ขันธ์

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย albertalos, 3 ธันวาคม 2009.

  1. albertalos

    albertalos เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 เมษายน 2006
    โพสต์:
    2,462
    ค่าพลัง:
    +1,137
    ขันธ์ แปลว่า กอง, หมวด, หมู่, ส่วน ในทางพุทธศาสนาหมายถึงร่างกายของคนเรา คือแยกร่างกายออกเป็นส่วนๆ ตามสภาพได้ 5 ส่วน หรือ 5 ขันธ์ คือ
    1. รูป ได้แก่ ส่วนที่ผสมกันของธาตุดิน น้ำ ลม ไฟ เช่น ผม หนัง กระดูก โลหิต
    2. เวทนา ได้แก่ ระบบรับหรือรู้สึกสิ่งที่สัมผัสทางตา หู จมูก ลิ้น กาย และใจ
    3. สัญญา ได้แก่ จำสิ่งที่ได้รับและรู้สึกนั้นๆ
    4. สังขาร ได้แก่ ระบบคิดปรุงแต่ง แยกแยะสิ่งที่รับรู้สึกและจำได้นั้นๆ
    5. วิญญาณ ได้แก่ ระบบรู้สิ่งนั้นๆ หลังจากแยกแยะแล้ว
    ขันธ์นี้ อาจเรียก "ขันธ์ 5" เบญจขันธ์ หรือ ขันธปัญจก ก็ได้

    เวทนา เป็นหลักธรรมข้อหนึ่งในพุทธศาสนา หมายถึง ความเสวยอารมณ์ ความรู้สึก
    เวทนาขันธ์ เป็นองค์ประกอบหนึ่งของขันธ์๕ (หรือ เบญจขันธ์ อันได้แก่ รูปขันธ์ เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ วิญญาณขันธ์)
    เวทนา สามารถจัดออกเป็นประเภทต่างๆ ได้หลายแบบ เช่น
    เวทนา ๒


    เวทนา ๒ แบ่งความเสวยอารมณ์ ออกเป็นสองอย่าง คือ
    1. กายิกเวทนา หมายถึง เวทนาทางกาย ความเสวยอารมณ์ทางกาย ความรู้สึกทางกาย
    2. เจตสิกเวทนา หมายถึง เวทนาทางใจ ความเสวยอารมณ์ทางใจ ความรู้สึกทางใจ
    เวทนา ๓


    เวทนา ๓ แบ่งความเสวยอารมณ์ ความรู้สึก รสของอารมณ์ ออกเป็นสามอย่าง คือ
    1. สุขเวทนา หมายถึง ความรู้สึกสุข สบาย ทางกายก็ตาม ทางใจก็ตาม
    2. ทุกขเวทนา หมายถึง ความรู้สึกทุกข์ ไม่สบาย ทางกายก็ตาม ทางใจก็ตาม
    3. อทุกขมเวทนา หมายถึง ความรู้สึกเฉยๆ จะสุขก็ไม่ใช่ ทุกข์ก็ไม่ใช่ เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า อุเบกขาเวทนา
    เวทนา ๕


    เวทนา ๕ แบ่ง การเสวยอารมณ์ ออกเป็นห้าอย่าง คือ
    1. สุข หมายถึง ความสุข ความสบายทางกาย
    2. ทุกข์ หมายถึง ความทุกข์ ความไม่สบาย ความเจ็บปวดทางกาย
    3. โสมนัส หมายถึง ความแช่มชื่นสบายใจ สุขใจ
    4. โทมนัส หมายถึง ความเสียใจ ทุกข์ใจ
    5. อุเบกขา หมายถึง ความรู้สึกเฉยๆ
    เวทนา ๖


    เวทนา ๖ แบ่ง การเสวยอารมณ์ ออกเป็นหกอย่าง คือ
    1. จักษุสัมผัสชา เวทนา หมายถึง เวทนาเกิดจากสัมผัสทางตา
    2. โสตสัมผัสชา เวทนา หมายถึง เวทนาเกิดจากสัมผัสทางหู
    3. ฆานสัมผัสชา เวทนา หมายถึง เวทนาเกิดจากสัมผัสทางจมูก
    4. ชิวหาสัมผัสชา เวทนา หมายถึง เวทนาเกิดจากสัมผัสทางลิ้น
    5. กายสัมผัสชา เวทนา หมายถึง เวทนาเกิดจากสัมผัสทางกาย
    6. มโนสัมผัสชา เวทนา หมายถึง เวทนาเกิดจากสัมผัสทางใจ
    เวทนาเจตสิก

    ในคัมภีร์พระอภิธรรม มีการกล่าวถึงเวทนา ในลักษณะที่เป็นเจตสิก(คือ ธรรมชาติที่อาศัยจิตเกิด) เรียกว่า เวทนาเจตสิก เป็นธรรมชาติที่เสวยอารมณ์ จำแนกเป็น เวทนา๓ และ เวทนา๕ (ดังบรรยายไปแล้วข้างต้น)
    เวทนาตามหลักปฏิจจสมุปบาท

    • เพราะผัสสะเป็นปัจจัย จึงมีเวทนา เพราะเวทนาเป็นปัจจัย จึงมีตัณหา...
    • เพราะผัสสะดับเวทนาจึงดับ เพราะเวทนาดับ ตัณหาจึงดับ...
    เพราะผัสสะเป็นปัจจัย ย่อมเกิดความเสวยอารมณ์ เป็นสุขบ้าง เป็นทุกข์บ้าง มิใช่ทุกข์มิใช่สุขบ้าง
    ผู้ที่รู้สึกสุขเวทนา ย่อมเพลิดเพลิน พูดถึง ดำรงอยู่ด้วยความติดใจ จึงมีราคานุสัยนอนเนื่องอยู่
    ผู้ที่รู้สึกทุกขเวทนา ย่อมเศร้าโศก ลำบาก ร่ำไห้ คร่ำครวญทุ่มอก หลง จึงมีปฏิฆานุสัยนอนเนื่องอยู่
    ผู้ที่รู้สึกอทุกขมสุขเวทนา ย่อมไม่ทราบชัดความตั้งขึ้น ความดับไป คุณ โทษ และที่สลัดออกแห่งเวทนานั้น ตามความเป็นจริง จึงมีอวิชชานุสัยนอนเนื่องอยู่
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 3 ธันวาคม 2009
  2. albertalos

    albertalos เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 เมษายน 2006
    โพสต์:
    2,462
    ค่าพลัง:
    +1,137
    รูป เวทนา ผัสสะ 3 อย่างนี้ มีสติละลึกรู้ รู้แล้วต้องวาง
     
  3. monrak

    monrak เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 กุมภาพันธ์ 2009
    โพสต์:
    172
    ค่าพลัง:
    +234
    ขอบคุณครับ ได้รับความรู้เพิ่มเยอะ
     
  4. ขันธ์

    ขันธ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 ตุลาคม 2006
    โพสต์:
    7,917
    ค่าพลัง:
    +9,181
    ขันธ์ นี่ มันก็เหมือน กาแฟ แก้่วหนึ่ง ที่มันประกอบไปด้วย น้ำตาล กาแฟ น้ำ ครีม นม ปนๆ กันไป แยกไม่ออก แยกได้ยาก ต้องอาศัยการกลั่นกรอง จึงจะแยกออกมาได้
    จิตใจ คนเราก็เหมือนกัน เมื่อมันระคนกันไป มันก็มองสภาพธาตุที่แท้จริงได้ยาก เหมารวมๆ กันไป เลยกลายเป็น เรื่องใหม่ สิ่งใหม่ขึ้นมา

    เมื่อเป็นสิ่งใหม่ เรื่องใหม่ขึ้นมา มันก็เลย แก้ไขปัญหาอะไรไม่ได้ เพราะหาต้นเหตุไม่เจอ
    ดับทุกข์ที่ใจไม่ได้ เพราะมันเห็นไปแต่ ภาพรวม องค์รวม

    ท่านจึงสอนให้พิจารณา แยกธาตุ แยกขันธ์ แล้วจะเห็นสภาพความจริงมากขึ้น ว่า
    น้ำตาลนี้เองที่ให้ความหวาน ผงกาแฟนี่เองที่ให้กลิ่นหอม ครีมนี่เองที่ให้ความมัน
    ใจก็เหมือนกัน พอแยกไปได้ มันก็เห็นว่า นี่ความจำ นี่ตัวปัีญญา นี่ตัวปรุงแต่ง นี่ตัวอารมณ์
    นี่ตัวนี้ตัวสังขารอันมาจากความโง่ นี่ตัวสังขารอันมาจากความฉลาด
    เรื่องนี้ รู้ถูก เรื่องนี้ รู้ผิด รู้จากความโง่ เรื่องนี้รู้จากปัญญา

    นี่มันจึงจะแยกได้ เห็นตามสภาพความจริงได้ จนถึง วิมุตติ

    นั่นแหละ ความสำคัญ ของการรู้ ขันธ์
     
  5. Waritham

    Waritham เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 กันยายน 2009
    โพสต์:
    110
    ค่าพลัง:
    +124
    ถามคุณ albertalos, คุณ ขันธ์ ครับ
    การเรียงลำดับขันธ์ 5 นั้น ใช้อะไรเป็นตัววัดครับ
    เช่น ลำดับการตอบสนอง, ลำดับการทำงาน
    หรือ ความหยาบ, ความละเอียดครับ

