ชาวฟ้าดาวดึงส์.....ธรรมานุสรณ์ 1.

ในห้อง 'พุทธศาสนา และ ธรรมะ' ตั้งกระทู้โดย เมเฆนทร์, 20 กุมภาพันธ์ 2011.

  1. เมเฆนทร์

    เมเฆนทร์ Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 กุมภาพันธ์ 2011
    โพสต์:
    179
    ค่าพลัง:
    +53
    ข้าพเจ้าได้บทความนี้มาจากพระธุดงค์องค์หนึ่งทางปักษ์ใต้
    เห็นว่ามีเนื้อหาสาระ......ท่านเขียนธรรมะไม่เหมือนใคร
    จึงมีความประสงค์มาลงไว้ที่นี่
    เพื่อให้นักปฏิบัติธรรมรุ่นใหม่ๆได้เข้ามาอ่านและค้นคว้า

    จะของลงเป็นตอนๆไป





















    อธิบาย..........อริยสัจ<O:p</O:p

    พระพุทธเจ้าตรัสรู้เรื่อง อริยสัจ 4<O:p</O:p
    อริยสัจ 4 แปลว่า ความจริงอันยิ่งใหญ่ 4 ประการ<O:p</O:p
    คือ ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค<O:p</O:p
    <O:p</O:p

    1.ทุกข์<O:p</O:p
    ความคิดทั้งปวง คือ ทุกข์<O:p</O:p
    ความคิดทั้งปวง คือ จิตที่ปรุงแต่ง<O:p</O:p
    ความคิดทั้งปวง คือ สังขตะธรรม....(ธรรมอันปรุงแต่ง)<O:p</O:p

    2.สมุทัย<O:p</O:p
    สมุทัย คือ เหตุที่ทำให้เกิดทุกข์<O:p</O:p
    โดยปกติ ตามหลักแห่ง”กฎอันเป็นธรรมชาติ” มีอยู่ 3 ข้อ คือ<O:p</O:p
    อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา<O:p</O:p
    โดยหลักแห่งความเป็นจริง ทุกสรรพสิ่งย่อมเป็นทุกข์ ทุกสรรพสิ่งย่อมไม่เที่ยง ทุกสรรพสิ่งย่อมไม่ใช่ตัวไม่ใช่ตน<O:p</O:p
    มันเป็นโดยสภาพมันเองอยู่แล้ว เขาถึงเรียกว่า ธรรมชาติ<O:p</O:p

    ธรรมชาติที่ว่า ทุกสรรพสิ่งย่อมไม่เที่ยงอยู่แล้วโดยสภาพมันเอง<O:p</O:p
    ธรรมชาติที่ว่า ทุกสรรพสิ่งย่อมไม่ใช่ตัวไม่ใช่ตนอยู่แล้วโดยตัวมันเอง
    <O:p</O:p
    แต่”ความไม่รู้”(อวิชชา) พาเข้าไปยึดมั่นถือมั่นก่อให้เกิด ตัณหา อุปาทาน จนเกิดอัตตา มีเรามีเขาขึ้นมา<O:p</O:p
    ภายในจิตใจ หรือที่เรียกว่า จิตปรุงแต่งหรือความคิดนั่นเอง.........สรุปว่า ความไม่รู้ ก่อให้เกิดทุกข์<O:p</O:p

    โดยธรรมชาติ ไม่มีเราอยู่แล้ว<O:p</O:p
    โดยธรรมชาติ เป็นเพียงแต่ กายกับจิต<O:p</O:p
    โดยธรรมชาติ เป็นเพียงแต่ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ <O:p</O:p
    <O:p</O:p

    รูปคือ รูปกาย เช่น ตา หู จมูก ลิ้น ผิวกาย ใจ
    วิญญาณคือการรับรู้ถึงสิ่งที่เข้ามาทางรูป ( ตา หู จมูก ลิ้น ผิวกาย ใจ )<O:p</O:p
    โดยธรรมชาติ เมื่อ......มีเหตุปัจจัย เข้ามาทางรูป เช่น<O:p</O:p
    ภาพ ที่เข้ามาทาง ตา<O:p</O:p
    เสียง ที่เข้ามาทาง หู<O:p</O:p
    กลิ่น ที่เข้ามาทาง จมูก<O:p</O:p
    รสชาด ที่เข้ามาทาง ลิ้น<O:p</O:p
    การสัมผัสสิ่งต่างๆ ที่เข้ามาทาง ผิวกาย<O:p</O:p
    สิ่งที่ผุดขึ้นในความรู้สึก ที่เข้ามาทาง ใจ<O:p</O:p

