เรื่องเด่น ตำนานบทสวดมนต์ ตอน อาการวัตตาสูตร พระมนต์ที่สวดคุ้มภัยนานาประการ

ในห้อง 'บทสวดมนต์ - คาถา' ตั้งกระทู้โดย joni_buddhist, 7 กรกฎาคม 2017.

  1. joni_buddhist

    joni_buddhist Legal returns ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 กันยายน 2005
    โพสต์:
    13,555
    กระทู้เรื่องเด่น:
    203
    ค่าพลัง:
    +63,444
    11219091_10206674269368068_6932232026971229008_n.jpg
    ตำนานบทสวดมนต์ ตอน อาการวัตตาสูตร พระมนต์ที่สวดคุ้มภัยนานาประการ
    ......ในสมัยหนึ่งสมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จประทับอยู่ ณ เขาคิชฌกูฎบรรพตคีรี ใกล้ราชธานี
    ราชคฤห์มหานคร ในสมัยครั้งนั้นพระสารีบุตรพุทธสาวก เข้าไปสู่ที่เฝ้าถวายอภิวาทโดยเคารพแล้วนั่ง
    ในที่ควรส่วนข้างหนึ่งเล็กแลดูสหธัมมิกสัตว์ทั้งหลาย ก็เกิดปริวิตกในใจคิดถึงกาลต่อไปภายหน้าว่า
    “อิเม โข สตฺตา ฉินฺนมูลา อตีตสิกฺขา” สัตว์ทั้งหลายเหล่านี้ที่หนาไปด้วยกิเลสมีอวิชชาหุ้มห่อไว้ มี
    สันดานอันรกชัฏด้วยอกุศล คือ โลภะ โทสะ โมหะ ชื่อว่ากุศลมูลขาดแล้ว มีสิกขาอันละเสียแล้ว เที่ยง
    ที่จะไปสู่อบายทั้ง ๔ คือ นรก เปรตวิสัย อสุรกายและสัตดิรัจฉาน เมื่อสัตว์หนาไปด้วยอกุศล จะนำตน
    ให้ไปไหม้อยู่ในอบายภูมิตลอดกาลยืดยาวนาน ธรรมเครื่องกระทำให้เป็นพระพุทธเจ้า คือบารมี
    ๓๐ ทัศ มีอยู่จะห้ามกันเสียได้ซึ่งจตุราบายทุกข์ทั้งมวล และธรรมที่พระองค์ตรัสไว้ในพระสูตร
    พระวินัย พระปรมัตถ์ล้วนเป็นธรรมที่จะนำให้สัตว์พ้นจากสังสารทุกข์ทั้งนั้น เมื่อปริวิตกเช่นนี้เกิดมีแก่
    พระธรรมเสนาบดีพระสารีบุตรแล้ว ด้วยความเมตตากรุณาแก่ประชาชนทั้งหลายที่เกิดมาในสุดท้าย
    ภายหลังจะได้ปฏิบัติเป็นเครื่องป้องภัยในอบาย พระผู้เป็นเจ้าจึงยกอัญชลีกรถวายอภิวาทพระบรม
    โลกนาถเจ้า แล้วทูลถามว่าข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้เจริญ “เย เกจิ ทุปฺปญฺญา ปถคฺคลา” บุคคลทั้ง
    หลายเหล่าใดเหล่าหนึ่ง มีปัญญายังหนาด้วยโมหะหารู้จักพุทธกรณธรรม คือบารมีแห่งพระพุทธเจ้านั้น
    ไม่เพราะเป็นคนอันธพาล กระทำซึ่งกรรมอันเป็นบาปทั้งปวงด้วยอำนาจราคะ โทสะ โมหะ เข้าครอบ
    งำกระทำกรรมตั้งแต่เบาคือ ลหุกรรม จนกระทั่งกรรมหนักคือครุกรรม โดยไม่มีความกระดากอาย
    เบื้องหน้าแต่แตกกายทำลายขันธ์ จากชีวิตอินทรีย์แล้วจะไปเกิดในอเวจีนิรยาบาย ข้าแต่พระผู้มีพระภาค
    เจ้าข้าผู้ประเสริฐ ธรรมอันสุขุมคัมภีรภาพสามารถปราบปรามห้ามเสียซึ่งสัตว์ทั้งหลาย มิให้ตกไปสู่
    นรกใหญ่จะมีอยู่หรือพระพุทธเจ้าข้า

