ช่วยขยายความตนเป็นที่พึ่งแห่งตนหน่อยครับ

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย ballbeamboy2, 11 มกราคม 2012.

  1. ballbeamboy2

    ballbeamboy2 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 สิงหาคม 2011
    โพสต์:
    1,622
    ค่าพลัง:
    +1,618
    อัตตาหิอัตโนนาโถ

    ตนเป็นที่พึ่งแห่งตนนี่ผมเข้าใจว่า ให้พึ่งตัวเองไม่ต้องไปพึ่งใคร ผมเลย งง แล้วพระรัตนตรัยไม่ให้พึ่งหรอ หรือให้เอาแบบตัวอย่างความดี

    แล้วจะพึ่งอะไรตัวเอง พระพุทธเจ้าตรัสกับพระอานนท์ว่า ตนเป็นที่พึ่งแห่งตนดีที่สุดแล้ว ผมดูการ์ตูนมาบอกอย่างงี้นะครับ ผมเลยสงสัย ผมยังเป็นคนเลวอยู่มากจะพึ่งตัวเองคงยากจะทําไงให้พึ่งตนเองได้ พระธรรมที่พระพุทธเจ้าสอนผมก็เข้าใจแต่ไม่ได้ท่องแท้ ไม่ได้เข้าใจแก่นแท้ไรมาก

    แต่ผมดูการ์ตูนชาดก ตอนที่พระโพธิสัตว์เกิดใหม่ๆเป็นนก แล้วไฟไหม้ป่า พ่อแม่ก็บินหนี(ไฟไหม้ป่า) แล้วพึ่งเกิด ปีกก็บินไม่ได้เท้าทั้งสองมีก็เดินไม่ได้พ่อแม่ก็บินหนีไปซะแล้ว แล้วตอนนั้นก็ทําสมาธิแล้วก็ อธิฐาณขอให้ไฟหายไป แล้วอย่าไปทําร้ายคนอื่นก็หายจริงๆ แบบนี้ เรียกว่าตนเป็นที่พึ่งแห่งตนได้ไหมครับ

    [ame=http://www.youtube.com/watch?v=SW-gyeJCjBY] ธรรมะ นิทาน ชาดก เรื่อง นกคุ้ม2.avi - YouTube[/ame]

    นี่อ่าครับ


    เพื่อผมจะได้พึ่งตัวเองได้
     
  2. หมี พลเสน

    หมี พลเสน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 ตุลาคม 2010
    โพสต์:
    620
    ค่าพลัง:
    +358
    เป็น ปัจตัง ครับ ทำเอง รู้เอง ครับ เหมือนเรา กิน พิซซ่า คนไม่เคยกิน ถามเราว่ารส ชาติเป็นยังไง อธิบาย ยังไง ก็ รับรู้ได้ไม่เท่า กินเองครับ
     
  3. ฐาณัฏฐ์

    ฐาณัฏฐ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 มกราคม 2008
    โพสต์:
    6,197
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +4,075
    <CENTER style="FONT-FAMILY: 'MS Sans Serif'; COLOR: rgb(0,0,255); FONT-SIZE: medium; FONT-WEIGHT: normal">คิลานสูตร</CENTER><CENTER style="FONT-FAMILY: 'MS Sans Serif'; COLOR: rgb(0,0,255); FONT-SIZE: medium; FONT-WEIGHT: normal">ว่าด้วยมีตนเป็นเกาะ</CENTER><CENTER style="FONT-FAMILY: 'MS Sans Serif'; COLOR: rgb(0,0,255); FONT-SIZE: medium; FONT-WEIGHT: normal"></CENTER>
    </PRE>
    </PRE>

