ทางร่มเย็น

ในห้อง 'พระไตรปิฎก' ตั้งกระทู้โดย anand, 3 กุมภาพันธ์ 2011.

  1. anand

    anand เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 พฤษภาคม 2009
    โพสต์:
    1,118
    ค่าพลัง:
    +641
    ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

    ด้วยกาย วาจาและใจขอน้อมกราบบูชาพระสุปฏิปันโนผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบตามพระธรรมคำสอนแห่งองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

    ขอน้อมกราบถวายกุศลแด่
    "หลวงตา มหาบัว ญาณสมฺปนฺโน"
    ด้วยการเผยแผ่มรดกธรรมของหลวงตา
    กุศลใดที่ผู้อ่านได้เข้าถึงธรรมแห่งองค์สมเด็จภควันต์ผ่านคำสอนของหลวงตา ขอน้อมถวายมหากุศลนั้นแด่
    หลวงปู่ มั่น ภูริทัตโต
    หลวงตา มหาบัว ญาณสมฺปนฺโน
    และสมมุติสงฆ์ผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบทุกรูปทุกนาม
    อีกทั้งขอน้อมอุทิศให้
    บิดามารดา ครูบาอาจารย์ผู้มีพระคุณตลอดทั้งมเหศํกดิ์หลักบ้าน มเหศักดิ์หลักเมือง พระสยามเทวาธิราช



    ทางร่มเย็น
    เอาข่าวแห่งพระพุทธเจ้า พระธรรม พระสงฆ์ พุทโธ ธัมโม สังโฆ ข่าวภาวนาลงไปสู่จุดนี้ ระงับดับข่าวนั้นให้หมดไป ให้เหลือแต่ข่าวพุทโธ ธัมโม สังโฆ ข่าวอรรถข่าวธรรมอยู่ภายในใจ ใจของเราจะได้มีความสงบเยือกเย็น ข่าวธรรมกับข่าวโลก คือ ข่าวกิเลสกับข่าวธรรมนี้ต่างกันมากนะ ข่าวกิเลสมีแต่ความยุ่งเหยิงวุ่นวายบีบบี้สีไฟ แต่ข่าวธรรมนี้ มีแต่ความสงบร่มเย็น จิตใจของเรามีความสว่างกระจ่างแจ้ง จิตไม่เคยรู้ก็รู้ ไม่เคยเห็นก็เห็น นี้ละที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงไว้โลกวิทู หรืออาโลโก อุทปาทิ ทรงรู้แจ้งเห็นจริงทั้งโลกนอกโลกใน ทำโลกให้สว่างไสวได้ เพราะพระจิตที่ไม่มีอะไรปิดบังแล้วเปิดกระจ่างเห็นหมดทั่วโลกดินแดน สามแดนโลกธาตุนี้เห็นหมด

    ภัยของสมณะ
    ณ วัดโพธิสมภรณ์ อุดรธานี
    ๒๗ กรกฎาคม ๒๕๔๐

    เทศน์อบรมคณะพระธรรมบัณฑิต วัดโพธิสมภรณ์
    เมื่อวันที่ ๒๗ กรกฎาคม พุทธศักราช ๒๕๔๐

    ภัยของสมณะ

    มันจะไปหลายหนอยู่พูดตามส่วนนะ โรคหัวใจนี่จะไปหลายหนอยู่ มันพอรั้งกันได้ก็รั้ง ถ้ามันสุดวิสัยแล้วพระพุทธเจ้าก็ยังตายใช่ไหมล่ะ นี่พอรั้งกันได้ก็รั้งกัน ถ้าพูดตามธรรมดาแล้วสำหรับเราอยู่เพื่อเรานี้ไม่เห็นมีอะไร ผมพูดตรงๆ ให้หมู่เพื่อนฟังอย่างนี้ ว่าเราอยู่เพื่อเรานี้ผมไม่เห็นมีความหมายอะไรกับเรา ไม่มีเลย นอกจากอยู่กับโลกหัวใจโลกเท่านั้น... ที่อยู่ลำพังเจ้าของไปนานแล้วแหละ เพราะมันจะไปหลายหนนี่ ถ้าปล่อยก็ไปเลย พอรั้งได้ก็รั้งเอาไว้ มันก็ยังอยู่อย่างนี้ โรคหัวใจนี่หลายหนที่มันเอาอย่างเต็มที่ จนหมดลมหายใจเงียบแบบเดียวกันกับหนองผือ ลมหายใจหมด ทุกสิ่งทุกอย่างดับหมด ยังเหลือแต่ความรู้ที่ครองตัวอยู่ รั้งเอาไว้ไม่ให้ออก มันก็พอรั้งได้ ต่อไปลมหายใจก็ค่อยมีแผ่วเบาขึ้นมา หลายหนอยู่ หนองผือมันตายแล้ว

    นี่มันไม่มีกำลังนะ พลาดนิดหนึ่งก็ล้มๆ ไม่มีกำลังต้านทาน โห หมดจริงๆ แล้วกำลังนี้ คอยแต่จะพลาด พลาดนิดหนึ่งก็ล้ม สติมีแต่กำลังไม่อำนวยนั่นซิ สู้กำลังไม่ได้ มันถ่วงลงจนล้มจนได้ สตินี้มีอยู่ตลอด แต่สติมันยับยั้งร่างกายไม่ได้นั่นซิ ต้องกำลังยับยั้ง เมื่อกำลังไม่มีก็ล้ม ที่ผมล้มนี่ก็เหมือนกัน พอรู้สึกปั๊บคว้าจับเชือกเกาะเอาไว้ น้ำหนักนี้มันหนักมากกว่า หลุดมือเลย ที่เราล้มนะ สติมันก็ทันอยู่อย่างนั้นแล้ว พอรู้สึกปั๊บก็คว้ามับเกาะเชือก หลุดมือเลยไม่อยู่ กำลังมันหมด เวลานี้กำลังมันหมดแล้ว หมดไปทุกวันๆ

    ปีนี้คำพูดแปลกๆ ถึงออกมาละ ไม่เคยออกแหละ ปีนี้คำพูดแปลกๆ ได้ออกมาแล้ว แต่ก่อนไม่เคย สอนโลกสอนหมดตับหมดปอดหมดไส้หมดพุง แต่ว่าไม่เคยเอาตัวออกยัน ปีนี้ปี ๕๔๐ อ้าว มันจวนจะไปแล้วพูดออกไปเสียหายอะไร ธรรมพระพุทธเจ้าสอนโลกไม่ได้มีเหรอ ตั้งแต่กิเลสมันออกเพ่นพ่านตีตลาดยังตีได้ตลอดเวลาไม่เห็นใครขยะแขยงมัน ธรรมะจะขยะแขยงเหรอ ถ้าขยะแขยงธรรมะแล้วก็แสดงว่าโลกนี้จะหมดศาสนาแล้วก็ออกเท่านั้นซิ เหตุผลมันมีอย่างนั้นจะว่าไง

    เราไม่พูดเพื่อโอ้เพื่ออวด เราพูดด้วยความเมตตาเสียหายไปไหน พระพุทธเจ้าสอนโลกด้วยความเมตตา เจตนามันต่างกันอย่างนี้ พระพุทธเจ้าทรงแสดงไว้นั้นนั่นเรื่องของโลกต่างหากเพื่อความโอ้ความอวด แต่ด้วยความเมตตาพระพุทธเจ้าไม่ได้ว่า พระพุทธเจ้าก็ทรงสอนโลกด้วยความเมตตาเหมือนกัน สอนโลกด้วยความเมตตาล้วนๆ พระพุทธเจ้าสอนโลก อันนี้เราพูดด้วยความเมตตาจะเสียหายไปไหน เราสอนโลกเราสอนมานานแล้วเรายังสอนได้ด้วยความเมตตา ทีนี้เราพูดธรรมะประเภทเดียวกันด้วยความเมตตาจะเสียหายไปไหน

    ท่านทั้งหลายที่ต่างท่านต่างก็มาด้วยเจตนาศรัทธาแรงกล้าในพระพุทธศาสนามาทำความเคารพครูบาอาจารย์ มีท่านเจ้าคุณธรรมบัณฑิต เจ้าคณะภาค และท่านเจ้าคุณอะไรม่ทราบแหละ เจ้าคณะจังหวัด เป็นประธานมาในงานนี้ นอกจากนั้นก็เป็นเจ้าคณะอำเภอ เจ้าคณะตำบล พร้อมทั้งพระลูกวัดมาจำนวนมาก วันนี้สถานที่จึงคับแคบไป ท่านไม่ได้บอกประชาชนให้มาด้วยเพราะกลัวจะไม่มีที่นั่ง เพราะเหตุนั้นพระเณรจึงมีมาก ประชาชนหาที่นั่งไม่ค่อยได้ และวันนี้จะสัมโมทนียกถาเป็นเครื่องรื่นเรงิเป็นเครื่องระลึกต่อกันระหว่างสมณะด้วยกัน การเทศน์สอนประชาชนก็เคยเทศน์มามากต่อมากแล้ว เทศน์สอนสมณะก็เคยเทศน์มา วันนี้จะเทศน์ให้หนักไปทางสมณะเราคือนักบวช

    นักบวชนี้เป็นอันดับหนึ่งในพุทธบริษัท ๔ ภิกษุขึ้นต้นแล้วก็ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา ภิกษุนี้เป็นอันดับหนึ่งซึ่งเป็นแนวหน้าในการนำพระศาสนาให้เจริญรุ่งเรือง จึงเรียกว่าภิกษุบริษัท คือลูกของพระพุทธเจ้า วันนี้ท่านทั้งหลายได้มาเยี่ยมหลวงตา จึงขอฝากธรรมะให้พระลูกพระหลานทั้งหลายได้นำไปพินิจพิจารณาและปฏิบัติตาม คิดว่าจะเป็นสิริมงคลแก่ท่านทั้งหลายไม่มากก็น้อย

    ความเป็นพระของเรานี้ ชีวิตอยู่กับประชาชนญาติโยม แต่ธรรมอยู่กับใจของพวกเราทุกๆ ท่าน จงเป็นผู้รักธรรม รักวินัย ธรรมวินัยนั้นแลเป็นจิตใจหรือเป็นชีวิตจิตใจของพระของเณรเรา เมื่อธรรมเมื่อวินัยเป็นหลักชีวิตจิตใจของเรา เรารักสงวนยิ่งกว่าชีวิตแล้ว ธรรมที่พระพุทธเจ้าทรงประกาศกังวานมาได้ ๒,๕๐๐ กว่าปีนั้น คือมรรคผลนิพพาน จะเป็นสมบัติของพวกเราทั้งหลายได้ครองด้วยการปฏิบัติดีปฏิบัติชอบตามหลักธรรมหลักวินัยโดยไม่ต้องสงสัย

    เพราะธรรมะของพระพุทธเจ้านั้นเป็นอกาลิโก เช่นเดียวกับกิเลสมันก็เป็นอกาลิโกของมันเช่นเดียวกัน จะทำให้เกิดกิเลสเมื่อไรเกิดทั้งนั้น เพราะมีอยู่แล้วภายใจจิตใจ ธรรมก็เช่นเดียวกัน ธรรรมก็มีอยู่แล้วในจิตใจของเรา จะทำให้เกิดธรรมเมื่อไรก็เกิด การปฏิบัติดีปฏิบัติชอบคือการสั่งสมธรรม บำรุงธรรม คุ้ยเขี่ยขุดค้นธรรมให้เกิดขึ้นภายในจิตใจ การระมัดระวังรักษาใจ กาย วาจาของเราด้วยเพศสมณะ มีความจงรักภักดีต่อพระพุทธเจ้า พระธรรม พระสงฆ์และมีตนเป็นรากฐานสำคัญแห่งความรักตนแล้ว เราจะเป็นผู้ราบรื่นในการปฏบัติตัวเองและผลที่จะพึงได้รับตามหลักธรรมที่ท่านแสดงไว้นั้น เป็นธรรมสดๆ ร้อนๆ ไม่ใช่ธรรมสมัยนั้นธรรมสมัยนี้ ธรรมสมัยอินเดีย ธรรมสมัย ๒,๕๐๐ เท่านั้นปีเท่านี้ปี อันนั้นเป็นปีเป็นเดือนเป็นวัน ส่วนมรรคส่วนผลและกิเลสนั้นไม่มีคืนมีวันมีปีมีเดือน เป็นอกาลิโกตลอด ด้วยเหตุนี้ขอให้ทุกๆ ท่านจงเป็นผู้สนใจใคร่ต่ออรรถต่อธรรมเป็นอกาลิโกอยู่เสมอ

    คำว่ามรรคว่าผลนั้นเราอย่ามองที่อื่น มองในคัมภีร์ก็มีแต่ตัวหนังสือ คัมภีร์ใบลานมีแต่ตัวหนังสือ เป็นเข็มทิศทางเดินหรือเป็นแบบแปลนแผนผัง ชี้เข้ามาหาความจริงคือใจของเราเอง ผู้จะทรงความจริงคือมรรคคือผลโดยแท้ได้แก่ใจเท่านั้นเป็นอันดับแรก ใจเป็นของสำคัญที่จะทรงมรรคทรงผล เพราะฉะนั้นจงน้อมธรรมะที่เราเรียนมามากน้อยซึ่งได้จากภาคความจำนั้นให้เข้ามาเป็นความจริงโดยภาคปฏิบัติ คำว่า ศีล เราจะเห็นความอบอุ่นภายในตัวของเรา ศีลที่เรารักษาธรรมดาก็มี ดังที่เราๆ ทั้งหลายรักษากัน ศีลของผู้ปฏิบัติยังเป็นของแน่นแฟ้นเป็นความอบอุ่นเข้าภายในตนเองอีกเป็นชั้นหนึ่ง นี่คือศีลของผู้ปฏิบัติ มีความอบอุ่นในตัวเของเราเอง ชีวิตกับศีลอยู่ด้วยกัน ถ้าศีลจะขาดก็ให้ชีวิตขาดไปเสียเท่านั้น นี่เรียกว่าชีวิตกับศีลเป็นอันเดียวกัน เมื่อเป็นเช่นนั้นศีลก็ทำความอบอุ่นแก่เราจะปรากฏที่ใจของเรานี้ ในตำราท่านชี้เข้ามาที่นี่ นั่นเป็นภาคความจำ


    ความจำนั้นใครเรียนก็เรียนได้จำได้ ไม่ว่าหญิงว่าชาย ไม่ว่าเด็กผู้ใหญ่ พระเณรฆราวาสเรียนได้ทั้งนั้น จำได้ทั้งนั้น แต่เป็นภาคความจำ ถ้าหากว่าเป็นแปลนก็เป็นแปลนบ้านแปลนเรือน ยังไม่สำเร็จเป็นบ้านเป็นเรือนขึ้นมา ต่อเมื่อได้นำแปลนนั้นออกมาแจงแล้วปฏิบัติตามแปลนที่ชี้บอกไว้แล้ว ก็จะสำเร็จเป็นบ้านเป็นเรือนเป็นตึกรามบ้านช่องขึ้นมา นี่ศีลก็เหมือนกันปฏิบัติตนให้เป็นศีล ศีลจะเป็นความอบอุ่น เป็นรูปเป็นร่างขึ้นมาภายในจิตใจของเรา สมาธิที่เราได้ยินแต่ชื่อในแปลน ได้แก่คัมภีร์ใบลานที่เราเรียนมา ก็จะมาปรากฏในหัวใจของเรานี้เอง

    คำว่าสมาธิ ทำใจให้สงบ ท่านชี้เข้ามาที่นี่ เมื่อเราทำสมาธิของเราโดยรักษาใจไม่ให้ส่ายแส่ไปในอารมณ์ต่างๆ ซึ่งเป็นข้าศึกต่อใจ ใจของเราเมื่อมีการบำรุงรักษาอยู่ตลอดเวลาก็จะเข้าสู่ความสงบร่มเย็น ความสงบร่มเย็นนี้แลจิตเริ่มเป็นสมถะ จิตเริ่มเป็นสมาธิขึ้นมาแล้ว เราจะประจักษ์ภายในใจนี่เรียกว่าเราเริ่มทรงมรรคทรงผลขึ้นมาแล้ว ตั้งแต่ภาคปฏิบัติ ศีลขึ้นมาเป็นสมาธิ สมาธิประเภทใด เพราะการปฏิบัตินี้มีความกว้างขวางมากยิ่งกว่าการศึกษาเล่าเรียนเป็นไหนๆ การศึกษาเล่าเรียนนั้นเราจำได้เป็นแนวทางๆ ไป ไปที่ไหนตำรับตำราท่านบอกไว้ เราก็จำได้เราก็รู้พอนำมาพูด พูดก็พูดด้วยความสงสัยงูๆ ปลาๆ ไม่เป็นที่แน่ใจนัก เพราะเป็นคำบอกเล่าเฉยๆ แต่ความจริงที่เป็นขึ้นจากภายในใจนี้เช่นเดียวกับเราไม่เจอเหตุการณ์เองนั้นแล ไม่ได้มีใครมาบอกเล่าเรา เราไปเจอเหตุการณ์อย่างจังๆ เข้าไป เหตุการณ์นั้นเป็นเรื่องอะไรเราสามารถที่จะพูดได้อย่างชัดเจนไม่สงสัย ไม่สะทกสะท้าน

    นี่ก็เหมือนกันผู้เห็นศีลภายในใจของตนเองก็ประจักษ์ภายในใจโดยไม่ต้องถามใครก็ได้ ผู้เห็นสมาธิ สมาธิเป็นประเภทใด เพระสมาธิมีหลายขั้นหลายภูมิ ก็จะประจักษ์ภายในจิตใจของตนด้วยความสง่างาม ด้วยความสงบร่มเย็นด้วยความองอาจกล้าหาญ ด้วยความชุ่มเย็นภายในจิตใจ ความสงบของใจนี้เย็น ทำใจให้เย็นสบายๆ นี่เพียงขั้นสมาธินี้ก็เป็นปฏิเวธแล้ว เริ่มเป็นปฏิเวธคือผลของการปฏิบัติ

