เรื่องเด่น ตำนานบทสวดมนต์ ตอน ทิพย์มนต์ มหามนต์แห่งฤาษีโพธิสัตว์เพื่อให้มีอายุ วรรณะ สุขะ พละ

ในห้อง 'บทสวดมนต์ - คาถา' ตั้งกระทู้โดย joni_buddhist, 10 กรกฎาคม 2017.

  1. joni_buddhist

    joni_buddhist Legal returns ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 กันยายน 2005
    โพสต์:
    13,555
    กระทู้เรื่องเด่น:
    203
    ค่าพลัง:
    +63,444
    ...
    ตำนานบทสวดมนต์ ตอน ทิพย์มนต์ มหามนต์แห่งฤาษีโพธิสัตว์เพื่อให้มีอายุ วรรณะ สุขะ พละ



    19905170_1.jpg


    บทสวดทิพย์มนต์สมัยพระสมณโคดมเสวยพระชาติเป็นพระฤาษี ;ท่านพ่อลี วัดอโศการาม

    ในสมัยหนึ่งที่พระพุทธเจ้าพระสมณโคดม เสวยพระชาติเป็นพระฤาษีอยู่ในป่า ท่านได้สวดบททิพย์มนต์ เป็นประจำทุกวัน มีสิ่งน่าอัศจรรย์เกิดขึ้นคือ บรรดาสัตว์ต่างๆ ที่อาศัยอยู่ในป่านั้น เมื่อได้เข้ามาสู่บริเวณที่พำนักของพระฤาษี สัตว์ทั้งหลาย อาทิเช่น ช้างป่า เสือ หมี เก้ง กวาง เหล่านี้ จะกลายเป็นมิตรกันทันที ไม่มีการไล่ล่าทำลายกัน สัตว์เล็กและสัตว์ใหญ่ต่างก็พากันเป็นมิตรต่อกันด้วยอานุภาพแห่งทิพย์มนต์ที่แผ่ออกไปทุกวันในเขตที่พระฤาษีบำเพ็ญพรตอยู่

    ย้อนไปเมื่อปีพ.ศ.๒๕๐๐ หลวงปู่หลอดได้เดินทางจากป่ามาสู่กรุงเทพเป็นครั้งแรก ท่านได้มาจำพรรษาอยู่ที่วัดอโศการาม ของท่านพ่อลี ศิษย์หลวงปู่มั่น ซึ่งบททิพย์มนต์นั่นเอง ซึ่งท่านพ่อลีเป็นผู้ค้นพบจากพระไตรปิฎกท่านนำมาศึกษา และนำมาให้พระ เณร แม่ชี ที่วัดอโศกรามสวดกัน หลังจากทำวัตรเช้า วัตรเย็นทุกวัน

    การสวดทิพย์มนต์เพื่อสิริมงคลแก่ผู้สวด เพื่อให้มีอายุ วรรณะ สุขะ พละ เพื่อส่งกุศลให้ผู้ป่วยให้ทุเลาจากอาการเจ็บป่วย หรือสวดส่งกุศลให้หลวงปู่ ครูอาจารย์ที่มีอายุมากให้มีพละกำลัง หรือสวดเพื่อบรรเทาเวทนา หรือสืบชะตาต่อายุ