    ปล. ไม่ได้มีเจตนาด้านลบในการถามครับ
    อนุโมทนา
     
  6. ชาญยุทธ

    ชาญยุทธ สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    72
    ค่าพลัง:
    +22
    [​IMG]
    <TABLE width="100%" align=center border=0><TBODY><TR><TD width=255>
    </TD><TD width=721>
    ปฏิจจสมุปบาท ปรมัตถธรรมอันเป็นเหตุปัจจัยให้ตรัสรู้
    </TD><TD width=239>
    [​IMG]คลิกขวาเมนู
    </TD></TR></TBODY></TABLE>
    ปฏิจจสมุปบาท เป็นธรรมอันลึกซึ้ง ที่หลังจากแรกตรัสรู้ องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงน้อมที่จะไม่แสดงธรรมแก่เหล่าสรรพสัตว์ เพราะมีพุทธดําริในแรกเริ่มว่าจะไม่เผยแผ่ธรรมที่ท่านตรัสรู้ ก็เนื่องจากความลึกซึ้งของ "ปฏิจจสมุปบาท และ นิพพาน" ว่าเป็นที่รู้เข้าใจได้ยากแก่สรรพสัตว์ (พระไตรปิฎก เล่ม๑๒/ข้อ๓๒๑) เหตุที่กล่าวแสดงดังนี้ เพื่อให้ท่านได้พิจารณาธรรมนี้โดยละเอียดและแยบคายจริงๆ ไม่เกิดความประมาทว่าเป็นของง่ายๆ ดังปรากฎแก่พระอานนท์มหาเถระมาแล้ว [​IMG] จึงจักเกิดประโยชน์สูงสุดขึ้นได้ และควรกระทําการพิจารณา(ธรรมวิจยะ)โดยละเอียดและแยบคายด้วยความเพียรพยายามอย่างยิ่ง เพราะพระพุทธองค์ทรงตรัสไว้แล้วว่า"ยากและลึกซึ้ง" แต่เรามีแนวทางปฏิบัติของท่านแล้ว จึงเป็นสิ่งอันพึงปฏิบัติได้ แต่กระนั้นเราผู้เป็นปุถุชนจึงมิควรประมาทว่าเข้าใจแล้วโดยการอ่าน, การฟังแต่เพียงอย่างเดียวโดยเด็ดขาดเพราะเกินกำลังอำนาจของปุถุชน จักต้องทําการพิจารณาโดยละเอียดและแยบคายจริงๆ(โยนิโสมนสิการ)จึงจักบังเกิดผลอย่างแท้จริง
    ปฏิจจสมุปบาท ดำเนินเป็นไปตามหลักธรรม อิทัปปัจจยตา ที่มีพระพุทธพจน์ ตรัสสอนไว้ว่า
    <TABLE width=461 align=center border=0><TBODY><TR><TD width=207>เมื่อเหตุนี้มี ผลนี้จึงมี
    </TD><TD width=244>เพราะเหตุนี้เกิดขึ้น ผลนี้จึงเกิดขึ้น
    </TD></TR><TR><TD width=207>เมื่อเหตุนี้ไม่มี ผลนี้จึงไม่มี
    </TD><TD width=244>เพราะเหตุนี้ดับ ผลนี้จึงดับ
    </TD></TR></TBODY></TABLE>
    อันแลดูเป็นธรรมดา แต่กลับแสดงถึงสภาวธรรมหรือสภาวธรรมชาติอันยิ่งใหญ่ตามความเป็นจริงถึงขั้นสูงสุด(ปรมัตถ์) ถึงการที่มีเหตุต่างๆมาเป็นปัจจัยอันเนื่องสัมพันธ์กัน จึงเป็นผลให้เกิดอีกสิ่งหนึ่งขึ้น อันเป็นหัวใจสําคัญในพุทธศาสนาที่ยึดในหลักธรรมที่ว่า" สิ่งทั้งหลายทั้งปวงล้วนเกิดแต่เหตุปัจจัย " หรือ " ธรรม(สิ่งหรือผล)ใด ล้วนเกิดแต่เหตุ " อันเป็นเฉกเช่นเดียวกับหลักการวิทยาศาสตร์ในปัจจุบันนั่นเอง แตกต่างกันแต่ว่าหลักวิทยาศาสตร์นั้นส่วนใหญ่ครอบคลุมแต่เพียงด้านวัตถุธรรมหรือรูปธรรมเพียงด้านเดียว แต่ธรรมของพระพุทธองค์นั้นครอบคลุมถึงขั้นปรมัตถ์คือตามความเป็นจริงขั้นสูงสุด จึงครอบคลุมโดยบริบูรณ์ ทั้งฝ่ายรูปธรรม(วัตถุ)และนามธรรม(จิต,นาม), ปฏิจจสมุปบาทก็เนื่องมาจากหลักธรรมอิทัปปัจจยตาหรือกฎธรรมชาตินี้ แต่เป็นหลักธรรมที่เน้นเฉพาะเจาะจงถึงเหตุปัจจัยให้เกิดผล อันคือความทุกข์(ฝ่ายสมุทยวาร) และการดับไปแห่งทุกข์(ฝ่ายนิโรธวาร) โดยตรงๆ แต่เพียงเรื่องเดียวเป็นสำคัญ
    ช่างยนต์ ต้องรู้เรื่องเครื่องยนต์อย่างดี จึงจักซ่อมบํารุงได้ดี ฉันใด
    ผู้ที่ต้องการดับทุกข์ จึงต้องกำหนดรู้เรื่องทุกข์ และการดับทุกข์อย่างดี จึงจักดับทุกข์ได้ดี ฉันนั้น
    พระองค์ท่านได้ตรัสไว้ว่า ท่านสอนแต่เรื่องทุกข์และการดับทุกข์ ที่สอนให้รู้เรื่องทุกข์ต่างๆ มิใช่เพื่อให้เป็นทุกข์ แต่เพื่อนำความรู้ความเข้าใจในเรื่องทุกข์ ไปใช้ในการดับทุกข์ อันเป็นสุขอย่างยิ่ง
    ปฏิจจสมุปบาท เป็นธรรมในรูปกฎแห่งธรรมชาติขั้นสูงสุด คือเป็นสภาวธรรมจริงแท้แน่นอนอย่างที่สุดหรือมันต้องเป็นเช่นนั้นเองจึงอกาลิโกยิ่งนัก อันกล่าวถึง กระบวนจิตของการเกิดขึ้นของทุกข์และการดับไปของทุกข์ ที่แสดงถึง การอาศัยกันของเหตุต่างๆ มาเป็นปัจจัยกัน แล้วก่อให้เกิดเป็นความทุกข์ขึ้น, หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งได้ว่า
    ธรรมที่แสดงถึงเหตุปัจจัยชนิดต่างๆ ที่ทําให้เกิดเหตุปัจจัยต่อเนื่องสืบต่อกัน อันเป็นผลให้เกิดทุกข์ในที่สุด, หรือกล่าวอย่างละเอียดได้ว่า
    ธรรมที่แสดงถึงการที่ทุกข์เกิดขึ้นได้นั้น เพราะอาศัยเหตุปัจจัยอันเกิดต่อสืบเนื่องกันมาเป็นลําดับ...ซึ่งมีองค์ประกอบ ๑๒ ส่วนหรือองค์ธรรม เกี่ยวเนื่องเป็นปัจจัยแก่กันและกัน หมุนเวียนไปเป็นวงจรเกี่ยวเนื่องกันไปเป็นลําดับ แต่หาต้นหาปลายไม่ได้เพราะเป็นภวจักรหรือวงจร ซึ่งเกิดจากเหตุปัจจัยอันหนึ่งเป็นปัจจัยของอีกอันหนึ่ง และปัจจัยอีกอันหนึ่งนี้ก็เป็นปัจจัยของอีกอันอื่นๆสืบต่อไปไม่มีที่สิ้นสุด......จึงก่อเกิดเป็นสังสารวัฏการเวียนว่ายตายเกิดในภพ....ในชาติ, และมีการเกิดภพ เกิดชาติ ตั้งแต่ในปัจจุบันชาตินี้เอง กล่าวคือเกิด ภพ ชาติ ตั้งแต่ ณ ขณะที่ยังมีชีวิตอยู่ในปัจจุบันนี้นั่นเอง! และสามารถเกิด ภพ เกิด ชาติ อันเป็นทุกข์ได้ในทุกขณะจิต!
    เพราะความลึกซึ้งและแยบคายของปฏิจจสมุปบาทอันเป็นปรมัตถธรรมคือเป็นธรรมหรือสิ่งที่เป็นจริงขั้นสูงสุด จึงมีความหมายครอบคลุมไปถึงเรื่องข้ามภพ ข้ามชาติ หรือการเกิดภพชาติ ตลอดจนแม้กระทั่งกําเนิดของโลก อันเป็นโลกิยะ อันยังประโยชน์ต่อขันธ์หรือชีวิตของปุถุชน, แต่พระพุทธประสงค์โดยลึกซึ้งสูงสุดแล้ว เป็นการแสดงแบบโลกุตระ (ดังกล่าวแสดงโลกิยะและโลกุตระไว้ในมหาจัตตารีสกสูตร) ที่แสดงการเกิดขึ้นของภพ ชาติ แล้วดับภพ ดับชาติ เหล่านั้น เสีย ตั้งแต่ในปัจจุบันชาตินี้ ก่อนตายหรือแตกดับ หรือดับความทุกข์ที่เกิดจากภพจากชาติเหล่านี้ ที่เกิดดับ..เกิดดับ อยู่เป็นระยะๆทุกขณะจิตโดยไม่รู้และไม่เข้าใจด้วยอวิชชา เป็นการ เกิดดับ เกิดดับๆๆ..ที่เกิดขึ้นอยู่ตลอดเวลาทุกขณะ ทั้งๆที่ยังดำรงขันธ์หรือชีวิตอยู่ เยี่ยงนี้จึงเป็นเรื่องที่ถูกพระพุทธประสงค์อย่างถูกต้องและแท้จริงเป็นสูงสุด เป็นโลกุตระ และเมื่อมีความเข้าใจอย่างถูกต้องแท้จริง(สัมมาญาณ) ย่อมทําให้ดําเนินไปในธรรมได้อย่างถูกต้องและรวดเร็ว (อ่านรายละเอียดได้ใน การตีความปฏิจจสมุปบาท)
    ดังพุทธพจน์ ที่ตรัสไว้ว่า