    ปริยัติ ปฏิบัติ ปฏิเวธ ปริยัติได้แก่การศึกษาเล่าเรียนมา ปฏิบัติได้แก่ปฏิบัติตามเข็มทิศทางเดินที่ปริยัติท่านชี้บอกแล้ว ผลก็คือความสงบเย็นใจมีสมาธิเป็นต้นก็ปรากฏขึ้นภายในจิตใจของเรา คำว่าสมาธินี้พิสดารเอามาก ยังไม่ถึงขั้นปัญญาก็เริ่มพิสดารแล้ว นี้คือความจริง ในตำราเราจะไปหาทุกแง่ทุกมุมอย่างนั้นไม่เจอ แต่จะเจอในความความจริงทุกซอกทุกมุมจะเป็นไปได้ เหมือนกับไฟได้เชื้อ เชื้อมีอยู่ที่ไหน ไฟจะลุกลามไปที่นั้น นี่ความจริงอยู่ที่ไหนใจจะลุกลามไป ธรรมกับใจเป้นอันเดียวกันแล้วจะลุกลามไปรู้ไปเห็นไป ๆด้วยความองอาจกล้าหาญด้วยความแกล้วกล้าสามารถภายในตนเองไม่สะทกสะท้าน นี่เรียกว่าความจริง เหมือนกับท้องฟ้ามหาสมุทรไม่มีขอบเขตกว้างขนาดนั้นความรู้อันเป็นไปตามความจริง

    ดังพระพุทธเจ้าตรัสรู้ธรมแล้ว ท่านนำมาแสดงไว้เพียง ๘๔,๐๐๐ พระธรรมขันธ์เท่านั้น นอกจากนั้นเท่ากับท้องฟ้ามหาสมุทรไม่ทรงนำมาแสดง จะแสดงเท่าที่เป็นประโยชน์แก่สัตวโลกมากน้อยเพียงไรเท่านั้น นอกจานั้นแม้จะรู้จะเห็นขนาดไหนพระองค์ก็ไม่นำมาแสดง เพราะไม่เกิดประโยชน์ นี่แหละเรียกว่าความจริง กว้างขวางมากมายอย่างนี้ ออกจาการปฏิบัติ รู้เห็นในใจของตนเอง

    ทีนี้พูดถึงเรื่องขั้นปัญญา ปัญญานี้ยิ่งมีหลายขั้น และวันนี้มีโอกาสที่จะได้เผดียงถึงเรื่องภาวนามยปัญญาให้เราทั้งหลายซึ่งเป็นนักศึกษาด้วยกัน ได้เข้าใจมาด้วยกันในปัญญา ๓ ประเภท สุตมยปัญา ปัญญาเกิดขึ้นจากการได้ยินได้ฟัง ๑ จินตามยปัญญา ปัญญาเกิดขึ้นจากการพินิจพิจารณา ๑ ภาวนามยปัญญา นี้เป็นปัญญาที่สุดเอื้อมของผู้ไม่ได้ทำ ของผู้ไม่รู้ จะคาดจะด้นจะเดาอย่างไรก็ไม่ถูกแต่เป็นภาวนาล้วนๆ คือปัญญานี้เกิดขึ้นจากด้านภาวนาล้วนๆ คือตาของเราจะสัมผัส สัมพันธ์กับรูป เสียง กลิ่น รส เครื่องสัมผัสต่างๆ ก็ตาม ไม่สัมผัสสัมพันธ์ก็ตาม เรื่องภาวนามยปัญญา ปัญญาจะเกิดขึ้นตามเหตุการณ์ของตนภายในจิตล้วนๆ อยู่ตลอดไป จะสัมผัสไม่สัมผัสไม่สำคัญ

    ปัญญาประเภทนี้แลเป็นปัญญาที่ฆ่ากิเลส สุตมยปัญญาฆ่าไม่ได้ จินตามยปัญญาของคนธรรมดาก็ฆ่าไม่ได้ ภาวนามยปัญญานี้เป็นปัญญาที่ฆ่ากิเลสไปได้โดยลำดับ เมื่อภาวนามยปัญญามีความสามารถแก่กล้าแล้วก็ก้าวเข้าสู่มหาสติมหาปัญญานั้นและเป็นปัญญาเครื่องสังหารกิเลสซึ่งมีอยู่ภายในจิตใจของเรา มีอวิชชาเป็นสำคัญ ที่เรียกว่ายอดสมุทัย แล้วก็มหาสติมหาปัญญาเป็นสำคัญที่เป็นยอดของมรรค เป็นเครื่องประหัตประหารกันให้ม้วนเสื่อลงในจุดนั้นได้ ในสมัยปัจจุบันนี้ธรรมเหล่านี้ก็มีอยู่กับทุกท่านทุกคน ถ้าเรานำมาปฏิบัติก็เป็นสดๆ ร้อนๆ เป็นอกาลิโกเช่นเดียวกับกิเลส ให้เรานำมาปฏิบัติซิ

    วันนี้ได้กล่าวถึงเรื่องภาวนามยปัญญา เป็นปัญญาที่เกิดขึ้นภายในจิตใจล้วนๆ ไม่ขึ้นอยู่กับอะไรทั้งนั้น นี้ในหลักภาวนาปัญญา ๓ ประเภท ท่านแสดงไว้ได้ปรากฏกับผู้ปฏิบัติ เรียกเฉยๆ ไม่ปรากฏ ปัญญาประเภทนี้ไม่ปรากฏ จะเป็นความจำไปเฉยๆ ธรรมดา แต่ถ้าเกิดขึ้นจากด้านภาวนาแล้วจะเป็นปัญญาประเภทนี้ขึ้นมา ไม่เคยรู้ก็รู้ ไม่เคยเห็นก็เห็น ไม่เคยเป็นก็เป็น กิเลสประเภทไหนที่ควรจะฆ่าจะสังหารกันประเภทใดนั้น ปัญญาประเภทนี้จะทำหน้าที่เองไปโดยลำดับลำดาเป็นอัตโนมัติ จึงเรียกว่าภาวนามยปัญญา ปัญญาเกิดขึ้นจากการภาวนาล้วนๆ เป็นอัตโนมัติของตัวเอง แล้วจะสังหารกิเลสเป็นลำดับลำดาเข้าไป จนก้าวเข้าสู่มหาสติมหาปัญญา นั่นเป้นปัญญาที่ถ้าในสมัยปัจจุบันนี้เขาเรียกว่าแชมเปี้ยน นักมวยแชมเปี้ยน นี้ปัญญาแชมเปี้ยน มหาสติมหาปัญญานี้เป็นแชมเปี้ยนสำหรับจะสังหารสมุทัยอันเป็นตัวแชมเปี้ยนอันสำคัญให้ม้วนเสื่อลงไปได้ไม่สงสัย และธรรมเหล่านี้มีสมบูรณ์อยู่ในอรรถในธรรมของพระพุทธเจ้าสดๆ ร้อนๆ ขอให้ท่านทั้งหลายจงเป็นผู้รักใคร่ใฝ่ธรรมแล้วปฏิบัติตน อย่างน้อยขอให้จิตมีความสงบเถิดจะเป็นที่อยู่สบาย

    การอยู่การกินการหลับการนอนสบายนี้เป็นเหมือนโลก เขาสบายไม่ได้ผิดแปลกันอะไรเลย แต่ความสบายภายในจิตใจนี้ มีความสงบร่มเย็นภายในจิตใจมีความสามารถแกล้วกล้า ฉลาดรู้ต่างๆ ที่โลกไม่เห็นโลกไม่รู้ ได้แก่กิเลสประเภทต่างๆ นั้นจิตใจอันนี้รู้ไปโดยลำดับ สังหารไปโดยลำดับๆ นี้เป็นที่เลิศเลอที่สุดภายในจิตใจของผู้ปฏิบัติ เพราะฉะนั้นเราบวชมาขอให้ได้ครอง อย่างน้อยให้ได้ครองสมาธิคือความสงบร่มเย็นภายในใจก็ยังดี เรียกว่ามีต้นทุน หลังจากนั้นไปแล้วก็ขอให้พินิจพิจารณาทางด้านปัญญา

    ด้านปัญญาท่านอริยสัจเป็นสำคัญ สติปัฏฐาน ๔ เป็นฐานที่เกิดแห่งธรรมที่สังหารกิเลส ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค ๔ ประเภทนี้ พระพุทธเจ้าทุกๆ พระองค์อุบัติขึ้นมาจากอริยสัจ ๔ นี้ทั้งนั้น นอกจากนั้นไม่มีที่อุบัติของพระพุทธเจ้า แม้พระองค์เดียวก็ไม่มี อริยสัจจึงเป็นเครื่องยืนยันของพุทธศาสนา เราว่าแก่นของศาสนาแท้คืออะไร แก่นของศาสนาแท้คืออริยสัจ สติปัฏฐาน ๔ นี้แลเป็นเครื่องขุดค้นฆ่ากิเลสได้ตรงนี้ แล้วผุดขึ้นมาเป็นความบริสุทธิ์ได้ เป็นองค์พุทธะๆ ทุกๆ พระองค์คือนับไม่ถ้วน ในแดนโลกธาตุนี้พระพุทธเจ้ามากขนาดไหน ผุดขึ้นมาจากนี้ทั้งนั้นไม่เป็นที่อื่น เป็นที่นี่

    แล้วคำว่าอริยสัจเวลานี้ก็มีอยู่กับเราทุกคนไม่ได้บกพร่องไปไหน กิเลสไม่ได้เปลี่ยนแปลงตัวเองไปพอที่จะนำธรรมะพระพุทธเจ้าเป็นธรรมะสมัยใหม่มาเปลี่ยนแปลงแก้ไขดัดแปลงกิเลส เป็นธรรมะประเภทเก่าที่เคยสังหารกิเลสมาแล้วอย่างโชกโชน แล้วสังหารกิเลสม้วนเสื่อมาแล้วทั้งนั้น เพราะฉะนั้นให้นำมาปฏิบัติ เมื่อมาปฏิบัติแล้วเราจะได้เห็นได้ชัดเจน ฐานแห่งการปฏิบัติของปัญญาก็ได้แก่ ท่านแสดงไว้เป็นเรื่องเล็กน้อยเมื่อไร เกสา โลมา นขา ทันตา ตโจ โลกติดอันนี้ทั้งนั้น ภูเขาไม่ติดภูเรานี้ติด โลกทั้งหลายติดกันจมอยู่ก็เพราะ เกสา โลมา นขา ทันตา ตโจ เพราะฉะนั้นพระพุทธเจ้าจึงทรงสอนลงในจุดนี้จุดที่สำคัญ ที่โลกติดงอมแงมกันอยู่นี้ ให้พินิจพิจารณาอย่างชัดเจน

    เกสา ผม เป็นยังไง ขน เล็บ ฟัน หนัง เนื้อ เป็นยังไง จนกระทั่งเข้าไปภายในเป็นยังไง โลกถึงได้ติดได้พันเอานักหนาไม่มีวันมีคืน ทำความชั่วช้าลามกเพราะความติดอันนี้มีมากต่อมาก เพราะฉะนั้นท่านจึงสอนให้แก้ไขให้พิจารณาอันนี้ ธรรมประเภทนี้ละไม่ได้ ถ้าหากอยากให้พุทธศาสนายังมีครองโลกอยู่แล้ว กรรมฐาน ๕ นี้ถอนไม่ได้ละไม่ได้เพราะเป็นรากแก้วของศาสนาที่จะรื้อถอนขนสัตว์ให้พ้นจากทุกข์ไปได้ เพราะอำนาจแห่งเกสา โลมา นขา ทันตา ตโจ นี้รวมแล้วเป็นอริยสัจเหมือนกัน นี่ละเราพินิจพิจารณาอย่างนี้

    จิตใจของเราทีแรกจะค่อยแสดงออกมาเป็นความรู้แปลกๆ ต่างๆ ที่เราไม่เคยรู้ไม่เคยเห็นก็จะค่อยเป็นขึ้นมา พิจารณามากเท่าไรนานเข้าไปเท่าไรยิ่งกระจายออกๆ ละเอียดเข้าไปโดยลำดับลำดา จนสามารถรู้แจ้งแทงทะลุในร่างกาย เกสา โลมา นขา ทันตา ตโจ ทั่วอาการ ๓๒ ตลอดทั่วถึงแล้วปล่อยวางลงตามเป็นจริงของมัน นี่เรียกว่าถอนอุปาทานในกายแล้ว ด้วยการพิจารณารอบคอบแล้ว ถอนภูเขาภูเราอันนี้ออกได้แล้ว จากนั้นก็เข้านามธรรมพวก เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ซึ่งเป็นอาการของจิตยิบแย็บๆ

    ตา หู จมูก ลิ้น กาย อันนี้เป็นเรื่องรูป รูปนี้ได้ถูกทำลายแล้วด้วย เกศา โลมา นขา ทันตา ตโจ หมดปัญหาไปแล้วไม่มีอะไรเหลือ เหลือแต่เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ สติปัญญาจ่อเข้าไปตรงนั้น ลุกลามเข้าไปๆ ไหม้เข้าไปจนกระทั่งกษัตริย์วัฏจักรที่เรียกว่า อวิชฺชาปจฺจยา สงฺขารา อวิชชาอยู่จุดนั้นแล นี้อาการของอวิชชา อวิชชาออกหากินไม่ได้แล้ว ออกทางตา ทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย ก็ถูกปัญญาตัดเข้าไป เกสา โลมา นขา ทันตา ตโจ นี้ตัดเข้าไปๆ จนกระทั่งถึง เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ตัดเข้าไปรู้เข้าไปอย่างชัดเจนแจ่มแจ้ง จนกระทั่งเข้าถึงองค์กษัตริย์วัฏจักรได้แก่ อวิชชา แล้วมหาสติมหาปัญญาก็จ่อเข้าไปตรงนั้นอีกพังทลายไม่มีอะไรเหลือเลย

    นั่นแหละเรื่องภพชาติไม่ต้องถาม นตฺถิทานิ ปุนพฺภโว บัดนี้ความเกิดอีกของเราไม่มีแล้ว ก็เพราะอวิชชาตัวพาให้เกิดนั้นสิ้นซากลงไปแล้วจะเอาอะไรมาเกิด เห็นประจักษ์ไม่ต้องทูลถามพระพุทธเจ้าพระองค์ใดทั้งนั้น แม้พระพุทธเจ้าเองทุกๆ พระองค์ตรัสรู้แล้วไม่ต้องทรงถามใครแหละ ออกประกาศศาสนาลั่นโลกไปเลย พระสงฆ์สาวกที่ศึกษาจากพระพุทธเจ้าตลอดมาก็เหมือนกัน เมื่อสนฺทิฏฺฐิโก วาระสุดท้ายอวิชชาได้พังลงไปแล้ว ประจักษ์กับหัวใจแล้ว ไม่ต้องทูลถามพระพุทธเจ้า พระพุทธเจ้าสอนก็สอนเข้ามาหาจุดนี้เอง เมื่อเราไปรู้ไปเห็นด้วยตนเองแล้วจะไปทูลถามพระพุทธเจ้าหาอะไร นี่ก็ประจักษ์ภายในตนเอง นี่แหละผลแห่งการปฏิบัติ

    พระเราเป็นเพศที่หนึ่งที่จะสามารถครองมรรคครองผลได้เพราะมีโอกาสอันดีงามทุกสิ่งทุกอย่างอำนวยหมด ให้พากันั้งใจ เราเป็นห่วงเป็นใยพระลูกพระหลานของเรากลัวจะเลินเล่อเผลอสติเป็นบ้ากับโลกกับสงสารเขา ทุกวันนี้เรื่องของกลมายากิเลสนั้นมีมากนะ วันนี้จะพูดให้บรรดาพระลูกพระหลานทั้งหลายของเราได้ทราบเสียว่าจุดใหญ่มหาภัยคืออะไร

    เริ่มต้นตั้งแต่ หนังสือพิมพ์ เป็นข่าวเป็นคราว พระเราไม่จำเป็นต้องหาข่าวหาคราว หลีกข่าวหลีกคราวทั้งนั้นถึงถูกอย่างพระพุทธเจ้าไล่เข้าป่า รุกฺขมูลเสนาสนํ ไล่เข้าป่าเพื่อหลีกข่าวหลีกคราวทั้งหลายอันเป็นเรื่องยุ่งเหยิงวุ่นวายของกิเลสมันบีบบี้สีไฟนั่นเอง จากนั้นก็ วิทยุ ตัดออก อันนี้ก็เป็นเรื่องข่าวเครื่องคราวเรื่องยุยงก่อกวนจิตใจให้ฟุ้งเฟ้อเห่มเหิมไปตามมัน แล้วเทวทัตโทรทัศน์ วิดีโอ นี่เป็นตัวสำคัญมาก อันนี้อันหนึ่ง แล้วโทรศัพท์มือถือ โทรศัพท์มือถือนี้สุดยอดได้เลย จับโทรศัพท์ขึ้นใส่หูปั๊บนี้คุยกับอีสาวได้สบายเลย นัดกันไปห้องไหนหับไหนที่ไหนๆ ม่านรูดม่านรีดไม่สำคัญ นัดกันได้ถึงที่สุดเลย นี่แหละ ๕ กษัตริย์นี้เองเป็นตัวมหาภัยที่ทำลายศาสนาอยู่เวลานี้

