กุลสูตร สกุลทั้งปวงนั้นเจริญขึ้นเพราะการให้ทาน เพราะสัจจะและสัญญมะ

ในห้อง 'กฎแห่งกรรม - ภพภูมิ' ตั้งกระทู้โดย thepkere, 18 พฤศจิกายน 2012.

  1. thepkere

    thepkere เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 กุมภาพันธ์ 2012
    โพสต์:
    1,018
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +3,449
    กุลสูตร
    [๖๒๐] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเสด็จจาริกไปในโกศลชนบท พร้อมด้วยภิกษุสงฆ์
    เป็นอันมาก เสด็จถึงนาฬันทคามได้ยินว่า สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ ปาวาริก
    อัมพวันใกล้นาฬันทคาม สมัยนั้นแล ชาวนาฬันทคามมีภิกษุหาได้ยาก เลี้ยงชีวิตอยู่ได้โดยฝืดเคือง
    เกลื่อนกลาดด้วยกระดูกต้องจับจ่ายด้วยสลาก (บัตรปันส่วน)

    สมัยนั้นแล นิครณถ์นาฏบุตร
    อาศัยอยู่ในนาฬันทคาม พร้อมด้วยบริษัทนิครณถ์เป็นอันมาก ครั้งนั้น นายบ้านนามว่าอสิพันธก
    บุตรสาวกนิครณถ์ เข้าไปหานิครณถ์นาฏบุตรยังที่อยู่ ไหว้แล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้น
    แล้ว นิครณถ์นาฏบุตรได้พูดกับนายคามณีอสิพันธกบุตรว่า มาเถิดนายคามณี จงยกวาทะแก่
    พระสมณโคดม กิตติศัพท์อันงามของท่านจักขจรไปอย่างนี้ว่า นายคามณีอสิพันธกบุตรยกวาทะ
    แก่พระสมณะโคดมผู้มีฤทธิ์มากอย่างนี้ มีอานุภาพมากอย่างนี้

    นายคามณีถามว่า ท่านผู้เจริญ
    ข้าพเจ้าจะยกวาทะแก่พระสมณะโคดมผู้มีฤทธิ์มาก มีอานุภาพมากอย่างไร
    นิครณถ์นาฏบุตร
    กล่าวว่า มาเถิดท่านคามณี จงเข้าไปหาพระสมณโคดม ครั้นแล้วจงกล่าวกะพระสมณโคดม
    อย่างนี้ว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระผู้มีพระภาคทรงสรรเสริญความเอ็นดู การตามรักษา ความ
    อนุเคราะห์สกุลทั้งหลาย โดยอเนกปริยายมิใช่หรือ ถ้าพระสมณโคดมถูกท่านถามอย่างนี้แล้ว
    ทรงพยากรณ์อย่างนี้ว่า อย่างนั้นนายคามณี ตถาคตสรรเสริญความเอ็นดู การตามรักษา ความ
    อนุเคราะห์สกุลทั้งหลาย โดยอเนกปริยาย

    ท่านจงกล่าวกะพระสมณโคดมนั้นอย่างนี้ว่า ข้าแต่
    พระองค์ผู้เจริญ เมื่อเช่นนั้นทำไมพระผู้มีพระภาคกับภิกษุสงฆ์เป็นอันมากจึงเที่ยวจาริกอยู่ใน
    นาฬันทคามอันเกิดทุพภิกขภัย เลี้ยงชีวิตอยู่ได้โดยฝืดเคือง เกลื่อนกลาดด้วยกระดูก ต้องจับ
    จ่ายด้วยสลากเล่า พระผู้มีพระภาคทรงปฏิบัติเพื่อตัดรอนสกุล เพื่อให้สกุลเสื่อมเพื่อให้สกุล
    คับแค้น ดูกรนายคามณี พระสมณโคดมอันท่านถามปัญหา ๒ เงื่อนนี้แล้ว จะไม่อาจคาย จะ
    ไม่อาจกลืน (กลืนไม่เข้าคายไม่ออก) ได้เลย ฯ

    [๖๒๑] นายอสิพันธกบุตรรับคำนิครณถ์นาฏบุตรแล้ว ลุกจากอาสนะไหว้นิครณถ์นาฏ
    บุตรทำประทักษิณแล้วเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคแล้ว นั่ง
    ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระผู้มี
    พระภาคทรงสรรเสริญความเอ็นดู การตามรักษา ความอนุเคราะห์สกุลทั้งหลาย โดยอเนกปริยายมิใช่หรือ

    พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า อย่างนั้น นายคามณี ตถาคตสรรเสริญความเอ็นดู การ
    ตามรักษา ความอนุเคราะห์สกุลทั้งหลาย โดยอเนกปริยาย ฯ

    คา. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เมื่อเช่นนั้น ทำไมพระผู้มีพระภาคพร้อมด้วยภิกษุสงฆ์เป็น
    อันมาก จึงเที่ยวจาริกอยู่ในนาฬันทคามอันเกิดทุพภิกขภัย เลี้ยงชีวิตอยู่ได้โดยฝืดเคือง เกลื่อน
    กลาดด้วยกระดูก ต้องจับจ่ายด้วยสลากเล่าพระผู้มีพระภาคปฏิบัติเพื่อตัดรอนสกุล เพื่อให้
    สกุลเสื่อม ปฏิบัติเพื่อให้สกุลคับแค้น ฯ


    [๖๒๒] พ. ดูกรนายคามณี แต่ภัทรกัปนี้ไป ๙๑ กัป ที่เราระลึกได้เราไม่รู้สึกว่าเคย
    เบียดเบียนสกุลไหนๆ ด้วยการถือเอาภิกษาที่สุกแล้วเลย อนึ่งเล่าสกุลเหล่าใดมั่งคั่ง มีทรัพย์
    มาก มีโภคะมาก มีทองและเงินมาก มีทรัพย์คือเครื่องอุปกรณ์มาก มีทรัพย์คือข้าวเปลือก
    มาก สกุลทั้งปวงนั้นเจริญขึ้นเพราะการให้ทาน เพราะสัจจะและสัญญมะ


    ดูกรนายคามณี เหตุ
    ปัจจัย ๘ อย่างเพื่อความคับแค้นแห่งสกุลทั้งหลาย คือ สกุลทั้งหลายถึงความคับแค้นจากพระราชา
    ๑ จากโจร ๑ จากไฟ ๑ จากน้ำ ๑ ทรัพย์ที่ฝังไว้เคลื่อนจากที่ ๑ ย่อมวิบัติเพราะการงานที่ประกอบ
    ไม่ดี ๑ ทรัพย์ในสกุลเกิดเป็นถ่านไฟ ๑ คนในสกุลใช้จ่ายโภคทรัพย์เหล่านั้นฟุ่มเฟือย ให้
    พินาศสูญหายไป ๑ ความไม่เที่ยงเป็นที่ ๘ดูกรนายคามณี เหตุปัจจัย ๘ อย่างเหล่านี้แล เพื่อ
    ความคับแค้นของสกุลทั้งหลายเมื่อเหตุปัจจัย ๘ อย่างเหล่านี้มีอยู่

    ผู้ใดพึงว่าเราอย่างนี้ว่า พระผู้มีพระภาคปฏิบัติเพื่อให้สกุลขาดสูญ
    เพื่อให้สกุลเสื่อม เพื่อให้สกุลคับแค้น ดังนี้ ผู้นั้นยังไม่ละวาจานั้น
    ยังไม่ละความคิดนั้น ยังไม่สละทิฐินั้น ต้องดิ่งลงในนรกแน่แท้ ฯ


    เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว นายคามณีอสิพันธกบุตรได้กราบทูลพระผู้มี
    พระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระธรรมเทศนาของพระองค์แจ่มแจ้งนักข้าแต่พระองค์ผู้
    เจริญ พระธรรมเทศนาของพระองค์แจ่มแจ้งนัก ฯลฯ ขอพระผู้มีพระภาคโปรดทรงจำข้าพระองค์ว่า
    เป็นอุบาสกผู้ถึงพระรัตนตรัยเป็นสรณะจนตลอด ชีวิต ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป พระเจ้าข้า ฯ


    จบสูตรที่ ๙

    พระไตรปิฎก ฉบับบาลีสยามรัฐ (ภาษาไทย) เล่มที่ ๑๘
    พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๐ สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค
    หน้าที่ ๓๓๐/๔๐๒ ข้อที่ ๖๒๐ - ๖๒๒