    [๗๑๒] ดูกรอานนท์ ก็ภิกษุเป็นผู้มีตนเป็นเกาะ มีตนเป็นที่พึ่ง ไม่มีสิ่งอื่นเป็นที่พึ่ง คือ มีธรรมเป็นเกาะ มีธรรมเป็นที่พึ่ง ไม่มีสิ่งอื่นเป็นที่พึ่งอยู่ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมพิจารณาเห็นกายในกายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติกำจัดอภิชฌา และโทมนัสในโลกเสียดูกรอานนท์ ภิกษุเป็นผู้มีตนเป็นเกาะมีตนเป็นที่พึ่ง ไม่มีสิ่งอื่นเป็นที่พึ่ง คือ มีธรรมเป็นเกาะมีธรรมเป็นที่พึ่ง ไม่มีสิ่งอื่นเป็นที่พึ่งอยู่ อย่างนี้แล.
    </PRE>

    [๗๑๓] ดูกรอานนท์ ก็ผู้ใดผู้หนึ่งในบัดนี้ก็ดี ในเวลาที่เราล่วงไปแล้วก็ดี จักเป็นผู้มีตนเป็นเกาะ มีตนเป็นที่พึ่ง ไม่มีสิ่งอื่นเป็นที่พึ่ง คือ มีธรรมเป็นเกาะ มีธรรมเป็นที่พึ่งไม่มีสิ่งอื่นเป็นที่พึ่ง ภิกษุเหล่าใดเป็นผู้ใคร่ต่อการศึกษา ภิกษุเหล่านั้นจักเป็นผู้เลิศ.
    </PRE>

    http://www.84000.org/tipitaka/pitaka2/v.php?B=19&A=4092&Z=4135
    </PRE>

    ได้คำตอบแล้วนะครับ ^^
    </PRE>
     
  4. paetrix

    paetrix เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 เมษายน 2011
    โพสต์:
    2,478
    ค่าพลัง:
    +1,878
    ...ใช่แล้ว ใครจะเข้าใจธรรมมะ ถ้า ตัวเองไม่พยายามเข้าใจ ถ้ามีความตั้งใจ ในอิทธิบาท4 นั้น( ฉันทะ วิริยะ จิตตะ วิมังสา) กระทำสิ่งใดก็สำเร็จ ทุกประการ... อิทธิบาท4ใครเป็นคนทำ?.....ก็ตัวเองนี่แหละ:cool:
     
  5. นราสภา

    นราสภา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 ธันวาคม 2010
    โพสต์:
    1,961
    ค่าพลัง:
    +356
    ลองค่อยๆทําความเข้าใจดู

    "ตนเป็นที่พึ่งแห่งตน" นั้นหมายว่า

    ตนในที่นี้หมายถึงสิ่งที่ดำรงณ์อยู่ ที่สมมุติสัจจะเรียกว่า บุคคล และบุคคลในพุทธพจน์กล่าวว่า ประกอบด้วย ธาตุ 6
    1.ธาตุดิน
    2.ธาตุน้ำ
    3.ธาตุลม
    4.ธาตุไฟ
    5.อากาศธาตุหรือช่องว่าง
    6.วิญญาณธาตุ

    นั้นก็คือสรรพสัตว์ทั้งหลายที่กว่าว่าเป็นบุคคล ผู้นั้นๆ

    ฉนั้น ตนนั้นแหละกระทำย่อมได้รับผลที่ตนกระทำนั้นเอง ดังนั้นตนนี้แหละจะกระทำดีก็ได้ กระทำชั่วก็ได้ กระทำไม่ดีไม่ชั่วก็ได้ ก็ได้ ที่ก่อให้เกิดสุขเกิดทุกข์ หรือเจริญหรือเสื่อมกับตนเองได้

    ดัง นั้นความดี ความชั่ว จึงไม่มีใครกระทำแทนให้ใครหรือผู้ใดได้ ผู้ใดทำผู้นั้นก็ได้รับผลตามนั้น เมื่อทำดีย่อมได้ดี ทำชั่วย่อมได้ชั่ว

    ดังนั้นผู้ที่หวังความเจริญ ความสุข ห่างจากความทุกข์ จึงต้องกระทำและสรรหาด้วยตัวของตนเอง

    ก็จะได้ว่า ตนจึงเป็นที่พึ่งแห่งตน .