    วัดวาอาวาสเราเลยจะรกจะร้างไปหมด เพราะสิ่งเหล่านี้เข้าไปทำลายตามวัดตามวาจะไม่มีเหลือพระเณรอยู่ในวัดล้ว ทำไมจึงเป็นอย่างนั้น ก็เมื่อเห็นความอุจาดบาดตาของพระเณรไม่มียางอายแล้ว ประชาชนญาติโยมเขาก็หมดศรัทธาไม่มีความเคารพเลื่อมใส เขาก็ไม่ใส่บาตรให้กินล่ะซิ เมื่อเขาไม่ใส่บาตรให้กินแล้ววัดจะทนอยู่ได้ยังไง พระเณรทนอยู่ได้เพราะอาหาร เมื่ออาหารไม่มีพระเณรจะทนอยู่ได้ยังไง วัดก็กลายเป็นวัดร้างไปได้ นี่ละตัวมหาภัย จึงได้เผดียงให้พระลูกพระหลานทั้งหลายทราบ อย่าได้คุ้นอย่าได้ชินกับมัน อย่าเห็นว่าเป็นสิริมงคล นี้คือตัวภัยสำหรับพุทธศาสนาสำหรับพระเณรของเราให้พากันระมัดระวังให้มาก ใครกล้าหาญชาญชัยก็คือเป็นเทวทัตต่อสู้พระพุทธเจ้านั้นแล นี่เป็นจุดสำคัญมากขอให้พากันระมัดระวัง

    อย่าได้คุ้นอย่าได้เชื่องกับมัน อย่าไปสนิทสนมกับมันถ้าไม่อยากจม นี่เป็นข้าศึก แม้แต่ไม่มีสิ่งเหล่านี้จิตใจของเรายังเสาะยังแสวงหายุ่งเหยิงวุ่นวายตลอดเวลา จนหาเวลาว่างหาความสงบไม่ได้ ก็เพราะจิตหาอารมณ์หาข่าว จิตมันหาข่าวหาตลอดเวลา เห็นก็ตามไม่เห็นก็ตาม ได้ยินไม่ได้ยินก็ตามปรุงขึ้นมาเป็นธรรมารมณ์ภายในจิตใจ แล้วกวนเจ้าของให้ยุ่งเหยิงวุ่นวายตลอดเวลา นี่คือจิตหาข่าว เราจำเป็นจะต้องไปหาข่าวมาจากไหนมาให้มันอีก นี่ละมันสงบไม่ได้ก้เพราะจิตหาข่าว จึงต้องระงับข่าวเหล่านี้ลงไป

    เอาข่าวแห่งพระพุทธเจ้า พระธรรม พระสงฆ์ พุทโธ ธัมโม สังโฆ ข่าวภาวนาลงไปสู่จุดนี้ ระงับดับข่าวนั้นให้หมดไป ให้เหลือแต่ข่าวพุทโธ ธัมโม สังโฆ ข่าวอรรถข่าวธรรมอยู่ภายในใจ ใจของเราจะได้มีความสงบเยือกเย็น ข่าวธรรมกับ ข่าวโลก คือข่าวกิเลสกับข่าวธรรมนี้ต่างกันมากนะ ข่าวกิเลสมีแต่ความยุ่งเหยิงวุ่นวายบีบบี้สีไฟ แต่ข่าวธรรมนี้มีแต่ความสงบร่มเย็น จิตใจของเรามีความสว่างกระจ่างแจ้ง จิตไม่เคยรู้ก็รู้ ไม่เคยเห็นก็เห็น นี้ละที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงไว้ โลกวิทู หรือ อาโลโก อุทปาทิ ทรงรู้แจ้งเห็นจริงทั้งโลกนอกโลกใน ทำโลกให้สว่างไสวได้ เพราะพระจิตที่ไม่มีอะไรปิดบังแล้วเปิดกระจ่างเห็นหมดทั่วโลกดินแดน สามแดนโลกธาตุนี้เห็นหมด

    นี่ละจิตเวลามันถูกปิดมันก็มืดเหมือนกับเราหลับตานี้แล เวลาหลับตาสิ่งต่างๆ จะมีอยู่มากน้อยเพียงไรมองไม่เห็น แต่ลืมตาเข้าเท่านั้นจะมองเห็นหมดเลย นี่ใจก็เหมือนกันเมื่อกิเลสเปิดโล่งออกจากใจแล้วจะสามารถมองเห็นหมด สิ่งที่เป็นภัยเห็นว่าเป็นภัย สิ่งที่เป็นคุณเห็นว่าเป็นคุณ สว่างกระจ่างแจ้งไปหมดเลย นี่ท่านเรียกว่า โลกวิทู นี่ละพระพุทธเจ้าท่านทรงรู้ทรงเห็นอย่างนี้นำมาสอนโลก

    ธรรมเหล่านี้ไม่ใช่ธรรมครึธรรมล้าสมัย ไม่ใช่ทันสมัยแต่กิเลสอย่างเดียว ธรรมก็ทันสมัยเหมือนกันเมื่อนำมาประยุทธ์กันต่อสู้กันแล้วจะแก้ไขถอดถอนสิ่งเหล่านี้ได้โดยสมบูรณ์เช่นเดียวกันกับพระพุทธเจ้ายังทรงพระชนม์อยุ่ เพราะธรรมนี้เป็นอกาลิโก ไม่มีกาลไม่มีสมัย ทำให้เกิดเมื่อไรเกิดเมื่อนั้น เกิดสติเกิดปัญญาเกิดศรัทธาความเพียร เกิดการต่อสู้กับกิเลส ฆ่ากิเลสสังหารกิเลสให้ม้วนเสื่อไปได้เช่นเดียวกันกับครั้งพระพุทธเจ้ายังทรงพระชนม์อยู่ กิเลสก็เหมือนกัน แต่เวลานี้มักจะส่งเสริมตั้งแต่กิเลส ให้กิเลสบีบบี้สีไฟ จนเห็นศาสนาเป็นเศษกระดาษ ธรรมะธัมโมนี้ไล่เข้าในตู้ในหีบล็อกกุญแจเอาไว้ให้กิเลสเพ่นพ่านทั่วตลาดตเลทั่วพระทั่วเณรอย่างนี้น่าสลดใจมาก

    วันนี้ได้แสดงธรรมให้บรรดาพระลูกพระหลานทั้งหลายฟัง หากว่าผิดพลาดประการใด หรือหนักไปบ้างเบาไปบ้าง ก็ถือว่าเราเป็นอันเดียวกัน ไม่มีผู้ใดที่จะมาพูดกันอย่างนี้ได้นอกจากสมณะด้วยกัน พระลูกพระหลานด้วยกันนี้เท่านั้น คนอื่นเขาเกรงใจเขาไม่พูด วันนี้เราพูดโดยถือเป็นกันเอง โดยถือความเมตตาเป็นรากฐานสำคัยแล้วพูดธรรมให้บรรดาพระลูกพระหลานทั้งหลายฟัง หวังว่าคงจะเป็นประโยชน์แก่ท่านทั้งหลายโดยทั่วกัน จึงขอยุติธรรมเทศนาเพียงเท่านี้
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 4 กุมภาพันธ์ 2011
  2. anand

    anand เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 พฤษภาคม 2009
    โพสต์:
    1,118
    ค่าพลัง:
    +641
    เหตุใดคนเหมือนกัน ฐานะความเหลื่อมล้ำ ต่ำสูงจึงต่างกันอย่างนี้ ข้อนี้เราจะไปตำหนิโทษคนที่เขาจนก็ไม่ได้ จะไปชมคนมั่งมีถ่ายเดียวก็ไม่ได้ เพราะมีก็ขึ้นอยู่กับกรรม กรรมนั้นก็มีอยู่กับเราเหมือนกัน ถ้าเราต้องการเป็นคนมั่งมี เราต้องพยายามฝึกฝนอบรมตัวเรา ดัดแปลงตัวเราให้เป็นผู้หนักในทางความดี มีความขัยนหมั่นเพียร มีความอุตส่าห์พยายาม ทุกๆ ทางที่จะให้เกิดขึ้นแห่งโภคสมบัติ เราก็จะกลายเป็นคนที่สองขึ้นในคนดี และมั่งมีตามบุคคลประเภทที่กล่าวนั้น สิ่งทั้งหลายในโลกนี้พอทำได้หาได้ เกิดขึ้นจากน้ำใจเป็นของสำคัญ ที่อธิบายถึงการท่องเที่ยวในวัฏสงสาร เป็นของแตกต่างกันโดยอำนาจวาสนา บุญญธิสมภารอย่างนี้

    กัณฑ์ที่ ๑
    ณ วัดโพธิสมภรณ์ อุดรธานี
    ๒๘ กรกฎาคม ๒๕๐๕
     
  3. anand

    anand เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 พฤษภาคม 2009
    โพสต์:
    1,118
    ค่าพลัง:
    +641
    กัณฑ์ที่ ๑
    ณ วัดโพธิสมภรณ์ จังหวัดอุดรธานี
    วันที่ ๒๘ กรกฎาคม พ.ศ.๒๕๐๕

    นโม ตสฺส ภควดต อรหโต สมฺมาสมฺพุทฺธสฺส
    อนิจฺจา วต สงฺขารา อุปฺปาทวยธมฺมิโน
    อุปฺปชฺชิตฺวา นิรุชฺฌนฺติ เตสํ วูปสโม สุโขติฯ

    ภาษิตที่ได้ยกขึ้นไว้ ณ เบื้องต้นนี้ ถ้าไม่พิจารณาตามหลักความจริงแล้วย่อมเห็นว่าเป็นภาษิตที่แสดงซ้ำๆ ซากๆ แต่ในขณะเดียวกัน ภาษิตนี้เป็นเงาตามตัวสำหรับแสดงหลักฐานแห่งความจริงซึ่งเป็นอยู่ในสัตว์และสังขารทั้งหลาย

    เนื้อความในภาษิตนี้ แปลว่า สังขารทั้งหลายไม่เที่ยงเกิดขึ้นแล้วย่อมดับไป การระงับดับเสียซึ่งสังขารทั้งหลายอันเกิดๆ ดับๆ ได้โดยสิ้นเชิงเป็นความสุขอันยิ่ง ดังนี้ คำว่า สังขารธรรมที่ว่าไม่เที่ยงก็ดี เกิดขึ้นแล้วดับได้ก็ดี จะเห็นสังขารประเภทใดที่เป็นภัยแก่บรรดาสัตว์ทั้งหลายอยู่ ณ บัดนี้และสังขารประเภทใดที่เป็นเหตุให้หลั่งน้ำตา เป็นเหตุให้เกิดความวิปโยคพลัดพราก เป็นเหตุให้เกิดความเสียอกเสียใจ เป็นเหตุให้เกิดความรื่นเริงบันเทิง เป็นเหตุให้เกิดความรักความชัง ความก่อกังวลในใจของเราไม่มีจบสิ้น องค์สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า อนิจฺจา วต สงฺขารา เราทั้งหลายพึงทราบ ใกล้ๆ ณ บัดนี้ เป็นหลักฐานพยานยืนยันให้เห็นอยู่อย่างคัดค้านไม่ได้ คือเจ้าพระคุณพระธรรมเจดีย์ ซึ่งมีคุณงามความดีบุญญาภิสมภารซึ่งได้สร้างสมไว้ไม่น้อย ได้อบรมสั่งสอนประชาชนให้รู้ดีรู้ชั่วทำตัวเป็นคนดีมาเป็นอันมาก ทั้งได้ก่อสร้างวัดโพธิสมภรณ์นี้ให้เจริญรุ่งเรืองเป็นที่บำเพ็ญกุศลของพุทธบริษัททั่วไปเป็นเวลากว่า ๔๐ ปีแล้ว แต่ท่านก็ต้องมรณภาพจากความเป็นเข้าสู่ความตาย นี้ก็คือสังขารธรรมทั้งหลายไม่เที่ยง เกิดขึ้นแล้วแตกดับสลาย ที่เราให้ชื่อว่า ตายนั่นเอง

    เพราะเหตุนั้น ทุกท่่านพึงทราบว่า สังขารธรรมของท่านกับสังขารธรรมของพวกเราเป็นสังขารธรรมประเภทเดียวกัน มีเกิดขึ้นเป็นรูปเป็นกายเป็นหญิงเป็นชาย มีแปรสภาขึ้นมาเป็นลำดับๆ ตั้งแต่คลอดออกมากลายเป็นเด็กเป็นหนุ่มเป็นสาว เฒ่าแก่ เมื่อแปรสภาพไปเต็มที่แล้วก็แสดงความแตกดับให้เราทั้งหลายได้เห็น และได้มีชื่อขึ้นมาว่า ตาย คือสังขารธรรมประเภทนี้เอง เราอย่าเห็นว่าสังขารธรรมประเภทใดซึ่งเป็นธรรมชาติที่สำคัญ เป็นเหตุให้หลั่งน้ำตาของบรรดาสัตว์ทั้งหลายทั่วทั้งโลกนี้ไม่มีเวลาหยุด คือสังขารธรรมประเภทนี้เท่านั้นจึงเป็นสังขารธรรมที่ใหญ่ยิ่งในโลก ความรักก็ดี ความชังก็ดี ความวิปโยค พลัดพรากก็ดี ความหลง ความเพลินเพลิน ความโศกเศร้าทั้งหลายก็ดี เกิดขึ้นมาจากสังขารธรรมประเภทนี้ทั้งนั้น ฉะนั้นสังขารธรรมประเภทนี้ท่านจึงยกขึ้นเป็นภาษิตต่อเนื่องมาแต่องค์สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าทุกๆ พระองค์ตรัสไว้เสมอว่า อนิจฺจา วต สงฺขารา สังขารทั้งหลายไม่เที่ยง เกิดขึ้นแล้วดับไป ทั้งนี้สังขารธรรมไม่ใช่ว่จะมีแต่ที่ตายแล้วไม่เที่ยง มีแต่ที่ตายนั้นเกิดขึ้นแล้วดับไป พึงน้อมเข้ามาสู่ตัวเรา กายของเราทุกชิ้นที่ครองเป็นเจ้าของอยู่ ณ บัดนี้ ก็คือสังขารประเภทนั้นนั่นเอง แปรสภาพไปเช่นเดียวกัน มีความแก่ ความชรา ทนไม่ไหวต้องแตกต้องทำลายไปเช่นเดียวกับท่าน ความรักก็รักในสังขารประเภทนี้ ความชังก็ชังในสังขารประเภทนี้ ความหลงก็หลงในสังขารประเภทนี้ ดีใจเสียใจก็เพราะสังขารประเภทนี้เป็นเหตุ สังขารประเภทนี้เป็นได้ทั้งสัตว์เป็นได้ทั้งบุคคล เป็นได้ทั้งชั้นต่ำ ชั้นสูง เป็นได้ทั้งดีทั้งชั่ว เป็นได้ในฝ่ายรูปร่างกลางตัว ทั้งดำทั้งขาว ทั้งรูปร่างสวยงามและไม่สวยงาม คือสังขารธรรมประเภทนี้ทั้งนั้น

    ขอให้บรรดาท่านผุู้ฟังทั้งหลาย จง โอปนยิโก น้อมเข้ามาสอนตนเสมอ อย่าเห็นเพียงว่าคนอื่นตาย คนอื่นแตกสลาย คนอื่นทุกข์ยากลำบากเพราะสังขารธรรมประเภทของคนอื่นสัตว์อื่นเท่านั้น ให้พึงทราบว่าสังขารธรรมอันนี้เป็นเหมือนกับฝ่าเท้าที่จะก้าวไปเป็นลำดับ สังขารธรรมประเภทใดที่เกิดมาแล้วในโลกไม่สำคัญเท่าสังขารธรรมคือ ร่างกายของสัตว์และบุคคลที่แตกสลาย เดินตามรอยกันไปนี้ตั้งแต่ครั้งไหนครั้งไร มาเกิดก็เกิดมาแล้ว จนตนเองซึ่งเป็นผู้เกิด แก่ เจ็บ ตาย และเคยเป็นมานานแสนนาน เพราะสังขารธรรมประเภทนี้ทั้งนั้น เคยได้รักได้ชังเคยได้เสียน้ำตาและกำลังกายกำลังใจเพราะเหตุแห่งสังขาร ธรรมประเภทนี้มาแล้วนับประมาณไม่ถ้วน เราก็ไม่สามารถทราบความเป็นมาของเราได้ นี่คืออวิชชาความงมงายก่อตัวเองปกคลุมหุ้มห่อจิตใจไว้มิให้รู้ความเป็นมา ทำให้หมุนเวียนเปลี่ยนกันไปเปลี่ยนกันมาตามภพตามชาติตามอำนาจวาสนาดีชั่ว เกิดขึ้นเป็นรูปร่างกลางตัว ปรากฏเป็นสัตว์บ้างเป็นบุคคลบ้าง เป็นคนชั้นสูงชั้นต่ำบ้างติดคุกติดตะรางได้รับความทุกข์ความลำบาก เป็นเทพบุตรเทวดาอินทร์พรหม กลับกลายเปลี่ยนแปลงมาเป็นมนุษย์สับสนปนเปกันอยู่ตลอดเวลาก็เนื่องในอวิชชาความหลงตน เป็นผู้เคยผ่านมาแล้วอย่างนี้ด้วยกันทุกๆ คน ก็ไม่สามารถจำคำนวณถึงความเป็นมาของตนได้