    ในลำดับนั้นสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงแสดงอาการวัตตาสูตร
    กำหนดด้วยวรรค ๕ วรรค มีนวราทิคุณวรรค เป็นต้น จนถึงปารมีทัตตะวรรค เป็นคำรบ ๕
    คาถาอาการวัตตาสูตรนี้ มีอานุภาพยิ่งกว่าสูตรอื่น ๆ ในการที่ป้องกันภัยอันตรายแก่ผู้มาตาม
    ระลึกอยู่เนืองนิตย์ บาปกรรมทั้งปวงจะไม่ได้ช่องหยั่งลงสู่สันดานได้ด้วยอำนาจอาการวัตตาสูตรนี้
    และบุคคลผู้ใดได้ฟังก็ดีได้เขียนเองก็ดี หรือได้จ้างท่านผู้อื่นเขียนให้ก็ดีได้ท่องทรงจำไว้ก็ดี ได้กล่าว
    สอนผู้อื่นก็ดี ได้สักการบูชาเคารพนับถือก็ดี ได้สวดมนต์ภาวนาอยู่เนือง ๆ ก็ดี ก็จะได้พ้นจากภัย ๓๐
    ประการคือภัยอันเกิดแต่ งูพิษ สุนัขป่า สุนัขบ้าน โคบ้าน และโคป่า กระบือบ้านและกระบือเถื่อน
    พยัคฆะ หมู เสือ สิงห์ และภัยอันเกิดแต่คชสารอัสดรพาชี จตุรงคชาติของพระราชา ผู้เป็นจอมของ
    นรชน ภัยอันเกิดแต่น้ำและเพลิงเกิดแต่มนุษย์และอมอุษย์ภูตผีปิศาจเกิดแต่อาชญาของแผ่นดินเกิดแต่
    ยักษ์กุมภัณฑ์ และคนธรรพ์อารักขเทวตา เกิดแต่มาร ๕ ประการที่ผลาญให้วิการต่าง ๆ เกิดแต่วิชาธร
    ผู้ทรงคุณวิทยากรและภัยที่จะเกิดแต่มเหศวรเทวราช ผู้เป็นใหญ่ในเทวโลกรวมเป็นภัย ๓๐ ประการ
    อันตรธานพินาศไป ทั้งโรคภัยที่เสียดแทงอวัยวะน้อยใหญ่ ก็จะวินาศเสื่อมคลายหายไปด้วยอำนาจ
    เคารพนับถือในพระอาการวัตตาสูตรนี้แล ดูกรสารีบุตรบุคคลผู้นั้นเมื่อยังท่องเที่ยวอยู่ในสังสรวัฏฏ์ จะ
    เป็นผู้มีปัญญาละเอียดสุขุม มีชนมายุยืนยงคงทนนาน จนเท่าถึงอายุไขยเป็นกำหนดจึงตายจะตายด้วยอุ
    ปัททวันอันตราย นั้นหามิได้ ครั้นเมื่อสิ้นชีพแล้วจะได้ไปอุบัติขึ้นบนสวรรค์ร่างกายก็จะมีฉวีวรรณอัน
    ผ่องใจดุจทองคำธรรมชาติ จักษุประสาทก็จะรุ่งเรืองงามมองดูได้ไกลมิได้วิปริต จะได้เป็นพระอินทร์
    ๓๖ กัลปเป็นประมาณ จะได้สมบัติพระยาจักรพรรดิราชาธิราช ๑๖ กัลป คับครั่งไปด้วยรัตนะ ๗
    ประการก็ด้วยอานิสงส์ที่ได้สวดสาธยายอยู่เนืองนิตย์ “ทุคฺคตึ โส น คจฺฉติ” แม้แต่สดับฟังท่านอื่น
    เทศนา ด้วยจิตประสันนาการเลื่อมใสก็ไม่ไปสู่ทุคติตลอดยืดยาวนานถึง ๙๐ แสนกัลป์

