ชีวกโกมารภัจจ์...บรมครูแห่งการแพทย์ (สำหรับคนที่ป่วยรักษาไม่หาย)

ในห้อง 'บทสวดมนต์ - คาถา' ตั้งกระทู้โดย สันโดษ, 16 พฤษภาคม 2009.

  1. สันโดษ

    สันโดษ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 ตุลาคม 2007
    โพสต์:
    9,940
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +16,870
    ชีวกโกมารภัจจ์...บรมครูแห่งการแพทย์


    [​IMG]


    พระคาถา อัญเชิญ ดวงจิต วิญญาณ
    ปรมาจารย์ทางการแพทย์ " ชีวกโกมารภัจจ์"



    โอม นะโม ชีวะโก สิระสา อะหัง กรุณิโก สัพพะสัทธานัง
    โอสะถะ ทิพพะมันตัง ประภาโส สุริยาจันทัง โกมารภัจจ์โต
    ประภาเสสิ วันทามิ ปัณฑิโต สุเมทะโส อะโรคา สุมนาโหม
    ( ว่า ๓ ครั้ง )​


    นะอะ นะวะ โรคา พยาธิ วินาสสันติ
    ( ว่า ๓ ครั้ง )​
    <B>คำไหว้ครูว่านยา : ชีวกโกมารภัจจ์
    ข้าขอประนมหัตถ์ พระไตรรัตน์นาถา
    </B>
    ตรีโลกอมรา อภิวาทนากร

    หนึ่งข้าอัญชลี พระฤษีผู้ทรงญาณ
    แปดองค์เธอมีญาณโดยรอบรู้ในโรคา

    ไหว้คุณอิศวเรศ ทั้งพรหมเมศทั่วชั้นฟ้า
    สาบสรรซึ่งว่านยา ประทานทั่วโลกธาตรี

    ไหว้คุณกุมารภัจจ์ ผู้เจนจัดในคัมภีร์
    เวชศาสตร์บรรดามี ให้ทานทั่วแก่นรชน

    ไหว้ครูผู้สั่งสอน แต่ปางก่อนเจริญผล
    ล่วงลุนิพานดล สำเร็จกิจประสิทธิพรฯ
    ความหมายของคำว่า ชีวก

    ชีวก ชื่อหมอใหญ่ผู้เชี่ยวชาญในการรักษาและมีชื่อเสียงมากในครั้งพุทธกาล เป็นแพทย์ประจำพระองค์ของพระเจ้าพิมพิสาร และพระเจ้าพิมพิสารได้ถวายให้เป็นแพทย์ประจำพระองค์ของพระพุทธเจ้าด้วย,

    เรียกชื่อเต็มว่า ชีวกโกมารภัจจ์ หมอชีวกเกิดที่เมืองราชคฤห์แคว้นมคธ เป็นบุตรของนางคณิกา (หญิง งามเมือง) ชื่อว่าสาลวดี แต่ไม่รู้จัก มารดาบิดาของตน เพราะเมื่อนางสาลวดีมีครรภ์ เกรงค่าตัวจะตกจึงเก็บตัวอยู่ ครั้นคลอดแล้วก็ให้คนรับใช้เอาทารก ไปทิ้งที่กองขยะ แต่พอดีเมื่อถึงเวลาเช้าตรู่ เจ้าชายอภัย โอรสองค์หนึ่งของพระเจ้าพิมพิสาร จะไปเข้าเฝ้า เสด็จผ่านไป เห็นการุมล้อมทารกอยู่ เมื่อทรงทราบว่าเป็นทารกและยังมีชีวิต อยู่ จึงได้โปรดให้นำไปให้นางนมเลี้ยงไว้ในวัง ใน ขณะที่ทรงทราบว่าเป็นทารกเจ้าชายอภัยได้ตรัสถามว่าเด็กยังมีชีวิตอยู่ (หรือยังเป็นอยู่) หรือไม่ และทรงได้รับคำตอบ ว่ายังมีชีวิตอยู่ (ชีวติ = ยังเป็นอยู่ หรือยังมีชีวิตอยู่) ทารกนั้นจึงได้ชื่อว่า ชีวก (ผู้ยังเป็น) และเพราะเหตุที่เป็นผู้อันเจ้าชายเลี้ยงจึงได้มีสร้อยนามว่า โกมารภัจจ์ (ผู้อันพระราชกุมารเลี้ยง)

