กิเลส โดย พระครูเกษมธรรมทัต (สุรศักดิ์ เขมรํสี)

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย jinny95, 17 มกราคม 2010.

  1. jinny95

    jinny95 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 ตุลาคม 2007
    โพสต์:
    6,074
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +9,666
    วิปัสสนาภูมิ ตอนที่ 11

    กิเลส
    โดย พระครูเกษมธรรมทัต (สุรศักดิ์ เขมรํสี)


    คำ ว่า กิเลส ก็หมายถึง เครื่องเศร้าหมอง ธรรมชาติที่เป็นเครื่องเศร้าหมอง คือ ถ้าบุคคลใดมีกิเลสก็ทำให้จิตเจตสิกนี้เศร้าหมองรวมทั้งรูปด้วย เช่น รูปกาย ใบหน้าหน้าตาก็เศร้าหมองไปด้วย อย่างคนที่เกิดโทมนัส เกิดโทสะ หน้าตาก็ขึงเครียด ไม่เป็นที่น่ายินดี ใครเห็นก็ไม่อยากเข้าใกล้ด้วย เวลาคนที่มีกิเลสมีโทสะ จิตใจเร่าร้อน จิตใจเศร้าหมอง กิเลสนั้นท่านแสดงไว้ 10 ประการด้วยกัน

    ประการที่ 1 โลภะ ตัวโลภะ คือ ความโลภ ความต้องการติดใจในอารมณ์ แม้แต่ได้ยินเสียงไพเราะเกิดความยินดีพอใจ โลภะก็เกิดขึ้นแล้ว นั่งกรรมฐานพอมัน ปวดเมื่อยมันก็อยากจะไปเสวยความสุขไม่อยากจะได้รับความทุกข์อันนี้ ขณะนั้นก็มี โลภะเกิดขึ้นแล้ว โลภะเกิดขึ้นพร้อมด้วยอุเบกขาก็มี ความโลภเกิดขึ้นพร้อมด้วย ความดีใจก็มี ความโลภเกิดขึ้นพร้อมด้วยความเฉยๆ ก็มี ไม่ใช่ว่าโลภแล้วดีใจเสมอไป อย่างในกรณีที่เรานั่งกรรมฐานมันปวดมันเมื่อยอยู่นี้ มันก็เกิดอยากจะไปนอน อยากจะเสวยความสุขในอริยาบถอื่น

    แต่จิตใจในขณะนั้นจะไม่รู้สึกดีใจ อะไร เพราะว่ามันกำลัง ปวดเมื่อยอยู่ มันก็จะโลภแบบเฉย หรืออย่างเราเดินไปในห้างสรรพสินค้า นั่นก็ สวยนี้ก็ดีตู้เย็นพัดลมวีดีโอโทรทัศน์ อยากได้มั้ยอยากได้เป็นความโลภแล้ว แต่มัน ไม่ได้ดีใจอะไร เพราะอะไร เพราะมันรู้ว่าไม่มีเงินจะซื้อมันก็เฉยๆ อยากได้แต่เฉยๆ อย่างพอไปเห็นเงินในธนาคารเป็นปึกๆ คนนับเงินไม่มีใครที่จะไม่อยากได้ แต่พนักงานเขาก็เฉยๆ เขาไม่ได้ยิ้มแย้มอะไร เพราะอะไร เพราะเขารู้ว่าไม่ใช่ของเขาเอามาไม่ได้ โลภแต่เฉยๆ ถ้าเราสังเกตจิตใจมันก็จะมีอยู่ความโลภพร้อมด้วยความดีใจบ้าง ความโลภพร้อมด้วยความเฉยๆ บ้าง

    ประการที่ 2 โทสะ โทสะก็คือความโกรธ เพียงแต่จิตไม่แช่มชื่นก็เป็นโทสะแล้ว ถ้าไม่สังเกตไม่รู้หรอก จิตมันขุ่นมัว นั่งปฏิบัติอยู่จิตมันขุ่นมัว สังเกผายลมูมีแล้วโทสะ