    และผู้อื่นหาเป็นที่พึ่งแห่งตนได้อย่างดี เมื่อตนยังเป็นที่พึ่งแห่งตนยังไม่ได้


    ตัวอย่าง เช่น

    เมื่อยังทำงานนั้นยังไม่เป็นยังไม่ได้ศึกษาด้วยตนเองจนสมบูรณ์ แต่อยากทำงานแม้จะมีผู้อื่นอนุเคราะห์เอางานนั้นไห้ทำ ก็ย่อมไม่สามารถทำงานได้ และมีแต่จะทำงานนั้นให้เสียหาย

    เหมือนตั้งคําถามใดๆ บนบรอด์ บางครั้งมันเกินปัญญา เราก็โพสถาม เเต่เราเคยได้ลองย้อนกลับไปดูเหตุ ของมันไหมว่า ทําไมเราถึงไม่รู้ ไม่เข้าใจ ทัาไมจึงสงสัยเป็นนิจ

    เป็นเพราะ บรรยากาศมันน่าตั้งคําถาม หรือ เราไม่รู้เพราะไม่ได้ลอง ศึกษาค้นคว้ามันเเบบเต็มกําลัง

    ลองหาดูน่ะจ๊ะ เเล้วจะเข้าใจคําว่า ตนเป็นที่พึ่งเเห่งตนได้ดีขึ้น
     
  6. Norlnorrakuln

    Norlnorrakuln เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 สิงหาคม 2011
    โพสต์:
    3,813
    ค่าพลัง:
    +15,095
    ผู้มีปกติ นอนน้อยตื่นมากในยามราตรี สำหรับนักปฎิบัติ ถือว่าเป็นปฎิปทาอันดีงาม
    (แต่สำหรับเรา...เพ่งกสิณคอม คงพอได้กระมัง !!)

    ขออนุโมทนา ในกุศลจิต ของญาติธรรมทุกท่านผู้ใฝ่ธรรมทั้งหลาย ในยามราตรี

    ท่านทั้งหลายได้ชื่อว่า เป็นผู้อยู่แม้เพียงราตรีเดียว เจริญ

    ระยะทางยาวไกลสำหรับผู้เหนื่อยล้า ราตรียาวนานสำหรับผู้ตื่นอยู่ สังสารวัฎยาวนาน
    สำหรับคนพาลผู้ไม้รู้ พระสัจจธรรม

    ด้วยเหตุที่ว่า บัณฑิต ย่อมไม่อิ่มในถ้อยคำที่เป็น สุภาษิต

    "อัตตาหิ อัตโนนาโถ โกหินาโถ ปโรสิยา"
    ตนแลเป็นที่พึ่งแห่งตน ใครเล่าจะเป็นที่พึ่ง แก่เราได้ ผู้ฝึกตนดีแล้วย่อมได้ที่พึง ที่ได้มาแสนยาก

    เพราะเรายังไม่รู้วิธีฝึกตน จึงยังไม่ได้ตนเป็นที่พึ่ง เราถึงต้องอาศัย พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ เป็นกัลยานมิตร เปรียบเหมือนพรหมจรรย์ทั้งหมด เปรียบเหมือนผู้ชี้ขุมทรัพย์ เปรียบเหมือนผู้ชี้บอกทางแก่คนหลง เปรียบเหมือนผู้เปิดของที่ปิด เปรียบเหมือนประทีบแสงสว่าง
    ด้วยพระมหากรุณาอันมีในหมู่สัตว์นั้นแล

    ดังได้รับประทานวิสัชชนามา

    ก็มีด้วยประการฉะนี้

    เจริญในรสธรรม
     
  7. นราสภา

    นราสภา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 ธันวาคม 2010
    โพสต์:
    1,961
    ค่าพลัง:
    +356
    กราบอนุโมทนา

    กราบอนุโมทนา เจ้าค่ะ
     
  8. Norlnorrakuln

    Norlnorrakuln เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 สิงหาคม 2011
    โพสต์:
    3,813
    ค่าพลัง:
    +15,095
    ทำไม่วันนี้ตอบ สั้นจังแฮะ ? :boo:
     
