คำว่าผี

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย รสมน, 27 พฤศจิกายน 2009.

  1. รสมน

    รสมน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 กุมภาพันธ์ 2009
    โพสต์:
    1,451
    ค่าพลัง:
    +2,047
    โดยมากเข้าใจว่า ตายแล้วเป็นผี แต่ความจริงนั้น ทันทีที่จุติ คือ
    จิตขณะสุดท้ายทำกิจเคลื่อนจากความเป็นบุคคลนั้นดับ ปฏิสนธิจิต คือ
    จิตขณะแรกของชาติต่อไป ก็เกิดสืบต่อทันที ไม่มีระหว่างคั่น แล้วแต่ว่า
    ปฏิสนธินั้นเป็นผลของกรรมใดที่ทำให้เกิดในภพภูมิใด ถ้าเกิดในนรกก็ไม่มี
    ใครมองเห็น เมื่อไม่เห็นสัตว์นรกก็กล่าวว่าไม่เห็นผี แต่ถ้าเกิดในภูมิที่
    สามารถจะปรากฏกายให้เห็นได้ คือ ขณะที่เป็นบุคคลที่ตายไปแล้วปรากฏ
    ร่างเหมือนที่เคยมีชีวิตอยู่ ก็เข้าใจว่าเห็นผี ความจริงเทวดาก็ปรากฏให้
    เห็นได้เหมือนกัน แต่ไม่ทราบว่าจะเรียกว่าผีหรือเปล่า หรือจะเรียกว่า ผี
    เฉพาะผู้ที่ตายแล้วเกิดเป็นเปรตและอสุรกายเท่านั้น
    อรรถกถาทัณฑสูตร
    พึงทราบอธิบายในทัณฑสูตรที่ ๓.
    คำว่า จากโลกนี้ไป สู่ปรโลก ความว่า จากโลกนี้ไปโลกอื่น คือ
    นรกบ้าง กำเนิดสัตว์เดรัจฉานบ้าง เปรตวิสัยบ้าง มนุษยโลกบ้าง เทวโลก
    บ้าง. อธิบายว่า เกิดในวัฏฏะนั่นแหล่ะบ่อย ๆ.
    จบอรรถกถาทัณฑสูตรที่ ๓
    การมีโอกาสได้ฟัง ได้ศึกษาพระธรรม อบรมเจริญปัญญาในชีวิตประจำวัน ย่อมเป็น
    ช่วงเวลาที่ประเสริฐของชีวิต เพราะเหตุว่านำมาซึ่งความเข้าใจถูก เห็นถูก ตามความ
    เป็นจริง เมื่อมีความเข้าใจที่ถูกต้อง มั่นคง ในเหตุในผล ย่อมจะไม่เอนเอียงในคำพูดที่
    ไม่ถูกต้องหรือไม่เข้าใจแบบผิด ๆ ตาม ๆ กันมา
    วิญญาณ เป็นสภาพธรรมที่มีจริง เป็นจิต เป็นสภาพธรรมที่เป็นใหญ่ เป็นประธาน
    ในการรู้แจ้งอารมณ์ วิญญาณ หรือ จิต เป็นนามธรรม ไม่มีรูปร่าง ไม่มีการล่องลอย
    แต่เป็นสภาพธรรมที่มีจริง เกิดดับสืบต่อกันในชีวิตประจำวัน ทุกขณะของชีวิต มีจิต
    เกิดดับสืบต่อกันอยู่ตลอดเวลา ไม่เคยปราศจากจิตเลยแม้แต่ขณะเดียว ไม่ว่าจะเห็น
    ได้ยิน ได้ยิน ได้กลิ่น ลิ้มรส รู้สิ่งที่กระทบสัมผัส คิดนึก ขณะที่จิตเป็นกุศล หรือ
    เป็นอกุศล หรือแม้กระทั่งขณะแรกของชีวิต ก็เป็นจิต
    ผู้ที่ไม่ได้บรรลุถึงความเป็นพระอรหันต์ดับกิเลสได้ทั้งหมด เมื่อตายไป (จิตขณะสุด
    ท้ายของชีวิตในชาตินี้ เกิดขึ้นทำกิจเคลื่อนจากความเป็นบุคคลนี้) ย่อมเกิดทันที
    (ปฏิสนธิจิต) แต่จะไปเกิดเป็นอะไร ที่ไหนนั้น ย่อมขึ้นอยู่กับกรรมที่กระทำแล้ว แต่เกิด
    แน่นอน สังสารวัฏฏ์ก็ยังดำเนินต่อไป (มีจิต เจตสิก รูป เกิดขึ้นเป็นไป อย่างไม่ขาด-
    สาย) ส่วนผู้ที่บรรลุเป็นพระอรหันต์ เมื่อดับขันธปรินิพพานแล้ว (ตาย) ย่อมไม่มีการเกิด
    อีกในสังสารวัฏฏ์
    พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 258
    ในวาระของนักตรึก มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้
    สมณะหรือพราหมณ์ผู้ตรึกนี้ ย่อมเห็นความแตก ทำลายของจักษุเป็นต้น
    แต่เพราะเหตุที่จิตดวงแรกๆ พอให้ปัจจัยแก่ดวงหลังๆ จึงดับไปฉะนั้น
    จึงไม่เห็นความแตกทำลายของจิต ซึ่งแม้จะมีกำลังกว่าการแตกทำลาย
    ของจักษุ เป็นต้น.