    วิธี การสวดจะเริ่มจากตั้งนะโมสามจบ และสวดมาจนจบที่วรรค “….อะระหัง พุทโธ อิติปิ โส ภะวะคะวา นะมามิหัง ฯ” จากนั้นก็จะสวดซ้ำที่วรรคที่มีหมายเลขหนึ่งจนถึงหมายเลขสี่ ไล่มาจนจบที่วรรคสุดท้ายอย่างที่กล่าวไป เพียงแต่ให้เปลี่ยนจากที่ขึ้นต้นจากคำว่า “วาโย จะ”(ธาตุลม) เป็นขึ้นต้นมาเป็นคำว่า “เตโช จะ” (ธาตุไฟ) แล้วสวดตามบทสวดที่แสดง ไล่เรียงไปจนถึง “วิญญาณัญ จะ”(วิญญานธาตุ) (จบธาตุหก)อนึ่ง เมื่อจะสวดธาตุในพิธีอื่น เช่นการสวดธาตุเพื่อเป็นการเจริญอายุและจิตใจของผู้ป่วย หรือสวดสลับในพิธีพุทธาภิเศก เป็นต้น นิยมสวดขันธ์ ๕ อายตนะ ๑๒ และ อาการ ๓๒ เพิ่มเติมด้วย การสวดทำนองเดียวกับการสวดธาตุทุกอย่าง เปลี่ยนชื่อขันธ์ อายตนะ และอาการ ๓๒ ไปโดยลำดับเท่านั้น
    หนังสือ “ทิพยมนต์” นี้ ได้เขียนขึ้นเป็นสายบรรทัดเครื่องจูงใจของผู้ปฏิบัติให้บรรลุถึงความ บริสุทธิ์ เพราะมนต์หมวดนี้ย่อมให้ผลดีแก่ผู้ท่องบ่น เพราะเป็นเรื่องในตัวของตัวเอง

    ธรรมดาคนที่เกิดมา ย่อมอาศัยอยู่ในธาตุทั้ง ๖ ธาตุเหล่านั้นสะสมขึ้นด้วยการกระทำของตนเอง ดีบ้างชั่วบ้าง เมื่อเป็นเช่นนี้ ธาตุเหล่านั้นย่อมลงโทษแก่ผู้อาศัยอยู่ เปรียบเหมือนกับเด็ก มันเป็นสิ่งที่คอยรบกวนใจอยู่เสมอ

    ฉะนั้น การสวดมนต์ก็เท่ากับว่า เราเลี้ยงเด็ก บำรุงเด็ก ให้ได้รับความสมบูรณ์ เมื่อเด็กได้รับความสมบูรณ์เช่นนั้นแล้ว ผู้ใหญ่ย่อมได้รับความสะดวกสบาย ฉะนั้นถ้าใครเสกบ่น เท่ากับว่าเราเลี้ยงเด็กแล้วด้วยอาหาร เรากล่อมเด็กแล้วด้วยเพลงอันไพเราะ คือ พุทธคุณ

    อำนาจพุทธคุณนี้อาจจะทำธาตุของตนให้บริสุทธิ์ขึ้น เป็นธาตุกายสิทธิ์ เหมือนแร่ธาตุที่มีอยู่ในโลก ย่อมแล่นหรือดูดถึงกันได้ทุกวินาทีหรือเปรียบเสมือนไฟฟ้า ส่วนมนต์คาถาที่สวดเปรียบเหมือนกระแสไฟ มุ่งไปทิศใดย่อมถึงที่นั้นๆ อาจที่จะทำให้ดินฟ้าอากาศเป็นมงคล เพราะมนต์หมวดนี้เป็นมนต์ กปิลฤๅษี ปนอยู่ด้วย ตามเรื่องที่เล่าไว้ ดังนี้

    ใน อดีตกาล มีฤๅษีตนหนึ่งไปเจริญทิพยมนต์ อยู่ในป่าสัก ณ ประเทศอินเดีย ตามตำนานเล่าว่า ในป่านั้นเป็นมหามงคล เช่น ต้นไม้ทั้งหลาย สับเปลี่ยนกันเกิดดอกออกผลอยู่ตลอดทุกฤดูกาล มีน้ำใสสะอาด สัตว์ตัวไหนเจ็บป่วยวิ่งผ่านเข้าไปได้กินน้ำในที่นั้น อาการป่วยนั้นจะสูญสิ้นไป ใบหญ้าและเถาวัลย์สดชื่นอยู่เป็นนิจ สัตว์ที่ดุร้ายและโหดร้ายเบียดเบียนกัน เมื่อเข้าไปผ่านในสถานที่นั้น ก็ราวกับว่าเป็นเพื่อนเป็นมิตรกันเอง สัตว์ทั้งหลายก็อาศัยป่านั้นอยู่ โดยความรื่นเริง กลิ่นโสโครกซากสัตว์ต่างๆ ที่ตายในที่นั้นไม่ปรากฏ ถ้าหากว่าความตายจะมาถึงตน ก็ต้องดิ้นรนหนีไปตายที่อื่น