    ครั้นชีวกเจริญวัยขึ้น พอจะทราบว่าตนเป็นเด็กกำพร้า ก็คิดแสวงหาศิลปวิทยาไว้เลี้ยงตัว จึงได้เดินทางไป ศึกษาวิชาแพทย์กับอาจารย์แพทย์ทิศาปาโมกข์ ที่เมืองตักสิลา ศึกษาอยู่ ๗ ปี อยากทราบว่าเมื่อใดจะเรียนจบ อาจารย์ให้ ถือเสียมไปตรวจดูทั่วบริเวณ ๑ โยชน์รอบเมืองตักสิลา เพื่อหาสิ่งที่ไม่ใช่ตัวยา ชีวกหาไม่พบ กลับมาบอกอาจารย์ ๆ ว่า สำเร็จการศึกษามีวิชาพอเลี้ยงชีพแล้ว และมอบเสบียงเดินทางให้เล็กน้อย ชีวกเดินทางกลับยังพระนครราชคฤห์เมื่อ เสบียงหมดในระหว่างทาง ได้แวะหาเสบียงที่เมือง สาเกต โดยไปอาสารักษาภรรยาเศรษฐีเมืองนั้นซึ่งเป็นโรคปวด ศีรษะมา ๗ ปี ไม่มีใครรักษาหาย ภรรยาเศรษฐีหายโรคแล้ว ให้รางวัลมากมาย หมอชีวกได้เงินมา ๑๖,๐๐๐ กษาปณ์ พร้อมด้วยทาสทาสีและรถม้าเดินทางกลับถึงพระนครราชคฤห์ นำเงินและของรางวัลทั้งหมดไปถวายเจ้าชายอภัยเป็น ค่าปฏิการะคุณที่ได้ทรงเลี้ยงตนมา เจ้าชายอภัยโปรดให้หมอชีวกเก็บรางวัลนั้นไว้เป็นของตนเอง ไม่ทรงรับเอา และ โปรดให้หมอชีวกสร้างบ้านอยู่ในวังของพระองค์ ต่อมาไม่นานเจ้าชายอภัยนำหมอชีวกไปรักษาโรคริดสีดวงงอกแด่ พระเจ้าพิมพิสาร จอมชนแห่งมคธทรงหายประชวรแล้ว จะพระราชทานเครื่องประดับของสตรีชาววัง ๕๐๐ นางให้ เป็นรางวัล หมอชีวกไม่รับ ขอให้ทรงถือว่าเป็นหน้าที่ของตนเท่านั้น พระเจ้าพิมพิสารจึงโปรดให้หมอชีวกเป็นแพทย์ ประจำพระองค์ ประจำฝ่ายในทั้งหมด และประจำพระภิกษุสงฆ์อันมีพระพุทธเจ้าเป็นประมุข หมอชีวกได้รักษาโรค ร้ายสำคัญหลายครั้ง เช่น

    ผ่าตัดรักษาโรคในสมองของเศรษฐีเมืองราชคฤห์ ผ่าตัดเนื้องอกในลำไส้ของบุตรเศรษฐี เมืองพาราณสี รักษาโรคผอมเหลืองแด่พระเจ้าจัณฑปัชโชตแห่งกรุงอุชเชนี และถวายการรักษาแด่พระพุทธเจ้าใน คราวที่พระบาทห้อพระโลหิต เนื่องจากเศษหินจากก้อนศิลาที่พระเทวทัตกลิ้งลงมาจากภูเขาเพื่อหมายปลงพระชนม์ชีพ หมอชีวกได้บรรลุธรรมเป็นพระโสดาบัน และด้วยศรัทธาในพระพุทธเจ้า ปรารถนาจะไปเฝ้าวันละ ๒-๓ ครั้ง เห็นว่าพระเวฬุวันไกลเกินไปจึงสร้าง วัดถวายในอัมพวันคือสวนมะม่วงของตนเรียกกันว่า ชีวกัมพวัน (อัมพวัน ของหมอชีวก) เมื่อพระเจ้าอชาตศัตรูเริ่มน้อมพระทัยมาทางศาสนา หมอชีวกก็เป็นผู้แนะนำให้เสด็จไปเฝ้าพระพุทธเจ้า

    ด้วยเหตุที่หมอชีวกเป็นแพทย์ประจำคณะสงฆ์และเป็นผู้มีศรัทธาเอาใจใส่เกื้อกูลพระสงฆ์มาก จึงเป็นเหตุให้ มีคนมาบวชเพื่ออาศัยวัดเป็นที่รักษา ตัวจำนวนมาก จนหมอชีวกต้องทูลเสนอพระพุทธเจ้าให้ทรงบัญญัติข้อ ห้ามมิ ให้รับบวชคนเจ็บป่วย ด้วยโรคบางชนิด นอกจากนั้นหมอชีวกได้กราบทูลเสนอให้ทรงอนุญาตที่จงกรมและเรือนไฟ เพื่อเป็นที่บริหารกายช่วยรักษาสุขภาพของภิกษุทั้งหลาย หมอ ชีวกได้รับพระดำรัสยกย่องเป็นเอตทัคคะในบรรดา อุบาสกผู้เลื่อมใสในบุคคล


    <!-- google_ad_section_end -->
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 16 พฤษภาคม 2009
  2. สันโดษ

    สันโดษ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 ตุลาคม 2007
    โพสต์:
    9,940
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +16,870
    [​IMG]