  9. นราสภา

    นราสภา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 ธันวาคม 2010
    โพสต์:
    1,961
    ค่าพลัง:
    +356
    น้านนนนนนนนนนนนนนนนนน งัยยยย

    น้านนนนนนนนนนนงัยยยย หลวงพี่หลงไปติด ใน อุปทานส่วนตน เข้าเเล้ววววงัยยย




    (deejai)(deejai)(deejai)(deejai)(deejai)

    ล้อเล่นนะค่ะอย่าไปจริงจัง
     
  10. Norlnorrakuln

    Norlnorrakuln เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 สิงหาคม 2011
    โพสต์:
    3,813
    ค่าพลัง:
    +15,095

    อ๋อคลายเครียดยามราตรีใช่มั้ย...จัดไปสิ !!


    เชีย.gif ความสามารถพิเศษ.gif ความสามารถพิเศษ2.gif ดีใจ.gif
    ร่าเริง ร่าเริง นะ นางมารตับเป็ด

    ฮ่า ในรสธรรม
     
  11. GhostHead

    GhostHead เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 กุมภาพันธ์ 2011
    โพสต์:
    1,010
    ค่าพลัง:
    +1,878
    ผมคิดว่าคุณ<!-- google_ad_section_start(weight=ignore) -->ballbeamboy2ก็พึ่งตัวเองทุกวันอยู่แล้ว เพียงแต่มิได้สังเกต

    ผมขอยกตัวอย่างสักเล็กน้อย
    เช่น คุณปวดอุจจาระ คุณฝากใครไปถ่ายแทนตัวคุณได้มั้ย

    คุณปวดปัสสาวะ คุณฝากใครไปถ่ายแทนตัวคุณได้มั้ย

    ถ้าคุณหิวข้าว คุณฝากให้คนอื่นกินแทน คุณจะอิ่มมั้ย

    หวังว่าคงช่วยให้เข้าใจได้มากขึ้นนะครับ


    เจริญในธรรมครับ
     
  12. Dhamma Osoth

    Dhamma Osoth Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 มกราคม 2012
    โพสต์:
    20
    ค่าพลัง:
    +78
    [​IMG]


    ...พระพุทธเจ้าท่านทรงกล่าวเป็นพระบาลีว่า "อัตตนา โจทยัตตานัง" จงเตือนตนด้วยตนเองอยู่เสมอ


    อย่าไปเที่ยวนั่งเตือนชาวบ้านเขา เตือนตัวเองแหละเป็นสำคัญ ให้ตัวรู้ตัวไว้ว่า เวลานี้เราทำอะไร เวลานี้เราต้องการอะไร โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เวลานี้เราเจริญอานาปานุสสติกรรมฐาน หรือแม้กรรมฐานกองอื่นๆ ก็เหมือนกัน จะต้องเตือนตนเองไว้เสมอให้เรารู้ตัวเองว่า เวลานี้เรารู้ลมหายใจเข้าลมหายใจออก เราต้องการรู้ลมกระทบฐานไหนบ้าง ลมเข้าออกกระทบฐานไหนบ้าง นี่เราเตือนตน และบังคับจิตไว้เสมอ ทีนี้ผลที่จะพึงได้รับพระพุทธเจ้าท่านทรงกล่าวไว้ว่า..


    "อัตตา หิ อัตตโน นาโถ" ตนแลย่อมเป็นที่พึ่งแห่งตน

    "โกหิ นาโถ ปโรสิยา" บุคคลอื่นใครเล่าจะเป็นที่พึ่งเราได้

    "อัตตนา หิ สุทันเตนะ" เมื่อเราฝึกฝนตนของเราดีแล้ว

    "นาถัง ลภติ ทุลภัง" เราจะได้ที่พึ่ง อันบุคคลอื่นพึ่งได้โดยยาก


    คือเป็นอันว่า ผลของการเจริญสมาธิภาวนาวิปัสสนาญาณ พระพุทธเจ้าทรงยืนยันว่า เราเท่านั้นที่ทำตนเป็นที่พึ่งแห่งตน