    พระคาถาอาการะวัตตาสูตร

    พระพุทธเจ้าทั้งหลาย ๒๘ พระองค์ที่ล่วงไปแล้วก็ดี พระพุทธเจ้าในปัจจุบันก็ดี ได้ทรงกระทำตามกันมาทุกๆพระองค์

    พระสูตรนี้เป็นพระสูตรอันใหญ่ยิ่งหาสูตรอื่นมาเปรียบมิได้ ด้วยมีทั้ง พระสูตร พระวินัย พระปรมัตถ์ พระปิฎก

    ขอท่านทั้งหลายอย่าได้ทิ้งวางในที่อันไม่สมควรเลย จงทำการสักการะบูชา สวดมนต์ ภาวนา ฟัง ตามสติกำลังด้วยเทอญ

    1. อิติปิโสภะคะวา อะระหัง
    อิติปิโสภะคะวา สัมมาสัมพุทโธ
    อิติปิโสภะคะวา วิชชาจะระณะสัมปันโน
    อิติปิโสภะคะวา สุคะโต
    อิติปิโสภะคะวา โลกะวิทู
    อิติปิโสภะคะวา อะนุตตะโรปุริสะธัมมะสาระถิ
    อิติปิโสภะคะวา สัตถาเทวะมะนุสสานัง
    อิติปิโสภะคะวา พุทโธ
    อิติปิโสภะคะวา ภะคะวาติ
    (พุทธะคุณะวัคโค ปะฐะโม)

    2. อิติปิโสภะคะวา อะภินิหาระ ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิโสภะคะวา อุฬารัชฌาสะยะ ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิโสภะคะวา ปะนิธานะ ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิโสภะคะวา มะหากะรุณา ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิโสภะคะวา ญาณะ ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิโสภะคะวา ปะโยคะ ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิโสภะคะวา ยุติ ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิโสภะคะวา ชุติ ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิโสภะคะวา คัพภะโอกกันติ ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิโสภะคะวา คัพภะฐิติ ปาระมิสัมปันโน
    (อะภินิหาระวัคโค ทุติโย)

    3.อิติปิโสภะคะวา คัพภะวุฏฐานะ ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิโสภะคะวา คัพภะมะละวิระหิตะ ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิโสภะคะวา อุตตะมะชาติ ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิโสภะคะวา คะติ ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิโสภะคะวา อะภิรูปะ ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิโสภะคะวา สุวัณณะ ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิโสภะคะวา มะหาสิริ ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิโสภะคะวา อาโรหะ ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิโสภะคะวา ปะรินาหะ ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิโสภะคะวา สุนิฏฐะ ปาระมิสัมปันโน
    (คัพภะวุฏฐานะวัคโค ตะติโย)

    4. อิติปิโสภะคะวา อะภิสัมโพธิ ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิโสภะคะวา สีละขันธะ ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิโสภะคะวา สะมาธิขันธะ ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิโสภะคะวา ปัญญาขันธะ ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิโสภะคะวา ทะวัตติงสะมะหาปุริสะลักขะณะ ปาระมิสัมปันโน
    (อะภิสัมโพธิวัคโค จะตุฏโฐ)

    5. อิติปิโสภะคะวา มะหาปัญญา ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิโสภะคะวา ปุถุปัญญา ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิโสภะคะวา หาสะปัญญา ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิโสภะคะวา ชะวะนะปัญญา ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิโสภะคะวา ติกขะปัญญา ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิโสภะคะวา ปัญจะจักขุ ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิโสภะคะวา อัฏฐาระสะพุทธะกะระ ปาระมิสัมปันโน
    (มะหาปัญญาวัคโค ปัญจะโม)