    สัญญมะ การยับยั้ง , การงดเว้น (จากบาป หรือจากการเบียดเบียน) , การบังคับควบคุมตน; ท่านมักอธิบายว่าสัญญมะ ได้แก่ ศีล , บางทีแปลว่าสำรวม เหมือนอย่าง “สังวร”; เพื่อความเข้าใจชัดเจนในเบื้องต้น พึงเทียบความหมายระหว่าง ข้อธรรม ๓ อย่าง คือ สังวร เน้นความระวังในการรับเข้า คือปิดกั้นสิ่งเสียหายที่จะเข้ามาจากภายนอก สัญญมะ ความ คุมตนในการแสดงออก มิให้เป็นไปเพื่อการเบียดเบียน เป็น ทมะ ฝึกฝนแก้ไขปรับปรุงตน ข่มกำจัดส่วนร้ายและเสริม ส่วนที่ดีงามให้ยิ่งขึ้นไป; สังยมะ ก็เขียน
    http://www.palungjit.org/dict/search.php?search_sid=0&kword=%CA%D1%AD%AD%C1%D0

    สัจจะ [ N ] truth
    [ English ]fact; reality; veracity; truthfulness; genuineness [ Syn ] สัตย์, ความจริงแท้ [ Sample] แถลงของเขาทำให้ผมเห็นสัจจะของความเป็นมนุษย์อีกหลายๆ บท [ Def ] คุณลักษณะที่ประกอบด้วยความจริง ความแน่แท้ ความซื่อตรง ไม่กลับเป็นอย่างอื่น

    สัจจะ 1.ความจริง มี ๒ คือ ๑. สมมติสัจจะ จริงโดยสมมติ เช่น คน พ่อค้า ปลา แมว โต๊ะ เก้าอี้ ๒. ปรมัตถสัจจ จริง โดยปรมัตถ์ เช่น รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ 2. ความจริงคือ จริงใจ ได้แก่ ซื่อสัตย์ จริงวาจา ได้แก่พูดจริง และ จริงการ ได้แก่ทำจริง (ข้อ ๑. ในฆราวาสธรรม ๔ , ข้อ ๒ ในอธิษฐานธรรม ๔ , ข้อ ๔ ในเบญจธรรม , ข้อ ๗ ใน บารมี ๑๐)

    http://www.palungjit.org/dict/search.php?search_sid=&kword=%CA%D1%A8%A8%D0
     
  2. thepkere

    thepkere เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 กุมภาพันธ์ 2012
    โพสต์:
    1,018
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +3,449
    (สรุป)

    แต่ภัทรกัปนี้ไป ๙๑ กัป ที่เราระลึกได้เราไม่รู้สึกว่าเคย
    เบียดเบียนสกุลไหนๆ ด้วยการถือเอาภิกษาที่สุกแล้วเลย


    อนึ่งเล่าสกุลเหล่าใดมั่งคั่ง มีทรัพย์มาก มีโภคะมาก มีทองและเงินมาก
    มีทรัพย์คือเครื่องอุปกรณ์มาก มีทรัพย์คือข้าวเปลือกมาก

    สกุลทั้งปวงนั้นเจริญขึ้นเพราะการให้ทาน เพราะสัจจะและสัญญมะ

    เหตุ
    ปัจจัย ๘ อย่างเพื่อความคับแค้นแห่งสกุลทั้งหลาย

    ๑ คือ สกุลทั้งหลายถึงความคับแค้นจาก พระราชา
    ๒ คือ สกุลทั้งหลายถึงความคับแค้นจาก โจร
    ๓ คือ สกุลทั้งหลายถึงความคับแค้นจาก ไฟ
    ๔ คือ สกุลทั้งหลายถึงความคับแค้นจาก น้ำ
    ๕ คือ สกุลทั้งหลายถึงความคับแค้นจาก ทรัพย์ที่ฝังไว้เคลื่อนจากที่
    ๖ คือ สกุลทั้งหลายถึงความคับแค้นจาก ย่อมวิบัติเพราะการงานที่ประกอบไม่ดี
    ๗ คือ สกุลทั้งหลายถึงความคับแค้นจาก ทรัพย์ในสกุลเกิดเป็นถ่านไฟ
    ๘ คือ สกุลทั้งหลายถึงความคับแค้นจาก คนในสกุลใช้จ่ายโภคทรัพย์เหล่านั้นฟุ่มเฟือย ให้พินาศสูญหายไป
    ความไม่เที่ยงเป็นที่ ๘

    ผู้ใดพึงว่าเราอย่างนี้ว่า พระ
    ผู้มีพระภาคปฏิบัติเพื่อให้สกุลขาดสูญ เพื่อให้สกุลเสื่อม เพื่อให้สกุลคับแค้น ดังนี้

    ผู้นั้นยังไม่ละวาจานั้น ยังไม่ละความคิดนั้น ยังไม่สละทิฐินั้น ต้องดิ่งลงในนรกแน่แท้ ฯ
     

แชร์หน้านี้

Loading...