวกทาสไม่ต้องกลับมาอีก เมื่อข้าวดีอาหารดีจะกลับมาก็ได้ ไม่กลับมาก็ได้ ปล่อยเป็นอิสระ
    วันนั้นท่านหิวจัด มาบ้านถามภรรยาว่า "ข้าวมีไหม"
    ภรรยาก็ตอบว่า "มี มีอยู่ ๑ ทะนาน"
    ท่านก็เลยบอกวา "ถ้าข้าวต้มเรากินได้ ๒ วัน ถ้าหุงกินได้วันเดียว"
    ภรรยาก็บอก "ยังไงๆ ก็หุง"
    เมื่อหุงข้าวขึ้น สุกกำลังจะกิน ก็พอดีมีพระปัจเจกพุทธเจ้าองค์หนึ่ง ท่านออกจากนิโรธสมาบัติ ท่านพิจารณาว่าวันนี้จะได้ใครเป็นผู้สงเคราะห์เราบ้าง ก็ทราบว่าคนยากจนกันมาก ร่างกายมันต้องการอาหาร เวลาที่เข้านิโรธสมาบัติมันไม่หิว เมื่อออกจากนิโรธสมาบัติมันหัว ก็เมื่อร่างกายต้องการอาหารก็ต้องหาให้มัน ทราบด้วยทิพจักขุญาณว่าบ้านนั้นนั่นแหละ (คือบ้านเมณฑกเศรษฐีบ้านนั้น) ถ้าไปแล้วเขาก็จะถวายแม้ข้าวจะมีทะนานเดียวเขาก็ถวาย จึงได้เหาะไปจากภูเขาคัมธมนาทน์ไปยืนอยู่เพื่อรับบิณฑบาต
    ท่านเมณฑกเศรษฐีเห็นเข้าก็คิดว่าชาติก่อนเราทำทานไว้น้อยจึงต้องมาอดอยากอย่างนี้ เราจะกินข้าวทะนานเดียวจะมีประโยชน์แก่เราวันเดียวเท่านั้น ถ้าเราใส่บาตรจะได้บุญใหญ่ ต้องการบุญเพื่อชาติหน้าดีกว่าชาติดีกว่าชาตินี้ยอมอดตาย จึงเอาข้าวไปใส่บาตรพระปัจเจกพุทธเจ้า
    พอใส่ไปได้ครึ่งหนึ่งพระปัจเจกพุทธเจ้าจึงเอาฝาบาตรปิดบาตร บอกว่า "พอแล้วโยม"
    ท่านก็เลยบอกว่า "อย่าเพิ่งพอครับ ผมมันเลวมาก ชาติก่อนให้ทานไว้น้อย ชาตินี้ขอได้โปรดรับให้หมดไปเพื่อประโยชน์ของผม"
    พระปัจเจกพุทธเจ้าก็ทรงรับ แล้วคนทั้งหมดก็ต่างคนต่างอธิษฐาน ต้องการความร่ำรวย ต้องการความเป็นสุขทั้ง ๕ คน ภรรยาของท่านอธิษฐานว่า
    "ขออำนาจบุญบารมีอันนี้ที่ใส่บาตรแก่พระปัจเจกพุทธเจ้า เหมือนกับเหวี่ยงชีวิตลงไปในบาตรของพระปัจเจกพุทธเจ้าเพราะว่าข้าวมีเท่านั้นไม่ได้กินก็ตายกันแน่ ขอผลบุญบารมีอันนี้ในกาลต่อไป นับตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป ถ้าข้าวปลาอาหารที่จะแจกแก่บุคคลผู้ใด หุงเต็มหม้อแล้วตักไปแล้ว ให้มันแหว่งแค่ทัพพีเดียว จะตักเท่าไรก็ตามที ข้าวก็จะเต็มหม้ออยู่เสมอ แหว่งแค่ทัพพีต้น"