    เราตถาคต จึงบัญญัติความเพิกถอน ชาติ ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาส ในปัจจุบัน
    (จูฬมาลุงโยวาทสูตร)
    เห็นทุกข์อะไร? จึงเริ่มเห็นธรรม อย่างแท้จริง
    หลายท่านเข้าใจว่าการปฏิบัตินั้น "ต้องเห็นทุกข์ จึงจะเห็นธรรม" อย่างผิดความหมาย อย่างเป็นอวิชชา(ความไม่รู้ตามความเป็นจริง) คือเข้าใจไปว่า ต้องเป็นทุกข์ จึงเห็นธรรม คือต้องเกิดทุกข์ขึ้นเสียก่อน แล้วจึงจะเหมาะแก่การเริ่มปฏิบัติ จึงจะสามารถเห็นหรือเข้าใจในธรรมต่างๆได้ดี หลายๆท่านจึงทอดทิ้งการปฏิบัติโดยกล่าวอ้างว่าไม่มีทุกข์ ทั้งๆที่มีทุกข์ หรือกําลังก่อความทุกข์อยู่ในทุกๆขณะจิตโดยไม่รู้ตัว, แต่แท้ที่จริงนั้นคําว่า เห็นทุกข์ หรือเห็นทุกขอริยสัจนั้นหมายถึง ทุกข์ให้ " รู้ " ที่มีความหมายครอบคลุมว่า มีสติรู้เท่าทันความทุกข์ที่เกิดขึ้น๑. และรู้เข้าใจหรือเห็นในสภาวธรรม(ธรรมชาติ)ของทุกข์อย่างถูกต้องตามความเป็นจริงแห่งธรรม(ธรรมชาติ)กล่าวคือ รู้ซึ้งถึงเหตุที่มาเป็นปัจจัยกันให้เกิดทุกข์ขึ้น๑. จึงมิได้มีความหมายถึงการที่ต้องประสบกับความทุกข์เสียก่อนแล้วจึงควรแก่การศึกษาปฏิบัติ ดังนั้นการประสบกับความทุกข์เป็นเพียงเครื่องกระตุ้นเร่งเร้าให้หาหนทางในการดับทุกข์นั้นๆ ส่วนการดับทุกข์ได้นั้นต้องเห็นทุกข์อย่างแจ่มแจ้งดังกล่าวข้างต้น, ดังนั้นก่อนอื่นจึงต้องกำหนดรู้ในทุกข์ เพื่อประโยชน์ในการใช้ไปในการดับทุกข์ ซึ่งเมื่อดับทุกข์แล้วผลที่เกิดขึ้นก็คือความสุข ที่สะอาด สงบ บริสุทธิ์ อันเป็นกิจอันพึงกระทำใน อริยสัจ ๔ (กิจจญาณ) ดังนั้นพึงทำความเข้าใจความหมายของคําว่า ทุกข์ ขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าอย่างถูกต้องเสียก่อน มิฉนั้นจะไม่เข้าใจในสภาวธรรม(ธรรมชาติ)ของทุกข์ และไม่รู้เป้าหมาย(ทุกข์)ที่จะกําจัดอย่างแท้จริง อันคือ "ทุกข์อะไร?" ที่จะดับสนิทไม่ให้เหลือได้มดังพระพุทธประสงค์ และเพื่อให้เกิดความเข้าใจว่าทุกข์อะไรที่เป็นทุกข์ประจําขันธ์หรือชีวิต อันเป็นสภาวธรรม(ธรรมชาติ)ที่ยังคงต้องเกิด ต้องมี ต้องเป็น? และต้องปฏิบัติเยี่ยงไรจึงไม่เป็นทุกข์ เพราะถ้าไม่รู้ไม่เข้าใจ(อวิชชา)ถึงจุดมุ่งหมายในการปฏิบัติอย่างถ่องแท้ถูกต้อง จักทําให้การปฏิบัตินั้นวนเวียนไม่ก้าวหน้าเพราะมัวแต่ปฏิบัติในสิ่งที่ยึด,ในสิ่งที่ตนเองเข้าใจผิด, หรือเป็นเพราะการยึดถือตามๆกันมาตามประเพณีที่สืบทอดต่อๆกันมาโดยไม่ถูกต้องหรือเข้าใจผิด อันทําให้ปฏิบัติไปตามความเชื่อ ความเข้าใจที่ผิด จึงเป็นไปในสภาพที่พยายามปฏิบัติให้เหนือกว่าสภาวธรรม(ธรรมชาติ)อันยิ่งใหญ่โดยไม่รู้ตัว อันอุปมาได้ดั่งการวิ่งไล่จับเงาที่ย่อมไม่มีวันประสบผลสําเร็จ ดังเช่น ความไม่เข้าใจว่าทุกขอริยสัจ อันเป็นทุกข์ประจำขันธ์หรือชีวิตของทุกคน และเวทนา(ความรู้สึกรับรู้ในสิ่งที่ผัสสะ จึงครอบคลุมถึงทุกขเวทนาที่ไม่ถูกใจ) อันเป็นทุกข์โดยธรรมคือธรรมชาตินั้นยังคงมีอยู่ เมื่อไม่รู้ จึงเกิดการพยายามปฏิบัติไปในลักษณะดับทุกขอริยสัจหรือทุกขเวทนา อันเป็นความเข้าใจผิดอย่างแรงกล้า เพราะทุกข์ที่จะต้องดับไปนั้น หมายถึงทุกข์อุปาทานคือความทุกข์ที่ประกอบด้วยตัณหาอุปาทานเท่านั้น ดังนั้นตามความเป็นจริงแห่งธรรมแล้วเราต้องดับทุกข์อุปาทาน ที่เร่าร้อนเผาลนด้วยเวทนูปาทานขันธ์(เวทนาที่ประกอบหรือถูกยึดครองด้วยอุปาทาน) ที่เกิดขึ้นเป็นไปตามวงจรปฏิจจสมุปบาทนั่นเอง แต่เพราะอวิชชาจึงแยกแยะสภาวธรรม(ธรรมชาติ)ของทุกขอริยสัจและเวทนาอย่างแท้จริงไม่ได้ จึงพยายามไปดับทุกขอริยสัจหรือเวทนาโดยไม่รู้ตัว อันย่อมยังให้เกิดการปฏิบัติแบบนอกลู่ผิดทาง และก่อให้เกิดวิปัสสนูปกิเลสอีกด้วย ทำให้ไม่สามารถก้าวหน้าในการปฏิบัติสมดั่งวัตถุประสงค์เพื่อความดับสนิทแห่งทุกข์หรือพ้นทุกข์ อันเป็นสุขอย่างยิ่ง, หรือจางคลายจากทุกข์ได้ตามควรแห่งฐานะตน
    ใน "ธัมมจักกัปปวัตนสูตร" ซึ่งเป็นปฐมเทศนา คือการแสดงธรรมเป็นครั้งแรกขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าแก่เหล่าพระปัญจวัคคีย์ทั้ง ๕, ตลอดจนหลักธรรม อริยสัจ ๔, สติปัฏฐาน ๔, หรือในบทสวดมนต์ทําวัตรเช้าบท"สังเวคปริกิตตนปาฐะ" และแก่นธรรมทั้งหลาย พระพุทธองค์ท่านทรงตรัสอธิบายเรื่องทุกข์ไว้ดังนี้
    ภิกษุทั้งหลาย นี้แล คือความจริงอันประเสริฐเรื่องความทุกข์ คือความเกิดก็เป็นทุกข์, ความแก่ก็เป็นทุกข์, ความเจ็บไข้ก็เป็นทุกข์, ความตายก็เป็นทุกข์, ความประจวบกับสิ่งที่ไม่รักก็เป็นทุกข์, ความพรากจากสิ่งที่รักก็เป็นทุกข์, ความปรารถนาสิ่งใดแล้วไม่ได้สิ่งนั้นก็เป็นทุกข์ กล่าวโดยย่อ ขันธ์ ๕ ที่ประกอบด้วยอุปาทานเป็นทุกข์
    (บาลี มหาวาร, สํ๑๙/๕๒๘/๑๖๖๔, ตรัสแก่ภิกษุทั้ง ๕ ที่ป่าอิสิปตมฤคทายวัน)
    ถ้าเราใช้การ "โยนิโสมนสิการ" คือการพิจารณาโดยละเอียดและแยบคายตามความเป็นจริงในธรรม(สิ่ง)นั้น ไม่ใช้แต่เพียงความคิดเห็นหรือความเชื่อของตนเองอันคือทิฏฐอันมักมีอคติหรืออธิโมกข์ใดๆมานําให้เห็นผิดไปจากความเป็นจริง, แล้วจักเห็นได้ว่า ทุกข์ ที่พระองค์ทรงกล่าวไว้ทั้ง ๗ ข้างต้น อันมี ๑.ความเกิด ๒.ความแก่ ๓.ความเจ็บ ๔.ความตาย ๕.การประสบกับสิ่งอันไม่เป็นที่รัก ๖.การพลัดพรากจากสิ่งอันเป็นที่รัก ๗.ความปรารถนาในสิ่งอันใดแล้วไม่ได้ในสิ่งอันนั้น ทั้ง๗ ประการนี้ เป็นเหตุที่ทำให้เกิดความทุกข์ขึ้น หรือเหตุแห่งทุกข์นั่นเอง อันครอบคลุมความทุกข์ทุกรูปแบบทุกประการประดามีในโลกนี้อย่างครบถ้วนบริบูรณ์ และเป็นไปอย่างปรมัตถ์คือตามความเป็นจริงขั้นสูงสุด จึงครอบคลุมสรรพทุกข์ของบรรดาสรรพสัตว์ล้วนสิ้น ตั้งแต่อดีตกาล จวบจนปัจจุบันและต่อไปในอนาคตและจักยังครอบคลุมทุกกาลสมัยหรืออนันตกาลตลอดไป ถ้าเราใส่ใจสังเกตุโดยแยบคายจักพบคําว่า โดยย่อแล้ว ขันธ์ ๕ ที่ประกอบด้วยอุปาทานเป็นทุกข์ อันเป็นแก่นสาระ ที่มีความหมายที่สําคัญยิ่งว่า เหตุแห่งความทุกข์ทุกประการประดามีที่กล่าวมาแล้วทั้ง ๗ นี้ สามารถย่อหรือ "สรุป" ลงเหลือเพียงเป็น "หนึ่งเดียว" เท่านั้น กล่าวคือ ทุกข์ทั้ง ๗ นี้ อันเป็นเหตุให้เกิดความทุกข์ชนิดที่พระพุทธองค์ทรงเพียรสั่งสอนเวไนยสัตว์ให้ดับสนิทลงไป คือ อุปาทานขันธ์ ๕ อันเป็นทุกข์ หรือ "อุปาทานทุกข์" หรือก็คือ "กระบวนการดำเนินชีวิตโดยอาศัยขันธ์ทั้ง ๕ ที่เกิดในสภาวะที่มีอุปาทานร่วมหรือครอบงําด้วย" อันเป็นความทุกข์ที่บังเกิดแก่ใจหรือจิต นี้แหละคือความทุกข์แท้ๆ ที่สัตว์โลกทั้งหลายมองไม่เห็นด้วยตาหรือใจธรรมดา ซึ่งตามปกติมักเติมเต็มไปด้วยกิเลส,ตัณหาและอุปาทาน จึงปิดบังดวงตาไม่ให้เห็นสัจจธรรมนี้ จึงต้องอาศัยธรรมคําสั่งสอนของพระองค์ท่านเป็นแนวทาง เพื่อให้เกิดดวงตาเห็นธรรมที่หมายถึงตาแห่งปัญญาหรือความเข้าใจที่ถูกต้องแท้จริง(สัมมาญาณ) จึงจักสามารถมองเห็นได้อย่างแทงตลอด ถูกต้อง และแท้จริง
    ก่อนอื่นต้องโยนิโสมนสิการ ให้เกิดความเข้าใจจนน้อมย้อมรับตามความเป็นจริงว่า การดับทุกข์นั้น ไม่ใช่การดับทุกข์อริยสัจ อันมี เกิด, แก่, เจ็บ, ตาย, การประสบกับสิ่งอันไม่เป็นที่รัก, การพลัดพรากจากสิ่งที่รัก, หรือความปรารถนาสิ่งใดไม่ได้สิ่งนั้น. ซึ่งล้วนเป็นเหตุปัจจัยอันเป็นสภาวธรรมหรือกฎธรรมชาติแท้ๆ คือ เป็นสภาวะที่จริง แท้ แน่นอน, สิ่งเหล่านี้เมื่อสัตว์,บุคคลใดเกิดขึ้นมาในโลกนี้แล้วย่อมต้องประสบพบพาน ไม่มีผู้ใดหลีกเลี่ยงจากสภาวธรรม(ธรรมชาติ)นี้ หรือกฎพระไตรลักษณ์ได้ แม้แต่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า และเหล่าพระอริยเจ้าทุกพระองค์, แต่พระพุทธองค์ทรงค้นพบสัจจธรรมขั้นปรมัตถ์อันสูงสุดว่า ทุกข์เหล่านั้นเป็นทุกข์ตามธรรมชาติ หรือทุกข์ประจําขันธ์หรือชีวิตอันยังต้องเกิด ต้องมี ต้องเป็น หรือมันเป็นเช่นนั้นเอง เป็นไปตามกระแสสภาวธรรมหรือธรรมชาติ แต่เพราะความไม่รู้ด้วยอวิชชา จึงไม่รู้จะกระทําหรือปฏิบัติเยี่ยงไรต่อทุกข์เหล่านั้นอันเป็นสภาวะธรรมชาติที่ต้องเกิดขึ้นและเป็นไปเป็นธรรมดา ที่ตามธรรมชาติเดิมแท้ ของมันนั้น ไม่เป็นทุกข์อันเร่าร้อนเผาลน และยาวนาน ต้องปฏิบัติเยี่ยงไรไม่ให้แปรปรวนไปถูกครอบงำด้วยตัณหา อุปาทาน อันเป็นเหตุปัจจัยให้เกิดความทุกข์ หรือ อุปาทาน ทุกข์ ที่ปุถุชนรู้สึก เร่าร้อนเผาลนเกิดแก่ใจหรือจิตและเป็นไปอย่างยาวนาน เพราะแยกแยะไม่ออกเนื่องจากยังไม่มีวิชชา ของพระพุทธองค์ จึงยังคงถูกครอบงําด้วยอวิชชา อันคือความไม่รู้ตามความเป็นจริงในสภาวธรรม(ธรรมชาติ)ของทุกข์และการดับทุกข์ จึงปฏิบัติดับทุกข์ไม่ถูกที่เหตุ จึงทำให้การปฏิบัติเพื่อการดับทุกข์นั้นเป็นไปอย่างไม่ถูกต้อง กลับไปพยายามแสวงหาหรือปฏิบัติที่จะไม่ให้เกิดเหตุแห่งทุกข์ใดๆในสภาวธรรมที่ต้องคงเกิดมีเป็นเช่นนั้นเองดังทุกขอริยสัจและทุกขเวทนา กล่าวคือ ไม่อยากให้มีทุกข์ ไม่ให้มีโศก ไม่ให้มีโรค ไม่ให้มีภัย ไม่ให้มีเสนียดจัญไรใดๆมากระทบหรือเกิดขึ้น ซึ่งเป็นไปไม่ได้ และเป็นไปอย่างไม่รู้ตัวว่ายึดเยี่ยงนี้อยู่ โดยมัวแต่ยึดในบุญในกุศล เพื่อหวังผลบุญช่วยคํ้าจุนดังกล่าว จนขาดการปฏิบัติเพื่อดับภพ ดับชาติ อันเป็นเส้นทางตัดตรงถึงบุญถึงกุศลขั้นสูงสุด อย่างถูกต้องดีงาม.