    ในที่นี้พวกชาวศากยสกุลวงศ์ของ พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ได้ไปตั้งเมืองหลวงในที่นั้นเรียกว่า กรุงกบิลพัสดุ ซึ่งเป็นบ้านเมืองมาจนบัดนี้ (แควันเนปาล)

    นี่เกิดจากความศักดิ์สิทธิ์ ซึ่ง กปิลฤๅษี ได้ไปเจริญทิพยมนต์อยู่ในที่นั้น วิธีเจริญของฤๅษีตนนั้น

    วาระแรก เขาได้หันหน้าไปทางทิศตะวันออก ได้เจริญมนต์หมวดนี้อยู่ตลอด ๗ วัน
    วาระที่ ๒ เขาได้หันหน้าไปทางทิศอุดร
    วาระที่ ๓ เขาได้หันหน้าไปทางทิศใต้
    วาระที่ ๔ เขาได้หันหน้าไปทางทิศตะวันตก
    วาระที่ ๕ เขาได้หันหน้าลงไปทางปฐพี
    วาระที่ ๖ เขาได้ยกมือ แหงนหน้าขึ้นไปในอากาศ ทำจิตให้สะอาด เอารัศมีของดวงดาวเป็นนิมิตร
    วาระที่ ๗ เขาได้เจริญอานาปาน์ ปล่อยลมของเขาเองออกทุกทิศ

    โดยอำนาจแห่งกำลังจิต ที่ประกอบด้วยพรหมวิหารทั้ง ๔ ที่เรียกว่า “ทิพยมนต์” ดังนี้...
    เล่ามานี้ตามเรื่องราวของชาวอินเดียเล่าให้ฟัง
    ต่อจากนั้น ก็ให้นึกถึง พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ผู้บริสุทธิ์ด้วยคุณธรรมอันเลิศ จนพระองค์สามารถจะเสกธาตุของพระองค์เอง ให้บริสุทธิ์ยิ่งกว่าธาตุใดๆ ทั้งหมดในโลก

    เช่น พระบรมธาตุอันเป็นธาตุกายสิทธิ์ ซึ่งมีปรากฏอยู่ในผู้เคารพนับถือ ได้ทราบข่าวว่าเสด็จมาบ้าง เสด็จหนีบ้าง ซึ่งเป็นสิ่งที่แปลกประหลาดอยู่มาก

    สิ่งเหล่านี้ก็สำเร็จมาจากดวงจิตอันบริสุทธิ์นั้นเอง
    เมื่อจิตบริสุทธิ์แล้ว ธาตุทั้ง ๖ ก็พลอยบริสุทธิ์ไปด้วย
    เมื่อธาตุเหล่านี้เนื่องอยู่ในโลก อาจจะทำให้ได้รับความชุ่มเย็นไปด้วยก็ได้ เพราะธาตุทั้งหมดย่อมเนื่องถึงกัน

    ถ้าพวกเราพุทธบริษัทตั้งใจประพฤติปฏิบัติเช่นนั้น เชื่อแน่ว่าต้องได้รับผลดีตามจำนวนของปริมาณ
    ถ้า หากว่าจิตมิได้ฝึกหัดในทางนี้ มัวเมาแต่สะสมความชั่วใส่ตนแล้ว จิตก็ต้องเดือดร้อน อำนาจแห่งความร้อนของดวงจิต ก็จะทำให้ธาตุในตัวทุกส่วนร้อนเป็นไฟไปด้วย