    เอตทัคคะในฝ่ายผู้เลื่อมใสในบุคคล

    ชีวกโกมารภัจจ์ เป็นลูกของนางสาลวดี ซึ่งเป็นหญิงโสเภณีในเมืองราชคฤห์ธรรมดาหญิงโสเภณีจะไม่เลี้ยงลูกชาย เพราะช่วยสืบสายอาชีพไม่ได้ ดังนั้นเมื่อนางคลอดลูกออกมาแล้วรู้ว่าเป็นเพศชาย จึงให้สาวใช้นำลูกชายใส่กระด้งไปวางไว้ที่กองขยะ

    จากกองขยะมาเป็นลูกเจ้า

    บ่ายวันนั้น อภัยราชกุมาร พระราชโอรสของพระเจ้าพิมพิสารเสด็จประพาสพระนครผ่านมาทางนั้น เห็นฝูงนกการุมล้อมเด็กทารกอยู่ ตรัสสั่งให้นายสารถีไปดูว่าเด็กยังมีชีวิตอยู่หรือเปล่า เมื่อนายสารถีกลับมากราบทูลว่ายังมีชีวิตอยู่จึงรับสั่งให้อุ้มมาแล้วนำเข้าไปมอบให้นางนมเลี้ยงดูเป็นอย่างดีภายในประราชนิเวศแล้วตั้งชื่อให้ว่า ชีวก ซึ่งมาจากคำว่า ชีวิตคือรอดชีวิตมาได้ เมื่อเจริญวัยขึ้นมาได้ประทานนามเพิ่มเติมว่า โกมารภัจจ์ ซึ่งหมายถึงเป็นบุตรบุญธรรมของพระราชกุมาร ทรงชุบเลี้ยงดูโอรสแท้ ๆ ของพระองค์ แม้พระเจ้าพิมพิสารก็โปรดปรานประดุจหลานของพระองค์ และประชาชนทั่วไปก็เข้าใจว่าเป็นโอรสที่แท้จริง ของอภัยราชกุมาร


    หนีจากวังหาสำนักศึกษา

    เมื่อชีวกโกมารภัจจ์ เจริญเติบโตเข้าสู่วัยเรียน และทราบว่าตนเป็นเด็กกำพร้า จึงต้องการที่จะศึกษาวิชาความรู้เพื่อประกอบอาชีพในอนาคต อาชีพที่เขาชอบคือหมอรักษาโรคเพื่อช่วยเหลือชีวิตมนุษย์ ดังนั้น เขาได้หนีออกจากวังเดินทางไปกับกองเกวียนพ่อค้า จนถึงเมืองตักสิลา แล้วให้พ่อค้าที่เขาอาศัยมานั้นช่วยพาไปฝากอาจารย์ทิศาปาโมกข์ คือพระฤาษีโรคาพฤกษตริญญา ผู้เป็นเจ้าสำนัก ชีวกได้มอบหมายถวายตัวเป็นศิษย์รับใช้ ทำงานทุกอย่างในสำนักอาจารย์เพื่อแลกกับวิชาความรู้เพราะตนไม่มีทรัพย์สินเป็นค่าเรียน เขาศึกษาอย่างตั้งอกตั้งใจ ทำให้เรียนได้เร็วกว่าศิษย์คนอื่น ๆ และสำเร็จจบหลักสูตรใน ๗ ปี ซึ่งปกติคนอื่น จะเรียนถึง ๑๖ ปี แม้จบหลักสูตรแล้ว ก็ยังมีความสงสัยในความรู้ของตนเองว่าอาจจะไม่สมบูรณ์ จึงเข้าไปปรึกษาอาจารย์ ซึ่งอาจารย์ได้สั่งให้เขาออกไปหาต้นไม้ใบหญ้าหรือพืชชนิดใดชนิดหนึ่งก็ได้ ที่เห็นว่าใช้ทำยาไม่ได้มาให้อาจารย์ เขาได้ใช้เวลาหลายวันเข้าไปในป่ารอบ ๆเมืองตักสิลา ค้นหาจนทั่วก็ไม่พบใบหญ้าหรือพืชสักชนิดเดียวที่ใช้ทำยาไม่ได้ จึงรู้สึกผิดหวังกลัวอาจารย์จะตำหนิแต่พอแจ้งแก่อาจารย์แล้ว อาจารย์กลับยิ้มอย่างพอใจและกล่าวว่า เธอเรียนจบแล้ว ออกไปประกอบอาชีพรักษาคนไข้ได้แล้ว