    ประการ ที่ 3 โมหะ โมหะก็คือความหลง ความโง่ หรือว่าไม่รู้ คือไม่รู้ตามความเป็นจริง รู้ในสิ่งที่ไม่ควรรู้ สิ่งที่ควรรุ้ไม่รู้ นี่คือโมหะ มันไม่ใช่ว่า ม่รู้อะไรนะ โมหะนี่มันรู้เหมือนกันแต่ไปรู้ในสิ่งที่ไม่ควรรู้ แต่สิ่งที่ควรรู้ไม่รู้ สิ่งที่ไม่ควรรู้ เช่น สมมุติบัญญัติ สามารถจะสร้างระเบิดยุทโธปกรณ์ที่จะกดปุ่มนิดเดียวฆ่าคน เป็นแสนได้ อย่างนั้นท่านก็ยังว่าเป็นโมหะ มันรู้ รู้ที่จะฆ่าคน รู้ที่จะทำลายคน ไม่ใช่รู้ในการที่จะดับทุกข์ได้

    แต่สิ่งที่ควรรู้คืออะไร ทุกข์ เหตุให้เกิดทุกข์ ความดับทุกข์ ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์ อย่างนี้เป็นต้น ไม่รู้ นั่นคืออวิชชา โมหะมันก็คอยเกิดขึ้น เวลาปฏิบัติไปโมหะมันคอยจะเข้ามาแทรก มันคอยจะเผลอ เผลอตัวหลงลืมสติคือโมหะ ฉะนั้น สติกับโมหะนี้มันต้องต่อสู้กัน เหมือนคนสองคนที่จะแย่งนั่งเก้าอี้ตัวเดียวกัน ถ้าหากว่าสติมันไวกว่า โมหะก็ตกเก้าอี้ไป จิตใจก็ปลอดโปร่งมีสติ แต่ถ้าสติไม่ทัน โมหะก็ขึ้นนั่งเก้าอี้ครอบงำจิตใจให้หลงให้เผลอให้ลืมไป

    ฉะนั้นสติจะ ต้องฝึกให้ทันแย่งกันที่ไหน อะไรเป็นเก้าอี้ ก็คือ ปัจจุบันธรรมของรูปนามเป็นสนามรบสู้กันระหว่างฝ่ายอธรรมกับ ฝ่ายธรรม ถ้าหากว่าสติฝ่ายธรรมแพ้ อธรรมครอบงำจิตใจ บริวารของอธรรมทั้งหลาย ก็เข้าครอบงำหมด บ้านเมืองนั้นก็มืดมนไปหมด จิตใจของบุคคลนั้นก็มืดมน ถ้าสติครอบงำ จิตใจก็เบิกบานผ่องใส ธรรมฝ่ายกุศลก็เกิดขึ้น ฉะนั้นต้องคอยรู้เท่าทัน เวลาเผลอก็รู้ว่าเผลอ เวลามีสติก็รู้ว่ามีสติ ให้เห็นลักษณะความต่างกัน

    ประการที่ 4 มานะ ความเย่อหยิ่งถือตัว อันนี้ก็สำคัญ ถือตัวเอง ใครจะมาแตะต้องใครจะมาพูดจากร้าวร้าวอะไรนิดอะไรหน่อยไม่ได้ มันมีความถือตัว ก็ต้องรู้เท่าทัน

    ประการที่ 5 มิจฉาทิฎฐิ ความเห็นผิด มีความเห็นผิดไปว่า บุญไม่มี บาปไม่มี ผลบุญผลบาปไม่มี ทำดีไม่ได้ดีทำชั่วไม่ได้ชั่ว อันนี้เป็นความเห็นผิดที่มีโทษ อย่างคนที่เกิดความเห็นผิดร้ายแรง ที่เรียกว่า นิยตมิจฉาทิฏฐิ นิยตมิจฉาทิฏฐินี้เป็นอัน ตรายมาก ถ้าตายจากปัจจุบันนี้ก็ต้องลงนรกแน่นอนเป็นความเห็นผิดที่ดิ่งลงไป ตลอดชีวิตนี้เชื่อผิดอยู่อย่างนั้น คือ เชื่อว่าบุญไม่มีบาปไม่มีนรกสวรรค์ไม่มี ทำดีไม่ได้ดีทำชั่วไม่ได้ชั่ว การกระทำบุญก็ทำไปอย่างนั้น ทำบาปก็ทำไปอย่างนั้นไม่มี ผลอะไร

    ความ สุขความทุกข์ที่เกิดขึ้นไม่ได้มีเหตุมีปัจจัยอะไร ถ้ามีความเชื่อมั่นอย่างนั้น ลงไป ดิ่งลงไปเป็นนิยตมิจฉาทิฏฐิสู่นรกแน่นอน แต่ถ้ายังสงสัยจะจริงไม่จริง อันนี้ ไม่ถึงขนาดนั้นยังทำความดีได้ และโดยเฉพาะความเห็นผิดโดยสามัญ ก็คือ ความยึดมั่นถือมั่นว่าเป็นตัวเป็นตน อย่างนี้เป็นเห็นผิดโดยสามัญ ยึดรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ว่าเป็นตัวตน เป็นเรา เราเป็นรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ อย่างนี้เป็นความเห็นผิดโดยสามัญก็เป็นลักษณะของทิฏฐิเหมือนกัน