    ไฟเหล่านี้ก็จะต้อง ระบายไปในที่ต่างๆ ทั่วโลก ความร้อนอันนี้เมื่อมีปริมาณมากขึ้น ก็จะจับกลุ่มกันขึ้น เป็นเครื่องสนับสนุนช่วยแสงอาทิตย์ให้แรงกล้า แล้วก็ทำอากาศธาตุ ดิน น้ำ ไป ลม ให้วิบัติเปลี่ยนแปลงไปโดยอาการต่างๆ เช่น ฤดูทั้ง ๓ ก็จักไม่คงที่

    เมื่อเป็นเช่นนี้ มนุษย์ที่อาศัยอยู่ ก็จะต้องวิบัติหรือเดือดร้อนไปตามกัน ขึ้นที่สุดของความชั่ว ก็จะทำให้โลกที่เราอาศัยอยู่นี้แตกสลายไป ที่เขาเรียกว่า ไฟประลัยกัลป์ ไหม้โลก

    คนเราไม่ได้นึกคิด จึงเหมาให้ธรรมชาติเป็นเองเสียโดยมากเมื่อเป็นเช่นนี้ ก็มิไช่นักเหตุผล เพราะสิ่งทั้งหลายต้องมีเหตุจึงมีผล

    โลกที่ปรากฏอยู่ ย่อมสำเร็จมาจากดวงจิตเป็นตัวเหตุ จิตดี โลกต้องดี จิตชั่ว โลกต้องชั่ว

    ฉะนั้น จึงได้เขียนแนวอบรมดวงจิตไว้ในหนังสือเล่มนี้เพื่อสร้างความร่มเย็นเป็นสุขต่อไป...


    พระสุทธิธรรมรังสีคัมภีรเมธาจารย์ (ท่านพ่อลี)

    เริ่มสวด
    นะโมตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมา สัมพุทธัสสะ
    นะโมตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมา สัมพุทธัสสะ
    นะโมตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมา สัมพุทธัสสะ

    พุทธัง อายุ วัฑฒะนัง ชีวิตัง ยาวะ นิพพานัง สะระนังคัจฉามิ
    ธัมมัง อายุ วัฑฒะนัง ชีวิตัง ยาวะ นิพพานัง สะระนังคัจฉามิ
    สังฆัง อายุ วัฑฒะนัง ชีวิตัง ยาวะ นิพพานัง สะระนังคัจฉามิ

    ทุติยัมปิ พุทธัง อายุ วัฑฒะนัง ชีวิตัง ยาวะ นิพพานัง สะระนังคัจฉามิ
    ทุติยัมปิ ธัมมัง อายุ วัฑฒะนัง ชีวิตัง ยาวะ นิพพานัง สะระนังคัจฉามิ
    ทุติยัมปิ สังฆัง อายุ วัฑฒะนัง ชีวิตัง ยาวะ นิพพานัง สะระนังคัจฉามิ

    ตติยัมปิ พุทธัง อายุ วัฑฒะนัง ชีวิตัง ยาวะ นิพพานัง สะระนังคัจฉามิ
    ตติยัมปิ ธัมมัง อายุ วัฑฒะนัง ชีวิตัง ยาวะ นิพพานัง สะระนังคัจฉามิ
    ตติยัมปิ สังฆัง อายุ วัฑฒะนัง ชีวิตัง ยาวะ นิพพานัง สะระนังคัจฉามิ

    1. วาโย จะ พุทธะคุนัง อะระหังพุทโธ อิติปิโส ภะคะวา นะมามิหัง
    อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ วิชาจะระณะ สัมปันโน สุคะโต โลกะวิทู
    อะนุตะโร ปุริสะทัม มะสาระถิ สัตถา เทวะ มนุสสานัง พุทโธ ภะคะวาติ