    สมณะหรือพราหมณ์ผู้ตรึกนั้น เมื่อไม่เห็นความแตกทำลายของจิตนั้น
    จึงยึดถือว่า เมื่ออัตตภาพนี้แตกทำลายแล้ว จิตย่อมไปในอัตตภาพอื่น
    เหมือนอย่างนกละต้นไม้ต้นหนึ่งแล้วไปจับที่ต้นอื่นฉะนั้น จึงกล่าวอย่างนี้.
    การตายของสัตว์โลก คือ จุติจิตเกิดขึ้น ทำกิจเคลื่อนจากความเป็นบุคคลนี้
    เมื่อจุติจิตดับไปแล้ว เป็นปัจจัยให้ปฏิสนธิจิตเกิดขึ้น ทำกิจสืบต่อความเป็น
    บุคคลใหม่ สืบต่อทันที (สำหรับผู้ที่ยังมีกิเลส)

    ฉะนั้นผู้ที่ยังมีเหตุให้เกิดต้องมีการเกิดใหม่ จะเกิดที่ไหนย่อมเป็นไปตามเหตุที่
    บุคคลนั้นทำไว้ คือผู้ทำกรรมดีไว้ในชาตินี้เมื่อตายไปกรรมดีให้ผลย่อมเกิดใน
    สุคติภูมิ ได้แก่ ภูมิมนุษย์ ภูมิสวรรค์ หรือพรหมโลก ตามควรแก่เหตุ (กรรม)
    ผู้ทำกรรมชั่วไว้ในชาตินี้ ถ้ายังไม่บรรลุเป็นพระอริยบุคคล เมื่อกรรมนั้นให้ผล
    ย่อมเกิดในอบายภูมิ คือ นรก เปรต อสุรกาย และ สัตว์เดรัจฉาน





    ตามหลักพระธรรมของพระพุทธองค์ เมื่อสัตว์ตายแล้ว ย่อมปฎิสนธิทันที
    ไม่มีระหว่างคั่น ฉะนั้น คำว่า วิญญาณล่องลอย ผีไม่มีญาติและตายแล้ว ยังไม่
    ไปผุดไปเกิด จึงไม่มีในพระไตรปิฎกและอรรถกถา สำหรับผู้ศึกษาพระธรรมเข้า
    ใจเรื่องวิญญาณ คือ จิตเป็นสภาพรู้ จึงไม่เข้าใจผิดเรื่องวิญญารล่องลอยหรือ
    ไม่ไปผุดไปเกิด เพราะสัตว์ที่ยังมีกิเลส เมื่อตายแล้ว ย่อมเกิดขึ้นในภพใหม่
    ทันทีตามกรรม
    ตายแล้วเกิดทันที แล้วแต่กรรมที่เราทำ ถ้าเรามีศีล 5 เป็นปกติ ตายแล้วไปสู่
    สุคติ แต่ตรงข้าม ถ้าปกติเราเป็นคนทุศีล ฆ่าสัตว์ ลักทรัพย์ ประพฤติผิดในกาเม
    พูดเท็จ ดื่มสุรา ตายแล้วก็ไปอบายภูมิ เป็นต้น การเกิดก็มีหลายอย่าง เช่น เกิดใน
    ครรภ์ เป็นมนุษย์ หรือ เกิดเป็นโอปาติกะ พวกนี้เกิดแล้วโตทันที เช่น เทวดา สัตว์-
    นรก เปรต คนไทยเรียกว่าผี แต่จริง ๆ ศัทพ์ธรรมะเรียกว่า อมนุษย์ แปลว่าไม่ใช่
    มนุษย์ ที่เรียกว่าวิญญาณหมายถึงสิ่งที่จิตรู้ เช่น การเห็นต้องอาศัยจักขุปสาทและ