    <O:p</O:p<O:p</O:p
    วิญญาณคือการรับรู้ถึงการเข้ามาของสิ่งต่างๆเหล่านี้ ไม่ว่าจะเป็น ภาพ เสียง กลิ่น รสชาด การสัมผัสสิ่งต่างๆหรือสิ่งที่ผุดขึ้นในความรู้สึก ที่เข้ามาทางทวารทั้งหก คือ ตา หู จมูก ลิ้น ผิวกายหรือใจ<O:p</O:p
    สรุป<O:p</O:p
    เหตุปัจจัย ที่เข้ามาทาง รูป และ มีการรับรู้การเข้ามา(วิญญาณ) <O:p</O:p
    สามสิ่งสิ่งนี้ เป็นการกระทบกัน เรียกว่า ผัสสะ<O:p</O:p
    <O:p</O:p
    สัญญาคือความจำได้หมายรู้ว่า สิ่งที่เข้ามาทางรูปนั้นคืออะไร<O:p</O:p
    เช่น ภาพที่เข้ามาทางตาคือ ภาพของสุนัข<O:p</O:p
    เสียงที่เข้ามาทางหูคือ เสียงนกร้อง................................................เป็นต้น<O:p</O:p
    สังขารคือการปรุงแต่งในรายละเอียดทั่วๆไปแบบเสร็จสรรพ ของเหตุปัจจัยที่เข้ามาทางรูปและมีการรับรู้ถึงการเข้ามาและก่อให้เกิดการกระทบกัน<O:p</O:p
    เช่น ภาพที่เข้ามาทางตาและมีการรับรู้ว่ามีภาพเข้ามาทางตานั้น เป็นการกระทบกันทำให้รู้ว่าเป็นภาพของสุนัข ตัวไม่ใหญ่ ขนสีน้ำตาล <O:p</O:p
    รายละเอียดที่แสดงขึ้นนี้เป็นการทำหน้าที่ของสังขาร<O:p</O:p
    เวทนาคือความรู้สึก ที่มีต่อเหตุปัจจัยที่เข้ามาทางรูป<O:p</O:p
    โดยหลักใหญ่ มี 3 เวทนาคือ<O:p</O:p
    สุขเวทนา คือความรู้สึกที่เป็นสุขต่อเหตุปัจจัยที่เข้ามาทางรูป<O:p</O:p
    ทุกขเวทนา คือความรู้สึกที่เป็นทุกข์ต่อเหตุปัจจัยที่เข้ามาทางรูป<O:p</O:p
    อทุกขมสุขเวทนา คือความรู้สึกที่เป็นกลางๆแบบไม่สุขไม่ทุกข์ต่อเหตุปัจจัยที่เข้ามาทางรูป<O:p</O:p
    โดยธรรมชาติ....เวทนา ย่อมดับไป<O:p</O:p
    โดยธรรมชาติ....เวทนา ย่อมดับอยู่แล้วโดยสภาพมันเอง<O:p</O:p

    <O:p</O:p
    นี่คือธรรมชาติ....<O:p</O:p
    โดยธรรมชาติ เมื่อเวทนาดับไป....สังขารย่อมดับ....สัญญาย่อมดับ....<O:p</O:p
    วิญญาณย่อมดับ....รูปย่อมดับ.....<O:p</O:p
    ตรงนี้เรียกว่า จิตอันเป็นธรรมชาติอันไม่ปรุงแต่ง<O:p</O:p
    ตรงนี้เรียกว่า จิตว่าง....(จิตอันว่างเปล่าจากความหมายแห่งความเป็นตัวเป็นตน)<O:p</O:p