    การกล่าวมาทั้งนี้เป็นเรื่องของสังขารธรรมทั้งนั้น จึงควรใช้โยนิโสคือปัญญา พิจารณาตามหลักธรรมที่เป็นจริงซึ่งประกาศอยู่ทั่วทั้งโลกธาตุไม่มีเวลาจะสงบเงียบลงไปได้ คือความเกิด ความแก่ ความเจ็บ ความตาย เป็นไปอยู่ทั้งสัตว์ทั้งบุคคล ทั้งนอกบ้านในบ้าน ทั้งนอกเมืองในเมือง ทั้งใต้น้ำทั้งบนบก ทั้งใต้ดินบนอากาศ สัตว์แลสังขารมีอยู่ในที่ใด ธรรมชาตินี้จะต้องเป็นเงาเทียมตัว ติดตามสัตว์และสังขารประเภทนั้นๆ ไป แต่ยังไม่ถึงของเราเท่านั้น เราจึงไม่สนใจในสิ่งเหล่านี้ว่าจะเป็นอย่างนั้นหรือไม่ เมื่อผู้เกี่ยวข้องหรือสิ่งเกี่ยวข้องมีอยู่กับเรา เราเป็นผู้สงวนกรรมสิทธิ์ เป็นผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในสัตว์และสังขารประเภทนั้นๆ จึงปรากฏว่าสิ่งเหล่านี้มีขึ้นเฉพาะในบ้านเรือนหรือในเครือญาติของเรา ว่าพ่อแม่พี่น้องลูกหลานญาติมิตรสามีภรรยาเจ็บไข้ได้ทุกข์และพลัดพรากจากไปเท่านั้น แต่เมื่อพิจารณาตามหลักธรรมชาติแล้ว สิ่งทั้งหลายเหล่านี้เคยประกาศตนมาตลอดเวลา พระพุทธเจ้าจะอุบัติขึ้นในโลกก็ตาม ความวิปโยคพลัดพราก ซึ่งมีอยู่ในสัตว์และสังขารนั้นเป็นของเคยมีมาแล้วแต่ดึกดำบรรพ์เป็นมาอย่างนี้ แม้ปัจจุบันในวันนี้เราทั้งหลายก็เห็นในโกศของเจ้าพระคุณธรรมเจดีย์ ก็คือโกศแห่งคนตายนั่นเอง ท่านตายแล้วอาราธนาไว้ในโกศของท่าน ส่วนพวกเราจะเป็นเช่นไร จะอยู่ในโกศหรือนอกโกศก็ตาม หมดชีิตแล้วเขาเรียกว่าคนตายหรือสัตว์ตายทั้งนั้นอยู่ในไหปลาร้า ในน้ำปลา ก็คือสัตว์ตายนั่นเอง ในตลาดเต็มไปด้วยสัตว์เป็นและสัตว์ตาย เป็นป่าช้าของสัตว์ทั่วทั้งดินแดน ถ้าเราพิจารณาเรื่องคามเป็นความตายนี้แล้ว จะได้ โอปนยิโก น้อมเข้ามาพิจารณาสังขารที่มีอยู่กับตัวของเราซึ่งประคองรักษาอยู่ ณ บัดนี้ ว่าจะเป็นเช่นเดียวกันกับสัตว์และสังขารทั่วๆ ไป โดยไม่ต้องสงสัย เพราะฉะนั้น คำว่า อนิจฺจา วต สงฺขารา จึงเป็นคำสวยงามและเหมาะสมกับสมัยและสถานที่อย่างยิ่ง สถานที่ได้แก่โลกอันเต็มไปด้วยความเกิด ความแก่ ความทุกข์ทรมาน และเต็มไปด้วยความสลายตายพลัดพรากจากสัตว์และสังขาร นี้เรียกว่าสถานที่ ธรรมก็แสดงสวมรอยลงในสภาพเหล่านี้ ที่มีความแปรปรวนมีความแตกดับ หรือมีความเกิดขึ้นแล้วแตกดับไปประจำตน ภาษิตที่พระพุทธเจ้าทรงไว้นี้จึงเป็นภาษิตที่ทันต่อสมัยทุกกาล ไม่ว่าวันนี้และวันหน้า ตลอดกัปตลอดกัลป์

    เมื่อสัตว์และสังขารอันเป็นสภาพผันแปรเหล่านี้ยังมีอยู่ตราบใด พึงทราบว่าธรรมที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงไว้นี้ยังเป็นของจริงอยู่ตลอดเวลา แลเป็นสวากขาตธรรมที่ตรัสไว้ชอบแล้ว ตรัสไว้ตามหลักความจริที่เป็นไปอย่างใด ผู้มาพิจารณาเห็นสังขารธรรมว่าเป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา เป็นสิ่งที่แตกดับหาสาระแก่นสารไม่ได้แม้แต่ชิ้นเดียวอย่างนี้แล้ว จะได้ถือเอาเป็นแก่นสารทำความประมาทในสังขารของตนว่า เด็กก็ดี หนุ่มก็ดี ปานกลางก็ดี คนแก่ก็ดี มันเป็นก้อนจะแตกดับด้วยกันทั้งนั้น เพราะเป็นสังขารประเภทเดียวกัน เด็กก็คือสังขารนั่นเอง หนุ่มสาวก็คือสังขารนั่นเอง เฒ่าแก่ชราก็คือสังขารประเภทเดียวกัน สังขารประเภทนี้เต็มไปด้วยความแตกสลาย ความทำลาย เคยเป็นมาประจำแผ่นดินอันเป็นศูนย์กลางของโลกมนุษย์และสัตว์อาศัยอยู่ ไม่มีใครจะกล้าสามารถนับอ่านได้ว่าสังขารประเภทนี้เคยเปลี่ยนแปลงตัวเองมาตั้งแต่เมื่อไร เป็นธรรมชาติที่เปลี่ยนแปลงตัวเองอยู่ตลอดเวลา เราทั้งหลายพิจารณาอย่างนี้เสมอ จะเป็นเหตุให้เกิดอุบายขึ้นในใจว่า สิ่งเหล่านี้ไม่เที่ยง เราจะหาอะไรซึ่งเป็นของเที่ยงยิ่งกว่านี้ สิ่งเหล่านี้เป็นทุกข์ เราจะหาอะไรซึ่งเป็นความสุขยิ่งกว่าสิ่งเหล่านี้ สิ่งเหล่านี้เป็นอนัตตา เราจะหาอะไรซึ่งเป็นอัตตาที่แท้จริงยิ่งกว่า สิ่งเหล่านี้ได้จากสภาพธรรมที่ว่าสังขารนี่เอง ถ้าเราเป็นนักใคร่ครวญ จะต้องถือเอาประโยชน์จากสิ่งที่ไม่เป็นสาระแก่นสารนี้ให้เป็นสาระแก่นสารขึ้นที่ใจของเราได้

    ท่านกล่าวไว้ว่า อนิจฺจา วต สงฺขารา อย่าเห็นว่าสังขารที่ล่วงลับดับไปซึ่งเราได้เห็นก็ดี ได้ยินก็ดี ว่ามีแต่สภาพนั้นเท่านั้น พึงทราบว่าสภาพที่ได้ยินได้เห็นอยู่ ณ บัดนี้ คือตัวเราก็คือสังขารธรรมประเภทเดียวกัน เดินตามรอยกันไปมีทางส่ายเดียวกัน เดินก้าวเข้าไปสู่ความแตกดับเสมอกัน จนกระทั่งถึงจุดสุดท้ายคือความตาย เมื่อตายแล้ว จิตผู้ไม่ตายจะต้องไปก่อกำเนิดเป็นสังขารขึ้นมาอีก แต่สังขารที่เกิดขึ้นจากจิตที่ไปครองตัวอยู่นั้นจะเป็นสังขารมีลักษณะเช่นไรนั้นขึ้นอยู่กับกรรมของผู้เป็นเจ้าของ คำว่ากรรมในสถานที่นี้หมายถึงการกระทำการทำดีจัดเป็นกุสลกรรม การทำชั่วจัดเป็นอกุศลกรรม การทำกลางๆ จัดเป็นอพัยากตกรรม ไม่เป็นบุญไม่เป็นบาป กรรมที่ทำเหล่านี้ใครเป็นผู้ทำ คนนั้นเป็นเจ้าของแห่งกรรมและเป็นผู้จะรับผิดชอบดีชั่วสุขทุกข์ของตนเอง พึงทราบว่าเป็นเจ้าแห่งกรรมทุกๆ ท่าน และจะเป็นผู้รับผิดชอบ ดี ชั่ว สุข ทุกข์ในกรรมของตนที่ทำขึ้นด้วยกันทุกราย เพราะเหตุนั้น เราทั้งหลายจึงมีความแตกต่างกัน แม้จะเป็นรูปมนุษย์ที่เกิดขึ้นมาให้ชื่อวา คน คน เหมือนกันก็ตาม ลักษณะ อากัปกิริยา นิสัย มารยาท ความรู้ ความฉลาด อำนาจวาสนา ความโง่เขลาเบาปัญญาความมั่งมีสมบูรณ์จึงไม่เหมือนกัน แม้จะอยู่ในสถานที่อันเดียวกัน อยู่บ้านเดียวกัน อยู่เมืองเดียวกัน แต่ความเป็นบุคคลไม่เหมือนกัน ความสุขทุกข์ก็มีากน้อยต่างกัน ความโง่ความฉลาดมีแปลกต่างกันเป็นลำดับ นี้ท่านเรียกว่าผลแห่งกรรมแสดงขึ้นมาจากกรรมที่ตนทำไว้ในสถานที่ วันใด เดือนใด ปีใด และชาติใด ต้องปรากฏขึ้นกับจิตของผู้ทำนั้น ผู้ทำต้องเป็นเจ้าของแห่งกรรม เมื่อทำลงไปแล้วผลคือสุขทุกข์ดีชั่วจะต้องเป็นของผู้นั้น

    สุขหรือทุกข์ต้องยอมรับเพราะตนเป็นผุ้รับผิดชอบในกรรมของตนเองโดยหลักธรรมชาติ ไม่มีใครมาบังคับให้เราเป็นผู้รับผิดชอบในผลแห่งกรรมที่ตนทำไว้ ทั้งนี้แม้จะฝืนก็ฝืนไปไม่ได้ เช่น เรามีความทุกข์ทรมานทางกายและเดือดร้อนทางจิตใจ และมีความอดอยากขาดแคลนเพราะความขัดสนจนทรัพย์ เราจะหาตัวแทนมาชดใช้ผลแห่งกรรมคือความทุกข์ของเราย่อมเป็นไปไม่ได้ ต้องเป็นภาระของเราจะต้องรับผลกรรมนั้นๆ โดยถ่ายเดียว แม้ผู้มีความเฉลียวฉลาดและมีสมบัติมาก ทั้งไม่ค่อยเกิดโรคภัยไข้เจ็บ มีความสุขกายสบายใจ คิดอะไรมีมาสนองความต้องการประหนึ่งเทพบันดาล จะไปไหนมาไหนมีคนแห่แหนและนับหน้าถือตา มียศฐานะบรรดาศักดิ์ศฤงคาร บริวารเงินทองกองสมบัติเหลือจะใช้จ่าย นำไปฝากไว้ที่ธนาคารก็เป็นจำนวนมากมาย นี่จะให้ใครมารับภาระของเราไม่ได้เหมือนกันเราต้องเป็นผู้รับผิดชอบในผลแห่งกรรมดีของเราเอง เรื่องของกรรมต้องเป็นอย่างนี้ และเจ้าของแห่งกรรมดีคือใจดวงรู้อันนี้เพราะเหตุนั้น ใจจึงเป็นของสำคัญซึ่งครองร่างกายอันนี้อยู่ และใจเป็นของสำคัญทั้งทางโลกและทางธรรม เราจึงไม่ควรประมาทใจ พยายามอบรมไปในที่ที่ดีจนชินต่อนิสัย คำว่าทางที่ดีนี้คืออยู่ทางโลกก็ทำตนให้เป็นพลเมืองดี ประกอบทางธรรมก็เป้นผู้มีความมุ่งหวังต่ออรรถต่อธรรมต่กุศลอย่างยิ่ง นี่เรียกว่าอบรมบ่มนิสัยของเราให้มีความเคยชินต่อความดีจนเป็นนิสัยติดใจเมื่อนิสัยที่เคยอบรมในทางความดีจนเคยชินแล้วนั้น ผลคือความดีที่ปรากฏแก่ใจซึ่งเป็นเจ้าของและผู้รับผิดชอบ จะปรากฏตั้งแต่ความดีทั้งนั้น ปรารถนาสิ่งใดได้สมหวัง เพราะสิ่งที่หวังนั้นคือสมบัติของการกระทำที่ตนได้ก่อเหตุไว้แล้วเราจะจำได้หรือไม่ได้ก็ตามผลนั้นเราจะปฏิเสธไม่ได้ เช่นเดียวกับเรียนหนังสือในคราวเป็นนักเรียน เราคงจะจำไม่ได้ทุกระยะว่าเราเรียนวิชาความรู้ในโรงเรียนนั้นๆ ตั้งแต่วันเริ่มแรกเราเข้าโรงเรียนวันที่เท่าไร วันหนึ่งครูสอนวิชาให้เรากี่วิชา และวิชาที่ครูสอนเรานั้นเราจำได้วันหนึ่งกี่ข้อ และจากวันนั้นจนถึงวันนี้เราได้เรียนมาจากครูกี่คน และกี่วิชากี่แขนงที่เราได้ศึกษาจากครูและโรงเรียนนั้นๆ นับแต่เบื้องต้นหัดเรียนสระและพยัญชนะ และบวกลบคูณหาร และวิชาทั้งหมดที่บรรจุอยู่ในหัวใจของเร ณ บัดนี้ เราเรียนมากี่วัน ในวันหนึ่งเราได้รับถ่ายทอดความรู้จากครูมามากน้อยเท่าไร ไม่มีใครจะสามารถรู้ได้ในวิชาของตนทั้งๆ ที่ตนเป็นผู้เรียนมาเอง แต่จะปฏิเสธไม่ได้ว่าเราไม่มีความรู้ นึกถึงตัว ก. ก็ออกมาทันที นึกถึงตัว ข. ตัวค. ก็ออกมาทันที นึกถึงสระพยัญชนะ นึกถึงเลขตั้นแต่เลข ๑ ถึงเลขที่เราต้องการและตามหลักวิชาที่เล่าเรียนมาทั้งหมด พอนึกถึงตัวไหนก็ออกมาทันที แม้เราจะจำชื่อจำเสียงของครูซึ่งเป็นผู้ถ่ายทอดวิชาความรู้ให้แก่เราไม่ได้ และเราเป็นผู้รับถ่ายทอดจากครูมาสักกี่คนกี่โรงเรียนและกี่วิชาก็ตาม การจำได้หรือไม่ได้นั้นไม่เป็นสิ่งสำคัญ สิ่งที่ปฏิเสธไม่ได้คือความรู้ที่เราเรียนมาจากครู เวลานี้ปัจจุบันอยุ๋ที่ใจของเราเท่านั้น นึกอะไรก็ปรากฏขึ้นมาตามต้องการข้อนี้ฉันใด ความงามความดีที่เราได้สร้างไว้ก็เหมือนกันไม่จำเป็นที่เราจะจำได้ทุกแง่ทุกกระทงว่าเราได้ทำคุณงามความดีไว้กี่ครั้ง อบรมบ่มนิสัยของเรามากี่ชาติกี่ภพ ผลที่ปรากฏก็ต้องอยู่ที่ใจของเรา เช่นเดียวกับความรู้ที่เราเรียนมาจากครูฉะนั้น

    อ่านต่อ ทีนี้จะอธิบายหลักแห่งกรรมซึ่งเป็นเจ้าตัวแห่งวัฏฏะ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 3 กุมภาพันธ์ 2011
  4. anand

    anand เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 พฤษภาคม 2009
    โพสต์:
    1,118
    ค่าพลัง:
    +641
    ทีนี้จะอธิบายหลักแห่งกรรมซึ่งเป็นเจ้าตัวแห่งวัฏฏะ และย้อนอธิบายถึงเรื่องวัฏจักรคือใจดวงนี้ที่จะไปก่อรูปก่อนาม เมื่อมีคุณงามความดีที่เราสร้างไว้แล้ว เราตายไปแล้วก็จะต้องไปเกิดในสถานที่ดี คติที่งาม สิ่งที่จะมาเป็นสมบัติของเราล้วนแล้วแต่เป็นสิ่งที่เราพึงปรารถนาทั้งนั้น นี้ขึ้นอยู่กับกรรมดี แม้เราจะจำชื่อจำนามของกรรมดีและจำวันที่เวลาเรากระทำกรรมดีว่าได้กระทำไว้กี่ครั้งไม่ได้ก็ตาม ไมเป็นปัญหาอะไร ที่สำคัญก็คือสิ่งที่เราได้รับเป็นเจ้าของนั้นมีแต่ของดีทั้งนั้น เป็นลูกก็ดี เมียก็ดี ผัวก็ดี หลานก็ดี ญาติมิตรสหายทั้งหลายที่เกี่ยวข้องงกับเรามีแต่คนดี ใครๆ ที่มาคบค้าสมาคมกับเราทั้งใกล้ทั้งไกลมีแต่คนดี สมบัติบริวารที่อยู่ในครอบครองมีแต่ของดีทั้งนั้น นี่เกิดขึ้นจากกรรมดีของเรา ทีนี้ถ้าทำกรรมชั่วเล่า ก็เช่นเดียวกัน ใครจะนับอ่านได้มากน้อยหรือไม่ได้ก็ตาม จะต้องมาแสดงให้เราเห็นอยู่ในตัวของเรานี้เอง อะไรที่เป็นของเรากลายเป็นของชั่วเสียทั้งนั้น ผู้หญิงก็ดี ผู้ชายก็ดี เมื่อเป็นลูกของเขาอยู่ก็รุ้สึกว่าดี แต่ตกมาเป็นเมียเป็นผัวของเราแล้วมันกลายเป็นข้าศึกไปทั้งนั้น แม้ลูกหญิงลูกชายที่เกิดในหัวอกของเราแท้มันก็ไม่ดี สุภาพบุรุษสุภาพสตรีเมื่อมาเกี่ยวข้องกับเรากลายเป็นคนไม่ดีไปตามๆ กันสมบัติทุกๆ ชิ้นเมื่อเป็นของคนอื่นมันดี เมื่อตกทอดมาเป็นของเราเลยกลายเป็นของเก๊ไปเสียทั้งนั้น นี่เป็นเพราะความชั่วมันอยู่กับตัวของเรา หลักใหญ่คือเจ้าของผู้รับผิดชอบมันอยู่กับตัวเราซึ่งทำชั่วเอาไว้ สิ่งทั้งหลายตกทอดมาถึงเราจึงกลายเป็นของชั่วไปตามเรา เราจะตำหนิว่าสิ่งนั้นไม่ดีก็ไม่ได้ เพราะเจ้าของมันชั่ว มันก็กลายเป็นของชั่วตามเจ้าของ เจ้าของหมายถึงใจผู้ทำ ใจที่ครองร่างอยู่จึงหมายเอาหมดทั้งตัวของเรานี้ว่าเป็นผู้ชั่ว เรื่องกรรมมันเป็นอยู่เช่นนี้ นี่อธิบายถึงเรื่องกรรม หลักที่ใช้เป็นความหมุนเวียนเปลี่ยนแปลง เกิดแก่เจ็บตายไม่แล้วไม่เล่าเป็นอย่างนี้