    รูปารมณ์จึงเกิด จักษุวิญญาณ คนตายไม่มีวิญญาณ เป็นต้น
    วิญญาณ ก็คือ จิต เช่น จักขุวิญญาณ ก็คือ จิตเห็น โสตวิญญาณ ก็คือ จิต
    ได้ยิน เป็นต้น จึงไม่มีวิญญาณล่องลอยไปมา หรือ หาที่เกิด
    อารมณ์ คือ สิ่งที่จิตรู้ จิตเกิดขึ้นต้องรู้อารมณ์ เช่น จิตเห็น มีสีเป็นอารมณ์ จิต
    ได้ยินมีเสียง เป็นอารมณ์ ฆานวิญญาณ มีกลิ่น เป็นอารมณ์ ฯลฯ
    ที่เรียกว่า ผี ส่วนมากก็ คือสัตว์ที่เกิดแล้วในภพภูมิอื่น เช่น เปรต อสุรกาย
    เป็นต้น
    ไม่มีสัตว์ตาย แต่เป็นจิตที่เกิดสืบต่อ ถ้ามีเหตุปัจจัย จิตก็ยังเกิดสืบต่อ
    เรียกว่าสังสารวัฏ ถ้ากล่าวว่าสัตว์ตาย ไปไหน บอกว่าสัตว์ก็เกิดอีก ก็จะเป็น
    ความเห็นว่าเที่ยง จริงๆแล้ว ไม่มีสัตว์ มีแต่ธรรมที่เป็น จิต เจตสิก รูป
    สัตว์โลกตาย เมื่อจิต เจตสิก ขณะสุดท้ายของชาตินี้ดับลงพร้อม
    กัมมชรูป (รูปที่เกิดจากกรรมเป็นสมุฏฐาน) ทำให้สิ้นสภาพความเป็นบุคคล
    นั้นทันที ตราบใดที่ยังไม่ใช่พระอรหันต์ เมื่อสัตวโลกตายแล้ว กุศล
    กรรมหนึ่ง หรืออกุศลกรรมหนึ่งที่ได้กระทำไว้แล้ว ก็เป็นปัจจัยให้เกิดใน
    ภูมิหนึ่งภูมิใดใน ๓๑ ภูมิ
    พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 418
    ๑. มัณฑูกเทวปุตตวิมาน
    ว่าด้วยมัณฑูกเทวปุตตวิมาน
    พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสถามเทพบุตรองค์หนึ่งว่า
    [๕๑] ใครรุ่งเรืองด้วยฤทธิ์ ด้วยยศ มีวรรณะ
    งาม ทำทิศทุกทิศให้สว่างไสว กำลังไหว้เท้าของเรา.
    เทพบุตรกราบทูลว่า
    เมื่อชาติก่อน ข้าพระองค์เป็นกบอยู่ในน้ำ
    มีน้ำเป็นถิ่นที่หากิน กำลังฟังธรรมของพระองค์อยู่
    คนเลี้ยงโคก็ฆ่าเสีย ขอพระองค์โปรดดูฤทธิ์และยศ
    ดูอานุภาพ วรรณะ และความรุ่งเรืองของความ
    เลื่อนใสแห่งจิตเพียงครู่เดียว ของข้าพระองค์ ข้า-
    แต่ท่านพระโคดม ชนเหล่าใดได้ฟังธรรมของพระ-
    องค์ตลอดกาลยาวนาน ชนเหล่านั้นก็ถึงฐานะที่ไม่
    หวั่นไหว ซึ่งคนไปแล้วไม่เศร้าโศกเลย.