    <O:p</O:p<O:p</O:p<O:p</O:p
    แต่ความไม่รู้พาเข้าไปยึดมั่นถือมั่นในเวทนาทั้งปวงจนก่อให้เกิด ตัณหา อุปาทาน<O:p</O:p
    กลายเป็น ทุกข์คืออัตตา ตัวตน เรา เขา ขึ้นมา.......................................”<O:p</O:p
    นี่คือ สมุทัย <O:p</O:p
    <O:p</O:p<O:p</O:p
    3.นิโรธ<O:p</O:p
    นิโรธ คือ ความดับแห่งทุกข์<O:p</O:p
    เป็นการรู้เห็นตามความเป็นจริงตามหลักแห่งกฎธรรมชาติที่ว่า ทุกสรรพสิ่งย่อมไม่เที่ยง<O:p</O:p
    ธรรมชาติที่ว่า ทุกสรรพสิ่งย่อมไม่เที่ยงนั้น หมายถึง โดยสภาพตัวมันเองนั้นย่อมไม่เที่ยงอยู่แล้ว<O:p</O:p<O:p</O:p
    เป็นธรรมชาติที่ ไม่ต้องมีอัตตาเช่นเรา เข้าไปบีบบังคับให้มันไม่เที่ยง<O:p</O:p
    เป็นธรรมชาติที่ ไม่ต้องมีอัตตาเช่นเรา เข้าไปสำรวมให้มันไม่เที่ยง<O:p</O:p
    เป็นธรรมชาติที่ ไม่ต้องมีอัตตาเช่นเรา เข้าไประวังให้มันไม่เที่ยง<O:p</O:p
    เป็นธรรมชาติที่ มันไม่เที่ยงโดยสภาพตัวมันเองอยู่แล้ว<O:p</O:p

    <O:p</O:p
    เมื่อมีเหตุปัจจัยเข้ามาทางรูป.....และมีการรับรู้สิ่งที่เข้ามา(วิญญาณ).....เกิดการกระทบกัน(ผัสสะ)....และเกิดการจำได้หมายรู้(สัญญา)และปรุงแต่งในรายละเอียดนั้นๆ(สังขาร).......และก่อให้เกิดความรู้สึก(เวทนา)ต่างๆ.....<O:p</O:p
    โดยธรรมชาติ เวทนาย่อมดับไปอยู่แล้ว<O:p</O:p
    โดยธรรมชาติ เวทนาย่อมดับโดยสภาพมันเองอยู่แล้ว<O:p</O:p
    เมื่อเวทนาดับ สังขารก็ดับ สัญญาก็ดับ วิญญาณก็ดับ รูปก็ดับ<O:p</O:p
    ตรงนี้ คือ นิโรธ<O:p</O:p

    ปัญหา อยู่ตรงที่ว่า หากความไม่รู้พาเข้าไปยึดมั่นถือมั่นในเวทนาทั้งหลาย จนก่อให้เกิดตัณหา อุปาทานแล้ว กลายเป็นจิตที่ปรุงแต่งแล้ว กลายเป็นความคิดอันมีเขามีเราแล้ว....จะทำอย่างไร?<O:p</O:p<O:p</O:p
    ตอบ....เมื่อเกิดอัตตาขึ้นแล้วเป็นจิตที่ปรุงแต่งแล้วก็อย่าเข้าไปเนื่อง อย่าเข้าไปเนิ่นช้าในความคิดนั้น ในอาการที่จิตปรุงแต่งนั้น<O:p</O:p
    เมื่อไม่เข้าไปเนื่อง เมื่อไม่เข้าไปเนิ่นช้า ความคิดนั้นก็ไม่เที่ยง จิตที่ปรุงแต่งนั้นก็ไม่เที่ยง“ไม่เที่ยงโดยสภาพมันเอง”.....ตามหลักธรรมชาติที่ว่า......”ทุกสรรพสิ่งย่อมไม่เที่ยง”<O:p</O:p
    “เมื่อไม่เข้าไปเนื่องไม่เข้าไปเนิ่นช้า มันก็ไม่เที่ยงโดยสภาพมันเองอยู่แล้ว นี่คือธรรมชาติ”<O:p</O:p