    ชีวกโกมารภัยได้เรียนวิชาแพทย์พิเศษ

    ชีวกโกมารภัจจ์ เป็นศิษย์ที่มีอัธยาศัยดี มีความเคารพนับถือเชื่อฟังอยู่ในโอวาทของอาจารย์ มีความกตัญญูกตเวที มีศีลธรรม และอัธยาศัยความสุขุมละเอียดเยือกเย็น สุภาพเรียบร้อยไม่พลาดพลั้ง อีกทั้งเชาว์ปัญญาก็ดีเยี่ยมจึงเป็นที่รักของอาจารย์ ท่านอาจารย์จึงเมตตาสอนวิชาแพทย์พิเศษให้อีกแขนงหนึ่ง ซึ่งอาจารย์จะไม่ค่อยสอนให้แก่ใคร ๆ คือ วิชาประสมยา ปรุงยาขนานเอก พร้อมทั้งวิธีการรักษาโรคให้ด้วย ยาขนานนี้พิเศษจริง ๆ สามารถรักษาโรคได้ทุกชนิด และวางยาครั้งเดียวไม่ต้องซ้ำ ยกเว้นโรคที่เกิดจากผลกรรมรักษาไม่ได้ เมื่อศึกษาจบครบวิชาการที่อาจารย์ประสิทธิ์ประสาทให้แล้วได้ลาอาจารย์กลับสู่บ้านเมืองของตน


    คนไข้คนแรกของชีวกโกมารภัจจ์

    หมอชีวกโกมารภัจจ์ ออกเดินทางจากเมืองตักสิลามุ่งสู่กรุงราชคฤห์พักผ่อนรอนแรมในระหว่างทางเสบียงที่อาจารย์มอบหมายก็ใกล้หมด จึงเที่ยวหารักษาใช้พอดีภริยาเศรษฐีในเมืองสาเกตเป็นโรคปวดศีรษะมาเป็นเวลาประมาณ ๗ ปี พยายามรักษาสิ้นทรัพย์จำนวนมากก็ไม่หาย หมดอาลัยในชีวิตจึงปล่อยไปตามกรรมเมื่อหมอชีวกโกมารภัจ ทราบจึงเข้าไปอาสารักษาให้ ทั้งคนไข้และเศรษฐีเห็นหมอยังหนุ่มอยู่ไม่เชื่อความสามารถ จึงบอกปัดไม่ยอมให้รักษา เพราะเกรงว่าจะเสียค่ารักษาเปล่า ๆไม่ได้ประโยชน์ แต่หมอชีวกโกมารภัจจ์บอกจะรักษาให้ก่อน เมื่อหายแล้ว จึงจะรับค่ารักษา ดังนั้นเศรษฐีและภริยาจึงตอบตกลงยอมให้รักษา หมอชีวกโกมารภัจจ์ จึงประกอบยาให้นัตถุ์เข้าทางจมูก ฤทธิ์ยาทำให้คนไข้อาเจียนออกมาทางปาก หลังจากนั้นโรคของนางก็หายเป็นปกติ เขาได้รับค่ารักษาและรางวัลมาถึง ๑๖๐๐๐ กหาปณะ แล้วเดินทางต่อไปจนถึงกรุงราชคฤห์เมื่อถึงแล้วหมอชีวกโกมารภัจจ์ ได้เข้าเฝ้าพระบิดาอภัยราชกุมาร กราบทูลขออภัยโทษที่หนีไปโดยมิได้ทูลลา ทูลเล่าเรื่องการศึกษาวิชาแพทย์ตั้งแต่ต้นจนจบ ตลอดจนการเดินทางกลับแล้วได้ถวายเงินรางวัลที่ได้รับระหว่างทางแก่พระบิดา พระอภัยราชกุมารทรงปลาบปลื้มพระทัย คืนทรัพย์สินที่ถวายให้กลับคืนเพื่อเป็นทุนใช้สอย


    ประวัติการรักษาโรคครั้งสำคัญ

    เมื่อหมอชีวกโกมารภัจจ์ เดินทางถึง กรุงราชคฤห์แล้ว ได้รับรักษาโรคต่าง ๆ จนมีชื่อเสียงปรากฏเลื่องลือทั่วทั้งกรุงราชคฤห์และแคว้นอื่น ๆ การรักษาโรครั้งสำคัญของหมอชีวก ก็คือ
    ๑. รักษาโรคริดสีดวงทวารให้พระเจ้าพิมพิสารจนหายสนิท ทำให้พระองค์สบายพระวรกายขึ้นได้พระราชทานรางวัลเป็นอันมากทั้งทรัพย์สินเงินทอง ข้าทาสบริวารและที่ดินแต่หมอชีวกขอรับเพียงอย่างเดียวคือสวนมะม่วง จากนั้นพระเจ้าพิมพิสารทรงแต่งตั้งให้เป็นแพทย์หลวงประจำพระองค์
    ๒. ผ่าตัดเปิดกะโหลกศีรษะเศรษฐีชาวเมืองราชคฤห์ ซึ่งป่วยปวดศีรษะมานานเกือบ๑๐ ปี
    ๓. ผ่าตัดโรคฝีในลำไส้ให้ลูกชายเศรษฐีในเมืองพาราณสี
    ๔. รักษาอาการประชวรด้วยโรควัณโรคปอด ให้พระเจ้าจัณฑปัชโชต แห่งกรุงอุชเชนีแคว้นอวันตี