    พระพุทธองค์ทรงตรัสว่า
    "เมื่อกล่าวสรุปให้สั้นอย่างที่สุดแล้ว เบญจขันธ์(ขันธ์ ๕)ที่มีอุปาทาน เป็นตัวทุกข์."
    สงฺขิตฺเตน ปญฺจุปาทานกฺขนฺธา ทุกฺขา
    คําสั่งสอนของพระพุทธองค์นั้น ล้วนเป็นคําสั่งสอนให้นําออกหรือดับอุปาทานทุกข์ หรือทุกข์ที่บังเกิดแก่ใจล้วนสิ้น และ "อุปาทานทุกข์" นี้แหละคือความทุกข์จริงๆที่มนุษย์ทั้งหลายกําลังเผชิญกันอยู่ทุกๆขณะจิต เพียงแต่ไม่รู้ไม่เข้าใจว่าเป็นอุปาทานทุกข์, เพราะความไม่รู้ไม่เข้าใจในสภาวธรรม(ธรรมชาติ)ของทุกข์ที่พระพุทธองค์ได้ทรงสั่งสอน เพราะอวิชชาจึงพยายามปฏิบัติหาทางดับเวทนาอันเป็นทุกข์ธรรมชาติ หรือทุกข์ประจําขันธ์หรือชีวิต(กระบวนธรรมของชีวิต) อันเป็นสภาวธรรมชาติแท้ๆไปด้วย โดยไม่รู้ตัว, ี่แม้แต่พระพุทธองค์ก็ทรงยอมรับและประสบกับสภาวธรรมชาติเหล่านี้เช่นกัน, เมื่อไม่เข้าใจจึงก่อกลายเป็นอุปาทานทุกข์อันเป็นทุกข์แท้ๆให้เกิดขึ้นจากความไม่รู้ไม่เข้าใจเพิ่มขึ้นอีก จึงเกิดการเวียนวนไม่ก้าวหน้าในการปฏิบัติจนเหนื่อยอ่อน เพราะแน่นอนที่ย่อมไม่สามารถปฏิบัติให้ชนะธรรมชาติอันยิ่งใหญ่ได้ตามความเชื่อ,ความเข้าใจผิดนั้นได้ จึงอุปมาดั่งวนเวียนไล่จับเงาตนเองอยู่ตลอดกาลสมัย ซึ่งย่อมไม่มีวันประสบความสําเร็จไม่ว่าจักนานไปถึงภพชาติใดๆก็ตาม
    อุปาทานคืออะไร? อะไรเป็นเหตุ มาเป็นปัจจัยที่ทําให้เกิด? เข้าใจจริงๆแล้วหรือ?
    ปฏิจจสมุปบาทสามารถอธิบายได้ว่าอุปาทานคืออะไร? อะไรเป็นปัจจัยให้เกิดขึ้น?
    เมื่อไม่คลุมเครือและเข้าใจอย่างชัดแจ้งว่า อันใดเป็นเหตุปัจจัยให้เกิดอุปาทานอันเป็นมวลเหตุแห่งทุกข์ทั้งมวลแล้ว ย่อมสามารถแก้ปัญหาคือดับทุกข์ที่เหตุได้อย่างถูกต้อง อันอุปมาดั่งดับไฟที่ต้นเพลิง อันย่อมต้องบังเกิดผล ดั่งที่พระพุทธองค์ทรงตรัสสอนไว้
    ธรรมใดเกิดแต่เหตุ เมื่อเหตุดับ ธรรมนั้นก็ดับ
    อันคือ สิ่งทั้งหลายทั้งปวงล้วนเกิดแต่เหตุ เมื่อเหตุดับ สิ่ง(ผล)นั้นก็ดับ
    จากปฏิจจสมุปบาทถ้าท่านพิจารณาโดยละเอียดและแยบคายแล้ว ท่านจะได้ประโยชน์อันสูงลํ้าค่า
    สมดังพระพุทธพจน์ที่ตรัสไว้ว่า
    ผู้ใดเห็นปฏิจจสมุปบาท ผู้นั้นชื่อว่าเห็นธรรม
    อนึ่งเราควรอ่านพิจารณาแยกแยะเวทนา(การเสวยอารมณ์หรือการเสวยความรู้สึก เป็นสุขเวทนา,ทุกขเวทนา,อทุกขมสุขหรือไม่ทุกข์ไม่สุข)อันคือทุกข์ธรรมชาติของชีวิตหรือขันธ์๕ อันเป็นกระแสสภาวะธรรมหรือสภาวะธรรมชาติแท้ๆ ให้ออกจากความทุกข์แท้ๆหรือ"อุปาทานทุกข์")อันเกิดแต่เหตุปัจจัยชนิดที่ไม่จําเป็นในการดํารงชีวิตมาปรุงแต่งจนเป็นทุกข์ให้ชัดเจน เพราะเป็นปัจจัยสําคัญให้เข้าใจในสภาวะธรรม อันจะมีกล่าวไปเป็นลําดับขั้น คําศัพท์บาลีอาจมีค่อนข้างมากเพื่อเทิดพระเกียรติ์แด่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าผู้ตรัสรู้ธรรมอันชอบด้วยพระองค์เอง และเพื่อการสืบทอดพระศาสนา เพื่อให้คงความหมายเดิมของพระพุทธองค์ไว้ แต่จะมีวงเล็บอธิบายไว้เป็นส่วนใหญ่ และบางคําท่านสามารถคลิกดูความหมายได้ทันที, หรือค้นหาคำศัพท์ โดยคลิกที่เม้าส์ขวาของทุกหน้า, ตลอดจนSearch Engine สำหรับการค้นหาข้อมูลภายในเว็บปฏิจจสมุปบาท, และเป็นความตั้งใจของผู้เขียนที่ต้องการให้อ่านอย่างพิจารณาช้าๆแต่โดยละเอียด เพื่อที่จะได้พิจารณาโดยแยบคาย(อย่างชาญฉลาด) และสามารถที่จะศึกษาต่อจากแหล่งข้อมูลอื่นๆได้อันล้วนแต่อ้างอิงหรือแปลมาแต่พระบาลีกันทั้งสิ้น, ขณะอ่านขอให้อ่านอย่างพิจารณาและพยายามลดละความมานะ (ความถือตัว,ถือตน ว่าดี ดีกว่า เก่งกว่า ด้อยกว่า) และทิฏฐุปาทานลงเสียให้ได้สักชั่วขณะระยะหนึ่ง อันเป็นอุปาทาน ชนิดยึดมั่นถือมั่นในทฤษฎี ในความเชื่อ ในความคิดของตัวเอง อันมีเป็นปกติธรรมของปุถุชนเพียงแต่ไม่รู้ตัว และเป็นสิ่งที่เรากําลังจะศึกษาและปฏิบัติเพื่อนําออกและละเสียให้ได้ จึงจะดับทุกข์ได้ โดยเฉพาะความคิดที่ว่า "รู้แล้ว เข้าใจแล้ว" เพื่อท่านจักได้ประโยชน์อันสูงสุดในการดับทุกข์สมดั่งพระพุทธประสงค์ขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
    เมล็ดพืชอันเป็นสภาวะธรรมชาติถึงแม้มีอยู่ แต่จักงอกเป็นต้นไม่ได้ถ้าขาดปัจจัยคือดินและนํ้า คือ เมื่อไม่มีดินและนํ้าอันเป็นปัจจัยสําคัญให้เมล็ดพืชงอก, เมล็ดพืชนั้นย่อมไม่สามารถงอกเป็นต้นได้ฉันใด, เหตุแห่งทุกข์(อันคือบรรดาความเกิด, แก่, เจ็บ, ตาย, การประสบกับสิ่งอันไม่เป็นที่รัก, การพลัดพรากจากสิ่งอันเป็นที่รัก, ความปรารถนาสิ่งอันใดไม่ได้ในสิ่งนั้น ทั้ง๗ประการ)ถึงแม้มีอยู่ดุจดั่งเมล็ดพืชอันเป็นไปตามสภาวะธรรม(ธรรมชาติ) แต่เมื่อไม่มีปัจจัยต่างๆอื่นอีก ก็ย่อมไม่สามารถงอกงามหรือเติบโตไปเป็นความทุกข์ได้ฉันนั้น.
    สรรพทุกข์ทุกอย่างในโลกนี้ล้วนคือ"ทุกข์อุปาทานหรืออุปาทานขันธ์๕ อันเป็นทุกข" ท่านไม่อยากทราบอุปาทาน "เกิด" ขึ้นและ "ตั้งอยู่" อย่างไร ? และจะ"ดับ"ได้อย่างไร ? ทําไมถึงครอบงําทุกสรรพสัตว์ไว้ได้ทุกกาลสมัย ? ให้เวียนว่ายตายเกิดในภพในชาติ และยังจะเป็นเช่นนี้จวบจนโลกนี้แตกสลายไปในที่สุด อันพึงยกเว้นแต่เหล่าพระอริยเจ้า
    ข้อพึงสังวรณ์ การอ่านแล้วมีความเข้าใจอย่างถูกต้องโดยประมาณ จักมีประโยชน์จนเราสัมผัสและรู้สึกได้ด้วยตนเอง(ปัจจัตตัง)ในระดับหนึ่งจนแปลกใจ แต่จะยังไม่ใช่คุณประโยชน์อันอนันต์ของปฏิจจสมุปบาท ท่านจักต้องพึงกระทําโยนิโสมนสิการในธรรมนี้ต่อไปคือพิจารณาในธรรมนี้โดยละเอียดและแยบคายด้วยความเพียรเพราะเป็นกระบวนธรรมของจิตอันสลับซับซ้อนละเอียดอ่อน การอ่านแล้วเข้าใจยังไม่ใช่การพิจารณาธรรม(ธรรมวิจยะ)หรือวิปัสสนา, ควรพยายามพิจารณาแก้ข้อสงสัยต่างๆ เมื่อพบแล้วพึงพิจารณาให้เข้าใจถึงใจ จนวิจิกิจฉาคือความสงสัยใดๆในธรรมนี้หมดสิ้นไป เพราะความเข้าใจ ไม่ใช่เพราะการจําได้จากการอ่าน,การฟังหรือการคล้อยตามข้อธรรม จึงจักยังให้เกิดประโยชน์อย่างสูงสุด และนํามาเป็นแนวทางปฏิบัติ อันจักทําให้หมดความสงสัยที่แอบซ่อนอยู่ลึกๆในหลักธรรมพระพุทธศาสนา แล้วเราจักพบกับคุณอนันต์ของ
    [​IMG]
    กระบวนธรรมของการเกิดขึ้นและดับไปแห่งทุกข์
    องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสอยู่เนืองๆว่าท่านทรงสอนแต่เรื่องให้รู้จักทุกข์ ที่หมายถึงรู้เข้าใจและรู้เท่าทัน ก็เพื่อนำไปใช้ประโยชน์ในการดับทุกข์เท่านั้น ดังนั้นคําสอนทั้งหลายของพระองค์จึงมุ่งหมายเป็นที่สุดอยู่ที่การดับทุกข์ อันเป็นสุข สงบ บริสุทธิ์เป็นอย่างยิ่งทั้งสิ้น แต่แตกต่างกันขึ้นอยู่กับเป้าหมาย บุคคล สถานะการณ์ และกิเลสตัณหาอันมากมายหลากหลาย คําสอนจึงมีตั้งแต่ขั้นทาน ศีล สติ สมาธิ ปัญญา เป็นลําดับขึ้นไป อันขึ้นอยู่กับเพศคือฆราวาสหรือบรรพชิตและภูมิปัญญาและจริตของแต่ละบุคคล คําสอนของท่านจึงมีมาก และยังแตกแขนงและได้ขยายความออกไปตามกาลสมัยถึง ๘๔,๐๐๐ พระธรรมขันธ์และเกิดเป็นนิกายต่างๆ แต่แก่นของธรรมแท้ๆยังคงแฝงอยู่ อันล้วนมุ่งสู่จุดหมายเดียวกันทั้งสิ้นคือ"ดับทุกข์" อันคือ"ดับอุปาทานทุกข" หรือ "ดับทุกข์ที่บังเกิดแก่จิต" อันยังให้เกิดการเวียนว่ายตายเกิดในสังสารวัฏนั่นเอง ดังพระพุทธพจน์ที่ตรัสไว้ว่า
    ผู้ไม่มอุปาทานย่อมบรรลุพระนิพพาน
    (เวสาลีสูตร ๑๘/๑๒๓)