    เพราะเมื่อเข้าใจว่า อะไรคือทุกข์ ก็อย่าเข้าไปยุ่ง ไปสาละวน เข้าไปเนื่อง เข้าไปเนิ่นช้า ให้เกิดปัญหาซับซ้อนขึ้นมาอีก<O:p</O:p
    เมื่อหยุดเข้าไปไปยุ่ง ก็เกิดการคลายกำหนัด อัตตาที่นอนเนื่องในสันดานก็ลดลง <O:p</O:p

    4.มรรค<O:p</O:p
    มรรค แปลว่า หนทาง มรรคในอริยสัจคือวิสุทธิมรรค แปลว่า หนทางที่บริสุทธิ์หลุดพ้น<O:p</O:p
    ที่พระพุทธองค์ตรัสไว้แปดประการ คือ มรรคมีองค์แปด ได้แก่ ปัญญาอันเห็นชอบ 1 ความดำริชอบ 1 วาจาชอบ 1 การงานชอบ 1เลี้ยงชีวิตชอบ 1 ความเพียรชอบ 1ระลึกชอบ 1 ตั้งใจชอบ 1<O:p</O:p
    มรรคตรงนี้เป็น มัชฌิมาปฏิปทา เป็นทางสายกลางที่ทำให้ไม่หลงและดำเนินไปสู่ความหลุดพ้นได้<O:p</O:p
    โดยหลัก เมื่อเข้าใจหลักธรรมชาติแห่งธรรมตามกฎธรรมชาติ ก็ถือว่า เป็นปัญญาอันเห็นชอบ 1 แล้ว<O:p</O:p
    เป็นความดำริชอบ 1 แล้ว<O:p</O:p
    เมื่อปล่อยให้กระบวนการทุกอย่างเป็นไปตามกฎธรรมชาติแล้วจิตที่ดับไปทุกขณะนั้น ก็ถือว่าเป็นความเพียรชอบ 1 แล้วระลึกชอบ 1 แล้ว ตั้งใจชอบ 1 แล้ว<O:p</O:p
    วาจาชอบ 1 การงานชอบ 1 เลี้ยงชีวิตชอบ 1 โดยนัยก็คือศีล 5 ศีล 8 ศีล 227 นั่นเอง<O:p</O:p
    วาจาชอบ การงานชอบ เลี้ยงชีวิตชอบ เป็นการแสดงออกทางกายวาจาแบบเหมาะสมในสังคมที่อาศัยอยู่<O:p</O:p
    <O:p</O:p
    แต่การแสดงออก ทางกายวาจาที่เหมาะสมนี้ เป็นการแสดงออกจากจิตที่ไม่ปรุงแต่ง<O:p</O:p

    หากใช้จิตปรุงแต่งว่าเราจักพูดสำรวม หากเราใช้จิตปรุงแต่งว่าเราจักพูดไม่ส่อเสียด<O:p</O:p
    การใช้จิตปรุงแต่งแบบนี้มันจะกลายเป็นการปรุงแต่งที่ซ้อนเข้ามา กลายเป็นอวิชชาที่ซ้อนเข้ามา <O:p</O:p
    ทำให้มรรคอันแท้จริงหายไปปัญญาหายไป ความเพียรหายไป ความตั้งใจชอบ( สมาธิ)หายไป<O:p</O:p
    ความคิดที่ว่าเราจักพูดสำรวมเราจักพูดไม่ส่อเสียด เป็นจิตปรุงแต่งชนิดหนึ่งที่ขวางกั้นนิพพาน<O:p</O:p
    ................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................<O:p</O:p<O:p</O:p
    อนัตตลักขณะสูตร<O:p</O:p