    หมายความว่า ในเมื่อเรารับคำสอนขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าแล้ว ต้องปฏิบัติตามด้วยตนเอง ไม่ใช่จะไปนั่งอ้อนวอนให้ครูบาอาจารย์ช่วยบ้าง ขอบารมีคนนี้ช่วย ขอบารมีพระพุทธเจ้าช่วย ขอบารมีพระปัจเจกพุทธเจ้าช่วย ขอบารมีพระอรหันต์ช่วย ขอบารมีเทวดาพรหมช่วย เป็นต้น.. เรานึกน้อมถึงความดีขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า และท่านอื่นๆ ที่กล่าวมานั้นเป็นของดี แต่ทว่าอย่านึกว่า จะมาให้พระพุทธเจ้าทำจิตเราให้เป็นสมาธิ อันนั้นไม่ได้


    พระพุทธเจ้าทรงยืนยันไว้แล้ว ว่าใช้ปัญญาพิจารณาให้เห็น ค่อยๆ คิด ค่อยๆ นึก เห็นตามความจริง เราเรียนหาความจริงกันในหลักพระพุทธศาสนา ไม่ใช่จะมานั่งโกหกมดเท็จตนเอง ถ้าเห็นตัวเราแล้วก็เห็นบุคคลอื่น ดูหาความเป็นจริงให้พบ


    จนกระทั่งจิตสลด คิดว่าร่างกายของคนและสัตว์เต็มไปด้วยความสกปรกจริง ๆ ร่างกายของคนและสัตว์มีทุกข์จริง ๆ ร่างกายของคนและสัตว์หาความเที่ยงไม่ได้จริง ๆ มันมีการสลายตัวไปในที่สุด ไม่มีใครจะบังคับบัญชาร่างกายให้มีสภาพทรงตัว ไม่มีใครกล้าจะแสดงว่าเราเป็นเจ้าของร่างกายจริงจัง โดยการบังคับให้ทรงตัวได้ ในเมื่อร่างกายมันไม่ดีอย่างนี้ เราจะไปเมามันเพื่อประโยชน์ในโลกีย์วิสัยทำไม...


    พระเดชพระคุณหลวงพ่อพระราชพรหมยาน
    (หลวงพ่อฤาษี วัดท่าซุง)


    Credit : Facebook BuddhaSattha
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • IMG_4152.JPG
      IMG_4152.JPG
      ขนาดไฟล์:
      33.3 KB
      เปิดดู:
      765
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 12 มกราคม 2012
  13. นิวรณ์

    นิวรณ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2008
    โพสต์:
    9,051
    ค่าพลัง:
    +3,456
    ในการปฏิบัติธรรมนั้น เราจะสดับความได้ว่า "อยาตนะ6 เป็นที่ตั้งของราคะ ตัณหา"

    อะไรก็ตามที่เป็น ที่ตั้ง ให้กับ ตัณหา ก็เท่ากับ ตรงนั้นตกเป็นเมืองขึ้น หรือ ไร้สภาพ
    การเป็น อิสระในการบริหารจัดการ คงเคยได้ยินนะ "ตัณหา คือ เจ้านาย" ส่วนผู้
    ประพฤติปฏบัติธรรม เป็นเพียง "ทาส(พึ่งตัวเองไม่ได้ ก็เรียก)"

    ดังนั้น เราจะต้องหาทาง เอาอยาตนะ6 ออก ไม่งั้นเราก็ไม่พ้นความเป็น ทาส

    แต่....เราจะเอาอะไรจิ้มให้ลูกตาบอด เอาเทียนหยอดให้หูไหม้ เอาจมูกไปดม
    กาวให้เยื่อบุสลายก็ไม่ใช่ จะกินน้ำร้อนให้ลิ้นมันชาก็คนละเรื่อง จะปฏิเสธการ
    อาลัยอาวรณ์อารมณ์ก็เป็นการอาลัยการอารมณ์ปฏิเสธ ก็เรียกว่า แก้ไม่ได้จริง
    แถม ไม่ใช่ทางอีกด้วย