    ถึงอย่างไรก็ตาม เมื่อคุณงามความดีคือกรรมอันดีซึ่งเราได้พยายามอบรมสั่งสมเอาไว้จนเป็นผู้ชินต่อนิสัยในทางความดีแล้วนั้น แม้จะเดินไปตามถนนหนทางที่เราจะไปสู่จุดต่างๆ เช่นเดียวกับมนุษย์ในโลกเขาก็ตาม แต่ผู้ที่มีทรัพย์สมบัติเป็นเทพบันดาลแล้วย่อมไปด้วยความสะดวกกายสบายใจ ขึ้นเครื่องจักรเครื่องยนต์จอดที่ไหนพักที่ไหน มีบ้านพัก มีโรงแรม มีตลาดร้านค้า จะจับจ่ายใช้สอยอะไรก็ได้สะดวกด้วยเงินของเขา แต่ผู้มีทรัพยสมบัติน้อยหรือไม่มีทรัพย์สมบัติเลย เดินตากแดดวันยังค่ำแทบจะตายได้ทานไม่กี่บาท แม้ที่พักก็ต้องอาศัยร่มไม้ นอนอยู่กับดินกินอยู่กับหญ้า ไม่มีหลังคาเครื่องปกปิดกำบัง ยุงกัดแมลงตอม ฝนตกแดดออก เราเป็นผู้รับเคราะห์ทั้งนั้น จนกว่าจะถึงที่เขาประสงค์ก็กินเวลานาน ความแตกต่างกันแห่งการเดินทางแม้จะไปในทางสายเดียวกันก็มีความช้าความเร็ว มีความสะดวกขัดข้องต่างกันอย่างนี้ เพราะการก้าวไปแห่งบุคคลทั้งสองจำพวกนี้มีความต่างกัน คนจำพวกที่กล่าวไว้ก่อนนั้นคือจำพวกที่มั่งคั่งสมบูรณ์ มีทรัพย์มาก จะไปไหนสะดวกสบายเหมือนมีนางขับกล่อมบำรุงบำเรอ มีผู้บริการคนรับใช้อยู่ตามระยะทางจนถึงสถานที่อยู่ เพราะเงินทองของมีค่าเป็นเจ้าอำนาจวาสนาเกิดมาจากเจ้าของเองที่หามาได้ด้วยความชอบธรรม กลายเป็นความสุขแก่ตนเอง แต่พวกคนข้างหลังนั้น ไปไหนก็อดอยากขาดแคลน ทางก็แร้นแค้นกันดาร ไม่มีความสะดวกกายสบายใจ แม้ไปถึงแล้วจะหาที่พักอาศัยก็ไม่ได้ เป็นความไม่สะดวกไปเสียทั้งนั้น เราเดินอยู่ในวัฏสงสารก็เหมือนกัน บางคนเกิดมาไม่มีโอกาสที่จะได้เห็นความสุขความเจริญเห็นแต่ความทุกข์ความข้นแค้น หาเช้ากินเย็นไม่พอปากพอท้อง ลำบากลำเค็ญเข็ญอกเข็ญใจ ไร้ทรัพย์อับปัญญา หากินวันหนึ่งๆ ควรจะพอปากพอท้องก็ไม่พอ สองวันสามวันจะอิ่มท้องวันหนึ่งก็ทั้งยาก ทั้งๆ ที่ของในโลกนี้มีไม่อดและมีเต็มอยู่ทั่วแผ่นดินตามตลาดร้านค้าทั่วๆ ไป แต่จะถือมาเป็นสมบัติของตัวนั้นมันจนใจที่ไม่มีอะไรจะแลกเปลี่ยนและไม่มีเงินจะซื้อ สุดท้ายก็ต้องยอมอดแสบท้องนอนบนแผ่นดิน เราเห็นอยู่เต็มตา ในตลาดเมืองอุดรของเรานี้มีทั้งคนมั่งมี มีทั้งคนจนนอนอยู่ตามถนนหนทาง ไม่มีเสื้อผ้าจะปกปิดกาย แม้กางเกงตัวหนึ่งก็ติดต่อกันไม่รู้กี่ชิ้น ชิ้นนั้นต่อชิ้นนี้ ปะๆ ชุนๆ เต็มไปด้วยความขาดวิ่นแห่งกางเกงและเสื้อผ้าที่เขานุ่งห่ม ความเป็นทั้งนี้เพราะความจนบังคับ มองดูแล้วน่าทุเรศสงสารในความเป็นมนุษย์ตาดำๆ เหมือนกัน ซึ่งเป็นได้ถึงอย่างนี้ ผู้ที่เป็นเศรษฐีมีเงินล้านๆ ในอุดรธานีนี้ก็มีมาก

    เหตุใดคนเหมือนกัน ฐานะความเหลื่อมล้ำต่ำสูงจึงต่างกันอย่างนี้ ข้อนี้เราจะไปตำหนิติโทษคนที่เขาจนก็ไม่ได้ จะไปชมคนมั่งมีถ่ายเดียวก็ไม่ได้ เพราะมีก็ขึ้นอยู่กับกรรม จนก็ขึ้นอยู่กับกรรม กรรมนั้นก็มีอยู่กับเราเหมือนกัน ถ้าเราต้องการให้เป็นคนประเภทที่น่าสังเวชและน่าขยะแขยง เราก็ต้องทำกรรมอย่างนั้น ต้องเป็นคนอย่างนั้น ถ้าเราต้องการเป็นคนมั่งมี เราต้องพยายามฝึกฝนอบรมตัวเรา ดัดแปลงตัวเราให้เป็นผู้หนักในทางความดี มีความขยันหมั่นเพียร มีความอุตส่าห์พยาามทุกๆ ทางที่จะให้เกิดขึ้นแห่งโภคสมบัติ เราก็จะกลายเป็นคนที่สองขึ้นมา ในคนดีและมั่งมีตามบุคคลประเภทที่กล่าวนั้น สิ่งทั้งหลายในโลกนี้พอทำได้หาได้ เกิดขึ้นจากน้ำใจเป็นของสำคัญ นี้อธิบายถึงการท่องเที่ยวในวัฏสงสาร เป็นของแตกต่างกันโดยอำนาจวาสนาบุญญธิสมภารอย่างนี้

    ผู้มีอำนาจวาสนาสามารถแล้วนั้น ไปในทางใดก็ไม่มีความยุ่งเหยิงเป็นไปด้วยความสวัสดี จะมาเกิดในโลกนี้ไม่ได้รับความทุกข์ลำบากจนถึงจุดหมายปลายทางคือความพ้นทุกข์เช่นองค์สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าของเรา ปรากฏว่าเวลามาประสูติในตระกูลกษัตริย์เป็นพระเจ้าแผ่นดินครองกรุงกบิลพัสดุ์ ไม่มีความขัดข้องขาดแคลน มีแต่ความสะดวกไปเสียทั้งสิ้น ทั้งโภคสมบัติศฤงคารบริวารเครื่องทรงทุกอย่างไม่มีอะไรขัดข้องบำเพ็ญคุณงามความดี ในเวลาพระองค์เสด็จออกบวชก็ตรัสรู้เป็นศาสดาของโลก เสด็จไปที่ไหนก็มีแต่มนุษย์เทวบุตรเทวดาบูชาวันยังค่ำคืนยังรุ่ง เต็มไปด้วยเครื่องสักการะ จะว่าเกิดขึ้นด้วยอำนาจของพระพุทธเจ้าก็ไม่ใช่ แต่เกิดขึ้นเพราะความดีของพระองค์ต่างหาก แม้พระพุทธเจ้าที่ปรากฏขึ้นในพระองค์ก็เกิดความคุณงามความดีนี่ก็เหมือนกัน ผู้ใดมีปัญญาเฉลียวฉลาดพินิจพิจารณาอบรมจิตใจของน แม้จะมาเกิดในโลกมนุษย์ก็จะเป็นคนดี มีพออยู่พอกิน พอเป็นพอไป ที่อยู่อาศัยปัจจัยเครื่องใช้สอยตลอดถึงสมบัติที่มีวิญญาณและไม่มีวิญญาณจะเป็นลูกเป็นเมียเป็นผัวและเพื่อนฝูงจะเป็นคนดีมีสง่าราศีเป็นที่ไว้วางใจกันได้ นี่ก็เกิดขึ้นเพราะอำนาจแห่งความดีของพระองค์ต่างหาก แม้พระพุทธเจ้าที่ปรากฏขึ้นในพระองค์ก็เกิดจากคุณงามความดีนี่ก็เหมือนกัน ผู้ใดมีปัญญาเฉลียวฉลาดพินิจพิจารณาอบรมจิตใจของตน แม้จะมาเกิดในโลกมนุษย์ก็จะเป็นคนดี มีพออยู่พอกิน พอเป็นพอไป ที่อยู่อาศัยปัจจัยเครื่องใช้สอยตลอดถึงสมบัติที่มีวิญญาณและไม่มีวิญญาณจะเป็นลูกเป็นเมียเป็นผัวและเพื่อนฝูงจะเป็นคนดีมีสง่าราศีเป็นที่ไว้วางใจกันได้ นี่ก็เกิดขึ้นเพราะอำนาจแห่งความดี

    อ่านต่อ เมื่อเราท่องเที่ยว


    PaLungJit.com - ขอเชิญร่วมถวายพระไตรปิฎก ปี๒๕๕๔
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 7 กุมภาพันธ์ 2011
  5. anand

    anand เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 พฤษภาคม 2009
    โพสต์:
    1,118
    ค่าพลัง:
    +641
    เมื่อเราท่องเที่ยวในวัฏสงสารอยู่ ก็ขอให้ได้รับความสะดวกกายสบายใจเพราะอำนาจแห่งกรรมดี เมื่ออำนาจวาสนามีจนเพียงพอแล้วเราก็จะปรากฏ เตสํ วูปสโม สุโข จะระงับซึ่งสังขารที่เต็มไปด้วยความเกิดแก่เจ็บตายอันนี้เสียได้ คำว่า เตสํ วูปสโม สุโข การระงับสังขารนี้มี ๒ ประเภท คือ การระงับสังขารภายนอกได้แก่สังขารร่างกายนี้ประเภทหนึ่ง ระงับสังขายภายในคือความคิดความปรุงของใจ ซึ่งเกิดขึ้นเพราะอำนาจอวิชชาอันเป็นตัวบงการนั้นประเภทหนึ่ง เหตุที่จะปรากฏสังขารภายนอกคือร่างกายนี้ขึ้นมา ก็เนื่องจากสังขารภายในคือความปรุงความคิดของใจเป็นเหตุก่อ เหตุจะปรากฏสังขารภายในขึ้นมาเพราะอำนาจแห่งอวิชชาคือความหลงตัวเอง แม้จะเที่ยวเกิดแก่เจ็บตายอยู่กี่กัปกี่ปัลป์นับชาติไม่ได้ก็ไม่สามารถจะถอนตนออกจากวัฏฏะนี้ได้ ท่านเรียกว่า อวิชชาความหลงในความเป็นอยู่ในความรู้อยู่ของตน จะทุกข์ลำบากก็ดี สุขก็ดี ตนได้เคยรู้เคยเห็นเคยประสบมาจนเพียงพอ แต่ก็ไม่รู้ทางจะออกจากสงสารจักรอันนี้ได้ จึงเต็มไปด้วยความสุขความทุกข์ระคนปนเป เช่นเดียวกับข้าวและแกลบรำผสมกันอยู่ รับประทานก็ไม่มีความเรอ็ดอร่อย โลกที่มีความเจือปนไปด้วยทุกข์ แม้จะมีสุขก็สุขเพื่อทุกข์เป็นของเจือปนกันอยู่เช่นนี้ ท่านจึงให้นามโลกอันนี้ว่า โลกสังขารธรรม ได้แก่ อนิจฺจา วต สงฺขารา แปรปรวนอยู่ตลอดเวลา ขณะเกิดมีความยิ้มแย้ม แต่ขณะตายมีความเสียใจ นั่นมันเกิดจากสาเหตุคือความหลงสังขารอันเกี่ยวกัน ทีแรกเมื่อเกิดขึ้นมาเป็นหญิงก็ตามเป็นชายก็ตาม แหมลูกเรานี้มันสวยเหลือเกิน มันน่ารักน่าปลื้มใจเหลือเกิน ทั้งมีความฉลาดรอบคอบ บอกง่ายสอนง่าย ไม่ดื้อดึงฝ่าฝืนคำสอนของพ่อแม่ผู้ปกครอง พอตายเท่านั้นร้องไห้โฮ นี่ก็ความหลงสังขารนั่นเอง ถ้าเราคิดไม่รอบคอบแล้วจะเห็นแต่ได้ท่าเดียวไม่คิดดูท่าเสีย นี่แสดงว่าไม่พิจารณาถึงหลักเหตุผลคือความจริง จึงเกิดความเดือดร้อนเมื่อภายหลัง ความดีใจที่ได้ในเบื้องต้นเลยไม่พอกับความเสียใจที่ได้รับภายหลัง เบื้องต้นมีความดีใจี่ได้อะไรมาตามความปรารถนา แต่เวลาสิ่งนั้นกลายกลายพลัดพรากจากไปเสียเลยเกิดความเสียใจขึ้นมายิ่งมากกว่ารายได้ที่ปรากฏขึ้นนั้นเสียอกี เพราะขาดเหตุผลรายได้กับรายเสียจึงไม่เพียงพอกัน คนที่มีเหตุผลไม่คิดเช่นนั้น คนที่มีหลักธรรมแล้วย่อมคิดเห็นทั้งได้ขึ้นมาและรู้รอบคอบทั้งเสียไปจึงไม่เสียใจ สังขารประเภทนี้ปรากฏขึ้น พึงทราบว่าเงาคือความดับมันจะต้องมาตามๆ กัน แต่ไม่วันใดก็วันหนึ่งเท่นั้นต้องแน่นอนในความแตกสลายในกความดับไปของสังขารธรรมประเภทนี้ แม้สมบัติอื่นที่ได้มาและเสียไปก็ควรมีหลักเหตุผลเป็นเครื่องค้ำประกันจะบรรเทาความดีใจเสียใจลงได้ไม่รุนแรง