    ในอนัตตลักขณะสูตร พระพุทธองค์ตรัสสอนปัญจวัคคีย์สาวกทั้ง 5 ให้ละความถือมั่นในขันธ์ 5 ว่า<O:p</O:p
    “ภิกษุทั้งหลาย เหตุนั้น รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ อันใดอันหนึ่ง, ล่วงไปแล้วก็ดี ยังไม่มีมาก็ดี เกิดขึ้นจำเพาะบัดนี้ก็ดี หยาบก็ดี ละเอียดก็ดี เลวก็ดี งามก็ดี ,ในที่ไกลก็ดี ในที่ใกล้ก็ดี ทั้งหมดก็เป็นสักแต่ว่า รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ, ท่านทั้งหลายพึงเห็นด้วยปัญญาอันชอบตามเป็นแล้วอย่างไร ดังนี้<O:p</O:p
    ว่า นั่นไม่ใช่ของเรา นั่นไม่เป็นเรา นั่นไม่ใช่ตนของเรา ภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ได้ฟังแล้ว เมื่อเห็นอย่างนี้ ย่อมเบื่อหน่ายในรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ , ครั้นเบื่อหน่ายก็ปราศจากความกำหนัดรักใคร่, เพราะปราศจากความกำหนัดรักใคร่ จิตก็พ้นจากความถือมั่น, เมื่อจิตพ้นแล้ว ก็มีญาณรู้ว่าพ้นแล้ว, อริยสาวกนั้นรู้ชัดว่าความเกิดสิ้นแล้ว, พรหมจรรย์ได้ประพฤติจบแล้ว, กิจที่ควรทำได้ทำเสร็จแล้ว, กิจอื่นอีกเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี.”<O:p</O:p
    <O:p</O:p
    สรุป<O:p</O:p
    จิตที่ปรุงแต่งทุกเรื่อง ไม่ว่าจะหยาบ ละเอียด เลว งาม...... ก็ล้วนไม่เที่ยงแท้โดยตัวมันเองโดยสภาพมันเอง........(สักแต่ว่า)<O:p</O:p
    ส่วนใหญ่นักปฏิบัติธรรม จะติดปรุงแต่งในธรรมเนืองๆ โดยที่หารู้ไม่ว่าการพิจารณาธรรมแบบซ้ำๆซากๆ ก็เป็นจิตที่ปรุงแต่งชนิดหนึ่ง เหมือนเส้นผมที่บังภูเขา จิตที่ปรุงแต่งในธรรมก็ไม่เที่ยง<O:p</O:p
    เช่น ใช้จิตปรุงแต่งว่า เราจักทำฌาน 4 เพื่อบรรลุธรรม<O:p</O:p
    ใช้จิตปรุงแต่งว่า นี่คือสติ นี่คือสมาธิ นี่คือปัญญา<O:p</O:p

    จริงๆแล้ว การปฏิบัติธรรมเพื่อหลุดพ้นนั้น เป็นการรู้เห็นตามความเป็นจริงต่อสัจจธรรม<O:p</O:p
    ไม่ว่าจะอยู่ในอริยบทใดก็ตาม ยืน นั่ง เดิน นอน หรือ กำลังล้างหน้าแปรงฟัน ขับรถ กินข้าว อาบน้ำ ทำกิจกรรมต่างๆในชีวิตประจำวัน <O:p</O:p<O:p</O:p
    การที่เข้าใจเรื่องการเกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป ของขันธ์ 5 <O:p</O:p
    การที่เข้าใจเรื่องจิตว่าง หรือ สุญญตา<O:p</O:p
    เมื่อเข้าใจและปล่อยให้ทุกอย่างเป็นไปตามกระบวนการแห่งขันธ์อย่างแท้จริงซึ่งเป็นธรรมชาติของมัน ไม่มีการเข้าไปควบคุม บีบบังคับ เพื่อให้เกิดจิตว่างหรือสุญญตา <O:p</O:p
    ตรงนั้น มรรคมีองค์แปด ก็เกิดขึ้นอยู่แล้ว <O:p</O:p
    การที่รู้ว่านั้นคือจิตว่าง นั่นคือ ระลึกชอบและปัญญาอันเห็นชอบแล้ว<O:p</O:p
    การที่มีความตั้งมั่นในจิตว่างแบบไม่ขาดสาย นั่นคือ การตั้งใจชอบ(สัมมาสมาธิ) อยู่แล้วโดยเนื้อหาแห่งธรรม<O:p</O:p
    เป็น ความบริบูรณ์ในธรรม เป็นการลงตัวในธรรมอยู่แล้ว เป็นการกลมกลืนในธรรม เป็นความสามัคคีแห่งธรรม แปดส่วน ในอริยมรรคอยู่แล้ว<O:p</O:p
    <O:p</O:p<O:p</O:p
    การที่ใช้ปัญญาหันเหวิถีแห่งจิตจากหนทางแห่งความไม่รู้(อวิชชา) ไปสู่เส้นทางที่ถูกคือสัจจธรรมในความไม่เที่ยง นั่นคือการสำรวม การระวัง แล้ว<O:p</O:p
    การที่ไม่เข้าไปเนื่อง ไม่เข้าไปเนิ่นช้าในความคิด นั่นคือการสำรวม การระวัง แล้วเช่นกัน<O:p</O:p