    ทีนี้ อุบายนำอนาตนะ6 ออกเนี่ยะ พระพุทธองค์ตรัสชี้บอกไว้แล้ว อย่างเช่น
    อานาปานสติ นี่ก็เอาออกได้ วิธีการ ยกไว้ก่อน

    เรามาดูกันว่า หากเอา อยาตนะ6 ออกเกิดอะไรขึ้น

    ก็ไม่ต้องอาศัยการฟังธรรมจากสิ่งภายนอก ผ่านอยาตนะ6 ไง
    แล้ว เราจะอาศัยอะไรฟังได้หละ ในเมื่อ อยาตนะ6 ไม่มี

    ก็นะ หากปฏิบัติจนถึงจุดเนี่ยะ ท่านจะเรียกสิ่งนั้นว่า "จักษุธรรม"

    สรุปหละนะ

    โสดาบันเท่านั้น ที่เอา อยาตนะ6ออกได้สำเร็จ ด้วยอุบายวิธีของพระพุทธองค์
    และ โสดาบันเท่านั้นที่ชื่อว่ามี "จักษุธรรม"

    สรุปอีกที

    เมื่อไหร่ที่เราพึ่งตนเองได้ ก็นั่นไง ต้องเป็นพระโสดาบันให้ได้ก่อน ไม่อย่าง
    นั้น ก็ฝึกฝนไปก่อน อย่ารีบร้อน ( การรีบร้อนเป็นการ อาลัยอาวรณ์ นิวรณ์ (k) นะจ๊ะ )
     
  14. ผู้พันจุ่น

    ผู้พันจุ่น เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 สิงหาคม 2007
    โพสต์:
    1,396
    ค่าพลัง:
    +2,983
    เสริมให้อีกช่อง......

    คนขายหมู มีโรงฆ่า มีเขียงขายเอง เมื่อร่ำรวย แต่มีโรคประหลาด ปวดเนื้อตัว
    รักษาเท่าไรก็ไม่หาย ตะเวนรักษาไปทั่ว จนแทบหมดเนื้อหมดตัวที่มีทุนอยู่
    วันหนึ่งได้พบพระองค์หนึ่ง...บอกว่า โยม ไม่ต้องไปรักษาที่ไหนหรอก เดี๋ยวมัน
    ก็หายเอง ..ทรมานมาเป็น 10 ปี หมดตัวพอดี

    อยู่ ๆ ไอ้โรคที่เป็นก็หายไปเองเฉย ๆ .........นี่ไง ต้องพึ่งตนเอง กรรมที่ตัวเองก่อ
    ใครก็ช่วยไม่ได้ ตัวเองเท่านั้น ต้องทำบุญทำความดีให้มาก ๆ เมื่อบุญมากกว่าบาป
    กรรมมันก็บรรเทา บุญส่งเสริม สิ่งที่ดี ๆ มันก็เข้ามา

    ตัวเองทั้งนั้น ไม่ต้องไปหาใครให้ช่วยเหลือหรอก นอกจากเนื้อนาบุญที่เราจะทำบุญ
    อาจช่วยเสริมให้ทวีคูณ หมดเวรกรรมไปเอง เพราะมันตามไม่ทัน..........
     
  15. deemonster

    deemonster เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 มกราคม 2007
    โพสต์:
    0
    ค่าพลัง:
    +805
    ผมว่าเราก็พึ่งตนเองมาแต่ต้นล่ะครับ แค่ไม่รู้เท่านั้นเอง
     
  16. เฟลม

    เฟลม สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 สิงหาคม 2011
    โพสต์:
    90
    ค่าพลัง:
    +15
    สติปัฏฐาน 4

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมพิจารณาเห็นกายในกายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติกำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสีย

    ย่อมพิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติกำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสีย

    ย่อมพิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติกำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสีย

    ย่อมพิจารณาเห็นธรรมในธรรมอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสีย
     
  17. เด็กอนุบาล

    เด็กอนุบาล เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 กรกฎาคม 2007
    โพสต์:
    689
    ค่าพลัง:
    +4,156
    ตนเป็นที่พึ่งแห่งตน ก็คือตนพึ่งความดีที่ตนมี เพื่อนำความสุขที่แท้จริงมาให้ตน
    เพราะตนไม่สามารถไปพึ่งใครได้อย่างจริงจังเลย