    สังขารธรรมคือกายปรากฏขึ้นมาจากสังขารภายใน สังขารภายในปรากฏขึ้นมาจากอวิชชาคือความหลงตัวเอง เมื่อมีศีล มีสมาธิมีปัญญา เป็นเครื่องอบรมตนจนสามารถแก่กล้าแล้ว จะไม่เห็นตัววัฏฏะที่หมุนอยุู่กับหัวใจของตนตลอดเวลาได้อย่างไร การพยายามทำใจของเราให้เห็นบ่อแห่งความหมุนเวียนของตนเอง องค์สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงชี้ช่องทางว่า จงพยายามให้ทาน จะเป็นทานประเภทใด คืออภัยทานก็ตาม ทานด้วยวัตถุสิ่งของก็ตาม มากน้อยไม่สำคัญ สำคัญที่ทำอยุู่เสมอ นี่เป็นผลและเป็นช่องทางหรือเป็นเครื่องมืออันหนึ่ง พยายามรักษาศีลได้มากน้อยก็ตามด้วยความเต็มอกเต็มใจ นี้จัดว่าเป็นเครื่องมือที่จะแก้ตัวอวิชชาอันมืดเต็มดวงนั้นได้ สมาธิ คือความสงบของใจเป็นทางหรือเป็นเครื่องมืออันหนึ่งที่จะแก้ตัววัฏกะนั้นได้ ปัญญาคือความเฉลียวฉลาดนับแต่ปัญญาชั้นต้นจนถึงปัญญาขั้นสุดท้าย เป็นเครื่องมือแต่ละขั้นๆ ที่จะแก้ไขอวิชชาดวงนั้นให้ได้ เมื่อเป้นผู้มีศีลสมาธิหรือมีทานภาวนาจนเพียงพอแล้ว วัฏฏะจะซุ่มซ่อนอยู่ที่ไหน และจะไปอยู่ในเขาลูกใดเล่าวัฏฏะไม่ได้อยู่ในก้นนรกกับพระเทวทัตซึ่งจะแก้ไขยาก แต่มันอยู่กับใจของเราทุกท่าน เราเป็นนักท่องเที่ยว เป็นนักเกิด แก่ เจ็บ ตายมาด้วยกัน ไม่มีใครแพ้ใครชนะ ไม่มีใครได้เปรียบใคร เรื่องความเกิดความตายความสลายความทำลายความวิปโยคพลัดพรากจากสัตว์และสังขาร การท่องเที่ยวในวัฏสงสารนี้มีความเสมอภาคกัน ทำไมเราจะไม่สามารถเห็นตัวจักรซึ่งทำให้เราหมุนเวียนเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลาทำให้เกิดๆ ตายๆ ทุกข์ยากลำบาก หมุนเวียนอยู่อย่างนี้ตลอดทั้งกัปทั้งกัลป์ได้เล่า เมื่อปัญญามีความสามารถพินิจพิจารณาเข้าไปจนเห็นจิตซึ่งเป็นเจ้าวัฏจักรอันเต็มไปด้วยอวิชชาหมุนรอบตัวเองอยู่อย่างนี้ชัดเจนแล้ว เราต้องทำลายจิตที่เป็นวัฏจักรนี่เสียได้ด้วยอำนาจแห่งปัญญาแท้ เมื่อปัญญาได้ทำลายวัฏจักรคือจิตที่เป็นอวิชชานี้เสียได้แล้ว คำว่า เตสํ วุปสโม สุโข ความระงับเสียซึ่งสังขารนั้นมันระงับดับไปเอง เช่นเดียวกับต้นไม้ที่เราถอนขึ้นมาทั้งรากไม่มีอะไรเหลือ กิ่งก้านสาขาทุกชิ้นที่มีอยู่ในต้นไม้นั้น ตลอดลำต้นของเขาเราไม่ต้องไปทำลาย พอรากเหง้าของต้นไม้นั้นถูกถอนขึ้นมาหมดเท่านั้น อวัยวะทุกชิ้นของต้นไม้นับวันจะเหี่ยวยุบยอบและตายไป ไม่มีชิ้นใดเหลืออยู่ ข้อนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน จะเป็นสังขารที่ว่ารูปสังขารคือกายนี้ก็ตาม สังขารที่คิดปรุงขึ้นภายในจิตใจ จะคิดปรุงถึงเรื่องอดีตอนาคตให้ปรากฏเป็นบุญเป็นบาปในปัจจุบันก็ตามจะต้องดับไปหมด เพราะอวิชชาซึ่งเป็นหัวหน้าวัฏจักรหัวหน้าของสังขารซึ่งเป็นตัวสมุทัยนี้ได้ถูกทำลายหายสูญสิ้นไปจากหัวใจแล้ว จะเหลือแต่พุทโธทั้งแท่งได้แก่ใจที่บริสุทธิ์เท่านั้น นั่นแหละเรียกว่า เตสํ วูปสโม สุโข ความระดับดับเสียซึ่งสังขารอันเป็นบ่อเกิดแห่งสมุทัยได้สิ้นสุดลงเพราะอำนาจปัญญาอันมีกำลังกล้าสามารถประหัตประหารตัวอวิชชาซึ่งเป็นเสนียดจัญไรนั้นไม่มีอันใดเหลืออยู่ภายในใจแล้ว จึงกลายเป็น เตสํ วูปสโม สุโข ความระงับดับเสียซึ่งสังขารทั้งหลายนั้นไม่มีอันใดจะไปก่อความทุกข์ทรมาณ ไม่มีอันใดจะไปก่อความทุกข์ ความลำบาก ความดีใจเสียใจอีกแล้ว แม้สังขารคือร่างกายยังครองตัวอยู่แต่สังขารประเภทสมุทัยที่เป็นเครื่องหลอกลวงจิตใจให้ยินดียินร้าย ให้เกิดความดีใจเสียใจ ให้เกิดความทุกข์ยากลำบาก ดับไปแล้ว เช่นเดียวกับเตาไฟ เมื่อหมดเชื้อไฟอยู่ภายในเตาแล้ว จะใส่ฟืนเข้าไปมากน้อยก็สักแต่ว่าเป็นฟืนเท่านั้น ไม่กลายเป็นไฟขึ้นมาได้

    ใจถึงจะเรียกว่าใจก็ตาม แต่ใจนี้ไม่มีเชื้อคืออวิชชาสังขารปรุงขึ้นมาก็เป็นธรรมล้วนๆ คิดเรื่องอะไรก็เป็นธรรมล้วนๆ เวทนาถึงจะเสวยทุกข์บ้างตามสภาพของขันธ์ที่มีอยู่ ก็ไม่เป็นเหตุจะให้เกิดความลุ่มหลงแต่อย่างใด วิญญาณความรู้ในสิ่งที่จะมาสัมผัสก็รับรู้โดยธรรมไม่รับรู้ด้วยความหลง ไม่รับรู้เพื่อเป็นเหตุให้เกิดทุกข์ ให้เกิดสมุทัย สั่งสมกิเลสขึ้นมา เลยกลายเป็นขันธ์ล้วนๆ คือขันธ์ไม่มีกิเลสตัณหา นี่ท่านเรียกว่า เตสํ วูปสโม สุโข ผู้ถึงธรรมดวงนี้แล้วเรียกว่าเป็นผู้ถึงแดนแห่งความพ้นทุกข์ แม้จะมีธาตุมีชันธ์อยู่ก็ไม่มีความเดือดร้อนภายในใจ เป็น เตสํ วูปสโม สุโข อยู่ตลอดเวลา แต่สังขารในขันธ์ ๕ นี้จะระงับไปไม่ได้ เมื่อรูปขันธ์นี้ยังไม่แตกจะต้องใช้อยู่เป็นธรรมดา เหมือนพระพุทธเจ้าของเราท่านตรัสรู้แล้วยังอาศัยขันธ์ทั้งห้านี้เป็นเครื่องมือประกาศศาสนา คืออาศัยร่างกายเดินเหินไปสู่ที่ต่างๆ เพื่อสั่งสอนบรรดาสัตว์ อาศัยสังขารความคิดความปรุงภายในใจของพระองค์เพื่อชี้แจงแสดงธรรมให้บรรดาสัตว์ทั้งหลายฟัง อาศัยสัญญาจำว่าคนนั้นคนนี้อยู่บ้านนั้นมืองนั้น เป็นผู้สมควรจะรับธรรมของพระองค์ท่านได้ขนาดไหน วิญญาณความรับรู้ว่าใครเข้าใจพระสัทธรรมของพระพุทธเจ้าและใครไม่เข้าใจเมื่อมีการตอบรับหรือมีการสนทนากัน เพราะฉะนั้น ขันธ์ ๕ นี้จึงเป็นเครื่องมือประกาศศาสนา แต่ไม่ใช่เป็นขันธ์ที่จะทำพระองค์ให้วุ่นวายเหมือนแต่ก่อนมา ขันธ์ที่ทำพระองค์ให้วุ่นวายได้แก่ขันธ์ที่มีอวิชชาครอบตัวอยู่ และเป็นเครื่องมือของอวิชชาที่มีบัญชาออกมาทางไหนก็กลายเป็นสมุทัยไปทั้งนั้น เดือดร้อนวุ่นวายไปทั้งวันทั้งคืน เพราะเหตุแห่งขันธ์เหล่านี้ได้รับการกดขี่บังคับออกจากสมุทัยตัวใหญ่ได้แก่อวิชชา เมื่ออวิชชาดับไปแล้ว พึงทราบว่าสังขารอันเป็นสมุนของอวิชชาได้ดับลงไปพร้อมในขณะเดียวกัน จึงเรียกว่า เตสํ วูปสโม สุโข กระระงับดับเสียซึ่งสังขารท่านกล่าวว่าเป็นความสุขอันยิ่งนั้น หมายถึงธรรมดวงนี้เอง

    บรรดาเราทุกๆ ท่าน สังขารที่เป็นตัวสมุทัยก่อความยุ่งยากแก่ตนอยู่ทั้งวันทั้งคืน เราก็พอทราบอยู่ภายในจิตใจ เมื่อได้อบรมจิตใจให้เป็นไปเพื่อความสงบเราก็พอทราบได้ จนกระทั่งเรามีปัญญาสามารถประหัตประหารกิเลสอาสวะเข้าไปเป็นชั้นๆ ตั้งแต่ชั้นหยาบ ชั้นกลาง ชั้นละเอียด จนถึงชั้นละเอียดที่สุดไม่มีอะไรเหลืออยู่ภายในจิตใจ แม้แต่อวิชชาที่เป็นเจ้าการแห่งวัฏจักรก้ได้ถูกทำลายลงแล้วด้วยปัญญา ไม่มีอะไรเหลืออยู่กลายขึ้นมาเป็น เตสํ วูปสโม สุโข ระงับสังขารอย่างราบคาบ เมื่อสังขารภายในใจที่เป้นไปเพราะอำนาจแห่งอวิชชาดับไปแล้วก็ไม่สร้างเป็นสังขารประเภทใหม่ขึ้นมา มีความระงับดับเสียซึ่งสังขารอยู่ตลอดเวลา แม้ออกจากร่างนี้แล้วก็ไม่เข้าไปสู่ปฏิสนธิที่ไหน ไม่ต้องเป็นนักเกิดแก่เจ็บตายอีกต่อไป เหมือนพระพุทธเจ้าของเรา เพราะท่าระงับดับเสียได้ซึ่งสังขารอันเป็นตัวเสนียดจัญไรอันเป็นเหตุให้ท่องเที่ยวในวัฏฏะนี้เสีย ไม่มีอันใดที่ก่อกำเนิดต่อไปอีก เป็นสุคโตเสด็จไปดีมาดี แนะนำสั่งสอนประชาชนทั้งหลายให้เป็นประโยชน์ เมื่อถึงกาลอายุขัยของพระองค์แล้ว พวกเราทั้งหลายเรียกว่า ปรินิพพาน ปล่อยสังขารอันนี้ไว้ให้โลกได้กราบไหว้บูชา หรือปล่อยให้เป็นดินน้ำลมไฟ ไปตามธรรมชาติ ธรรมชาติที่แท้จริง คือ วิมุตฺตพุทฺโธ ของพระองค์เป็นสมบัติของพระพุทธเจ้าแต่ผู้เดียว นี่เรียกว่าสมบัติที่เป็น เตสํ วูปสโม สุโข เป็นธรรมทั้งแท่ง เป็นความบริสุทธิ์ล้วนๆ ไม่มีอันใดเจือปน

    นี่แลธรรมเทศนาวันนี้ได้แสดงเรื่องสังขารธรรม บรรดาท่านผู้ฟังทั้งหลายได้ยินว่า อนิจฺจา วต สงฺขารา จะเข้าใจว่าเป็นภาษิตที่กล่าวซ้ำๆ ซากๆ แต่ธรรมชาติที่ถูกกล่าวคือความตายมันตายอยู่ตลอดเวลาแม้อยู่ ณ บัดนี้มันก็ตายและเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา ที่เราอยู่นี่มันก็ตายในบ้านในป่าภูเขาลำเนาไม้มันก็ตาย ในน้ำมันก็ตายบนบกมันก็ตาย ตายทั้งวันทั้งคืน ถ้าหากว่ามีเสียงเหมือนกับเสียงปืนแล้ว เยื่อหูของเราทั้งหลายแตกทำลายไม่มีอันใดเหลือ เพราะความแปรมันก็ดังขึ้นมา ความแตกความสลายมันก็ดังขึ้นมา ความทุกข์ยากลำบากในครอบครัวเหย้าเรือนแต่ละครอบครัวมันก็ดังขึ้นมา สัตว์ได้รับความทุกข์มันก็ดังขึ้นมา ที่อยู่ใต้น้ำมันก็ดังขึ้นมา อยู่บนบกมันก็ดังขึ้นมา แม้ที่สุดพวกเรานั่งฟังเทศน์อยุ๋ ณ บัดนี้ เกิดความทุกข์ต่างก็จะดังขึ้นมา เหมือนกับเสียงปืนดังเรื่องกองทุกข์เยื่อหูก็จะไม่สามารถต้านทานอยู่ได้ เพราะกองทุกข์มันประกาศลั่นโลกอยู่อย่างนี้ เมื่อเป็นเช่นนี้จะไม่ให้ว่า อนิจฺจา วต สงฺขารา อย่างไร มันเป็นซ้ำๆ ซากๆ อยู่ตลอดเวลา ต้องแสดงตามความจริงที่มันเป็นอยู่เช่นนี้ให้บรรดาท่านผู้ฟังทั้งหลายได้พิจารณาว่า สิ่งทั้งหลายเหล่านี้เมื่อมีอยู่มันก็แสดงเสียงลั่นอยู่ตลอดเวลาอย่างนี้ แต่มันไม่มีปืนให้สัญญาณแก่เราในขณะความทุกข์หรือความแปรปรวนปรากฏขึ้นในสัตว์และสังขารแต่ละรายๆ จึงคล้ายๆ กับว่ามีทุกข์แต่เราคนเดียว มีความเดือดร้อนแต่เราคนเดียว มีความฟุ้งซ่านวุ่นวายแต่เราคนเดียว มีความยากลำบากแต่เราคนเดียว ขัดสนจนทรัพย์และอับปัญญาแต่เราคนเดียว ไม่ดีแต่เราคนเดียว โลกเขาคล้ายกับว่าเป็นทองคำไปหมด ที่จริงโลกมันโลกเดียวกันธาตุขันธ์อันเดียวกัน โลก อนิจฺจา วต สงฺขารา อันเดียวกัน หัวใจอันเดียวกัน มันเป็นทุกข์อย่างเดียวกันนี่เอง ขอให้บรรดาท่านผู้ฟังทั้งหลายพินิจพิจารณาในภาษิตที่ได้ยกขึ้นไว้ว่า อนิจฺจา วต สงฺขารา สังขารทั้งหลายภายนอกภายในทั้งของท่านของเรามันไม่เที่ยง อุปฺปาทวยธมฺมิโน อุปฺปชฺชิตฺวา นิรุชฺฌนฺติ เกิดขึ้นแล้วไม่ว่าอยู่ที่ไหนๆ มันแตกด้วยกันทั้งนั้น เตสํ วูปสโม สุโข จงพยายามทำความระงับเสียซึ่งต้นเหตุคือสังขารอันเป็นตัวสมุทัยให้ดับสิ้นซากไปเสียจากใจ แล้วสังขารที่เป็นตัวผล คือ อนิจฺจา วต สงฺขารา ความเกิดความตายแห่งสังขารนี้จะไม่ปรากฏแก่ใจของเราให้เป็นความกังวลต่อไปอีก เรียกว่าถึงสันติธรรมอันราบคาบได้แก่บรมสุขคือวิมุตติพระนิพพาน

    ในอวสานแห่งพระธรรมเทศนานี้ ขอบุญญานุภาพแห่งองค์สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้า พร้อมทั้งพระธรรมและพระสงฆ์จงมาปกเกล้าเหล่าท่านพุทธศาสนิกชนทั้งหลาย ที่ได้อุตส่าห์จากบ้านจากเรือนมาสดับตรับฟังพระสัทธรรมเทศนาโดยความเต็มอกเต็มใจ จงมีความสุขกายสบายใจทุกทิวาราตรีกาล ดังได้รับประทานวิสัชนามาในพระธรรมคำสั่งสอนขององค์สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าก็นับว่าสมควรแก่เวลา ขอยุติลงด้วยเวลาเพียงเท่านั้ เอวํ ก็มีด้วยประการฉะนี้
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 7 มีนาคม 2011
  6. anand

    anand เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 พฤษภาคม 2009
    โพสต์:
    1,118
    ค่าพลัง:
    +641
    "กำหนดพิจารณาเรื่องความเกิดความดับของสังขารทั้งของเขาทั้งของเราตลอดทั้งโลกธาตุ เห็นเป็นสภาพไตรลักษณ์เท่านั้น คือ อนิจจํ ทั่วทั้งโลกธาตุนับตั้งแต่ตัวของเราไป ทุกฺขํ เป็นความทุกข์เช่นเดียวกัน อนตฺตา ตายแล้วใครจะถือเอาสิ่งใดๆ จากโลกนี้ไปสู่โลกหน้าไม่ได้ ที่สุดแม้แต่ผมเส้นเดียวซึ่งเป็นของเบาที่สุดที่เราไปไหนมาไหนติดตามตัวของเราไปได้ แต่เมื่อจากโลกนี้ไปแล้วต้องมอบคืนเป็นสมบัติเดิม คือ ดิน น้ำ ลม ไฟ สิ่งที่เหลือไปก็คือดวงใจ และสิ่งที่แฝงไปกับดวงใจนั้น คือความดีและความชั่วซึ่งตนได้สั่งสมไว้ในคราวมีชีวิตธรรมชาติทั้งนี้เป็นเงาตามตัว"




    กัณฑ์ที่ ๒
    ณ วัดโพธิสมภรณื อุดรธานี
    ๔ สิงหาคม ๒๕๐๕
     
  7. anand

    anand เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 พฤษภาคม 2009
    โพสต์:
    1,118
    ค่าพลัง:
    +641
    กัณฑ์ที่ ๒
    ณ วัดโพธิสมภรณ์ จังหวัดอุดรธานี
    วันที่ ๔ สิงหาคม พ.ศ.๒๕๐๔

    นโม ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมาสมฺพุทฺธสฺส
    อริยํ วต ยํ กาโย ปฐวี อธิเสสฺสติ
    ฉุฑฺโฑ อเปตวิญฺญาโณ นิรตฺถํว กลิงฺครนฺติฯ