    อันล้วนปรากฎอยู่ในหลักธรรม "ปฏิจจสมุทปบาท" นี้ทั้งสิ้น, แม้ในขณะที่ทรงพระชนม์ชีพอยู่ พระองค์ท่านก็ได้ตรัสสั่งสอนปฏิจจสมุปบาทอยู่เนืองๆ แต่เนื่องจากความยากและลึกซึ้ง จึงได้แยกออกเป็นส่วนๆ หรือกล่าวในแนวทางอื่นๆเช่นกล่าวแบบอนุโลมคือการเกิดขึ้นของทุกข์บ้าง, แบบปฏิโลมการดับไปของทุกข์บ้าง, หรือการกล่าวจากท้ายวงจรของปฏิจจสมุปบาทย้อนไปต้นวงจรบ้าง(ปฏิโลมเทศนา), หรือองค์ธรรมย่อยๆแต่ละองค์ธรรมบ้าง ฯลฯ. ก็เพื่อสั่งสอนสรรพสัตว์ตามความเหมาะสมและสถานะการณ์นั้นๆ หรือตามจริตหรือกิเลสอันมีมากมายและหลากหลายของผู้ที่ท่านสั่งสอนเท่านั้น
    นักปฏิบัติสามารถใช้แก่นธรรมนี้เป็นหลักปฏิบัติ(มรรค-ทางปฏิบัติให้พ้นทุกข์ โดยใช้ความเข้าใจในปฏิจจสมุปบาท)จนดับทุกข์ที่เกิดที่เป็นให้ดับลงไป หรือให้จางคลายจากทุกข์เพื่อให้อยู่ในโลกนี้ได้อย่างเป็นสุขตามควรแห่งฐานะของตน หรือเพื่อนิโรธอันเป็นการสิ้นภพ สิ้นชาติ ตั้งแต่ยังมีชีวิตอยู่ในปัจจุบันชาติ อันเป็นการสิ้นทุกข์อุปาทานหรือความทุกข์ทั้งปวงตลอดกาล, เมื่อสิ้นทุกข์ทั้งปวง นั่นแหละคือสิ่งที่สุขที่สุด ที่เราปุถุชนแสวงหากันจากภายนอกโดยไม่เข้าใจ เพราะความจริงแล้ว สุขนั้นก็ไม่มี มีแต่ทุกข์และดับทุกข์เท่านั้น
    ปฏิจจสมุปบาท แม้เป็นธรรมอันลึกซึ้ง ยากแก่การเข้าใจ สมดั่งพระพุทธพจน์ที่ตรัสไว้ แต่พระพุทธองค์ท่านได้ทรงชี้แนวทางไว้แล้ว จึงไม่เกินความเพียรที่แน่วแน่อย่างแน่นอน แต่ต้องใช้ปัญญา ปัญญานี้ไม่ใช่ปัญญาในทางโลกๆที่เราท่านทั้งหลายเคยชิน ยึดมั่น เคยปฏิบัติกันในชีวิต แต่เป็นปัญญาที่หมายถึงความรู้ความเข้าใจอย่างถูกต้องในสภาวะธรรม(ธรรมชาติ)เรื่องทุกข์และการดับทุกข์, อันเน้นที่ความเข้าใจในสภาวะธรรม(ธรรมชาติ)แท้ๆในการเกิดขึ้นของทุกข์และการดับลงของทุกข์ที่ใจหรือจิตเป็นสําคัญ อันในที่สุดย่อมยังผลให้จิตและกายเป็นสุขอย่างแท้จริงสูงสุดตามสภาวะธรรม(ธรรมชาติ)
    แนวทางปฏิบัติในโฮมเพจปฏิจจสมุปบาทนี้จึงมีจุดมุ่งหมายเพื่อให้มีความเข้าใจที่ถูกต้องสูงสุดตามหลักพุทธศาสนาที่แม้จะยากต่อการทําความเข้าใจแต่ก็ให้ผลตอบแทนอย่างสูงสุด ให้สมดังพระพุทธประสงค์ เพื่อความจางคลายจากทุกข์ตามฐานะแห่งตน หรือเพื่อการดับสนิทไปแห่งทุกข์ อันเป็นจุดหมายสําคัญอันสูงสุดของพระพุทธศาสนาเท่านั้น ดังเช่น
    ๑. ชี้ให้เห็นอริยสัจ๔ โดยเฉพาะ การกำหนดรู้ ทุกข์, ทุกข์อะไร? ที่เราต้องหมายมั่นกําจัด และสามารถกําจัดหรือดับได้จริงๆ และถูกต้องตามพระพุทธประสงค์ และทุกข์อะไร? ที่ยังคงเกิดคงมีเป็นสภาวะแห่งธรรมชาติ และปฏิบัติเยี่ยงไรจึงไม่รู้สึกเป็นทุกข์หรือทุกข์นั้นมารบกวนไม่ได้
    ๒. ชี้ให้เห็นและเข้าใจจริงๆในสภาวธรรม(ธรรมชาติ)ต่างๆ ดังเช่น
    หลักธรรมอิทัปปัจจยตา อันเป็นธรรมแสดงกฎธรรมชาติอันยิ่งใหญ่ว่า ทุกสรรพสิ่งล้วนเกิดแต่เหตุ ดังนั้น เมื่อเหตุดับ ผลก็ย่อมต้องดับ เป็นไปเยี่ยงนี้ในทุกสรรพสิ่งทั้งในฝ่ายรูปธรรมและนามธรรม ที่ไม่รู้อย่างแจ่มแจ้งก็เพียงแต่เพราะว่า เรารู้เหตุแค่ไหนเท่านั้นเอง อุปมาพุทธญาณหรือความรู้นั้นดังใบไม้ในป่าใหญ่ ส่วนธรรมคำสอนของพระองค์ท่านดุจดั่งใบไม้ในกำมือ เพราะหลักธรรมคำสอนนี้เพื่อนำไปปฏิบัติพิจารณา เพื่อให้เห็นเหตุอย่างแจ่มแจ้ง เพื่อที่จะได้ปฏิบัติดับที่เหตุได้อย่างถูกต้องดีงาม และธรรมของพระองค์ท่านเป็นการเน้นโดยเฉพาะเพื่อการดับไปแห่งทุกข์อันคืออุปาทานทุกข์นั่นเอง ที่มีแนวคำสอนอันดีงามไว้เป็นแนวทางปฏิบัติ
    ขันธ์๕ กระบวนการแห่งชีวิตที่เราใช้ในการดําเนินชีวิตให้เป็นปกติสุข โดยเฉพาะเวทนา(ความรู้สึกที่เกิดขึ้นจากการกระทบสัมผัส)และจิตสังขาร(ความคิดความนึก,โทสะ,โมหะ,ราคะ ฯลฯ.)อันเป็นสังขารขันธ์ที่เป็นขันธ์หนึ่งของขันธ์๕ ซึ่งเป็นเหตุปัจจัยสําคัญที่ก่อให้เกิดความทุกข์ที่หมายถึงอุปาทานทุกข์, และอุปาทานอะไร? ทําไมจึงกล้าแกร่งนัก? จนสามารถครอบงําสรรพสัตว์ไว้ได้ตลอดมาและตลอดไป ทุกภพ ทุกชาติ
    ธรรม หรือ ธรรมะ ในพระพุทธศาสนานั้นก็คือ คําสั่งสอนของพระพุทธเจ้าในเรื่องสภาวธรรมหรือธรรมชาติในการเกิดขึ้นของทุกข์และการดับไปแห่งทุกข์นั่นเอง เพื่อให้เกิดปัญญาหรือญาณ อันจักนําพาให้พ้นทุกข์
    ความยากในการปฏิบัติในข้อนี้คือการพิจารณาจนใจน้อมยอมรับด้วยใจหรือความเข้าใจในเรื่องสภาวะธรรมหรือสภาวะธรรมชาติ อันเป็นจริงยิ่งใหญ่ ที่มันเป็นเช่นนั้นเอง จึงจะสามารถปฏิบัติได้ก้าวหน้า
    ๓. อธิบายกระบวนการเกิดขึ้นและดับไปของทุกข์อย่างละเอียดโดยพิสดารตามความเป็นจริง โดยใช้หลักปฏิจจสมุปบาทและขันธ์ ๕ มาร่วมอธิบายแจกแจงอย่างเป็นระบบโดยละเอียดที่ยังไม่มีผู้ใดบันทึกไว้นับแต่อดีต เพื่ออธิบายถึงกระบวนการทํางานของจิตในการเกิดขึ้นแห่งทุกข์โดยแยบคาย อันเมื่อเข้าใจแล้ว(ญาณ)จะเกิดคุณอนันต์ในการปฏิบัติให้ถึงจุดมุ่งหมาย
    ๔ ใช้ความเข้าใจในธรรมนั้นมาปฏิบัติโดยตนเอง เพื่อดับทุกข์จริงๆ อันเป็นสิ่งจําเป็นอย่างยิ่งยวดในการปฏิบัติ เป็นแนวทางมรรคปฏิบัติ เพื่อให้เกิดผล กล่าวคือ เพื่อยังให้เกิดมรรคองค์ที่๙อันคือ สัมมาญาณ(สัมมาปัญญา)ซึ่งจักยังผลให้เกิดมรรคองค์ที่๑๐ อันคือสัมมาวิมุตติ(สุขจากการหลุดพ้น)ขึ้นได้ (อ่านมรรคมีองค์๑๐ หรือ สัมมัตตะ ๑๐)
    นักปฏิบัติส่วนใหญ่มักจะรอให้เกิดความทุกข์ขึ้นเสียก่อน(แต่ไม่เห็นทุกข์อันหมายถึงไม่รู้ไม่เข้าใจในเรื่องทุกข์-ทุกข์อุปาทานจริงๆ)จึงคิดปฏิบัติ อันทําให้การปฏิบัติเป็นไปอย่างยากลําบากและไม่สามารถดับทุกข์ที่เกิดขึ้นได้ทันท่วงที เพราะไม่เข้าใจว่าเหตุแห่งทุกข์นั้นยังคงมีอยู่อันเป็นสภาวะธรรมชาติอันยิ่งใหญ่ อันไม่มีผู้ใดหลบหนีได้หมดสิ้น นักปฏิบัติที่มีความเพียรเสียตั้งแต่ไม่มีทุกข์จึงก้าวหน้าได้อย่างรวดเร็ว และได้ชื่อว่าเป็นผู้ที่ไม่ตั้งอยู่บนความประมาท
    การอ่านนั้นควรอ่านอย่างช้าๆ พร้อมพิจารณาอย่างละเอียดไปด้วย ควรเปรียบเทียบกระบวนจิตต่างๆที่อธิบายอย่างแยบคายไปด้วย ไม่ควรอ่านแล้วเชื่อโดยทันที ควรตั้งอยู่บนหลักกาลามสูตร ไม่ควรอ่านอย่างรวดเร็วเพียงเพื่อให้จบๆไป เพราะจะไม่เกิดประโยชน์ตามควร สมดั่งเป็นปรมัตถธรรมขั้นสูงสุด ที่แม้พระพุทธองค์ทรงตรัสว่ายากและลึกซึ้งอันมีเพียงสอง แต่ก็มีคุณอันยิ่งใหญ่สมดังพระพุทธพจน์ที่ตรัสไว้
    ผู้ใดเห็นปฏิจจสมุปบาท ผู้นั้นชื่อว่าเห็นธรรม
    (มหาหัตถิปโทปมสูตรที่ ๘)
    ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นชื่อว่าเห็นเราตถาคต
    (วักกลิสูตร๑๗/๑๒๙)
    ดังนั้น คงพอสรุปได้ว่า "ทุกข์อะไร? ที่ยังคงเกิด คงมี" และ "ทุกข์อะไร? ที่ดับสนิทได้ ตามพระพุทธประสงค์"
    "ทุกข์อะไร ที่ยังคงเกิด คงมี" คือ เหล่าทุกขอริยสัจ อันเป็นทุกข์ประจำชีวิตหรือขันธ์๕นั่นเอง อันมี ๑.ความเกิด ๒.ความแก่ ๓.ความเจ็บ ๔.ความตาย ๕.การประสบกับสิ่งอันไม่เป็นที่รัก ๖.การพลัดพรากจากสิ่งอันเป็นที่รัก ๗.ความปรารถนาในสิ่งอันใดแล้วไม่ได้ในสิ่งอันนั้น ทั้ง๗ นี้เป็นสภาวธรรมของชีวิต ที่ไม่อาจหลีกหนีได้ในที่สุด
    และทุกขเวทนา กล่าวคือ ทุกข์ที่เกิดขึ้นจากกระบวนธรรมของชีวิต ที่ย่อมเกิดความรู้สึก(Feeling)ในสิ่งที่รับรู้หรือกระทบ ที่พึงเกิดขึ้นจากการกระทบสัมผัส(ผัสสะ) อันพึงต้องเกิดขึ้นเป็นธรรมดา เป็นทุกข์ธรรมชาติอีกอย่างหนึ่งที่ยังคงพึงต้องเกิดขึ้นเป็นธรรมดาในผู้ที่มีชีวิตอยู่ เป็นสภาวธรรมหรือธรรมชาติหนึ่งของชีวิต และทุกขเวทนานี้ก็ล้วนย่อมเกิดขึ้นมาจากการกระทบกับเหล่าบรรดาทุกขอริยสัจข้างต้นนั่นเอง จึงยังให้เกิดทุกขเวทนาขึ้น จึงไม่อาจหลีกหนีได้เช่นกัน จึงต้องพิจารณาหรือเจริญวิปัสสนาให้เกิดนิพพิทาเพื่อไม่พึงไปยึดมั่นถือมั่นหรือยึดติดยึดถือในทุกข์ หรือแม้ติดเพลินในสุขอันไม่เที่ยง
    ทั้ง ๒ คือทุกขอริยสัจและทุกขเวทนา จึงกล่าวได้ว่าเป็น ทุกข์ธรรมชาติ เป็นทุกข์โดยสภาวธรรมหรือธรรมชาติของชีวิตนั่นเอง และยังคงต้องเกิดขึ้น และเป็นไปเยี่ยงนี้ในผู้มีชีวิตเป็นธรรมดา
    "ทุกข์อะไรที่ดับสนิทได้ตามพระพุทธประสงค์" อันคือ ทุกข์อุปาทาน หรือ อุปาทานทุกข์ อันเป็นทุกข์ที่เร่าร้อนเผาลนมวลมนุษย์ชาติอยู่ทุกผู้คน เพียงแต่จำแนกแยกแยะไม่ออกด้วยอวิชชา นี้เป็นสิ่งที่พระองค์ท่านเพียรสั่งสอนเวไนยสัตว์ให้ดับสนิทไม่เหลือ มาโดยตลอดตั้งแต่ตรัสรู้จวบจนเข้าสู่พระปรินิพพาน ด้วยพระมหากรุณาคุณที่ต้องการปลดปล่อยเวไนยสัตว์ให้ออกจากกองทุกข์คืออุปาทานทุกข์นั่นเอง
    [​IMG]
    สิ้นภพ สิ้นชาติ ตั้งแต่ปัจจุบันชาติ
    คือสิ่งที่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงเพียรพยายามสั่งสอนเวไนยสัตว์.