    วาโย จะ ธัมเมตัง อะระหังพุทโธ อิติปิโส ภะคะวา นะมามิหัง
    สวากขาโต ภะคะวะตา ธัมโม สันทิฏฐิโก อะกาลิโก เอหิปัสสิโก
    โอปะนะยิโก ปัจจัตตัง เวทิตัพโพ วิญญู:pติ

    วาโย จะ สังฆานัง อะระหังพุทโธ อิติปิโส ภะคะวา นะมามิหัง
    สุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ
    อุชุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ
    ญายะปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ
    สามีจิปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ
    ยะทิทัง จัตตาริ ปุริสะยุคานิ อัฏฐะ ปุริสะปุคคะลา
    เอสะภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ
    อาหุเนยโย ปาหุเนยโย ทักขิเณยโย อัญชะลิกะระณีโย
    อะนุตตะรัง ปุญญักเขตตัง โลกัสสาติ

    2. เตโช จะ พุทธะคุนัง อะระหังพุทโธ อิติปิโส ภะคะวา นะมามิหัง
    อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ วิชาจะระณะ สัมปันโน สุคะโต โลกะวิทู
    อะนุตะโร ปุริสะทัม มะสาระถิ สัตถา เทวะ มนุสสานัง พุทโธ ภะคะวาติ

    เตโช จะ ธัมเมตัง อะระหังพุทโธ อิติปิโส ภะคะวา นะมามิหัง
    สวากขาโต ภะคะวะตา ธัมโม สันทิฏฐิโก อะกาลิโก เอหิปัสสิโก
    โอปะนะยิโก ปัจจัตตัง เวทิตัพโพ วิญญู:pติ

    เตโช จะ สังฆานัง อะระหังพุทโธ อิติปิโส ภะคะวา นะมามิหัง
    สุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ
    อุชุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ
    ญายะปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ
    สามีจิปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ
    ยะทิทัง จัตตาริ ปุริสะยุคานิ อัฏฐะ ปุริสะปุคคะลา
    เอสะภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ
    อาหุเนยโย ปาหุเนยโย ทักขิเณยโย อัญชะลีกะระณีโย
    อะนุตตะรัง ปุญญักเขตตัง โลกัสสาติ

    3. อาโป จะ พุทธะคุนัง อะระหังพุทโธ อิติปิโส ภะคะวา นะมามิหัง
    อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ วิชาจะระณะ สัมปันโน สุคะโต โลกะวิทู
    อะนุตะโร ปุริสะทัม มะสาระถิ สัตถา เทวะ มนุสสานัง พุทโธ ภะคะวาติ

    อาโป จะ ธัมเมตัง อะระหังพุทโธ อิติปิโส ภะคะวา นะมามิหัง
    สวากขาโต ภะคะวะตา ธัมโม สันทิฏฐิโก อะกาลิโก เอหิปัสสิโก
    โอปะนะยิโก ปัจจัตตัง เวทิตัพโพ วิญญู:pติ

    อาโป จะ สังฆานัง อะระหังพุทโธ อิติปิโส ภะคะวา นะมามิหัง
    สุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ
    อุชุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ
    ญายะปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ
    สามีจิปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ
    ยะทิทัง จัตตาริ ปุริสะยุคานิ อัฏฐะ ปุริสะปุคคะลา
    เอสะภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ
    อาหุเนยโย ปาหุเนยโย ทักขิเณยโย อัญชะลิกะระณีโย
    อะนุตตะรัง ปุญญักเขตตัง โลกัสสาติ

    4. ปะฐะวี จะ พุทธะคุนัง อะระหังพุทโธ อิติปิโส ภะคะวา นะมามิหัง
    อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ วิชาจะระณะ สัมปันโน สุคะโต โลกะวิทู
    อะนุตะโร ปุริสะทัม มะสาระถิ สัตถา เทวะ มนุสสานัง พุทโธ ภะคะวาติ