    บัดนี้ จะได้แสดงพระสัทธรรมเทศนาที่เป็นโอวาทคำสอนขององค์สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้า เพื่อให้สำเร็จประโยชน์เป็นธรรมสวนานิสงส์แก่บรรดาท่านผู้ฟังทั้งหลาย ฉะนั้นพึงตั้งใจของตนเพื่อจะสดับตรับฟังโอวาทคำสอนของพระพุทธเจ้า จะได้สำเร็จประโยชน์ในขณะที่ฟังเทศน์ด้วย จะสำเร็จประโยชน์ในกาลต่อไปด้วย

    การฟังธรรมเป็นความจำเป็นสำหรับเราซึ่งเป็นพุทธบริษัททุกๆ ท่าน เพราะธรรมเต็มไปด้วยหลักเหตุผล ผู้จะประพฤติปฎิบัติจะเป็นทางโลกหรือทางธรรม ธรรมเป็นเครื่องชี้แนวทางไว้ทั้ง ๒ ทาง ผู้จะดำเนินในทางโลกย่อมเป็นความจำเป้นสำหรับอุบายวิธีหรือความฉลาดที่จะนำไปปฏิบัติในกิจการนั้นๆ ให้ถูกต้องและราบรื่นแก่ตนเอง ผู้จะปฏิบัติในทางธรรมจะเป็นความสะดวกไม่ผิดพลาด เพราะสิ่งใดถ้าปราศจากการสดับตรับฟังให้เข้าใจและรู้วิธีการไว้ก่อนแล้วทำไปโดยไม่ได้ศึกษา ไม่ว่าทางโลกหรือทางธรรม ย่อมอาจทำให้ผิดพลาดได้ง่ายหรือแม้เกิดผลก็ไม่สมบูรณ์ เพราะฉะนั้น บรรดากิจการทั้งปวงต้องอาศัยการสำเหนียกศึกษาให้เรียบร้อยมาก่อน การศึกษาจึงเป็นของจำเป็น จะเป็นเข็มทิศชี้แนวทางการดำเนินเพื่อสำเร็จเป็นผลขึ้นมาด้วยดีไม่ว่ากิจการงานใดๆ ทั้งนั้น ถ้าปราศจากการศึกษาเพื่อความเข้าอกเข้าใจแล้ว การงานที่จพึงกระทำนั้นๆ ย่อมไม่สมบูรณ์ เฉพาะอย่างยิ่งในทางพระพุทธศาสนา องค์สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าจึงทรงสนพระทัยอย่างยิ่ง และปรากฏว่าได้ทรงศึกษาเพื่อสร้างพระบารมีมาเป็นเวลานาน และใช้อบรมบรรดาพุทธบริษัททั้งหลายให้รู้หนทางดีและชั่วเพื่อดำเนินตนให้ถูกทาง แม้พระองค์เองปรากฏว่าเป็นสยัมภูรู้เองเห็นเองก็ตาม ก็ต้องให้เสด็จออกทรงผนวชและทรงศึกษาในหลักธรรมชาติที่กระตุ้นเตือนพระทัยอยู่รอบด้าน ถึงกับทรงสลดสังเวชและทรงทนต่อเหตุการณ์เช่นนั้นไม่ได้ ดังนั้น การสำเหนียกศึกษาหรือการสนใจในตัวเหตุผลจึงเป็นการศึกษาอยู่ในตัวแล้ว


    ท่านเสด็จทรงผนวชบวชอย่างคนขอทาน ทรงบำเพ็ญความพากเพียร เจริญภาวนา สละทิฐิมานะจากความเป็นกษัตริย์ ทำพระองค์เป็นขอทาน บำเพ็ญสมณธรรมอยู่ในป่าในเขา ซึ่งใครๆ เห็นก็จำไม่ได้ว่านี่คือใคร เพราะเห็นเป็นสมณะเพียงศีรษะโล้นๆ เท่านั้น คล้ายกับว่าไม่ได้ทรงสำเหนียกศึกษาจากใคร แต่แท้จริงครูสอนของพระองค์มีอยู่ทั่วๆ ไป และตลอดเวลาทั้งกลางวันกลางคืน พระองค์ทรงทอดพระเนตรใบไม้ร่วงหล่นลงมาจากต้น ก็ทรงพิจารณาว่าใบไม้เมื่อผลออกทีแรกก็เป็นใบอ่อน แล้วก็แปรรูปเป็นใบแก่หล่นร่วงตกลงมา ชีวิตสังขารของเราก็เช่นเดียวกับใบไม้ สิ่งต่างๆ ซึ่งนอกจากนี้มีลักษณะเช่นเดียวกับใบไม้ที่หล่นร่วงตกลงมาจากขั้วของเขา พระองค์ก็ทรงพิจารณาเทียบเหตุผลข้างนอกข้างในให้รู้ชัดตามเรื่องความเป็นจริงด้วยพระปัญญาเพราะสภาพภายนอกกับสภาพภายในมีลักษณะเช่นเดียวกัน คือมีความตั้้งขึ้น มีความแปรไป และมีความแตกดับในที่สุด เมื่อพิจารณาถึงพระองค์เองก็มีลักษณะเช่นนั้น นี่เรียกว่าพระองค์ทรงสดับธรรมทั้งหลายซึ่งเป็นหลักธรรมชาติอยู่ในป่าเฉพาะพระองค์เดียว

    ก่อนจะเสด็จออกทรงผนวชก็ปรากฏว่าทรงได้รับการศึกษาในหลักธรรมชาติอย่างสุดพระทัย ในคืนวันพระองค์เสด็จออกทรงผนวชปรากฏว่าได้ทรงเห็นบรรดานางสนมผู้ขับกล่อมบำรุงบำเรอในหอปราสาท คล้ายกับคนตายและเป็นป่าช้าผีดิบไปเสียทั้งหมด แม้พระองค์เองก็ปรากฏว่าเป็นเช่นนั้นเหมือน จึงเป็นเหตุให้ทรงมีรุ่มร้อนในพระทัยว่า เราจะหาที่ไหนเป็นที่พึ่ง แม้บริษัทบริวารและหอปราสาทราชมนเฑียรที่เราอาศัยอยู่ตั้งแต่วันเกิดจนถึงวันนี้ แต่ก่อนปรากฏเป็นความร่มเย็นเป็นที่รื่นเริงบันเทิงในใจมาในวันนี้มองไปทิศใดปรากฏเป็นเช่นเดียวกับป่าช้าผีดิบไปเสียทั้งสิ้น แม้หอปราสาทที่เราอยู่ ณ บัดนี้ไม่ทราบว่าจะล่มจมทลายลงเมื่อไรพิจารณาย้อนเข้าไปถึงพระองค์เอง สภาพคือสังขารร่างกายของเราที่ประชุมขึ้นมาจากดิน น้ำ ลม ไฟ กลายเป็นสัตว์ เป็นคน เป็นหญิง เป็นชาย ขึ้นมานี้ ก็ต้องมีลักษณะเช่นเดียวกับสภาวะทั้งหลายซึ่งมองเห็นอยู่บัดนี้ สิ่งทั้งหลายที่จะเป็นไปด้วยความเที่ยงแท้ถาวร ไม่ปรากฏว่ามีในที่ไหนๆ ซึ่งพอจะเข้าพึ่งพิงอิงอาศัยให้เป็นที่ร่มเย็นพระทัยมองเห็นอยู่ทางเดียวคือการเสด็จออกผนวชเพื่อหาที่วิเวกสงัดประกอบความพากเพียรพิจารณาต้นเหตุคือป่าช้าผีดิบที่พระองค์ได้ทรงปรากฏในคืนวันนั้นให้ชัดเจนลงไป

    ทรงเทียบพระองค์กับบรรดาบริษัทบริวารทั้งหลายเหล่านั้นว่าเสมอกัน ในเรื่องความเกิดเขากับเราก็มีลักษณะอันเดียวกัน ในเรื่องความแก่เขากับเราก็มีลักษณะเช่นเดียวกัน ในเรื่องความทุกข์ความลำบากในสกนธ์กายเขากับเราก็มีลักษณะเช่นเดียวกัน พิจารณาออกไปนอกพระราชวังทั่วทั้งดินแดนในไตรโลกธาตุนี้มีสภาพเช่นเดียวกันนี้ ไม่มีเกาะใดตอนใดที่จะเป็นเกาะเป็นดอนเพื่อความร่มเย็น เพื่อความแน่นหนามั่นคง เพื่อความไว้วางใจได้ จะเป็นไปเพื่อความแตกความสลายเช่นเดียวกับเรานี้ทั้งนั้น พระทัยทรงหนักในทางทรงผนวชเพื่อจะได้พินิจพิจารณาเรื่องความ เกิด แก่ เจ็บ ตาย ให้ชัดเจนในพระทัยยิ่งขึ้น จนได้เสด็จออกไปจริงๆ นี่ก็แสดงว่าพระองค์ได้ทรงศึกษาในหลักธรรมชาติ ซึ่งเป็นของมีอยู่ทั่วไป ให้เกิดผลประโยชน์ ให้เกิดความสลดสังเวชในความเกิด แก่ เจ็บ ตาย ซึ่งเป็นของมีอยู่ทั่วทั้งโลกสงสาร ไม่ว่าเขา ไม่ว่าเรา ไม่ว่าคน หรือสัตว์ชั้นไหนๆ เมื่อตั้งรูปตั้งกายขึ้นมาแล้ว ความแปรสภาพจะต้องเป็นเงาตามตัวอย่างนี้

    นี่เป็นการศึกษาที่พระองค์ทรงค้นพบในเบื้องต้น มีหลักเหตุผลเป็นเครื่องเทียบเคียงในคนอื่นสัตว์อื่นกับพระองค์ ว่ามีลักษณะเป็นแบบพิมพ์อันเดียวกัน คือ อนิจจํ ความแปรสภาพมีเต็มตัวเช่นเดียวกัน ความทุกข์ความทรมานในโลกนี้ ไม่ใช่โลกที่เป็นสุขล้วนๆ โลกที่เป็นอยู่ด้วยความหมุนตัวเป็นเกลียว ใครจะอยู่เฉยๆ ไม่ได้เมื่อมีสภาพร่างกายขึ้นมาแล้ว แสดงว่าสภาพนั้นจะต้องเป็นสภาพที่ก่อกังวลให้ทนไม่ได้ อยู่เฉยก็ไม่ได้ไม่ได้หลับไม่ได้ ไม่ได้นอนไม่ได้ ไม่ได้รับประทานไม่ได้ ไม่ได้เดินเหินไปมาเปลี่ยนอิริยาบถไม่ได้ เราอยู่กับโลกไม่ได้ คือ เมื่อไม่ทำไม่ได้ จึงเรียกว่าโลกนี้คือโลกไม่ได้ จะอยู่ให้สบายมันอยู่ไม่ได้ นั่งให้สบายก็ไม่ได้ นอนให้สบายก็ไม่ได้ จะไม่ต้องอยู่ต้องกินต้องหลับต้องนอนทำตามสะดวกกายสบายใจมันไม่ได้ โลกอันนี้กลายเป็นโลกไม่ได้เสียทั้งนั้นในพระทัยของพระองค์ โลกไหนจะเป็นโลกได้เล่า จึงทรงสืบสวนพิจารณาทวนหาเหตุผล ก็มีโลกุตรธรรมเท่านั้น คือธรรมที่บุคคลประพฤติแล้วพ้นไปเสียจากโลกไม่ได้ ถึงซึ่งโลกได้ โลกถึง โลกแน่นอน ได้แก่โลกุตรธรรมอันเป็นธรรมที่สูงสุด แล้วทรงปลงพระทัยเสด็จออกในคืนนั้น ทั้งที่ทรงทราบว่าพระองค์เป็นกษัตริย์ และทรงมีบริษัทบริวารทั่วทั้งแผ่นดินที่อยู่ในแว่นแคว้นและในร่มพระบารมีของพระองค์ แต่ก็เสด็จออกไปพระองค์เดียว มีนายฉันนะ ตามเสด็จเพื่อจะนำม้ากัณฐกะกลับคืนเท่านั้น เพื่อพิจารณาต้นเหตุที่ทรงปรากฏในคืนวันนั้นจนเห็นแจ่มแจ้งชัดเจนขึ้น ย่นในความที่พระองค์ทรงบำเพ็ญมาเป็นเวลา ๖ ปี ถ้าพูดตามภาษาของเราเรียกว่าเกือบเป็นเกือบตาย เพราะกษัตริย์เสด็จออกผนวชด้วยการเสี่ยงภัยต่อชีวิต เพราะไม่เคยได้รับความลำบาก คำที่ว่าเป็นกษัตริย์ อะไรก็เป็นกษัตริย์ทั้งนั้น เครื่องทรงทุกๆ ชิ้นเป็นของกษัตริย์ อาหารการบริโภคเป็นเครื่องกษัตริย์ ที่อยู่อาศัยปัจจัยทุกๆ อย่างเป็นของกษัตริย์ทั้งนั้น เมื่อได้เสด็จออกทรงผนวชเป็นคนขอทานแล้ว ความเป็นกษัตริย์ก็สูญหายไป ยังเหลือแต่ความเป็นคนอนาถาหรือคนขอทานไม่มีคุณค่าราคาแม้แต่น้อยในพระองค์ บริขารเครื่องอาศัยทุกชิ้นก็กลายเป็นบริขารของคนขอทานไปหมด ไม่มีชิ้นใดจะเป็นเครื่องของกษัตริย์เหมือนแต่ก่อน แล้วทรงพยายามสละทิฐิมานะจากความเป็นกษัตริย์ให้หมดโดยสิ้นเชิง ยังเหลือแต่คนขอทานเท่านั้นซึ่งเป็นคนเช่นเดียวกับคนขอทานธรรมดาทั่วไป ซึ่งเราเห็นอยู่ด้วยตา แต่กลับเป็นเพศที่อยู่สบายสำหรับพระองค์และเป็นฐานะที่ควรแก่ความเป็นศาสดาของโลกได้ด้วย แล้วก็ทรงพินิจพิจารณาหลักความเกิด แก่ เจ็บ ตาย อันเป็นโลกไม่ได้แล้ว โลกทนอยู่ไม่ได้ โลกหมุนเวียนเปลี่ยนกันไปเปลี่ยนกันมา ตื่นของเก่าตื่นของใหม่ เข้าใจว่าเป็นของใหม่อยู่เรื่อยๆ อย่างนี้ที่เรียกว่า โลกวัฏจักร

    อ่านต่อ เมื่อพระพุทธเจ้า
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 15 กุมภาพันธ์ 2011
  8. anand

    anand เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 พฤษภาคม 2009
    โพสต์:
    1,118
    ค่าพลัง:
    +641
    เมื่อพระพุทธเจ้าได้ทรงพิจารณาโลกนี้ให้ชัดเจนแล้ว ในพระทัยก็ทราบว่าเต็มไปด้วยโลกอันนี้เหมือนกัน คือในเจตสิกธรรมก็แสดงความปแรปรวนหมุนเวียนเปลี่ยนแปลงไปดีไปชั่ว ไปอดีตอนาคต ปรุงกลับไปกลับมาอยู่เช่นนี้ ให้เห็นชัดด้วยพระปัญญา เรียกว่า ปัจจยาการ หรือ ปฏิจจสมุปบาท กำหนดพิจารณาเรื่องความเกิดความดับของสังขารทั้งของเขาทั้งของเราตลอดทั้งโลกธาตุ เห็นเป็นสภาพไตรลักษณ์เท่านั้น คือ อนิจจํ ทั่วทั้งโลกธาตุนับตั้งแต่ตัวของเราไป ทุกฺขํ เป็นความทุกข์เช่นเดียวกัน อนตฺตา ตายแล้วใครจะถือเอาสิ่งใดๆ จากโลกนี้ไปสู่โลกหน้าไม่ได้ ที่สุดแม้แต่ผมเส้นเดียวซึ่งเป็นของเบาที่สุดที่เราไปไหนมาไหนติดตามตัวของเราไปได้ แต่เมื่อจากโลกนี้ไปแล้วต้องมอบคืนเป้นสมบัติเดิม คือ ดิน น้ำ ลม ไฟ สิ่งที่เหลือไปก็คือดวงใจ และสิ่งที่แฝงไปกับดวงใจนั้นคือความดีและความชั่วซึ่งตนได้สั่งสมไว้ในคราวมีชีวิต ธรรมชาติทั้งสองนี้เป็นเงาตามตัว เมื่อทรงทราบเช่นนี้แล้วก็ทรงย้ำเข้าไปอีกว่า บาปเป็นความชั่วซึ่งตนได้สั่งสมไว้ในคราวมีชีวิต ธรรมชาติทั้งสองนี้เป็นเงาตามตัว เมื่อทรงทราบเช่นนี้แล้วก็ทรงย้ำเข้าไปอีก ว่าบาปเป็นความชั่วเป็นสิ่งที่เห็นได้ชัด แต่บุญที่เป็นความดีนี้จะตามเราไปถึงไหนก้ทรงพิจารณาบุญและบาปอีกให้เห็นชัดโดยทางปัจจยาการเรียกว่าปฏิจจสมุปบาท ค้นเข้าไปถึง อวิชชา ปัจจยา สังขาราเป็นต้น เรื่องความเกิด ตั้งกำเนิดมาแต่อวิชชาติดต่อแตกแขนงเป็นลำดับๆ คือเป็นกิ่งเป็นก้านเป็นใบเป็นดอกเป็นผล ต่อต้นต่อลำไปจนกระทั่งถึง สมุทโยโหติ ที่ท่านเรียกว่ารากเหง้าของอวิชชา เป็นเครื่องติดต่อแขนงไปอย่างนี้ เมื่อพระองค์ทรงพิจารณาย้อนกลับไปกลับมาจนทรงเห็นชัดตามเป็นจริงในอวิชชา ว่าเกิดขึ้นจากธรรมชาติคือดวงใจนี้แล้ว จึงทรงกำหนดพินิจพิจารณาเรื่องใจดวงที่เป็นอวิชชานั้นด้วยพระปัญญา ในคืนวันเพ็ญเดือน ๖ ก็ทรงเห็นแจ่มแจ้งชัดเจน อวิชชาได้แตกกระเด็นไปจากพระทัยของพระองค์ในคืนวันนั้น จึงปรากฏว่าพระพุทธเจ้าของเราได้ตรัสรู้ในคืนวันเพ็ญเดือน ๖ เป็นอันว่า พระองค์ได้ทรงขบคิดปัญหาตั้งแต่คืนวันเสด็จออกผนวชจนถึงวันเพ็ญเดือน ๖ รวมเป้นเวลา ๖ ปี ปัญหาทั้งหมดในเรื่องเกิดแก่เจ็บตาย ในเรื่องความหมุนเวียนเปลี่ยนแปลงแห่งจิตใจและธาตุขันธ์ทั้งหลายได้จบสิ้นลงในวันนั้น และได้ทรงทราบชัดว่าพุทโธ คือ คือความบริสุทธิ์ได้ผุดขึ้นแล้วในพระทัยของพระองค์เป็นพุทโธที่พ้นจากกิเลสตัณหาอาสวะ เป็นพุทโธที่บริสุทธิ์เต็มที่ เป็นพุทโธที่หมดความกังวล เรียกว่าผ่านพ้นโลกไม่ได้นี้ไปเสีย กลายเป็นโลกที่ให้นามว่าโลกุตรธรรม คือธรรมท่ี่สูงกว่าแดนแห่งสมมุติคือพ้นจากแดนแห่งความเกิดแก่เจ็บตายนี้ไปได้เป็นองค์แรก