    พระปัจเจพุทธเจ้าท่านให้พรว่า "เอวัง โหตุ" แปลว่า ปรารถนาสิ่งใด จงมีความปรารถนาสมหวังทุกประการ แล้วท่านก็ไป ท่านก็อธิษฐานจิตว่า เราควรจะทำความดีนี้ให้ปรากฏแก่เศรษฐีและบุคคลทุกคน ท่านเหาะไปภูเขาคันธมาทน์ ท่านบันดาลด้วยกำลังฤทธิ์ของท่าน ให้ทั้ง ๕ คนเห็นท่านไปตลอดเวลา พอไปถึงภูเขาคันธมาทน์แล้วก็มีพระปัจเจกพุทธเจ้านับเป็นพัน มารับบาตรจากท่าน ท่านก็ใส่บาตรพระปัจเจกพุทธเจ้าทุกองค์จนหมด ข้าวในบาตรของท่านก็ไม่หมด ท่านก็ต่างคนต่างฉัน
    ทุกคนเห็นแบบนั้นก็ปลื้มใจว่า อำนาจของพระปัจเจกพุทธเจ้านั้นมากมายนัก ต่อมาหันหน้าเข้ามาในบ้าน ท่านมหาเศรษฐีหิวแล้วก็หิวมากขึ้น ใจมันอิ่มแต่ว่าท้องมันหิว จึงถามภรรยาว่า
    "น้อง...ไอ้ข้าวตังก้นหม้อมันมีไหม"
    ภรรยาของท่านก็แสนดี คำว่าไม่มีไม่เคยตอบ บอก "มีเจ้าค่ะ" ท่านก็เลยบอก "ขอข้าวตังฉันเคี้ยวสักนิดเถอะฉันหิวแย่แล้ว"
    ภรรยาก็ไปเปิดหม้อข้าว ที่ไหนได้ แทนที่จะมีแต่ข้าวตังข้าวสุกเต็มหม้อปรี่ ด้วยอำนาจของพระปัจเจกพุทธเจ้าเลยบอก
    "นาย..โอ้โฮ ข้าวเต็มหม้ออัศจรรย์จริงๆ เมื่อกี้ฉันคดหมดแล้วนะ ความจริงข้าวตัวมันก็ไม่เหลือ ที่ท่านถามฉัน ฉันก็พูดแบบเอาใจ คิดว่าจะเอาน้ำล้างหม้อให้ท่านมาบริโภค แต่ที่ไหนได้ข้าวสวยแล้วก็มีกลิ่นหอมมาก นิ่มนวลเหลือเกิน ร้อนกรุ่นเหมือนกับสุกใหม่ๆ" (แต่ความจริงหม้อไม่ได้ตั้งเตา)
    ท่านเศรษฐีก็เรียกลูกชาย ลูกสะใภ้ ทาสคือนายบุญไม่ยอมไปไหน มากินด้วยกันหมด กินหมดเสร็จเรียบร้อยแล้วไอ้ข้าวมันก็ไม่ยอมยุบ หม้อทั้งหม้อมันเต็ม แล้วก็ร้อนอยู่อย่างนั้น ไม่ต้องหุงใหม่ เพราะไม่มีข้าวสารจะหุง จึงได้แจกชาวบ้าน บ้านใกล้เรือนเคียงใครมาก็แจกๆ แจกกินกันจนอิ่มแล้วก็อิ่มอีก กี่เวลาก็ตาม คนมาเท่าไรก็ตามแจกกันดะ ในที่สุดคนทั้งบ้านเมืองต่างก็มาขอข้าวสุกจากท่าน ท่านจึงแจกทั้งวันทั้งคืน ข้าวไม่ยอมหมด แหว่งไปแค่ทัพพีเดียว
    ท่านบอกว่าอานิสงส์แจกไม่เลือกแบบนี้ ทำให้เมณฑกเศรษฐีหนึ่ง ภรรยาของท่านหนึ่ง ลูกชายของท่านหนึ่ง นางวิสาขามหาอุบาสิกา (สมัยนั้นเป็นลูกสะใภ้) หนึ่ง และนายบุญทาสีซึ่งเป็นทาสหนึ่ง มาเกิดร่วมกัน อยู่ในบ้านเดียวกันอีก พ่อก็มาเป็นลูกสะใภ้ นายบุญเคยอธิษฐานในสมัยนั้นว่าขอเป็นทาสเขาต่อไปเธอก็มาเป็นทาสรับใช้ แต่มีวาสนาบารมีเป็นมหาเศรษฐีมีทรัพย์มาก เธอไม่ยอมออกจากบ้าน