    "สุขนั้นไม่มีเป็นเพียงภาษาสมมุติ, จริงๆแล้ว มีแต่ทุกข์ที่เกิดขึ้น และดับทุกข์ที่เกิดขึ้นนั้นลงไปเท่านั้น"
    ดับทุกข์ คือความสุขในภาษาสมมุตินั่นเอง
    ดับทุกข์ทั้งปวง จึงเป็นสุขอย่างยิ่ง [​IMG]
    <TABLE style="FONT-FAMILY: 'Tahoma;" height=0 borderColorDark=#9d6d2c width=585 align=center bgColor=#660000 borderColorLight=#d1a62e border=6><TBODY><TR><TD vAlign=center align=middle width=565>
    ทุกฺขเมว พิ สมฺโภติ ทุกฺขํ ติฏฺฐติ เวติ จ
    นาฌฺฌตฺร ทุกฺขาสมฺโภติ นาฌฺฌตฺร ทุกฺขานิรูชฺฌติ
    </TD></TR><TR><TD width=565>
    ความจริง ทุกข์เท่านั้นที่เกิดขึ้น ทุกข์เท่านั้นที่ตั้งอยู่ ทุกข์เท่านั้นที่ดับไป
    นอกจากทุกข์แล้ว ไม่มีอะไรเกิด นอกจากทุกข์แล้ว ไม่มีอะไรดับ