    ในการรักษาให้พระเจ้าจัณฑปัชโชตนั้น หมอชีวกเกือบถูกประหารชีวิตเนื่องจากพระองค์ท่านมีพระอัธยาศัยโหดร้าย สั่งประหารคนง่าย ๆ โดยไม่มีเหตุผลและพระองค์เกลียดกลิ่นเนยใสเป็นที่สุด บังเอิญยาที่จะรักษานั้นก็มีส่วนผสมเนยใสอยู่ด้วย ทำให้หมอชีวกหนักใจมากจึงวางแผนเตรียมก่อนที่จะถวายการรักษา ได้กราบทูลขอพระราชทานช้างชื่อภัททวดี ซึ่งมีฝีเท้าเร็ว และประตูเมืองหนึ่งประตู โดยอ้างว่าเพื่อสะดวกในการออกไปเที่ยวหาตัวยาสมุนไพรซึ่งบางชนิดต้องเก็บในเวลากลางคืน บางชนิดต้องเก็บในเวลากลางวัน การรักษาจึงจะได้ผล


    หลอกให้พระเจ้าจุณฑปัชโชต เสวยเนยใส

    หมอชีวกได้ผสมยาโดยเคี่ยวใส่เนยใสบนเตาไฟจนสี รส และ กลิ่น เปลี่ยนไปเสร็จแล้วนำเข้าไปถวายพระราชากราบทูลว่าเป็นโอสถสูตรใหม่มิได้ผสมเนยใสเมื่อพระราชาเสวยแล้วกราบทูลลากลับ เพื่อขอไปจัดโอสถมาถวายอีก พอออกมาพ้นพระราชนิเวศน์แล้วรีบตรงไปยังโรงช้าง แจ้งแก่พนักงานดูแลช้างว่าขอช้างพังชื่อภัททวดี เพื่อรีบไปเก็บตัวยา เมื่อขึ้นหลังช้างแล้วรีบออกจากกรุงอุชเชนี ทันที

    พระโอสถที่พระจ้าจัณฑปัชโชตเสวยแล้ว ก็ละลายกระจายรสและกลิ่นออกมา ทำให้พระเจ้าจัณฑปัชโชต ได้กลิ่นเนยใส จึงกริ้วขึ้นมาทันที รับสั่งให้ทหารรีบไปจับตัวหมอชีวกมาโดยเร็ว เมื่อทรงทราบว่าหนีออกจากเมืองไปแล้วรับสั่งให้ทหารนำพาหนะที่มีฝีม้าเร็วติดตามจับตัวมาให้ได้ และทหารผู้นั้นก็ได้ติดตามไปทับ ณ หมู่บ้านตำบลหนึ่ง ซึ่งเป็นไปตามที่หมอชีวกได้คาการณ์ไว้แล้วจึงเตรียมยาระบายอย่างแรงซ่อนไว้ในเล็บ เมื่อนายทหารผู้นั้นจะเข้ามาจับกุม จึงถูกหมอชีวกหลอกให้กินยาระบายจนถ่ายท้องหมดเรี่ยวแรง ปล่อยให้หมอชีวกหนีต่อไปได้ฝ่ายพระเจ้าจัณฑปัชโชตเมื่อพระโอสถออกฤทธิ์แล้ว พระอาการประชวรก็หายเป็นปกติ พระวรกายโปร่งเบาสบาย รู้สึกขอบใจหมอชีวก แม้ทหารที่ติดตามไปจับตัวหมอชีวกแล้วถูกหลอกให้กินยาระบายจับตัวไม่ได้ กลับมารายงานแล้ว พระราชาก็มิได้กริ้วโกรธแต่ประการใด รับสั่งให้จัดส่งของมีค่าหลายประการรวมทั้งผ้าเนื้อดีจากแคว้นการสี อันเป็นที่นิยมกันว่าเป็นผ้าดีฝีมือการเย็บการทอยอดเยี่ยมกว่าผ้าเมืองอื่น ๆ ให้ทูตนำไปมอบให้แก่หมอชีวกโกมารภัจจ์ ที่กรุงราชคฤห์ หมอชีวกรับของรางวัลมาแล้วพิจารณาเห็นว่าเป็นผ้าเนื้อดีไม่สมควรที่ตนจะใช้สอย เป็นของสมควรแก่พระบรมศาสดาหรือพระมหากษัตริย์จึงได้เก็บรักษาไว้เพื่อนำไปถวายพระบรมศาสดาต่อไป