    พอท่านเมณฑกเศรษฐีเกิดขึ้นมาในครรภ์มารดา ปรากฏว่ามีแพะทองคำโตเท่าช้าง เท่าม้าบ้าง นับเป็นพันตัว ล้อมบ้านอยู่ และมีสายไหมในปาก อยากจะกินอะไรดึงปั๊บออกมาเป็นขนม นมเนย เป็นอาหารการบริโภค กินต้มกินแกงแบบไหนมีหมดตามความต้องการ ต้องการผ้าผ่อนท่อนสไบก็ได้ ต้องการเพชรนิลจินดาเงินทองเท่าไรก็ได้ เลยดึงกันใหญ่ แค่แพะก็รวยแล้ว แพะทองคำโตเท่าช้างบ้าง โตเท่าม้าบ้าง เป็นพันตัว ก็เหลือแหล่ แล้วกลับดึงเงินทองแก้วแหวนจินดาอีก มันก็รวยกันใหญ่รวยเป็นมหาเศรษฐีใหญ่ที่มีเงินนับไม่ได้
    นี่แหละบรรดาเพื่อนภิกษุสามเณรและญาติโยมพุทธบริษัทการให้ทานในเบื้องต้นมันเป็นสุขอย่างนี้ นั่นหมายความว่าถ้าเรายังไม่เข้าถึงนิพพานเพียงใด เราก็จะเป็นคนที่ไม่มีความทุกข์ในเรื่องวัตถุที่จะพึงใช้พึงกิน จะมีความอุดมสมบูรณ์มาก
    ฉะนั้นการที่บรรดาท่านทั้งหลายมีความเคารพในองค์สมเด็จพระผู้มีพระภาค ตั้งใจบำเพ็ญทานบารมี การตั้งใจบำเพ็ญทานบารมีคิดไว้เสมออย่างนี้ พวกเรานี่คิดจริงๆ นะจะมีอะไร เกิดขึ้น สังฆทานอันนี้มีอานิสงส์เลิศ พระพุทธเจ้าบอกเกิดกี่ชาติๆ ความจนจะไม่พบ สาธารณทานเราก็ทำ ทำตั้งแต่เชียงราย ไปยังที่ไหน ตะวันออกก็สุด จันทบุรี ตะวันตกก็สุดที่ กาญจนบุรี ทิศใต้ก็สุด ยะลา นราธิวาส เราก็ทำกันทั้งหมดใครเขาอดที่ไหนเราไปกันที่นั่นตามกำลัง ทั้งๆ ที่หน่วยของเราศูนย์สงเคาะห์ฯ นี้มีทุนน้อย แต่ว่ากำลังใจคนดี เวลาเกิดเรื่องขึ้นมาทีต่างคนต่างร่วมกัน อย่างนี้คิดว่า องค์สมเด็จพระทรงธรรมคงจะทรงตรัสว่า "ทานของพวกเราคล้ายคลึงทานของท่านเมณกเศรษฐี" ถ้าบุญบารมีของเรายังไม่เต็มเพียงใดเกิดกี่ชาติก็เข้าใจว่าเป็นอย่างเมณฑกเศรษฐี แล้วบุญบารมีของท่านเมณฑกเศรษฐีนั้นชาติอีกชาติเดียว ท่านเกิดมาเป็นเมณฑกเศรษฐีท่านก็เป็นพระอริยะเจ้า ฟังเทศน์จบเดียวเป็นพระโสดาบันทั้งหมด



    <HR width="50%" color=#800000></TD></TR></TBODY></TABLE>
    [​IMG]
    จากหนังสือ วัดท่าซุง จังหวัดอุทัยธานี
    <!-- / message --><!-- sig -->
     

แชร์หน้านี้

Loading...