จิต,เจตสิก,รูป,นิพพาน ตามหลักพระอภิธรรมปิฎก ตอนที่ ๑๑

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย telwada, 22 กันยายน 2009.

  1. telwada

    telwada เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 กันยายน 2004
    โพสต์:
    1,509
    ค่าพลัง:
    +1,817
    จิต,เจตสิก,รูป, นิพพาน ตอนที่ ๑๑
    ในตอนที่ ๑๑ นี้ ข้าพเจ้าจะได้แจกแจง หรืออธิบาย ในเรื่องของ วิญญาณ(ขันธ์) หรือ จิตวิญญาณ ซึ่งเป็นขันธ์หนึ่ง ในจำนวน ห้าขันธ์ แห่งสรีระร่างกายของมนุษย์(ในที่นี้หมายเอาเฉพาะมนุษย์)
    วิญญาณ ตามหลักพระอภิธรรมปิฎก หมายถึง ความรู้แจ้งอารมณ์, จิต, ความรู้ที่เกิดขึ้นเมื่ออายตนะภายในและอายตนะภายนอกกระทบกัน เช่น รูปอารมณ์ในเวลาเมื่อรูปมากระทบตา เป็นต้น ได้แก่ การเห็น การได้ยินเป็นอาทิ; วิญญาณ ๖ คือ ๑.จักขุวิญญาณ ความรู้อารมณ์ทางตา(เห็น) ๒.โสตวิญญาณ ความรู้อารมณ์ทางหู (ได้ยิน) ๓.ฆานวิญญาณ ความรู้อารมณ์ทางจมูก(ได้กลิ่น) ๔.ชิวหาวิญญาณ ความรู้อารมณ์ทางลิ้น(รู้รส) ๕.กายวิญญาณ ความรู้อารมณ์ทางกาย (รู้สิ่งต้องกาย) ๖.มโนวิญญาณ ความรู้อารมณ์ทางใจ (รู้เรื่องในใจ)