    เมื่อพระองค์ได้ทรงตรัสรู้ในคืนนั้นแล้ว ทรงมีพระทัยจะสั่งสอนบรรดาสัตว์ ครั้งแรกของพระองค์มีความท้อพระทัยในการจะทรงแนะนำสั่งสอนสัตว์ ด้วยเห็นว่าพระธรรมที่ทรงได้รู้ได้เห็นนี้เป็นธรรมที่เหลือวิสัยของมนุษย์ผู้มีกิเลสอย่างพวกเราทั้งหลายจะสามารถรู้ได้ แต่เมื่อพิจารณาพระองค์เทียบกับบรรดามนนุษย์ทั้งหลายแล้ว เห็นว่าพระองค์ก็เป็นมนุษย์เช่นเดียวกับมนุษย์ทั่วไปในโลก เหตุใดจึงทรงรู้ได้เห็นได้เล่า ก็ย้อนเข้าถึงปฏิปทาข้อดำเนิน เมื่อมีปฏิปทาเครื่องดำเนินให้ถูกทางแล้วต้องเป็นเหตุให้ถึงจุดหมายได้โดยดี จึงทรงมีพระทัยที่จะทรงแนะนำสั่งสอนสัตว์ โดยเห็นว่าบรรดาสัตว์ทั้งหลายถ้าได้รับการอบรมสั่งสอนตามแนวทางที่ถูกต้องแล้วก็จะสามารถรู้ได้เห็นได้เช่นเดียวกับพระองค์ จึงทรงปลงพระทัยแนะนำสั่งสอนบรรดาสัตว์ทั้งหลายเป็นลำดับมา ปรากฏว่าพระองค์เป็นศาสดาสอนพระองค์อย่างสมบูรณ์แล้ว จึงทรงเป็นศาสดาสอนโลกได้อย่างสมบูรณ์เป็นลำดับมาตลอดทุกวันนี้

    เพราะฉะนั้น วันนี้บรรดาท่านพุทธศาสนิกชนทั้งหลายได้อุตส่าห์พยายามมาบำเพ็ญกุศลในสถานที่นี้อันเกี่ยวกับเจ้าพระคุณพระธรรมเจดีย์ซึ่งท่านถึงมรณภาพบรรจุศพของท่านไว้ใโกศ ได้มาสดับตรับฟังพระสัทธีรรมเทศนาและได้ปลงธรรมสังเวชว่า ท่านเจ้าคุณพระธรรมเจดีย์กับเรานี้เป็นธาตุ ๔ ดิน น้ำลมไฟอันเดียวกันตามบาลีที่กล่าวไว้เบื้องต้นว่า อจิริ วตยํ กาโย กายเป็นของไม่ตั้งอยู่มั่นคงถาวรเช่นเดียวกับพระคุณท่าน ปฐวี อธิเสสฺสติ ฉุทฑโฑ เอเปตวิญญาโณ อย่างไรก็ต้องนอนทับแผ่นดินเมื่อวิญญาณได้ปราศจากแล้ว นี่แสดงให้เราทั้งหลายได้พินิจพิจารณาองค์ของท่านที่มรณภาพไปแล้ว กับเราที่ยังมีชีวิตอยู่ มีความแปลกต่างกันตรงไหนบ้าง ต่างกันตรงที่ผู้มีวิญญาณยังครองอัตภาพอยู่ กับท่านที่มีวิญญาณปราศจากไปแล้ว เขาให้ชื่อว่าตายแล้วเท่านั้น เมื่อวิญญาณได้ปราศจากตัวของเราแล้ว เขาจะเรียกเราว่าอย่างไรอีกก็ต้องย้ำรอยกันลงไปเช่นเดียวกับพระคุณท่านที่ปรากฏเป็นสักขีพยานของเราทั้งหลาย ณ บัดนี้เพราะเหตุนั้นเราทั้งหลายที่มานี้จึงมาปลงธรรมสังเวชอันเป็นเหตุให้ระลึกถึงตัวของเรา จะได้ไม่ประมาทนอนใจบำเพ็ญคุณงามความดีเพื่อเป็นเครื่องพยุงจูงใจให้ไปเกิดในสถานที่ดี แม้จะได้มาเกิดเป็นมนุษย์ก็จะเป็นมนุษย์ที่ดี มีความเฉลียวฉลาดด้วยอำนาจวาสนาความรู้วิชาตลอดถึงโภคสมบัติศฤงคารบริวาร จะเป็นมาด้วยอำนาจแห่งความดีของเรา เมื่อตายแล้วหมดการกระทำดีกระทำชั่วย่อมเสวยผลกรรมที่ตนได้ทำไว้แล้ว บัดนี้ ขณะนี้ เราทั้งหลายทุกๆ ท่านยังไม่สายเกินไปเป็นผู้เหมาะกับกาลเวลาเรียกว่า มัชฌิมา ในการทำคุณงามความดี สามารถจะบำเพ็ญตนให้เป็นไปเพื่อความเจริญทางโลกทางธรรมได้ด้วยการกระทำของเรา เมื่อตายแล้วก็หมดวิสัยที่จะทำดีทำชั่วต่อไปด้วย ท่านเปรียบด้วยท่อนไม้ท่อนฟืนไม่เป็นประโยชน์อันใด แต่ท่อนไม้ท่อนฟืนนั้นยังเอามาทำเป็นฟืนหุงต้มได้ หรือจะมาทำประโยชน์อย่างอื่นก็ยังได้ ส่วนเราที่ตายไปแล้วจะทำอย่างนั้นไม่ได้ แม้จะทำเป็นฟืนเป็นถ่าน จะทำปลาร้าน้ำปลาก็ไม่ได้อีกเหมือนกัน เรียกว่าหมดราคาในคนตาย จะบำเพ็ญคุณงามความดีต่อไปอีกไม่ได้แล้ว

    พระองค์ตรัสไว้ว่า นิพฺพานํ ปรมํ สุญฺญํ พระนิพพานเป็นธรรมที่สูญสิ้นจากทุกข์จากภัยจากความเสนียดจัญไรทุกๆอย่าง นิพฺพานํ ปรมํ สุขํ ในขณะเดียวกัน เมื่อสูญสิ้นจากสิ่งทั้งหลายเหล่านั้นแล้ว ยังกลายเป็นธรรมบรมสุขยิ่งกว่าความสุขใดๆ ในโลกนี้อีก โกนุหาโส กิมานนฺโท นิจฺจํ ปชฺชลิเตสติ เพราะเหตุนั้น บรรดาท่านทั้งหลายจงรีบมาตามเราตถาคตในเดี๋ยวนี้ อย่าพากันมีความประมาทนอนใจในชีวิตจิตใจของตนซึ่งปรากฏอยู่กับด้วยลมหายใจเท่านั้น เมื่อลมหายใจดับลงไปแล้จะเป็นคนหนุ่มคนแก่คนขนาดไหนก็ตาม เขาเรียกว่าคนตายทั้งนั้น ฉะนั้นอย่าได้พากันประมาทนอนใจกับลมเพียงเท่านี้ ไฟกิเลสตัณหากำลังลุกลามไหม้หัวใจสัตว์ผู้ประมาท ใครฉลาดจะพ้นไปกับเราตถาคตหมดอำนาจของกิเลสจะตามทัน จงให้รีบตจามเราตถาคตไป ด้วยข้อปฏิบัติ ด้วยทาน ด้วยศีล ด้วยภาวนาจงมองดูตัวของเราให้ชัด มองดูหนัง ดูเนื้อ ดูตัวของเราให้ชัดด้วยปัญยา หนังภายนอกที่เราไปดูในโรงหนังโรงลิเกโรงละครนั้น เป็นหนังที่จะเพิ่มความทะเยอทะยาน ความฟุ้งเฟ้อเห่อเหิม เป็นเหตุให้เสียนิสัยตั้งแต่เด็กจนกระทั่งถึงเป็นผู้ใหญ่ เสียเงินเสียทองไปเพราะสิ่งเหล่านั้นก็มากมาย โดยไม่ค่อยจะได้คติในทางที่ดี นอกจากจะเป็นไปในทางเพลินเสียโดยมาก การดูหนัง เนื้อ เอ็น กระดูกและทุกส่วนในร่างกายของเรา ซึ่งเป็นภาพยนตร์ที่มีอยู่กับตัวนี้จะไม่ต้องเสียอัฐเสียสตางค์ ยิ่งจะให้เกิดธรรมสังเวช เป็นเหตุให้เดินตามรอยของพระพุทธองค์ด้วยความเห็นโทษในกองทุกข์ที่ตรัสไว้ว่า โกนุหาโส กิมานนฺโท นิจฺจํ ปชฺชลิเตสติ อย่าพากันรื่นเริงบันเทิงจนเกินไป ให้มองดูสกนธ์กาย ความแก่ ความเฒ่า ความชรา ความจะแตก ความจะทำลายนั้นจะไม่ทำลายที่ไหน นอกจากจะแตกทำลายในตัวของเรา จะตายในตัวของเรารีบเร่งหาคุณงามความดี เวลานี้ตะวันยังไม่อัสดงคือตัวของเรายังไม่ตายให้รีบเดินตามพระตถรคตเจ้าไปเดี๋ยวนี้ พวกท่านทั้งหลายจะปลอดภัยไฟราคะ ไฟโทสะ ไฟโมหะ จะไม่กลุ้มรุมเผาลนท่านทั้งหลายอีกต่อไป เช่นอย่างเราตถาคตนี้ เราตถาคตนี้เกิดสุดท้ายในครั้งเดียวเท่านี้เราได้ตัดขากจากมิตรจากสหาย คือความเกิด ความแก่ ความตาย ความกังวลทั้งหลายแล้ว จะไม่ต้องมาสู่โลกซึ่งเป็นโลกหมุนตัวเป็นเกลียวอีกต่อไป นี้เป็นะรรมที่ประกาศให้เราพุทธศาสนิกชนทั้งหลายได้ทราบและตื่นตัวไม่ให้มัวเมาประมาท

    ธรรมคำสั่งสอนที่พระองค์ตรัวไว้แล้วนั้นเป็นมัชฌิมา มีความเป็นกลางอยู่เสมอ ใครทำดีวันใด ให้ทานวันใด เจริญภาวหนาหรือรักษาศีลเมื่อใด เป็นคุณงามความดีจะปรากฏผลตลอดเวลา ให้เดินตามตถาคตเจ้าไปอย่างนี้ นี่เป็นพระโอวาทของพระองค์สมเด้๗พระผู้มีพระภาคเจ้า นี่แสดงเรื่องธรรมชาติที่ประเสิรฐเลิศกว่าสิ่งใดๆในโลก คือ นิพฺพานํ ปรมํ สุญญํ ได้แก่นิพพานเป็นธรรมที่สูญสิ้นจากส่ิงท้งหลาย ชื่อว่ากองทุกข์แม้แต่น้อยจะไม่มีในพระนิพพานนั้น ๑ นิพฺพานํ ปรมํ สุขํ ไม่มีความสุขอันใดที่เราทั้งหลายได้ผ่านมาในโลกนี้จะเป็นเหมือนความสุขในพระนิพพานนั้น ๑ อเปตวิญฺญาโณ นิรตฺถํวกลิงฺครํ ท่านทั้งหลายอย่าเพลิดเพลินรื่นเริงกับท่อมไม้ท่อนฟืนอันจะแตกจะดับและลมหายใจฟอดๆ อย่างนี้จนเกินไปเลย จงตามเราตถาคตไปด้วยข้อวัตร ด้วยข้อปฏิบัติ ด้วยทาน ด้วยศีล ด้วยภาวนา อย่าเป็นผู้นอนใจ ประมาทในชีวิตสังขารของตน เขาตายกันอยู่ทั่วทั้งแผ่นดินซึ่งเป็นครูสอนเราแล้ว ทำไมจึงพากันประมาทเล่า แสดงเหมือนกับว่าตะโกนเรียกเราให้รีบบำเพ็ญตนเพื่อตามเสด็จพระองคืไปให้พ้นภัยคือกองทุกข์ ซึ่งใรอยู่ในร่างกายและจิตใจ และเผารุมเราอยู่ตลอดเวลาไม่มีเว้นระยะแม้แต่ขณะเดียว สังขารร่างกายของเราเขาแสดงการท้าทายเราอยู่เสมอว่า สภาพอันนี้เป็นสภาพที่ว่าจะแตกแน่ๆ ถ้าพูดตาภาษาของเราก็เหมือนว่ากองทุกข์เต็มตัวท่านรู้หรือยัง แสดงความเอาเปรียบเอารัดตลอดเวลา ถ้าไม่ได้กินอยู่หลับนอนเป็นประจำเขาต้องแตกสลายโดยถ่ายเดียว เพราะขันธ์นี้เป็นสิ่งที่อยู่เฉยๆ ไม่ได้ ต้องพยายามพะเน้าพะนออุปถัมภ์อุปัฏฐากดูแลรักษอริยาบถทั้ง ๔ เป็นเรื่องจะต้องทำเพื่อกายของเราทั้งนั้น แต่การแสดงธรรมทั้งหมดนี้ บรรดาท่านผู้ฟังจะนำไปประพฤติปฏิบัติให้ได้ผลประโยชน์แก่ตนมากน้อยเพียงใดนั้น ขึ้นอยู่กับความสามารถ ขึ้นอยู่กับกำลังสติปัญญาหรือความคิดของตนเอง เป็นไปได้ตามกำลังศรัทธา ความสามารถ ย่อมไม่เสียประโยชน์

    วันนี้ได้แสดงถึงเรื่อง อจิรํ วต ยํ กาโย ปฐวี อธิเสสฺสติ ไม่ว่ากายของใครๆ ทั้งนั้น ไม่จีรังถาวรเป็นเรื่องเกิดๆ ตายๆ ถึงเราจะว่าเรามีอายุยืนอยู่ตั้ง ๖๐ ปี ๗๐ ปีก็ตาม จากนั้นมาถึงวันตาย มันคล้ายๆ กับว่าเพียงชั่วโมงเดียวเท่านั้นการร่ำรี้ร่ำไร การซ้ำๆ ซากๆ แห่งความเกิด ความตาย ความทุกข์ จึงเป็นของที่น่ารำคาญสำหรับนักปราชญ์ คือพระพุทธเจ้า แม้เราจะไม่สามารถทำได้อย่างพระองค์ท่านก็ตาม แต่ก็ควรจะนำแบบของท่านไปพินิจพิจารณาแล้วอุตส่าห์ประพฤติปฏิบัติตามคำสอนของพระองค์ จะเป็นไปเพื่อความเจริญรุ่งเรืองในชาตินี้และชาติหน้า ไม่เสียเวลาเปล่าที่ได้ในความเป็นมนุษย์ซึ่งเป็นชาติที่สูงสุดกว่าบรรดาสัตว์ที่เขาไม่มีโอกาสเหมือนอย่างเราครองสมบัติแห่งความเป็นมนุษย์อยู่ ณ บัดนี้

    ในอวสานแห่งพระธรรมเทศนานี้ ขอบุญญานุภาพแห่งองค์สมเด้จพระผู้มีพระภาคเจ้า พร้อมทั้งพระธรรมและพระสงฆ์จงมาปกเกล้าเหล่าท่านพุทธศาสนิกชนทั้งหลาย ที่ได้อุตส่าห์มาด้วยความเต็มอกเต็มใจให้มีความสุขกายสบายใจทุกทิวาราตรีกาล ดังได้รับประทานวิสัชนามาในธรรมคำสั่งสอนขององค์สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้า เห้นว่าสมควรแก่เวลา ขอยุติลงด้วยเวลาเพียงเท่านี้ เอวํ ก็มีด้วยประการฉะนี้
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 18 มีนาคม 2011

แชร์หน้านี้

Loading...