    ตนจะพึ่งขันธ์ห้าร่างกายของตน พึ่งลาภ ยศ สรรญเสริญ สุขที่เข้ามาในชีวิตตน สิ่งเหล่านี้มันก็ไม่อยู่ให้ตนเองพึ่งได้อย่างแท้จริง มีแต่สร้างทุกข์โทษให้ตน มีแต่สร้างภาระให้ตน เพราะมันมีแต่อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา มันมีแต่เกิดดับเกิดดับ ตนจะเอาความสุขของตนไปฝากไว้กับมันก็เป็นไปไม่ได้

    ตนจะพึ่งขันธ์ห้าพึ่งร่างกายของคนอื่น พึ่งลาภ ยศ สรรญเสริญ สุขที่เข้ามาในชีวิตของคนอื่น สิ่งเหล่านี้มันก็ไม่อยู่ให้ตนเองพึ่งได้อย่างแท้จริง มีแต่สร้างทุกข์โทษให้ตน มีแต่สร้างภาระให้ตน เพราะมันมีแต่อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา มันมีแต่เกิดดับเกิดดับ ตนจะเอาความสุขของตนไปฝากไว้กับมันก็เป็นไปไม่ได้อีก

    แล้วตนจะพึ่งอะไรได้เล่านอกจากทาน ศีล ภาวนา ที่ตนอบรมสะสมอยู่ในตน นอกจากสติปัญญา ที่สะสมอยู่ในตน ที่ไม่ได้สูญหายไปไหน มีแต่เพิ่มพูนขึ้น เป็นสมบัติของตนติดตัวตนไปทุกภพทุกชาติ ตามช่วยเหลือตนไปในทุกภพทุกชาติ ตราบตนเข้าสู่พระนิพพาน ตนจึงต้องพึ่งอริยทรัพย์ของตนนั้นแล เพื่อนำความสุขอันแท้จริงมาสู่ตน ถ้าตนไม่ประมาท สมบัติเหล่านี้ก็จะพาให้ตนไปเสวยผลความสุขในสุคติภูมิ มีพระนิพพานเป็นที่สุด

    แต่นอกจากสมบัติด้านดีแล้ว ตนก็ยังมีกิเลส ตัณหา อุปปาทาน อกุศลกรรมเป็นสมบัติด้านไม่ดีในตนเช่นกัน ถ้าตนประมาท ไม่ยอมละสมบัติเหล่านี้ สมบัติเหล่านี้ก็จะคอยสร้างทุกข์สร้างโทษให้ตนไปทุกภพทุกชาติ คอยพาตนเวียนว่ายตายเกิดไปเสวยผลแห่งบาปในอบายภูมิ มีนรกเป็นต้น
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 13 มกราคม 2012
  18. ไมยราพ

    ไมยราพ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 เมษายน 2009
    โพสต์:
    495
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +201
    อัตตทีปสูตร
    ว่าด้วยการพึ่งตนพึ่งธรรม