    จบมัณฑูกเทวปุตตวิมาน
    พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 607
    ๗. กัณฐกวิมาน
    ว่าด้วยกัณฐกวิมาน
    พระมหาโมคคัลลานเถระถามเทพบุตรองค์หนึ่งว่า
    [๘๑] พระจันทร์มีรอยรูปกระต่ายในเดือน
    เพ็ญ อันหมู่ดาวแวดล้อม เป็นอธิบดีของดาวทั้งหลาย
    ย่อมโคจรไปโดยรอบ ฉันใด ทิพยวิมานนี้ก็อุปมา
    ฉันนั้น ย่อมรุ่งโรจน์ด้วยรัศมีในเทพบุรี เหมือนดวง
    อาทิตย์กำลังอุทัยฉะนั้น พื้นวิมานน่ารื่นรมย์ใจ วิจิตร
    ไปด้วยแก้วไพฑูรย์ ทอง แก้วผลึก เงิน เพชร-
    ตาแมว แก้วมุกดา และแก้วทับทิม ปูลาดด้วยแก้ว
    ไพฑูรย์ ห้องรโหฐานงาม น่ารื่นรมย์ปราสาทของ
    ท่านอันบุญกรรมสร้างไว้อย่างดี .....................
    เทพบุตรนั้นดีใจ ถูกพระโมคคัลลานะถามแล้ว
    ครั้นแล้วก็พยากรณ์ปัญหาของกรรมที่มีผลอย่างนี้ว่า
    ข้าพเจ้าคือกัณฐกอัศวราช สหชาตของพระ-
    โอรสของพระเจ้าสุทโธทนะในกรุงกบิลพัสดุ์ ราชธานี
    ของกษัตริย์แคว้นศากยะ ครั้งใดพระราชโอรสเสด็จ
    ออกมหาภิเนษกรมณ์เพื่อโพธิญาณตอนเที่ยงคืน พระ-
    องค์ใช้ฝ่าพระหัตถ์อันนุ่มและพระนขาที่แดงปลั่ง
    ค่อย ๆ ตบขาข้าพเจ้า และตรัสว่า พาไปสิสหาย เรา
    บรรลุพระสัมโพธิญาณอันอุดมแล้ว จักยังโลกให้ข้าม
    โอฆสงสาร เมื่อข้าพเจ้าฟังพระดำรัสนั้น ได้มีความ
    ร่าเริงเป็นอันมาก ข้าพเจ้ามีใจเบิกบานยินดีได้รับคำ
    ในครั้งนั้น ครั้นรู้ว่า พระศากโยรสผู้มียศใหญ่
    ประทับนั่งเหนือหลังข้าพเจ้าแล้ว ข้าพเจ้ามีใจเบิก
    บานบันเทิง นำพระมหาบุรุษไปถึงแว่นแคว้นของ
    กษัตริย์เหล่าอื่น เมื่อพระอาทิตย์ขึ้น พระมหาบุรุษ
    นั้นมิได้ทรงอาลัย ละทิ้งข้าพเจ้าและฉันนอำมาตย์ไว้
    เสด็จหลีกไป ข้าพเจ้าได้เลียพระบาททั้งสอง ซึ่งมี
    พระนขาแดงของพระองค์ ร้องไห้แลดูพระมหาวีระ
    ผู้กำลังเสด็จไป เพราะไม่ได้เห็นพระศากโยรสผู้ทรง
    สิรินั้น ข้าพเจ้าป่วยหนักก็ตายอย่างฉับพลัน ด้วย
    อานุภาพแห่งบุญนั้นแหละ ข้าพเจ้าจึงมาอยู่วิมาน
    ทิพย์นี้ ซึ่งประกอบด้วยกามคุณทุกอย่างในเทวนคร
    อีกอย่างหนึ่ง ข้าพเจ้าได้มีความร่าเริงเพราะได้ฟัง
    เสียงเพื่อพระโพธิญาณว่าเราจักบรรลุความสิ้นอาสวะ
    ด้วยกุศลมูลนั่นเอง ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ถ้าพระคุณเจ้า
    จะพึงไปในสำนักของพระพุทธเจ้าผู้ศาสดาไซร้ ขอ
    พระคุณเจ้า จงกราบทูลถึงการถวายบังคมด้วยเศียร
    เกล้ากะพระองค์ตามคำของข้าพเจ้า แม้ข้าพเจ้าก็จัก
    ไปเฝ้าพระชินเจ้าผู้หาบุคคลอื่นเปรียบมิได้ การได้
    เห็นพระโลกนาถผู้คงที่หาได้ยาก............