    แพทย์ประจำองค์พระศาสดาและภิกษุสงฆ์

    พระเจ้าพิมพิสารนอกจากจะแต่งตั้งให้หมอชีวกโกมารภัจเป็นแพทย์ประจำพระองค์แล้ว ยังมอบให้รับหน้าที่เป็นแพทย์ประจำองค์พระศาสดาและภิกษุสงฆ์ทั้งหลายอีกด้วยหมอชีวกโกมารภัจจ์ ได้เคยถวายการรักษาให้พระบรมศาสดาครั้งสำคัญ ๒ ครั้ง คือครั้งแรก ได้ปรุงยาระบายชนิดพิเศษถวาย เพื่อระบายสิ่งหมักหมมในพระวารกายออกครั้งที่สอง ในคราวที่พระเทวทัตกลิ้งหินหมายปลงพระชนม์พระศาสดาแต่หินกลิ้งไปผิดทาง มีเพียงสะเก็ดหินก้อนเล็ก ๆ กระเด็นมากระทบพระบาทจนทำให้พระโลหินห้อขึ้นหมอชีวกได้ปรุงพระโอสถพอกที่แผลแล้วใช้ผ้าพันแผลไว้พอรุ่งขึ้นตอนเช้าแผลก็หายสนิทเป็นปกตินอกจากนี้หมอชีวกยังได้ให้การรักษาพระภิกษุสงฆ์ที่อาพาธด้วยโรคต่าง ๆ โดยไม่คิดมูลค่า จนไม่ค่อยจะมีเวลารักษาให้คนทั่ว ๆ ไป เพราะท่านหมอมีความห่วงใยพระภิกษุสงฆ์มากกว่าจงเป็นเหตุให้คนบางพวกเมื่อเจ็บป่วยหรือเป็นโรคขึ้นมา ก็พากันมาบวชเพื่อสะดวกแก่การให้หมอรักษา พอหายดีแล้วก็ลาสิกขาไป


    กราบทูลขอพรห้ามบวชคนที่มีโรคติดต่อ

    สมัยหนึ่งในพระนครราชคฤห์เกิดโรคสกปรก โรคติดต่อและโรคร้ายแรง ระบาดไปทั่วกรุงละจังหวัดใกล้เคียง เช่น

        • กุฏฐัง โรคเรื้อน
        • คัณโฑ โรคฝีดาษ
        • กิลาโส โรคกลาก
        • โสโส โรคไข้มองคร่อ
        • อปมาโร โรคลมบ้าหมู
    ซึ่งโรคเหล่านี้เป็นกันทั่วไปแก่ประชาชนพลเมือง ทั้งภายนอกทั้งภายในราชสำนักตลอดจนพระสงฆ์ในอารามต่าง ๆ หมอทั้งหลายต้องทำงานกันอย่างหนัก ส่วนหมอชีวกโกมารภัจจ์ ก็จะให้การรักษาแก่พระภิกษุสงฆ์และบุคคลภายราชสำนักก่อน เนื่องจากหมอชีวกโกมารภัจจ์ รักษาแล้วได้ผลหายเร็วค่ารักษาถูกกว่าหมออื่น โดยเฉพาะพระภิกษุสงฆ์แล้วจะรักษาให้โดยไม่คิดค่ายาค่ารักษาแต่ประการใด

    ด้วยเหตุนี้ จึงทำให้มีคนคิดอาศัยพระศาสนาเพื่อเข้ามารักษาตัว โดยเข้ามาบวชเป็นพระให้หมอรักษาจนหายจากโรคที่เป็นอยู่แล้วก็สึกออกไป และคนพวกนี้ก็เป็นตัวนำเชื้อโรคบางอย่างมาแพร่เชื่อติดต่อให้พระ เช่น โรคเรื้อนและโรคกลากเกลื้อน เป็นต้น จนระยะหลัง ๆหมอชีวกสังเกตเห็นว่าคนหัวโล้นมีมากขึ้น ทั้ง ๆ ที่เป็นที่น่ารังเกียจของสังคม เมื่อสอบถามดูจึงได้ทราบความจริงว่าเพิ่งสึกมาจากพระ และที่บวชก็มิได้บวชด้วยศรัทธา แต่บวชเพื่อรักษาตัว เมื่อโรคหายแล้วก็สึกออกมา

    ด้วยเหตุนี้ วันหนึ่งหมอชีวกเข้าเฝ้าพระผู้มีพระภาค กราบทูลของพรว่าขออย่าได้บวชให้คนที่มีโรคติดต่อทั้ง ๕ ชนิดข้างต้นเลยพระพุทธองค์ประทานให้ตามที่กราบทูลขอ และได้ประกาศให้ภิกษุสงฆ์ทราบโดยทั่วกัน ตั้งแต่นั้นมา คนที่เป็นโรคทั้ง ๕ ชนิดนั้นก็ไม่สามารถบวชในพระพุทธศาสนาได้

    กราบทูบขอพรให้ภิกษุรับคฤหบดีจีวรได้

    หมอชีวกโกมารภัจจ์ หลังจากที่รักษาอาการประชวรของพระเจ้าจัณฑปัชโชตจนหายเป็นปกติดีแล้ว ได้รับพระราชทานรางวัลเป็นผ้าเนื้อดีจากแคว้นกาสี แต่ท่านหมอคิดว่า ผ้าเนื้อดี อย่างนี้ ไม่สมควรที่ตนจะใช้สอย เป็นของสมควรแก่พระบรมศาสดาหรือพระมหากษัตริย์จึงได้น้อมนำผ้านั้นไปถวายแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า ก่อนที่จะถวายได้กราบทูลขอพรว่า ขอให้ภิกษุรับคฤหบดีจีวรได้ พระพุทธองค์ประทานอนุญาตให้ตามที่ขอ