    วชิราสูตร ๑๕/๕๕๒
    </TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  7. albertalos

    albertalos เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 เมษายน 2006
    โพสต์:
    2,462
    ค่าพลัง:
    +1,137
    อนุโมทนาครับ


    โพธิกถา ปฏิจจสมุปบาทมนสิการ [๑] โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้า แรกตรัสรู้ ประทับอยู่
    ณ ควงไม้โพธิพฤกษ์ ใกล้ฝั่งแม่น้ำเนรัญชรา ในอุรุเวลาประเทศ.
    ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคประทับนั่งด้วยบัลลังก์เดียว เสวยวิมุตติสุข
    ณ ควงไม้โพธิพฤกษ์ตลอด ๗ วัน และทรงมนสิการปฏิจจสมุปบาทเป็น
    อนุโลมและปฏิโลม ตลอดปฐมยามแห่งราตรี ว่าดังนี้:
    ปฏิจจสมุปบาท อนุโลม
    (การเกิดขึ้นของทุกข์)
    เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย จึงมีสังขาร
    เพราะสังขารเป็นปัจจัย จึงมีวิญญาณ
    เพราะวิญญาณเป็นปัจจัย จึงมีนามรูป
    เพราะนามรูปเป็นปัจจัย จึงมีสฬายตนะ
    เพราะสฬายตนะเป็นปัจจัย จึงมีผัสสะ
    เพราะผัสสะเป็นปัจจัย จึงมีเวทนา
    เพราะเวทนาเป็นปัจจัย จึงมีตัณหา
    เพราะตัณหาเป็นปัจจัย จึงมีอุปาทาน
    เพราะอุปาทานเป็นปัจจัย จึงมีภพ
    เพราะภพเป็นปัจจัย จึงมีชาติ
    เพราะชาติเป็นปัจจัย จึงมีชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส อุปายาส
    เป็นอันว่ากองทุกข์ทั้งมวลนั่นย่อมเกิด ด้วยประการฉะนี้.
    ปฏิจจสมุปบาท ปฏิโลม
    (การดับไปแห่งทุกข์)
    อนึ่ง เพราะอวิชชานั่นแหละดับโดยไม่เหลือด้วยมรรคคือวิราคะ สังขารจึงดับ
    เพราะสังขารดับ วิญญาณจึงดับ
    เพราะวิญญาณดับ นามรูปจึงดับ
    เพราะนามรูปดับ สฬายตนะจึงดับ
    เพราะสฬายตนะดับ ผัสสะจึงดับ
    เพราะผัสสะดับ เวทนาจึงดับ
    เพราะเวทนาดับ ตัณหาจึงดับ
    เพราะตัณหาดับ อุปาทานจึงดับ
    เพราะอุปาทานดับ ภพจึงดับ
    เพราะภพดับ ชาติจึงดับ
    เพราะชาติดับ ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส อุปายาส จึงดับ
    เป็นอันว่ากองทุกข์ทั้งมวลนั่นย่อมดับ ด้วยประการฉะนี้.
    ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคทรงทราบเนื้อความนั้นแล้ว
    จึงทรงเปล่งอุทานนี้ ในเวลานั้น ว่าดังนี้:
    พุทธอุทานคาถาที่ ๑
    เมื่อใดแล ธรรมทั้งหลาย ปรากฏแก่พราหมณ์
    ผู้มีเพียรเพ่งอยู่ เมื่อนั้น ความสงสัยทั้งปวง
    ของพราหมณ์นั้นย่อมสิ้นไป
    เพราะมารู้ธรรม พร้อมทั้งเหตุ

    1การเรียงลำดับขันธ์ 5 นั้น ใช้อะไรเป็นตัววัดครับ?
    การเรียงลำดับนั้นตามพุทธพจ ก้ตามปติจสมุปบาทนะครับ ใช้สภาวะธรรมที่เป็นปัจจัยแก่กันเป็นตัววัดลำดับ
    เช่น
    สังขาร เป็น ปัจจัย จึงมีวิญญาน และสังขารดับ วิญญาน จึงดับ
    หมายเอาว่าเมื่อมีปัจจัยจึงมีขึ้นและหมดปัจจัยจึงไม่มีต่อ ดังนั้นแสดงให้เห็นแล้วว่าการเรียงลำดับตัววัดคือเพราะต้องมีสิ่งหนึ่งถึงจะมีอีกสิ่งหนึ่ง ท่าขาดสิ่งนั้นๆแล้วจะไม่มีสิ่งนั้นอีก เหมือนมีเชื้อเพลิงจึงมีไฟ เมื่อไม่ใช่อเพลิงไฟก้ไม่มี

    2ลำดับการตอบสนอง, ลำดับการทำงาน?
    ลำดับการตอบสนองและการทำงานของขันธ์ ท่ามีสติละลึกรู้ได้ทั้ง กาย เวทนา และจิต จะรู้ว่าลำดับขั้นตอนนั้นการเกิดก่อนหลังก้เป็นไปตามวงจรนี้เช่นกัน

    3ความหยาบ, ความละเอียดครับ?
    กาย เวทนา จิต มีความหยาบความละเอียดแตกต่างกัน การมีสติละลึกรู้จึงทำได้ต่างกันเริ่มต้นอาจ เริ่มเห็นจากปลายก่อนและย้อนขึ้นไปสู่เหตุ ผู้ที่ยังไม่มีสติ
    สัมมาสติ ไม่มีสติในกายในใจ ก้เริ่มได้ง่ายๆจากการรู้กาย รู้เวทนา รู้ผัสสะ
    เมื่อมีสติมากขึ้นก้จะเห็นสภาวะของ จิต มากขึ้น ซึ่งแตกต่างจากแค่ความคิดแต่เป็นสภาวะของจิตจริง สัญญา สังขารวิญญาน
     
  8. ขันธ์

    ขันธ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 ตุลาคม 2006
    โพสต์:
    7,917
    ค่าพลัง:
    +9,181
    ใช้อะไรเป็นตัววัด ตอบว่าใช้ สติ ปัญญา เป็นตัววัด เพราะว่าเคยเห็นแล้วว่า ตัวใดเกิดขึ้น ตัวใดดับ ก็จะเกิดเป็นปัญญาว่า ตัวนี้หยาบบางละเอียด อย่างไร เมื่อเกิดตัวที่ละเอียดลงไป หรือ หยาบขึ้นย่อมรู้ได้ ด้วยสติปัญญา ลำดับแห่งการตอบสนอง ลำดับในการทำงานก็เช่นเดียวกัน จะต้อง ใช้สติปัญญา โดยจะฝึกได้ด้วย วิธีการแห่ง มหาสติปัฎฐาน สี่
    คือ สังเกตุ กาย เวทนา จิต ธรรม อันแต่ละอย่างจะเห็นละเอียดได้เรื่อยๆ พระศาสดาจึงกล่าวว่า กายานุปัสสนา คือ มองให้เห็นกายในกาย แบบนี้เป็นต้น
    แล้วจะเห็นเหตุเห็นปัจจัย ในการทำงานของขันธ์ 5 ว่ามาจากกิเลส หรือ มาจากธรรม จนเห็น สมุทัยได้ ถอนได้ ดับได้
     
  9. jinny95

    jinny95 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 ตุลาคม 2007
    โพสต์:
    6,074
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +9,666
    ท่านขันธ์กล่าวไว้ชอบแล้ว