    [๘๗] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้:-
    สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน อารามของท่านอนาถบิณฑิก-
    *เศรษฐี ใกล้พระนครสาวัตถี. ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกพระภิกษุทั้งหลายแล้วตรัสว่า
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงเป็นผู้มีตนเป็นที่พึ่ง มีตนเป็นสรณะ ไม่มีสิ่งอื่นเป็นสรณะ
    จงเป็นผู้มีธรรมเป็นที่พึ่ง มีธรรมเป็นสรณะ ไม่มีสิ่งอื่นเป็นสรณะ อยู่เถิด. ดูกรภิกษุทั้ง
    หลาย เมื่อเธอทั้งหลายจะมีตนเป็นที่พึ่ง มีตนเป็นสรณะ ไม่มีสิ่งอื่นเป็นสรณะ มีธรรมเป็น
    ที่พึ่ง มีธรรมเป็นสรณะ ไม่มีสิ่งอื่นเป็นสรณะอยู่
    จะต้องพิจารณาโดยแยบคายว่า โสกะ
    ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาส มีกำเนิดมาอย่างไร เกิดมาจากอะไร?
    ดูกรภิกษุทั้ง
    หลาย ก็โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาส มีกำเนิดมาอย่างไร เกิดมาจากอะไร?
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ปุถุชนผู้มิได้สดับแล้วในโลกนี้ ไม่ได้เห็นพระอริยเจ้าทั้งหลาย ไม่ฉลาดใน
    ธรรมของพระอริยเจ้า ไม่ได้รับแนะนำในอริยธรรม ไม่ได้เห็นสัตบุรุษทั้งหลาย ไม่ฉลาดในธรรม
    ของสัตบุรุษ ไม่ได้รับแนะนำในสัปปุริสธรรม ย่อมตามเห็นรูปโดยความเป็นตน ๑ ย่อมเห็น
    ตนมีรูป ๑ ย่อมเห็นรูปในตน ๑ ย่อมเห็นตนในรูป ๑ รูปนั้นของเขาย่อมแปรไป ย่อมเป็นอย่าง
    อื่นไป โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาส ย่อมเกิดขึ้นแก่เขา เพราะรูปแปรไปและ
    เป็นอื่นไป. ย่อมเห็นเวทนาโดยความเป็นตน ฯลฯ ย่อมเห็นสัญญาโดยความเป็นตน ฯลฯ ย่อม
    เห็นสังขารโดยความเป็นตน ฯลฯ ย่อมเห็นวิญญาณโดยความเป็นตน ๑ ย่อมเห็นตนมีวิญญาณ ๑
    ย่อมเห็นวิญญาณในตน ๑ ย่อมเห็นตนในวิญญาณ ๑ วิญญาณนั้นของเขาย่อมแปรไป ย่อม
    เป็นอย่างอื่นไป โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาส ย่อมเกิดขึ้นแก่เขา เพราะ
    วิญญาณแปรไปและเป็นอย่างอื่นไป.
    [๘๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็เมื่อภิกษุรู้ว่ารูปไม่เที่ยง แปรปรวนไป คลายไป ดับไป
    เห็นตามความเป็นจริงด้วยปัญญาอันชอบอย่างนี้ว่า รูปในกาลก่อนและรูปทั้งมวลในบัดนี้ ล้วนไม่
    เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา ดังนี้ ย่อมละโสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และ
    อุปายาสได้ เพราะละโสกะเป็นต้นเหล่านั้นได้ จึงไม่สะดุ้ง เมื่อไม่สะดุ้ง ย่อมอยู่เป็นสุข
    ภิกษุผู้มีปกติอยู่เป็นสุข เรากล่าวว่า ผู้ดับแล้วด้วยองค์นั้น. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็เมื่อภิกษุรู้ว่า
    เวทนาไม่เที่ยง ฯลฯ สัญญาไม่เที่ยง ฯลฯ สังขารไม่เที่ยง ฯลฯ วิญญาณไม่เที่ยง แปรปรวนไป
    คลายไป ดับไป เห็นตามความเป็นจริงด้วยปัญญาอันชอบอย่างนี้ว่า วิญญาณในกาลก่อน และ
    วิญญาณทั้งมวลในบัดนี้ ล้วนไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา ดังนี้ ย่อมละ
    โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาสได้ เพราะละโสกะเป็นต้นเหล่านั้นได้ ย่อมไม่
    สะดุ้ง เมื่อไม่สะดุ้ง ย่อมอยู่เป็นสุข ภิกษุผู้มีปกติอยู่เป็นสุข เรากล่าวว่า ผู้ดับแล้วด้วยองค์นั้น.

    จบ สูตร
     
  19. ไมยราพ

    ไมยราพ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 เมษายน 2009
    โพสต์:
    495
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +201
    ^
    ^
    สักกายะทิฏฐิ20 ในรูปนาม คือ ขันธ์ทั้ง5
     

แชร์หน้านี้

Loading...