    6. อิติปิโสภะคะวา ทานะ ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิโสภะคะวา สีละ ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิโสภะคะวา เนกขัมมะ ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิโสภะคะวา ปัญญา ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิโสภะคะวา วิริยะ ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิโสภะคะวา ขันตี ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิโสภะคะวา สัจจะ ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิโสภะคะวา อะธิษฐานะ ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิโสภะคะวา เมตตา ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิโสภะคะวา อุเปกขา ปาระมิสัมปันโน
    (ปาระมิวัคโค ฉัฏโฐ)

    7. อิติปิโสภะคะวา ทะสะ ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิโสภะคะวา ทะสะอุปะ ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิโสภะคะวา ทะสะปะระมัตถะ ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิโสภะคะวา สะมะติงสะ ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิโสภะคะวา ตังตังฌานะฌานังคะ ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิโสภะคะวา อะภิญญาณะ ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิโสภะคะวา สะติ ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิโสภะคะวา สะมาธิ ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิโสภะคะวา วิมุตติ ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิโสภะคะวา วิมุตติญาณะ ปาระมิสัมปันโน
    (ทะสะปาระมิวัคโค สัตตะโม)

    8. อิติปิโสภะคะวา วิชชาจะระณะวิปัสสะนาวิชชา ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิโสภะคะวา มะโนมะยิทธิวิชชา ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิโสภะคะวา อิทธิวิทธิวิชชา ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิโสภะคะวา ทิพพะโสตะวิชชา ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิโสภะคะวา ปะระจิตตะวิชชา ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิโสภะคะวา ปุพเพนิวาสานุสสะติวิชชา ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิโสภะคะวา ทิพพะจักขุวิชชา ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิโสภะคะวา จะระณะวิชชา ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิโสภะคะวา จะระณะธัมมะวิชชา ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิโสภะคะวา อะนุปุพพะวิหาระ ปาระมิสัมปันโน
    (วิชชาวัคโค อัฏฐะโม)

    9. อิติปิโสภะคะวา ปะริญญา ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิโสภะคะวา ปะหานะ ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิโสภะคะวา สัจฉิกิริยา ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิโสภะคะวา ภาวะนา ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิโสภะคะวา ปะริญญาปะหานะสัจฉิกิริยาภาวะนา ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิโสภะคะวา จะตุธัมมะสัจจะ ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิโสภะคะวา ปะฏิสัมภิทาญาณะ ปาระมิสัมปันโน
    (ปะริญญานะวัคโค นะวะโม)

    10. อิติปิโสภะคะวา โพธิปักขิยะธัมมะ ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิโสภะคะวา สะติปัฏฐานะปัญญา ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิโสภะคะวา สัมมัปปะทานะปัญญา ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิโสภะคะวา อิทธิปาทะปัญญา ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิโสภะคะวา อินทรียะปัญญา ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิโสภะคะวา พะละปัญญา ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิโสภะคะวา โพชฌังคะปัญญา ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิโสภะคะวา อัฏฐังคิกะมัคคะธัมมะ ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิโสภะคะวา มะหาปุริสะสัจฉิกิริยา ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิโสภะคะวา อะนาวะระณะวิโมกขะ ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิโสภะคะวา อะระหัตตะพะละวิมุตติ ปาระมิสัมปันโน
    (โพธิปักขิยะวัคโค ทะสะโม)

    11. อิติปิโสภะคะวา ทะสะพะละญาณะ ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิโสภะคะวา ฐานาฐานะญาณะ ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิโสภะคะวา วิปากะญาณะ ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิโสภะคะวา สัพพัตถะคามินีปะฏิปะทา ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิโสภะคะวา นานาธาตุญาณะ ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิโสภะคะวา นานาธิมุตติกะญาณะ ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิโสภะคะวา อินทริยะปะโรปะริยัตตะญาณะ ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิโสภะคะวา นิโรธะวุฏฐานะญาณะ ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิโสภะคะวา ปุพเพนิวาสานุสสะติญาณะ ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิโสภะคะวา จุตูปะปาตะญาณะ ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิโสภะคะวา อาสะวักขะยะญาณะ ปาระมิสัมปันโน
    (ทะสะพะละญาณะวัคโค ทะสะโม)