    ปะฐะวี จะ ธัมเมตัง อะระหังพุทโธ อิติปิโส ภะคะวา นะมามิหัง
    สวากขาโต ภะคะวะตา ธัมโม สันทิฏฐิโก อะกาลิโก เอหิปัสสิโก
    โอปะนะยิโก ปัจจัตตัง เวทิตัพโพ วิญญู:pติ

    ปะฐะวี จะ สังฆานัง อะระหังพุทโธ อิติปิโส ภะคะวา นะมามิหัง
    สุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ
    อุชุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ
    ญายะปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ
    สามีจิปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ
    ยะทิทัง จัตตาริ ปุริสะยุคานิ อัฏฐะ ปุริสะปุคคะลา
    เอสะภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ
    อาหุเนยโย ปาหุเนยโย ทักขิเณยโย อัญชะลิกะระณีโย
    อะนุตตะรัง ปุญญักเขตตัง โลกัสสาติ

    5.อากาสา จะ พุทธะคุนัง อะระหังพุทโธ อิติปิโส ภะคะวา นะมามิหัง
    อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ วิชาจะระณะ สัมปันโน สุคะโต โลกะวิทู
    อะนุตะโร ปุริสะทัม มะสาระถิ สัตถา เทวะ มนุสสานัง พุทโธ ภะคะวาติ

    อากาสา จะ ธัมเมตัง อะระหังพุทโธ อิติปิโส ภะคะวา นะมามิหัง
    สวากขาโต ภะคะวะตา ธัมโม สันทิฏฐิโก อะกาลิโก เอหิปัสสิโก
    โอปะนะยิโก ปัจจัตตัง เวทิตัพโพ วิญญู:pติ

    อากาสา จะ สังฆานัง อะระหังพุทโธ อิติปิโส ภะคะวา นะมามิหัง
    สุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ
    อุชุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ
    ญายะปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ
    สามีจิปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ
    ยะทิทัง จัตตาริ ปุริสะยุคานิ อัฏฐะ ปุริสะปุคคะลา
    เอสะภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ
    อาหุเนยโย ปาหุเนยโย ทักขิเณยโย อัญชะลิกะระณีโย
    อะนุตตะรัง ปุญญักเขตตัง โลกัสสาติ

    6.วิญญาณัง จะ พุทธะคุนัง อะระหังพุทโธ อิติปิโส ภะคะวา นะมามิหัง
    อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ วิชาจะระณะ สัมปันโน สุคะโต โลกะวิทู
    อะนุตะโร ปุริสะทัม มะสาระถิ สัตถา เทวะ มนุสสานัง พุทโธ ภะคะวาติ

    วิญญาณัง จะ ธัมเมตัง อะระหังพุทโธ อิติปิโส ภะคะวา นะมามิหัง
    สวากขาโต ภะคะวะตา ธัมโม สันทิฏฐิโก อะกาลิโก เอหิปัสสิโก
    โอปะนะยิโก ปัจจัตตัง เวทิตัพโพ วิญญู:pติ

    วิญญาณัง จะ สังฆานัง อะระหังพุทโธ อิติปิโส ภะคะวา นะมามิหัง
    สุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ
    อุชุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ
    ญายะปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ
    สามีจิปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ
    ยะทิทัง จัตตาริ ปุริสะยุคานิ อัฏฐะ ปุริสะปุคคะลา
    เอสะภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ
    อาหุเนยโย ปาหุเนยโย ทักขิเณยโย อัญชะลิกะระณีโย
    อะนุตตะรัง ปุญญักเขตตัง โลกัสสาติ