    โสตาปัตติยังคะ ๔
    จตุ ( สี่ ) + โสตา ( กระแสนิพพาน ) + ปตฺติย ( ถึง ) + องฺค ( องค์ )
    องค์แห่งการถึงกระแสนิพพาน , องค์แห่งการถึงความเป็นโสดาบัน ๔ ประ-
    การ หมายถึง เหตุที่ทำให้มีความเจริญ เรียกว่า วุฑฒิธรรม ก็ได้ ได้แก่ ...
    ๑. การคบสัตบุรุษ
    ๒. การฟังพระสัทธรรมของท่าน
    ๓. การพิจารณาโดยแยบคาย
    ๔. การปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม
    เมื่อกระทำเหตุทั้ง ๔ เหล่านี้แล้ว ย่อมถึงความเจริญและมีโอกาสบรรลุถึงความ
    เป็นพระโสดาบันในอนาคตกาลแน่นอน
    พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 279
    ๕. ทุติยสาริปุตตสูตร
    ว่าด้วยองค์ธรรมเครื่องบรรลุโสดา
    [๑๔๒๗] ครั้งนั้น ท่านพระสารีบุตรเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า
    ถึงที่ประทับ ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง
    ครั้นแล้วพระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสถามท่านพระสารีบุตรว่า ดูก่อนสารีบุตร
    ที่เรียกว่า โสตาปัตติยังคะ ๆ ดังนี้ โสตาปัตติยังคะเป็นไฉน.
    [๑๔๒๘] ท่านพระสารีบุตรกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ
    โสตาปัตติยังคะ คือ สัปปุริสสังเสวะ การคบสัตบุรุษ ๑ สัทธรรมสวนะ
    ฟังคำสั่งสอนของท่าน ๑ โยนิโสมนสิการ กระทำไว้ในใจโดยอุบายที่ชอบ ๑
    ธัมมานุธัมมปฏิปัตติ ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม ๑.
    [๑๔๒๙] พ. ถูกละ ๆ สารีบุตร โสตาปัตติยังคะ คือ สัปปุริส-
    สังเสวะ ๑ สัทธรรมสวนะ ๑ โยนิโสมนสิการ ๑ ธัมมานุธัมมปฏิปัตติ ๑.
    ฯลฯ
    พระพุทธองค์ทรงแสดงว่า เพราะอวิชชาเป็นปัจจัยสัตว์ทั้งหลายจึงทำกุศล และ
    ทำอกุศล คือเพราะความไม่รู้ สัตว์ทั้งหลายจึงมีการทำบุญบ้าง ทำบาปบ้าง แม้
    อุปนิสัยที่เคยทำมา ก็เป็นอุปนิสยปัจจัยให้สัตว์ทั้งหลายทำบุญทำบาป

    เอาบุญมาฝากได้ถวายสังฆทาน เจริญวิปัสสนา ให้ธรรมะเป็นทาน
    กำหนดอิริยาบทย่อย สวดมนต์ นั่งสมาธิเดินจงกรม ถวายข้าวพระพุทธรูป
    อนุโมทนาบุญกับผู้ใส่บาตรตอนเช้าตามถนนหนทางหลายซอย ฟังธรรม
    ที่ผ่านมาได้ฝึกสมถะกรรมฐานด้วยคือ พุทธานุสติ ธรรมานุสติ สังฆานุสติ
    มรณานุสติ จาคานุสติ
    และตั้งใจที่จะเจริญวิปัสสนา และกำหนดอิริยาบทย่อย แต่จะเน้นวิปัสสนาเป็นหลัก
    ขอให้อนุโมทนาบุญด้วย
     

แชร์หน้านี้

Loading...