    ประการที่ 6 วิจิกิจฉา ก็กล่าวไปแล้วในนิวรณ์

    ประการที่ 7 ถีนะ ความท้อ หดหู่ ก็กล่าวไปแล้วในนิวรณ์

    ประการที่ 8 อุทธัจจะ ความฟุ้งซ่าน กล่าวไปในเรื่องนิวรณ์แล้ว

    ประการที่ 9 อหิริกะ ความไม่ละอายต่อทุจริต

    ประการ ที่ 10 อโนตตัปปะ ไม่เกรงกลัวต่อทุจริต คู่กัน ไม่ละอาย ไม่เกรงกลัว ไม่ละอายในที่นี้ก็คือ ไม่ละอายในบาปกรรมต่างๆ อย่างเช่นรักษาศีล 8 ห้ามให้เว้นบริโภคอาหารในเวลาวิกาลหลังจากเที่ยงไปแล้ว ถ้าคนไม่มีความละอาย ลับตาคนก็อาจจะล้วงเอาของอะไรมากิน แต่ต่อหน้าคนอาจจะไม่ทำเกรงกลัวละอาย ที่ละอายไม่ใช่อหิริกะ ที่อายต่อทุจริต อายว่าการกระทำนี้มันเป็นบาปเป็นอกุศล ละอายต่อบาป

    ฉะนั้น คนที่มีอหิริกะไม่ละอายต่อบาปมันก็ทำได้ในที่ลับ แต่ถ้าตรงกันข้าม คนมีหิริ ความละอายต่อบาป แม้ในที่ลับก็จะไม่ทำบาปเพราะละอายต่อบาป แต่ถ้ามีอหิริกะ ไม่ละอายต่อบาปแล้วก็ต่อหน้าคนก็อาจจะไม่ทำ แต่ลับหลังคนอาจทำได้ อโนตัปปะนั้นลักษณะไม่เกรงกลัวต่อบาป คือไม่กลัวผลของบาปที่เกิดขึ้น มันก็ทำบาปได้ ฆ่าสัตว์ ลักทรัพย์ ประพฤติผิดในกาม ไม่กลัวผลของมัน

    นี่เป็นกิเลส 10 ประการด้วยกัน กิเลสพันห้าถ้าว่าโดยอารมณ์ ไปรับอารมณ์ ต่างๆ เลยกลายเป็นมากมาย ฉะนั้นอกุศลกรรมอย่างนี้ ถึงแม้ว่าเป็นอกุศลแต่มันก็เป็น ความจริงที่มีอยู่ในจิตใจ เมื่อเกิดขึ้น ในทางการปฏิบัติถือหลักง่ายๆ ก็คือ ให้กำหนดรู้ จะเป็นสภาวธรรมของกิเลสตัวใดก็ตามเมื่อเกิดขึ้นก็ให้กำหนดรู้ สติที่เข้าไปรู้นั้นจะสามารถแก้ไขสภาวธรรมเหล่านั้นได้ ถ้ารู้ทันมันก็ดับ แก้ไขเป็นตทังคประหาน ประหานไปเป็นขณะๆ ไป ฉะนั้น ก็ขอให้เราได้เพียรพยายามศึกษาสภาวธรรมต่างๆ ในจิตใจ พยายามศึกษาจริงๆ คือเข้าไปรู้ไปเห็น ไปพิจารณาให้เท่าทันให้ได้ปัจจุบัน อารมณ์ เราก็จะสามารถประคองจิตใจของเราให้เป็นปกติมีความสุขความสงบตามสมควร

    วันนี้ ก็คิดว่าบรรยายมาพอสมควรแก่เวลา ขอยุติเพียงเท่านี้ ที่สุดนี้ขอความสุข ความเจริญในธรรม จงมีแก่ญาติสัมมาปฏิบัติธรรมทุกท่านทุกคนเทอญ

    ที่มา วิปัสสนาภูมิ ตอนที่ 11 กิเลส - พระครูเกษมธรรมทัต (สุรศักดิ์ เขมรํสี) | OpenBase.in.th
     

แชร์หน้านี้

Loading...