    ธาตุ ปะริสุทธานุภาเวนะ สัพพะทุกขา สัพพะภะยา สัพพะโรคา
    วิมุจจันติ อิติ อุทธะมะโธ ติริยัง สัพพะธิ สัพพัตตะยายะ สัพพาวัน
    ตังโลกัง เมตตา กรุณา มุทิตา อุเปกขา สะหะคะเตนะ เจตะสา
    จะตุตะทิสัง ผะริตตะวา วิระหะติ สุขัง สุปะติ สุขัง ปะฎิพุชฌะติ
    นะปาปะกัง สุปินัง ปัสสะติ มะนุสสานัง ปิโย โหติ อะมะนุสสานัง
    ปิโย โหติ เทวะตา รักขันติ นาสสะ อัคคี วา วิสัง วา สัตถัง วา
    กะมะติ ตุวะฎัง จิตตัง สะมาธิ ยะติ มุขวัณโน วิปปะสีทะติ อะสัมมุฬะโห
    กาลังกะโรติ อุตตะริง อัปปะฏิวิชฌันโต พรหมมะโล กูปะโต โหคิ อิติ
    อุทธะมะโธ ติริยัง อะเวรัง อะเวรา สุขะชีวิโน กะตัง ปุญญัง มัยหัง
    สัพเพภาคี ภะวันตุเม

    ภะวันตุสัพพะมังคะลัง รักขันตุ สัพพะเทวตา สัพพะพุทธานุภาวนะ
    สัพพะธัมมานุภาวนะ สัพพะสังฆานุภาวนะ โสตถี โหนตุ นิรันตะรัง
    อะระหัง พุทโธ อิติปิโส ภะคะวา นะมามิหัง
    ต้นฉบับ โดย

    พระสุทธิธรรมรังสี คัมภีระเมธาจารย์ (ท่านพ่อลี)


    ทิพยมนต์...ท่านพ่อลี ธมฺมธโร
     
  2. พริ้มพักตร์ลักษณา

    พริ้มพักตร์ลักษณา สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 กรกฎาคม 2017
    โพสต์:
    11
    ค่าพลัง:
    +12
    สาธุ
     
  3. Jindamunee

    Jindamunee เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 มิถุนายน 2011
    โพสต์:
    341
    ค่าพลัง:
    +1,187
    บทนี้แหละครับสำหรับผู้ฝึกเมตตา(พรหมวิหารธรรม) สายแผ่เมตตา+นักสวดมนต์


    ขอแนะนำและเชิญชวนท่านทั้งหลายสวดบทนี้แล้วจึงอัญเชิญคุณพระไตรสรคมณ์มาแผ่เมตตาให้ไพศาล(สำหรับผู้แผ่เมตตาเป็นอยู่แล้ว) ทำประจำเพื่อปรับสถานการณ์ภัยธาตุวืปริตในประเทศที่กำลังเกิดขึ้นเนื่องๆ

    ช่วยๆกันครับ ปกติวิชานี้ว่าด้วยอานิสงส์ปรับธาตุในคน เราจึงมองแค่สุขภาพ แต่ถ้าแผ่เมตตาในสังคมด้วยบทนี้ก็มีผลอีกอย่าง นำมาแผ่เมตตายุควิกฤตก็มีผลอีกอย่าง ระงับซึ่งผลอันน่าทุรนทุรายในระดับต่างๆ แผ่เมตตาให้ธาตุในธรรมชาติจะมีผลคลุมมากเพราะทุกอย่าง"ในกรณีเดือดร้อน" ว่าด้วยเรื่องธาตุทั้งนั้น


    ท่านใดสวดคาถาเงินล้านแผ่เมตตา ถึงเวลาแล้วครับที่นำบทพระคาถาทิพย์มนต์มาแผ่เมตตาก่อนเป็นหลัก
     
  4. Jindamunee

    Jindamunee เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 มิถุนายน 2011
    โพสต์:
    341
    ค่าพลัง:
    +1,187
    พายุโนรุ มาแล้วนะครับ
     

แชร์หน้านี้

Loading...