    การที่หมอชีวกโกมารภัจจ์ กราบทูลขอพรเช่นนั้น ก็เพราะแต่ก่อนนั้นภิกษุใช้สอยแต่ผ้าบังสุกุล คือ ผ้าที่ชาวบ้านทั้งหลายทิ้งตามกองขยะบ้าง กองหยากเยื่อบ้าง ผ้าที่ห่อศพทิ้งในป่าบ้าง นำมาทำความสะอาดแล้วเย็บย้อมเป็นผ้าสบงจีวร สำหรับนุ่งห่ม จะไม่รับผ้าที่ชาวบ้านถวาย หมอชีวกโกมารภัจจ์ เห็นความลำบากของพระภิกษุสงฆ์ในเรื่องนี้ จึงกราบทูลขอพรและได้เป็นผู้ถวายเป็นคนแรก ผ้าที่ภิกษุรับอย่างนี้เรียกว่า คฤหบดีจีวร

    แม้พระพุทธองค์จะทรงอนุญาตตามที่หมอชีวกโกมารภัจจ์ กราบทูลขอ แต่ก็ยังมีพุทธดำรัสตรัสว่า ถ้าภิกษุปรารถนาจะถือผ้าบังสุกุลก็ให้ถือ ปรารถนาจะรับคฤหบดีรจีวรก็ให้รับ และได้ตรัสสรรเสริญความสันโดษคือความยินดีตามมีตามได้พระพุทธองค์ ทรงแสดงพระธรรมเทศนาอนุโมทนาบุญแก่หมอชีวกผู้ถวายผ้านั้น เมื่อจบพระธรรมเทศนาแล้ว หมอชีวกโกมารภัจจ์ ก็ได้ดวงตาเห็นธรรมดำรงอยู่ในอริยภูมิคือพระโสดาบัน

    หมอชีวกโกมารภัจจ์ สร้างวัด

    หมอชีวกโกมารภัจจฺ เมื่อยามว่างเว้นจากการรักษาคนไข้ก็หวนคิดถึงตนเอง มีความปรารถนาจะเข้าเฝ้าใกล้ชิดพระบรมศาสดาอย่างน้อยวันละ ๒ เวลา เช้า-เย็น เพื่ออบรมจิตใจได้มากขึ้น แต่วัดเวฬุวันก็ตั้งอยู่ห่างไกลจากบ้าน อีกทั้งไม่สะดวกในการฟังธรรม และการรักษาพยาบาลภิกษุไข้ จึงได้น้อมนำถวายสวนมะม่วงที่พระเจ้าพิมพิสารพระราชทานให้แก่ตนนั้นสร้างวัดถวายในพระพุทธศาสนาสร้างพระคันธกุฏีที่ประทับส่วนพระพุทธองค์ พร้อมด้วยกุฏสงฆ์ ศาลาฟังธรรมบ่อน้ำ และกำแพงขอบเขตวัดพร้อมบริบูรณ์ทุกสิ่งแล้ว กราบทูลอาราธนาพระบรมศาสดาพร้อมด้วยภิกษุสงฆ์พุทธสาวกเสด็จเข้าประทับยังพระอารามใหม่นั้นถวายอาหารบิณฑบาตเป็นการฉลองพระอารามแล้ว หลังน้ำทักษิโณทกให้ตกลงบนฝ่าพระหัตถ์ของพระบรมศาสดา กล่าวอุทิศถวายมอบกรรมสิทธิ์ในที่ดินและอาคาร ให้เป็นศาสนสถานอยู่จำพรรษาของภิกษุสงฆ์ที่มาจากทิศทั้ง ๔ พระอารามใหม่นี้ได้นามตามผู้ถวายว่า ชีวกัมพวัน(ชีวก+อัมพวัน)


    พาพระเจ้าอชาตศัตรูเข้าเฝ้าพระพุทธเจ้า

    อชาตศัตรูราชกุมาร มีพระอัธยาศัยคิดทรยศไม่ซื่อตรง ขาดความจงรักภักดีต่อพระเจ้าพิมพิสาร ผู้เป็นพระราชบิดาอยู่แล้ว ต่อมาได้คบหาสมาคมกับพระเทวทัต มีศรัทธาเลื่อมใสได้ให้ความอุปถัมภ์บำรุงด้วยปัจจัย ๔ ถูกพระเทวทัตยุยงให้ปลงพระชนม์พระบิดา อีกทั้งให้การสนับสนุนพระเทวทัตกระทำอนัตริยกรรมลอบปลงพระชนม์พระบรมศาสดาและทำสังฆเภททำลายสงฆ์ให้แตกแยกกัน