    <O:p</O:p<O:p</O:p
    และนักปฏิบัติธรรมส่วนใหญ่จะติดความหลงใน “ ลัทธิแว่นส่องสมาธิและปัญญา”<O:p</O:p
    ท่านครูบาฮวงโป ท่านกล่าวเปรียบเทียบไว้ว่า เหมือนสุนัขที่คอยเห่าทุกครั้งที่เห็นใบตองมันกระดิก เมื่อถูกลมพัด<O:p</O:p
    ท่านเปรียบเปรยนักปฏิบัติว่าเหมือนสุนัขตัวนั้น ที่คอยเห่าอยู่ตลอดเวลาว่า นี่คือจิตชนิดนั้นจิตชนิดนี้ นี่คือสติ นี่คือสมาธิ นี่คือปัญญา นี่คือ......นี่คือ.......นี่คือ ทุกครั้งที่สภาวะจิตเกิดขึ้น<O:p</O:p
    <O:p</O:p
    ท่านว่ามันเป็น อวิชชาซ้อนเข้าไป ที่มองไม่เคยเห็นเป็นการบัญญัติให้เกิดอัตตาอีกชนิดหนึ่ง<O:p</O:p
    การที่จิตมันไม่หันเหออกนอกไปจากวิถีแห่งพุทธธรรม ซึ่งมันว่างเปล่าจากความหมายแห่งความเป็นตัวตนนั้น มันก็ประกอบไปด้วยอินทรีย์แห่งธรรม มันเป็นทางดำเนินไปสู่ความหลุดพ้นอยู่แล้ว เป็นมรรคหลุดพ้นอยู่แล้วโดยตัวมันเอง<O:p</O:p
    เมื่อขันธ์ 5 ดับตามวิถีทางธรรมชาติในการทำงานแห่งขันธ์ จะสุขเวทนา จะทุกขเวทนา จะอทุกขมสุขเวนา <O:p</O:p
    เวทนาทั้งหลายก็ย่อมดับอยู่แล้วโดยปกติของมันไม่ต้องใช้จิตปรุงแต่งเพื่อให้มีเรา(อัตตา)เข้าไปควบคุม หรือ บีบบังคับ ให้มันดับให้มันไม่เที่ยง <O:p</O:p
    การที่รู้เห็นตามความเป็นจริงได้ ก็บ่งบอกไปในตัวอยู่แล้วว่านั่นคือมรรค <O:p</O:p
    เมื่อจิตว่าง ทุกอย่างก็บริบูรณ์ในธรรมอยู่แล้ว ไม่ต้องปรุงแต่งซ้อนเข้าไปอีกว่านี่คืออะไร ทำไมอย่างไร ชนิดไหน แค่ไหน<O:p</O:p
    มันจบโดยสภาวะมันเองในความดับอยู่แล้ว จบโดยธรรมชาติของมันอยู่แล้ว............”ไม่ต้องเข้าไปบัญญัติเพื่อแจกแจงมันให้เกิดอัตตาขึ้นมาอีก......เพราะมันจะเป็นอวิชชาที่ซ้อนเข้ามาทันที.<O:p</O:p
    ...................................................................................................<O:p</O:p
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุด: 20 กุมภาพันธ์ 2011

แชร์หน้านี้

Loading...