    ขันธ์ห้า เวลาพิจารณา ควรตั้งสติให้ดี สมาธิให้ดี แล้วเอาความเห็นพิจารณาปัจจุบันธรรม เอาความเห็นในสิ่งที่ดำรงเป็นเรา พิจารณาว่าสิ่งใดเกิดสิ่งใดดับ

    เกิดตามเห็นเหตุปัจจัยใจ ตั้งอยู่ตามเห็นปัจจัย ดับไปตามเป็นปัจจัย
    หรือเกิดขึ้นแล้วปรุงแต่งตามเหตุปัจจัย ดับลงตามเหตุปัจจัย (รู้เท่าทัน)

    ตััวอย่างคร่าว ๆ เช่น

    นั่งสมาธิ รูปเกิดขึ้น วิญญาณรับรู้ สัญญาจำได้ การปรุงแต่งเกิดขึ้น ลงเวทนาอย่างไร เป็นรอบ ๆ ที่บางท่านเรียกเกิด ดับ รับรู้ เห็น ทีละขณะ ๆ หรือที่จะเรียกเป็นดวง ก็ที่ละดวง ดูให้ครบ พิจารณาให้รอบ จึงพ้นทุกข์ได้

    ต้องลงแรง ลงใจ ใช้กำลังมากอยู่ โชคดี เจริญธรรม
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 5 ธันวาคม 2009
  10. albertalos

    albertalos เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 เมษายน 2006
    โพสต์:
    2,462
    ค่าพลัง:
    +1,137
    อธิบายสังขารที่ทำหน้าที่ต่างๆ เพื่อการพิจารณา ป้องกันการสับสนในการพิจารณา พอจะแยกได้เป็น ๓

    - ในขันธ์ทั้ง ๕สังขารขันธ์ที่หมายถึง การกระทำ กล่าวคือ สภาพที่ปรุงแต่งทางใจ ให้เกิดการกระทำ(กรรม)ขึ้น, เจตนาที่แต่งกรรม หรือปรุงแต่งการกระทำ มี ๓ อย่าง คือ กายสังขาร(ทางกาย) วจีสังขาร(ทางวาจา) มโนสังขารหรือจิตตสังขาร(ทางใจ) ; นอกจากนั้นแล้วในภาษาไทย ร่างกาย ก็ยังเรียกกันโดยทั่วไปว่าสังขารก็มี ที่หมายถึงสังขารร่างกาย หรือรูป,รูปขันธ์, ส่วนกายสังขาร หมายถึง การกระทำทางกาย
    - สังขารในปฏิจจสมุปบาท หมายถึง สิ่งปรุงแต่งทางใจตามที่ได้สั่งสม,อบรมไว้แต่อดีต จนเกิดสังขารการกระทำต่างๆ เช่น ความคิด,การกระทําทางกาย,วาจา,ใจ ด้วยเครื่องปรุงที่มีคุณสมบัติต่างๆที่เป็นความเคยชิน เคยประพฤติ เคยปฏิบัติ หรือตามที่ได้เคยอบรมหรือสั่งสมไว้มาก่อน(อดีต)จึงนอนเนื่องซึมซาบย้อมจิต หรืออาจกล่าวได้ว่าเป็นสังขารวิบาก คือ สังขารที่เกิดจากผลของการเคยกระทําหรือเคยประพฤติปฏิบัติทั้งทางกาย,วาจา,ใจ อันได้สั่งสมไว้ อบรม เก็บบ่มไว้ หรือสังขารวิบากก็คือผลที่รับจากการกระทํา(กรรม)ในอดีตนั่นเอง และเป็นสังขารกิเลสด้วย หมายถึง สังขารที่ประกอบด้วยกิเลส (กิเลสที่นอนเนื่องในอาสวะกิเลสนั่นเอง)
    - สังขารในไตรลักษณ์หมายถึงทุกๆสรรพสิ่งที่เกิดแต่เหตุปัจจัยปรุงแต่งขึ้นมา จึงครอบคลุมทั้งรูปธรรม,นามธรรมและธรรมทุกชนิดรวมทั้งโลกุตรธรรม อันยกเว้นเพียงอสังขตธรรม ดังเช่น นิพพานอันเป็นสภาวะหรือสภาวธรรมหรือสภาวะของธรรมชาติ, ดังนั้นจึงครอบคลุมทั้งสังขารในขันธ์ ๕ และสังขารในปฏิจจสมุปบาท และทุกสรรพสิ่ง ยกเว้นแต่นิพพานและสภาวธรรมหรือสภาวะของธรรมชาติ
    สังขาร (จากพจนานุกรม)
    ๑. สิ่งที่ถูกปัจจัยปรุงแต่ง, สิ่งที่เกิดจากเหตุปัจจัย เป็นรูปธรรมก็ตาม นามธรรมก็ตาม ได้แก่ขันธ์ ๕ ทั้งหมด,
    ตรงกับคำว่า สังขตะหรือ
    สังขตธรรม ได้ในคำว่า “สังขารทั้งหลายทั้งปวงไม่เที่ยง” ดังนี้เป็นต้น
    ๒. สภาพที่ปรุงแต่งใจให้ดีหรือชั่ว, ธรรมมีเจตนาเป็นประธานที่ปรุงแต่งความคิด การพูด การกระทำ มีทั้งที่ดีเป็นกุศล ที่ชั่วเป็นอกุศล และที่กลางๆเป็น
    อัพยากฤต ได้แก่ เจตสิก ๕๐ อย่าง (คือ เจตสิกทั้งปวง เว้นแต่เพียงเวทนาและสัญญา) เป็นนามธรรมอย่างเดียว,
    ตรงกับ
    สังขารขันธ์ ในขันธ์ ๕ ได้ในคำว่า “รูปไม่เที่ยง เวทนาไม่เที่ยง สัญญาไม่เที่ยง สังขารไม่เที่ยง วิญญาณไม่เที่ยง” ดังนี้เป็นต้น;
    อธิบายอีกปริยายหนึ่ง สังขารตามความหมายนี้ยกเอา
    เจตนาขึ้นเป็นตัวนำหน้า ได้แก่ สัญเจตนา คือ เจตนาที่แต่งกรรมหรือปรุงแต่งการกระทำ มี ๓ อย่างคือ สังขาร ๓
    ๑.
    กายสังขาร สภาพที่ปรุงแต่งการกระทำทางกาย คือ กายสัญเจตนา
    ๒.
    วจีสังขาร สภาพที่ปรุงแต่งการกระทำทางวาจา คือ วจีสัญเจตนา
    ๓.
    จิตตสังขาร หรือ มโนสังขาร สภาพที่ปรุงแต่งการกระทำทางใจ คือ มโนสัญเจตนา
    ๓. สภาพที่ปรุงแต่งชีวิตมี ๓ คือ
    ๑.
    กายสังขาร สภาพที่ปรุงแต่งกาย ได้แก่ อัสสาสะ ปัสสาสะ คือลมหายใจเข้า ลมหายใจออก
    ๒.
    วจีสังขาร สภาพที่ปรุงแต่งวาจา ได้แก่ วิตกและวิจาร
    ๓.
    จิตตสังขาร สภาพที่ปรุงแต่งใจ ได้แก่ สัญญาและเวทนา

    สังขารวิบาก - ผลที่ได้รับ(วิบาก)จากการกระทําต่างๆที่ได้กระทํามาแล้ว
    -ผลที่ได้รับอันเนื่องจากเจตนาหรือเจตจํานงที่กระทํา(เช่นความคิดคือทางใจ,หรือทางกาย,วาจา) อันเป็นผลจากการที่เคยประพฤติปฏิบัติอันได้สั่งสม อบรม ประพฤติ ปฏิบัติไว้ในอดีต หรือสังขารในปฏิจจสมุปบาทนั่นเอง สังสารวัฏ - การเวียนว่ายตายเกิดในโลกหรือภพ
     
  11. albertalos

    albertalos เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 เมษายน 2006
    โพสต์:
    2,462
    ค่าพลัง:
    +1,137
    สังขาร วิญญาน สัญญา มีคนเคยถามว่าจำเป็นไหมต้องรู้
    อยากทราบว่าท่านมีสติในอะไร ใน กาย เวทนา จิต ธรรม กันรึเปล่า
    อนุโมทนาครับ
     
  12. albertalos

    albertalos เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 เมษายน 2006
    โพสต์:
    2,462
    ค่าพลัง:
    +1,137
    องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้จัดองค์ธรรม
    ชรา-มรณะและอาสวะกิเลส อันเป็นองค์ธรรมเดียวกัน เป็นสมุทัยเหตุแห่งทุกข์โดยตรงทีเดียว


    ส่วนในการพิจารณาในแนวทางอริยสัจนั้น สมุทัยเหตุแห่งทุกข์ จึงหมายถึงตัณหา
    ความจริงแล้วอาสวะกิเลสก็คือ สัญญาอันหมายถึงความจำอย่างหนึ่งอันเป็นธรรมชาติของชีวิต

    และเป็นส่วนหนึ่งของจิตนั่นเอง และเป็นองค์ธรรมอันสำคัญยิ่งของขันธ์๕หรือการดำรงชีวิต แต่อาสวะกิเลสเป็นสัญญาความจำชนิดที่แฝงไว้ด้วยสิ่งที่จักทำให้จิตขุ่นมัวเศร้าหมองหรือกิเลสนั่นเอง อันหมายรวมทั้งความสุขและทุกข์ที่เคยเกิดเคยเป็น

    จึงจดจำได้ แล้วแอบซ่อน นอนเนื่อง ซึมซ่านย้อมจิต แล้วเมื่อจำหรือผุดขึ้นมาด้วยเหตุอันใดก็ตามที ก็จะเป็นเหตุเป็นปัจจัยแก่กันและกันกับอวิชชาความไม่รู้ตามความเป็นจริง

    จึงเป็นเหตุปัจจัยให้เกิดองค์ธรรมสังขารอันยังให้เกิดทุกข์ต่อไปในวันหน้าอย่างแน่นอนตามวงจรปฏิจจสมุปบาท ซึ่งอาสวะกิเลสก็เกิดขึ้นมาจากการสั่งสมเก็บจำจากประสบการณ์ต่างๆมาแต่อดีต ตั้งแต่เกิดจวบจนปัจจุบัน

    หรือเรียกว่านานเสียจนมิรู้ว่าสักกี่ภพกี่ชาติมาแล้วนั้น<!-- google_ad_section_end -->
     

แชร์หน้านี้

Loading...