    ต่อมา พระเทวทัตถูกแผ่นดินสูบเพราะกระทำกรรมหนัก พระเจ้าอชาตศัตรูได้ทราบข่าวก็สะดุ้งพระทัยกลัวภัยจะถึงตัว ถึงกับเสวยไม่ได้บรรทมไม่หลับติดต่อกันหลายวัน กลัดกลุ้มพระทัยเป็นที่สุด คืนเพ็ญวันหนึ่งพระองค์ไม่สามารถจะนิทราหลับลงได้ จึงเรียกอำมาตย์ทั้งหลายเข้าเฝ้ายามดึกทรงปรึกษาว่า คืนเดือนเพ็ญอย่างนี้จะไปหาสมณพราหมณ์ผู้มีศีลคนดีจึงจะสามารถทำจิตใจให้สงบได้ พวกอำมาตย์ล้วนแต่แนะนำเดียรถีย์อาจารย์ของตน ได้แก่ครูทั้ง ๖ ซึ่งพระเจ้าอชาต ศรัตรูก็เคยไปฟังคำสอนมาแล้วล้วนแต่ไร้สาระทั้งสิ้นหมอชีวกโกมารภัจ อยู่ในที่นั้นด้วย จึงกราบทูลแนะนำให้ไปเฝ้าพระสมณโคดมบรมศาสดา ซึ่งขณะนี้พระพุทธองค์ประทับอยู่ที่ชีวกัมพวันใกล้ ๆบ้านของตนนี่เอง พระเจ้าอชาตศรัตรูทรงเห็นด้วย จึงเสด็จไปพร้อมด้วยกองจตุรงคเสนา เมื่อเสด็จไปถึงได้เข้าไปกราบถวายบังคมพระบรมศาสดา พระพุทธองค์ตรัสทักทายปฏิสันถารขึ้นก่อนแล้วตรัสถามถึงราชกิจต่าง ๆ ทำให้พระเจ้าอชาตศรัตรูไม่เก้อเขิน และทรงดีพระทัยเป็นอย่างยิ่ง ที่พระพุทธองค์ไม่ทรงถือโทษในการกระทำของพระองค์ที่ผ่านมาพระพุทธองค์ ทรงทราบว่าพระเจ้าอชาตศัตรูมีพระทัยผ่องใสดีแล้ว จึงแสดงพระธรรมเทศนา สมัญผลสูตร ให้ทรงสดับ เมื่อจบลงทรงมีพระทัยผ่องใสโสมนัสยิ่งขึ้น เกิดศรัทธาเลื่อมใสถวายตัวเป็นอุบาสก ขอถึงพระรัตนตรัยเป็นสรณะที่พึ่งตลอดชีวิต (ถ้าพระองค์ไม่ทำปิตุฆาตคือฆ่าพระบิดาเสียก่อน ก็จะได้บรรลุเป็นพระอริยบุคคลชั้นใดชั้นหนึ่งเป็นแน่) จากนั้นได้กราบขอขมาโทษต่อพระพุทธองค์เสด็จกลับพระราชนิเวศน์

    หมอชีวกโกมารภัจจ์ ทำประโยชน์แก่พระพุทธศาสนา พระมหากษัตริย์ และประชาชนทั่วไปเป็นอเนกประการ ท่านเป็นอุบาสกผู้เป็นพระอริยชั้นพระโสดาบัน พระบรมศาสดา ได้ยกย่องท่านในตำแหน่งเอตทัคคะเป็นผู้เลิศกว่าอุบาสิกาทั้งหลาย ในฝ่ายเลื่อมใสในบุคคล


    ขอขอบพระคุณ
    คัดจาก http://www.geocities.com/sakyaputto/chivok.htm
    <!-- google_ad_section_end -->
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 16 พฤษภาคม 2009
  3. pharm.taung

    pharm.taung เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 มกราคม 2009
    โพสต์:
    945
    ค่าพลัง:
    +432
    อนุโมทนาครับ

    ผมเป็นเภสัชกรครับ

    ที่คณะนับถือหมอชีวกโกมารภัจจ์เป็นครูครับ ^^
     
  4. Igiko_L

    Igiko_L เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 พฤษภาคม 2009
    โพสต์:
    1,407
    ค่าพลัง:
    +2,836
    หนูจะได้เป็นลูกศิษย์ท่านอาจารย์ใช่ไหมค่ะ
     
  5. vilawan

    vilawan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    836
    ค่าพลัง:
    +1,432
    อนุโมทนา สาธุ คุณสันโดษ
    บีก็กำลังอ่านประวัติเอกอัครมหาบูรพปรมาจารย์
    ชีวกโกมารภัจจ์อยู่ในห้องพระไตรปิฎกเสียงอยู่จ๊ะ
     
  6. teelak

    teelak เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 ธันวาคม 2007
    โพสต์:
    290
    ค่าพลัง:
    +900
    อ่านสนุกดีครับ ไม่ทราบมาก่อนเลยนะครับว่าสมัยก่อนมีการผ่าตัดเปิดกะโหลกด้วย

    อนุโมทนาครับ
     

แชร์หน้านี้

Loading...