    12 . อิติปิโสภะคะวา โกฏิสะหัสสานังปะกะติสะหัสสานังหัตถีนังพะละธะระ ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิโสภะคะวา ปุริสะโกฏิทะสะสะหัสสานังพะละธะระ ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิโสภะคะวา ปัญจะจักขุญาณะ ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิโสภะคะวา ยะมักกะญาณะ ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิโสภะคะวา สีละคุณะ ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิโสภะคะวา คุณะปาระมิสะมาปัตติ ปาระมิสัมปันโน
    (กายะพะละวัคโค ทะวาทะสะโม)

    13. อิติปิโสภะคะวา ถามะพะละ ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิโสภะคะวา ถามะพะละญาณะ ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิโสภะคะวา พะละ ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิโสภะคะวา พะละญาณะ ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิโสภะคะวา ปุริสะ ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิโสภะคะวา อะตุละยะ ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิโสภะคะวา ญาณะ ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิโสภะคะวา อุสาหะ ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิโสภะคะวา คะเวสิญาณะ ปาระมิสัมปันโน
    (ถามะพะละวัคโค เตระสะโม)

    14. อิติปิโสภะคะวา จะริยา ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิโสภะคะวา จะริยาญาณะ ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิโสภะคะวา โลกัตถะจะริยา ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิโสภะคะวา โลกัตถะจะริยาญาณะ ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิโสภะคะวา ญาณัตถะจะริยา ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิโสภะคะวา ญาณัตถะจะริยาญาณะ ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิโสภะคะวา พุทธะจะริยา ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิโสภะคะวา พุทธะจะริยาญาณะ ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิโสภะคะวา ติวิธะจะริยา ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิโสภะคะวา ปาระมิอุปะปาระมิปะระมัตถะ ปาระมิสัมปันโน
    (จะริยาวัคโค จะตุระสะโม)

    15. อิติปิโสภะคะวา ปัญจุปาทานักขันเธสุอะนิจจะลักขะณะ ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิโสภะคะวา ปัญจุปาทานักขันเธสุทุกขะลักขะณะ ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิโสภะคะวา ปัญจุปาทานักขันเธสุอะนัตตะลักขะณะ ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิโสภะคะวา อายัตตะเนสุติลักขะณะญาณะ ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิโสภะคะวา อัฏฐาระสะธาตุสุติลักขะณะญาณะ ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิโสภะคะวา วิปะรินามะลักขะณะ ปาระมิสัมปันโน
    (ลักขะณะวัคโค ปัณณะระสะโม)

    16. อิติปิโสภะคะวา คะตัตถานะ ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิโสภะคะวา คะตัตถานะญาณะ ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิโสภะคะวา วะสิตะ ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิโสภะคะวา วะสิตะญาณะ ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิโสภะคะวา สิกขา ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิโสภะคะวา สิกขาญาณะ ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิโสภะคะวา สังวะระ ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิโสภะคะวา สังวะระญาณะ ปาระมิสัมปันโน
    (คะตัตถานะวัคโค โสฬะสะโม)

    17. อิติปิโสภะคะวา พุทธะปะเวณี ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิโสภะคะวา พุทธะปะเวณีญาณะ ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิโสภะคะวา ยะมะกะปาฏิหาริยะ ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิโสภะคะวา ยะมะกะปาฏิหาริยะญาณะ ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิโสภะคะวา จะตุพรหมวิหาระ ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิโสภะคะวา อะนาวะระณะญาณะ ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิโสภะคะวา อะปะริยันตะญาณะ ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิโสภะคะวา สัพพัญญุตะญาณะ ปาระมิสัมปันโน
    อิติปิโสภะคะวา จะตุวีสะติโกฏิสะตะวัชชิระ ปาระมิสัมปันโน
    (ปะเวณีวัคโค สัตตะระสะโม)
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 9 กรกฎาคม 2017

แชร์หน้านี้

Loading...