    เมื่อท่านทั้งหลายได้อ่านและรู้แล้วว่า วิญญาณ ตามหลักพระอภิธรรมฯ นั้นหมายถึงสิ่งใด ตามสำนวนภาษาบาลี เมื่อครั้งพุทธกาลไปแล้วข้างต้น ท่านทั้งหลายย่อมจะเกิดความเข้าใจได้ยาก เหตุเพราะความหมายของคำว่า วิญญาณ ที่ได้กล่าวไปแล้ว ย่อมหมายรวมจึง จิต,เจตสิก,รูป (รวมถึงขันธ์ ทั้ง ๔ อันได้แก่ รูปขันธ์,สัญญาขันธ์,เวทนาขันธ์,และสังขารขันธ์ เนื่องจากเกี่ยวข้องสัมพันธ์ตามระบบการทำงานของสรีระร่างกาย ซึ่งในทางที่เป็นจริงแล้ว วิญญาณ หรือ จิตวิญญาณ ไม่ใช่เรื่องลี้ลับ ดังที่คงมีหลายๆท่าน หรือคนส่วนใหญ่ได้เรียนรู้ หรือรับรู้กันมาเกี่ยวกับเรื่องของ วิญญาณ ตามคติโบราณ ที่เล่าหรือกล่าวขานสืบต่อๆกันมา
    วิญญาณ(ขันธ์) หรือ จิตวิญญาณ นั้น อธิบายได้ยาก เหตุเพราะการหาคำศัพท์มาอธิบายไม่ใช่เรื่องง่าย ท่านทั้งหลายเมื่ออ่านแล้วจะต้อง พิสูจน์ด้วยตัวของท่านเอง และทำความเข้าใจให้ดีว่า วิญญาณ หรือ ความรู้แจ้งอารมณ์ ความรู้แจ้งอารมณ์, จิต, ความรู้ที่เกิดขึ้นเมื่ออายตนะภายในและอายตนะภายนอกกระทบกัน นั่นก็หมายความว่าอายตนะภายใน ตา,หู,จมูก,ลิ้น,กาย,ใจ ล้วนมีวิญญาณ เมื่อได้รับการสัมผัสจากอายตนะภายนอก คือ รูป,รส,กลิ่น,เสียง,แสงสี(รูปชนิดหนึ่ง)โผฏฐัพพะ,ธรรมารมณ์(อารมณ์ที่เกิดขึ้นในใจ,การคิดหรือรู้ในใจ)
    ลักษณะของ "วิญญาณ" นั้นก็คือ เมื่อ ตา,หู,จมูก,ลิ้น,กาย,ใจ ได้รับการสัมผัส ก็จะเกิดการรู้ว่าเป็นสิ่งใด โดยไม่ได้เกิดการปรุงแต่ง(สังขารขันธ์) โดยไม่เกิดความรู้สึก(เวทนาขันธ์) โดยไม่ได้เกิดขึ้นจากการค้นหาความจำ แต่วิญญาณ จะเกี่ยวข้องกับ สัญญาขันธ์(คือการจำได้หมายรู้) อันเป็นไปตามระบบการทำงานของสรีระร่างกาย แต่เป็นความจำหรือสัญญาขันธ์ในชั้นพื้นฐาน เช่นเห็น รถยนต์ หรือมนุษย์ ผู้หญิง ผู้ชาย ก็จะรู้ว่า เป็นรถยนต์ เป็น มนุษย์ ผู้หญิง ผู้ชาย แต่จะไม่ปรุงแต่ง(สังขารขันธ์) เพื่อค้นหาความจำหรือสัญญาว่า เป็นรถยี่ห้ออะไร สีอะไร หรือ เป็นมนุษย์ผู้หญิง ผู้ชาย ชื่ออะไร เป็นใคร ฯลฯ อย่างนี้เป็นต้น ดังนั้น วิญญาณ หรือ จิตวิญญาณ จึงเป็นการทำงานของระบบการทำงานของสรีระร่างกายตามธรรมชาติ อันประกอบไปด้วยอวัยวะต่างๆ ของร่างกาย ส่งกระแสคลื่นท่ี่ได้รับการสัมผัส จากส่วนต่างๆของร่างกาย ไปสู่หัวใจและกลับไปท่ี่สมอง และหมุนวนกันไปอย่างนั้น
    ถ้าหากจะกล่าวอธิบายในเรื่องของวิญญาณ(ขันธ์) หรือจิตวิญญาณ ตามหลักวิชาการแขนงต่างๆในยุคปัจจุบันแล้วละก้อ วิญญาณ ก็คือ อะตอม(ภายในประกอบด้วยนิวเคลียส)หลายๆอะตอม ประกอบกันเป็นโมเลกุล โมเลกุลหลายๆโมเลกุล รวมกันเป็นเซลล์ ฯลฯ จนที่สุดก็คือ อวัยวะต่างๆ ที่สามารถสร้างปฏิกิริยา กับ แสง สี เสียง ,รส,กลิ่น ฯลฯ กลายเป็นคลื่นไฟฟ้า ไหลเข้าสู่ระบบประสาทต่างๆ ของร่างกาย บ้างก็ผ่านสมองก่อน บ้างก็ผ่านหัวใจก่อน เพราะหัวใจและสมองทำงานร่วมกัน หัวใจเป็นวิญญาณหลัก๑ สมองเป็นวิญญาณหลัก๒ อวัยวะอื่นๆเป็นวิญญาณ เชื่อมต่อกันไป รวมถึงโลหิต น้ำเหลือง ฯลฯ อย่างนี้เป็นต้น
    ดังนั้น วิญญาณ(ขันธ์) หรือจิตวิญญาณ จึงไม่ใช่เรื่องลี้ลับ จนพิสูจน์ไม่ได้ เพราะ วิญญาณก็คือ กลไก ของนิวเคลียส ที่ประกอบอยู่ในสรีระร่างกายทุกส่วนของมนุษย์นั้นเอง และไม่สามารถมองเห็นได้ด้วยตา เพราะเล็กมาก และข้อที่สำคัญที่ท่านทั้งหลายคงคิดไม่ถึงว่า วิญญาณหรือนิวเคลียส ภายในร่างกายของมนุษย์ ในส่วนที่เก็บหรือสะสมคลื่น ความรู้ ความจำ ความรู้ ความโลภ ความโกรธ ความหลง กามราคะ ฯลฯ สามารถเคลื่อนที่ หรือไหลออกจากร่างกายของมนุษย์ได้ อาจจะไหลออกหรือ เคลื่อนที่ออกจากร่างกาย เมื่อได้รับการสัมผัสกับ อากาศธาตุ ภายนอก อันได้แก่ ลม , ดิน, น้ำ ,ไฟ หรือสามารถเคลื่อนที่ออกจากร่างกาย หรือไหลออกจากร่างกาย เมื่อหัวใจเกิดอารมณ์ ความรู้สึก ร่วมกับความคิด ในด้านดีก็ได้ ในด้านไม่ดีก็ได้ ซึ่งท่านทั้งหลายสามารถพิสูจน์ได้ด้วยตัวของท่านเองอยู่แล้ว (ในเรื่องนี้ยังมีรายละเอียดอีกมาก อันเกี่ยวเนื่อง จากแรงดัน และแรงดึงดูด ตามธรรมชาติของโลก)
    อนึ่ง หากจะแจกแจงให้เกิดความเข้าใจตามหลักพระอภิธรรมปิฎก ก็คงเป็นดังที่ได้กล่าวไปในตอนต้นบ้างแล้วว่า
    วิญญาณขันธ์ แท้จริงแล้ว ย่อมหมายถึง จิต,เจตสิก,รูป อันหมายรวมถึง รูปขันธ์ สัญญาขันธ์ เวทนาขันธ์ สังขารขันธ์ ผสมรวมกัน ทำงานร่วมกัน จนทำให้มนุษย์ สามารถ " รู้แจ้งในอารมณ์,หรือ ความรู้ที่เกิดขึ้นเมื่ออายตนะภายในและอายตนะภายนอกกระทบกัน "

    จ่าสิบตรี เทวฤทธิ์ ทูลพันธ์
    ๒๒ ก.ย. ๒๕๕๒
     

แชร์หน้านี้

Loading...